เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์เขียดงู

ดัชนี วงศ์เขียดงู

วงศ์เขียดงู (Asiatic tailed caecilian, Fish caecilian; วงศ์: Ichthyophiidae) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในอันดับ Gymnophiona ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ichthyophiidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกกะโหลกเชื่อมรวมกันมากขึ้นและไม่มีปล้องลำตัวจำนวนมากและเป็นลักษณะเด่น ประกอบด้วยปล้องลำตัวปฐมภูมิ ปล้องลำตัวทุติยภูมิ และปล้องลำตัวตติยภูมิ มีเกล็ดอยู่ในร่องปล้องลำตัวส่วนมาก ตาอยู่ในร่องของกระดูกใต้ผิวหนังแต่มองเห็นได้ชัดเจน ปากอยู่ที่ปลายสุดของหัวหรือต่ำลงมาเล็กน้อย ช่องเปิดของหนวดอยู่ระหว่างตากับช่องเปิดจมูกแต่อยู่ใกล้กับตามากกว่า ส่วนหางมีลักษณะคล้ายกับเขียดงูในวงศ์ Rhinatrematidae ที่พบในอเมริกาใต้ มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 20-30 เซนติเมตร แต่บางชนิด เช่น Caudacaecilia nigroflava และIchthyophis glutinosus มีความยาวลำตัวประมาณ 40-50 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในโพรงดิน ตัวเมียวางไข่ในโพรงดินใกล้กับแหล่งน้ำและเฝ้าดูแลไข่จนกระทั่งตัวอ่อนออกจากไข่ ตัวอ่อนเมื่อออกจากไข่แล้วจะลงสู่แหล่งน้ำและอาศัยอยู่ในน้ำในช่วงต้นของวงจรชีวิต แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล พบราว 37 ชนิด พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย, ศรีลังกา, เอเชียอาคเนย์, ฟิลิปปิน, มาเลเซีย, บอร์เนียว, สุมาตรา เป็นต้น ในประเทศไทยล้วนแต่พบเฉพาะในวงศ์นี้ราว 7 ชนิด เช่น เขียดงูดำ (Caudacaecilia larutensis), เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis), เขียดงูดอยสุเทพ (I.

สารบัญ

  1. 2 ความสัมพันธ์: วงศ์เขียดงูเขียดงู

วงศ์เขียดงู

วงศ์เขียดงู (Asiatic tailed caecilian, Fish caecilian; วงศ์: Ichthyophiidae) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในอันดับ Gymnophiona ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ichthyophiidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกกะโหลกเชื่อมรวมกันมากขึ้นและไม่มีปล้องลำตัวจำนวนมากและเป็นลักษณะเด่น ประกอบด้วยปล้องลำตัวปฐมภูมิ ปล้องลำตัวทุติยภูมิ และปล้องลำตัวตติยภูมิ มีเกล็ดอยู่ในร่องปล้องลำตัวส่วนมาก ตาอยู่ในร่องของกระดูกใต้ผิวหนังแต่มองเห็นได้ชัดเจน ปากอยู่ที่ปลายสุดของหัวหรือต่ำลงมาเล็กน้อย ช่องเปิดของหนวดอยู่ระหว่างตากับช่องเปิดจมูกแต่อยู่ใกล้กับตามากกว่า ส่วนหางมีลักษณะคล้ายกับเขียดงูในวงศ์ Rhinatrematidae ที่พบในอเมริกาใต้ มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 20-30 เซนติเมตร แต่บางชนิด เช่น Caudacaecilia nigroflava และIchthyophis glutinosus มีความยาวลำตัวประมาณ 40-50 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในโพรงดิน ตัวเมียวางไข่ในโพรงดินใกล้กับแหล่งน้ำและเฝ้าดูแลไข่จนกระทั่งตัวอ่อนออกจากไข่ ตัวอ่อนเมื่อออกจากไข่แล้วจะลงสู่แหล่งน้ำและอาศัยอยู่ในน้ำในช่วงต้นของวงจรชีวิต แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล พบราว 37 ชนิด พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย, ศรีลังกา, เอเชียอาคเนย์, ฟิลิปปิน, มาเลเซีย, บอร์เนียว, สุมาตรา เป็นต้น ในประเทศไทยล้วนแต่พบเฉพาะในวงศ์นี้ราว 7 ชนิด เช่น เขียดงูดำ (Caudacaecilia larutensis), เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis), เขียดงูดอยสุเทพ (I.

ดู วงศ์เขียดงูและวงศ์เขียดงู

เขียดงู

ียดงู (Caecilians) เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apoda (ในบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Gymnophiona) มีลักษณะโดยรวมของรูปร่าง คือ ลำตัวเรียวยาวคล้ายงูหรือปลาไหล มีทั้งอาศัยอยู่บนบก ในโพรงดิน และในน้ำ โดยลดรูปโครงสร้างหลายประการซึ่งเป็นลักษณะที่พบกับสัตว์ที่มีลำตัวเรียวยาวหรืออาศัยอยู่ในโพรง กล่าว คือ หางมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีเลย ไม่มีรยางค์ขาหรือฐานรยางค์ แต่ในสกุล Eocaecilia ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีรยางค์ขา ตามีขนาดเล็กและบางชนิดอยู่ในร่องของกระดูกกะโหลกและถูกชั้นหนังปกคลุมไว้ ปอดข้างซ้ายมีขนาดเล็กหรือไม่มี ขณะที่บางวงศ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะไม่มีปอด บางชนิดมีเกล็ดฝังตัวอยู่ในร่องที่แบ่งลำตัวเป็นปล้อง การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายใน โดยตัวผู้จะมีอวัยวะถ่ายอสุจิเจริญจากผนังของห้องทวารร่วม บางชนิดวางไข่ในน้ำ และมีระยะเวลาของวัยอ่อนและบางชนิดวางไข่บนบกโดยไม่มีระยะวัยอ่อน ตัวเมียมีพฤติกรรมเฝ้าไข่ แต่เขียดงูส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 75 ออกลูกเป็นตัว วัยอ่อนภายในท่อนำไข่ได้รับสารอาหารจากสิ่งผลิตภายในท่อนำไข่ มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเป็นปล้อง ปล้องของลำตัวโดยทั่วไปมีจำนานเท่ากับจำนวนปล้องของกระดูกสันหลัง แต่บางชนิดอาจมีปล้องลำตัวจำนวนสองปล้องหรืออาจจะถึงสามปล้องต่อกระดูกสันหลังหนึ่งปล้อง โดยปล้องลำตัวปฐมภูมิเจริญขึ้นมาก่อนต่อจากนั้นจึงมีปล้องลำตัวทุติยภูมิหรือปล้องลำตัวตติยภูมิเจริญขึ้นมาเป็นลำดับต่อมา เกล็ดของเขียดงูประกอบด้วยคอลลาเจนหลายชั้นเรียงซ้อนกันและฝังตัวอยู่ในร่องตรงส่วนลึกที่สุดของปล้องลำตัวปฐมภูมิ โดยเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันในแนวเฉียง กะโหลกของเขียดงูมีชิ้นของกระดูกยึดติดกันแข็งแรงและส่วนใหญ่ไม่มีช่องเปิดที่กะโหลก นอกจากช่องเปิดของอวัยวะรับความรู้สึก ได้แก่ ตา, จมูก, หนวด ในบางวงศ์มีช่องเปิดบริเวณขมับ กระดูกกะโหลกจึงขยับได้บ้าง ฟันที่ขากรรไกรบนอยู่บนกระดูกพรีแมคซิลลา กระดูกแมคซิลโลพาลาทีนและกระดูกโวเมอร์ มีอวัยวะรับรู้จำเพาะ คือ อวัยวะที่แลดูคล้ายหนวด ที่เจริญขึ้นมาจากช่องเปิดที่อยู่ระหว่างตากับช่องเปิดจมูก ตำแหน่งของช่องเปิดหนวดแตกต่างกันในแต่ละชนิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการอนุกรมวิธาน สัดส่วนความยาวของหนวดที่โผล่พ้นช่องเปิดออกมาก็แตกต่างกันในแต่ละวงศ์ โดยหนวดเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ, ต่อม และท่อ การเจริญของหนวดสัมพันธ์กับตาและอวัยวะจาคอบสัน ซึ่งทำหน้าที่รับรู้สารเคมี เขียดงูแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 9 วงศ์ ประมาณ 200 ชนิด (ในขณะที่บางข้อมูลแบ่งเพียง 6 วงศ์ หรือ 3 วงศ์) กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน ยกเว้นบนเกาะมาดากัสการ์และทางตะวันออกของเส้นสมมติวอลเลซ ในประเทศไทยพบได้ 1 วงศ์ เช่น เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis) เป็นต้น.

ดู วงศ์เขียดงูและเขียดงู

หรือที่รู้จักกันในชื่อ CaudacaeciliaIchthyophiidaeIchthyophis