เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์ย่อยหนู

ดัชนี วงศ์ย่อยหนู

วงศ์ย่อยหนู (Old World rats and mice, วงศ์ย่อย: Murinae) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์ฟันแทะในวงศ์หนู (Muridae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murinae มีจำนวนสมาชิกในวงศ์นี้กว่า 519 ชนิด ถือว่าเป็นวงศ์ของสัตวฟันแทะที่มีความหลากหลายมากที่สุดวงศ์หนึ่ง และถือได้ว่ามีจำนวนสมาชิกพอ ๆ กับค้างคาวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกัน หากแต่ค้างคาวมิใช่สัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกที่ได้ชื่อว่าเป็นโลกเก่า คือ แอฟริกา, เอเชีย, ยุโรป ตลอดจนโอเชียเนียด้วย โดยมีสกุลกว่า 129 สกุล โดยที่บางสกุลก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยที่สกุลที่เป็นที่รู้จักกันคือ Rattus ซึ่งเป็นสกุลที่มีขนาดใหญ่ และพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือนของมนุษย์ ได้แก่ หนูบ้าน (R.

สารบัญ

  1. 11 ความสัมพันธ์: วงศ์ย่อยหนูวงศ์หนูหนูหนูบ้านหนูฟานหนูฟานเหลืองหนูพุกหนูหริ่งหนูหริ่งบ้านหนูจี๊ดหนูขนเสี้ยน

วงศ์ย่อยหนู

วงศ์ย่อยหนู (Old World rats and mice, วงศ์ย่อย: Murinae) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์ฟันแทะในวงศ์หนู (Muridae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murinae มีจำนวนสมาชิกในวงศ์นี้กว่า 519 ชนิด ถือว่าเป็นวงศ์ของสัตวฟันแทะที่มีความหลากหลายมากที่สุดวงศ์หนึ่ง และถือได้ว่ามีจำนวนสมาชิกพอ ๆ กับค้างคาวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกัน หากแต่ค้างคาวมิใช่สัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกที่ได้ชื่อว่าเป็นโลกเก่า คือ แอฟริกา, เอเชีย, ยุโรป ตลอดจนโอเชียเนียด้วย โดยมีสกุลกว่า 129 สกุล โดยที่บางสกุลก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยที่สกุลที่เป็นที่รู้จักกันคือ Rattus ซึ่งเป็นสกุลที่มีขนาดใหญ่ และพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือนของมนุษย์ ได้แก่ หนูบ้าน (R.

ดู วงศ์ย่อยหนูและวงศ์ย่อยหนู

วงศ์หนู

วงศ์หนู (Rat, Mice, Mouse; วงศ์: Muridae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวงศ์หนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Muridae นับเป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี และนับเป็นวงศ์ของสัตว์ฟันแทะที่มีความหลากหลายและจำนวนสมาชิกมากที่สุดด้วย ด้วยมีจำนวนสมาชิกมากกว่า 700 ชนิด ตั้งแต่อาร์กติกเซอร์เคิลจนถึงปลายสุดของทวีปอเมริกาใต้ โดยยังแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง).

ดู วงศ์ย่อยหนูและวงศ์หนู

หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

ดู วงศ์ย่อยหนูและหนู

หนูบ้าน

หนูบ้าน, หนูนอร์เวย์, หนูสีน้ำตาล หรือ หนูท่อ เป็นหนูชนิดที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด เพราะเป็นหนูชนิดที่กระจายพันธุ์ไปอยู่ทั่วโลก พบได้ทุกสภาพแวดล้อม รวมถึงบ้านเรือนที่อาศัยของมนุษย์ สันนิษฐานว่าหนูบ้านกระจายพันธุ์มาจากประเทศนอร์เวย์ในภูมิภาคสแกนดิเนเวียที่เป็นแหล่งกำเนิดดั้งเดิม ไปทั่วทุกมุมโลกจากการติดไปกับเรือขนส่งสินค้าในยุควิคตอเรีย ซึ่งมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทุกรูปแบบได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีอัตราการสืบพันธุ์ที่สูงและทักษะในการเอาตัวรอดที่เยี่ยมอีกด้วย หนูบ้านจัดได้ว่าเป็นหนูชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Rattus มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 300-350 กรัม (ในบางตัวอาจหนักได้ถึง 400 กรัม) ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 180-250 มิลลิเมตร หางยาวประมาณ 150-220 มิลลิเมตร เท้าหลังยาวประมาณ 35-40 มิลลิเมตร หูยาวประมาณ 17-23 มิลลิเมตร ลักษณะขนหยาบมีสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีเทา ส่วนจมูกทู่ ใบหูเล็ก ตาเล็ก หางสั้นมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีจาง มีเกล็ดหยาบ ๆ ที่หาง และด้านบนของเท้าหลังมีสีขาว มีเต้านมรวม 6 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ ท้อง 3 คู่ ถ้าอยู่ในชุมชนของมนุษย์ มักอยู่ตามรูท่อระบายน้ำ ใต้ถุนตึกหรือบ้านเรือน บริเวณลำคลอง กองขยะหรือตลาดสด สามารถผสมพันธุ์และออกลูกได้ตลอดทั้งปี โดยออกลูกปีละ 4-7 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 8–12 ตัว เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3-5 เดือน เมื่อผสมแล้วจะตั้งท้องเพียง 21-22 วัน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้แทบทุกอย่างและกินไม่เลือก รวมถึงมีพฤติกรรมกินซากพวกเดียวกันเองด้วย แม้จะไม่พบบ่อยมากนัก มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ปี ให้ลูกได้ตลอดทั้งชีวิต 6-10 ครอก จัดเป็นสัตว์ที่สร้างความรำคาญและเป็นพาหะนำโรคระบาดร้ายแรงที่ทำให้ถึงชีวิตมาสู่มนุษย์ได้อย่างมากที่สุดชนิดหนึ่ง เช่น กาฬโรค ที่เคยระบาดอย่างรุนแรงมาแล้วในทวีปยุโรปในยุคกลาง ที่เรียกว่า ความตายสีดำ (Black Death) และโรคอื่น ๆ อีก เช่น โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรซ.

ดู วงศ์ย่อยหนูและหนูบ้าน

หนูฟาน

หนูฟาน (Rajah rat, Spiny rat, สกุล: Maxomys) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Maxomys จัดอยู่ในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae หนูฟาน มีลักษณะทั่วไปเหมือนกับหนูในสกุล Rattus คือ หนูที่พบได้ตามบ้านเรือนทั่วไป มีขนาดปานกลางถึงขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปในหลากหลายภูมิประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในบ้านเรือน, ชุมชนใกล้ชายป่า, ป่าทึบ, ป่าละเมาะ หรือพื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว หรือยุ้งฉาง ในอดีต หนูฟานเคยถูกจัดให้เป็นสกุลย่อยของสกุล Rattus แต่ปัจจุบันได้ถูกจัดให้เป็นสกุลของตนเองร่วมกับสกุล Niviventer และสกุล Leopoldamys โดยนักอนุกรมวิธานในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ย่อยหนูและหนูฟาน

หนูฟานเหลือง

หนูฟานเหลือง (Red spiny rat, Yellow rajah rat) เป็นหนูชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae หนูฟานเหลือง เป็นหนูขนาดกลาง มีจมูกยาว ขนมีความอ่อนนุ่ม ด้านหลังมีขนแข็งแซมสีดำ ทำให้ขนบริเวณหลังมีสีน้ำตาลเหลืองปนดำ ด้านท้องสีขาว หางมีสีค่อนข้างดำ ปลายหางสีขาว ตัวเมียมีเต้านม 4 คู่ มีขนาดความยาวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง 18.8 เซนติเมตร และความยาวหาง 18.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักราว 155 กรัม หนูฟานเหลือง จัดได้ว่าเป็นหนูที่มีความเชื่องช้า หากินตามพื้นดินในเวลากลางคืน โดยไม่ขึ้นต้นไม้ กินอาหารแทบทุกอย่างที่พบได้ตามพื้นดิน ผสมพันธุ์และออกลูกในช่วงฤดูฝนครั้งละ 4-6 ตัว ตั้งท้องนาน 28 วัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในป่าดิบ, ป่าละเมาะ และแม้แต่สวนผลไม้ แต่จะหาได้ยากตามบ้านเรือน ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภูม.

ดู วงศ์ย่อยหนูและหนูฟานเหลือง

หนูพุก

หนูพุก หรือ หนูแผง (Bandicoot rats) เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bandicota (มาจากภาษาเตลูกู คำว่า pandikokku หมายถึง "หนูหมู") หนูพุก มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับหนูทั่วไปในวงศ์ Murinae แต่ทว่ามีรูปร่างที่ใหญ่กว่าหนูในสกุล Rattus มาก และมีจุดเด่นที่มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำที่รุงรังไม่เป็นระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนบริเวณหลังที่เป็นแผงแข็ง หลังตีนเป็นสีดำ หางยาวมีเกล็ดสีเดียว เป็นหนูที่มีอุปนิสัยดุร้าย เมื่อถูกคุกคามจะขู่และพร้อมที่จะกัด หนุพุก แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด พบได้ในประเทศไทย 2 ชน.

ดู วงศ์ย่อยหนูและหนูพุก

หนูหริ่ง

ระวังสับสนกับสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า: หมูหริ่ง บุคคลดูที่: สมบัติ บุญงามอนงค์ หนูหริ่ง เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mus หนูหริ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับหนูในสกุล Rattus แต่ก็ยังมีขนาดเล็กกว่า แม้แต่หนูจี๊ด (R.

ดู วงศ์ย่อยหนูและหนูหริ่ง

หนูหริ่งบ้าน

หนูหริ่งบ้าน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์หนู (Muridae) หนูหริ่งบ้านจัดเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียประมาณ 30-40 กรัม มีขนสีน้ำตาลอ่อนตลอดทั้งลำตัว ส่วนท้องสีขาว ไม่มีขนที่หาง ขาหน้ามี 4 นิ้ว ขาหลังมี 5 นิ้ว ตัวเมียมีเต้านม 10 เต้า มีอายุขัยประมาณ 1.5-3 ปี หนูหริ่งบ้านเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้แทบทุกอย่างเช่นเดียวกับหนูทั่วไป และจัดเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ตามบ้านเรือนของมนุษย์ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบแทบทุกมุมของโลกและทุกทวีป แต่เชื่อว่า ดั้งเดิมเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ก่อนจะกระจายไปทั่วโลกอย่างในปัจจุบัน หนูหริ่งบ้านเป็นหนูชนิดที่ได้รับความนิยมในการนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์โดยชาวจีนและชาวญี่ปุ่นจนกลายเป็นหนูเผือกทั้งตัว ตาสีแดง และพัฒนาจนเป็นสีต่าง ๆ ตามลำตัว โดยแรกเรี่มเลี้ยงกันในพระราชวัง และเป็นหนูชนิดที่นิยมเป็นสัตว์ทดลองและเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงแก่สัตว์เลื้อยคลาน.

ดู วงศ์ย่อยหนูและหนูหริ่งบ้าน

หนูจี๊ด

หนูจี๊ด (อังกฤษ: Polynesian rat, Pacific rat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rattus exulans) เป็นหนูชนิดหนึ่งในวงศ์ Muridae วงศ์ย่อย Murinae เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดที่อยู่ในสกุล Rattus มีขนสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ขนชั้นนอกแข็ง หางมีสีดำเรียบสนิทมีความยาวกว่าความยาวลำตัวและหัวรวมกันเสียอีก และไม่มีขน ส่วนท้องสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 10.5 เซนติเมตร หางยาว 12.8 เซนติเมตร น้ำหนัก 36 กรัม ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 คู่ 2 คู่แรกอยู่ที่หน้าอก อีก 2 คู่อยู่ที่หน้าท้อง สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยตั้งท้องนานประมาณ 21-22 วัน ตกลูกครั้งละ 7-12 ตัว ปีหนึ่งสามารถออกลูกได้ราว 5-6 ครอก อายุขัยมากที่สุดที่พบประมาณ 6 ปี หนูจี๊ด เป็นหนูที่สามารถพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน พื้นที่เกษตรกรรมเช่น โรงนา, ยุ้งฉาง แต่กลับไม่พบในที่นา และสามารถพบได้ในป่าและถ้ำ เป็นหนูที่มีพฤติกรรมว่องไวมาก ทำรังโดยไม่ขุดรู สามารถปีนป่ายและกระโดดได้เก่ง สามารถไต่ไปตามเส้นลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางแคบ ๆ ได้เป็นระยะทางหลายเมตร โดยใช้หางที่ยาวนั้นช่วยทรงตัวและเกาะเกี่ยว ว่ายน้ำเก่ง กินอาหารได้แทบทุกชนิด และกินอาหารตามที่มนุษย์กินได้ด้วย โดยกินมากเป็นน้ำหนักประมาณ 10 เท่าของน้ำหนักตัวต่อวัน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จนถึงภูมิภาคออสตราเลเชีย, โอเชียเนีย จนถึงฮาวายและโพลินีเซีย โดยมีชื่อเรียกในภาษาเมารีว่า kiore จัดเป็นหนูชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามบ้านเรือนเช่นเดียวกับ หนูท้องขาว (R.

ดู วงศ์ย่อยหนูและหนูจี๊ด

หนูขนเสี้ยน

หนูขนเสี้ยน (Spiny rats; สกุล: Niviventer) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Niviventer ในวงศ์ย่อย Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae มีลักษณะโดยรวมเป็นหนูขนาดเล็ก สภาพทั่วไปคล้ายกับหนูในสกุล Rattus ซึ่งเดิมเคยถูกจัดให้เป็นสกุลย่อยในสกุลนี้ แต่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นสกุลต่างหากร่วมกับสกุล Maxomys และสกุล Leopoldamys โดยนักอนุกรมวิธานในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ย่อยหนูและหนูขนเสี้ยน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Murinae