โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์นกพิราบและนกเขา

ดัชนี วงศ์นกพิราบและนกเขา

วงศ์นกพิราบและนกเขา เป็นวงศ์ของนกที่อยู่ในอันดับ Columbiformes ซึ่งมีอยู่เพียงวงศ์เดียว คือ Columbidae เป็นนกที่มีขนาดตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่ (15-120 เซนติเมตร) มีลักษณะโดยทั่วไป คือ อ้วนกลม คอสั้น ปากเรียวมีปุ่มเนื้อเหนือปาก ปากเล็ก สันปากบนโค้งเล็กน้อย รูจมูกไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น หางยาวปานกลาง ปลายหางมนกลมหรือแหลม ขนหางมี 12-20 เส้น ปีกยาวปานกลาง ขนปลายปีกมี 11 เส้น (10 เส้นทำหน้าที่ในการบิน) ขนกลางปีกมี 11-15 เส้น และมักไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขาสั้น หน้าแข้งเป็นเกล็ดแบบซ้อน บริเวณอื่นเป็นเกล็ดแบบร่างแห ตัวเต็มวัยไม่มีขนอุย ขนไม่มีแกนขนรองหรือมีแต่เล็กมาก ต่อมน้ำมันไม่มีขนปกคลุมหรือไม่มีต่อมน้ำมัน ผิวหนังบอบบาง เป็นนกที่กินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะ เมล็ดพืชและธัญพืช สร้างรังจากกิ่งไม้ บนต้นไม้ เชิงผา หรือบนพื้นดินขึ้นกับชนิด วางไข่ 1-2 ใบ พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงลูก ลูกอ่อนยังเดินไม่ได้ มีระยะเวลาออกจากรัง 7-28 วัน โดยพ่อแม่นกจะเลี้ยงลูกด้วยการสำรอกอาหารที่เป็นของเหลวออกจากกระเพาะพักป้อนให้ลูก ที่มีลักษณะคล้ายน้ำนม มีโครงสร้างทางและองค์ประกอบเคมีคล้ายน้ำนมของกระต่าย ซึ่งมีด้วยกันทั้งสองเพศ นกในวงศ์และอันดับนี้ มีอยู่ประมาณ 40 สกุล 310 สปีชีส์ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ในประเทศไทยพบราว 28 สปีชีส์ ใน 9 สกุล โดยมีสปีชีส์หนึ่งที่สูญพันธุ์ไปนานกว่า 350 ปีแล้วและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ นกโดโด เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี และสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง อาทิ ในการสื่อสารในสมัยโบราณ ที่ใช้นกพิราบสื่อสาร ที่จะบินกลับถิ่นฐานที่เป็นที่จากมาแม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน ด้วยสนามแม่เหล็กโลก หรือใช้สำหรับแข่งขันกันในการบิน หรือใช้เลี้ยงเป็นอาหาร, เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม หรือฟังเสียงร้อง ที่สามารถต่อยอดแตกเป็นอาชีพต่าง ๆ ได้.

29 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวนกเขารายชื่อตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิกรายชื่อนกที่พบในประเทศไทยรายชื่อโปเกมอน (1–51)ลาปาโลมาวิลเลียม เชกสเปียร์วงศ์นกพิราบและนกเขาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549สปีชีส์เฝ้าระวังหยาง หยางหลักระวังไว้ก่อนฮวาซ็อง (จังหวัดคย็องกี)ควังจูนกชาปีไหนนกพิราบนกพิราบหงอนวิคตอเรียนกลุมพูนกลุมพูขาวนกเขาชวานกเขาพม่านกเขาใหญ่นกเปล้านกเปล้าใหญ่แอโฟรไดทีแคราแคลโดโดเขา (แก้ความกำกวม)เตตราโครมาซีColumba

กลุ่มดาวนกเขา

กลุ่มดาวนกเขา เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็ก อยู่ทางใต้ของกลุ่มดาวหมาใหญ่ และกลุ่มดาวกระต่ายป่า เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของของกลุ่มดาวหมาใหญ่ แต่ถูกแยกออกมาโดยออกัสติน โรเยอร์ เมื่อ พ.ศ. 2222 (ค.ศ. 1679) หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวนกเขา.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและกลุ่มดาวนกเขา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิก

ตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิก (Olympic mascot) เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ในกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกเมื่อปี 1968 เว็นล็อก และ แมนด์วิลล์ ตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิกฤดูร้อน 2012และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและรายชื่อตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโปเกมอน (1–51)

แฟรนไชส์ โปเกมอน มีสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสมมุติที่เรียกว่าโปเกมอนทั้งหมด 721 สายพันธุ์ (นับถึง''โปเกมอนภาคโอเมการูบี''และ''แอลฟาแซฟไฟร์'') นี่คือรายชื่อโปเกมอน 51 สายพันธุ์ ที่พบใน''โปเกมอนภาคเรด''และ''กรีน'' เรียงตามสมุดภาพโปเกมอนเนชัลแนลของซีรีส์เกมหลัก.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและรายชื่อโปเกมอน (1–51) · ดูเพิ่มเติม »

ลาปาโลมา

ลาปาโลมา (La Paloma แปลว่า "นกเขา" หรือ "นกพิราบ") เป็นเพลงสเปนที่แต่งโดยเซบัสเตียน อิราดิเอร์ (Sebastián Iradier) นักแต่งเพลงจากแคว้นบาสก์ใน ค.ศ. 1863 โดยได้แรงบันดาลใจมาจากดนตรีอาบาเนราจากคิวบาซึ่งเขาเดินทางไปเที่ยวใน ค.ศ. 1861 เพลงนี้รับความนิยมไปหลายประเทศทั่วโลกหลังจากอีราเดียร์เสียชีวิตไปแล้ว คำร้องต้นฉบับภาษาสเปนกล่าวถึงกะลาสีชาวคิวบาที่ต้องออกสู่ทะเล โดยพรรณนาถึงคนรักผ่านนกพิราบขาวที่บินมาเกาะหน้าต่างห้องนอนของเธอในกรุงฮาวานา และว่าวันใดที่เขาเดินทางกลับบ้านก็จะได้แต่งงานกันเสียที เพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในเม็กซิโก โดยเป็นเพลงโปรดของสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1 แห่งเม็กซิโกในช่วงก่อนการปฏิวัติเม็กซิโก และได้รับความนิยมในฝรั่งเศสและเยอรมนีในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 เพลงนี้มีคำร้องภาษาอังกฤษแต่งโดยดอน รอเบิร์ตสัน ในชื่อเพลง "No More" ได้รับความนิยมจากการขับร้องโดยดีน มาร์ติน และเอลวิส เพรสลีย์ใน ค.ศ. 1961.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและลาปาโลมา · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกพิราบและนกเขา

วงศ์นกพิราบและนกเขา เป็นวงศ์ของนกที่อยู่ในอันดับ Columbiformes ซึ่งมีอยู่เพียงวงศ์เดียว คือ Columbidae เป็นนกที่มีขนาดตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่ (15-120 เซนติเมตร) มีลักษณะโดยทั่วไป คือ อ้วนกลม คอสั้น ปากเรียวมีปุ่มเนื้อเหนือปาก ปากเล็ก สันปากบนโค้งเล็กน้อย รูจมูกไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น หางยาวปานกลาง ปลายหางมนกลมหรือแหลม ขนหางมี 12-20 เส้น ปีกยาวปานกลาง ขนปลายปีกมี 11 เส้น (10 เส้นทำหน้าที่ในการบิน) ขนกลางปีกมี 11-15 เส้น และมักไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขาสั้น หน้าแข้งเป็นเกล็ดแบบซ้อน บริเวณอื่นเป็นเกล็ดแบบร่างแห ตัวเต็มวัยไม่มีขนอุย ขนไม่มีแกนขนรองหรือมีแต่เล็กมาก ต่อมน้ำมันไม่มีขนปกคลุมหรือไม่มีต่อมน้ำมัน ผิวหนังบอบบาง เป็นนกที่กินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะ เมล็ดพืชและธัญพืช สร้างรังจากกิ่งไม้ บนต้นไม้ เชิงผา หรือบนพื้นดินขึ้นกับชนิด วางไข่ 1-2 ใบ พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงลูก ลูกอ่อนยังเดินไม่ได้ มีระยะเวลาออกจากรัง 7-28 วัน โดยพ่อแม่นกจะเลี้ยงลูกด้วยการสำรอกอาหารที่เป็นของเหลวออกจากกระเพาะพักป้อนให้ลูก ที่มีลักษณะคล้ายน้ำนม มีโครงสร้างทางและองค์ประกอบเคมีคล้ายน้ำนมของกระต่าย ซึ่งมีด้วยกันทั้งสองเพศ นกในวงศ์และอันดับนี้ มีอยู่ประมาณ 40 สกุล 310 สปีชีส์ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ในประเทศไทยพบราว 28 สปีชีส์ ใน 9 สกุล โดยมีสปีชีส์หนึ่งที่สูญพันธุ์ไปนานกว่า 350 ปีแล้วและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ นกโดโด เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี และสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง อาทิ ในการสื่อสารในสมัยโบราณ ที่ใช้นกพิราบสื่อสาร ที่จะบินกลับถิ่นฐานที่เป็นที่จากมาแม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน ด้วยสนามแม่เหล็กโลก หรือใช้สำหรับแข่งขันกันในการบิน หรือใช้เลี้ยงเป็นอาหาร, เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม หรือฟังเสียงร้อง ที่สามารถต่อยอดแตกเป็นอาชีพต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและวงศ์นกพิราบและนกเขา · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549

นิติบัญญัติแห่งชาต..

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์เฝ้าระวัง

นกคีรีบูนเลี้ยงแบบเดียวกับที่มักถูกใช้ตรวจก๊าซในเหมืองถ่านหิน สปีชีส์เฝ้าระวัง (sentinel species) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ถูกใช้เพื่อตรวจจับภัยอันตรายต่อมนุษย์ โดยเตือนก่อนจะเกิดอันตราย เป็นคำที่มักถูกใช้กับภัยทางสิ่งแวดล้อม สัตว์บางชนิดสามารถใช้เพื่อเฝ้าระวังได้เพราะว่าพวกมันอาจตอบสนองต่อภัยอันตรายบางอย่างได้เร็วกว่ามนุษย์ในสภาพแวดล้อมเดียวกันNational Research Council (U.S.). คนได้สังเกตสัตว์เพื่อเป็นสัญญาณภัยที่ใกล้เข้ามาเป็นเวลานานแล้ว โดยมีการใช้พืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพื่อสิ่งนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและสปีชีส์เฝ้าระวัง · ดูเพิ่มเติม »

หยาง หยาง

หยาง หยาง เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2534 ใน เซี่ยงไฮ้, จีน.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและหยาง หยาง · ดูเพิ่มเติม »

หลักระวังไว้ก่อน

หลักระวังไว้ก่อน (precautionary principle) เป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงที่มีหลักว่า ถ้าการกระทำหรือนโยบายมีข้อน่าสงสัยว่า จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณประโยชน์หรือต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โดยไม่มีมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ว่า การกระทำหรือนโยบายนั้นจะไม่ทำความเสียหาย การพิสูจน์ว่าจะไม่ก่อความเสียหาย ตกเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องการทำการนั้น ๆ ผู้ออกนโยบายได้ใช้หลักนี้เป็นเหตุผลการตัดสินใจ ในสถานการณ์ที่อาจเกิดความเสียหายเพราะการตัดสินใจบางอย่าง (เช่นเพื่อจะทำการใดการหนึ่ง หรืออนุมัติให้ทำการใดการหนึ่ง) ในกรณีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ชัดเจน หลักนี้แสดงนัยว่า ผู้ออกนโยบายมีหน้าที่ทางสังคมที่จะป้องกันสาธารณชนจากการได้รับสิ่งที่มีอันตราย เมื่อการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์ได้พบความเสี่ยงที่เป็นไปได้ และการป้องกันเช่นนี้จะสามารถเพลาลงได้ ก็ต่อเมื่อมีงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าจะไม่มีอันตรายเกิดขึ้น กฎหมายของเขตบางเขต เช่นในสหภาพยุโรป ได้บังคับใช้หลักนี้ในบางเรื่อง ส่วนในระดับสากล มีการยอมรับใช้หลักนี้เป็นครั้งแรกในปี 2525 เมื่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตกลงใช้กฎบัตรเพื่อธรรมชาติแห่งโลก (World Charter for Nature) แล้วต่อมาจึงมีผลเป็นกฎหมายจริง ๆ ในปี 2530 ผ่านพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ต่อจากนั้นจึงมีการใช้หลักนี้ตามสนธิสัญญาที่มีผลทางกฎหมายต่าง ๆ เช่น ปฏิญญารีโอ (Rio Declaration) และพิธีสารเกียวโต.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและหลักระวังไว้ก่อน · ดูเพิ่มเติม »

ฮวาซ็อง (จังหวัดคย็องกี)

วาซ็อง เป็นเมืองในจังหวัดคย็องกี,ประเทศเกาหลีใต้ เป็นเมืองที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าเมืองหรืออำเภอใดๆในจังหวัดคย็องกี รถไฟใต้ดินโซล สาย 1ผ่านเมืองฮวาซ็องที่สถานีบย็องจ็อม.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและฮวาซ็อง (จังหวัดคย็องกี) · ดูเพิ่มเติม »

ควังจู

วังจู (ชื่ออย่างเป็นทางการ มหานครควังจู; (광주광역시; Gwangju) เป็นเมืองใหญ่เป็นอับดับที่ 6 ของประเทศเกาหลีใต้ มีฐานะเป็นมหานครขึ้นโดยตรงกับกระทรวงมหาดไทย เมืองควังจูเคยเป็นเมืองหลวงของจังหวัดจอลลาใต้ จนกระทั่งศาลากลางจังหวัดได้ย้ายไปยังหมู่บ้านนามัค ในเมืองชนบทมูอัน ในปี 2548 ควัง (광, ฮันจา 光) หมายถึง "แสงสว่าง" และ จู (주, ฮันจา 州) หมายถึง "จังหวัด" พื้นที่ทิวทัศน์ที่สวยงามในพื้นที่รอบนอกของเมืองเป็นแหล่งกำเนิดของคาซา (gasa) ซึ่งเป็นรูปแบบกวีดั้งเดิมของเกาหลี พื้นที่ของเมืองตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่เพาะปลูกของภูมิภาคช็อลลา โดยเมืองมีชื่อเสียงเรื่องความอุดมสมบูรณ์และมีอาหารเกาหลีหลายอย่าง.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและควังจู · ดูเพิ่มเติม »

นกชาปีไหน

thumb นกชาปีไหน หรือ นกกะดง (Nicobar pigeon, Nicobar dove) เป็นนกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) นับเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ในสกุล Caloenas ในขณะที่ชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยมีความใกล้ชิดกับนกโดโดที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วย นกชาปีไหน มีขนาดลำตัวเท่า ๆ กับไก่แจ้ มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 40-41 เซนติเมตร มีลำตัวขนาดใหญ่ แต่มีหัวขนาดเล็กและมีเนื้อนูนเป็นตุ่มบริเวณจมูก ขนตามลำตัวเป็นสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว แต่จะมีขนบริเวณคอห้อยยาวออกมาเหมือนสร้อยคอ ซึ่งขนนี้จะยาวขึ้นเมื่อนกมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีขาขนาดใหญ่แข็งแรง เพราะเป็นนกที่ชอบเดินหากินตามพื้น นกชาปีไหน แม้จะเป็นนกที่หากินบนพื้นดินเป็นหลัก แต่ก็เป็นนกที่สามารถบินได้ มีรายงานว่าสามารถบินข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้ เป็นนกที่หากตกใจจะบินหรือกระโดดขึ้นบนต้นไม้ และไม่ค่อยส่งเสียงร้องนัก นานครั้งจึงจะได้ยินเสียงร้องทีหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์เฉพาะหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณทะเลอันดามันและอินโด-แปซิฟิก เช่น หมู่เกาะนิโคบาร์, หมู่เกาะอันดามัน, หมู่เกาะโซโลมอนและปาเลา ในประเทศไทยจัดเป็นนกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง โดยจะอาศัยอยู่ในป่าดิบหรือป่าชายหาดของหมู่เกาะสิมิลัน, หมู่เกาะสุรินทร์ หรือหมู่เกาะอ่างทอง รวมถึงอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี เท่านั้น เป็นนกที่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักรราช 2535 แต่ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยทางการของไทย เมื่อปี พ.ศ. 2538 พบว่านกชาปีไหนสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยสร้างรังแบบหยาบ ๆ รูปร่างคล้ายจาน โดยใช้กิ่งไม้และใบไม้แห้งวางไข่ ครั้งละเพียง 1 ฟอง มีขนาด 31.64x45.0 มิลลิเมตร น้ำหนัก 25.05 กรัม พ่อและแม่นกช่วยกันฟักไข่ มีระยะฟัก 25-29 วัน แม่นกสามารถจะวางไข่ชุดใหม่ต่อไปได้หลังจากลูกนกมีอายุได้ประมาณ 40 วัน ลูกนกออกจากไข่ไม่มีขนปกคลุมตัว จัดอยู่ในพวกอัลติเชียล (นกที่บินไม่ได้) พ่อและแม่นกช่วยกันเลี้ยงดูลูกนกจนมีอายุได้ 34-36 วัน ลูกนกจึงจะทิ้งรังและกินอาหารเองได้ ขนชุดแรกขึ้นปกคลุมตัวสมบูรณ์หมด เมื่อลูกนกมีอายุได้ 3 เดือน และเมื่อมีอายุ 7 เดือน มีการผลัดขนปีกชุดแรก และมีขนชุดใหม่งอกขึ้นมาแทนที.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกชาปีไหน · ดูเพิ่มเติม »

นกพิราบ

thumb นกพิราบ เป็นนกในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) โดยปกติคำว่า "นกพิราบ" จะหมายถึงนกพิราบเลี้ยง (รวมถึงนกพิราบแฟนซีด้วย) ส่วนนกพิราบนอกเหนือจากนี้จะเรียกว่า "นกพิราบป่า" นกพิราบป่ามีขนสีเทาอ่อน มีแถบสีดำสองแถบบนปีกแต่ละข้าง แต่ทั้งนกป่าและนกเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายของสีและรูปแบบของขนเป็นอย่างมาก มีความแตกต่างระหว่างเพศเล็กน้อย นกชนิดนี้มักมีคู่ครองตัวเดียว มีลูกครั้งละ 2 ตัว พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงดู โดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดชีวิต แม้ว่าคู่จะตายไปแล้ว ซึ่งนกพิราบป่านั้นเป็นที่รวมของเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่ติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ อาทิ โรคสมองอักเสบจากเชื้อรา, ปอดอักเสบ, ท้องเสีย, เครียด หรือแม้กระทั่งหมัดจากตัวนก นกพิราบมีถิ่นอาศัยในสิ่งแวดล้อมเปิดและกึ่งเปิดในพื้นที่เกษตรกรรมและในเมือง หน้าผาและขอบหินถูกใช้เป็นที่ทำรังวางไข่ของนกในป่า นกพิราบมีถิ่นกำเนิดในยุโรป แอฟริกาเหนือ และทางตะวันตกของเอเชีย ก่อนที่จะแพร่กระจายไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะเป็นนกที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในเมืองได้ดีมาก คาดว่ามีประชากรนกในธรรมชาติประมาณ 17 - 28 ล้านตัวในยุโรป ปัจจุบันนกพิราบเป็นนกที่พบได้ในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา นกพิราบ เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี ในสมัยโบราณจะใช้ในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นนกที่มีประสาทสัมผัสเป็นอย่างดีในการที่จะหาทางกลับมาสู่ถิ่นฐานที่จากมา แม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตามด้วยการใช้สนามแม่เหล็กโลกแบบเดียวกับเต่าทะเล อีกทั้งยังใช้แสงแดดและจมูกในการดมกลิ่นอีกด้วย อีกทั้ง ยังนิยมเลี้ยงกันเพื่อการบินแข่งขันกันด้วย และเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อบริโภคเนื้อ และมีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีลักษณะสวยจากธรรมชาติเพื่อการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม นอกจากนี้แล้ว นกพิราบยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในทางสากลหมายถึง "สันติภาพ" โดยมักใช้รูปนกพิราบคาบช่อมะกอก คำว่า "พิราบ" ในภาษาไทยนั้น มาจากคำว่า "วิราว", "พิราว" หรือ "พิราพ" ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า "เสียงร้อง".

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกพิราบ · ดูเพิ่มเติม »

นกพิราบหงอนวิคตอเรีย

นกพิราบหงอนวิคตอเรีย (Victoria crowned pigeon, Victoria goura) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีลำตัวป้อมหนา อกตัน ขาค่อนข้างสั้น ปีกกว้างใหญ่ ขนตามตัวส่วนใหญ่มีสีฟ้าอมเทา มีลักษณะเด่น คือ บนหัวมีหงอนประกอบด้วยเส้นขนแผ่บานเป็นสันอย่างน่าดูซึ่งมีขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือ และที่สันหรือหงอนบนหัวจะแบนตรงปลาย และมีขอบสีขาวด้วย หน้าอกมีสีม่วงแดงคาดแถบดำปากสีดำ เท้าสีม่วงแดง ม่านตาสีแดง จัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ในวงศ์นี้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2,384 กรัม ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย จัดเป็นนกที่บินไม่ได้ สามารถบินได้แค่ในระยะสั้น ๆ เหมือนไก่ จึงหากินตามพื้นเป็นหลัก อาหารได้แก่ ผลไม้และเมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสัตว์ขนาดเล็กหรือแมลงต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์ในทวีปออสเตรเลีย และเกาะนิวกินี มีพฤติกรรมอาศัยโดยการรวมฝูงประมาณ 10 ตัว อยู่ตามพงหญ้าหรือในป่าเพื่อหาอาหาร หากมีเหตุหรือศัตรูเข้ามาใกล้จะส่งเสียงดังพร้อมทั้งบินขึ้นพร้อม ๆ กันไปเกาะดูเหตุการณ์อยู่บนต้นไม้ การทำรังส่วนใหญ่ใช้เศษไม้ กิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานเป็นรังหยาบ ๆ ทรงแบนคล้ายตะกร้าตามคาคบไม้ที่ไม่สูงนัก วางไข่คราวละ 2 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ราว 28-30 วันจึงออกเป็นตัว ในระยะฟักไข่และเลี้ยงลูกจะมีนิสัยก้าวร้าวอาจทำร้ายนกอื่นได้ จัดเป็นนกที่มีความสวยงามชนิดหนึ่ง จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง และตามสวนสัตว์ต่าง.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกพิราบหงอนวิคตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

นกลุมพู

นกลุมพู (อังกฤษ: Green imperial pigeon) เป็นนกในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) เป็นนกประจำถิ่นที่มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตร้อนของเอเชียใต้ จากประเทศอินเดียไปทางตะวันออกถึงประเทศอินโดนีเซีย นกลุมพูเป็นนกในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ ยาว 45 เซนติเมตร มีหัว และลำตัวด้านล่างเทา แข้งและตีนแดง หลัง ปีก และหางเขียวเหลือบเป็นมัน คล้ายนกมูม แต่ไม่มีแถบสีคล้ำพาดกลางหาง ก้นและขนคลุมใต้หางน้ำตาลเข้ม เสียงร้องดัง "ฮอู่-ฮอู่" และ "ฮุค-ฮุค-ฮอู่" ก้องดัง ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกลุมพู · ดูเพิ่มเติม »

นกลุมพูขาว

นกลุมพูขาว หรือ นกกระลุมพูขาว (Pied imperial pigeon) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน รูปร่างคล้ายนกชนิดอื่นทั่วไปในวงศ์เดียวกัน ขนบริเวณหัวและลำตัวสีขาว ปลายปีกและขนหางมีสีดำ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามป่าชายเลนและเกาะกลางทะเล มักหากินอยู่รวมเป็นฝูงประมาณ 15-30 ตัว ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและบินเร็ว มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง กินเมล็ดพืชและผลไม้ เป็นอาหาร มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกประถิ่นที่พบได้บ่อยพบบริเวณเกาะทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน พบหาได้ยากบนแผ่นดินใหญ่ อาจมีการย้ายถิ่นไปตามแหล่งอาหาร เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกลุมพูขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกเขาชวา

นกเขาชวา หรือ นกเขาเล็ก หรือ นกเขาแขก (- เป็นภาษาละติน แปลว่า "รอยไถ" หรือ "ลาย" มีความหมายว่า "นกเขาที่มีลาย") เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbridae) นกเขาชวามีรูปร่างเหมือนกับนกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกันนี้ทั่วไป มีขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลหัวสีเทา หรือมีสีที่หัวเป็นสีน้ำเงิน ด้านข้างคอมีแถบสีดำสลับกับแถบขาวเป็นลายตามขวาง ด้านหลังสีเข้มมีขีดขวาง คล้ายกับลายของม้าลายในต่างประเทศ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ (zebra dove) ด้านท้องสีจาง ใต้ลำตัวเป็นสีขาวมีขีดขวางเล็ก ขอบท้ายของขนหางสีขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน 8-9 นิ้ว นกเขาชวามีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ชายทุ่ง และบริเวณที่ทำการเพาะปลูก ชอบอยู่กันเป็นคู่หรือลำพังเพียงตัวเดียว แต่ไม่ชอบหากินอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักร้องบ่อย ๆ ในเวลาเช้าและเวลาเย็น มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จนถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ นกตัวผู้จะมีลักษณะทั่วไปใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย หัวใหญ่ค่อนข้างยาว มีสีขาวที่หน้าผากสีขาวมากยาวถึงกลางหัว ขณะที่ตัวเมียหัวกลมเล็กและสีขาวที่ส่วนหัวจะไม่ยาวเท่า และมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย เช่น หางที่ตัวเมียจะยกแอ่นกว่าตัวผู้ และเกล็ดที่ข้อเท้าจะละเอียดเล็กกว่าตัวผู้ นกเขาชวาเป็นนกที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมีเสียงร้องที่ไพเราะ จึงเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับฟังเสียง จนกลายเป็นวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายู โดยเชื่อว่ามีมาจากเกาะชวา มีการจัดแข่งขันประกวด การเพาะขยายพันธุ์ ก่อตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมต่าง ๆ ซึ่งในตัวที่มีเสียงร้องไพเราะอาจมีราคาสูงถึงหลักล้านบาท ตลอดจนแตกแขนงกลายเป็นอาชีพอื่น ๆ ต่อด้วย เช่น ประดิษฐ์กรงนกขาย นกเขาชว ในปัจจุบันกลายเป็นนกประจำถิ่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จากการที่ถูกนำเข้ามาในฐานสัตว์เลี้ยง และไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองแต่ประการใ.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกเขาชวา · ดูเพิ่มเติม »

นกเขาพม่า

นกเขาพม่า (Oriental turtle dove) เป็นกที่อยู่ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีลักษณะคล้ายกับนกเขาใหญ่ (S. chinensis) ต่างกันตรงที่มีแถบสีดำข้างคอแบ่งเป็นสองแถบไม่ต่อเนื่องกัน และในแถบเป็นลายขีดขาวไม่เป็นจุดอย่างนกเขาใหญ่ และมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่ามากและหางสั้นกว่า (31-33 เซนติเมตร) อีกทั้งสีตามลำตัวก็คล้ำกว่า อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง, ป่าดงดิบแล้ง, ป่าที่เพิ่งฟื้นฟู, ป่าละเมาะ หรือพื้นที่เกษตรกรรม และพบได้กระทั่งที่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 2,000 เมตร บางครั้งพบเป็นฝูงใหญ่มาก มักหากินตามพื้นดิน อาหารคือ เมล็ดพืชและธัญพืช รวมทั้งเยื่อไผ่ มีฤดูผสมพันธุ์เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ทำรังตามต้นไม้หรือกิ่งไผ่ ด้วยกิ่งไม้ขัดกันอย่างง่าย ๆ สูงจากพื้นดินประมาณ 1.5-3.6 เมตร วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เปลือกไข่มีสีขาว เป็นนกที่ตัวใหญ่ แต่ปราดเปรียว และบินได้เร็วและแข็งแรง แม้จะอยู่เป็นฝูง แต่เวลาตกใจจะบินแตกไปเป็นคู่ ๆ พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในซีกโลกทางเหนือและเอเชียตะวันออก ในประเทศไทย ถือเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้น้อย มีบางส่วนเป็นนกอพยพช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย และถือเป็นนกประจำเมืองฮิระกะวะ และเมืองทะมะ ในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกเขาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

นกเขาใหญ่

นกเขาใหญ่ หรือ นกเขาหลวง เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีถิ่นอาศัยในเอเชียทางใต้จากประเทศปากีสถาน อินเดีย และ ศรีลังกา ทางตะวันออกถึงตอนใต้ของประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกเขาใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเปล้า

นกเปล้า หรือ นกเขาเปล้า หรือ นกเป้า (Green pigeons) เป็นสกุลของนกสกุลหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Treron มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับนกในสกุล Columba หรือนกพิราบ แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่า แต่มีสีลำตัวสีเขียวเห็นได้ชัด แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงสีที่หน้าอกและไหล่ซึ่งอาจเป็นสีม่วงหรือน้ำตาล อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินเมล็ดพืชและธัญพืชเป็นอาหาร โดยปกติจะไม่อาศัยอยู่ในเมืองเหมือนนกพิราบ แต่จะอาศัยอยู่ในป่าหรือชายทะเล พบกระจายพันธุ์ระหว่างทวีปเอเชีย และแอฟริกา มีความแตกต่างระหว่างเพศสูงโดยจำแนกจากสีขน พบทั้งหมด 23 ชนิด พบในประเทศไทย 12 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกเปล้า · ดูเพิ่มเติม »

นกเปล้าใหญ่

นกเปล้าใหญ่ หรือ นกพิราบเขียวใหญ่ (Large green pigeon) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายนกในวงศ์นี้ส่วนใหญ่ จัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ ปากหนาใหญ่สีขาวแกมเขียว หน้าสีเทา หนังรอบตาสีเหลือง ขนลำตัวเขียวแกมเทา มีแถบสีเหลืองที่ปีก ขนปีกสีดำ แข้งและตีนสีเหลือง นกเพศผู้ที่อกมีแถบสีส้มแกมน้ำตาลอ่อน ก้นและขนคลุมใต้โคนหางสีน้ำตาลเข้ม ในขณะที่นกเพศเมีย ที่อกมีแถบเหลือง ก้นและขนคลุมใต้โคนหางสีน้ำตาลอ่อน มีน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 400 กรัม จัดเป็นนกที่กระจายพันธุ์ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ปัจจุบันเป็นนกที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต เนื่องจากสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยจะพบได้ในป่าดิบและป่าพรุ อาทิ ป่าพรุโต๊ะแดง และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและนกเปล้าใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและแอโฟรไดที · ดูเพิ่มเติม »

แคราแคล

แคราแคล หรือ ลิงซ์เปอร์เซีย หรือ ลิงซ์อียิปต์ หรือ ลิงซ์แอฟริกา หรือ ลิงซ์ทะเลทราย (Caracal, Persian lynx, Egyptian lynx, African lynx, Desert lynx) เป็นแมวขนาดกลาง มีการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้ และทวีปแอฟริกา คำว่า "แคราแคล" (Caracal) มาจากคำในภาษาตุรกี คำว่า "karakulak" ซึ่งแปลว่า "หูสีดำ" ในอินเดียเหนือและประเทศปากีสถาน แคราแคลรู้จักกันในชื่อ syahgosh (स्याहगोष/سیاه گوش) หรือ shyahgosh ซึ่งในคำในภาษาปากีสถานแปลว่า หูสีดำ เช่นกัน ในภาษาแอฟริคานส์เรียกแคราแคลว่า Rooikat ซึ่งแปลว่า "แมวแดง".

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและแคราแคล · ดูเพิ่มเติม »

โดโด

(dodo) เป็นนกท้องถิ่นที่พบได้เฉพาะบนหมู่เกาะมอริเชียสในมหาสมุทรอินเดีย เป็นนกที่บินไม่ได้อยู่ในตระกูลเดียวกับนกพิราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raphus cucullatus ในปี พ.ศ. 2048 ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่พบ และเพียงประมาณปี พ.ศ. 2224 มันก็สูญพันธุ์อย่างรวดเร็วโดยมนุษย์ รวมถึงสุนัขล่าเนื้อ หมู หนู ลิง ที่ถูกนำเข้าโดยชาวยุโรป โดโดไม่ใช่นกเพียงชนิดเดียวในมอริเชียสที่สูญพันธุ์ในศตวรรษนี้ จากนกกว่า 45 ชนิดที่พบบนเกาะ มีเพียง 21 ชนิดเท่านั้นที่เหลือรอด นกสองชนิดซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับโดโดก็สูญพันธุ์ไปเช่นกัน คือ Reunion solitaire (Raphus solitarius) ประมาณปี พ.ศ. 2289 และ Rodrigues solitaire (Pezophaps solitaria) ประมาณปี พ.ศ. 2333 เมื่อทศวรรษ พ.ศ. 2533 วิลเลียม จ. กิบบอนส์ นำคณะสำรวจขึ้นค้นหาบนเขาบนเกาะมอริเชียส แต่ก็ไม่มีใครค้นพบ จึงประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและโดโด · ดูเพิ่มเติม »

เขา (แก้ความกำกวม)

ป็นธรณีสัณฐานที่ยกสูงกว่าบริเวณแวดล้อม คำว่า เขา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและเขา (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เตตราโครมาซี

ีที่เซลล์รูปกรวยของนกรับได้ (ในตัวอย่างนี้ เป็นของวงศ์นกกระติ๊ด) ซึ่งขยายการเห็นสีของนกไปในช่วงความถี่แสงอัลตราไวโอเลตFigure data, uncorrected absorbance curve fits, from Hart NS, Partridge JC, Bennett ATD and Cuthill IC (2000) Visual pigments, cone oil droplets and ocular media in four species of estrildid finch. Journal of Comparative Physiology A186 (7-8): 681-694. ภาวะ Tetrachromacy เป็นภาวะที่มีทางประสาทต่างหาก 4 ทางในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับสี หรือมีเซลล์รูปกรวย 4 ประเภทในตา สัตว์ที่มีภาวะ Tetrachromacy เรียกว่า tetrachromat ในสัตว์ประเภท tetrachromat การเห็นสีต่าง ๆ จะมี 4-มิติ ซึ่งหมายความว่า เพื่อที่จะเทียบสีที่สัตว์เห็น จะต้องใช้การผสมรวมกันของแม่สีอย่างน้อย 4 สี นกหลายประเภทเป็น tetrachromat และแม้แต่สปีชีส์ต่าง ๆ ของปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และแมลง ก็เป็น tetrachromat ด้ว.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและเตตราโครมาซี · ดูเพิ่มเติม »

Columba

Columba อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วงศ์นกพิราบและนกเขาและColumba · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ColumbidaeColumbiformesDovePigeonวงศ์นกเขานกพิราบและนกเขานกเขา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »