เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์ปลาอินทรี

ดัชนี วงศ์ปลาอินทรี

วงศ์ปลาอินทรี (Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม.

สารบัญ

  1. 30 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาอินทรีอันดับย่อยปลาทูน่าอันดับปลากะพงครีบหลังปลาปลามูนฟิชปลาลังปลาวาฮูปลาอินทรีปลาอินทรีบั้งปลาอินทรีจุดปลาอินทรีทะเลสาบเขมรปลาอีโต้มอญปลาทูปลาทู (สกุล)ปลาทูปากจิ้งจกปลาทูน่าปลาทูน่าครีบยาวปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือปลาทูน่าครีบเหลืองปลาทูน่าแท้ปลาทูน่าเขี้ยวหมาปลาทูแขกปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาซาบะปลาแมกเคอเรลปลาแมกเคอเรลแท้ปลาใบขนุนปลาโอดำปลาโอแถบ

วงศ์ปลาอินทรี

วงศ์ปลาอินทรี (Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและวงศ์ปลาอินทรี

อันดับย่อยปลาทูน่า

อันดับย่อยปลาทูน่า (Tuna, Mackerel) เป็นอันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombroidei แบ่งออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและอันดับย่อยปลาทูน่า

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ดู วงศ์ปลาอินทรีและอันดับปลากะพง

ครีบหลัง

รีบหลังของฉลาม ครีบหลัง คือครีบที่อยู่ด้านหลังของสัตว์น้ำทั้งในน้ำเค็มและน้ำจืดเช่นปลา,วาฬและโลมารวมถึงสัตว์เลื้อยคล้านใต้ทะเลจำพวกอิกทิโอซอร์ (ichthyosaur) ด้วย สปีชีส์ส่วนใหญ่จะมีครีบหลังเพียงครีบเดี่ยวแต่บางชนิดก็มีสองถึงสาม นักชีววิทยาสัตว์ป่ามักใช้ลักษณะและรูปแบบของครีบนี้ในการจำแนกสายพัน.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและครีบหลัง

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลา

ปลามูนฟิช

ปลามูนฟิช หรือ ปลาพระจันทร์ หรือ ปลาโอปาห์ (Moon fish, Opah) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลามูนฟิช (Lampridae) โดยถือเป็นปลาหนึ่งในสองชนิดที่ยังคงเหลือเผ่าพันธุ์อยู่ในปัจจุบันของวงศ์นี้ ซึ่งถือเป็นปลาที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคปลายสมัยไมโอซีนมาจนถึงปัจจุบัน ปลามูนฟิช หรือ ปลาพระจันทร์ มีรูปร่างกลมแป้น แบนข้างมากเหมือนปลาจะละเม็ด กอรปกับตามผิวหนังจะมีจุดกลมสีขาวที่เมื่อสะท้อนกับแสงเมื่ออยู่ใต้น้ำแล้วจะมีความแวววาวดุจแสงจันทร์ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ ครีบทุกครีบเป็นสีแดงสด มีขนาดใหญ่สุดได้ถึง 2 เมตร และมีน้ำหนักกว่า 270 กิโลกรัม แต่ขนาดโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักประมาณ 40–80 กิโลกรัม ปลามูนฟิช เป็นปลาน้ำลึกในระดับความลึกของน้ำประมาณ 300–1,500 เมตร โดยพบในมหาสมุทรและทะเลเปิดเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก ได้ชื่อว่าเป็นปลาน้ำลึกที่มีสีสันสวยงามที่สุด หากินในเวลากลางคืน โดยกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ด้วยเป็นปลาที่มีปากเล็กและไม่มีฟัน ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว แต่บางครั้งจะรวมฝูงไปกับปลาทูน่าและปลาในวงศ์ปลาอินทรีตัวอื่น ๆ ด้วย เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เชื่องช้า โดยว่ายน้ำได้เพียง 25 เซนติเมตร/วินาที และมีรายงานว่าว่ายน้ำได้เร็วที่สุดประมาณ 4 เมตร/วินาที นอกจากนี้แล้ว ยังถือเป็นสัตว์เลือดอุ่น โดยสามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่นกว่าสภาพแวดล้อมใต้น้ำประมาณ 5 องศาเซลเซียส อีกทั้งยังมีเส้นเลือดบริเวณเนื้อเยื่อของเหงือก อยู่ในรูปแบบที่ทำให้เลือดเย็นจากบริเวณเหงือกไปสัมผัสเข้ากับเส้นเลือดอุ่นที่วิ่งสวนทางกันและด้วยกระบวนการนี้ทำให้เลือดที่ออกมาเป็นเลือดอุ่นโดยสามารถเพิ่มอุณหภูมิของหัวใจได้ ซึ่งช่วยทำให้สามารถว่ายลงไปได้ลึกกว่าปลาทั่วไปและอยู่ใต้ทะเลลึกได้นานกว่า ปลามูนฟิชที่อิตาลี จัดเป็นปลาหายาก และเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เนื้อแน่นสีแดงสด มีรสชาติอร่อย และอุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร คือ โอเมกา 3, โปรตีน, ไนอาซิน, วิตามินบี 6, วิตามินบี 12 แต่มีโซเดียมต่ำ และปลาทั้งตัวจะมีส่วนที่รับประทานได้เพียงร้อยละ 35 เท่านั้น ที่เหลือจะเป็นส่วนที่เนื้อที่แข็งและก้าง เป็นปลาราคาแพง ราคาขายกันในประเทศไทยตกอยู่ที่กิโลกรัมละ 2,500 บาท โดยปลาส่วนมากที่จำหน่ายในประเทศไทยจะถูกนำเข้ามาจากนิวซีแลน.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลามูนฟิช

ปลาลัง

ปลาลัง, ปลาทูลัง หรือ ปลาทูโม่ง เป็นปลาชนิดหนึ่งในสกุลปลาทู อีกสองชนิดได้แก่ ปลาทู (R. brachysoma) และปลาทูปากจิ้งจก (R.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาลัง

ปลาวาฮู

ปลาวาฮู หรือ ปลาอินทรีน้ำลึก (Wahoo) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthocybium solandri อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุลปลาอินทรี (Scomberomorus spp.) อย่างมาก โดยมีความแตกต่างกันคือ ครีบหลังของปลาวาฮูในตอนแรกจะมีความสูงกว่า และมีที่ว่างของครีบหลังตอนแรกและตอนหลังมากกว่าปลาในสกุลปลาอินทรี ครีบหางมีลักษณะเว้าที่ตื้นกว่า มีส่วนของจะงอยปากแลดูแหลมคมกว่า และรูปร่างที่เพรียวบางกว่า จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Acanthocybium มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร และมีน้ำหนักถึง 83 กิโลกรัม เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูงในเขตน้ำลึกได้ถึง 80 เมตร ในทะเลเปิดเขตอบอุ่นและกึ่งอบอุ่นทั่วโลก โดยในฮาวายจะเรียกว่า "Ono" ขณะที่แถบทะเลแคริบเบียนและอเมริกากลางจะเรียกว่า "Peto" ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาวาฮู

ปลาอินทรี

วามหมายอื่น อินทรี ปลาอินทรี (Indo-Pacific king mackerels, Spotted mackerels, Seerfishes) เป็นปลาทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Scomberomorus (/สะ-คอม-บี-โร-โม-รัส/) ในวงศ์ Scombridae ปลาอินทรีมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเว้าเป็นแฉกลึก ส่วนหัวและปลายปากแหลม ภายในปากในบางชนิดและปลาขนาดใหญ่จะเห็นฟันแหลมคมอย่างชัดเจน อาศัยอยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ มีลวดลายเป็นจุดหรือบั้งตามแต่ชนิด จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่สกุลหนึ่งในวงศ์ คือ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร หาอาหารโดยไล่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า อาศัยอยู่ในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยในประเทศไทยนิยมนำมาทอดหรือทำเป็นปลาเค็ม ซึ่งในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "เบกาฮื้อ" (馬鮫魚; พินอิน: Mǎ jiāo yú) และนิยมตกเป็นเกมกีฬาด้ว.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาอินทรี

ปลาอินทรีบั้ง

ปลาอินทรีบั้ง (Narrow-barred Spanish mackerel) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาอินทรี ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาอินทรีชนิดอื่น หรือปลาอินทรีจุด (S.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาอินทรีบั้ง

ปลาอินทรีจุด

ปลาอินทรีจุด หรือ ปลาอินทรีดอก หรือ ปลาอินทรีข้าวตอก (Indo-Pacific king mackerel, Spotted seerfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาอินทรี ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื้อปลาอินทรีจุดหั่นทอด หรือ "เบกาฮื้อ" จัดเป็นปลาอินทรีขนาดเล็กกว่าปลาอินทรีชนิดอื่น นับเป็นปลาอินทรีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย นอกจากปลาอินทรีบั้ง (S.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาอินทรีจุด

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (Chinese seerfish, Chinese mackerel; เขมร: ត្រីស្បៃកា, ត្រីបីកា) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) มีรูปร่างเพรียวยาว หัวแหลม ปากมีฟันแหลมคม ครีบหางเว้าลึก ครีบท้องและครีบหลังแหลมและมีรอยหยักไปจรดครีบหาง ชายครีบเป็นสีดำ ปลายครีบอกหรือครีบอกมนกลมไม่แหลม ลำตัวสีเทาเงินเหลือบเขียว ลำตัวไม่มีลวดลายหรือแต้มจุดเหมือนปลาอินทรีชนิดอื่น อาศัยอยู่ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาแถบชายฝั่งแปซิฟิก, ญี่ปุ่น, จีน, เวียดนาม และพบบางส่วนเข้ามาอาศัยในแหล่งน้ำจืด ที่ปากแม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมรด้วย โดยพบได้ตั้งแต่น้ำตกคอนพะเพ็งในลาวไปจนถึงจังหวัดกระแจะและพนมเปญในกัมพูชา ในประเทศไทยพบได้บ้างแถบจังหวัดจันทบุรี และมีการตกได้ที่เกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต เมื่อปลายเดือนมีนาคม..

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาอินทรีทะเลสาบเขมร

ปลาอีโต้มอญ

ปลาอีโต้มอญ (Common dolphinfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Percifoemes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coryphaena hippurus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอีโต้ (Coryphaenidae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ปลาอีโต้มอญ มีลำตัวยาวเรียว แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นลำตัวจะกว้างขึ้นและแบนข้างเล็กน้อย หัวงุ้มลง ทำให้มีรูปร่างคล้ายมีดโต้ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีเกล็ดเล็กละเอียด ปากกว้างและเฉียงขึ้น ฟันเล็กละเอียด ครีบหลังยาวเริ่มตั้งแต่บริเวณโหนกหัวไปจนถึงโคนหาง ครีบหางใหญ่เว้าลึกรูปส้อม ตัวผู้มีโหนกหัวนูนออกไปข้างหน้าเป็นแนวตั้งฉากกับปากคล้ายกับโลมา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ ส่วนตัวเมียจะมีโหนกหัวลาดลง ปลาขนาดโตเต็มวัยลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียว ข้างตัวมีจุดดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วลำตัว มีความยาวตั้งแต่ 40-100 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 150 เซนติเมตร เป็นปลาที่อยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดไม่ใหญ่ อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก และมักขึ้นมาหากินและหาอาหารบริเวณผิวน้ำ มักพบอยู่บริเวณข้างเกาะแก่ง ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้หรือซากอวนที่ลอยมาตามน้ำ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่องไว ว่ายน้ำได้เร็วมาก กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร เป็นปลาที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการตกปลาเป็นเกมกีฬา เช่นเดียวกับปลากระโทง (Istiophoridae) หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื่องจากเป็นปลาที่สู้เบ็ดและมีความสวยงามเมื่อเวลาตก และนิยมจับเพื่อการประมงเชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งประเทศในแถบแคริบเบียนเป็นกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากปลาอีโต้มอญกลุ่มใหญ่ของโลก ส่วนหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปมีปริมาณการบริโภคเพิ่มมากขึ้นทุกปี และญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่บริโภคปลาชนิดนี้เป็นปริมาณมากเช่นกัน ปลาอีโต้มอญ ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ในภาษาไทย เช่น "หน้ามอม", "อีโต้", "มงเจ้าเลือด", "โต้มอญ" หรือ "สีเสียดอินเดีย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาฮาวายจะเรียกว่า "Mahi-mahi" ซึ่งเป็นชื่อที่เพิ่งใช้ไม่นานมานี้ โดยจะปรากฏบนเฉพาะบนเมนูอาหาร ในขณะที่ภาษาสเปนจะเรียกว่า "Dorado" ที่หมายถึง ทองคำ สถานะของปลาอีโต้มอญ ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) ได้จัดให้อยู่สถานะสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC).

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาอีโต้มอญ

ปลาทู

ปลาทู, ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น เป็นปลาทูชนิดที่ชาวไทยนิยมบริโภคมากที.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทู

ปลาทู (สกุล)

ปลาทู (Rastrelliger) เป็นสกุลปลาทะเลสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาอินทรี, ปลาโอ และปลาทูน่า มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ในน่านน้ำไทยพบทั้งหมด 3 ชนิด ปลาในสกุลนี้เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทู (สกุล)

ปลาทูปากจิ้งจก

ปลาทูปากจิ้งจก เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งในสกุลปลาทู (Rastrelliger) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาลังหรือปลาทูโม่ง (R. kanagurta) แต่มีขนาดความยาวเท่าปลาทู (R.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูปากจิ้งจก

ปลาทูน่า

ปลาทูน่า หรือ ปลาโอ (tuna; マグロ) เป็นปลาทะเลกลุ่มหนึ่ง ในเผ่า Thunnini วงศ์ Scombridae โดยเฉพาะในสกุล Thunnus จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก เนื้อของปลาทูน่าจะมีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว นิยมเอามาทำเป็นปลากระป๋อง หรือปรุงสดต่าง ๆ เช่น ซาชิมิ ปลาทูน่า มีลักษณะรวม คือ อาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลหรือมหาสมุทรห่างจากชายฝั่ง มีรูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่า

ปลาทูน่าครีบยาว

ปลาทูน่าครีบยาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunnus alalunga) หรือชื่อการตลาดในสหรัฐอเมริกาคือ ปลาทูน่าเนื้อขาว (white meat tuna) เป็นปลาทูน่าที่พบในแหล่งน้ำเปิดและมหาสมุทรทุกเขตและทุกอุณหภูมิ รวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นหนึ่งในวัตถุดิบอาหารที่ได้รับรางวัลและยังถือเป็นปลาเศรษฐกิจพันธุ์หนึ่ง ในฤดูการผสมพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่คราวละ 800,000 ถึง 2.6 ล้านฟอง ซึ่งจะฟังตัวภายในหนึ่งหรือสองวัน ภายหลังฟักตัวแล้ว ตัวอ่อนก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงปีแรกจะอาศัยอยู่ไม่ไกลจากบริเวณที่พวกมันฟักตัว หลังจากอายุได้หนึ่งปีพวกมันก็จะเริ่มอพยพ ปลาทูน่าครีบยาวมีอายุไขราว 11-12 ปี โดยจะเริ่มสืบพันธุ์เมื่อมีอายุราว 5-6 ปี ปลาทูน่าครีบยาวตัวโตเต็มวัยมีขนาดตัวเฉลี่ย 90–100 เซนติเมตร และอาจมีน้ำหนักได้ถึง 40 กิโลกรัม ลำตัวมีสีขาวออกเงิน ส่วนหลังมีสีน้ำเงินเข้ม มีครีบส่วนหลังเป็นสีเหลืองเข้ม ในบางพื้นที่ พวกมันมักจะอาศัยอยู่ในในระดับน้ำลึกกว่า 200 เมตรในตอนกลางวัน และอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำในตอนกลางคืน แต่ในบางพื้นที่ พวกมันก็อาศัยอยู่ใกล้ผิวน้ำตลอดวัน พวกมันเป็นปลาประเภทที่ไม่นอนหลับ เนื่องจากต้องขยับตัวตลอดเวลาเพื่อให้ได้ออกซิเจนเพียงพอ.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่าครีบยาว

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ หรือ ปลาทูน่ายักษ์ (Northern bluefin tuna, Atlantic bluefin tuna, Giant blufin tuna; タイセイヨウクロマグロ) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตอบอุ่นระหว่างละติจูดที่ 5-50 องศาเหนือ สามารถอยู่อาศัยบริเวณผิวน้ำในระยะอุณหภูมิกว้างมากพบการแพร่กระจายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้เด่นชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางตอนต้นของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน ที่คอดหางมีสีดำ มีขนาดความยาวที่สุดมากกว่า 300 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด 200 เซนติเมตร โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่บันทึกได้ คือ ยาว 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวกว่า 30 ปี และเป็นสัตว์เลือดอุ่น เพราะร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิอย่างยอดเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง มีกลไกการทำงานของหัวใจที่ยอดเยี่ยม จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ นั้นเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับปลาทูน่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เป็นปลาที่ชาวญี่ปุ่นทำการประมงมานานกว่า 5,000 ปี โดยชาวพื้นเมืองชาวไฮดาในแถบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือหน้า 18 เรื่องเล่าจากต่างแดน, ราชาแห่งมัจฉ.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ

ปลาทูน่าครีบเหลือง

ปลาทูน่าครีบเหลือง (Yellowfin tuna, Allison's tuna, Pacific long-tailed tuna, Yellowfinned albacore) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาทูน่าหรือปลาโอที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง แต่เล็กกว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (T.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่าครีบเหลือง

ปลาทูน่าแท้

ปลาทูน่าแท้ (true tuna, real tuna) เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง จำพวกปลาทูน่า ใช้ชื่อสกุลว่า Thunnus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการชั้นสูง ทำให้มีรูปร่างปราดเปรียวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด ลำตัวสีเงินแวววาว ถือเป็นปลาที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีเหงือกมีขนาดใหญ่ ร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิที่ดีเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง และมีกลไกการทำงานของหัวใจที่ดีเยี่ยม มีครีบแข็งทรงโค้งทั้งครีบทวารและครีบหลังอันที่สอง ส่วนครีบหางที่ใช้แหวกว่ายหักเลี้ยวได้อย่างว่องไวเป็นตัวขับเคลื่อนไปข้างหน้า ด้วยสรีระดังกล่าว จึงทำให้ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วมากกลุ่มหนึ่งในมหาสมุทร โดยสามารถทำความเร็วไปข้างหน้าได้ราว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสูงถึงเกือบ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 70-74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้นซึ่งคำว่า Thunnus นั้นมาจากคำ 2 คำในภาษาละตินหรือภาษากรีกโบราณคำว่า θύννος (thýnnos) แปลว่า “ปลาทูน่า” และ θύνω (thynō) แปลว่า "ที่พุ่ง; ที่โผ" ทั้งหมดเป็นปลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นปลาเศรษฐกิจ ทั้งในการประมงและตกเป็นเกมกีฬา มีราคาซื้อขายกันที่สูงมาก และสามารถปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ แบบปลาดิบของญี่ปุ่น และปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่าแท้

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา หรือ ปลาโอฟันหมา (Dogtooth tuna, Scaleless tuna) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอ หรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง ที่มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Gymnosarda มีรูปร่างเพรียวยาวเป็นทรงกระสวยหรือตอร์ปิโดป้อม ครีบหลังตอนท้ายคล้ายกับของปลาทู ครีบหางเว้าลึก โคนครีบมีสันเล็ก ๆ ผิวเรียบ บริเวณครีบอกมีแถบเกล็ดหนา ครีบอกมีขนาดเล็ก ลำตัวสีเงินอมฟ้า มีลายเส้นสีคล้ำที่ด้านท้าย ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร โตเต็มที่ได้ถึง 160 เซนติเมตร หรือ 1.6 เมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับกลางน้ำในทะเลเปิดในแนวปะการังที่ค่อนข้างลึก หรือข้างเกาะ พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาที่พบได้น้อย นิยมตกเป็นเกมกีฬา และบริโภคเป็นปลาเศรษฐก.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่าเขี้ยวหมา

ปลาทูแขก

ปลาทูแขก (mackerel scad, round scad, horse mackerel) เป็นปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Decapterus (/ดี-แคป-เท-รัส/) จัดอยู่ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีรูปร่างเรียวยาว แต่ตัวกลมเนื้อหนาแน่น มีเกล็ดหนามแข็งที่โคนหางอันเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวของปลาในวงศ์ปลาหางแข็ง ดูเผิน ๆ คล้ายกับปลาลัง (Rastrelliger kanagurta) หรือปลาทูปากจิ้งจก (R.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูแขก

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

ปลาซาบะ

ปลาซาบะ (さば Saba) เป็นชื่อของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Scomber จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาแมคเคอเรลจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกระสวยหรือจรวด เป็นปลาผิวน้ำ อาศัยอยู่เป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็ว กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร รวมถึงแพลงก์ตอนสัตว์ เช่น โคพีพอด ด้วย โดยมากเป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรและน่านน้ำเขตหนาว เช่น มหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือ แถบส่วนเหนือของทวีปแอฟริกา ไล่เรียงขึ้นไปทางทวีปยุโรป จนถึงแถบสแกนดิเนเวีย แต่ก็มีประชากรบางส่วนพบที่มหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น หรือจีน และสหรัฐอเมริกา หรือซีกโลกทางใต้ เช่น นิวซีแลนด์ ด้ว.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาซาบะ

ปลาแมกเคอเรล

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (''Scomberomorus sinensis'') จัดเป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่งในวงศ์ Scombridae ปลาแมกเคอเรล (mackerel) เป็นชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษของปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Scombridae (เป็นส่วนใหญ่), Carangidae, Hexagrammidae และ Gempylidae ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันคือ ผิวเป็นเกล็ดละเอียดสีเงินมันวาว ตัวเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ ครีบข้างหนึ่งคู่ หางสองแฉก อาศัยอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ ปลาทูก็อยู่ในวงศ์ Scombridae ดังนั้นจึงจัดเป็นปลาแมกเคอเรลเช่นกัน ส่วนปลาซาร์ดีนอยู่ในวงศ์ Clupeidae ที่มีขนาดเล็กกว่า ไม่จัดว่าเป็นปลาแมกเคอเรล ปลาแมกเคอเรลเป็นปลาที่มนุษย์รับประทานได้ สามารถนำมาทำเป็นปลากระป๋อง โดยเก็บเนื้อปลาในซอสมะเขือเทศ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาแมกเคอเรล

ปลาแมกเคอเรลแท้

ปลาแมกเคอเรลแท้ (True mackerels) เป็นเผ่าของปลาทะเลจำพวกปลาแมกเคอเรลเผ่าหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombrini ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae).

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาแมกเคอเรลแท้

ปลาใบขนุน

ปลาใบขนุน หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันในชื่อภาษาแต้จิ๋วว่า ปลาอังนั้ม (乳香鱼; False trevally, Milkfish, Whitefish, Butterfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactarius lactarius อยู่ในวงศ์ Lactariidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้และวงศ์นี้ มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกับปลาทู ซึ่งอยู่ในวงศ์ Scombridae คือ มีลำตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงกันเป็นแผงอยู่บนขากรรไกรเพดานและลิ้น เกล็ดเป็นแบบบางเรียบขนาดใหญ่และหลุดง่าย มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนที่ 2 ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย มีลำตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบนของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำดูเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน และมีสีน้ำเงินแทรกด้านหลังและท้องบริเวณหลัง เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินตามชายฝั่งซึ่งบางครั้งอาจพบได้ในแถบน้ำกร่อย มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 40 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 15-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ตอนใต้ทะเลญี่ปุ่น, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ และฟิจิ ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ปลาใบขนุนที่ตลาดสดของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี นิยมนำมาบริโภคด้วยการปรุงสด ปลาใบขนุนยังมีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น "ปลาขนุน", "ปลาซับขนุน", "ปลาสาบขนุน" หรือ "ปลาญวน" เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาใบขนุน

ปลาโอดำ

ปลาโอดำ หรือ ปลาโอหม้อ หรือ ปลาทูน่าน้ำลึก (longtail tuna, northern bluefin tuna) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง เป็นปลาผิวน้ำที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเช่นเดียวกับปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ทั่วไป มีลำตัวค่อนข้างกลมและยาวเพรียวแบบกระสวย ครีบหลังที่แยกออกจากกันเป็นสองอันและอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อยเท่าขนาดความ ยาวของตา ครีบอกหลังยาวมาก ครีบท้องตั้งอยู่ในแนวเดียวกับครีบอก ครีบก้นอยู่เยื้องครีบหลังอันที่สองเล็กน้อย ครีบหางใหญ่เว้าลึกเป็นรูปวงเดือน มีเกล็กเล็กละเอียดอยู่บริเวณแนวท้อง มีจุดสีขาวเรียงกันเป็นแถวไปตามความยาวของส่วนท้อง ครีบฝอยของครีบหลังและครีบก้นมีสีเทาแกมเหลือง มีความยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร มีขนาดความยาวใหญ่สุดถึง 145 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 35.9 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงและแอฟริกาตะวันออกถึงนิวกินี, ทะเลญี่ปุ่นตอนเหนือ จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในน่านน้ำไทยพบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่หากินบริเวณผิวน้ำ โดยล่าปลาหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เนื้อสามารถทำไปปลาดิบในอาหารญี่ปุ่นได้.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาโอดำ

ปลาโอแถบ

ปลาโอแถบ หรือ ปลาทูน่าท้องแถบ (Skipjack tuna, Arctic bonito, Striped tuna, Victor fish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Katsuwonus มีรูปร่างกลมและยาวเพรียวแบบรูปกระสวย ปากกว้าง นัยน์ตาขนาดปานกลาง ครีบหลังอันที่สองมีขนาดเล็กและไม่สูงครีบหูมีขนาดเล็ก ปลายแหลมเรียว ครีบท้องเล็ก ครีบก้นมีจุดเริ่มต้นอยู่ประมาณกลางครีบหลังอันที่สอง มีเกล็ดเฉพาะบริเวณใต้ครีบหลังอันแรกและบริเวณเส้นข้างลำตัวมีแถบสีดำ ประมาณ 4-6 แถบ อยู่ใต้เส้นข้างตัว แลดูเด่นเป็นลักษณะเฉพาะ เป็นปลาที่มีพฤติกรรมรวมฝูงขนาดใหญ่เป็นพันหรือหมื่นตัวกันหากินตามผิวน้ำ และชอบกระโดดพร้อมกันทีเดียว มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 40-80 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 110 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมที่ทะเลอันดามันแถบจังหวัดระนอง, พังงา, ภูเก็ตถึงสตูล.

ดู วงศ์ปลาอินทรีและปลาโอแถบ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ CybiidaeScombridaeScombrinaeThunnidae