สารบัญ
15 ความสัมพันธ์: กรดไซคลามิกการรับรู้รสการควบคุมทางวิทยาศาสตร์กาแล็กโทสมสาลาจายยาน้ำเชื่อมหมากฝรั่งหล่อฮังก๊วยข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมคากิโงริน้ำตาลแอซีซัลเฟมโพแทสเซียมโฟรซเซนโยเกิร์ตโซเดียมไซคลาเมตเลขอี
กรดไซคลามิก
กรดไซคลามิก (cyclamic acid) หรือ กรดไซโคลเฮกซิลซัลเฟมิก (cyclohexylsulfamic acid) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ C6H13NO3S มีเลขอีคือ E952 ลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการผลิตสีและพลาสติก รวมถึงเป็นตัวทำปฏิกิริยาในห้องปฏิบัติการ เกลือโซเดียมหรือเกลือแคลเซียมของกรดไซคลามิกใช้เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่เรียกว่า "ไซคลาเมต".
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและกรดไซคลามิก
การรับรู้รส
ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและการรับรู้รส
การควบคุมทางวิทยาศาสตร์
แบ่งพืชเหมือนกันเป็นสองกลุ่มแล้วให้ปุ๋ยกับกลุ่มเดียว ถ้าเกิดความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้ปุ๋ย และ "กลุ่มควบคุม" ที่ไม่ได้ ความแตกต่างอาจจะเกิดจากปุ๋ย การควบคุมทางวิทยาศาสตร์ (scientific control) หรือ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์ เป็นการทดลอง หรือการสังเกตการณ์อันหนึ่ง ที่ทำเพื่อใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองว่า การกระทำหรือความต่างอย่างอื่นที่มีในกลุ่มทดลองแต่ไม่มีในกลุ่มควบคุม มีผลต่างต่อกลุ่มทดลองอย่างไร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นกลุ่มที่ทำเพื่อลดผลต่างของตัวแปรอื่น ๆ ยกเว้นตัวแปรอิสระเดียวที่เป็นประเด็นการศึกษา เป็นวิธีการที่เพิ่มความน่าเชื่อถือของผลต่างที่พบ (ที่ควรจะเกิดจากความต่างของตัวแปรอิสระอย่างเดียว) บ่อยครั้งโดยเปรียบเทียบค่าวัดจากกลุ่มควบคุมและค่าวัดในกลุ่มอื่น ๆ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างกลุ่มควบคุม (บางครั้งเรียกว่า กลุ่มควบคุมของการทดลอง) ที่ใช้ตรวจสอบผลของปุ๋ย โดยให้ปุ๋ยกับพืชเพียงครึ่งเดียวในแปลง พืชที่ไม่ได้รับปุ๋ยก็คือกลุ่มควบคุม เพราะว่าเป็นกลุ่มแสดงระดับการเติบโตพื้นฐาน ที่จะใช้เปรียบเทียบกับพืชที่ใส่ปุ๋ย ถ้าไม่มีกลุ่มควบคุม การทดลองจะไม่สามารถกำหนดได้ว่า พืชที่ใส่ปุ๋ย โตได้ "ดีกว่า" พืชที่ไม่ใส่หรือไม่ ในการทดลองสมบูรณ์แบบ ตัวแปรทั้งหมดจะมีการควบคุม (คือโดยเปรียบเทียบค่าวัดต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุม) และดังนั้น ถ้าตัวแปรอื่น ๆ ควบคุมได้อย่างที่คาดหวัง ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การทดลองนั้นดำเนินไปอย่างที่ตั้งใจ และผลที่พบในการทดลอง มาจากความต่างของตัวแปรอิสระที่เป็นประเด็นศึกษา ซึ่งก็คือ เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ทำงานอ้างได้ว่า "สถานการณ์ 2 อย่างเหมือนกันทุกอย่าง จนกระทั่งปัจจัย ก เกิดขึ้น และเนื่องจากปัจจัย ก เป็นความแตกต่างอย่างเดียวที่มีในสองสถานการณ์ ผลที่พบจึงเกิดจากปัจจัย ก".
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและการควบคุมทางวิทยาศาสตร์
กาแล็กโทส
กาแล็กโทส (Galactose) เรียกอีกอย่างว่า น้ำตาลสมอง (brain sugar) เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบในผลิตภัณฑ์นม (dairy product) ในน้ำตาลบีต (sugar beet) กัม (gum) และ น้ำเมือกจากต้นไม้ (mucilage) ถูกสังเคราะห์ในร่างกายและเกิดเป็นไกลโคไลปิดและไกลโคโปรตีน ในเนื้อเยื้อหลายชนิด ถูกจัดเป็นสารให้ความหวาน (sweetener) เพราะมีพลังงานอาหาร (food energy) กาแล็กโทสหวานน้อยกว่ากลูโคส ไม่ละลายน้ำมากนัก เมื่อนำ Galactose + Glucose ก็จะได้น้ำตาล Lactose ซึ่งพบในน้ำนมเหมือนกัน กาแล็กแทน (Galactan) เป็นพอลิเมอร์ของกาแล็กโทสพบใน เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) และสามารถเปลี่ยนเป็นกาแล็กโทสได้โดยการไฮโดรไลซิส (hydrolysis) กาแล็กโทสเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) ซึ่งเชื่อมต่อกับโมเลกุลของกลูโคส จะได้น้ำตาลไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) ที่ชื่อว่า แล็กโทส การไฮโดรไลซิสแล็กโทสจะได้กลูโคสและกาแล็กโทส ซึ่งจะถูก เร่งปฏิกิริยา โดยเอนไซม์บีตา-กาแล็กโทซิเดส แล็กเทสในร่างกายมนุษย์ กลูโคสจะถูกเปลี่ยนเป็นกาแล็กโทส เพื่อที่จะทำให้ต่อมน้ำนม (mammary gland) หลั่งแล็กโทสออกมาได้.
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและกาแล็กโทส
มสาลาจาย
มสาลาจาย (मसाला चाय, แปลตรงตัวว่า "ชาใส่เครื่องเทศ"; مصالحہ چائے; मसलेदार चिया; মসলা চা) เป็นเครื่องดื่มชาแต่งกลิ่นชนิดหนึ่งจากเอเชียใต้ ได้จากการต้มใบชาดำกับเครื่องเทศและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ปัจจุบันมสาลาจายได้รับความนิยมไปทั่วโลกโดยกลายเป็นรายการเด่นของร้านกาแฟหรือร้านน้ำชาหลายแห่ง บางแห่งอาจเรียกเครื่องดื่มชนิดนี้สั้น ๆ ว่า "จาย" ซึ่งแปลว่าชา หรือเรียกโดยซ้ำคำเป็น "ชาจาย" วิธีการเตรียมแบบดั้งเดิมจะนำใบชาไปต้มกับนมและเครื่องเทศ เช่น เมล็ดกระวานเขียว อบเชยแท่ง ขิงบด กานพลูบด เมล็ดพริกไทยดำ เป็นต้น เสร็จแล้วจึงกรองเอากากออก แต่ก็มีการผลิตมสาลาจายเป็นจำนวนมากเพื่อการค้าปลีกในรูปแบบถุงชาสำหรับชงแช่, ผงส่วนผสมสำเร็จรูป หรือชาเครื่องเทศเข้มข้น (concentrate).
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและมสาลาจาย
ยาน้ำเชื่อม
น้ำเชื่อม (syrup) เป็นเภสัชภัณฑ์รูปแบบของเหลวชนิดหนึ่งซึ่งตำรับยาที่มีลักษณะใสและหนืด มีส่วนผสมของน้ำตาลเช่น น้ำตาลซูโครส หรือสารให้ความหวานอื่นๆประกอบอยู่ นอกจากนี้ยังมีการแต่งกลิ่นและสีเพื่อเพิ่มความน่าใช้หรือน่ารับประทานอีกด้ว.
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและยาน้ำเชื่อม
หมากฝรั่ง
หมากฝรั่ง หมายถึงยางสังเคราะห์ที่ถูกแต่งกลิ่น รส และสีให้เป็นกลิ่นรสต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น โคคาโคล่า ส้ม มินต์ เป็นต้น โดยในอดีตมักทำมาจากยาง.
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและหมากฝรั่ง
หล่อฮังก๊วย
หล่อฮังก๊วย เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เป็นพืชพืนเมืองของทางตอนใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย หล่อฮังก๊วยจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง ในการแพทย์แผนจีนจะนำผลของหล่อฮังก๊วยไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะหากใช้ได้แล้วจะมีเสียงกังวาน สามารถนำมาต้มหรือผสมกับจับเลี้ยงเพื่อปรุงเครื่องดื่มแก้ร้อนในได้ สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม..
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและหล่อฮังก๊วย
ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม
้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม
คากิโงริ
กิโงริ (かき氷) เป็นของหวานญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ทำจากน้ำแข็งไส แต่งกลิ่นรสด้วยน้ำเชื่อมและสารให้ความหวานซึ่งมักจะเป็นนมข้นหวาน新明解国語辞典(第6版)、三省堂 รสชาติที่เป็นที่นิยมได้แก่ รสสตรอว์เบอร์รี, เชอร์รี, เลมอน, ชาเขียว, องุ่น, เมลอน, "บลูฮาวาย", ลูกพลัมหวาน และน้ำเชื่อมไม่มีสี บางร้านมีสีสันให้เลือกอย่างหลากหลายโดยใช้น้ำเชื่อมสองชนิดขึ้นไป ในการเพิ่มความหวานให้คากิโงริ นิยมเทนมข้นหวานหรือนมระเหยราดด้านบนของน้ำแข็งไส ของหวานชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับน้ำแข็งไสที่ใส่ถ้วยโคน (snow cone) แต่มีข้อแตกต่างที่เด่นชัด กล่าวคือ เกล็ดน้ำแข็งของคากิโงรินั้นเป็นปุยนุ่ม เบา และฟูมากกว่า (คล้ายเกล็ดหิมะที่เพิ่งตกลงมาใหม่ ๆ) และมักจะใช้ช้อนตักกิน วิธีการทำคากิโงริแบบดั้งเดิมนั้นจะใช้เครื่องไสน้ำแข็งที่มีมือจับ ปั่นหมุนก้อนน้ำแข็งบนใบมีดสำหรับไส แม้ว่าเครื่องไสน้ำแข็งไฟฟ้าจะเป็นที่นิยมแพร่หลาย แต่ก็ยังสามารถพบเห็นร้านข้างทางที่ใช้เครื่องไสแบบมือหมุนอยู่ในฤดูร้อน ในญี่ปุ่น นอกจากตามถนนหนทางแล้ว ยังมีการขายคากิโงริตามงานเทศกาล ร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ และร้านอาหาร ระหว่างช่วงเดือนในฤดูร้อนจะมีคากิโงริวางขายแทบทุกที่ บางร้านก็เสิร์ฟคากิโงริพร้อมไอศกรีมและถั่วแดงหวานหรือไข่มุก (เม็ดแป้งมันสำปะหลัง).
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและคากิโงริ
น้ำตาล
องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและน้ำตาล
แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม
แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (acesulfame potassium) หรือ แอซีซัลเฟมเค (acesulfame K) (K เป็นสัญลักษณ์ธาตุโพแทสเซียม) เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว มีสูตรเคมีคือ C4H4KNO4S มีเลขอีคือ E950 ค้นพบในปี..
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม
โฟรซเซนโยเกิร์ต
ฟรซเซนโยเกิร์ต โฟรซเซนโยเกิร์ต (frozen yogurt) หรือรู้จักในชื่อ โฟรโย หรือ โฟรเกิร์ต เป็นของหวานแช่แข็งที่มีส่วนผสมหลักคือโยเกิร์ตหรือผลิตภัณฑ์จากนมวัว โดยจะแตกต่างจากไอศกรีมคือมีส่วนประกอบของไขมันที่น้อยกว่าเนื่องจากใช้นมบริสุทธิ์แทนที่ใช้ครีม โฟรซเซนโยเกิร์ตมีส่วนประกอบทั่วไปคือ นม ไขมันนม โยเกิร์ต สารให้ความหวาน เจลาติน คอร์นไซรัป และสารแต่งกลิ่นสี.
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและโฟรซเซนโยเกิร์ต
โซเดียมไซคลาเมต
ซเดียมไซคลาเมต (sodium cyclamate) หรือ ไซคลาเมต เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีสูตรเคมีคือ C6H12NNaO3S มีเลขอีคือ E952 ไซคลาเมตเป็นเกลือโซเดียมหรือเกลือแคลเซียมของกรดไซคลามิกที่เตรียมได้จากปฏิกิริยาซัลเฟชันของไซโคลเฮกซิลเอมีน หรือให้ไซโคลเฮกซิลเอมีนทำปฏิกิริยากับกรดซัลเฟมิกหรือซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ โซเดียมไซคลาเมตมีความหวานกว่าซูโครส (น้ำตาลทราย) 30-50 เท่า ถูกค้นพบในปี..
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและโซเดียมไซคลาเมต
เลขอี
รละลายไรโบเฟลวิน (วิตามินบี2) (E101) ผลึกโมโนโซเดียมกลูตาเมต (E621) เลขอี (E number; E มาจากคำว่า "ยุโรป") เป็นรหัสที่ใช้บ่งชี้วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ในสหภาพยุโรป และสวิตเซอร์แลนด์ โดยวัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA).
ดู วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลและเลขอี
หรือที่รู้จักกันในชื่อ สารให้ความหวานสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลสารให้ความหวานแทนน้ำตาลน้ำตาลเทียม