เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วัดอนงคารามวรวิหาร

ดัชนี วัดอนงคารามวรวิหาร

วัดอนงคาราม วรวิหาร ตั้งอยู่ในบนถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน วัดอนงคาราม วรวิหาร มีชื่อเดิมคือวัดน้อยขำแถม เป็นชื่อท่านผู้หญิงน้อย ซึ่งเป็นภรรยาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย เป็นผู้สร้างขึ้นคู่กันกับวัดพิชัยญาติแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ 3 ส่วนคำว่าขำแถมนั้นมีเพิ่มเติมมาจากนามเดิมของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ) ซึ่งเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 วัดนี้ก็ได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดอนงคารามอย่างในปัจจุบัน พระอุโบสถที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ช่อฟ้า ใบระกาลงรักประดับกระจก หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่างก็มีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม มีพระพุทธรูปสำคัญอย่างพระพุทธจุลนาคซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย เป็นพระประธานในพระวิหาร และมีพระพุทธรูปพระสาวกหล่อด้วยโลหะปิดทองยืนอยู่ด้านซ้ายขวา อีกทั้งด้านหน้าพระประธานยังมีพระพุทธมังคโล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิตั้งอยู่ด้านหน้าอีกด้วย และใกล้ ๆ กับพระวิหารนั้นก็ยังมีพระมณฑปซึ่งสร้างขนาบกับพระวิหาร หลังที่อยู่ด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่จำลองมาจากวัดราชาธิวาส และหลังที่อยู่ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองเอาไว้ วัดอนงคาราม บนชั้นสอง เป็นห้องสมุดประชาชนภายในวัดนั้น และเป็นที่ตั้งของ "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตคลองสาน" ซึ่งในพิพิธภัณฑ์นั้นมีการจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปต่างๆ ในเขตคลองสาน ทั้งเรื่องของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวคลองสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.

สารบัญ

  1. 25 ความสัมพันธ์: พระพิธีธรรมพระมหาโพธิวงศาจารย์พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน)รายชื่อวัดในกรุงเทพมหานครรายชื่อวัดในจังหวัดกาฬสินธุ์รายชื่อวัดในจังหวัดอำนาจเจริญรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยรายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี)รถไฟฟ้าสายสีทองวัดชัยมงคล (จังหวัดพิจิตร)วงเวียนเล็กสมจินต์ ธรรมทัตสมเด็จพระพุฒาจารย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร)สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอนงค์จังหวัดชัยนาทจำลอง สารพัดนึกถนนสมเด็จเจ้าพระยาครอบครัวของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีโองการ กลีบชื่นเวส สุนทรจามรเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)เขตคลองสาน

พระพิธีธรรม

ระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พัดยศประจำตำแหน่งพระพิธีธรรม พระพิธีธรรมคือสมณศักดิ์ประเภทหนึ่ง (ไม่พระราชทานแก่พระสงฆ์ แต่พระราชทานแก่วัด) พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งจากวัดที่เป็น พระอารามหลวงเป็นส่วนมาก (ไม่ระบุพระสงฆ์วัดใดที่ไม่มีการโปรดเกล้าฯจะไม่สามารถตั้งพระพิธีธรรมได้ แม้แต่ในวัดนั้นจะมีพระสงฆ์ซึ่งเคยเป็นพระพิธีธรรมมาแล้วก็ตาม) ทางวัดจะแต่งตั้งวัดละ 1 สำหรับ สำรับละ 4 รูป เป็นพระพิธีธรรม เพื่อสวดในการบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ เช่น สวดพระอภิธรรมในงานพระบรมศพ พระศพ หรือศพในพระบรมราชานุเคราะห์ สวดอาฎานาฏิยสูตรในพระราชพิธีสงกรานต์ เป็นต้น นอกจากนี้พระพิธีธรรมต้องไปสวดจตุรเวทที่หอศาสตราคมในพระบรมมหาราชวังทุกวันพระ เวียนกันไปวัดละ 1 เดือน ในปัจจุบัน วัดที่มีการพระราชทานแต่งตั้งพระพิธีธรรม ปัจจุบันมีอยู่ 10 วัด ได้แก.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและพระพิธีธรรม

พระมหาโพธิวงศาจารย์

ระมหาโพธิวงศาจารย์ เป็นสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองรูปหนึ่งในฝ่ายมหานิก.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและพระมหาโพธิวงศาจารย์

พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน)

ระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินโน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย และอดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี ที่ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไปสนองงานคณะสงฆ์ที่จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้มีคุณูปการต่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถานอันล้ำค่า ในสมัยสุโขทัย ให้คงอยู่ด้วยการเก็บรวบรวมเอง และร่วมมือชี้แนะกรมศิลปากรในการบูรณะโบราณสถาน เป็นผู้ที่คอยจดบันทึกเก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี และถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้รับรู้ มาเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าศึกษาของอนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและพระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน)

รายชื่อวัดในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อวัดในกรุงเทพมหานคร.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและรายชื่อวัดในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อวัดในจังหวัดกาฬสินธุ์

รายชื่อวัดในจังหวัดกาฬสิน.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและรายชื่อวัดในจังหวัดกาฬสินธุ์

รายชื่อวัดในจังหวัดอำนาจเจริญ

รายชื่อวัดในจังหวัดอำนาจเจริญ.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและรายชื่อวัดในจังหวัดอำนาจเจริญ

รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

ต่อไปนี้ เป็นรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เรียงตามรายชื่อ 76 จังหวัด พร้อมกรุงเทพมหานคร.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี)

ราณสถานที่มีรายชื่อในหน้านี้ตั้งอยู่ในพื้นที่สีเขียวบนแผนที.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและรายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี)

รถไฟฟ้าสายสีทอง

รงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบนถนนเจริญนคร และเป็นการเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์การค้าไอคอนสยาม ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ดำเนินการในรูปแบบรถไฟฟ้าล้อยาง และมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีต้นทางของโครงการใกล้กับสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม วิ่งไปตามแนวถนนเจริญนคร ผ่านศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน สิ้นสุดในระยะแรกที่บริเวณแยกสมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก รวมระยะทาง 5.7 กิโลเมตร คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 50,000 เที่ยวต่อวันเมื่อเปิดทำการ ปัจจุบัน (พ.ศ.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและรถไฟฟ้าสายสีทอง

วัดชัยมงคล (จังหวัดพิจิตร)

วัดชัยมงคล เลขที่ 332 ถนนประเวศน์ ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและวัดชัยมงคล (จังหวัดพิจิตร)

วงเวียนเล็ก

แยกวงเวียนเล็ก (Wongwian Lek Intersection) ปัจจุบันเป็นสี่แยกจุดบรรจบถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่และถนนสมเด็จเจ้าพระยา กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่เขตธนบุรี และคลองสาน กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารี ในอดีตเคยเป็นวงเวียนหอนาฬิกาที่รับการจราจรจากสะพานพุทธ และวงเวียนสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือวงเวียนใหญ่ มีทางแยกถนนสมเด็จเจ้าพระยาไปยังท่าดินแดงและคลองสาน และมีทางแยกถนนเทศบาลสาย 3 เลียบคลองบางไส้ไก่ไปยังชุมชนย่านบุปผารามและวัดกัลยาณมิตร วงเวียนนี้จึงเรียกชื่อว่า "วงเวียนเล็ก" คู่กับ "วงเวียนใหญ่" ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในภายหลังมีการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า ซึ่งมีเชิงลาดขึ้นสะพานใกล้วงเวียนเล็กมาก จึงได้รื้อวงเวียนเล็กและหอนาฬิกาเดิมทิ้ง และปรับให้เป็นแยกวงเวียนเล็กในช่วงที่สะพานพระปกเกล้ายังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ หลังจากสะพานพระปกเกล้าแล้วเสร็จ เพื่อไม่ให้เป็นการตัดกระแสการจราจรหลักบนถนนประชาธิปกทั้งขาขึ้นและขาลงสะพานพระปกเกล้า จึงได้ยกเลิกการเป็นแยกวงเวียนเล็กทำเกาะกลางถนนปิดกั้นตามแนวถนนประชาธิปก ทำให้กายภาพปัจจุบันไม่มีสภาพการเป็นวงเวียนหรือสี่แยกอีกต่อไป โดยแยกวงเวียนเล็กแต่ละฝั่งจะไม่สามารถสัญจรถึงกันได้ ต้องไปกลับรถที่แยกบ้านแขกหรือใต้สะพานพุทธแทน นอกจากนี้ จุดบรรจบถนนเทศบาลสาย 3 บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารียังได้มีการตัดถนนอรุณอมรินทร์มาเชื่อมต่อในภายหลัง ทำให้ช่องทางสัญจรจากย่านวัดกัลยาณ์ขยายใหญ่ขึ้น และสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดออกจากวงเวียนเล็กไปยังแยกวังเดิมและแยกศิริราชได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่รถที่มาจากถนนอรุณอมรินทร์เข้าสู่แยกวงเวียนเล็กจะถูกบังคับให้เลี้ยวซ้ายเพื่อขึ้นสะพานพระปกเกล้า ไม่สามารถตัดกระแสการจราจรไปใช้สะพานพุทธได้ ปัจจุบัน บริเวณแยกวงเวียนเล็กมีการก่อสร้างหอนาฬิกาขึ้น บริเวณริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งเขตคลองสาน เพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของวงเวียนเล็กอีกครั้งหนึ่ง.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและวงเวียนเล็ก

สมจินต์ ธรรมทัต

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานรางวัลดาราทองประเภทโทรทัศน์ ให้นาย สมจินต์ ธรรมทัต ณ.เวทีลีลาศสวนอัมพร วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2509 สมจินต์ ธรรมทัต เกิดวันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและสมจินต์ ธรรมทัต

สมเด็จพระพุฒาจารย์

มเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นราชทินนามของพระเถระรูปหนึ่งที่มีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ในสมัยหลังได้พระราชทานเฉพาะแก่พระเถระฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและสมเด็จพระพุฒาจารย์

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร)

มเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม นวม ฉายา พุทฺธสโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดอนงคารามวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดธนบุรี เจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก สังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ และกรรมการมหาเถรสมาคม.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร)

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง พลตำรวจเอกหญิง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พระนามเดิม: สังวาลย์ ตะละภัฏ; พระราชสมภพ: 21 ตุลาคม พ.ศ.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (Princess Mother Memorial Park) หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า สวนสมเด็จย่า เป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีเนื้อที่ทั้งหมด 4 ไร่ โดยมีสถานที่สำคัญใกล้เคียง คือ วัดอนงคารามและโรงเรียนสตรีวุทฒิศึกษา โดยสถานที่แห่งนี้ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของบ้านของพระชนกชูและพระชนนีคำ พระชนกและพระชนนีในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นสถานที่ประสูติและดำรงพระชนม์ชีพในช่วงทรงพระเยาว์ของพระองค์ท่าน ปัจจุบันอุทยานนี้เปิดดำเนินการเป็นสวนสาธารณะชุมชนและพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ในแง่มุมประวัติศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นพื้นที่อนุรักษ์กลุ่มอาคารเก่า มีพระบรมราชานุสาวรีย์ทองแดงในพระอิริยาบถประทับนั่งของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตรงทางเข้า, บ้านจำลองเมื่อครั้งทรงพระเยาว์, ศาลาทรงแปดเหลี่ยม มีจารึกแสดงถึงประวัติความเป็นมา และยังมีประติมากรรมนูนต่ำแสดงถึงพระราชกรณียกิจในการเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ, การดำเนินงานของแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทร์บรมราชชนี (พอ.สว.) การจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้น อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี..

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

อนงค์

อนงค์ อาจหมายถึง.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและอนงค์

จังหวัดชัยนาท

ังหวัดชัยนาท เดิมสะกดว่า ไชยนาท เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและจังหวัดชัยนาท

จำลอง สารพัดนึก

ร.จำลอง สารพัดนึก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จำลอง สารพัดนึก เกิดเมื่อเดือนธันวาคม..

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและจำลอง สารพัดนึก

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา

นนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนสมเด็จเจ้าพระยา (Thanon Somdet Chao Phraya) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ถนนประชาธิปก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา ตัดกับถนนท่าดินแดงและเข้าพื้นที่แขวงคลองสานที่สี่แยกท่าดินแดง จากนั้นยังคงตรงไปในทิศเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดที่สี่แยกคลองสานซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้า ระยะทางรวม 1.440 กิโลเมตร มีความกว้าง 19.50 เมตร ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเป็น "ถนนสายที่ 2" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและถนนสมเด็จเจ้าพระยา

ครอบครัวของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

มเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีนามเดิมว่า สังวาลย์ เป็นบุตรของชูและคำอนึ่ง ชู, คำ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไม่มีนามสกุลใช้เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีการบัญญัตินามสกุล ภายหลังถมยาได้จดทะเบียนใช้ชื่อสกุลว่า "ชูกระมล" จึงถือว่าครอบครัวของชูและคำใช้นามสกุลนี้โดยอนุโลม (ดูเพิ่มที่) มีพี่ชายและพี่สาวไม่ปรากฏนามสองคน และมีน้องชายหนึ่งคนชื่อ ถมยา ชูกระมล เมื่อสังวาลย์เข้าศึกษาต่อต่างประเทศซึ่งจำต้องใช้ชื่อสกุลในหนังสือเดินทาง จึงได้ใช้นามสกุลของขุนสงขลานครินทร์ (หลี ตะละภัฏ) ข้าราชบริพารคนหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ หลังการอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ จึงมีบรรดาศักดิ์เป็น "หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา" และได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศสูงสุดที่ สมเด็จพระบรมราชชนนี พระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและครอบครัวของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

โองการ กลีบชื่น

องการ กลีบชื่น มีนามเดิมว่า ทองต่อ เป็นบุตรของนายขำและนางทองอยู่ บิดาเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ประจำวัดพระพิเรนทร์และวัดอนงคาราม โองการจึงได้เรียนดนตรีไทยกับบิดาตั้งแต่เด็ก ต่อมาได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย จนกระทั่งกรมขุนเพชรบูรณ์ฯสิ้นพระชนม์ จึงไปเรียนดนตรีต่อจากหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เข้ารับราชการในกองปี่พาทย์และโขนหลวงใน..

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและโองการ กลีบชื่น

เวส สุนทรจามร

วส สุนทรจามร หรือ ครูเวส นักประพันธ์เพลงที่มีผลงานแต่งทำนองให้กับวงสุนทราภรณ์ ร่วมกับครูแก้ว อัจฉริยะกุล ครูสุรัฐ พุกกะเวส เป็นจำนวนมาก เป็นครูเพลงที่มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงในวงการหลายคน เช่น วินัย จุลละบุษปะ, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี และ ธนิต ผลประเสริฐ เป็นต้น.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและเวส สุนทรจามร

เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)

้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)

เขตคลองสาน

ตคลองสาน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ดู วัดอนงคารามวรวิหารและเขตคลองสาน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ วัดอนงคารามวัดอนงคาราม วรวิหาร