สารบัญ
19 ความสัมพันธ์: ระบบสุริยะวงศ์ดาวเคราะห์น้อยดาวบริวารดาวบริวารดาวเคราะห์น้อยดาวพลูโตดาวมาคีมาคีดาวอีริสดาวเฮาเมอาดาวเคราะห์น้อยดาวเคราะห์เก้าแถบหินกระจายแถบไคเปอร์เมฆออร์ตเซดนอยด์1 E6 m15760 อัลเบียน20000 วรุณ50000 ควาอัวร์90377 เซดนา
ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและระบบสุริยะ
วงศ์ดาวเคราะห์น้อย
วงศ์ดาวเคราะห์น้อย คือการจัดกลุ่มประชากรดาวเคราะห์น้อยที่มีลักษณะร่วมกันทางวงโคจร เช่น ค่ากึ่งแกนเอก ความเยื้องศูนย์กลาง และความเอียงของวงโคจร เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยที่เป็นสมาชิกในวงศ์เดียวกันน่าจะเป็นชิ้นส่วนของดาวเคราะห์น้อยดวงเดียวกันที่แตกออกเป็นส่วน ๆ จากการปะทะกันในอดีต.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและวงศ์ดาวเคราะห์น้อย
ดาวบริวาร
วบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวบริวาร
ดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย
243 ไอดา กับดาวบริวาร แดคทิล ดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย คือดาวเคราะห์น้อยที่โคจรไปรอบๆ ดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นในลักษณะของดาวบริวาร เชื่อกันว่ามีดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากที่มีดาวบริวารของตัวเอง และบางทีอาจมีขนาดพอๆ กันด้วย การค้นพบดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย (หรือบางครั้งคือวัตถุคู่) มีความสำคัญเนื่องจากการที่สามารถระบุวงโคจรของพวกมันได้จะทำให้สามารถประเมินมวลและความหนาแน่น ซึ่งนำไปสู่การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ ที่ไม่อาจทำได้ในทางปฏิบัติ บทความนี้หมายรวมถึงดาวบริวารของวัตถุพ้นดาวเนปจูนด้ว.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย
ดาวพลูโต
วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวพลูโต
ดาวมาคีมาคี
มาคีมาคี (Makemake;; ภาษาราปานุย: มาเกมาเก) มีชื่อเดิมว่า (136472) มาคีมาคี เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ (เท่าที่ค้นพบแล้วในขณะนี้) และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของแถบไคเปอร์ (KBO) ซึ่งอยู่ในหมู่วัตถุชั้นเอกของแถบไคเปอร์ ดาวมาคีมาคีมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของดาวพลูโต ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ซึ่งแปลกจากวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ แถบไคเปอร์ด้วยกัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้วย จากเริ่มแรกที่มีชื่อว่า (และต่อมามีหมายเลขดาวเคราะห์น้อย 136472 กำกับ) ดาวมาคีมาคีถูกค้นพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวมาคีมาคี
ดาวอีริส
136199 อีริส (Eris) หรือ 2003 UB313 เป็นดาวเคราะห์แคระหนึ่งในวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ เป็นลำดับที่ 2 ในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกว่าดาวพลูโตเล็กน้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1445 กิโลเมตร(ขนาดดาวพลูโต 1473 กิโลเมตร) มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง ชื่อ ดิสโนเมีย (Dysnomia) อีริสถูกค้นพบโดย ไมเคิล อี.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวอีริส
ดาวเฮาเมอา
มอา มีชื่อเดิมว่า 136108 เฮาเมอา เป็นดาวเคราะห์แคระดวงหนึ่งในแถบไคเปอร์ มีมวลขนาดหนึ่งในสามของดาวพลูโต ถูกค้นพบในปี พ.ศ.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวเฮาเมอา
ดาวเคราะห์น้อย
วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวเคราะห์น้อย
ดาวเคราะห์เก้า
ในจินตนาการของดาวเคราะห์เก้าจากศิลปิน ความสัมพันธ์ของวงโคจรของวัตถุพ้นดาวเนปจูน 6 ชิ้น ซึ่งนำมาสู่ทฤษฎีการมีอยู่ของดาวเคราะห์เก้า ดาวเคราะห์เก้า (Planet Nine) คือ ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ซึ่งมีการตั้งสมมติฐานว่าอยู่ในบริเวณรอบนอกของระบบสุริยะ ได้รับการเสนอครั้งแรกเมื่อปี..
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวเคราะห์เก้า
แถบหินกระจาย
แถบหินกระจาย (scattered disc) คือย่านวัตถุไกลในระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์น้ำแข็งขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ห่างๆ กัน เรียกชื่อว่า วัตถุในแถบหินกระจาย (scattered disc objects; SDO) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอยู่ในบรรดาตระกูลวัตถุพ้นดาวเนปจูน (trans-Neptunian object; TNO) วัตถุในแถบหินกระจายมีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูงสุดถึง 0.8 ความเอียงวงโคจรสูงสุด 40° มีระยะไกลดวงอาทิตย์ที่สุดมากกว่า 30 หน่วยดาราศาสตร์ วงโคจรที่ไกลมากขนาดนี้เชื่อว่าเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงที่กระจัดกระจายโดยดาวแก๊สยักษ์ หมวดหมู่:วัตถุพ้นดาวเนปจูน หมวดหมู่:ระบบสุริยะ.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและแถบหินกระจาย
แถบไคเปอร์
กราฟิกแสดงแถบไคเปอร์ และเมฆออร์ต ภาพแสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ยานนิวฮอไรซันส์ ที่ใช้ในการสำรวจแถบไคเปอร์ และดาวพลูโต แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) หมายถึง บริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะรอบนอก มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object - KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง เชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น โดยชื่อแถบไคเปอร์นี้ ได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ ผู้ค้นพบ เดิมทีวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในแถบไคเปอร์ คือ ดาวพลูโต ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ..
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและแถบไคเปอร์
เมฆออร์ต
กราฟิกของนาซ่า แสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพกราฟิกแสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางของเมฆออร์ตเปรียบเทียบกับขนาดของระบบสุริยะ เมฆออร์ต (Oort cloud) คือ ชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่เป็นทรงกลม บริเวณเมฆเหล่านี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปราว 50,000 - 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์ ไกลออกไปจากขอบระบบสุริยะรอบนอก ตำแหน่งของเมฆออร์ตอยู่ในระยะความห่าง 1 ใน 4 ของดาวแคระแดงพร็อกซิมาคนครึ่งม้า ในกลุ่มเมฆออร์ตนี้มีวัตถุพ้นดาวเนปจูน อย่างดาวเคราะห์แคระ 90377 เซดนา ที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน..
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและเมฆออร์ต
เซดนอยด์
ซดนา เซดนอยด์ดวงแรก เซดนอยด์ (Sednoid) คือกลุ่มของวัตถุพ้นดาวเนปจูนที่มีจุดปลายวงโคจรที่ระยะทางมากกว่า 50 หน่วยดาราศาสตร์ และมีกึ่งแกนเอกมากกว่า 150 หน่วยดาราศาสตร์ มีวัตถุสองชิ้นที่ทราบกันว่าอยู่ในกลุ่มนี้ คือ 90377 เซดนา และ โดยทั้งคู่ต่างมีจุดปลายวงโคจรมากกว่า 75 หน่วยดาราศาสตร์ แต่มันถูกคาดว่าจะมีวัตถุประเภทนี้อีกมาก วัตถุเหล่านี้โคจรอยู่ในบริเวณที่เกือบเป็นช่องว่างของระบบสุริยะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 50 หน่วยดาราศาสตร์ และไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่โดดเด่นกับดาวเคราะห์ วัตถุในกลุ่มนี้ยังมักที่จะถุกจัดรวมไปกับวัตถุกระจาย นักดาราศาสตร์บางคน เช่น สกอตต์ เชฟเพิร์ด จัดให้กลุ่มเซดนอยด์เป็นวัตถุเมฆออร์ตชั้นใน แม้ว่าเมฆออร์ตชั้นใน จะอยู่เลยออกไปไกลกว่า 2,000 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งไกลกว่าจุดปลายวงโคจรของวัตถุเซดนอยด์ที่ทราบทั้งสองออกไปหลายเท.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและเซดนอยด์
1 E6 m
ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวตั้งแต่ 1 Mm (1,000 กม.) ถึง 10 Mm (10,000 กม.) (106 และ 107 ม.) ---- ความยาวน้อยกว่า 106 เมตร ----.
15760 อัลเบียน
15760 อัลเบียน (15760 Albion) ชื่อเดิม เป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนแรกที่ถูกค้นพบหลังดาวพลูโตและแครอน โดยถูกค้นพบเมื่อ.. 2535 โดย ดาวิด ซี.
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและ15760 อัลเบียน
20000 วรุณ
วาดจินตนาการของ 20000 วรุณ 20000 วรุณ (20000 Varuna) เป็นดาวแคระดวงใหญ่ของแถบไคเปอร์ เคยมีชื่อรหัสว่า ถูกค้นพบในวันที่ 28 พฤศจิกายน..
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและ20000 วรุณ
50000 ควาอัวร์
50000 ควาอัวร์ (50000 Quaoar) เป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนดวงหนึ่ง และมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นดาวเคราะห์แคระ โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในบริเวณแถบไคเปอร์ ค้นพบเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน..
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและ50000 ควาอัวร์
90377 เซดนา
วเคราะห์แคระเซดนา อยู่ในวงกลมสีเขียว ภาพจำลองดาวเคราะห์แคระเซดนาที่วาดขึ้นโดยศิลปิน 90377 เซดนา (Sedna) เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนนอกของระบบสุริยะ ในปี..
ดู วัตถุพ้นดาวเนปจูนและ90377 เซดนา
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Trans-Neptunian Object