เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วัดพระยาไกร

ดัชนี วัดพระยาไกร

วัดพระยาไกร หรือ วัดโชตนาราม ในอดีตตั้งอยู่ในย่านแขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ก่อนมาเป็นที่ตั้งของท่าเรือและบริษัท อีสต์เอเชียติก บริษัทเดินเรือสัญชาติเดนมาร์ก ในสมัยรัชกาลที่ 5 และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ วัดพระยาไกร หรือวัดโชตนาราม มีประวัติทิ้งไว้เป็นชื่อ ต่าง ๆ ในนาม "วัดพระยาไกร" และเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรก่อนที่จะถูกย้ายไปยังวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ต่อมาวัดถูกทิ้งร้างและถูกยุบตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อ 7 สิงหาคม 2539 ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนที่ 67 ง หน้า 20 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2539.

สารบัญ

  1. 1 ความสัมพันธ์: พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

ระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปทองคำแท้ทั้งองค์ หนักถึง 5.5 ตัน เฉพาะมูลค่าทองคำตามที่บันทึกในกินเนสบุ๊คนั้น อยู่ที่ประมาณ 28.5 ล้านปอนด์ เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของวัดมหาธาตุ สุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า "วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" ซึ่งพิจารณาทั้งตามหลักฐานอื่นและเหตุผลประกอบแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ น่าจะเป็น พระพุทธรูปทอง องค์ดังกล่าว เพราะปริมาณทองคำแท้นี้ รวมถึงขนาดพระพุทธรูปนี้ ย่อมเกินกว่าที่สามัญชนทั่วไปพึงสร้างเป็นสมบัติส่วนตัว แต่อย่างไรก็ดี ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้ถูกพอกปูนลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์ เพื่อเป็นการอารักขาภัย แต่ไม่ทราบว่าตกไปอยู่ในสถานที่ใดบ้าง ทราบแต่เพียงว่าล่าสุด ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระยาไกร (วัดโชตนาราม) แต่ต่อมา วัดพระยาไกร กลายเป็นวัดร้าง ไม่มีผู้ดูแล ประกอบกับ บริษัท อีสต์เอเชียติก จำกัด ประสงค์ขอเช่าพื้นที่ของวัดเพื่อดำเนินกิจการของบริษัท ที่ประชุมคณะสงฆ์จึงให้วัดไตรมิตรวิทยาราม และวัดไผ่เงินโชตนาราม ไปอัญเชิญพระพุทธรูปสององค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดพระยาไกรนั้น ไปประดิษฐานไว้ตามสมควร ทางคณะของวัดไผ่เงินฯได้เดินทางไปถึงก่อน จึงเลือกอัญเชิญพระพุทธรูปสำริดไป เหลือพระพุทธรูปปูนปั้นไว้ให้วัดไตรมิตร พระสุโขทัยไตรมิตร ขณะประดิษฐาน ณ พระวิหารหลังเก่า ภายในวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ในขั้นแรกเมื่อถึงวัดไตรมิตร ก็ได้แต่เพียงปลูกเพิงสังกะสีธรรมดา เพื่อบังแดดบังฝน ไว้ริมถนนด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถ เป็นเวลาถึง 20 ปี ด้วยยังหาที่จะประดิษฐานอันเหมาะสมมิได้ ต่อมาในปี พ.ศ.

ดู วัดพระยาไกรและพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร