สารบัญ
11 ความสัมพันธ์: กลุ่มในและกลุ่มนอกกอทิกร็อกภาษาวิบัติม็อด (วิถีชีวิต)รายชื่อตัวละครในน้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอกวัฒนธรรมวัฒนธรรมระดับต่ำวิชวลเคฮิปสเตอร์ (วัฒนธรรมย่อยร่วมสมัย)ฮิปปี้โลกตะวันตก
กลุ่มในและกลุ่มนอก
ในสาขาสังคมศาสตร์และจิตวิทยาสังคม กลุ่มใน (ingroup) เป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลนับว่าตนเป็นสมาชิก โดยเปรียบเทียบกัน กลุ่มนอก (outgroup) ซึ่งเป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลไม่นับว่าตนเป็นสมาชิก ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเห็นว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ที่จำแนกโดยเชื้อชาติ วัฒนธรรม เพศ อายุ หรือศาสนา และมีการพบว่า ความรู้สึกทางจิตใจว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคม มีบทบาทในปรากฏการณ์ทางสังคมต่าง ๆ มากมาย คำภาษาอังกฤษว่า ingroup และ outgroup เกิดความนิยมเพราะงานของเฮ็นรี่ ทัชเฟ็ล และเพื่อนร่วมงาน เมื่อกำลังสร้างทฤษฎีเอกลักษณ์ทางสังคม (social identity theory) และได้ศึกษาความแตกต่างของกลุ่มในกลุ่มนอก โดยวิธีที่เรียกว่า minimal group paradigm พวกเขาพบว่า เราสามารถสร้างกลุ่มในตามความชอบใจของตน ภายในไม่กี่นาที และกลุ่มเช่นนี้อาจจะมีเอกลักษณ์อะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ความชอบใจในภาพศิลป์บางอย่าง.
ดู วัฒนธรรมย่อยและกลุ่มในและกลุ่มนอก
กอทิกร็อก
กอทิกร็อก (Gothic rock) หรือบางครั้งเรียก กอทร็อก (goth rock) หรือ กอท (goth) เป็นแนวเพลงย่อยของดนตรีออลเทอร์นาทิฟ เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปลายยุคทศวรรษ 1970 วงประเภทกอทิกร็อกเติบโตขึ้นจากการพัฒนาของดนตรีพังก์ร็อกอังกฤษ และการเกิดขึ้นของโพสต์-พังก์ และด้วยแนวเพลงแล้วได้แยกออกมาจากกระแสของพังก์ร็อกมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 อันเนื่องมาจากความแตกต่างอย่างชัดเจนของรูปแบบ กอทิกร็อกยังต่อต้านพังก์ มีความมืดหม่น มักใช้คีย์บอร์ดอย่างหนักด้วยเนื้อเพลงที่ใคร่ครวญ หดหู่ วงกอทิกร็อกที่เป็นที่รู้จักเช่นวง Bauhaus, The Cure, Siouxsie & the Banshees, และ The Sisters of Mercy ดนตรีกอทิกร็อกยังทำให้เกิดวัฒนธรรมย่อยต่าง ๆ เช่น แฟชั่น และสิ่งพิมพ์หลายสื่อเติบโตและได้รับความนิยมในยุคทศวรรษ 1980 จากนั้นความนิยมในดนตรีกรันจ์ในสหรัฐอเมริกามีมากจนทำให้กระแสของกอทิกร็อกค่อย ๆ จางหายไปจากดนตรีกระแสหลัก แต่ก็ยังคงอยู่ในเพลงใต้ดินอย่างกว้างขวาง.
ภาษาวิบัติ
ษาวิบัติ รวมถึง ในประเทศไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง ทั้งนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่า ภาษาวิบัติเป็นการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่ผู้ใหญ่ในสังคมไม่ชอบ แม้ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้ภาษาเปลี่ยน การให้เหตุผลว่าภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นภาษาของชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ นิธิเห็นว่าเป็นเหตุผลแบบไสยศาสตร์ ไม่ค่อยน่าฟัง นิธิยังเห็นว่า ปัญหาของภาษาไทยในปัจจุบันคือ การใช้ภาษาไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ไวยากรณ์ การใช้ศัพท์หรือการเรียบเรียง เป็นต้น และการไม่ศึกษาภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เองที่จะเป็นเหตุให้เกิด "ภาษาวิบัติ" เดือนพฤศจิกายน..
ม็อด (วิถีชีวิต)
กลุ่มชาวม็อดและรถ Scooter ม็อด (Mod) มาจากคำว่า Modernism (สมัยใหม่นิยม) เป็นวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในยุค 50 ม็อด เรียกว่าเป็นวัฒนธรรมของคนกลุ่มหนึ่ง (วัฒนธรรมย่อย หรือ Subculture) ที่มีฐานะเป็นชนชั้นกลาง ประกอบด้วยคนหนุ่มสาวเป็นหลัก ทั้งคนทำงานระดับมันสมองและระดับปฏิบัติงาน รูปแบบชีวิตในสังคมก็จะเป็นลักษณะคนเมืองที่ใช้ชีวิตกลางคืน โดยคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่นิยมแฟชั่นและดนตรีมาก แรกเริ่มเดิมที ม็อด ถูกใช้เรียกกลุ่มแฟนเพลงโมเดิร์นแจ๊ส ต่อมาคนกลุ่มนี้ก็เริ่มที่จะแต่งตัวและมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น ในราวปี..
ดู วัฒนธรรมย่อยและม็อด (วิถีชีวิต)
รายชื่อตัวละครในน้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก
รายชื่อตัวละครในน้องสาวผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก คือ รายชื่อตัวละครจากนิยาย, มังงะ และ ภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก.
ดู วัฒนธรรมย่อยและรายชื่อตัวละครในน้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก
วัฒนธรรม
วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.
วัฒนธรรมระดับต่ำ
วัฒนธรรมระดับต่ำ (low culture) เป็นคำเรียกของวัฒนธรรมย่อย ที่ใช้เปรียบกับวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยใช้แยกต่างกับวัฒนธรรมระดับสูง ตัวอย่างของวัฒนธรรมระดับต่ำเช่น การสัก หรือ เพลงป็อป หมวดหมู่:วัฒนธรรม หมวดหมู่:สื่อมวลชน หมวดหมู่:วัฒนธรรมสมัยนิยม.
ดู วัฒนธรรมย่อยและวัฒนธรรมระดับต่ำ
วิชวลเค
วิชวลเค เป็นวัฒนธรรมย่อยทางดนตรีรูปแบบหนึ่งของนักดนตรีชาวญี่ปุ่น วิชวลเคมาจากการผสมคำว่า วิชวล (Visual) ซึ่งแปลว่า "ภาพลักษณ์" และคำว่าเค ซึ่งแปลว่า "แนวทาง" ดังนั้นวิชวลเคจึงสามารถนิยามได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางดนตรีที่เน้นภาพลักษณ์มากกว่าสกุลทางดนตรี หรือสั้นๆว่า "ดนตรีแนวภาพลักษณ์" วิชวลเคมักถูกเข้าใจผิดว่ามีแต่วงดนตรีร็อกเพราะมีต้นกำเนิดมาจากวงดนตรีร็อกที่เรียกแนวทางของตนว่าวิชวลร็อก แต่อันที่จริงวงวิชวลเคมีแนวทางทางดนตรีที่หลากหลายทั้งร็อก, ป๊อป, พังก์, โกธิก, เมทัล ฯลฯ.
ฮิปสเตอร์ (วัฒนธรรมย่อยร่วมสมัย)
วัฒนธรรมย่อยฮิปสเตอร์ตรงแบบประกอบด้วยรุ่นวัยวาย (generation Y) ผิวขาวซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง วัฒนธรรมย่อยนี้ถูกพรรณนาว่าเป็น "หม้อรวมสมัยนิยม รสนิยมและพฤติกรรมข้ามแอตแลนติกกลายพันธุ์" (mutating, trans-Atlantic melting pot of styles, tastes and behavior) และสัมพันธ์กว้าง ๆ กับดนตรีอินดีและอัลเทอร์เนทีฟ แฟชั่นนอกกระแสหลักหลายอย่าง (เช่น เสื้อผ้าวินเทจ) มุมมองการเมืองค่อนข้างก้าวหน้า อาหารอินทรีย์และพื้นบ้านและวิถีชีวิตทางเลือก ตรงแบบฮิปสเตอร์ถูกพรรณนาว่าเป็น โบฮีเมียน (Bohemian) หนุ่มสาวมั่งมีหรือชนชั้นกลางผู้อาศัยอยู่ในย่านซึ่งปรับให้เข้ากับชนชั้นกลาง (gentrification) คำนี้ที่ใช้อย่างในปัจจุบันปรากฏครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1990 และกลายมาโดดเด่นเป็นพิเศษในคริสต์ทศวรรษ 2010 โดยได้ชื่อมาจากคำที่ใช้อธิบายขบวนการก่อนหน้านี้ในคริสต์ทศวรรษ 1940 สมาชิกวัฒนธรรมย่อยดังกล่าวไม่ระบุว่าตัวเป็นฮิปสเตอร์ และคำว่า "ฮิปสเตอร์" มักใช้เป็นคำหยาบพรรณนาผู้โอ้อวด ล้ำสมัยเกินหรือขาดความเข้มแข็ง ความกล้าหรือสปิริต (effete) นักวิเคราะห์บางส่วนแย้งว่า ความคิดฮิปสเตอร์ร่วมสมัยแท้จริงเป็นเรื่องปรัมปราที่การตลาดสร้างขึ้น.
ดู วัฒนธรรมย่อยและฮิปสเตอร์ (วัฒนธรรมย่อยร่วมสมัย)
ฮิปปี้
วกฮิปปี้ ในงานวู้ดสต็อก ปี 1969 ฮิปปี้ คือวัฒนธรรมย่อยเกิดมาจากการเคลื่อนไหวของคนหนุ่มสาว เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นทศวรรษ 1960 และได้แพร่วัฒนธรรมนี้ไปทั่วโลก คำว่าฮิปปี้ มาจาก ฮิปสเตอร์ (วัฒนธรรมย่อยในยุค 40) และถูกใช้ในการอธิบายถึงพวกที่ทำตัวต่างจากคนส่วนมากในสังคม ในซานฟรานซิสโก เขต Haight-Ashbury คนพวกนี้ได้รับสืบทอดวัฒนธรรมที่แปลกแยกนี้จากพวกบีตเจเนเรชัน โดยได้เกิดสังคมของพวกเขา ฟังเพลงจำพวกไซเคเดลิกร็อก ปฏิวัติเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ และเสพย์ยา อย่างเช่น กัญชา และ แอลเอสดี ในปี 1967 ในซานฟรานซิสโก ฮิปปี้มีความโด่งดัง นำไปสู่เหตุการณ์ Summer of Love ทางฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา และ เทศกาลวู้ดสต็อก ในปี 1969 ทางฝั่งตะวันออก ในเม็กซิโกมีการเริ่ม La Onda Chicana ที่ Avándaro แฟชันฮิปปี้ มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมหลัก มีอิทธิพลต่อดนตรีป็อป โทรทัศน์ ภาพยนตร์ งานเขียน และศิลปะ ตั้งแต่อาหารเพื่อสุขภาพ สู่เทศกาลดนตรี การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ยึดติด หรือแม้แต่การปฏิวัติในไซเบอร์สเปซ ในประเทศไทยเรียกฮิปปี้ ว่า พวกบุปผาชน โดยอธิบายไว้ว่า เป็นพวกที่รัก อิสระเสรีภาพ ทั้งการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ทั้งการแต่งกาย ไม่ภูมิฐาน ฟุ้งเฟ้อหรือยึดติดกับสิ่งของราคาแพง อเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 60 เป็นยุคของเบบี้บูม คือ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาได้ประกาศว่าตัวเองคือผู้ชนะสงคราม และ เป็นผู้นำโลกเสรี ผู้คนในประเทศอยู่ในบรรยากาศของการเฉลิมฉลอง มีความสุข กับการแต่งงาน มีลูก มีรถ มีบ้าน มีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดค่านิยมทางสังคมที่เรียกกันว่า American dream ทำให้คนในประเทศหันมาสนใจในระบบของทุนนิยม แต่เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง สถาบันของรัฐสั่นคลอนด้วยวิกฤตศรัทธาในคดีวอเตอร์เกด อเมริกาจึงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามที่ตัวเองเคยชนะและภูมิใจ แต่สงครามครั้งใหม่นี้เกิดขึ้นที่เวียดนาม ก่อให้เกิดความเสียหายในหลาย ๆ ด้านซึ่ง สงครามเวียดนามมีระยะเวลาเกือบ 20 ปี ในช่วงกลางของยุค 60 อเมริกาได้เริ่มมีกองกำลังทหารที่เพิ่มมากขึ้น ใหญ่ขึ้น และ มีคุณภาพมากขึ้น ทหารอเมริกันหลายพันคนถูกส่งไปยังเวียดนามเพื่อไปก่อความไม่สงบและทำลายระบบคอมมิวนิสต์ของเวียดนามเหนือ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและประเทศจีน ในขั้นต้นสงครามได้รับความนิยมบ้าง แต่ความขัดแย้งที่ดูเหมือนจะไม่มีวันสิ้นสุดทำให้ชาวอเมริกันเริ่มหงุดหงิดกับการสูญเสียในสงคราม จึงทำให้นักศึกษา หรือ นักเรียนทหารผ่านศึกเกิดการประท้วงเพื่อเรียกร้องสันติภาพ ความสงบสุข ก่อให้เกิดเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เรียกว่า Hippie หรือ บุปผาชน ซึ่งมันกลายเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ปลูกฝังค่านิยมในตัวของชาวอเมริกัน โดยใช้ปรัชญาความรัก และ สันติภาพ ในการเผยแพร่ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอเมริกา และ ทั่วโลก .
โลกตะวันตก
ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ กลุ่มวัฒนธรรมย่อย