สารบัญ
12 ความสัมพันธ์: กิ้งก่ากิ้งก่าบินกิ้งก่าบินคอแดงกิ้งก่าบินปีกจุดกิ้งก่าสวนกิ้งก่าดงคอสีฟ้ากิ้งก่าแผงคอมังกรน้ำวงศ์กิ้งก่าตะกองแย้เบียร์ดดราก้อน (สกุล)
กิ้งก่า
กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.
กิ้งก่าบิน
ำหรับ Draco ที่หมายถึงกลุ่มดาว ดูที่: กลุ่มดาวมังกร กิ้งก่าบิน (Flying dragon, Flying lizard) หรือ กะปอมปีก ในภาษาอีสานและลาว เป็นสกุลของกิ้งก่าในวงศ์ Agaminae ในวงศ์ใหญ่ Agamidae ใช้ชื่อสกุลว่า Draco กิ้งก่าบินจัดได้ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีประสิทธิภาพในการร่อนมากที่สุด ด้วยมีแผ่นหนังขนาดใหญ่อยู่ทางด้านข้างลำตัวและได้รับการค้ำจุนด้วยกระดูกซี่โครง 5-7 ซี่ โดยมีกล้ามเนื้ออิลิโอคอสทาลิสทำหน้าที่ดึงกระดูกซี่โครง 2 ซี่แรกไปทางด้านหน้า แต่กระดูกซี่โครงชิ้นอื่นได้เชื่อมต่อกับกระดูกซี่โครงสองซี่แรกด้วยเส้นเอ็น สามารถทำให้แผ่นหนังทั้งหมดกางออกได้ เมื่อเริ่มร่อน ตัวของกิ้งก่าในระยะแรกจะทำมุม 80° ช่วงนี้กิ้งก่าจะยกหางขึ้น ต่อมาจึงลดหางลงและแผ่กางแผ่นหนังด้านข้างลำตัวและทำมุมที่ลงสู่พื้นเหลือ 15° เมื่อลงสู่พื้นหรือเกาะบนต้นไม้ จะยกหางขึ้นอีกครั้งและหมุนตัว กิ้งก่าบินที่ทิ้งตัวจากต้นไม้สูง 10 เมตร สามารถร่อนได้เป็นระยะทางไกลกว่า 60 เมตร และลงเกาะบนต้นไม้หรือพื้นที่ที่อยู่ต่ำลงได้จากเดิมได้ 2 เมตร กิ้งก่าบินจัดได้ว่าเป็นกิ้งก่าขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวส่วนมากไม่เกิน 20 เซนติเมตร แต่หางจะมีความยาวมากกว่าลำตัว พบกระจายพันธุ์ในป่าของเอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์ เช่น ภาคอีสานในประเทศไทย และพบได้ชุกชุมในป่าดิบของแหลมมลายู มีทั้งหมด 31 ชนิด พบได้ในประเทศไทยหลายชนิด อาทิ กิ้งก่าบินปีกส้ม (D.
ดู วงศ์ย่อยกิ้งก่าและกิ้งก่าบิน
กิ้งก่าบินคอแดง
กิ้งก่าบินคอแดง หรือ กะปอมปีกคอแดง ในภาษาอีสาน (Blanford's flying lizard, Orange winged flying lizard, Banded winged flying lizard; 裸耳飞蜥) จัดเป็นกิ้งก่าบินชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Draco blanfordii อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) มีเหนียงสีเหลืองอ่อน มีประสีดำบนพื้นสีแดงสด ปีกมีลายบั้งสีเข้มสลับกับสีส้มเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ ลำตัวสีเขียวปนเทา กินปลวกต้นไม้, หนอนขนาดเล็ก และมดไม้ยักษ์ เป็นอาหาร ตัวเมียวางไข่ในพื้นทราย หรือจอมปลวกบนต้นไม้ หรือโพรงไม้ ครั้งละ 5-6 ฟอง พบมากที่สุด คือ 10 ฟอง แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างไกลตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคอินโดจีน และประเทศจีนตอนล่าง เช่น มณฑลยูนนาน สำหรับในประเทศไทย พบได้ทางภาคเหนือลงมาจนถึงภาคใต้ตอนล่าง และมาเลเซีย จัดเป็นกิ้งก่าบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ มีความยาวตั้งแต่ปลายหัวจรดโคนหาง 4.75 นิ้ว และหางมีความยาว 9นิ้ว มักพบในป่าดิบชื้นที่ราบ หรือ ป่าดิบเขาระดับกลาง และป่าเบญจพรรณ กิ้งก่าบินคอแดง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
ดู วงศ์ย่อยกิ้งก่าและกิ้งก่าบินคอแดง
กิ้งก่าบินปีกจุด
กิ้งก่าบินปีกจุด หรือ กิ้งก่าบินปีกส้ม (Spotted flying dragon, Orange-winged flying lizard) เป็นกิ้งก่าบินชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Draco maculatus อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) เป็นกิ้งก่าบินขนาดเล็ก ใต้คางมีเหนียงคู่หนึ่งรูปร่างกลมมน ซึ่งกึ่งกลางเหนียงตรงนี้สามารถยกขึ้นลงได้ ในตัวผู้จะมีขนาดโตเห็นชัดเจน ข้างลำตัวระหว่างขาคู่หน้าและขู่หลัง มีแผ่นหนังขนาดใหญ่ที่ใช้ในการร่อน ลำตัวมีสีน้ำตาลแดง มีลายประสีเหมือนลายไม้ จึงสามารถพรางได้เป็นอย่างดีบนต้นไม้ แผ่นหนังด้านข้างนี้ออกสีส้ม มีลายพาดตามยาวสีจาง ใต้ท้องมีสีน้ำตาลอ่อนกว่า ใต้แผ่นหนังข้างลำตัวจะมีจุดสีดำ 2-3 จุด อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีความยาวจากหัวจรดโคนหาง 60-65 มิลลิเมตร ส่วนหางมีความยาวกว่าคือ 93-110 มิลลิเมตร พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมของอินเดีย จนถึงเกาะไหหลำในจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงตอนเหนือของมาเลเซีย พบได้ในป่าหลากหลายประเภท รวมถึงบ้านเรือนของมนุษย์ที่ปลูกใกล้ชายป่าด้วย หากินในเวลากลางวันจนถึงพลบค่ำ โดยมากจะหากินและอยู่ตามลำพังตัวเดียว ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่โดยตัวเมียวางไข่ไว้ในหลุมดินที่ขุดไว้ ในที่ ๆ มีแสงแดดส่องถึง ครั้งละ 3-5 ฟอง วางไข่ในฤดูฝน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
ดู วงศ์ย่อยกิ้งก่าและกิ้งก่าบินปีกจุด
กิ้งก่าสวน
กิ้งก่าสวน หรือ กิ้งก่าบ้านหัวน้ำเงิน หรือ กิ้งก่าหัวสีฟ้า (Oriental garden lizard, Eastern garden lizard, Changeable lizard) เป็นกิ้งก่าที่อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดสันชี้มาด้านหลังในลักษณะเฉียงขึ้น มีหนามหลังตา 1 อัน หนามบริเวณเหนือเยื่อหู 2 อัน เยื่อหูปรากฏชัด ด้านหน้าของไหล่มีรอยพับของผิวหนังซึ่งภายในปกคลุมด้วยเกล็ดสีดำ ขนาดของเกล็ดลำตัวเท่ากัน ลำตัวสีเขียวถึงน้ำตาลเทา หัวด้านบนสีน้ำตาล มีแถบดำพาดตั้งแต่บริเวณจมูกมาถึงท้ายทอยเหนือเยื่อหู ริมฝีปากบนสีขาว คางและเหนียงสีเทาดำ หลังมีแถบสีน้ำตาล 6 แถบพาดขวางลำตัว หางมีแถบสีเทาสลับกับดำพาดขวาง พบกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, เนปาล, อินเดีย, มัลดีฟส์, จีนตอนกลางและตอนล่าง, ฮ่องกง, ตลอดจนทั่วทุกภูมิภาคในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ จัดเป็นกิ้งก่าชนิดที่พบได้บ่อยและง่ายที่สุด มีการขยายพันธุ์ที่ง่าย ลูกวัยอ่อนมักอาศัยเลี้ยงตัวเองในพุ่มไม้เตี้ย ตัวเต็มวัยมักอยู่ตามเรือนยอด หรือโคนต้น อาศัยเกาะหากินตามต้นไม้ที่ไม่ใหญ่มากนัก หรือมีลักษณะเป็นพุ่ม พบได้หลากหลายพื้นที่อาศัย เช่น ป่าทุ่งหญ้า, ทุ่งหญ้าน้ำขัง และสวนใกล้บ้าน หรือตามสวนสาธารณะ กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร และก็เป็นอาหารของคนในบางพื้นที่ ในต้นปี พ.ศ.
ดู วงศ์ย่อยกิ้งก่าและกิ้งก่าสวน
กิ้งก่าดงคอสีฟ้า
กิ้งก่าดงคอสีฟ้า (Blue-crested Lizard,Indo-Chinese Forest Lizard,Indo-Chinese Bloodsucker) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับกิ้งก่าหัวแดง แต่บริเวณท้ายทอยมีหนามเล็กๆยื่นออกมา 2 คู่ ในตัวเต็มวัย มีสีสันสวยงามมาก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้มไล่ลงมาอ่อน ตัดกับจุดกลมสีครีม 3 จุด บริเวณข้างลำตัว ตั้งแต่หัวไล่ลงมาจนหลังมีสีฟ้าเข้มแกมเขียว หน้ามีคาดสีขาว เป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต ต้นไม้หนึ่งต้นที่พบ อาจพบมีมากกว่า 1 ตัว โดยจะมีตัวผู้ ปกครอง อยู่เสมอ ถิ่นอาศัยค่อนข้างแตกต่างกับกิ้งก่าคอแดง กิ้งก่าวัยอ่อนมักอาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้เล็กๆ หรือตามพุ่มไม้ ตัวเต็มวัยมักเกาะหากินตามลำต้นไม้ขนาดใหญ่ หรือ ระดับเรือนยอด โดยวิ่งกินแมลงขนาดใหญ่ตามเปลือกไม้ หรือ พื้น ได้ดี เช่น มด ด้วง แมลงสาบ กิ้งก่าวัยอ่อนชอบกิน ตัวอ่อนด้วง และ แมลงสาบป่า ขนาดเล็ก ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตต้นไม้และตัวเมียอย่างดุร้าย ขุดหลุมวางไข่ครั้งละ 7-8 ฟอง มักพบในป่าที่ค่อนข้างแห้ง หรือ ตามต้นไม้ริมถนน พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง พบได้มากในป่าฮาลา-บาล.
ดู วงศ์ย่อยกิ้งก่าและกิ้งก่าดงคอสีฟ้า
กิ้งก่าแผงคอ
กิ้งก่าแผงคอ (Frill-necked lizard, Frilled lizard, Frilled dragon) สัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydosaurus kingii เป็นกิ้งก่าเพียงชนิดเดียวในสกุล Chlamydosaurus.
ดู วงศ์ย่อยกิ้งก่าและกิ้งก่าแผงคอ
มังกรน้ำ
มังกรน้ำ (Water dragons) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Physignathus (เป็นภาษากรีกมีความหมายว่า "ขากรรไกรที่ยกขึ้น") ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) พบทั้งสิ้น 2 ชนิด เป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ที่มีพฤติกรรมชอบอาศัยในที่ชื้นใกล้แหล่งน้ำ สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เก่ง พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปเอเชียและออสเตรเลีย นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.
วงศ์กิ้งก่า
วงศ์กิ้งก่า (Dragon lizards, Old Wolrd lizards, ชื่อวิทยาศาสตร์: Agamidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า วงศ์หนึ่ง ที่มีจำนวนสมาชิกมากและมีความหลากหลายมาก ประมาณเกือบ 500 ชนิด จนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีลักษณะโดยรวม คือ มีขา 4 ข้างเห็นชัดเจน มีเกล็ดปกคลุมด้านหลังและด้านท้องของลำตัว เกล็ดมีขนาดเล็กเรียงตัวซ้อนเหลื่อมกันหรือต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวอักษรที และกระดูกไหปลาร้ามีรูปร่างโค้ง มีหางยาว แต่โดยทั่วไปน้อยกว่า 1.4 เท่าของความยาวจากปลายจมูกถึงรูก้น ไม่สามารถสะบัดหางให้หลุดจากลำตัวได้ ยกเว้นในสกุล Uromystax พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย, แอฟริกา, ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ มีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว สำหรับในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ ตะกอง (Physignathus cocincinus) ซึ่งเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น น้ำตก ในภูมิภาคอินโดจีน, กิ้งก่าบินคอแดง (Draco blanfordii), กิ้งก่าสวน (Calotes mystaceus), หรือ แย้เส้น (Leiolepis belliana) ที่พบได้ทั่วไปตามพื้นดินภาคอีสาน.
ดู วงศ์ย่อยกิ้งก่าและวงศ์กิ้งก่า
ตะกอง
ตะกอง หรือ ลั้ง หรือ กิ้งก่ายักษ์ (Chinese water dragon) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายอีกัวน่าที่พบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้.
แย้
แย้ (Butterfly lizards, Small-scaled lizards, Ground lizards, Butterfly agamas) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae วงศ์ย่อย Leiolepidinae พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน พบทั้งหมด 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม.
เบียร์ดดราก้อน (สกุล)
ียร์ดดราก้อน (อังกฤษ: Bearded dragons; มังกรเครา) ชื่อสามัญที่ใช้เรียกกิ้งก่าในสกุล Pogona มีรูปร่างเหมือนกิ้งก่าทั่วไป แต่มีจุดเด่นอยู่ที่ถุงใต้คอซึ่งเป็นหนามแหลม อันเป็นที่มาของชื่อ ยิ่งโดยเฉพาะในตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงนี้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะแผ่ขยายออกเป็นสีดำเวลาตื่นเต้นหรือตกใจ เบียร์ดดราก้อน มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 18 นิ้ว มีทั้งสิ้น 7 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถแยกเพศได้ชัดเจนเมื่ออายุได้ 1 ปี พบกระจายพันธุ์ในทะเลทรายทางตอนเหนือของออสเตรเลีย สามารถเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อม กินอาหารได้ทั้งพืช,แมลงและ หนอนนก หากินในเวลากลางวัน โดยกินผักได้หลากหลายชนิด เช่น ข้าวโพด, ผักกาดขาว, ผักกาดหอม, ฟักทอง, ผักกวางตุ้ง, แครอท มีอุปนิสัยที่ไม่ดุร้าย เชื่องต่อมนุษย์ จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ยิ่งโดยเฉพาะในตัวที่มีสีสันแปลกแตกต่างไปจากปกติ สนนราคาก็จะยิ่งแพงขึ้น.
ดู วงศ์ย่อยกิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล)
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Agaminae