โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัลคาไนเซชัน

ดัชนี วัลคาไนเซชัน

วัลคาไนเซชัน (Vulcanization) คือ การที่ยางทำปฏิกิริยากับกำมะถันในปริมาณที่พอเหมาะที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของกำมะถัน โดยกำมะถันที่นำมาทำปฏิกิริยาด้วยนี้จะสร้างพันธะโคเวเลนต์เชื่อมระหว่างโซ่พอลิเมอร์ให้เป็นโมเลกุลเดียวกันทำให้ยางมีคุณภาพคงตัวในอุณหภูมิต่างๆ มีความยืดหยุ่นได้ดีมากขึ้น ทนความร้อนและแสงแดด ละลายในตัวทำละลายได้ยากขึ้น เช่น ปกติยางธรรมชาติเมื่อได้รับความร้อนจะเหนียวและอ่อนตัว แต่เมื่ออุณหภูมิต่ำลงจะแข็งและเปราะฉะนั้นจึงต้องปรับคุณภาพของยางธรรมชาติ ก่อนนำมาใช้ประโยชน์ ปฏิกิริยานี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดย ชาร์ลส์ กูดเยียร์ (Charles Goodyear).

9 ความสัมพันธ์: ยางยางรีเคลมยางลบยางสังเคราะห์ยางครัมบ์ยางเอสพีอเล็กซ์ โมลตันจักรยานตัวเชื่อมโยงพอลิเมอร์

ยาง

การเก็บน้ำยาง ยาง คือวัสดุพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอน ยางเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ยางที่มีต้นกำเนิดจากธรรมชาติจะมาจากของเหลวของพืชบางชนิด ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว คล้ายน้ำนม มีสมบัติเป็นคอลลอยด์ อนุภาคเล็ก มีตัวกลางเป็นน้ำ ยางในสภาพของเหลวเรียกว่าน้ำยาง ยางที่เกิดจากพืชนี้เรียกว่ายางธรรมชาติ ในขณะเดียวกันมนุษย์สามารถสร้างยางสังเคราะห์ได้จากปิโตรเลียม.

ใหม่!!: วัลคาไนเซชันและยาง · ดูเพิ่มเติม »

ยางรีเคลม

งรีเคลม (Reclaim Rubber) หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์ยางที่วัลคาไนซ์แล้วมาผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งโดยการที่ทำให้โมเลกุลของยางที่มีการเชื่อมโยง แตกออกเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ซึ่งสามารถนำไปผสมสารเคมีแล้วนำกลับมาวัลคาไนซ์ใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง การทำยางรีเคลม มีกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: วัลคาไนเซชันและยางรีเคลม · ดูเพิ่มเติม »

ยางลบ

งลบ ยางลบ (อเมริกัน: eraser บริติช: rubber) คือเครื่องเขียนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับลบรอยดินสอหรือปากกาที่เขียนบนวัสดุอย่างหนึ่งเช่นกระดาษ โดยใช้ยางลบถูไปมาจนรอยเขียนหายไป และดินสอส่วนมากมักจะมียางลบติดมาด้วยเพื่อใช้ควบคู่กัน ยางลบนั้นทำมาจากยางเป็นหลัก แต่สำหรับยางลบที่ใช้งานเฉพาะทางก็อาจผลิตด้วยไวนิล พลาสติก หรือยางธรรมชาติอื่นๆ ก็ได้ ส่วนมากจะพบเป็นสีขาว แต่ก็สามารถผลิตให้เป็นสีอื่นๆ ได้แล้วแต่ส่วนผสมของวั.

ใหม่!!: วัลคาไนเซชันและยางลบ · ดูเพิ่มเติม »

ยางสังเคราะห์

งสังเคราะห์ได้มีการผลิตมานานแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้มีการผลิตยางสังเคราะห์ขึ้นในอดีต เนื่องจากการขาดแคลนยางธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และปัญหาในการขนส่งจากแหล่งผลิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาการผลิตยางสังเคราะห์เพื่อให้ได้ยางที่มีคุณสมบัติตามต้องการในการใช้งานที่สภาวะต่าง ๆ เช่น ที่สภาวะทนต่อน้ำมัน ทนความร้อน ทนความเย็น เป็นต้น การใช้งานยางสังเคราะห์จะแบ่งตามการใช้งานออกเป็น 2 ประเภทคือพงษ์ธร แซ่อุย, ยาง: ชนิด สมบัติ และการใช้งาน, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค), 2547บุญธรรม นิธิอุทัย, ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์และคุณสมบัติ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2530, หน้า 1, 3.

ใหม่!!: วัลคาไนเซชันและยางสังเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ยางครัมบ์

งครัมบ์ (crumb rubber) เป็นยางประเภทหนึ่งที่สามารถนำไปผสมกับยางได้ ซึ่งได้มาจากการนำเศษยางวัลคาไนซ์แล้วมาบดเป็นผงขนาดเล็กประมาณ 20-40 เมช สามารถนำมาใช้ในงานอัดเบ้า (Moulding) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของยาง และส่วนที่เป็นยางครัมบ์ยังช่วยป้องกันการเกิดฟองอากาศที่จะเกิดขึ้นในการอัดเบ้าได้ด้วย ส่วนยางวัลคาไนซ์ที่ผสมยางครัมบ์จะช่วยลด "nerve" ของยางลงไป เพราะความเครียดที่มีอยู่ในยางครัมบ์จะหายไปโดยที่ยางครัมบ์จะทำหน้าที่คล้าย ๆ กับสารตัวเติมในยาง และถ้ายางครัมบ์มีขนาดอนุภาคเล็กลงไปอีก จะทำให้สมบัติของยางวัลคาไนซ์ดีขึ้น ทัดเทียมกับการใช้ยางรีเคลม และสมบัติจะดีขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณยางครัมบ์ที่ใช้ในการผสมด้วย สำหรับข้อจำกัดของยางครัมบ์ก็คือไม่สามารถใช้กับเครื่องเอกซ์ทรูดหรือเครื่องรีดแผ่นได้เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้ผิวของยางขรุขระได้.

ใหม่!!: วัลคาไนเซชันและยางครัมบ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยางเอสพี

งเอสพี (SP Rubber): หมายถึงยางที่มีส่วนผสมของยางวัลคาไนซ์หรือ ยางที่มีพันธะเชื่อมโยงแล้ว ปัจจุบันมีการผลิตยางเอสพีเกรดต่าง ๆ เช่น SP20, SP40, SP50, PA57, PA80 เป็นต้น เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี, 2546, การผลิตยางธรรมชาติ, ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งยางเอสพี หรือ SP นี้ย่อมาจาก superior processing ได้มีการพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 แต่ก็ยังไม่มีจำหน่ายมากในปัจจุบัน ขั้นตอนการเตรียมยางเอสพี เริ่มจากเตรียมน้ำยางวัลคาไนซ์ หรือน้ำยางที่มีพันธะเชื่อมโยง คือ การนำน้ำยางธรรมชาติที่เก็บรักษาด้วยแอมโมเนีย มาใส่สารเคมีวัลคาไนซ์ ได้แก่ ซิงออกไซด์, กำมะถัน, ZDC และ MBT ให้ความร้อนเพื่อให้เกิดการวัลคาไนซ์ที่อุณหภูมิประมาณ 85 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง และต่อจากนั้นก็นำมาผสมกับน้ำยางสด เมื่อผสมกันเรียบร้อยแล้วจึงนำมาจับตัวเป็นยางแผ่นหรือยางเครพ ยางเอสพีนี้จะเรียกชื่อตามปริมาณพันธะเชื่อมโยง หากมีพันธะเชื่อมโยงร้อยละ 50 ลงมาจะเรียกยางเอสพีนั้นว่า SP เช่น SP40 หรือ SP20 หมายถึงยางที่มีส่วนผสมของยางที่วัลคาไนซ์อยู่ 20 ส่วนในยาง 100 ส่วน เป็นต้น แต่ถ้าหากว่ามีปริมาณพันธะเชื่อมโยงร้อยละ 50 ขึ้นไปจะเรียกว่ายางพีเอ เช่น PA80 เป็นต้น ยางเอสพีจะมีคุณสมบัติในการรักษาขนาดและรูปทรงในการเอกทรูดซ์ ซึ่งจากการนำยางธรรมชาติ, SP20 และ PA80ผสมยางธรรมชาติ มาเอกทรูดซ์เปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่ายางธรรมชาติจะพองตัวมากกว่า SP20 และ PA80ผสมยางธรรมชาติ โดยสรุป หากเราต้องการยางที่มีคุณสมบัติยางที่ออกจากเอกทรูดซ์ให้เรียบและรักษารูปทรงที่ดี โดยเฉพาะกรณีที่มีการเติมสารตัวเติมน้อย การเลือกใช้ยางเอสพีเป็นทางเลือกที่ดีในการนำไปใช้.

ใหม่!!: วัลคาไนเซชันและยางเอสพี · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซ์ โมลตัน

อเล็กซานเดอร์ เอริก "อเล็กซ์" โมลตัน ซีบีอี (Alexander Eric "Alex" Moulton, 9 เมษายน ค.ศ. 1920 - 9 ธันวาคม ค.ศ. 2012) เป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ มีชื่อเสียงในฐานะผู้ออกแบบระบบกันสะเทือนของรถยนต์มินิ อเล็กซ์ โมลตันเกิดในครอบครัวนักอุตสาหกรรมยางพารา ปู่ทวดของเขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมยางวัลกาไนซ์ในสหราชอาณาจักร หลังจบการศึกษาจากวิทยาลัยมาร์โบโรฮ์ และคิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โมลตันทำงานเป็นวิศวกรออกแบบเครื่องยนต์ จากนั้นได้ทำงานในบริษัทของครอบครัว และเมื่อออกมาตั้งบริษัท โมลตัน ดีเวลล็อปเมนต์ส เป็นของตัวเอง ก็ได้ใช้ประสบการณ์ในอุตสาหกรรมยางพารา ออกแบบระบบกันสะเทือนแบบใหม่ ที่ใช้เบ้ายาง ให้กับรถยนต์มินิรุ่นใหม่ของเซอร์ อเล็กซ์ อิซซิโกนิส ทำให้มีระบบกันสะเทือนที่มีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพ อเล็กซ์ โมลตันยังมีชื่อเสียงในฐานะผู้ออกแบบจักรยาน ที่ใช้ล้อขนาดเล็ก และใช้ระบบกันสะเทือนแบบเบ้ายางเช่นเดียวกับรถมินิ ใช้ชื่อการค้าว่า จักรยานโมลตัน.

ใหม่!!: วัลคาไนเซชันและอเล็กซ์ โมลตัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรยาน

accessdate.

ใหม่!!: วัลคาไนเซชันและจักรยาน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเชื่อมโยงพอลิเมอร์

ตัวเชื่อมโยงพอลิเมอร์ (อังกฤษ:crosslinker) เป็นตัวเชื่อมสายโซ่พอลิเมอร์ ด้วยพันธะโคเวเลนต์ที่เชื่อมระหว่าง 2 สายพอลิเมอร์ ทำให้พอลิเมอร์มีสมบัติเป็นเทอร์มอเซต พอลิเมอร์ (thermosetting polymer) ในทางชีววิทยา มีการประยุกต์การเชื่อมโยงข้ามของพอลิอะคริลาไมด์ (polyacrylamide) ในกระบวนการ gel electrophoresis และ โปรตีน ตัวเชื่อมโยงข้ามขัดขวางการจับตัวกันอย่างหนาแน่นของสายโซ่พอลิเมอร์ และป้องกันการเกิดบริเวณที่จัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ การเชื่อมโยงข้าม (cross-link) เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเมอร์กับตัวเชื่อมโยงข้าม เช่น ในกระบวนการวัลคะไนส์ (vulcanization) ตัวเชื่อมโยงคือซัลเฟอร์ (sulfur) ทำปฏิกิยากับพอลิไอโซพรีน (polyisoprene) ทำให้คุณสมบัติของยางแข็งขึ้น และมีความทนทาน ยางนี้ไปใช้ได้ดีกับรถยนต์และรถจักรยาน ไฟล์:crosslink.jpg.

ใหม่!!: วัลคาไนเซชันและตัวเชื่อมโยงพอลิเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ValcanizationVulcanizationการวัลคาไนซ์วัลคาไนซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »