โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์นกเค้าแมว

ดัชนี วงศ์นกเค้าแมว

วงศ์นกเค้าแมว หรือ วงศ์นกเค้าแมวแท้ (True owl, Typical owl, วงศ์: Strigidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับ Strigiformes หรือนกเค้าแมว ใช้ชื่อวงศ์ว่า Strigidae ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ (อีกวงศ์หนึ่ง นั่นคือ Tytonidae ซึ่งเป็นวงศ์ของนกแสก) มีลักษณะทั่วไปที่เป็นลักษณะเด่นชัด คือ มีตากลมโตสีเหลือง และมีตาอยู่ด้านหน้า ในบางสกุลหรือบางชนิด จะมีขนหูตั้งขึ้นต่อจากคิ้ว ตาสองข้างอยู่ด้านหน้า เหนือปาก เป็นเหมือนรูปจมูก มีเส้นสีที่แสดงเขตใบหน้าอย่างชัดเจน จะงอยปากงุ้มแหลมคม ปากงุ้มแหลม ปากและขาสีเนื้อ มีเล็บนิ้วยาวสำหรับฉีกเหยื่อที่จับได้ สีขนส่วนใหญ่ของหลัง-ปีก-อก และท้อง จะเป็นสีน้ำตาล-น้ำตาลเข้ม และมีลายน้ำตาลเข้ม-ดำ อก และท้องจะมีสีอ่อน กว่าหลังและปีก หางจะไม่ยาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ลวดลายของอกและท้องรวมทั้งสีขนจะแตกต่างกันในแต่ละชนิด นอกจากนี้แล้ว นกในวงศ์นี้ ยังสามารถหมุนคอได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก โดยมากแล้วเป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารหลักได้แก่ หนู และสัตว์ชนิดอื่น เช่น สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เป็นต้น มีพฤติกรรมการกินอาหารที่มักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว และจะสำรอกส่วนที่ย่อยไม่ได้เช่น กระดูกหรือก้อนขน ออกมาเป็นก้อนทีหลัง อาจมีบางชนิดที่กินปลาเป็นอาหาร มีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ นกเค้าเอลฟ์ (Micrathene whitneyi) ที่มีน้ำหนักเพียง 40 กรัม ความยาวลำตัวเพียง 14 เซนติเมตร ความยาวปีก 20 เซนติเมตร จนถึง นกเค้าอินทรียูเรเชีย (Bubo bubo) ที่มีความยาวปีกยาวกว่า 75 เซนติเมตร น้ำหนัก 4.20 กิโลกรัม นับเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์และอันดับนี้ ปัจจุบัน พบทั้งหมดราว 200 ชนิด แบ่งได้เป็น 25 สกุล ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว 4 (ดูในตาราง) พบได้ทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่บริเวณขั้วโลกเหนือ พบได้ในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200 เมตร จนถึงชุมชนมนุษย์ในเมืองใหญ่ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั้งหมด 17 ชน.

19 ความสัมพันธ์: รายชื่อนกที่พบในประเทศไทยวงศ์นกแสกนกล่าเหยื่อนกทึดทือนกทึดทือพันธุ์เหนือนกทึดทือมลายูนกเค้านกเค้ากู่นกเค้าจุดนกเค้าป่าสีน้ำตาลนกเค้าป่าหลังจุดนกเค้าแมวหิมะนกเค้าแมวหูสั้นนกเค้าแคระนกเค้าใหญ่นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรานกเค้าใหญ่แวโรนกเค้าโมงนกเค้าเหยี่ยว

รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกแสก

วงศ์นกแสก (Barn-owl, วงศ์: Tytonidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับนกเค้าแมว (Strigiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tytonidae นับเป็นวงศ์ของนกเค้าแมววงศ์หนึ่ง นอกเหนือจากวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนาดใหญ่กว่านกในวงศ์นกเค้าแมว ใบหน้ากลมแบน มีขนสีขาวเต็มหน้า ทำให้คล้ายรูปหัวใจ ตามีสีดำ อยู่ด้านหน้า และมีขนาดเล็กกว่าวงศ์นกเค้าแมว ปากเป็นจะงอยงุ้ม สีเหลืองเทา ชมพู หลังและปีกสีน้ำตาลอ่อน มีสีน้ำตาลเทาเป็นส่วน ๆ คอ อก ท้อง สีขาว ขาวนวล มีจุดสีน้ำตาลเข้มทั่วไป ปีกยาว หางสั้น ขนปีกและหางมีลายขวางสีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน ขาใหญ่ มีขนคลุมขา ตีนสีชมพู นิ้วมีเล็บยาว รูปร่างลักษณะตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกัน โดยตัวเมียจะโตกว่าเล็กน้อย ลำตัวตั้งตรง มีพฤติกรรมการหากินและเป็นอยู่คล้ายกับนกในวงศ์นกเค้าแมว โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 16 ชนิด และยังมีอีก 4 สกุล ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ในหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย พบได้ 3 ชนิด คือ นกแสก (Tyto alba) นกแสกทุ่งหญ้า (Tyto capensis) และนกแสกแดง (Phodilus badius) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และพบได้เฉพาะในป่าเท่านั้น.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกล่าเหยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือ

นกทึดทือ หรือ นกถึดทือ หรือ นกพิทิด ในภาษาใต้ (Fish owls) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่ง ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) จัดอยู่ในสกุล Ketupa (แต่จากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมแล้วพบว่าควรจะจัดให้อยู่ในสกุล Bubo หรือนกเค้าใหญ่ มากกว่า) ลักษณะของนกทึดทือ เป็นนกฮูกหรือนกเค้าแมวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลำตัวสีนํ้าตาล มีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาว เห็นได้ชัด ตาสีเหลือง หน้าแข้งไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน การที่ได้ชื่อว่า "ทึดทือ" นั้น มาจากเสียงร้อง ที่เป็นเสียงต่ำทุ้ม โดยเฉพาะช่วงจับคู่ในฤดูหนาว ทั้งสองเพศจะร้องประสานเสียงกันให้ได้ยินบ่อย ๆ ยามพลบค่ำและรุ่งสาง จะอาศัยอยู่ในป่าใกล้แหล่งน้ำ เพราะจับสัตว์น้ำ เช่น ปลา, ปู, กุ้ง, กบ, เขียด กินเป็นอาหาร ทำรังและอาศัยบนต้นไม้ยืนต้น พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย ในประเทศไทยพบ 2 ชน.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกทึดทือ · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือพันธุ์เหนือ

นกทึดทือพันธุ์เหนือ (Brown fish owl; หรือ Bubo zeylonensis) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง พบในเขตอบอุ่นและเขตร้อนชื้นตามไหล่ทวีปเอเชียและหมู่เกาะGrimmett et al. (1999).

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกทึดทือพันธุ์เหนือ · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือมลายู

นกทึดทือมลายู หรือ นกเค้าแมวมลายู หรือ นกฮูกมลายู หรือ นกพิทิดพิที ในภาษาใต้ (Buffy fish owl, Malay fish owl; หรือ Bubo ketupa) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว เป็นนกเค้าแมวขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 49-50 เซนติเมตร ปีกสั้นกว่า 40 เซนติเมตร ดวงตาสีเหลืองจนถึงเหลืองแกมทอง มีขนเหนือคิ้วเป็นแผงยาวออกไปด้านข้างทั้งสองด้าน ส่วนขนบริเวณเหนือโคนปากเป็นสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลมีลายสีจางกระจาย ด้านล่างสีเนื้อแกมน้ำตาลเหลือง มีลายขีดสีดำ เมื่อหุบปีกจะเห็นลายแถบสีน้ำตาลจางสลับสีเข้มบริเวณปลายปีก ขาสีเขียว มีเล็บโค้งแหลม และมีปากงุ้มแหลม มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน ทำรังอยู่ในโพรงไม้ หรือใช้รังเก่าของนกอื่น ๆ เป็นรัง ออกไข่ครั้งละ 1-3 ฟอง ลักษณะไข่มีเปลือกสีขาวและทรงกลม ตัวผู้จะเป็นฝ่ายส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย มักอาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใกล้แหล่งน้ำหรือลำธารในป่า และบริเวณใกล้ชายฝั่ง ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางคืน จับสัตว์ขนาดเล็กกินเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, กบ, ปู, ค้างคาว, นกชนิดอื่น และสัตว์เลื้อยคลานเกือบทุกชนิด เมื่อเวลาบินล่าเหยื่อจะบินได้เงียบกริบมาก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทยเช่น จังหวัดนราธิวาส พบไปตลอดแหลมมลายูจนถึงประเทศอินโดนีเซีย, เกาะชวา และหมู่เกาะซุนดา ซึ่งนกทึดทือมลายู เป็นนกที่ถูกอ้างอิงถึงในนวนิยายสำหรับเด็กเรื่อง แฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ด้วยเป็นนกของแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ตัวละครเอก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกทึดทือมลายู · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้า

นกเค้า หรือ นกเค้าแมว หรือ นกฮูก (Owl) เป็นนกที่อยู่ในอันดับ Strigiformes มีรูปใบหน้าคล้ายแมว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ จับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร เช่น หนู, งู หรือสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเล็ก ๆ ในขณะที่บางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจจับปลา หรือปูกินได้ด้วย จัดเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่งเหมือนเหยี่ยว, อินทรี และแร้ง ที่หากินในเวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นมักหากินในเวลากลางคืน ทำให้มีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน เหตุที่หากินในเวลากลางคืน เป็นเพราะนกเค้าแมวเป็นนกที่ไม่อาจสู้กับนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน อย่าง เหยี่ยวหรืออินทรีได้ อีกทั้งบางครั้งยังถูกนกที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง นกเอี้ยงหรือนกกิ้งโครงไล่จิกตีอีกต่างหาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่าโดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้า · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้ากู่

นกเค้ากู่ หรือ นกฮูก (Collared scops owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง เป็นนกประจำถิ่นในเอเชียใต้จากตอนเหนือของประเทศปากีสถาน, ตอนเหนือของประเทศอินเดีย และเทือกเขาหิมาลัยไปทางตะวันออกถึงประเทศจีนตอนใต้ และบางตัวเป็นนกอพยพในฤดูหนาวที่พบในประเทศอินเดีย, ประเทศศรีลังกา และประเทศมาเลเซีย นกเค้ากู่เป็นนกเค้าแมวขนาดเล็ก (23–25 เซนติเมตร) มีปอยขนตั้งชันขึ้นบนหัวสองข้างหรือที่เรียกว่าหู ส่วนบนเป็นสีเทาหรือน้ำตาลขึ้นอยู่กับว่าเป็นชนิดย่อยชนิดไหน มีจุดสีน้ำตาลอมเหลืองจางๆ ส่วนล่างสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายขีดสีเข้ม วงหน้าสีออกขาวหรือสีเนื้อ มีสร้อยคอสีเนื้อหรือน้ำตาลอมเหลือง ตากลมโตสีส้มหรือสัน้ำตาล ปากสั้น สันปากโค้งลง ทั้งสองเพศคล้ายกัน.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้ากู่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าจุด

นกเค้าจุด (อังกฤษ: Spotted owlet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Athene brama) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีลักษณะส่วนหัวกลมไม่มีขนชี้ขึ้นไปเหมือนหูอย่างนกเค้ากู่ (Otus lempiji) มีจุดสังเกตอยู่ที่ขนคิ้วสีขาวที่เห็นได้เด่นชัด หัวค่อนข้างแบน บริเวณหัวจนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วไป บริเวณตัวด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลก็มีจุด แต่จะมีขนาดใหญ่และกระจายมากกว่าบริเวณหัว บางทีใหญ่และเรียงตัวกันดูคล้ายบั้งมากกว่าจุด โดยเฉพาะด้านหลังคอที่จะเรียงตัวต่อกันคล้ายปลอกคอ ด้านล่างของลำตัวสีขาว แต่มีลายจุดสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน โตเต็มที่มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 20 เซนติเมตร จัดว่าเป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ออกหากินในเวลากลางคืน โดยเริ่มออกจากรังตั้งแต่เวลาโพล้เพล้ เป็นนกที่บินได้เงียบมาก อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงปีกแข็ง, หนูขนาดเล็กหรือนกขนาดเล็กชนิดอื่นที่นอนหลับบนต้นไม้ เมื่อเห็นเหยื่อจะพุ่งตัวกางกรงเล็บอันแข็งแรงและแหลมคมออกจับเหยื่อ ถ้าเหยื่อตัวเล็กจะกินเลยทันที ถ้าตัวใหญ่ก็นำกลับมาที่รังก่อนแล้วใช้กรงเล็บจับเหยื่อขึ้นมาฉีกกินจนหมด นกเค้าจุดที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านอาจมีพฤติกรรมไล่จับแมลงที่มาเล่นไฟที่หลอดนีออน มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อนุทวีปอินเดีย สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ที่พม่า, ไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 400 เมตร จนถึงทะเลทราย ทั้งยังปรับตัวให้อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ได้อีกด้วย โดยสามารถพบได้ตามที่ ๆ มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นหรือตามสวนสาธารณะ เป็นนกที่ปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้ดีมากชนิดหนึ่งและไม่ค่อยกลัวมนุษย์ มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง) ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน โดยรังวางไข่ของนกเค้าจุด จะใช้โพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ หรือรอยแตกรอยแยกในตึก, เจดีย์, ซอกหลังคาตามอาคารเป็นรัง อาจหาหญ้าหรือขนนกมารองพื้นรัง แต่ส่วนมากจะวางไข่กับพื้นเปล่าเลย วางไข่ครั้งละ3-5ฟอง ไข่มีลักษณะกลม ขนาด 37x27 มิลลิเมตร เปลือกไข่สีขาวเป็นมันเล็กน้อย นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ เช่นเดียวกับนกเค้าแมวชนิดอื่น ๆ นกเค้าจุดจะกกไข่ทันทีตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกในรังจึงมีขนาดแตกต่างกันมาก เพราะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยงลูกนกประมาณ 35-40วัน ลูกนกจะสามารถออกมานอกรังได้ ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อน โดยจะออกหากินในเวลากลางวัน ถ้าเหยื่อเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะส่งให้ลูกทั้งตัว ถ้าขนาดใหญ่ก็จะฉีกเป็นชิ้นเล็กให้ ลูกนกที่โตพอสมควรแล้วจะยังคงอยู่กับพ่อแม่อีกนาน บางครั้งอาจพบนกเค้าจุด 2-3ตัว อยู่บนต้นไม้เดียวกัน หรือเกาะกิ่งเบียดใกล้ชิดกันเสมอ ๆ โดยในตอนกลางวันจะเกาะกิ่งหลับอยู่บนต้นไม้ใบหนา หรือถ้ามีโพรงก็จะมุดเข้าไปหลบในโพรงเพื่อความปลอดภัย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็เป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าจุด · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าป่าสีน้ำตาล

นกเค้าป่าสีน้ำตาล (Brown wood-owl) เป็นนกเค้าแมวประจำถิ่นในเอเชียใต้จากประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกา ไปทางตะวันออกถึงทางตะวันตกของประเทศอินโดนีเซียและตอนใต้ของประเทศจีน นกเค้าป่าสีน้ำตาลเป็นนกขนาดกลาง (45–57 เซนติเมตร) ตาน้ำตาลเข้ม ปากเทาดำ วงหน้าสีน้ำตาลแกมส้มเข้ม หัวและลำตัวด้านบนเทาดำแซมน้ำตาลเข้ม มีจุดขาวและขาวแกมฟ้าที่หัวและลำตัวด้านบน ลำตัวด้านล่างขาวมีลายขวางสีน้ำตาลเข้มแกมดำ แข้งและตีนมีขนคลุม ร้องดัง "ฮู-ฮู-ฮู-ฮู-ฮู-ฮู-ฮู" ทุ้มสั่นระรัว.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าป่าสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าป่าหลังจุด

นกเค้าป่าหลังจุด (Spotted wood-owl) เป็นนกเค้าแมวในสกุล Strix มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างแปลก เนื่องจากพบในที่ไม่ต่อเนื่องในหลายพื้นที่รอบเกาะบอร์เนียว แต่กลับไม่พบบนเกาะ มีสามชนิดย่อยคือ.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าป่าหลังจุด · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าแมวหิมะ

นกเค้าแมวหิมะ หรือ นกเค้าหิมะ (Snowy owl) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) นกเค้าแมวหิมะจัดเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ ขนตามลำตัวเป็นสีขาวล้วนสะอาด มีหัวกลมสีเหลือง ดวงตากลมโตสีดำ, สีฟ้า หรือสีเหลือง เท้ามีขนมาก ขนตามลำตัวโดดเด่นด้วยสีขาวแต้มด้วยบางส่วนสีดำเป็นแถบแนวนอนหรือลายจุด นกตัวเมียและนกวัยที่ยังไม่โตเต็มที่จะมีจุดดำขึ้นตามลำตัวมากกว่า ในขณะที่ตัวผู้เป็นสีขาวเกือบทั้งหมด และสีขนอาจเปลี่ยนไปตามฤดูกาลเพียงเล็กน้อย ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 51–68.5 เซนติเมตร (20–27 นิ้ว) ในขณะที่ตัวเมียประมาณ 66 เซนติเมตร (26 นิ้ว) ความยาวปีกประมาณ 137–164 เซนติเมตร (54–65 นิ้ว) เมื่อกางออก 137–164 เซนติเมตร (54–65 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 1,134–2,000 กรัม (40–70 ออนซ์) ตัวเมียประมาณ 1,707 กรัม (60 ออนซ์) ตัวผู้ประมาณ 1,612 กรัม (57 ออนซ์) จัดเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก นกเค้าแมวหิมะ พบกระจายพันธุ์ในแถบซีกโลกทางตอนเหนือ เช่น เขตทุนดราทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปตอนเหนือบริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือ, วงกลมอาร์กติก หรือสแกนดิเนเวีย หากินช่วงกลางวันตั้งแต่เช้าถึงค่ำ มีความแข็งแรงและมั่นคงบินมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว บินสั้น ๆ ใกล้พื้นดิน นกเค้าแมวหิมะมีความก้าวร้าวเมื่อทำรังวางไข่ นกเค้าแมวหิมะทำรังบนพื้นดินที่เป็นทุ่งหญ้าในช่วงฤดูร้อนของเขตอาร์กติก TUNDRA, "Wildest Arctic" สารคดีทางแอนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2556วางไข่ครั้งละ 6–8 หรือ 10 ฟอง โดยไข่ฟองแรกจะฟักเป็นตัวก่อนฟองสุดท้ายประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันดูแลไข่และลูกนก พ่อแม่นกจะฉีกเหยื่อเป็นชิ้น ๆ ก่อนจะป้อนให้ จนกว่าลูกนกจะโตพอแล้วจึงจะกลืนกินทั้งตัว จนกระทั่งลูกนกอายุได้ 6 สัปดาห์จึงพอจะช่วยเหลือตัวเองได้ นกเค้าแมวหิมะมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกนกต่างจากนกล่าเหยื่อชนิดอื่น ๆ ตรงที่จะดูแลลูกนกตัวที่อ่อนแอที่สุดด้วยโดยไม่ทอดทิ้ง เมื่อลูกนกค่อย ๆ โตขึ้น จะมีขนสีเทาขึ้นปกคลุมลำตัว และพ่อแม่นกจะทิ้งลูกนกให้อยู่ตามลำพังมากขึ้น ลูกนกเค้าแมวหิมะจะเริ่มหัดบินก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูหนาว มีพฤติกรรมในการล่าเหยื่อด้วยการเฝ้ารอ หรือกระทั่งติดตามเหยื่อ ส่วนใหญ่มักล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เหยื่อมีทั้งถูกจับบนพื้นและในอากาศ เหยื่อขนาดเล็กจะถูกกลืนทั้งหมด เหยื่อขนาดใหญ่จะถูกฉีกเป็นชิ้นใหญ่ กินอาหารจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก เช่น นก, หนูเลมมิ่ง, กระรอก, กระต่าย, เป็ด, ห่าน หรือแม้กระทั่งลูกของหมาป่าหรือหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก แต่จะไม่ล่าใกล้รังของนกชนิดอื่น แต่ขณะเดียวกันไข่นกหรือลูกนกก็ถูกรังควาญจากหมาป่าหรือหมาจิ้งจอกด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าแมวหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าแมวหูสั้น

นกเค้าแมวหูสั้น (Short-eared owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในสกุล Asio กระจายพันธุ์เกือบทั่วโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและประเทศออสเตรเลีย มักพบในพื้นที่เปิดโล่งในชนบทและทุ่งหญ้า ชื่อ flammeus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "เปลวไฟ หรือสีของไฟ".

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าแมวหูสั้น · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าแคระ

นกเค้าแคระ (Collared owlet, Collared pygmy owl) เป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Strigidae สามารถพบได้ในอัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, บรูไน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, ไต้หวัน, ไทย และเวียดนาม ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ คือ ป่าหนาว และจัดได้ว่าเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดเล็กที่สุดที่พบในทวีปเอเชีย ที่ขนาด 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) น้ำหนัก 60 กรัม (2.1 ออนซ์) โดยจะพบบ่อยที่สุดในบริเวณป่าดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 3,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบบ่อยขึ้นที่ระดับสูงเกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป บริเวณภาคใต้และคาบสมุทรมลายู จะพบได้บ่อยมากในระดับสูง 395 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) นกเค้าแคระจัดเป็นนกเค้าแมวที่บินได้ไม่เงียบเหมือนนกเค้าแมวหรือนกแสกส่วนมาก และยังเป็นนกที่หากินในเวลากลางวัน มีรูปร่างอ้วนกลม มีขนหนานุ่มปกคลุมอย่างหนาแน่น มีสีและลวดลายที่กลมกลืนไปกับต้นไม้ บริเวณคอก็มีขนอยู่อย่างหนาแน่นทำให้ดูเหมือนหัวอยู่ติดกับตัวโดยไม่มีคอ และมีหัวที่กลมโต หน้าแบน ตากลมโตสีเหลืองอยู่ด้านหน้าของใบหน้า ปากสั้นและปากบนโค้งงุ้มแหลมลง มีขนเส้นเล็ก ๆ คล้ายหนวดแมวอยู่รอบ ๆ โคนปากทำหน้าที่เป็นเครื่องนำทาง มีปีกกว้างแต่ปลายปีกมน ขนหางยาวกว่านกเค้าแม้วชนิดอื่น ๆ มีขาสั้นแต่เข็งแรงสีเหลืองนิ้วเท้าค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง มีนิ้วตีน 4 นิ้วเวลาเกาะกิ่งจะอยู่ด้านหน้า 2 ด้านหลัง 2 นิ้ว เล็บสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน จับอาหารจำพวกสัตว์ต่าง ๆ ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า, หนู, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก, จักจั่น, ด้วง และตั๊กแตน รวมถึงนกด้วยกันชนิดอื่นที่มีขนาดเล็ก เมื่อจะล่านก นกเค้าแคระมักจะซ่อนตัวตามพุ่มไม้ ไม่เช่นนั้นแล้วจะถูกฝูงนกเล็ก ๆ เหล่านี้ไล่จิกตี แต่นกเค้าแคระก็สามารถจับเหยื่อที่มีขนาดตัวพอ ๆ กันหรือโตกว่าเล็กน้อยได้ด้วยกรงเล็บที่แข็งแรง หากจะหากินในเวลากลางคืน มักจะเป็นในคืนวันเพ็ญ ทำรังวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยใช้โพรงไม้ธรรมชาติ หรือรังของนกอื่นที่ทำรังในโพรงไม้เหมือนกัน โดยโพรงอาจเป็นรังเก่า หรืออาจมาจากการแย่งชิงมาก็ได้ ในบางครั้งอาจเป็นการฆ่ากินและปล้นชิงจากนกตัวอื่นเลยก็ได้ โพรงรังที่เลือกมักอยู่สูงจากพื้นราว 2-10 เมตร วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ลูกนกจะออกจากไข่ในช่วงต้นฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์พอดีซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรอดชีวิตของลูกนก เนื่องจากแม่นกจะกกไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรกทันที ในขณะเดียวกันก็จะออกไข่ใบอื่น ๆ ไปด้วย ดังนั้นในแต่ละรังลูกนกเค้าแคระจะมีอายุต่างกันพอสมควร ถ้าอาหารมีไม่พอเพียง ตัวที่ออกมาทีหลังตัวเล็กกว่าก็จะแย่งอาหารตัวอื่น ๆ ไม่ทันและตายไปในที่สุด จัดเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าแคระ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา (''B. sumatranus'') ซึ่งเป็นนกเค้าใหญ่ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย นกเค้าใหญ่ หรือ นกเค้าหงอน หรือ นกเค้าอินทรีโลกเก่า (Horned owls, Old World eagle-owls) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อสกุลหนึ่ง ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Bubo (/บู-โบ/) นกเค้าใหญ่ เป็นนกเค้าหรือนกฮูกขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากเหลือง ขนคิ้วยาวแลดูคล้ายมีหูหรือหงอนยาว มีขนปกคลุมขา นกเค้าในสกุลนี้ บางชนิดสามารถโฉบจับปลาจากผิวน้ำกินเป็นอาหารได้ ในชนิดและโตที่ใหญ่ที่สุด อาจมีความสูงเกิน 2 ฟุต และกางปีกได้กว้างถึง 6 ฟุต และยังสามารถบินข้ามช่องแคบอังกฤษได้ด้วย พบกระจายพันธุ์อยู่ทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ ในประเทศไทยพบประมาณ 3 ชน.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา (Barred-eagle owl, Malay eagle owl) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว หรือนกเค้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับนกทึดทือมลายู (Ketupa ketupu) ต่างกันที่ตรงที่มีขนคลุมขาท่อนล่าง จะงอยปากสีน้ำตาลอ่อน ตาสีน้ำตาล ขนหูใหญ่และยาวมากสีน้ำตาล อกสีน้ำตาล ท้องสีขาว ขนด้านบนมีลายขวางเล็ก ๆ สีเหลืองซีด ส่วนขนด้านล่างมีลายขวางเล็ก ๆ สีน้ำตาลปนพื้นขาว มีลายบั้งกระจายตรงขนปีก ในขณะที่ยังเป็นลูกนกหรือยังไม่โตเต็มที่ ขนตามลำตัวจะเป็นสีขาวหรือสีอ่อน พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบในแหลมมลายู โดยพบได้จนถึงหมู่เกาะซุนดา ในบริเวณที่เป็นที่ราบขึ้นไปถึงระดับสูง 600 เมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในภาคใต้ตั้งแต่แนวเทือกเขาตะนาวศรีเท่านั้น ในวันที่ 3 กรกฎาคม..

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่แวโร

นกเค้าใหญ่แวโร หรือ นกเค้าใหญ่ยักษ์ (Verreaux's eagle-owl, Giant eagle owl) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว จัดอยู่ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) นกเค้าใหญ่แวโร ได้ชื่อมาจากนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ฌูล แวโร จัดเป็นนกเค้าขนาดใหญ่ และเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสองรองมาจากนกเค้าใหญ่ยูเรเชีย (B. bubo) มีลำตัวยาวประมาณ 66 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 3.11 กิโลกรัม เมื่อกางออกปีกออกแล้วยาวได้กว่า 140 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย, Arkive มีใบหน้าที่มีลักษณะกับใบหน้ามนุษย์มากที่สุด พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ซับสะฮารา พบได้ในทะเลทรายนามิบ ในประเทศนามิเบีย พบได้ในป่าฝน พบได้ในเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู ในประเทศเคนยา และพบได้ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,000 เมตร (9,800 ฟุต) เป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยล่าเหยื่อเช่น นกและหนูขนาดเล็ก, กิ้งก่า, กบ, แมลงปีกแข็ง และแมลงชนิดต่าง ๆ มีเสียงร้อง กว๊อก, กว๊อก, กว๊อก-กว๊อกกกกกกกก กว๊อกกกกกกกก กว๊อน ในขณะที่ตัวเมียก็ส่งเสียงร้องคล้ายกันแต่มีเสียงที่แหลมสูงกว.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าใหญ่แวโร · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าโมง

นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว (Asian barred owlet) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว มีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ด้านใต้ของลำตัวเป็นสีขาวและมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวขึ้นมาที่บริเวณอกอย่างไม่เป็นระเบียบ มีม่านตาสีเหลือง ในวัยเล็กจะมีลวดลายบนหัวเป็นจุดคล้ายกับนกเค้าแคระ (G. brodiei) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกันและเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่เล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย นกเค้าโมง มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก มีชนิดย่อยทั้งสิ้น 8 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งป่าทึบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,980 เมตร จนถึงสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ บางครั้งอาจจะพบได้ในเวลากลางวันได้อีกด้วย จึงนับเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นตัวได้บ่อยรองมาจากนกแสก (Tyto alba) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่างและภาคกลางตอนล่าง มีพฤติกรรมร้องได้หลายเสียง หลายทำนอง ในเวลากลางคืนจะร้องเป็นครั้งคราวคล้ายกับจะบอกโมงยาม จึงได้ชื่อว่า "นกเค้าโมง" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 แต่จากความที่เป็นนกขนาดเล็ก จึงทำให้นกเค้าโมงเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกับนกเค้าแคร.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าโมง · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าเหยี่ยว

นกเค้าเหยี่ยว (Brown Hawk-owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับนกเหยี่ยวหรืออินทรี มีลำตัวขนาดใหญ่ ปีกกว้างและกลมมน ตากลมโตสีเหลืองทอง ระหว่างตามีแถบคาดสีเหลือง หัวและลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านล่างสีกีกาหรือสีขาว มีลายจุดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเหลือง มีขนาดใหญ่เต็มที่สูงได้ถึง 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ หมู่เกาะอันดามันในทะเลอันดามัน จนถึงภาคใต้ของจีนและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตก, ภาคใต้, บางส่วนของภาคตะวันออก และจัดเป็นนกอพยพในภาคใต้ โดยพบในป่าโปร่ง, ป่าชายเลน จนถึงป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร มีทั้งหมด 12 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์นกเค้าแมวและนกเค้าเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

StrigidaeStriginaeนกเค้าแมวแท้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »