เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา

ดัชนี วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา (African cichlid) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยกระดูกแข็งในวงศ์ Cichlidae หรือปลาหมอสี ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudocrenilabrinae เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงแอฟริกากลาง สามารถแบ่งออกได้เป็นเผ่าต่าง ๆ หลายเผ่า และหลายสกุล โดยแหล่งที่พบที่ใหญ่ที่สุด คือ ทะเลสาบมาลาวี และทะเลสาบแทนกันยีกา รวมถึงทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งเป็นปลาที่ใช้รับประทานเป็นอาหารในท้องถิ่น และส่งออกไปจำหน่ายเป็นปลาเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ซึ่งปลาในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไจแอนท์แทนกันยีกา (Boulengerochromis microlepis) ที่มีความยาวได้ถึง 90 เซนติเมตร ก็อยู่รวมในวงศ์ย่อยนี้ด้วย ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายมากมายทั้งสกุล และชนิด (คาดว่ามีประมาณ 1,900 ชนิด และ 400 ชนิด กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ และสาหร่ายหรือตะไคร่น้ำเป็นอาหาร) มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างกันออกไป หลายสกุล หลายชนิดวางไข่ไว้ในเปลือกหอยฝาเดียว บางชนิดก็แทะเล็มตะไคร่น้ำและสาหร่ายตามโขดหินเป็นอาหาร ด้วยฟันขนาดเล็ก ๆ แหลมคมหลายชุด ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้มีการกินอาหารแตกต่างกันไป เช่น กัด, ขูด, ดูด และกลืน บางชนิดก็ล่าปลาขนาดเล็กและปลาหมอสีด้วยกันเป็นอาหาร ด้วยการอยู่นิ่ง ๆ กับที่ หรือฝังตัวอยู่ใต้ทราย หรือแม้กระทั่งแกล้งทำเป็นตาย ด้วยการหยุดการทำงานของช่องเหงือกเพื่อหายใจ บางชนิดก็กินเกล็ดปลาอื่นเป็นอาหาร ขณะที่หลายชนิดมีพฤติกรรมฟักลูกปลาไว้ในปาก แต่ก็ต้องเลี้ยงลูกจำพวกอื่นไปด้วย เช่น ปลาหนังขนาดใหญ่บางชนิด โดยเฉพาะในวงศ์ปลากดคัดคู (Mochokidae) โดยที่ไม่รู้เลยว่านั่นไม่ใช่ลูกของตัว และลูกปลาหนังนั้นก็จะกินลูกปลาหมอสีขณะที่อยู่ในปากด้วยMutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet".

สารบัญ

  1. 19 ความสัมพันธ์: การแผ่ปรับตัววงศ์ปลาหมอสีสกุลทิลาเพียสกุลคองโกโครมิสสกุลเพลวิคาโครมิสปลาหมอฟรอนโตซ่าปลาหมอฟรอนโตซ่า (สกุล)ปลาหมอกิบเบโรซ่าปลาหมอลายเมฆปลาหมอสีไซไพรโครมิสปลาหมอสีเลบโตโซม่าปลาหมออีแนนปลาหมอแรมแดงปลาหมอแตงไทยปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์ปลานิล (สกุล)ปลาไจแอนท์แทนกันยีกาLamprologus ocellatusXenotilapia papilio

การแผ่ปรับตัว

ในชีววิทยาวิวัฒนาการ การแผ่ปรับตัว (adaptive radiation) เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลายอย่างรวดเร็วจากสปีชีส์บรรพบุรุษเดียว กลายเป็นรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำให้เกิดทรัพยากร เกิดอุปสรรค หรือเกิดวิถีการดำรงชีวิตที่เป็นไปได้ใหม่ ๆ กระบวนการจะเป็นเหตุการเกิดสปีชีส์และการปรับตัวทางฟีโนไทป์ของสปีชีส์หลากหลาย ที่กลายมีรูปร่างสัณฐานและสรีรภาพที่ต่างกัน โดยเริ่มจากบรรพบุรุษเดียวกันเร็ว ๆ นี้ ตัวอย่างหนึ่งก็คือนกสปีชีส์ต่าง ๆ ในวงศ์ย่อย Carduelinae (Hawaiian honeycreepers) ที่พบในหมู่เกาะฮาวาย คือผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ นกได้ปรับตัวอย่างรวดเร็วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จนมีรูปร่างสัณฐานที่หลากหลาย มีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับกระบวนการนี้เพราะมันมีผลที่น่าทึ่งใจต่อความหลากหลายของประชากรสิ่งมีชีวิต แต่ก็ยังต้องมีงานวิจัยต่อ ๆ ไปเพื่อให้เข้าใจอย่างสมบูรณ์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการ การศึกษาทั้งทางทฤษฎีและทางหลักฐานต่างก็มีประโยชน์ด้วยกันทั้งสอง แม้แต่ละอย่างก็มีข้อเสียเหมือนกัน และเพื่อให้ได้ความรู้มากที่สุด วิธีการศึกษาทั้งสองแบบต้องนำมารวมกัน.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและการแผ่ปรับตัว

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและวงศ์ปลาหมอสี

สกุลทิลาเพีย

กุลทิลาเพีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichildae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia (/ทิลาเพีย/).

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและสกุลทิลาเพีย

สกุลคองโกโครมิส

กุลคองโกโครมิส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Congochromis (/คอง-โก-โคร-มิส/) จัดเป็นปลาหมอแคระสกุลหนึ่ง เป็นสกุลใหม่ที่เพิ่งถูกตั้งชื่อมาในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและสกุลคองโกโครมิส

สกุลเพลวิคาโครมิส

กุลเพลวิคาโครมิส เป็นสกุลปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pelvicachromis อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาขนาดเล็ก จัดเป็นปลาหมอแคระอีกสกุลหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ตั้งแต่แม่น้ำในประเทศไนจีเรียจนถึงทิศตะวันออกของประเทศแคเมอรูน มีขนาดความยาวลำตัวไม่เกิน 10 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่และลำตัวยาวกว่าตัวเมีย ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและท้องอูมป้อมกลม จุดเด่นของปลาในสกุลนี้คือ ตัวเมียจะมีสีสันที่สวยกว่าตัวผู้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ช่วงท้องของปลาตัวเมียจะเป็นสีชมพูอมม่วง ปลาสกุลเพลวิคาโครมิสนี้มีพฤติกรรมคล้ายกับปลาสกุลอพิสโตแกรมมา โดยอาศัยอยู่ในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.8-6.5 (pH) มีพฤติกรรมการวางไข่ในถ้ำที่ตีลังกาเช่นเดียวกัน สามารถวางไข่ได้ถึง 300-500 ฟอง โดยปกติแล้ว ปลาตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลไข่ แต่บางครั้งตัวผู้อาจจะเข้ามาช่วยดูแลด้วยได้.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและสกุลเพลวิคาโครมิส

ปลาหมอฟรอนโตซ่า

ปลาหมอฟรอนโตซ่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyphotilapia frontosa อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างแบนข้าง ริมฝีปากหนา ลำตัวสีขาวคาดด้วยแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ ตลอดลำตัว ครีบต่าง ๆ ปลายครีบยาวแหลมโดยเฉพาะตัวผู้ เมื่อโตขึ้นหัวของตัวผู้จะโหนกนูนเห็นได้ชัดเจน มีความยาวเต็มที่ราว 30 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาบริเวณแอฟริกาตอนกลางและแอฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะในทะเลสาบแทนกันยีกา อาหารหลักได้แก่ ลูกปลาขนาดเล็กกว่า ปลาหมอฟรอนโตซ่าจัดเป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามมาช้านาน จนอาจกล่าวได้ว่า เป็น "ราชาของปลาหมอสี" เช่นเดียวกับปลาปอมปาดัวร์ที่ถูกจัดเป็น "ราชินีแห่งปลาตู้" ในแวดวงปลาสวยงามจะจำแนกปลาหมอฟรอนโตซ่าเป็นสายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ โดยแบ่งตามเกณฑ์ที่พบในแหล่งน้ำหรือภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้นับ 10 สายพันธุ์ แต่ไม่จัดว่าเป็นการแบ่งตามหลักอนุกรมวิธาน ปลาหมอฟรอนโตซ่าจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เมื่อถึงอายุ 3-4 ปี โดยตัวเมียจะมีพฤติกรรมอมไข่หลังจากไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 4 สัปดาห์ จัดเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่มีอายุยาวนาน โดยสามารถมีอายุยาวได้ถึง 25 ปี.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมอฟรอนโตซ่า

ปลาหมอฟรอนโตซ่า (สกุล)

ปลาหมอฟรอนโตซ่า (Frontosa cichilds, Humphead cichlids) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyphotilapia เป็นปลาหมอสีที่พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบแทนกันยีกาในทวีปแอฟริกาเท่านั้น โดยกระจายพันธุ์ไปทั่วทะเลสาบ ในความลึกตั้งแต่ 10-50 เมตร ซึ่งตามแนวความลึกนั้นจะมีภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่ได้ราว 14 นิ้ว มีอายุยืนยาวถึง 25 ปี ลำตัวมีแถบสีดำ 6 แถบ หรือ 7 แถบ (ในบางสายพันธุ์) ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแหล่งอาศัย บ้างก็เป็นขีดเส้นตัดตรงพาดจากหน้าผากผ่านมาที่แก้ม บ้างก็มีลักษณะเป็นหน้ากากสามเหลี่ยมครอบบริเวณดวงตา บ้างก็เป็นปื้นสีดำเหมือนเคราของมนุษย์ เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง ล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตามพื้นน้ำด้วย มีพฤติกรรมเมื่อว่ายน้ำจะกางครีบ ทำตัวอยู่นิ่ง ๆ ในแนวหินในระดับความลึกตั้งแต่ 10 เมตรลงไป โดยมักไม่ค่อยเคลื่อนไหวเพื่อเป็นการออมการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งในบางครั้งทำให้สามารถอดอาหารได้เป็นเดือน แต่เมื่อเวลากินหรือล่าเหยื่อนั้นจะว่องไวมาก มีตัวผู้ตัวใหญ่สุดเป็นจ่าฝูง ซึ่งในฝูงจะประกอบด้วยปลาตัวเมีย และปลาตัวผู้ที่เล็กกว่าตัวอื่น ปลาที่เป็นจ่าฝูงมักจะขับสีตัวเองให้เป็นสีเข้มเหมือนสีดำเพื่อเป็นการข่มปลาตัวอื่น เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4 ปี โดยปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายต้อนปลาตัวเมียมายังรังที่สร้างไว้เพื่อวางไข่ พร้อมกับขับไล่ปลาตัวอื่น ไม่ให้เข้าใกล้ เมื่อตัวเมียวางไข่จะอมไข่ไว้ในปาก ปลาตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อ เพื่อให้ตัวเมียเก็บน้ำเชื้อเข้าปากเพื่อปฏิสนธิ และหลังจากนั้นปลาตัวเมียจะไม่กินอาหารเลย เป็นระยะเวลาราว 21 วัน ซึ่งปลาจะฟักเป็นตัว จึงคายลูกปลาออกมา ได้รับความนิยมอย่างมากในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยแบ่งเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นหลักในการอนุกรมวิธาน โดยเรียกชื่อกันตามลักษณะภายนอกของปลาและถิ่นที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ต่าง ๆ ของทะเลสาบ แต่โดยหลักของการอนุกรมวิธานแล้ว จะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมอฟรอนโตซ่า (สกุล)

ปลาหมอกิบเบโรซ่า

ปลาหมอกิบเบโรซ่า ปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดอยู่ในสกุล Cyphotilapia ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับปลาหมอฟรอนโตซ่า (C.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมอกิบเบโรซ่า

ปลาหมอลายเมฆ

ปลาหมอลายเมฆ หรือ ปลาหมอนิมโบโครมิส (Sleeper cichlid) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Nimbochromis (/นิม-โบ-โคร-มิส/) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอสีที่พบได้เฉพาะในทะเลสาบมาลาวี รวมถึงแหล่งน้ำอื่นใกล้เคียงเท่านั้น ปลาหมอลายเมฆ มีลักษณะเฉพาะ คือ ตามลำตัวมีลวดลายที่ดูแปลก เป็นจ้ำ ๆ มีสีน้ำตาลอยู่บนพื้นสีเหลือง ดูคล้ายกากบาทหรือตัวอักษร X หรือลายพรางของทหาร สีบริเวณส่วนหัวเป็นสีน้ำเงิน มีขนาดประมาณ 25-30 เซนติเมตร โดยที่คำว่า Nimbochromis ที่ใช้เป็นชื่อสกุลนั้นมาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Nimbo ที่หมายถึง "เมฆในฤดูฝน" และ chromis ที่หมายถึง "ปลาหมอสี" อันหมายถึง ลวดลายบนตัวปล.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมอลายเมฆ

ปลาหมอสีไซไพรโครมิส

ปลาหมอสีไซไพรโครมิส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Cyprichromis (/ไซ-ไพร-โคร-มิส/) จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 5-6 นิ้ว โดยเฉลี่ยประมาณ 3.5 นิ้ว จัดเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน มีรูปร่างเรียวยาว ตากลมโต ปลายปากยาว ตัวผู้มีสีสันที่สดใสสวยงาม มักมีสีต่าง ๆ เช่น ฟ้า, เหลือง, ดำ, ม่วง หรือมีเหลือบสีขาว และมีการพัฒนาการของสีตามช่วงวัย มักอาศัยอยู่ตามโขดหินหรือตามหลีบซอกของวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ หากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กที่ลอยตามกระแสน้ำ ขณะที่ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า พฤติกรรมเมื่อผสมพันธุ์ ปลาตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่สุดจะเป็นจ่าฝูง จะคอยกางครีบและขับสีออกมาเรียกร้องความสนใจจากตัวเมียภายในฝูง และข่มตัวผู้ตัวอื่น ๆ เมื่อผสมพันธุ์กัน ตัวผู้จะงอตัวและทำปากห่อ เพื่อกระตุ้นให้ตัวเมียปล่อยไข่ออกมา เมื่อไข่ถูกปล่อยออกมา ตัวเมียจะงับน้ำเชื้อจากตัวผู้ที่ปล่อยออกมา ให้ผสมกับไข่ที่อยู่ในปาก จำนวนของไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาตัวเมีย โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร จำนวนไข่ในแต่ละครั้งประมาณ 5-25 ฟอง โดยตัวเมียจะอมไข่จนกว่าไข่จะฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 18-20 วัน โดยไม่กินอะไรเลย ปลาในสกุลไซไพรโครมิสนี้พบกระจายพันธุ์ในส่วนต่าง ๆ ของทะเลสาบแทนกันยีกา ในตอนกลางและตะวันออกของทวีปแอฟริกา นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมกันมาอย่างยาวนานแล้ว โดยมีชนิดที่ค้นพบใหม่ ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุด คือ ปลาหมอสีเลบโตโซม่า (C.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมอสีไซไพรโครมิส

ปลาหมอสีเลบโตโซม่า

ปลาหมอสีเลบโตโซม่า (Herring cichlid, Sardine cichlid; ตัวย่อ: CYPS) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprichromis leptosoma ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 5-6 นิ้ว โดยเฉลี่ยประมาณ 3.5 นิ้ว จัดเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน มีรูปร่างเรียวยาว ตากลมโต ปลายปากยาว ตัวผู้มีสีสันที่สดใสสวยงาม มักมีสีต่าง ๆ เช่น ฟ้า, เหลือง, ดำ, ม่วง หรือมีเหลือบสีขาว และมีการพัฒนาการของสีตามช่วงวัย มักอาศัยอยู่ตามโขดหินหรือตามหลีบซอกของวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ หากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กที่ลอยตามกระแสน้ำ ขณะที่ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า พฤติกรรมเมื่อผสมพันธุ์ ปลาตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่สุดจะเป็นจ่าฝูง จะคอยกางครีบและขับสีออกมาเรียกร้องความสนใจจากตัวเมียภายในฝูง และข่มตัวผู้ตัวอื่น ๆ เมื่อผสมพันธุ์กัน ตัวผู้จะงอตัวและทำปากห่อ เพื่อกระตุ้นให้ตัวเมียปล่อยไข่ออกมา เมื่อไข่ถูกปล่อยออกมา ตัวเมียจะงับน้ำเชื้อจากตัวผู้ที่ปล่อยออกมา ให้ผสมกับไข่ที่อยู่ในปาก จำนวนของไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาตัวเมีย โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร จำนวนไข่ในแต่ละครั้งประมาณ 5-25 ฟอง โดยตัวเมียจะอมไข่จนกว่าไข่จะฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 18-20 วัน โดยไม่กินอะไรเลย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของทะเลสาบแทนกันยีกา จัดเป็นปลาชนิดแรกในสกุลนี้ที่ได้รับการค้นพบและอนุกรมวิธาน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันอย่างยาวนานแล้ว ซึ่งในทางการค้าปลาสวยงามยังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดแยกย่อยได้อีก ที่แตกต่างกันตามสีสันและแหล่งที่พบ อาทิ "จัมโบ" หรือ "คิโกม่า" ค้นพบในแหล่งคิโกม่าเท่านั้น ตัวผู้มีทั้งแบบหางสีน้ำเงิน และแบบหางสีเหลือง และมีสีเหลืองใต้บริเวณคอไปจนถึงช่วงท้อง ครีบหลังมีสีฟ้า และสีเหลืองเลอะผสมกัน, "เอ็มพูลังกู" หรือ "นีออน เฮด" เป็นปลาที่ไม่มีสีตามลำตัว แต่จะมีสีน้ำเงินสว่างที่ส่วนหัว อันเป็นที่มาของชื่อเรียก, "อูทินตา" ตัวผู้มีสีน้ำเงินตามตัวจากหัวไปจนถึงกลางหลัง ครีบหลังมีสีฟ้าสว่างที่สุด และมีจุดแต้มสีเหลืองอยู่หลายครีบหลัง, "ไทรคัลเลอร์" ตัวผู้มีสีเหลืองเข้มบริเวณส่วนหัว และส่วนหาง ลำตัว ครีบหลัง และครีบก้นมีสีออกดำกำมะหยี่ ตัวเมียมีสีน้ำตาลและสีเหลืองอ่อนบริเวณครีบหลังและครีบหาง และ "คิทุมบา" มีสีที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุ โดยมีสีเหลืองขยายลุกลามจากส่วนครีบหางไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย แทนสีอื่นที่มีอยู่จนกลายเป็นสีเหลืองทั้งตัวไป แต่ขณะที่บางตัวจะไม่เป็นเช่นนั้นแต่จะมีสีน้ำเงินที่คงที่ทั้งตัว.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมอสีเลบโตโซม่า

ปลาหมออีแนน

ปลาหมออีแนน เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichildae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Xenotilapia (/ซี-โน-ทิล-อา-เพีย/) เป็นปลาที่พบได้เฉพาะในทะเลสาบแทนกันยีกา ในแอฟริกาตะวันออก เดิมทีสกุลนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายรอบ โดยเริ่มจากใช้ชื่อว่า Ectodus โดย จอร์จ อัลเบิร์ต บุลเลเยอร์ ในปี..

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมออีแนน

ปลาหมอแรมแดง

ปลาหมอแรมแดง หรือ ปลาหมอจีเวล (Jewel fish, Jewel cichild) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Hemichromis ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาซันฟิช (Lepomis spp.) ซึ่งเป็นปลาคนละวงศ์กัน เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่เฉลี่ยไม่เกิน 10-12 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปแอฟริกา บริเวณชายฝั่งตะวันตกถึงแอฟริกากลาง ส่วนใหญ่มีสีลำตัวเป็นสีแดงสด หรือสดใสเป็นสีรุ้งสวยงาม มีทั้งตัวผู้สวยงามกว่าตัวเมีย และตัวเมียสวยงามกว่าตัวผู้ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีอุปนิสัยก้าวร้าว มีพฤติกรรมในการเลี้ยงดูลูกปลา ซึ่งในช่วงนี้จะมีนิสัยดุร้ายกว่าปกติสกุล Hemichromis และ สกุล Rocio โดย Jens Kühne คอลัมน์ Mini Atlas, หน้า 34-35 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 28: ตุลาคม 2012.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมอแรมแดง

ปลาหมอแตงไทย

ปลาหมอแตงไทย (Auratus cichlid, Golden mbuna, Malawi golden cichlid, Turquoise-gold cichlid) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลำตัวลักษณะเรียวยาวค่อนข้างกลม มีสีสันสวยงามเมื่อมีขนาดโตปานกลาง เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 13 เซนติเมตร ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่มีสีคล้ำค่อนข้างดำ ลำตัวมีสีดำบริเวณใต้ท้อง และกลางลำตัววิ่งเป็นทางยาวตั้งแต่ปลายลูกตาไปจรดโคนหาง มีสีขาวคั่นกลางระหว่างสีดำวิ่งเป็นแนวเช่นเดียวกัน คล้ายกับสีของแตงไทยอันเป็นที่มาของชื่อเรียก ด้านหลังมีสีน้ำตาลอมเหลืองตลอดทั้งสองข้าง ครีบกระโดงหลังมีสีเหลืองอ่อน ๆ ปลายครีบมน และมีสีดำวิ่งเป็นริ้วไปตามเส้นครีบ หางแผ่ปลายหางมน ทั้งสองข้างมีสีดำวิ่งสลับกับสีฟ้าอ่อน ตามีสีดำขอบตามีสีเหลืองวิ่งโดยรอบ ปลายครีบใต้ท้องมีสีฟ้าอมขาว บริเวณปลายครีบส่วนล่างที่ติดโคนหางมีสีเหลือง และสีฟ้าอ่อนแต้มเป็นจุด ๆ ปากของปลาหมอแตงไทยค่อนข้างสั้น ริมฝีปากมีขอบสีดำ ตัวเมียมีความสดสวยกว่าตัวผู้ เกล็ดเล็กมีสีเหลืองสด ตามแนวยาวของลำตัวมีสีดำวิ่งเป็นแนวตั้งแต่กลางลำตัวจรดโคนหาง แนวสีดำนี้วิ่งตั้งแต่บริเวณหน้าผ่านตา และวิ่งทั้งสองข้างของลำตัว เหนือจากแนวเส้นดำก็มีแนวสีเหลืองสดคั่นแนวสีดำอีกแนวหนึ่ง ใต้ท้อง และบริเวณเหนือท้องที่ชนเส้น แนวสีดำมีสีเหลืองสดมองดูมีเงาเล็กน้อย ครีบกระโดงหลังสูงน้อยกว่าตัวผู้ และมีสีดำขอบครีบกระโดงมีสีเหลืองสดตลอดแนวขอบริมฝีปากบนมีสีน้ำตาลอมดำ ขอบริมฝีปากล่างมีสีเหลือง หางมีสีเหลืองสดมีแต้มสีดำเข้มเป็นจุด ๆ ครีบคู่ใต้ท้องมีสีเหลือง มีสีดำแซมเล็กน้อย บริเวณปลายครีบล่างใต้ท้องที่ติดกับโคนหางครีบมน และช่วงปลายมีสีเหลืองสด พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลสาบมาลาวี ในทวีปแอฟริกา ปลาหมอแตงไทย เป็นปลาที่ขยายพันธุ์ด้วยการอมไข่ไว้ในปากปลาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งในช่วงผสมพันธุ์นี้ทั้งปลาตัวผู้และตัวเมียจะมีสีคล้ำขึ้นกว่าเดิม โดยตัวผู้เข้าไปเคล้าเคลียตัวเมียที่มีไข่พร้อมที่ผสม ว่ายวนไปมาต้อนปลาตัวเมียให้เข้ามาวางไข่ โดยตัวเมียวางไข่ครั้งละ 1 ฟอง ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อ ตัวเมียอมไข่ที่ผสมน้ำเชื้อแล้วเข้าไปในปาก ตัวเมียไข่ออกมาให้ตัวผู้ผสมให้หมดและอมไว้ ปากที่อมไข่สามารถมองได้ชัดเจนแก้มทั้งสองข้าง ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 8-10 วัน ลูกปลาแรกฟักมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลาที่สมบูรณ์พร้อมจะให้ลูกครอกละประมาณ 50-60 ตัว ปลาหมอแตงไทย เป็นปลาหมอสีอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ด้วยมีสีสันลวดลายที่สดใส และพฤติกรรมที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงไม่อยู่นิ่ง มักจะว่ายน้ำไปมาตลอด โดยผู้เลี้ยงมักจะเลี้ยงรวมกับปลาหมอสีขนาดไล่เลี่ยกันชนิดอื่น ๆ ร่วมกัน จัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมากและมีราคาซื้อขายที่ถูก.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมอแตงไทย

ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์

ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์ (Featherfin cichlid) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดีัยวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cyathopharynx (ขณะที่บางข้อมูลระบุว่าแบ่งออกเป็น 2 ซึ่งอีกชนิดหนึ่งนั้นคือ C.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์

ปลานิล (สกุล)

ปลานิล (Tilapia) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichilidae) พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง ใช้ชื่อสกุลว่า Oreochromis (/ออ-เร-โอ-โคร-มิส/) โดยที่มาของสกุลนี้ อัลเบิร์ต กึนเธอร์ นักสัตววิทยาชาวเยอรมันได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลานิล (สกุล)

ปลาไจแอนท์แทนกันยีกา

ปลาไจแอนท์แทนกันยีกา (Giant cichild, Emperor cichlid) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boulengerochromis และเผ่า Boulengerochromini โดยดั้งเดิมปลาไจแอนท์แทนกันยีกาเคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia microlepis โดย จอร์จ อัลเบิร์ต บุลเลเยอร์ ในปี..

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและปลาไจแอนท์แทนกันยีกา

Lamprologus ocellatus

Lamprologus ocellatus เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอสีจำพวกปลาหมอหอยชนิดหนึ่ง มีหน้าตาประหลาดคล้ายกบ ลำตัวมีสีเหลืองสวยงาม มีเกล็ดเป็นจุดคล้ายมุกสีน้ำเงินอยู่ตามแนวยาวของลำตัว มีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร โดยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่และลำตัวยาวกว่า เป็นปลาที่อาศัยอยู่เฉพาะในทะเลสาบแทนกันยีกาเท่านั้น โดยอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นในระดับความลึก 15-100 ฟุต ได้แก่บริเวณ เอ็มบิต้า, แวมแพมบี้ และในบริเวณประเทศแซมเบีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมฝูงกันบริเวณที่เป็นสุสานหอย คือ บริเวณที่มีซากเปลือกหอยทับถมกันอยู่หนาแน่น เพราะใช้ซากเปลือกหอยเป็นที่หลบภัยจากสัตว์ผู้ล่า ตลอดจนใช้แหล่งผสมพันธุ์สร้างรังวางไข่ และเก็บเลี้ยงลูกปลาให้ปลอดภัย เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยได้ชื่อว่าเป็นปลาหมอสีตระกูลปลาหมอหอยที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวที่มีสีเหลืองจัด หรือสีทองทั้งตัว สามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้ในสถานที่เลี้ยง โดยปลาจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 1 ปี สามารถวางไข่ได้ประมาณ 5-6 รอบต่อปี ปลาตัวเมียจะมีขนาดป้อมสั้นกว่าตัวผู้ ขณะที่สีสันทั้งสองเพศนั้นคล้ายคลึงกันจนไม่สามารถแยกออกได้ด้วยวิธีนี้ ''Lamprologus ocellatus'' "orange" หรือปลาตัวที่มีสีส้ม เป็นปลาที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว หวงถิ่น โดยมักจะว่ายวนเวียนอยู่เฉพาะรอบ ๆ เปลือกหอยที่ตัวอาศัยอยู่ มักไล่ปลาอื่นที่เข้าใกล้ แต่ก็ไม่ถึงขั้นไล่กัดปลาตัวอื่นจนบาดเจ็บหรือล้มตาย และถึงแม้จะนำมาเลี้ยงในตู้กระจกแล้วก็ยังไม่เกรงกลัวมนุษย์ เมื่อใช้กระชอนช้อนลงไป จะไม่ว่ายหนีเหมือนปลาอื่น ๆ แต่กลับว่ายออกมาดูตลอดจนจิกกัดกระชอนเสียด้วยซ้ำ ในที่เลี้ยงสามารถให้กินได้ทั้งอาหารสด และอาหารสำเร็จรูป การผสมพันธุ์ในที่เลี้ยงจะเหมือนกับปลาผสมพันธุ์เองในธรรมชาติ โดยปลาจะฝ่ายจับคู่ที่เหมาะสมเอง พฤติกรรมเมื่อวางไข่ ปลาตัวผู้จะพยายามชักชวนตัวเมียให้เข้ามาวางไข่ในเปลือกหอย ตัวเมียจะเข้าออกเปลือกหอยติดต่อกันหลายวัน เมื่อพร้อมที่จะวางไข่ ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปในเปลือกหอยเพื่อให้ไข่ได้รับการปฏิสนธิ ช่วงที่ตัวเมียวางไข่นั้นมักจะมุดเข้าไปในเปลือกหอย จนดูเหมือนว่าจะหายตัวไป และจะไล่ปลาทุกตัวที่เข้าใกล้ ไม่เว้นแม้แต่ปลาตัวผู้ ไข่มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาวขนาดเล็กมาก จำนวนประมาณ 8-30 ฟอง ไข่ใช้เวลา 2 สัปดาห์ จึงจะฟักเป็นตัว พ่อแม่ปลาจะช่วยกันดูแลลูกปลา จะป้อนอาหารให้ลูกปลาด้วยการเคี้ยวในปากแล้วย่อยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผ่านทางเหงือก ลูกปลาจะว่ายอยู่บริเวณรอบ ๆ เปลือกหอย และเมื่อมีอันตรายก็จะมุดเข้าเปลือกหอยพร้อมกัน พ่อแม่ปลาจะอยู่แลดูลูกปลาจนมีขนาดได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร พ่อแม่ปลาจะเริ่มห่างจากลูกปลา และเริ่มไล่ลูกปลาให้พ้นไปจากอาณาบริเวณตัวเอง เพื่อให้ลูกปลาเจริญเติบโตด้วยตนเอง และพ่อแม่ปลาก็พร้อมที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ครั้งใหม.

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและLamprologus ocellatus

Xenotilapia papilio

Xenotilapia papilio เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) X. papilio ถูกค้นพบเมื่อปี..

ดู วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาและXenotilapia papilio

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Pseudocrenilabrinae