เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์ถั่ว

ดัชนี วงศ์ถั่ว

ืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Fabaceae หรือ Leguminosae เป็นพืชกลุ่มใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากพืชวงศ์ทานตะวัน (Compositae) และพืชวงศ์กล้วยไม้ มีสมาชิกประมาณ 550 สกุล 18,000 สปีชีส์ พบกระจายไปทั่วโลก.

สารบัญ

  1. 204 ความสัมพันธ์: บรูมคะแนรีชะอมชะเอมจีนชะเอมไทยชะเอมเทศชัยพฤกษ์บันไดลิง (พืช)ชิงชันชุมเห็ดไทยชุมเห็ดเล็กชุมเห็ดเทศชงโคชงโคนาช้อยนางรำพฤกษ์พวงหยกพะยูงพิษนาศน์พืชดอกกระถินกระถินพิมานกระถินณรงค์กระถินเทพากระเจาะกระเฉดกวาวเครือขาวกวาวเครือแดงกัลปพฤกษ์กันภัยมหิดลการขาดธาตุเหล็กการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงกาหยีเขากาหลงกาฬพฤกษ์กางหลวงกำลังช้างสารก้ามปูฝางมะกล่ำตาช้างมะกล่ำตาหนูมะขามมะขามแขกมะขามเทศมะค่าแต้มะค่าโมงมังคะมันแกวราชพฤกษ์ลูพินลูกซัด (พืช)... ขยายดัชนี (154 มากกว่า) »

บรูมคะแนรี

รูมคะแนรี เป็นพืชในวงศ์ Fabaceae เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ดอกช่อสีเหลืองสด ฝักมีขน ถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะคะแนรี ใช้เป็นไม้ประดับ พบในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก มีผู้นำมาปลูกในยุโรปและกระจายพันธุ์ถึงสเปน มีสารไซติซีนที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนอย่างอ่อน.

ดู วงศ์ถั่วและบรูมคะแนรี

ชะอม

อม เป็นพืชจำพวกอาเคเซีย นิยมรับประทานในทุกภาคของไทย เป็นพืชยื่นต้น ใช้ใบแก่และอ่อน เป็นสมุนไพร ของไทย ลำต้นของชะอมมีหนาม ใบมีขนาดเล็กและมีกลิ่นฉุน ใบอ่อนของชะอมหรือส่วนยอดของใบสามารถนำมารับประทานได้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปแต่ละภาค โดยมากมักปลูกตามรั้วบ้านเนื่องจากมีหนามแล้วยังเป็นผักที่ทานได้ตลอดทั้งปี พืชอีกชนิดหนึ่งที่พบในประเทศ ซึ่งเป็นคนละสปีชีส์ย่อยกับชะอมคือผัก.

ดู วงศ์ถั่วและชะอม

ชะเอมจีน

อมจีน ภาษาจีนกลางเรียกกันเฉ่า ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกกำเช่า เป็นพืชในวงศ์ Leguminosae เป็นพรรณไม้ที่มีอายุนานหลายปี มีรากขนาดใหญ่จำนวนมาก ลำต้นมีขนสั้นๆ ปลายขนมีต่อม เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเข้ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบย่อยสั้นมาก แผ่นใบรูปกลมรี มีขนสั้นๆทั้งสองด้าน ดอกช่อออกตามง่ามใบ ดอกย่อยมีจำนวนมากติดเป็นกลุ่มแน่น กลีบดอกสีม่วงอ่อนหรือขาว ทรงแบบดอกถั่ ฝักกลม งอคล้ายเคียวหรือบิดงอ มีขนปกคลุม ภายในฝัก นั้นจะมีเมล็ดอยู่ 2-8 เม็ด เมล็ดนั้นจะมีลักษณะกลมและแบนหรือคล้ายรูปไต เป็นสีดำและมัน ใช้ทำยา สรรพคุณเหมือนชะเอมเทศ ในตำรายาจีน รากใช้เป็นยาแก้ปวด ขับเสมหะ เปลือกบางมียางสีแดง ด้านในสีเหลือง.

ดู วงศ์ถั่วและชะเอมจีน

ชะเอมไทย

ใบชะเอมไทย ชะเอมไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla Benth อยู่ในวงศ์ Mimosoideae เป็นไม้ยืนต้นมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร มีชื่อเรียกทั่วไป อ้อยช้าง ชะเอมป่า(กลาง) ส้มป่อยหวาน(ภาคเหนือ) ตาลอ้อย(ตราด) เซาะซูโพ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ชะเอมไทยจะแตกต่างจากชะเอมเทศ ชะเอมไทยเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ มีหนาม ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบเล็กละเอียดเป็นฝอย คล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน โคนใบโป่งออก ดอกช่อออกตามปลายกิ่งลักษณะเป็นพู่ สีขาวหอม ก้านช่อดอกยาว เกสรตัวผู้สีขาว มีจำนวนมาก ผลเป็นฝัก เมื่ออ่อนมีสีเขียว แก่แล้วเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลแบน นูนตรงที่มีเมล็ดอยู่มักพบขึ้นอยู่ตามเชิงเขา ดงป่าไม้ หรือป่าเบญจพรรณ พบมากในทางภาคตะวันออกของไทย ปลูกได้โดยการตอนกิ่งหรือเพาะเมล็.

ดู วงศ์ถั่วและชะเอมไทย

ชะเอมเทศ

''Glycyrrhiza glabra'' ชะเอมเทศ (มาจากภาษากรีกแปลว่า "รากหวาน") เป็นพรรณไม้ที่มีอายุนานหลายปี ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-2 เมตร มีรากใหญ่แตกแขนงจำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบลักษณะเป็นรูปขนนก ก้านใบย่อยสั้นมาก แผ่นใบรูปไข่ มีใบย่อยประมาณ 9-17 ใบ ส่วนก้านใบย่อยนั้นจะสั้นมาก ใบจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ดอกจะออกเป็นช่อ กลีบดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน ๆ และก้านดอกจะสั้นมาก ฝักจะมีลักษณะแบน และผิวข้างนอกจะเรียบ นุ่ม.

ดู วงศ์ถั่วและชะเอมเทศ

ชัยพฤกษ์

ใบและดอกของชัยพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (Java Cassia, Pink Shower, Apple Blossom Tree, Rainbow Shower Tree) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝ้กเกลี้ยงใช้ทำยาได้ มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ดู วงศ์ถั่วและชัยพฤกษ์

บันไดลิง (พืช)

ันไดลิงหรือกระไดลิง กระไดเต่า เชียงใหม่เรียกมะลืมคำ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ อยู่ในสกุลชงโค เถาแก่จะเหนียว แบน โค้งเป็นลอนคล้ายบันได พาดพันไปตามเรือนยอดของไม้อื่น ใบเดี่ยว มีหูใบเป็นติ่งยาวแต่ร่วงง่าย ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีขาวอมเหลือง ติดผลเป็นฝักแบน แก่แล้วกลายเป็นสีน้ำตาลแดง ปลายมน มีติ่งแหลม แก้พิษ มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง น้ำเลี้ยงจากเถาใช้บรรเทาอาการไอ ในจังหวัดกาญจนบุรีใช้เถาแก้ไข้ แก้พิษ แก้ฝี.

ดู วงศ์ถั่วและบันไดลิง (พืช)

ชิงชัน

งชัน เป็นชื่อของไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ประเภทไม้ผลัดใบที่อยู่ในวงศ์ Leguminosae ชนิดหนึ่ง (อยู่ในวงศ์เดียวกับประดู่) ต้นไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและก็สามารถแพร่กระจายพันธุ์ตามป่าดิบแล้งตลอดจนถึงป่าเบญจพรรณทั่วไปยกเว้นเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้นที่ไม่สามารถแพร่กระจายพันธุ์ได้เป็นไม้กลางแจ้งที่สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกประเภทและต้องการน้ำเพียงปานกลาง ลักษณะของต้นไม้โดยรวม เปลือกจะมีความหนาซึ่งเป็นสีน้ำตาลอมเทาสามารถล่อนออกเป็นแว่นๆได้และมีเนื้อภายในเป็นสีเหลือง ใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ดอกมีขนาดเล็กที่รวมกันเป็นช่อ ฝักเป็นรูปหอกแต่แบนส่วนหัวท้ายของฝักนั้นจะแหลม ส่วนระบบรากนั้นจะมีความลึกมาก เนื่องจากไม้ชิงชันนั้นมีลักษณะที่แข็งและเหนียวรวมถึงมีลักษณะที่ดูสวยงามมากดังนั้นจึงนิยมนำมาทำเป็น เครื่องเรือน เครื่องดนตรีต่าง ๆ ฯลฯ นอกจากประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมพื้นบ้านแล้วต้นไม้ชิงชันยังให้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรอีกด้ว.

ดู วงศ์ถั่วและชิงชัน

ชุมเห็ดไทย

มเห็ดไทย เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 1 เมตร ในวงศ์ Leguminosae มีชื่อท้องถิ่นอื่นคือ ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี) อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาต.

ดู วงศ์ถั่วและชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดเล็ก

มเห็ดเล็ก หรือ ขี้เหล็กผี เป็นไม้พุ่มในวงศ์ถั่ว เดิมอยู่ในสกุล Cassia ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ในสกุลขี้เหล็ก ลำต้นเรียบสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล ลำต้นกลวงมีเยื่อสีขาว ลำต้นเหนียว มีกลิ่นเหม็น ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ด้านบนของโคนก้านใบโป่งพอง ดอกช่อ กลีบดอกสีเหลือง ผลเดี่ยวเป็นฝักแบนเล็กน้อย สีเขียวอมม่วง แก่แล้วแห้งเป็นสีน้ำตาล แตกตามตะเข็บ เมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลกลมแบนเล็กน้อย ไม่พบต้นกำเนิดที่แน่นอนแต่ขึ้นกระจายทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มีปลูกในอินโดนีเซี.

ดู วงศ์ถั่วและชุมเห็ดเล็ก

ชุมเห็ดเทศ

มเห็ดเทศ เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 2-3 เมตร ก้านใบนั้นยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง มีลักษณะคล้ายใบมะยม แต่จะโตและยาวกว่าประมาณ 10-12 ซม.

ดู วงศ์ถั่วและชุมเห็ดเทศ

ชงโค

งโค มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีนรวมถึงฮ่องกงและทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ดังนี้: ชงโค เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้), เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) กะเฮอ สะเปซี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ในสหรัฐอเมริกานิยมปลูกกันที่รัฐฮาวาย, รัฐแคลิฟอร์เนีย, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฟลอริดา และทางตอนใต้ของรัฐเทกซัส ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง.

ดู วงศ์ถั่วและชงโค

ชงโคนา

งโคนา หรือชงโคขี้ไก่ หรือส้มเสี้ยว (कठमूली / झिंझेरी; अपटा / सोना / श्वेत-कांचन; ஆத்தி atti / தாதகி tataki; അരംപാലി arampaali / കുടബുളി kutabuli / മലയത്തി malayaththi; తెల్ల ఆరెచెట్టు tella arecettu.; ಅಪ್ತಾ / ಅರಳುಕದುಮನ್ದರ; banraji, banraj; Gul-e-anehnal; และयमलपत्रक / युग्मपत्र) จัดเป็นพืชสมุนไพรและมีความสำคัญทางศาสนา เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออกดอกช่วงกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ในรัฐมหาราษฏระ ใช้ใบของชงโคนามาแลกเปลี่ยนกันในเทศกาลทุศเสหระ ซึ่งมีความหมายถึงการมอบพระผู้เป็นเจ้าให้แก่กัน นอกจากนั้น ในอินเดียยังใช้ใบชงโคนาเป็นส่วนผสมในบุหรี่พื้นเมือง.

ดู วงศ์ถั่วและชงโคนา

ช้อยนางรำ

้อยนางรำ หรือ ช่างรำ นางรำ อยู่ในวงศ์ถั่ว เป็นไม้พุ่ม มีรากสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน เปลือกลำต้นเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว ใบเดี่ยวรูปไข่ เส้นกลางใบสีขาวนวล ที่โคนก้านใบมีหูใบสองอัน ดอกช่อ ดอกย่อยสีม่วงแกมขาว ผลเป็นฝักแบน มีเมล็ดสีดำแบน 2-6 เมล็ด ในทางไสยศาสตร์ เชื่อว่ามีฤทธิ์ทางเมตตามหานิยม เมื่อมีเสียงดัง หูใบของพืชชนิดนี้กระดิกได้.

ดู วงศ์ถั่วและช้อยนางรำ

พฤกษ์

กษ์, ซึก, มะรุมป่า หรือ จามจุรีทอง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เรียกว่า จามจุรี) เป็นพืชวงศ์ถั่ว เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล แตกเป็นร่อง ใบประกอบ ดอกออกเป็นช่อกระจุก เกสรตัวผู้เป็นพู่จำนวนมาก ผลเป็นฝัก ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ภายในมีเมล็ดแบน ๆ จำนวนมาก.

ดู วงศ์ถั่วและพฤกษ์

พวงหยก

วงหยก (Jade vine; Emerald creeper) เป็นไม้เถาเลื้อยยืนต้น เถาใหญ่ เหนียว แตกกิ่งก้านสาขามาก สามารถเลื้อยได้ไกล 3-6 เมตร ใบออกสลับตามข้อต้นเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ใบ ใบกลางรูปมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สองใบข้าง ลักษณะเกือบครึ่งวงกลมโค้งงอเข้าหาใบกลาง ดอกมีสีเขียวลักษณะคล้ายดอกแคออกเป็นพวง ห้อยระย้าเบียดกันแน่น ยาวประมาณ 30-90 เซนติเมตร ซึ่งมีอกประมาณ 100 ขึ้นไป ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหรือตอนกิ่งหรือเพาะเมล็ด นิยมปลูกเป็นไม้เลื้อยขึ้นร้าน ศาลาริมน้ำ รั้วบ้านทางเข้าประตู.

ดู วงศ์ถั่วและพวงหยก

พะยูง

ูง เป็นต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือ ขะยุง, พยุง, แดงจีน และประดู่เสน พะยูงเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดหนองบัวลำภู พันธุ์ไม้พระราชทาน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พื.

ดู วงศ์ถั่วและพะยูง

พิษนาศน์

ษนาศน์ ชื่ออื่นๆ แผ่นดินเย็น (อุบลราชธานี) นมราชสีห์ นมฤๅษี ถั่วดินโคก เป็นพืชในวงศ์ Fabaceae เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสั้นมาก ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ แนบกับพื้นดินเป็นแนวรัศมี ใบย่อย 9-13 ใบ รูปวงรี รูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมวงรี ใบย่อยปลายใบรูปไข่กลับ ผิวใบมีขนละเอียดสีขาว ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีม่วงเข้ม ก้านช่อดอกยาว ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน มีขนละเอียดสีขาว มีเมล็ดเดียว พิษนาศน์เป็นพืชสมุนไพร ทางจังหวัดอุบลราชธานีใช้ ราก ฝนกับน้ำดื่ม ช่วยลดไข้ในเด็ก ต้มน้ำดื่ม บำรุงน้ำนมแต่รับประทานมากไม่ดี ราก เหง้า ลำต้น ใบ ฝนทาฝี.

ดู วงศ์ถั่วและพิษนาศน์

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ดู วงศ์ถั่วและพืชดอก

กระถิน

ฝักกระถิน ''Leucaena leucocephala'' - MHNT กระถิน เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบ ดอกช่อ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลเป็นฝักแบน ยอดอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ชาวกะเหรี่ยงกินสดกับน้ำพริก เมล็ดในฝักแก่ กินสดหรือลวกกินกับน้ำพริก ใบต้มให้หมูกิน.

ดู วงศ์ถั่วและกระถิน

กระถินพิมาน

กระถินพิมาน เป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) พบได้ในป่าเบญจพรรณ.

ดู วงศ์ถั่วและกระถินพิมาน

กระถินณรงค์

กระถินณรงค์ (Cunn., Auri, Earleaf acacia, Earpod wattle, Northern black wattle, Papuan wattle, Tan wattle) เป็นพืชตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมตามธรรมชาติในทุ่งหญ้าของประเทศปาปัวนิวกินี ไปจนถึงพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปปลูกกันทั่วโลกทั้งทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ เนื่องจากสามารถฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมได้ เป็นไม้ที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางมีความสูง 8 เมตร ไปจนถึง 20 เมตร ดอกกระถินณรงค์ มีสีเหลืองกลิ่นหอม ออกดอกรวมกันเป็นช่อ คล้ายหางกระรอก ในประเทศไทย ร.ท.ขุนณรงค์ชวนกิจ (ชวน ณรงคะชวนะ) เป็นผู้สั่งเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี..

ดู วงศ์ถั่วและกระถินณรงค์

กระถินเทพา

กระถินเทพา หรือ กระถินซาบะฮ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia mangium) เป็นพรรณไม้ที่มีต้นกำเนิดในรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ต่อมามีการนำมาปลูกที่รัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย เป็นไม้ในวงศ์ถั่ว โตเร็ว สูงได้ถึง 30 เมตร ลักษณะลำต้นตรงไม่มีกิ่งก้าน จึงนิยมปลูกเป็นสวนป.

ดู วงศ์ถั่วและกระถินเทพา

กระเจาะ

กระเจาะ หรือ ขะเจาะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Papilionpidae ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ดอกเป็นดอกช่อ ดอกย่อยมีลักษณะคล้ายดอกถั่ว สีม่วงอ่อน บานวันเดียวแล้วโรย ติดผลเป็นฝักแบน แก่แล้วแตกเป็นสองซีก เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกที่แม่กลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยหมอคาร์ ชาวไอริช เมื่อ 6 พฤษภาคม..

ดู วงศ์ถั่วและกระเจาะ

กระเฉด

กระเฉด เป็นพืชล้มลุก ลำต้นลอยน้ำหรือเลื้อยแผ่ใกล้ฝั่ง มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ ผักหละหนอง, ผักหนอง (ภาคเหนือ), ผักฉีด (ภาคใต้), ผักรู้นอน (ภาคกลาง).

ดู วงศ์ถั่วและกระเฉด

กวาวเครือขาว

กวาวเครือขาว Graham ex Benth.

ดู วงศ์ถั่วและกวาวเครือขาว

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดง Roxb.

ดู วงศ์ถั่วและกวาวเครือแดง

กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้มากทางภาคอีสานและภาคเหนือ พุ่มใบแบนกว้าง ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ชัยพฤกษ์ (ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี), กาลพฤกษ์ เป็นต้น.

ดู วงศ์ถั่วและกัลปพฤกษ์

กันภัยมหิดล

กันภัยมหิดล หรือ กันภัย เป็นชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidolae Burtt et Chermsir.

ดู วงศ์ถั่วและกันภัยมหิดล

การขาดธาตุเหล็ก

การขาดธาตุเหล็ก หรือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) เป็นการขาดสารอาหารที่สามัญที่สุดในโลก ธาตุเหล็กมีอยู่ในเซลล์ทั้งหมดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่สำคัญมากหลายอย่าง เช่น การนำเอาออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ จากปอด โดยเป็นองค์ประกอบกุญแจสำคัญของโปรตีนเฮโมโกลบินในเลือด, การเป็นสื่อนำอิเล็กตรอนภายในเซลล์ในรูป cytochrome, การอำนวยการใช้และการเก็บออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อโดยเป็นส่วนของไมโยโกลบิน, และเป็นสิ่งที่จำเป็นในปฏิกิริยาของเอนไซม์ในอวัยวะต่าง ๆ การมีธาตุเหล็กน้อยเกินไปสามารถรบกวนหน้าที่จำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้ โดยทำให้เกิดโรค และอาจให้ถึงตายได้ ปริมาณธาตุเหล็กทั้งหมดในร่างกายมีประมาณ 3.8 ก.

ดู วงศ์ถั่วและการขาดธาตุเหล็ก

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ดู วงศ์ถั่วและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

กาหยีเขา

กาหยีเขา ภาคใต้เรียกหยีเขา เป็นพืชเขตร้อนในวงศ์ Leguminosae ผลรับประทานได้ โดยมีเปลือกหนาแข็ง สีน้ำตาลหุ้ม พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของไนจีเรีย เปลือกและใบมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ผลมีรสคล้ายมะขาม.

ดู วงศ์ถั่วและกาหยีเขา

กาหลง

กาหลง เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล ปลูกขึ้นง่ายในดินร่วนทั่วไป ที่มีความชื้นและอุดมสมบูรณ์ นิยมปลูกเป็นปลูกเป็นไม้ประดับ ทางสมุนไพรมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไอ กาหลงมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส), ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง), เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่), เสี้ยวดอกขาวเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู วงศ์ถั่วและกาหลง

กาฬพฤกษ์

กาฬพฤกษ์ เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง กึ่งผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เรือนยอดทรงกลมหรือคล้ายรูปร่มแผ่กว้าง โคนมีพูพอน เปลือกมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 10-20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนานกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบมนโคนใบเบี้ยวใต้ใบมีขนนุ่ม ดอกออกเป็นช่อพร้อมใบอ่อนตามกิ่ง ช่อดอกยาว 10-20 เซนติเมตร เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นชมพูตามลำดับ ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาว 20-40 เซนติเมตร สีค่อนข้างดำ ผิวมีรอยแตกและมีสันทั้งสองข้างเมล็ดรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนานมี 20-40 เมล็ด สีเหลือง มีรสขม และมีกลิ่นเหม็น มีถิ่นกำเนิดอเมริกาเขตร้อน นิยมปลูกอยู่ทั่วไป ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ขยายพันธุ์โดยเมล็.

ดู วงศ์ถั่วและกาฬพฤกษ์

กางหลวง

กางหลวง ภาษากะเหรี่ยงเรียกปือ เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสีเทา มีรอยย่น ใบประกอบ มีหูใบ เปลือกต้นถากเป็นขุยแล้วแช่น้ำให้เกิดฟอง ใช้แทนสบู่หรือสระผม ช่วยให้ผมนุ่ม.

ดู วงศ์ถั่วและกางหลวง

กำลังช้างสาร

กำลังช้างสาร (ชื่อวิทยาศาสตร์:Acacia craibii Nielsen) ชื่อพื้นเมือง: กำลังช้างสาร (ภาคกลาง) เครือง้วนเห็น ศาลาน่อง (อุดรธานี) เถาจักรลาช (ประจวบคีรีขันธ์) ไส้ตันใหญ่ (ปราจีนบุรี) เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ทอดยอดเกาะพันไม้อื่น กิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบ เป็น ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ หูใบแปลงรูปเป็นหนามแหลมโค้งค่อนข้างกลมขนาดเล็ก 1 คู่ ใบประกอบแยกแขนง 6-11 คู่ แต่ละแขนงมีใบย่อย 21-29 คู่ เล็กมาก ดอก ออกเป็นช่อดอกกลม ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกเล็ก ฝักรูปขอบขนาน แบน โค้งเล็กน้อย โคนสอบ ปลายแหลม มีเส้นนูนขนานห่างจากขอบฝักทั้ง 2 ด้าน ด้านละ 1 เส้น มีเส้นร่างแหปรากฏชัด ฝักแก่และแห้งจะแตกออกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบน รูปรี โค้งเล็กน้อย มีเยื่อนุ่มสีแดง.

ดู วงศ์ถั่วและกำลังช้างสาร

ก้ามปู

ก้ามปู, ฉำฉา หรือ จามจุรีแดง (มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี) เป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Leguminosae) ในวงศ์ย่อย Minosoideae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพู มีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู รสหวานสัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกินเป็นอาหาร เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก, บราซิล และเปรู ต่อมาได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในเอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, หมู่เกาะแปซิฟิก และฮาวาย เมล็ดเมื่อรับประทานทำให้ปวดศีรษะ อาเจียน ถ้าเป็นพิษรุนแรง ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่สม่ำเสมอ ทำให้ชักได้ ก้ามปูต้นแรกในประเทศไทยปลูกอยู่ภายในโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยบาทหลวงรอมิเอล ซึ่งเป็นนักบวชที่อยู่ในวัดอัสสัมชัญ เป็นผู้นำพันธุ์มาจากเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม ต่อมาภายหลังก็เป็นที่แพร่หลายและนิยมนำมาปลูกเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงา ดอกก้ามปู ก้ามปูหรือจามจุรีแดงเป็นต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดลำพูน นอกจากจามจุรีแดงและฉำฉาแล้ว ก้ามปูยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกตามแต่ละพื้นที่ ได้แก่ "ก้ามกราม" (กลาง), "ก้ามกุ้ง" (กทม., อุตรดิตถ์), "ตุ๊ดตู่" (ตราด), "ลัง" (เหนือ), "สารสา" (เหนือ), "สำสา" (เหนือ) และ "เส่คุ่" (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป็นต้นเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู วงศ์ถั่วและก้ามปู

ฝาง

ฝาง (Caesalpinia sappan, suō, 苏木 (植物)) เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan Linn ฝางจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง พบได้ตลอดเขตร้อนในอินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังพบบริเวณป่าดงดิบอีกด้วย ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ทวีปอเมริกาใต้ ส่วนที่ใช้ทำสมุนไพรคือ แก่นไม้ของฝาง สรรพคุณทางสมุนไพรของฝางมีมากมาย เช่น บำรุงโลหิต ขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน เป็นต้น และเมื่อนำส่วนต่าง ๆ ของฝางไปสกัดแล้วพบว่าให้สารเคมีที่มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายชนิดอีกด้วย สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม..

ดู วงศ์ถั่วและฝาง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง เป็นพืชที่ตรึงก๊าซไนโตรเจน ใช้เป็นอาหารสัตว์ สมุนไพร และยังเป็นไม้ประดับได้ เนื้อไม้มีความแข็งแกร่งมากใช้ทำเรือและใช้ทำเครื่องเรือน มะกล่ำตาช้างเป็นพืชที่มีพิษ โดยเฉพาะส่วนเมล็ดสีแดงมีพิษสูงมาก หากรับประทานเข้าไป อาจทำให้เสียชีวิตได้ รากมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน เมล็ดและใบแก้ริดสีดวงทวารหนัก ใช้เป็นยาเบื่อพยาธิ เมล็ดมะกล่ำ 1 เมล็ดใช้เทียบเป็นหน่วยกล่ำในมาตราชั่งตวงวัดโบราณ โดย 2 กล่อมเป็น 1 กล่ำ และ 2 กล่ำเป็น 1.

ดู วงศ์ถั่วและมะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาหนู

''Abrus precatorius'' มะกล่ำตาหนู มะกล่ำเครือ หรือ ก่ำเคือ (Jequirity) เป็นพืชไม้เถาในวงศ์ถั่ว เมล็ดมีพิษ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "Gunja" ในภาษาสันสกฤต เป็นพื้นพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย เติบโตได้ดีในเขตร้อนและใกล้เขตร้อน ทำให้มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นวัชพืชต่างถิ่นที่รุกรานในพื้นที่ที่มะกล่ำตาหนูถูกนำเข้ามา มะกล่ำตาหนูยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำเครือ มะกล่ำแดง มะแค๊ก (เชียงใหม่) เกมกรอม (สุรินทร์) ชะเอมเทศ ตากล่ำ (กลาง) มะขามเถา ไม้ไฟ (ตรัง) หมากกล่ำตาแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ).

ดู วงศ์ถั่วและมะกล่ำตาหนู

มะขาม

วามหมายอื่น ดูที่ อำเภอมะขาม มะขาม เป็นไม้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชียและประเทศแถบลาตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก ชื่อมะขามในภาคต่าง ๆ เรียก มะขามไทย ภาคกลาง ขาม ภาคใต้ ตะลูบ โคราช ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล เขมร จังหวัดสุรินทร์ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า tamarind ซึ่งมาจากภาษาอาหรับ:تمر هندي (tamr hindī) แปลว่า Indian date มะขามเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ มะขามในไทยมีสองชนิดคือมะขามเปรี้ยวและมะขามหวาน โดยมะขามหวานมีหลายพันธุ์เช่น พันธุ์น้ำผึ้ง อินทผลัม หมื่นจง สีทอง ในบางครั้งจะเรียกมะขามตามลักษณะของฝัก เช่น มะขามขี้แมว คือมะขามฝักกลม มะขามกระดาน คือมะขามฝักแบน มะขามข้อเดียวคือมะขามที่ฝักมีข้อเดียวออกกลมป้อม.

ดู วงศ์ถั่วและมะขาม

มะขามแขก

มะขามแขก (Indian Senna,Tinnevelly Senna) มีทรงต้นเป็นพุ่มหรือกอขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย จะสูงประมาณ 60-150 เซนติเมตร ใบเหมือนกับกับมะขามทั่วไป แต่จะยาวกว่า และที่ปลายใบแหลมกว่า ก้านใบมีใบย่อย ประมาณ 7 คู่ และ ใบมีสีเขียว มีรสเปรี้ยวหวานชุ่ม ยอดของกิ่งจะออกดอกเป็นช่อสีเหลือง จะมีกลีบที่รองดอกและกลีอดอกเกือบมีขนาดที่เท่ากันจำนวน 5 กลีบ ออกผลเป็นฝักลักษณะเหมือนกับถั่วลันเตา แต่จะแบนกว่า กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีสีเขียวใสตอนยังอ่อน เมื่อแก่จะกลายเป็นสีดำ มีเมล็ดประมาณ 6 เมล็ด มีรสเปรี้ยว.

ดู วงศ์ถั่วและมะขามแขก

มะขามเทศ

มะขามเทศ เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไทย หลักฐานบางแหล่งกล่าวว่าเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ตอนบนจากนั้นจึงแพร่กระจายไปสู่อเมริกาเหนือ กวม ฟิลิปปินส์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษาเตลูกูเรียกว่า సీమ చింత "seema chintakaya" ชื่ออื่นๆได้แก่ guamúchil / cuamúchil / huamúchil (ในเม็กซิโก ภาษาสเปน), guamá americano (ในเปอร์โตริโก) opiuma (ภาษาฮาวาย), kamachile (ภาษาฟิลิปิโน),கோன புளியங்கா/ கொடுக்காப்புளி kodukkappuli (ภาษาทมิฬ), વિલાયતી આંબલી vilayati ambli (ภาษาคุชราต), जंगल जलेबी jungle jalebi หรือ ganga imli (ภาษาฮินดี), তেঁতুল tetul (ภาษาเบงกาลี), seeme hunase (ภาษากันนาดา) และ विलायती चिंच vilayati chinch (ภาษามราฐี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นมีหนาม ใบบางและเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ดอกช่อ ขนาดเล็ก สีขาว เห็นเกสรตัวผู้เป็นพู่ชัดเจน ผลเป็นฝักโค้งเป็นปล้องๆ ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดง เนื้อในเป็นสีชมพูหรือสีขาว รสหวานหรือหวานอมฝาด ถ้าทิ้งไว้นาน เนื้อจะนุ่ม รสหวานจัดขึ้น แต่ถ้านานเกินไปจะมีกลิ่นเหล้าออกมา เมล็ดสีดำ มีปล้องละ 1 เมล็ด ฝักมะขามเทศ มะขามเทศในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะฝักเป็นสามกลุ่มคือนิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ดู วงศ์ถั่วและมะขามเทศ

มะค่าแต้

มะค่าแต้ หรือ มะค่าหนาม มะค่าหลุม มะค่าลิง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminosae ผลัดใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ดอกช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ฝักแบนหรือกลมแบน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พบครั้งแรกที่จังหวัดราชบุรี โดย J.E.

ดู วงศ์ถั่วและมะค่าแต้

มะค่าโมง

มะค่า เป็นชื่อของไม้เนื้อแข็งยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกเป็นไม้ทางเศรษฐกิจได้ เป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสุโขทัย ผลัดใบช่วงสั้น ๆ สูงได้ถึง 30 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง เปลือกต้นสีเทาอ่อน หรือสีชมพูอมน้ำตาล ผิวต้นขรุขระ กิ่งอ่อนมีขนประปราย ต้นแก่มักมีปุ่มปม เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามสีน้ำตาลอมเหลือง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคู่ ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาว 18-30 ซม.

ดู วงศ์ถั่วและมะค่าโมง

มังคะ

มังคะ หรือแตดลิง เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Caesalpinodeae มีเนื้อไม้ กิ่งขรุขระ สีน้ำตาลอมแดง ใบเดี่ยว ผิวเรียบ ขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกช่อ เกิดตามข้อของลำต้น สีขาว ผลเดี่ยว เมื่ออ่อนสีเขียวอมขาว มีเมล็ดเดียว ในทางยา ใช้น้ำต้มเปลือกแก้บวมพอง น้ำต้มใบใช้ล้างแผลสด แผลเปื่อย ฝีหนอง น้ำต้มรากแก้ไข้มาลาเรี.

ดู วงศ์ถั่วและมังคะ

มันแกว

มันแกว (Jícama) เป็นพืชตระกูลถั่ว มีชื่อทวินามว่า "Pachyrhizus erosus (L.) Urbar" ลักษณะต้นเป็นเถาเลื้อย หัวอวบใหญ่ โคนตันเนื้อแข็ง ใบประกอบด้วย 3 ใบย่อยมีจักใหญ่ ดอกมีสีขาวหรือชมพูเป็นช่อ เมล็ดมีสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีแดงลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัสแบน โดยต้นมันแกว 1 ต้นมีเพียงหัวเดียว ส่วนที่ใช้รับประทานคือส่วนของรากแก้ว ชาวเม็กซิโกชอบรับประทานมันแกวตั้งแต่สมัยอารยธรรมมายาและแอซเต็ก นิยมใช้เป็นอาหารว่าง ใส่น้ำมะนาว พริกผง และเกลือ มันแกวเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในหลายพื้นที่เช่นในแถบอเมริกากลาง แอฟริกาตะวันออก และในประเทศแถบทวีปเอเชียคือ ฟิลิปปนส์ อินเดีย จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ในประเทศไทยมันแถวมีอยู่ 2 ชนิดคือ พันธุ์หัวใหญ่ และพันธุ์หัวเล็ก อาจจะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาคได้แก่ ภาคใต้เรียกว่า "หัวแปะกัวะ" ภาคเหนือเรียกว่า "มันละแวก" "มันลาว" ส่วนภาคอีสานเรียกว่า "มันเพา" นอกจากนี้ยังอาจเรียกด้วยชื่ออื่นๆ เช่น "เครือเขาขน" "ถั้วบ้ง" และ"ถั่วกินหัว" ส่วนหัวของมันแกว (รากแก้ว) เป็นส่วนที่ใช้รับประทาน ลักษณะภายนอกมีสีน้ำตาลอ่อนภายในมีสีขาว เมื่อเคี้ยว รู้สึกกรอบคล้ายลูกสาลี่สด อีกทั้งยังมีรสคล้ายแป้งแต่ออกหวาน โดยทั่วไปจะรับประทานสดๆ หรือจิ้มกับพริกเกลือ แล้วยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้ทั้งคาวและหวานอีกด้วย เช่น แกงส้ม แกงป่า ผัดเปรี้ยวหวาน ผัดไข่ เป็นส่วนผสมของไส้ซาลาเปา และทับทิมกรอบ แต่ในทางกลับกัน ต้นมันแกวสามารถใช้เป็นยากำจัดศัตรูพืช โดยใช้ส่วนของเมล็ด ฝักแก่ ลำต้น และราก แต่ส่วนเมล็ดจะมีสารพิษมากที่สุด ทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงดีที่สุด นอกจากนั้นถ้ามนุษย์รับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมาก สารพิษ Routinone จะกระตุ้นระบบหายใจ แล้วกดการหายใจ ชัก และอาจเสียชีวิตได้ คุณค่าทางอาหารของมันแกวนั้นประกอบด้วยน้ำ 90.5% โปรตีน 0.9% คาร์โบไฮเดรต 7.6% โดยรสหวานนั้นมาจาก oligofructose ซึ่ง inulin ในร่างกายของมนุษย์ ไม่สามารถเผาผลาญได้ ดังนั้นมันแกวจึงเหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ควบคุมน้ำหนัก มันแกวควรเก็บในที่แห้ง อุณหภูมิระหว่าง 12 - 16 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทำให้ส่วนรากช้ำได้ ถ้าเก็บรักษาถูกวิธีสามารถอยู่ได้นานถึง 1-2 เดือน.

ดู วงศ์ถั่วและมันแกว

ราชพฤกษ์

ผลของต้นราชพฤกษ์ ราชพฤกษ์ หรือ คูน ลมแล้ง ชัยพฤกษ์ เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา พม่า และ ไทย ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไท.

ดู วงศ์ถั่วและราชพฤกษ์

ลูพิน

''Lupinus polyphyllus '' ลูพิน (Lupin หรือ lupine) เป็นพืชดอกที่อยู่ในสกุลลูพินนัส (Lupinus) ในวงศ์ถั่วที่มีด้วยกันทั้งหมดราว 200 ถึง 600 สปีชีส์ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูล มีศูนย์กลางอยู่ในอเมริกาใต้, ทางตะวันตกของอเมริกาเหนือ, บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และ แอฟริกา ลูพินส่วนใหญ่เป็นพืชยืนต้นสูงราว 0.3 ถึง 1.5 เมตร แต่บางชนิตก็เป็นพืชปีเดียว และบางชนิดก็เป็นไม้พุ่มที่สูงถึง 3 เมตร (ลูพินพุ่ม) และมีอยู่สปีชีส์หนึ่งจากเม็กซิโกที่สูงถึง 8 เมตรและมีลำต้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ใบมีลักษณะเด่นที่จำได้ง่ายสีเขียวออกไปทางเขียวอมเทาเล็กน้อย บางสปีชีส์ก็มีขนหนาสีเงินบนใบ ใบมีลักษณะเหมือนใบปาล์มที่แยกออกเป็น 5 ถึง 28 แฉก แต่บางสปีชีส์ก็ไม่มีแฉกเช่นที่พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ทรงดอกเหมือนข้าวโพดที่เป็นดอกเหมือนดอกถั่วกระจายออกไปรอบแกนกลางแต่ละดอกก็ยาวราว 1 ถึง 2 เซนติเมตร เมล็ดออกจากฝักแต่ละฝักก็มีหลายเมล็ด ลูพินก็เช่นเดียวกับพืชวงศ์ถั่วอื่นๆ ที่สามารถเปลี่ยนไนโตรเจนจากบรรยากาศให้เป็นไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนียได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้แก่พืชอื่นสกุลลูพินนัสมีไรโซเบียมแบบที่เรียกว่า Bradyrhizobium ลูพินเป็นทั้งดอกไม้ป่าและไม้บ้าน โครงสร้างของพุ่มและดอกมีลักษณะเด่นเหมาะแก่การปลูกตกแต่งสวน สีก็มีแทบทุกสีที่รวมทั้งเหลือง ชมพู แดง ม่วงน้ำเงิน ม่วงแดง และขาว.

ดู วงศ์ถั่วและลูพิน

ลูกซัด (พืช)

ลูกซัดเขียว ลูกซัด อยู่ในวงศ์ถั่ว เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว รากแก้วขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ใบประกอบ มีหูใบเป็นเยื่อบาง ปลายแหลม ดอกเหมือนดอกถั่ว สีครีมหรือสีเหลืองอ่อน โคนสีม่วง ผลเป็นฝัก รูปกรวย ปลายเป็นจงอยยาว ภายในมีเมล็ด 10 – 20 เมล็ด สีน้ำตาล ต้นและใบของพืชชนิดนี้รับประทานได้ เมล็ดใช้เป็นยา ใช้ลูกซัดต้มน้ำกับเปลือกชะลูด ใช้แช่เสื้อผ้าให้แข็งขึ้นเงา ลูกซั.

ดู วงศ์ถั่วและลูกซัด (พืช)

วัฏจักรไนโตรเจน

วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรไนโตรเจน (Nitrogen Cycle) คือ วัฏจักรทางชีวธรณีเคมี ซึ่งอธิบายถึงการแปลงสภาพของไนโตรเจนและสารประกอบที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในธรรมชาต.

ดู วงศ์ถั่วและวัฏจักรไนโตรเจน

วีสเตียเรีย

วีสเตียเรีย (Wisteria, Wistaria หรือ Wysteria) เป็นพืชในสกุลไม้ดอก ในพืชวงศ์ถั่ว, พืชที่มีฝักซึ่งเป็นหนึ่งใน10 ของสายพันธุ์ไม้เถาวัลย์ มีต้นกำเนิดทางทิศตะวันออกของสหรัฐอเมริกา และจีน เกาหลี และญี่ปุ่น บางสายพันธุ์นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนและญี่ปุ่น แต่สำหรับไม้น้ำที่มีชื่อว่า 'water wisteria' ที่จริงแล้วคือพืช Hygrophila difformis ในวงศ์ Acanthaceae.

ดู วงศ์ถั่วและวีสเตียเรีย

วงศ์ย่อยราชพฤกษ์

Caesalpinia sappan วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ หรือ Caesalpinioideae เป็นวงศ์ย่อยของพืชวงศ์ถั่ว ชื่อตั้งตามชื่อสกุล Caesalpinia ในการจัดจำแนกบางระบบ เช่นระบบ Cronquist วงศ์ย่อยนี้ยกขึ้นเป็นวงศ์ เรียก Caesalpiniaceae ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์ในเขตร้อย ดอกสมมาตรครึ่งซีก เกิดปมรากได้น้อย วงศ์ย่อยนี้แบ่งเป็นสี่เผ่า ได้แก่ Caesalpinieae, Cassieae, Cercideae และ Detarieae เผ่า Cercideae บางครั้งเคยรวมเข้ากับวงศ์ย่อย Faboideae (Papilionoideae)ในอดีต.

ดู วงศ์ถั่วและวงศ์ย่อยราชพฤกษ์

วงศ์ย่อยสีเสียด

วงศ์ย่อยสีเสียด หรือ Mimosoideae เป็นวงศ์ย่อยของพืชวงศ์ Fabaceae (Leguminosae) ดอกมีลักษณะเด่นคือเห็นก้านชูเกสรตัวผู้ชัดเจน แบ่งเป็นสี่เผ่า: Acacieae, Ingeae, Mimoseae, and Mimozygantheae.

ดู วงศ์ถั่วและวงศ์ย่อยสีเสียด

วงศ์ย่อยถั่ว

วงศ์ย่อยถั่วหรือวงศ์ย่อยประดู่ หรือ Faboideaeเป็นวงศ์ย่อยของพืชมีดอกในวงศ์ Fabaceae หรือ Leguminosae บางครั้งเรียก Papilionoideae Faboideae เป็นได้ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ล้มลุก ตัวอย่างสมาชิกได้แก่ ถั่วลันเตา ประดู่ พืชในวงศ์ย่อยนี้จะเกิดปมราก ดอกจะมีลักษณะเฉพาะที่เรียกดอกทรงดอกถั่ว.

ดู วงศ์ถั่วและวงศ์ย่อยถั่ว

สกุลชงโค

กุลชงโค (Bauhinia)เป็นสกุลของพืชที่เป็นได้ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เถา อยู่ในวงศ์ Fabaceae พบในเขตร้อนทั่วโลกกว่า 300 ชนิด ลักษณะเด่นคือปลายใบแยกเป็นสองแฉก มองดูคล้ายรูปเมล็ดถั่วหรือไต บางชนิดแยกเป็นสองใบย่อย ในประเทศไทยพบประมาณ 34 ชน.

ดู วงศ์ถั่วและสกุลชงโค

สกุลมะขามเทศ

กุลมะขามเทศ หรือ Pithecellobium เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Fabaceae ชื่อสกุลนี้มาจาก ภาษากรีก πιθηκος (pithekos), หมายถึงลิง และ ελλοβιον (ellobion), หมายถึง ต่างหู ซึ่งหมายถึงรูปร่างของฝัก.

ดู วงศ์ถั่วและสกุลมะขามเทศ

สกุลมะค่าแต้

กุลมะค่าแต้ หรือ Sindora เป็นสกุลของพืชในวงศ์ iFabaceae ประกอบด้วยสปีชีส์ดังนี้.

ดู วงศ์ถั่วและสกุลมะค่าแต้

สกุลราชพฤกษ์

กุลราชพฤกษ์ หรือ Cassia เป็นสกุลไม้ดอกไม้ประดับหนึ่งในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (Caesalpinioideae) นอกจากนี้ยังมีพืชชื่อ Cassia หลายชนิดในสกุลขี้เหล็ก (Senna) และสกุลอบเชย (Cinnamomum) สกุลราชพฤกษ์มีลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น ใบประกอบเรียงเวียนหรือเรียงสลับระนาบเดียว ใบย่อยเรียงตรงข้าม ช่อดอกเป็นช่อแยกแขนงหรือช่อกระจะ ก้านดอกมีใบประดับ 2 ใบที่โคนหรือเหนือโคนเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ พับงอกลับ ดอกสมมาตรด้านข้าง มี 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาว 3 อัน ก้านชูอับเรณูโค้งงอ ส่วนอีก 7 อันสั้นกว่า ก้านชูอับเรณูตรง อับเรณูแตกหรือมีรูเปิดที่โคนหรือปลาย ผลเป็นแบบแห้งไม่แตก ทรงกระบอกหรือแบน เมล็ดจำนวนมาก เรียง 1-2 แถว.

ดู วงศ์ถั่วและสกุลราชพฤกษ์

สกุลหมามุ่ย

กุลหมามุ่ย หรือMucuna เป็นสกุลของพืชที่มีสมาชิก 100 สปีชีส์ ที่เป็นไม้เลื้อยและไม้พุุ่ม ในวงศ์ Fabaceae พบได้ทั่วไปในเขตร้อน.

ดู วงศ์ถั่วและสกุลหมามุ่ย

สกุลจั่น

กุลจั่น เป็นสกุลในวงศ์ Fabaceae ประกอบด้วยสปีชีส์ 150 สปีชีส์ แพร่กระจายในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนทั่วโลก.

ดู วงศ์ถั่วและสกุลจั่น

สกุลถ่อน

ฝัก ''Albizia procera'' สกุลถ่อน หรือAlbizia เป็นสกุลของพืชที่มีสมาชิก 150 สปีชีส์ เป็นกลุ่มของพืชโตเร็วในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน อยู่ในวงศ์ย่อย Mimosoideae วงศ์ Fabaceae การกระจายพันธุ์ส่วนใหญ่พบในโลกเก่า บางสปีชีส์เป็นวัชพืช หมวดหมู่:สกุลถ่อน.

ดู วงศ์ถั่วและสกุลถ่อน

สกุลขี้เหล็ก

กุลขี้เหล็ก หรือ Senna (มาจาก ภาษาอาหรับ sanā) เป็นสกุลขนาดใหญ่ในวงศ์ Fabaceaeและวงศ์ย่อย Caesalpinioideae พืชในสกุลนี้เป็นพืชท้องถิ่นในเขตร้อน พบในเขตอบอุ่นไม่กี่ชนิด จำนวนสปีชีส์ประมาณ 260 - 350 สปีชีส์Randell, B.

ดู วงศ์ถั่วและสกุลขี้เหล็ก

สกุลคราม

''Indigofera pendula'' ''Indigofera spicata'' ''Indigofera astragalina'' ''Indigofera decora'' สกุลครามหรือIndigofera เป็นสกุลขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกมากกว่า 750 สปีชีส์ Flora of China.

ดู วงศ์ถั่วและสกุลคราม

สร้อยสยาม

ร้อยสยามหรือชงโคสยาม เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งในสกุลชงโค วงศ์ Leguminosae ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกเป็นดอกช่อ ดอกย่อยสีชมพู ออกดอกช่วงกุมภาพันธ์ – เมษายน นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับเลื้อยแต่งรั้วหรือซุ้ม พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ 2 กุมภาพัน..

ดู วงศ์ถั่วและสร้อยสยาม

สะบ้า (พืช)

้า อยู่ในวงศ์ Fabaceae เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ลำต้นมักคดงอหรือบิดเป็นเกลียว เปลือกนอกเรียบสีน้ำตาลแก่ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกออกเป็นกระจุก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผล เป็นฝักตรง หรือคดงอและบิดไปมา เปลือกผลแข็งเป็นเนื้อไม้ แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เมื่อแก่ข้อจะหักเป็นท่อนๆ เมล็ดสีน้ำตาล ถึงแดงคล้ำ รูปกึ่งกลม แบน แข็ง เมล็ดใช่เล่นสะบ้.

ดู วงศ์ถั่วและสะบ้า (พืช)

สะตอ

ตอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Parkia speciosa) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีกิ่งก้านที่มีขนละเอียดใบประกอบแบบขนนกสองชั้น จะออกช่อที่ปลายของกิ่งตามตำราแพทย์แผนไทย จะใช้เมล็ด ขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ ไตพิการ ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้เมล็ดสดรับประทาน แก้อาการผิดปกติของไต สะตอ มีเมล็ดที่มีกลิ่นเหม็นเขียวรุนแรง แต่นิยมนำมารับประทานกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารไทยปักษ์ใต้ หลังจากรับประทานสะตอเข้าไปจะมีกลิ่น สามารถดับกลิ่นสะตอ ด้วยการรับประทานมะเขือเปราะตามสักสองสามลูก สะตอเมื่อสุกจนฝักเป็นสีดำ เนื้อสะตอเป็นสีเหลืองบางๆ รับประทานได้ทั้งเม็ด เมล็ดในระยะนี้รสมัน เนื้อมีรสหวาน ถ้าแก่กว่าระยะนี้ ฝักจะแห้ง เมล็ดเป็นสีดำ แข็งและมีกลิ่นฉุนจัด กินไม่ได้.

ดู วงศ์ถั่วและสะตอ

สักขี

ักขี เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยในวงศ์ถั่ว ลำต้นสีน้ำตาลอมม่วง มีปุ่มทั่วไป ใบประกอบแบบขนนก ขอบใบเรียบ ดอกช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว ผลเดี่ยวเป็นฝักแบนงอโค้ง ไม้ใช้ทำเครื่องมือประมงหรือทำเชือก.

ดู วงศ์ถั่วและสักขี

สารพัดพิษ

รพัดพิษ หรือ ส้มพอ กักไม้ฝอย สะนาน เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Papilionoideae ต้นอ่อนเปลือกสีเขียวนวล แก่เป็นสีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ดอกช่อ ดอกย่อยทรงดอกถั่ว สีเหลือง ผลเดี่ยว ฝักเป็นทรงกระบอกยาว ฝักแก่จะนูนที่ตำแหน่งเมล็ด เป็นสีน้ำตาล เมล็ดใช้รักษาอาการติดเชื้อเป็นฝีหนอง.

ดู วงศ์ถั่วและสารพัดพิษ

สาธร (พรรณไม้)

ร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครราชสีมาและต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเท.

ดู วงศ์ถั่วและสาธร (พรรณไม้)

สิรินธรวัลลี

รินธรวัลลี หรือ สามสิบสองประดง เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งในสกุลชงโค วงศ์ Leguminosae กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่ เปลือกเถาเรียบ บิดตามยาวเล็กน้อย เนื้อไม้เมื่อตัดตามขวาง สีน้ำตาลเข้มออกแดง มีลวดลายสีน้ำตาลอ่อนเป็นกลุ่มเหมือนกลีบดอกไม้ ดอกออกเป็นช่อสีน้ำตาล ออกดอกตลอดปี แต่ดอกจะบานมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกโดย ดร.

ดู วงศ์ถั่วและสิรินธรวัลลี

สีเสียด

ีเสียด อาจหมายถึง.

ดู วงศ์ถั่วและสีเสียด

สีเสียดแก่น

ีเสียดแก่น หรือชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สีเสียด สีเสียดไทย สีเสียดเหนือ สีเสียดเหลือง สีเสียดหลวง สีเสียดลาว เป็นพืชในวงศ์ถั่ว กระจายพันธุ์ในเอเชีย จีน, อินเดีย และบริเวณ มหาสมุทรอินเดีย เมล็ดเป็นแหล่งของโปรตีน แก่นต้นนำมาใช้เป็นยา โดยนำแก่นต้นสีเสียด สับให้เป็นชิ้น ๆ แล้วต้มและเคี่ยว หลังจากนั้นระเหยน้ำที่ต้มได้ให้เหนียวข้น จะได้ของแข็งเป็นก้อน สีน้ำตาลดำ เป็นมัน แข็ง รูปร่างไม่แน่นอน ผิวนอกหยาบ มีด้านในด้านหนึ่งที่แตกจะมันวาว ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มแทนนินที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อเกิดอาการท้องร่วง (Escherichia coli) Staphylococcus aureus ฤทธิ์ต้านเชื้อบิด มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของลำไส้ เปลือกสีเสียดแก่น ดอกสีเสียดแก่น ฝักสีเสียดแก่น ในทางยาสมุนไพร ใช้สีเสียดแก่นแก้ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ รักษาบาดแผล แก้ปากเป็นแผล ใส่แผลเปื่อยและริดสีดวง และอาการบาดเจ็บที่มีเลือดออก บดหรือต้มกินแก้ท้องร่วง คุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด แก้ลงแดง ทารักษาบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง ต้มล้างบาดแผล เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ห้ามเลือดกำเดา แก้บิด ล้างแผลหัวนมแตก ล้างแผลถูกไฟไหม้ ทำให้แผลหายเร็ว และเป็นส่วนผสมใน "ยาเหลืองปิดสมุทร" ที่ใช้รักษาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ.

ดู วงศ์ถั่วและสีเสียดแก่น

ส้มป่อย

้มป่อย อยู่ในวงศ์ Fabaceae วงศ์ย่อย Mimosoideae ภาษากะเหรี่ยงเรียกเบ๊อะฉี่สะหรือพีจีสะ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามแข็ง ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ปลายใบเป็นติ่งหนามแหลมอ่อนโค้ง ใบประกอบ มีหูใบ ใบย่อยไม่มีก้านใบ ดอกช่อแบบกระจุก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีแดง กลีบดอกเป็นหลอดสีขาว เกสรตัวผู้จำนวนมากติดกับกลีบดอก มี 5 มัด ก้านชูสีขาว ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน แบน หนา เมื่อแห้งผิวย่น ขรุขระมาก ฝักอ่อนและใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ชาวกะเหรี่ยงนำไปประกอบอาหาร ฝักแก่ตากให้แห้ง ต้มกับขมิ้นใช้สระผม ใบใช้เป็นส่วนประกอบในการย้อมผ้า ในฝักมีสารกลุ่มซาโปนินหลายชนิด ทำให้เกิดฟองเมื่อนำฝักส้มป่อยตีกับน้ำ รากใช้เป็นยาแก้ไข้ ใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้บิด ดอกส้มป่อ.

ดู วงศ์ถั่วและส้มป่อย

หมามุ่ยช้าง

หมามุ่ยช้าง อยู่ในวงศ์ถั่ว เป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ ใบประกอบแบบสามใบย่อย ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อน มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ทำให้ระคายเคือง ดอกสีขาวอมเขียวหรืออมเหลือง ผลแบนรูปรีเบี้ยว กระจายพันธุ์ทั่วเอเชียและแปซิฟิก.

ดู วงศ์ถั่วและหมามุ่ยช้าง

หมามุ้ย

หมามุ้ย หรือ หมามุ่ย ชื่อวิทยาศาสตร์ Mucuna pruriens DC.

ดู วงศ์ถั่วและหมามุ้ย

หยี

หยี ทางภาคใต้เรียก เขลง กาหยี ภาคอีสานเรียกนางดำ เป็นพืชท้องถิ่นในรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ พบในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย และเวียดนาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบรูปไข่คล้ายใบพิกุล ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลออกเป็นพวง เมื่อดิบสีเขียว สุกแล้วเป็นสีดำ เนื้อสีน้ำตาล หวานอมเปรี้ยว เมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างแบน ผลมีวิตามินซีสูง ไม่รับประทานสดแต่นิยมนำมาแปรรูป เช่น ลูกหยีฉาบ ลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง ใช้ทำน้ำผลไม้.

ดู วงศ์ถั่วและหยี

หยีน้ำ

หยีน้ำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15-25 เมตร ดอกสีม่วงอมชมพู รูปร่างของดอกคล้ายดอกแคแต่เล็กกว่า ผลเป็นฝักสั้นและแบน เป็นพืชตระกูลถั่ว จึงมีไรโซเบียมอยู่ในปมราก ช่วยในการตรึงไนโตรเจน เป็นพืชพื้นเมืองในอินเดีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ Indian Beech, Pongam Oiltree, Karanj (ภาษาฮินดี), ಹೊಂಗೆ Honge (ภาษากันนาดา), புங்கை Pungai (ภาษาทมิฬ), కానుగ Kānuga (ภาษาเตลูกู), नक्तमाल Naktamāla (ภาษาสันสกฤต) พืชชนิดนี้ใช้ทำไบโอดีเซลในอินเดี.

ดู วงศ์ถั่วและหยีน้ำ

หลุมพอทะเล

หลุมพอทะเล หรือ ประดู่ทะเล เป็นต้นไม้พืชดอกในวงศ์ถั่ว มีถิ่นกำเนิดในอินโดแปซิฟิก มีการกระจายพันธุ์จากประเทศแทนซาเนียและประเทศมาดากัสการ์ไปทางตะวันออกผ่านประเทศอินเดียและรัฐควีนส์แลนด์, ประเทศออสเตรเลียถึงหมู่เกาะแปซิฟิกของประเทศซามัว ต้นสูงได้ถึง 50 เมตร พบในป่าชายเลน.

ดู วงศ์ถั่วและหลุมพอทะเล

หางหมาจอก

หางหมาจอก (L.) Desv.

ดู วงศ์ถั่วและหางหมาจอก

หางนกยูง

หางนกยูง อาจหมายถึง.

ดู วงศ์ถั่วและหางนกยูง

หางนกยูงฝรั่ง

หางนกยูงฝรั่ง (Flam-boyant, The Flame Tree, Royal Poinciana) หรือที่เรียกว่า นกยูง, นกยูงฝรั่ง, ชมพอหลวง, ส้มพอหลวง (ภาคเหนือ), หงอนยูง (ภาคใต้), อินทรี (ภาคกลาง), และยูงทอง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พันธุ์ไม้จากทวีปแอฟริกาอยู่ในวงศ์พืชตระกูลถั่ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบในหน้าแล้ง ทรงพุ่มต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง มีกลีบห้ากลีบ สีแดงจัดจนถึงสีส้ม ฝักเป็นลักษณะฝักถั่วแบนยาว เมื่อแก่จะเป็นฝักแห้งแข็งสีดำ.

ดู วงศ์ถั่วและหางนกยูงฝรั่ง

หางไหล

หางไหลหรือโล่ติ๊น (Bentham) เป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็ง จัดเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง พืชชนิดนี้มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญคือโรติโนน (Rotenone) พบมากในราก มีฤทธิ์ฆ่าแมลงโดยการกินหรือการสัมผัสตัว และเป็นสารที่สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด สามารถนำมาใช้เป็นสารฆ่าแมลงได้ทั้งในรูปรากแห้งและรากสด โดยสารสกัดจากรากหางไหลแห้งนี้ สามารถใช้กำจัดหนอนแมลงวัน แมลงวัน ลูกน้ำ ยุงและเห็บโคได้ดี.

ดู วงศ์ถั่วและหางไหล

หิ่งเม่น

หิ่งเม่น เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Papilionoideae ลำต้นสีเขียวออกเหลือง เปลือกด้านนอกเหนียว มีกลิ่นเหม็นเขียว ใบเดี่ยว ดอกช่อ ดอกย่อยสีเหลือง ลักษณะแบบดอกถั่ว ผลเดี่ยวเป็นฝักกลม ปลายแหลมยื่นไปด้านหนึ่ง ผลแห้ง อ่อนสีเขียว แก่สีน้ำตาล แตกตามตะเข็บ เมล็ดสีน้ำตาลอมดำขนาดเล็กจำนวนมาก รากต้มน้ำดื่ม แก้ร้อนใน.

ดู วงศ์ถั่วและหิ่งเม่น

อรพิม

อรพิม หรือ คิ้วนาง เป็นไม้เถาเนื้อแข็งในสกุลชงโค มีมือเกาะ มีขนสีน้ำตาลที่กิ่งอ่อน ใบประกอบ ดอกมี 5 กลีบ สีขาว 4 กลีบ สีเหลือง 1 กลีบ ติดฝักเป็นรูปดาบ เปลือกบาง ผิวเรียน เมล็ดข้างในแบน มีจำนวนมาก แก้ท้องเสีย แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้บิด จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น และเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ) นักพฤษศาสตร์ชาวไทย ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งพฤษศาสตร์ไทย".

ดู วงศ์ถั่วและอรพิม

อะราง

อะราง, นนทรีป่า หรือ อินทรี เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Caesalpiniaceae เปลือกเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อออกตามปลายกิ่งแล้วห้อยลง สีเหลือง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกย่น เกสรตัวผู้ 10 อัน ผลเป็นฝักแบน ปลายและโคนฝักเรียวแหลม เมล็ดแบนสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายนนทรีแต่ต่างกันที่ช่อดอกของอะรางห้อยลงแต่นนทรีชี้ขึ้น เปลือกต้นอะรางเป็นยาขับเสมหะ และใช้รักษาโรคเกี่ยวกับเลือด ใช้เป็นสีย้อม ให้สีน้ำตาลแดง เปลือกต้นที่มีอายุมากรับประทานได้ โดยขูดผิวด้านในออกมาแล้วสับละเอียด ใส่ในส้มตำร่วมกับสับปะรดและมดแดง.

ดู วงศ์ถั่วและอะราง

อัญชัน

อัญชัน (L.) เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน,เองชัญ (เหนือ)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู วงศ์ถั่วและอัญชัน

อัญชันป่า

อัญชันป่าหรือขี้หนอน เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Papilionaceae ลำต้นกลม ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ดอกย่อยทรงแบบดอกถั่ว สีขาว ผลเป็นฝักแห้งแตก ทั้งต้นตำพอกแผลช่วยห้ามเลือด ใส่ในไหปลาร้าหรือใช้ปิดปากไหป้องกันหนอนแมลงวัน.

ดู วงศ์ถั่วและอัญชันป่า

อัมพวา (ผลไม้)

อัมพวา เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Leguminosae ภาคใต้เรียก นัมนัม เช่นเดียวกับภาษาอินโดนีเซียและภาษามัลดีฟส์ ชื่ออื่น ๆ คือมะเปรียง บูรานัม นางอาย ใบเดี่ยว รูปไข่ ใบห้อยลง ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงสีขาวปนชมพู กลีบดอกสีขาว ผลอ่อนสีน้ำตาลแกมเขียว แก่แล้วเป็นสีเหลือง ผลมีรูปร่างแบนคล้ายมะม่วง แต่ผลหยักเป็นลอนไม่เรียบ รสเปรี้ยวคล้ายมะม่วงดิบ ภายในผลมีเมล็ดเดียว ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างได้ ผลอัมพว.

ดู วงศ์ถั่วและอัมพวา (ผลไม้)

อันดับถั่ว

''Desmodium gangeticum'' อันดับถั่วหรือ Fabales Bromhead เป็นอันดับของพืชมีดอกในกลุ่มโรสิด พืชใบเลี้ยงคู่แท้ ตามระบบ APG II ประกอบไปด้วยวงศ์ Fabaceae (มี 3 วงศ์ย่อยคือCaesalpinioideae Mimosoideae and Faboideae) Quillajaceae Polygalaceae (รวมวงศ์ Diclidantheraceae Moutabeaceae และ Xanthophyllaceae) และ Surianaceae.

ดู วงศ์ถั่วและอันดับถั่ว

อาเคเชีย

''Acacia drepanolobium'' ''Acacia sp.'' อาเคเชีย (Acacia) เป็นไม้สกุลของไม้พุ่มหรือไม้ต้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Mimosoideae ของวงศ์ถั่ว บันทึกเป็นครั้งแรกในแอฟริกาโดยนักชีววิทยาชาวสวีเดนคาโรลัส ลินเนียส ในปี..

ดู วงศ์ถั่วและอาเคเชีย

อึ่งคี้

อึ่งคี้ภาษาจีนแต้จิ๋ว หรือมีชื่ออื่นว่า ปักคี้ หวงฉีภาษาจีนกลาง หรือ เป่ยฉี และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Astragalus propinquus เป็นพืชในวงศ์ถั่ว และในสกุล Astragalus และเป็นพืชที่ใช้เป็นยาในตำรายาจีน.

ดู วงศ์ถั่วและอึ่งคี้

อโศกน้ำ

อโศกน้ำ, โสก หรือ โสกน้ำ (Ashoka tree;; บางครั้งใช้ผิดเป็น Saraca indica) เป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (Caesalpinioideae) มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ ยาว 10-15 เซนติเมตร ใบย่อย 1-7 คู่ เรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 2-10 เซนติเมตร ยาว 5-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน รูปลิ่ม แผ่นใบหนา ดอกสีส้มหรือแดง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียว ยาวประมาณ1-2 เซนติเมตร บริเวณปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายมน ผลแห้งแตก เป็นฝักทรงแบน กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 6-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปไข่ แบน มี 1-3 เมล็ด อโศกน้ำนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ยอดอ่อนและดอกสามารถรับประทานได้ โดยดอกมีรสเปรี้ยวอมฝาด ช่วยขับเสมหะ เปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เช่น Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus aureus.

ดู วงศ์ถั่วและอโศกน้ำ

อโศกเหลือง

อโศกเหลือง, โสกเหลือง หรือ ศรียะลา เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบชนิดหนึ่งในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ดอกสีเหลืองอมน้ำตาล มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมวดหมู่:ต้นไม้ประจำจังหวัด หมวดหมู่:วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ หมวดหมู่:ไม้ยืนต้น หมวดหมู่:ไม้ประดับ.

ดู วงศ์ถั่วและอโศกเหลือง

ผักคา

ผักคา เป็นไม้เลื้อยใน วงศ์ถั่ว วงศ์ย่อย Mimisoidae เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยได้ไกลลักษณะคล้ายชะอม ลำต้นมีหนาม ยอดและใบอ่อนกินได้ มีกลิ่นเหม็นเขียว ออกดอกเดือนธันวาคม – มกราคม พบครั้งแรกในไทยโดยนายขรรชัย บุญช่วย และนายบุญชู นิ่มอนงค์ ที่จังหวัดเชียงราย กระจายพันธุ์ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ชื่อสปีชีส์ย่อยตั้งเป็นเกียรติแก่หมอคาร์ ชาวไอร.

ดู วงศ์ถั่วและผักคา

ผีเสื้อหนอนถั่ว

ผีเสื้อหนอนถั่ว เป็นผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Lycaenidae) กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป, แอฟริกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงออสเตรเลีย พบตามชายป่า ทุ่งหญ้าหรือทุ่งดอกไม้จนถึงบนภูเขาที่สูง 2,700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผีเสื้อหนอนถั่วเป็นผีเสื้อขนาดเล็ก เพศผู้มีความยาวปีก 24–32 มิลลิเมตร เพศเมียมีความยาวปีก 24–34 มิลลิเมตร ด้านบนปีกของเพศผู้จะมีแต้มสีน้ำเงินม่วงขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ทั้งสองเพศมีหางเล็กยาวและจุดสีดำสองจุดที่ปลายปีกคู่หลัง Simon Coombes ไข่ของผีเสื้อชนิดนี้มีลักษณะกลมสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หนอนผีเสื้อมีความยาว 14-15 มิลลิเมตร สีเขียวถึงสีน้ำตาลแดง ดักแด้มีขนาด 9-10 มิลลิเมตร สีเทาอ่อนถึงน้ำตาล อาหารของตัวอ่อนผีเสื้อหนอนถั่วได้แก่พืชหลายสกุลในวงศ์ถั่ว เช่น สกุล Medicago, Crotalaria, Polygala เป็นต้น.

ดู วงศ์ถั่วและผีเสื้อหนอนถั่ว

จันทน์แดง

ันทน์แดง หรือ รักตจันทน์ อยู่ในวงศ์ถั่ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ ยางสีแดงเข้ม ใบประกอบ ไม่มีหูใบ ก้านใบมีขนนุ่ม เนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง ดอกช่อ สีเหลือง ผลรูปกลมแบนมีปีก เมล็ดเกลี้ยง สีน้ำตาลแดง พบเฉพาะในรัฐอานธรประเทศ และบริเวณใกล้เคียงเมืองมัทราสและไมซอร์ ปัจจุบันเป็นพืชปลูกในศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปิน.

ดู วงศ์ถั่วและจันทน์แดง

จั่น (พรรณไม้)

ั่นราชบัณฑิตยสถาน.

ดู วงศ์ถั่วและจั่น (พรรณไม้)

จิบเบอเรลลิน

อเรลลิน (Gibberellin) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ ควบคุมการเจริญเติบโตและมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางพัฒนาการรวมทั้งการยืดของข้อ การงอก การพักตัว การออกดอก การแสดงเพศ การชักนำการสร้างเอนไซม์ รวมทั้งการชราของดอกและผล, from http://www.plant-hormones.info, the home since 2003 of a website developed by the now-closed Long Ashton Research Station จิบเบอเรลลินถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

ดู วงศ์ถั่วและจิบเบอเรลลิน

ถอบแถบทะเล

อบแถบทะเล ชื่ออื่นๆได้แก่ ถอบแถบน้ำ ผักแถบ เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ถั่ว เลื้อยเกี่ยวพันไปตามต้นไม้หรือทอดไปตามพื้นดิน เปลือกต้นสีเทาดำหรือน้ำตาล มีปุ่มสีขาวขนาดเล็ก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบเรียบเป็นมัน ท้องใบสีเขียวอ่อนกว่าอีกด้านหนึ่ง ดอกเป็นดอกช่อออกตามง่ามใบ ดอกสีขาว ผลเป็นผลเดี่ยว รูปร่างเป็นฝักแบน ผิวเรียบ สีเขียวอ่อน รากและใบใช้เป็นยาระบาย แก้พิษตานซาง ขับเสมหะ สารในกลุ่มโรทีนอยด์ที่ชื่อ6aα,12aα-12a-hydroxyelliptone พบได้ที่ก้านของ D.

ดู วงศ์ถั่วและถอบแถบทะเล

ถั่วพร้า

ั่วพร้า เป็นพืชประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน เพราะเป็นพืชที่ให้ธาตุไนโตรเจนในปริมาณสูง จึงนำมาทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางภาครัฐก็ให้การสนับสนุนในการเพาะปลูก เนื่องจากสามารถเพาะปลูกได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำในการนำมาใช้ประโยชน์ และไม่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วพร้า

ถั่วพู

ั่วพู เป็นพืชล้มลุก ดอกสีขาวอมม่วง ผลเป็นฝักแบนยาวมี 4 ปีก ความยาวของฝักประมาณ 3-4 นิ้ว ภายในมีเมล็ดกลมเรียบ นิยมนำถั่วพูมาประกอบอาหารประเภทยำหรือกินสด ถั่วพูเป็นผักที่เสียเร็ว เหี่ยวง่ายและเกิดสีน้ำตาลเร็ว เก็บได้ไม่นาน คุณค่าทางอาหาร ถั่วพูมีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ซี อี บี1 บี2 ไนอะซิน สรรพคุณทางยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้ ในอาหารไทยนำฝักอ่อนมาลวก กินกับน้ำพริก ยำ หั่นใส่ในแกงส้ม แกงป่าหรือกินกับขนมจีน หั่นผสมในทอดมัน ยอดอ่อนและดอกใช้จิ้มน้ำพริก ใบอ่อนทำสลัดหรือใส่ในแกงจืด เมล็ดแก่คั่วให้สุกรับประทานได้ หัวแก่ใช้เชื่อมเป็นของหวานหรือเผารับประทานเช่นเดียวกับมันเทศหรือมันสำปะหลัง ในพม่า นำหัวถั่วพูไปต้มจิ้มน้ำจิ้ม กินเป็นอาหารว่าง ใบอ่อนกินเป็นสลัด ในปาปัวนิวกินีนำหัวถั่วพูไปห่อใบตองหรือใบไผ่แล้วย่างรับประทาน ในอินโดนีเซียนำเมล็ดถั่วพูไปทำเทมเป้เช่นเดียวกับถั่วเหลือง หัวถั่วพูนำมาสับ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มต่างน้ำ เป็นยาบำรุงกำลัง ในทางสิ่งแวดล้อม ถั่วพูสามารถส่งเสริมการย่อยสลายแอนทราซีนและฟลูออรีนในไรโซสเฟียร์ได้ดี.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วพู

ถั่วฝักยาว

มล็ดถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาว (subsp. sesquipedalis) เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่เป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญในภาษาต่างๆที่หลากหลาย เช่น สิบสองปันนาเรียก ถั่วลิ้นนาค ภาษาอังกฤษเรียกว่า yardlong bean (ตรงตัว:ถั่วยาวหนึ่งหลา) ภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า dau gok ภาษาจีนกลางเรียก jiang dou (豇豆) ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายูเรียก kacang panjang ภาษาตากาล็อกเรียก 'SITAO' or 'SITAW' ภาษาอีโลกาโนเรียก utong ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสเรียกว่า bora หรือ bodi ภาษาเบงกาลีเรียกว่า vali, Borboti ในรัฐกัว อินเดีย เรียก eeril ภาษาเวียดนามเรียก đậu đũa และภาษาญี่ปุ่นเรียก ju-roku sasage (十六ササゲ) อย่างไรก็ตาม ฝักของถั่วชนิดนี้ยาวเพียงครึ่งหลา ชื่อของสับสปีชีส์ sesquipedalis (หมายถึงยาวฟุตครึ่ง)ใกล้เคียงกับความยาวจริงๆของฝักถั่วมากกว.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วฝักยาว

ถั่วลันเตา

''Pisum sativum'' ถั่วลันเตา จัดอยู่ในตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิด แถบประเทศ เอธิโอเปีย ต่อมา แพร่กระจายปลูก ในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชีย และเขตอบ อุ่นต่างๆ ของโลก ถั่วลันเตา เป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบสลับ ปลายใบเปลี่ยน เป็นมือเกาะ การเจริญ เติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้าง บางสายพันธุ์ อาจมีเฉพาะ ใบบางพันธุ์ อาจมีเฉพาะ มือเกาะ ใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็ก เป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบ รากแก้ว ดอกเป็นแบบ ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง สามารถแบ่ง ประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่ มีปีก เป็นต้น.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วลันเตา

ถั่วลิสง

ั่วลิสง หรือ ถั่วดิน จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วลิสง

ถั่วลิสงนา

ั่วลิสงนา ชื่ออื่น: หญ้าปล้องหวาย (ชลบุรี) คัดแซก (ปราจีนบุรี) หญ้าเกล็ดหอยใหญ่ (อ่างทอง) ถั่วลิสงนาเป็นพืชตระกูลถั่ว (Fabaceae) เท่าที่พบในธรรมชาติ ถั่วลิสงนาเป็นพืชที่เจริญได้ง่าย ไม่เลือกชนิดและสภาพของดินนัก และคงจะทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีพอสมควร จึงพบอยู่ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เข้าใจว่าเป็นถั่วพื้นเมืองของไทยด้วย ถั่วลิสงนาอาจมีชื่อท้องถิ่นที่เรียกกันได้ในแต่ละท้องที่ เช่น หญ้าน้ำผึ้ง หญ้าเถาถั่ว หญ้าถั่ว หรือถั่วนา ถั่วลิสงนามีโปรตีนถึง 16.2% นับได้ว่าถั่วลิสงนาเป็นถั่วอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับใช้ปรับปรุงทุ่งหญ้า จะทำเป็นหญ้าแห้งหรือปล่อยสัตว์ลงแทะเล็มก็ได้ เนื่องจากรากถั่วลิสงนายังสามารถสร้างปมราก (nodules) ซึ่งไปจับไนโตรเจนในอากาศเพื่อช่วยบำรุงดินได้ด้วย ในต่างประเทศ อาทิ ประเทศมาเลเซีย จะนำถั่วลิสงนามาใช้เป็นพืชสมุนไพร หรือประเทศจีนจะนำต้นแห้งของถั่วลิสงนามาตัดเป็นท่อนๆ ผสมกับชะเอมชงน้ำดื่มแทนน้ำชา ทำให้สดชื่น แก้อาการกระหายน้ำ.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วลิสงนา

ถั่วลูกไก่

ั่วลูกไก่ หรือ ถั่วหัวช้าง (chickpea) เป็นพืชในวงศ์ถั่ว เมล็ดมีโปรตีนสูง เป็นถั่วที่ปลูกในตะวันออกกลางมานานราว 7,500 ปีมาแล้ว ถั่วลูกไก่เป็นถั่วที่มีบทบาทสำคัญในอาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารตะวันออกกลาง และอาหารอินเดีย มีสองชนิดคือ กาบูลี เมล็ดใหญ่ สีครีมนวล เปลือกเรียบ และแบบเดซี ขนาดเล็กกว่า สีเข้ม เปลือกขรุขระกว่า ทั้งสองแบบเมล็ดเป็นทรงกลม มีจะงอยแหลม ใช้ทำอาหารได้หลายอย่างเช่น บดละเอียดทำฮุมมุส บดหยาบผสมเครื่องปรุงแล้วทอดเรียก ฟาลาเฟล ใส่ในแกง สลัด ผัดหรือทอดกับเนื้อสัตว.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วลูกไก่

ถั่วผี

ั่วผี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Macroptilium lathyroides (L.) Urb.) เป็นไม้ล้มลุกและ เป็นพืชฤดูเดียว (annual) เมล็ดแก่ร่วงแล้วงอกเป็นต้นใหม่ในฤดูฝนต่อไป ทรงต้นเป็นกอพุ่มตั้งปลายยอดทอดอ่อนเล็กน้อย ตามลำต้นมีขน ลำต้นกลม ใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่แกมรูปหอก ดอกช่อแบบติดดอกสลับ ก้านดอกสั้น ดอกแดงปนม่วง ฝักรูปทรงกระบอก ภายในมีเมล็ด 18-30 เมล็ด แตกได้ เมล็ดรูปขอบขนาน หรือสี่เหลี่ยม.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วผี

ถั่วผีทะเล

ั่วผีทะเล เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ถั่ว ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นเหนียว สีเขียวหรือเขียวอมขาว ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 3 ใบ สีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่าเล็กน้อย ดอกช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดสเขียว กลีบดอกสีเหลือง ผลเดี่ยว เป็นฝัก เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาลแห้ง แตกตามตะเข็บของผล ภายในมีเมล็ดกลมรี สีน้ำตาลอ่อน พืชชนิดนี้เป็นพืชทนเค็มพบทั่วไปตามชายหาดของเขตร้อน เช่นที่ฮาวาย และเกาะอีกหลายเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก Puerto Rico และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ชายฝั่งที่บราซิล ชายฝั่งทางมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดียวของแอฟริกา มาดากัสการ์ เซเชลส์ อินเดียและศรีลังกา คาบสมุทรอินโดจีน และเกาะไหหลำ มาเลเซีย, และชายฝั่งของออสเตรเลียในควีนส์แลนด์และนอร์ทเทิร์น เทอร์ริทอร์รี publication by the Beach Protection Authority of Queensland, Australia.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วผีทะเล

ถั่วดำ

ั่วดำ เป็นพืชล้มลุก มีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแห้งแตก เปลือกหุ้มเมล็ดเป็นสีดำ มีสารพวกแอนโทไซยานิน ใช้แต่งสีขนม โดยต้มเคี่ยวกับน้ำหรือบดผสมกับแป้ง ในทางสมุนไพร มีรสหวาน บำรุงเลือด ขับของเหลวในร่างกาย ขับลม ขจัดพิษ บำรุงไต ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน บำรุงสายตา เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการบวมน้ำ เหน็บชา ดีซ่าน ไตเสื่อม ปวดเอว มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคโรทีน ไนอะซิน วิตามินบี 1 และบี 2 และสารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดลำไส้เล็ก.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วดำ

ถั่วดิน

ั่วดิน เป็นพืชในสกุลคราม เป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่นคล้ายกำมะหยี่ ใบประกอบแบบขนนก ช่อดอกยาว มีขนหนาแน่น กลีบดอกสีชมพู ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง พบใน อินเดีย จีน พม่า ลาว และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วดิน

ถั่วคล้าทะเล

อกของถั่วคล้าทะเล ''Canavalia rosea'' ถั่วคล้าทะเล (Sea bean) เป็นไม้เลื้อยในพืชตระกูลถั่วที่พบในบริเวณชายหาด พบได้ทั่วไปในเขตร้อน ลำต้นทอดเลื้อยไปตามทราย ได้ไกล ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาล แข็งและเหนียว ใบหนาและอวบน้ำ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มีใบย่อยสามใบ โดยสองใบแรกมีก้านใบสั้น ส่วนใบที่สามจะมีก้านยาวยื่นออกไปต่างหาก ดอกแบบดอกถั่ว ดอกช่อ สีม่วงอมชมพู ติดฝัก ผลเดี่ยวเป็นฝัก เมื่ออ่อนแบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปลายเฉียงไปข้างใดข้างหนึ่ง พอแก่แล้วจะพองออกเป็นก้อนเท่าจำนวนเมล็ดภายในฝัก สีกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม แก่ต็มที่จะแตก เมล็ดมีเยื่อสีขาวหุ้ม แต่ละฝักมีราว 3-4 เมล็ด เมล็ดสามารถแพร่กระจายไปกับกระแสน้ำได้ ลักษณะถั่วคล้าจะคล้ายผักบุ้งทะเล ต่างกันที่ใบของถั่วคล้าทะเลเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยสามใบ ส่วนผักบุ้งทะเลเป็นใบเดี่ยว เป็นพืชที่ทนเค็มและชอบดินทร.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วคล้าทะเล

ถั่วปากอ้า

ั่วปากอ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vicia faba) เป็นสปีชีส์หนึ่งของถั่วมีฝักในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบแอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ถั่วปากอ้ามีสารพิษที่ทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกง.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วปากอ้า

ถั่วแปบ (พืช)

ั่วแปบ เป็นชื่อไม้เถาชนิด Dolichos lablab L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงฝักแบน ๆ ภาษากะเหรี่ยงเรียก เบ่าะบาสะถั่วแปบเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีแหล่งกระจายพันธุ์มาจากประเทศอินเดีย แล้วจึงกระจายพันธุ์ไปทางภูมิประเทศแบบเขตร้อนหรือร้อนชื้น ถั่วแปบมีโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วแปบ (พืช)

ถั่วแปบช้าง

ั่วแปบช้าง หรือ กันภัย (Afgekia Sericea) เป็นไม้ที่มีสกุลเดียวในโลก พบทางภาคอีสานของประเทศไท.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วแปบช้าง

ถั่วไมยรา

ถั่วไมยรา หรือ ถั่วเดสแมนธัส หรือ เฮดจ์ ลูเซอร์น (Desmanthus virgatus หรือ hedge ltcern) เป็นพืชตระกูลถั่วค้างปีจำพวกกระถิน กระถินณรงค์ นิยมปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ หมวดหมู่:วงศ์ย่อยสีเสียด.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วไมยรา

ถั่วเมสคาล

ั่วเมสคาล เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Fabaceae ใบประกอบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ สีม่วงอมน้ำเงิน กลิ่นแรง ฝักยาวมีเมล็ดสีแดง เป็นพืชมีพิษร้ายแรงมาก มีฤทธิ์หลอนประสาท พบในรัฐเท็กซัส รัฐนิวเม็กซิโก และในประเทศเม็กซิโก.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วเมสคาล

ถั่วเหลือง

ั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ได้มีรายงานการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนเมื่อเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใดของประเทศจีนเป็นถิ่นกำเนิดที่สันนิษฐานและยอมรับกันโดยทั่วไปคือบริเวณหุบเขาแม่น้ำเหลือง (ประมาณเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ) เพราะว่าอารยธรรมของจีนได้ถือกำเนิดที่นั่น และประกอบกับมีการจารึกครั้งแรกเกี่ยวกับถั่วเหลือง เมื่อ 2295 ปีก่อนพุทธกาล ที่หุบเขาแม่น้ำเหลือง จากนั้นถั่วเหลืองได้แพร่กระจายสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล แล้วเข้าสู่ยุโรปในช่วงหลัง..

ดู วงศ์ถั่วและถั่วเหลือง

ถั่วเขียว

ั่วเขียว เป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ให้เมล็ดที่มีเปลือกสีเขียว แต่เนื้อเมล็ดสีเหลือง ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้น หรือวงจรชีวิตของถั่วเขียวมันสั้น จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืช เช่น ทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสพภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วย บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง ถั่วเขียวใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตแป้งวุ้นเส้น เพาะถั่วงอก และประกอบอาหารอื่นๆ ถั่วเขียวมีสองชนิด ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ.

ดู วงศ์ถั่วและถั่วเขียว

ถ่อนฝักตั้ง

อนฝักตั้ง เป็นพืชในสกุลถ่อน วงศ์ย่อย Mimosoideae เป็นไม้ยืนต้น ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ผลเป็นฝักแบนมีติ่งที่ปลายฝัก แห้งแตก พบในภาคเหนือตอนบน พบครั้งแรกที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดย H.B.G.

ดู วงศ์ถั่วและถ่อนฝักตั้ง

ทรงบาดาล

ทรงบาดาล หรือ ขี้เหล็กหวาน เป็นไม้พุ่ม สูง 3 - 5 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4 - 6 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 1 - 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก สีเหลืองออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 20 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและจาไมก้า ออกดอก ตลอดปี ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด วิธีเตรียมเมล็ด ก่อนเพาะ นำเมล็ดมาแช่น้ำร้อน 80 - 90 องศาเซลเซียส แล้วทิ้งไว้ให้เย็น 16 ชั่วโมง ไฟล์:Songba.jpg.

ดู วงศ์ถั่วและทรงบาดาล

ทองกวาว

ทองกวาว, ทอง หรือ ทองธรรมชาติ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ถั่ว มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ จากประเทศปากีสถาน, อินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย และทางตะวันตกของอินโดนีเซีย ทองกวาวมีชื่ออื่นอีกคือ กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อีสาน).

ดู วงศ์ถั่วและทองกวาว

ทองหลางลาย

ทองหลางลาย, ทองหลางด่าง หรือ ทองเผือก (ภาคเหนือ) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 เซนติเมตร รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 เซนติเมตร ทองหลางลายกระจายพันธุ์ในเอเชียทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น เจริญได้ในสภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและปักชำ.

ดู วงศ์ถั่วและทองหลางลาย

ทองหลางป่า

ทองหลางป่า ภาษากะเหรี่ยงเรียกเชอโคว เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีหนามแหลมทั่วไป ใบประกอบ โคนก้านใบมีต่อม 1 คู่ ดอกช่อ ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกถั่ว สีแดงสด ดอกล่างบานก่อน กลีบดอกอันบนจะแผ่โค้งรูปเรือ ผลเป็นฝักแบน โคนฝักลีบ ปลายฝักใหญ่กว่า แก่แล้วจะแตกตามยาว ใบแก่สดใช้ตำพอก บำรุงร่างกาย ชาวกะเหรี่ยงนำเนื้อไม้ด้านในเปลือกต้นเอาไปฝนทำแป้งทาหน้า ทำให้ผิวขาว ไม่มีสิว.

ดู วงศ์ถั่วและทองหลางป่า

ทองเดือนห้า

ทองเดือนห้า เป็นไม้ยืนต้น เมื่อออกดอกจะผลัดใบ เปลือกลำต้นหนา มีหนามสั้น ดอกสีแดงสด ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ผลเป็นฝักทรงกระบอก.

ดู วงศ์ถั่วและทองเดือนห้า

ขี้หนอนเถา

ี้หนอนเถา เป็นพืชในวงศ์ Fabaceae เป็นไม้เลื้อย มีขนตามลำต้นและกิ่งก้าน ดอกสีเหลือง ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้นิ่ว.

ดู วงศ์ถั่วและขี้หนอนเถา

ขี้แรด

ี้แรด var. indochinensis ภาษากะเหรี่ยงเรียกเป๊อะฉี่กว่อ หรือเคละ ไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ ใบประกอบ มีต่อมสีเขียวที่โคนก้านใบ ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ดอกช่อ เกิดที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดเล็ก อัดกันแน่น กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลเดี่ยวรูปแบน แห้งแล้วแตก เปลือกต้นทุบแล้วนำไปแช่ในน้ำ ใช้เบื่อปล.

ดู วงศ์ถั่วและขี้แรด

ขี้เหล็ก

ี้เหล็ก จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น ในปี..

ดู วงศ์ถั่วและขี้เหล็ก

ขี้เหล็กอเมริกัน

ี้เหล็กอเมริกัน เป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (Caesalpinioideae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางถึงอเมริกาใต้ เดิมอยู่ในสกุลราชพฤกษ์ (Cassia) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-13 เมตร ทรงต้นแผ่กว้าง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อยรูปรี 10-15 คู่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง ยาว 30-40 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ขี้เหล็กอเมริกันมีคุณสมบัติในการปรับปรุงดิน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื้อไม้ใช้ทำเสาเรือนหรือของใช้ได้.

ดู วงศ์ถั่วและขี้เหล็กอเมริกัน

คราม (พืช)

รามหรือนาโค อยู่ในวงศ์ Leguminosae เป็นไม้พื้นเมืองในเอเชีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ฝักตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ใช้ทำสีย้อม ต้นครามมีกลูโคไซด์อินดิแคน เมื่อนำต้นไปแช่น้ำ สารน้ถูกเปลี่ยนเป็นอินดอกซิลและเมื่อถูกอากาศจะถูกเปลี่ยนเป็นอินดิโก-บลู ให้สีคราม ใช้เป็นยารักษาอาการทางประสาท บรรเทาอาการปวดแผลที่เกิดในบริเวณเยื่ออ่อน คนสมัยโบราณนิยมนำกิ่งครามทั้งใบมาแช่น้ำด่าง เพื่อหมักเอาน้ำคราม มาย้อมผ้า สีที่ได้คือสีน้ำเงินเข้ม เรียกว่า สีคราม นั่นเอง แต่ต้องย้อมซ้ำหลายครั้ง ครั้งแรก ๆ อาจได้เป็นสีฟ้าเข้ม ในการหมักนั้นมีกรรมวิธีที่เรียกว่าการ 'เลี้ยงคราม' หากทำไม่ถูกขั้นตอน ครามจะไม่ให้สี เรียกว่า 'ตาย' น้ำสีที่ยังไม่สมบูรณ์จะเห็นเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อโดนอากาศ จะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำเงิน ถึงสีครามในที่สุด ชาวอีสานเรียกสีครามว่าสีนิล สีหม้อ หรือสีหม้อนิล ชาวอีสานตอนบนนิยมนำไปย้อมผ้า และมัดเป็นลาย เรียกว่า ผ้าย้อมคราม แหล่งผลิตผ้าทอมือย้อมครามที่มีคุณภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งคือจังหวัดสกลนครเนื่องจากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวผู้ไทและมีการต่อยอด ออกแบบสีและลวดลายให้มีความปราณีตสวยงาม.

ดู วงศ์ถั่วและคราม (พืช)

ครามภู

รามภู subsp.

ดู วงศ์ถั่วและครามภู

ครามม้ง

รามม้ง เป็นพืชในสกุลคราม เป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนมีขนรูปตัว T แขนยาวเท่ากัน ขนสั้นนุ่ม ใบประกอบแบบขนนก ช่อดอกยาว มีขน กลีบดอกสีชมพู ฝักเหยียดตรง พบในอินเดียและพม่า ในไทยพบทางภาคเหนือ.

ดู วงศ์ถั่วและครามม้ง

ครามสมิตินันท์

รามสมิตินันท์ เป็นพืชในสกุลคราม กิ่งอ่อนมีขนแขนยาวเท่ากัน ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ กลีบดอกสีม่วงอ่อน เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไท.

ดู วงศ์ถั่วและครามสมิตินันท์

ครามสยาม

รามสยาม var.

ดู วงศ์ถั่วและครามสยาม

ครามหมอเคอร์

รามหมอเคอร์ เป็นพืชในสกุลคราม กิ่งอ่อนมีขนแขนยาวเท่ากัน ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ กลีบดอกสีขาวครีม ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง พบตามป่าไผ่ เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ดู วงศ์ถั่วและครามหมอเคอร์

ครามหลวง

รามหลวง เป็นพืชในสกุลคราม กิ่งอ่อนมีขนแขนยาวเท่ากัน ใบประกอบแบบขนนก ก้านช่อดอกมีขนหนาแน่น ดอกช่อ กลีบดอกสีชมพูอ่อน ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง แห้งไม่แตก เมล็ดทรงกลมเกลี้ยง พบในพม่า จีน ไต้หวัน ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก.

ดู วงศ์ถั่วและครามหลวง

ครามหิมาลัย

รามหิมาลัย เป็นพืชชนิดหนึ่งในวงศ์ Fabaceaeเป็นพืชพื้นเมืองในเทือกเขาหิมาลัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของทิเบต อยู่ในสกุลเดียวกับครามบ้านที่ใช้ทำครามย้อมผ้า เป็นไม้พุ่ม ออกดอกในฤดูร้อน ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวน.

ดู วงศ์ถั่วและครามหิมาลัย

ครามอุดร

รามอุดร เป็นพืชในสกุลคราม มีรากสะสมอาหาร กิ่งอ่อนมีขนแขนยาวเท่ากัน ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ กลีบดอกสีชมพู ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง เมล็ดทรงกระบอก ผิวเกลี้ยง เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ดู วงศ์ถั่วและครามอุดร

ครามขาว

รามขาว เป็นพืชในสกุลคราม พบในพม่า ลาว และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่นคล้ายกำมะหยี่ ใบประกอบแบบขนนก ช่อดอกยาว มีริ้วประดับรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกสีขาวครีม ฝักทรงกระบอกเหยียดตรง ปลายโค้งเล็กน้อย ฝักมีขนหนาแน่น เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้.

ดู วงศ์ถั่วและครามขาว

ครามขน

รามขน เป็นพืชในสกุลคราม กิ่งอ่อนมีขนแขนยาวต่างกันอยู่หนาแน่น ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ริ้วประดับรูปรีหรือสามเหลี่ยม กลีบดอกสีชมพู ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง พบในศรีลังกา อินเดีย พม่า จีน ไต้หวัน กัมพูชา ลาว และเวียดนาม พบในไทยเกือบทุก.

ดู วงศ์ถั่วและครามขน

ครามดอกม่วง

รามดอกม่วง เป็นพืชในสกุลคราม พบใน ศรีลังกา อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ พม่า จีน และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือตามริมถนน ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ริ้วประดับรูปสามเหลี่ยม ดอกสีม่วงเข้ม ฝักทรงกระบอก เหยียดทรง เกือบเกลี้ยง.

ดู วงศ์ถั่วและครามดอกม่วง

ครามดอกห่าง

รามดอกห่าง เป็นพืชในสกุลคราม เป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนมีขนที่มีแขนยาวเท่ากัน ใบประกอบแบบขนนก ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขนที่แขนยาวเท่ากัน ดอกช่อ กลีบดอกสีชมพู ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย พบทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้.

ดู วงศ์ถั่วและครามดอกห่าง

ครามดอย

รามดอย เป็นพืชในสกุลคราม กิ่งอ่อนมีขนแขนยาวเท่ากัน ใบประกอบแบบขนนก มีขน ดอกช่อ กลีบดอกสีม่วง ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง พบในจีน ในไทยพบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ดู วงศ์ถั่วและครามดอย

ครามคาย

รามคาย เป็นพืชในสกุลคราม มีรากสะสมอาหาร ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกช่อ กลีบดอกสีแดงอมชมพู ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง มีขนหนาแน่น เมล็ดทรงกระบอก พบในพม่า จีน ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ หน้า 61.

ดู วงศ์ถั่วและครามคาย

ครามตีนกา

รามตีนกา เป็นพืชในสกุลคราม กิ่งอ่อนมีขนแขนยาวเท่ากัน ใบประกอบแบบขนนก ขนที่ใบมีต่อม ดอกช่อ กลีบดอกสีชมพู ฝักมีสันชัดเจน มีขน พบในอินเดีย จีน พม่า ไต้หวัน เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในไทยพบในภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้.

ดู วงศ์ถั่วและครามตีนกา

ครามต่อม

รามต่อม เป็นพืชในสกุลคราม เป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนมีทั้งขนรูป T และขนแบบมีต่อม ใบประกอบแบบขนนก มีขนแบบต่อมตามใบ ดอกช่อยาว มีขน กลีบดอกสีชมพูฝักทรงกระบอก เหยียดตรง มีขนและขนต่อมหนาแน่น เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พบในศรีลังกา อินเดีย พม่า และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือ.

ดู วงศ์ถั่วและครามต่อม

ครามป่า

รามป่า เป็นพืชในวงศ์ถั่ว เป็นไม้พุ่มมีขนปกคลุมตามลำต้นและกิ่งก้าน มีใบประกอบ มีดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลเป็นฝักทรงกระบอก มีเมล็ด 8-10 เมล็ด ขนเมื่อถูกร่างกายทำให้เป็นผื่นแดง.

ดู วงศ์ถั่วและครามป่า

ครามป่าใบต่าง

รามป่าใบต่าง เป็นพืชในสกุลคราม พบในกัมพูชา ลาว เวียดนาม ในไทยพบทางภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ดอกย่อยสีชมพู ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง เมล็ดทรงกระบอก สีเหลือง มันวาว.

ดู วงศ์ถั่วและครามป่าใบต่าง

ครามป่าใบแหลม

รามป่าใบแหลม subsp.

ดู วงศ์ถั่วและครามป่าใบแหลม

ครามนอก

รามนอก เป็นพืชในสกุลคราม พบใน ลาว เวียดนาม เกาะสุมาตรา ในไทยพบทางตะวันออกเฉียงเหนือตามทุ่งโล่งและริมถนน กิ่งอ่อนมีขนกระจายทั่วไป ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ดอกย่อยสีชมพู ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง.

ดู วงศ์ถั่วและครามนอก

ครามใบแถบ

รามใบแถบ เป็นพืชในสกุลคราม กิ่งอ่อนมีขนสีขาวหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกช่อ กลีบดอกสีชมพู ฝักมนหรือกลม มีขนหนาแน่น พบในพม่า ศรีลังกา อินเดีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา และเวียดนาม ในไทยพบทุกภาคยกเว้นภาคใต้.

ดู วงศ์ถั่วและครามใบแถบ

ครามใบเล็ก

รามใบเล็ก เป็นพืชในสกุลคราม กิ่งอ่อนมีขนแขนยาวเท่ากัน ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ กลีบดอกสีชมพูอ่อน ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พบในประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า จีน กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก.

ดู วงศ์ถั่วและครามใบเล็ก

ครามเช้า

รามเช้า เป็นพืชในสกุลคราม เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อยาว มีริ้วประดับรูปแถบ กลีบดอกสีขาว ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง พบในจีนและลาว ในไทยพบทางภาคเหนือ.

ดู วงศ์ถั่วและครามเช้า

ครามเลื้อย

รามเลื้อย เป็นพืชในสกุลคราม เป็นไม้พุ่มทอดเลื้อย มีทั้งขนที่แขนยาวเท่ากันและต่างกัน ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ กลีบดอกสีชมพู ฝักมนหรือกลม เมล็ดเกลี้ยง มันวาว.

ดู วงศ์ถั่วและครามเลื้อย

ครามเถื่อน

รามเถื่อน เป็นพืชในสกุลคราม กิ่งอ่อนมีขนแขนยาวเท่ากัน ใบประกอบแบบขนนก ผิวใบด้านล่างมีขนหนาแน่นกว่าด้านบน ดอกช่อ กลีบดอกสีชมพู ฝักทรงกระบอก ปลายโค้งงอขึ้น เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นมันวาว ใช้ทำสีครามย้อมผ้า พบในอินเดีย จีน ไต้หวัน กัมพูชา ลาว เวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ เมล็ด ใ.

ดู วงศ์ถั่วและครามเถื่อน

ครามเขา

รามเขา เป็นพืชในสกุลคราม เป็นไม้พุ่มมีทั้งขนที่แขนยาวเท่ากันและต่างกัน ใบประกอบแบบขนนก เรียงเวียน ดอกช่อยาว กลีบดอกสีชมพูเข้มหรือแดง ฝักทรงกระบอก เกลี้ยง เมล็ดทรงกระบอก พบในอินเดีย พม่า ในไทยพบในภาคเหนือ.

ดู วงศ์ถั่วและครามเขา

ครามเครือ

รามเครือ var.

ดู วงศ์ถั่วและครามเครือ

คารอบ

รอบ (carob, carob tree) อยู่ในวงศ์ถั่ว เป็นพืชท้องถิ่นในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะคล้ายต้นมะขามเทศ ใบมันขนาดใหญ่ เปลือกหุ้มต้นหนา ฝักสีเขียว เมื่อแก่จะผลิตน้ำหวานสีน้ำตาลเยิ้มออกมาจากฝัก เป็นอาหารของแพะและสัตว์ป่าอื่นๆ และใช้ทำอาหารได้หลายชนิดพบที่ อิสราเอล ตุรกีและสเปน.

ดู วงศ์ถั่วและคารอบ

คาร์นิทีน

ร์นิทีน เป็นสารประกอบจตุรภูมิของแอมโมเนียมที่สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนสองชนิดคือ ไลซีนและเมธไทโอนีน ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคาร์นิทีนจะลำเลียงกรดไขมันจากไซโตซอลเข้าสู่ไมโทคอนเดรียระหว่างการสลายของลิพิด (ไขมัน) เพื่อใช้ในการเผาผลาญพลังงาน คาร์นิทีนถูกใช้เป็นอาหารเสริมกันอย่างกว้างขวาง เดิมคาร์นิทีนพบว่าเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของหนอนนกและมีอยู่บนฉลากวิตามินบี คาร์นิทีนมีอยู่ 2 stereoisomers: Active form คือ L-carnitine ขณะที่ inactive form คือ D-carnitine.

ดู วงศ์ถั่วและคาร์นิทีน

ตองหมอง

ตองหมอง (O.Ktze) Ohashi.

ดู วงศ์ถั่วและตองหมอง

ประดู่

ประดู่เต็ม สมิตินันทน.

ดู วงศ์ถั่วและประดู่

ประดู่บ้าน

ลำต้นเคลือบด้วยเปลือกเป็นเม็ด ๆ ประดู่บ้านเต็ม สมิตินันทน.

ดู วงศ์ถั่วและประดู่บ้าน

ประดู่แดง

ประดู่แดง (ชื่อวิทยาศาสตร์:Phyllocarpus septentrionalis Donn. Smith) เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10 -12 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง ผลัดใบ ใบเป็นรูปมนรีออกเป็นคู่ สลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสีแดงสด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะทยอยกันบานไล่ขึ้นไปตั้งแต่โคนก้านช่อจนถึงปลายช่อ เวลาบานจะแดงสพรั่งทั้งต้น เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม*มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน มีถิ่นกำเนิดในประเทศกัวเตมาลา ทวีปอเมริกาใต้.

ดู วงศ์ถั่วและประดู่แดง

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า - ชะตากรรมของสังคมมนุษย์ (Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies) เป็นหนังสือสารคดีหลายสาขาวิชาของ.ดร.

ดู วงศ์ถั่วและปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า

นนทรี

นนทรี เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว ทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน นนทรีมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีก ดังนี้ กระถินแดง (ตราด) กระถินป่า (ตราด, สุโขทัย) และสารเงิน (เชียงใหม่, เหนือ)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ดู วงศ์ถั่วและนนทรี

แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้

แหนแดง เซลล์ของ Azotobacter แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้ (Nitrogen fixing bacteria หรือ Diazotroph)เป็นแบคทีเรียหรืออาร์เคียที่ใช้ก๊าซไนโตรเจนเป็นแหล่งไนโตรเจนได้ โดยเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้กลายเป็นแอมโมเนี.

ดู วงศ์ถั่วและแบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้

แมคาเดเมีย

แมคาเดเมีย (macadamia) เป็นไม้ยืนต้นจำพวกหนึ่งที่อยู่ในวงศ์เหมือดคน (Proteaceae) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Macadamia integrifolia แม้ว่าแมคาเดเมียจะมีลักษณะเหมือนถั่ว แต่มันกลับไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เพราะไม่ได้อยู่ในวงศ์ Fabaceae แต่ถึงอย่างไรก็ตามมันก็เป็นต้นไม้ประเภทนัทที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมากและมีราคาสูง ต้นไม้ชนิดนี้จะให้ผลดีก็ต่อเมื่อปลูกบนพื้นที่ค่อนข้างสูงเท่านั้น แมคาเดเมียเป็นพืชหนึ่งในเก้าสายพันธุ์ของดอกพืชในวงศ์ Proteaceae ซึ่งมีอยู่ตามพื้นที่ทางภาคตะวันออกของออสเตรเลีย นิวแคลิโดเนียและ สุลาเวสี ในอินโดนีเซี.

ดู วงศ์ถั่วและแมคาเดเมีย

แสลงพันกระดูก

แสลงพันกระดูก เป็นพืชในสกุลชงโค เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ มีมือเกาะ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล หูใบร่วงง่าย ใบเดี่ยว เส้นแขนงใบมีขนสีน้ำตาล ดอกช่อ ดอกสีขาวอมเขียว ก้านกลีบสีแดง ฝักแบน เถาใช้ทำยาแก้น้ำเหลืองเสี.

ดู วงศ์ถั่วและแสลงพันกระดูก

แสลงพันเถา

แสลงพันเถาหรือเสี้ยวเครือ เสี้ยวส้ม เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ในสกุลชงโค ใบเดี่ยว ดอกสีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ติดผลเป็นฝักแบน ใช้บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อย ขับประจำเดือน แก้น้ำเหลืองเสียและผื่นคันตามผิวหนัง.

ดู วงศ์ถั่วและแสลงพันเถา

แห้วประดู่

แห้วประดู่ เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Leguminosae ต้นตั้งตรง มีกิ่งน้อยหรือไม่มี มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม โคนต้นใต้ดินเกิดเป็นหัวรูปยาว ใบประกอบ หูใบเป็นแบบเส้นด้าย ก้านใบมีขนแข็งและหยาบปกคลุม ดอกสีเหลืองอ่อน บางครั้งมีแถบสีม่วง ผลเป็นฝักรูปข้อ แก่แล้วแตก สีออกดำ พบในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน หัวรับประทานได้ มีแป้ง 30% ของน้ำหนักแห้ง.

ดู วงศ์ถั่วและแห้วประดู่

แอลแฟลฟา

แอลแฟลฟา (alfalfa) หรือ ลูเซิร์น (lucerne) จัดเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีฝัก เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตกและแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นพืชชนิดแรก ๆ ที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก เติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก แอลแฟลฟามีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่รากของ แอลแฟลฟาสามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารได้มากกว่าและบริสุทธิ์กว่า อีกทั้งตัวของ แอลแฟลฟาเองก็จะไม่สะสมสารพิษ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก "แอลแฟลฟา" มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มความเร็วและแข็งแรงให้กับม้า อีกทั้งยังใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายชาวอาหรับจึงขนานนาม แอลแฟลฟาให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA หรือ "ราชาแห่งอาหารทั้งมวล" ได้มีการใช้แอลแฟลฟาเพื่อการรักษาทางการแพทย์มาตั้งแต่ในสมัยโบราณ โดยแพทย์ชาวจีนได้ใช้ใบแอลแฟลฟาอ่อนในการรักษาอาการย่อยไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบและดอกสำหรับการรักษากระบวนการย่อยทำงานที่ทำงานได้น้อย นอกจากนี้ แอลแฟลฟายังใช้เพื่อการบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ ชาวอินเดียนในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้ แอลแฟลฟาในการรักษาโรคดีซ่าน และช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด แพทย์ที่ใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดในสหรัฐอเมริการได้แนะนำให้ใช้ แอลแฟลฟาเป็นยาสำหรับอาการย่อยไม่เป็นปกติ ภาวะโลหิตจาง เบื่ออาหารและอาการการดูดซึมอาหารไม่ดี นอกจากนี้ยังแนะนำว่า แอลแฟลฟามีส่วนกระตุ้นให้การหลั่งน้ำนมในแม่ดีขึ้นอีกด้ว.

ดู วงศ์ถั่วและแอลแฟลฟา

แดง (พรรณไม้)

ำหรับแดงในความหมายอื่น ดูที่: แดง แดง เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร (สูงสุด 37 เมตร) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) แดง เป็นไม้ที่ชอบขึ้นในป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ และป่าสัก กระจายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยขึ้นได้ทั่วทุกภาค ลำต้นค่อนข้างเปล่า ตรง หรือเป็นปุ่มปม เรือนยอดรูปทรงกลม หรือเก้งก้าง ไม่ค่อยแน่นอน สีเขียวอมแดง เปลือกเรียบสีเทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ รอบลำต้น เมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุม ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ก้านใบยาว 2–7 เซนติเมตร ช่อใบยาว 10–22 เซนติเมตร แต่ละช่อมีใบย่อย 4–5 คู่ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน แผ่นใบมักจะเบี้ยว มีขนาดไม่เท่ากัน กว้าง 3–7 เซนติเมตร ยาว 7–20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมมน ฐานใบมักจะเบี้ยว ใบแก่ไม่มีขนปกคลุม หรืออาจจะมีขนประปรายด้านท้องใบเล็กน้อย ก้านใบย่อยยาว 2–4 มิลลิเมตร ดอกสีเหลือง ขนาดเล็ก ขึ้นอัดกันแน่นบนช่อกลมเดี่ยว ๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง แต่ละช่อประมาณ 1.4 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 2–5 เซนติเมตร มีขนปกคลุมประปราย กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ตรงปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ มีขนสีเหลืองปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบติดกันเล็กน้อยที่บริเวณฐาน เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกจากกันเป็นอิสระยื่นออกมานอกดอก ดอกจะออกมาพร้อมกับใบอ่อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ฝักจะแก่ประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานเรียวและโค้งงอที่ส่วนปลาย ฝักแข็ง ยาวประมาณ 7–10 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบ ไม่มีขนปกคลุม ไม่มีก้าน เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ผนังของฝักที่แตกมักจะม้วนบิดงอ เมล็ดแบนเรียวแหลม ยาวรีหรือเกือบกลม ยาว 0.4–0.7 นิ้ว กว้าง 0.35–0.5 นิ้ว สีน้ำตาลเป็นมัน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งขอประมาณ เมล็ดแม้จะผ่านไปเป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปี ก็สามารถงอกได้หากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ผักหนึ่งมีจำนวนหลายเมล็ด เปลือกต้นแดง แดง เป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์ ด้วยการใช้เนื้อไม้ในเชิงอุตสาหกรรมป่าไม้ ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ต่าง ๆ เนื้อไมีสีแดงเรื่อ ๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นลูกคลื่น หรือมักสน เนื้อละเอียดพอประมาณ มีความแข็งแรง มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.18 ดอก เปลือกและ แก่นใช้บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้ช้ำใน แดงเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตาก และมีชื่อเรียกต่างออกไปตามแต่ละท้องถิ่น อาทิ "คว้าย" (เชียงใหม่, กาญจนบุรี), "ไคว" (แพร่ แม่ฮ่องสอน) "จะลาน, จาลาน, ตะกร้อม, สะกรอม" (จันทบุรี), "ปราน" (สุรินทร์) เป็นต้น.

ดู วงศ์ถั่วและแดง (พรรณไม้)

แค

แค เป็นต้นไม้ขนาดเล็กในสกุลโสน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: แคบ้าน (กลาง) แคขาว แคแดง (กทม. เชียงใหม่) แค (กลาง) แคดอกแดง แคดอกขาว.

ดู วงศ์ถั่วและแค

แคฝรั่ง

แคฝรั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gliricidia sepium (Jacq.) Kunth ex Walp. ชื่อสามัญ:Mata Raton) ในฮอนดูรัสเรียก Cacao de nance หรือ cacahnanance ในฟิลิปปินส์เรียก Kakawate ในกัวเตมาลาเรียก Madre Cacao หรือ Madre de Cacao ในนิคารากัวเรียก Madero negro เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีเนื้อไม้ขนาดกลาง เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ในประเทศไทย ดอกแคฝรั่งนี้เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ดอกแคฝรั่งในติมอร์ตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย 150px.

ดู วงศ์ถั่วและแคฝรั่ง

แซะ

ต้นแซะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Callerya atropurpurea Benth; ชื่ออื่น: กะแซะ (สุราษฏร์ธานี), ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส), แซะ (ทั่วไป)) เป็นไม้ต้นผลัดใบในวงศฺ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกลำต้นเรียบ ผิวสีน้ำตาลหรือเทา มีพูพอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ ทรงดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีเขียว เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีแดงแกมม่วงทึบ เกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่กลางดอก กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นผลเดี่ยว ผลอ่อนแบน เมื่อผลแก่ เมล็ดขยายใหญ่จนเกือบเป็นทรงกระบอก มี 1-3 เมล็ด แซะขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด เหมาะสมกับสภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ถิ่นกำเนิดอยู่ตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ของไท.

ดู วงศ์ถั่วและแซะ

ใบไม้สีทอง

ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ใบอ่อนมีมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เป็นพืชถิ่นเดียวพบเฉพาะในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลาเป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกโดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม ที่น้ำตกบาโจ จังหวัดนราธิว.

ดู วงศ์ถั่วและใบไม้สีทอง

โกฐนษิณี

กฐนษิณี อยู่วงศ์ถั่ว เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตรง มีขนละเอียดเล็กน้อย ใบเดี่ยว ผิวใบมีต่อมเป็นจุดสีดำ หูใบรูปเดี่ยว ดอกช่อ กลีบดอกสีฟ้าหรือสีเหลือง ผลเป็นฝัก ปลายเป็นติ่งสีออกดำ ไม่แตก กลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดรูปไต สีน้ำตาลเข้ม กระจายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ มีปลูกในอินเดียและจีน เมล็ดใช้เป็นยาแก้หอบหืด ท้องเสีย น้ำมันจากเมล็ดใช้ทารักษาโรคเรื้อนกวาง.

ดู วงศ์ถั่วและโกฐนษิณี

โยทะกา

งโคลาย หรือจงโค เป็นพืชในวงศ์ถั่ว กระจายพันธ์ตั้งแต่มาดากัสการ์ พม่า, ออสเตรเลีย, เกาะคริสต์มาส, ทะเลแคริบเบียน, ภาคใต้ของสหรัฐ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก.

ดู วงศ์ถั่วและโยทะกา

โสน

น, โสนหิน หรือ โสนกินดอก เป็นพืชประจำถิ่นในทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นไม้ในตระกูลปาปิโอนีอี เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติทั่วไปในที่ชื้นแฉะ โดยเฉพาะตามริมคลองและริมคันนา ชื่อสามัญอื่น ๆ คือ โสนดอกเหลือง ทางพายัพเรียก ผักฮองแฮง ทางกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก สีปรีหล.

ดู วงศ์ถั่วและโสน

โสน (สกุล)

น (อ่านว่า) เป็นพืชในสกุล Sesbania เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ สีเหลือง รูปร่างแบบดอกแคหรือดอกถั่ว.

ดู วงศ์ถั่วและโสน (สกุล)

โผงเผง

ผงเผง อยู่ในวงศ์ Fabaceae ภาษากะเหรี่ยงเรียก หน่อทอแมหรือนากี่เคอะ เป็นไม้ล้มลุก มีขนทั่วลำต้น มีกลิ่นเหม็นเอียน ใบประกอบ ดอกช่อ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบบดอกสีเหลือง เกสรตัวผู้ 10 อัน ผลเป็นฝักโค้ง มีขนปกคลุมหนาแน่น เมล็ดจำนวนมาก สีแดงเข้ม ชาวกะเหรี่ยงนำเมล็ดแก่นำไปคั่วไฟอ่อน แล้วนำมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นน้ำชา มีกลิ่นหอม.

ดู วงศ์ถั่วและโผงเผง

ไฟโตอเล็กซิน

ฟโตอเล็กซิน (Phytoalexin)เป็นสารอินทรีย์มวลโมเลกุลต่ำที่พืชสร้างขึ้นหลังการติดเชื้อ ตรวจพบมากมายหลายชนิด แต่สารชนิดนี้ไม่ได้พบในพืชทุกกลุ่ม ส่วนใหญ่พบในพืชตระกูลถั่วพืชวงศ์มะเขือ ส่วนพืชตระกูลหญ้ามีรายงานว่าพบเฉพาะในข้าว ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง แต่ไม่พบในข้าวโพด การสังเคราะห์ไฟโตอเล็กซินเกิดในบริเวณที่ติดเชื้อ และสะสมมากในเซลล์ที่ตายแล้ว ไฟโตอเล็กซินมีฤทธิ์ฆ่าทั้งเชื้อก่อโรคและเซลล์พืชเองเพื่อสกัดไม่ให้โรคลุกลามต่อไป.

ดู วงศ์ถั่วและไฟโตอเล็กซิน

ไฟเตต

ฟเตต (phytate) หรือ Phytic acid พบมากในพืชตระกูลถั่วโดยเฉพาะถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และงา มีฤทธิ์ในการยั้บยั้งการดูดซึมของแร่ธาตุบางชนิด ได้แก่ ธาตุเหล็ก สังกะสี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งมีอยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป หากร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านั้นได้ตามปกติ ไฟเตตสามารถสลายไปได้โดยการใช้ความร้อน ดังนั้น ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน.

ดู วงศ์ถั่วและไฟเตต

ไมยราบ

ฝักและเมล็ดของไมยราบ ไมยราบ (อ่านว่า "ไม-ยะ-ราบ") (มาจากภาษาละติน: pudica แปลว่า "อาย ชมดชม้อย เหนียมอาย หรือหดลง") ภาษาอังกฤษ: sensitive plant, sleepy plant หรือ the touch-me-not ก็เรียก เป็นพืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน ต้นมีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝักยาวเรียวแบน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ไมยราบมักถูกปลูกขึ้นตามความอยากรู้อยากเห็นของผู้ปลูก โดยที่ใบประกอบสามารถพับเข้าหากันด้านใน หรือหุบได้ เมื่อถูกสัมผัส หรือเขย่า เพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่าง ๆ และจะบานออกอีกครั้งเมื่อผ่านไปราวหนึ่งนาที พืชในตระกูลใกล้เคียงกันและมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันได้แก่ ผักกระเฉด ในทางสมุนไพร ไมยราบมีรสจืดเฝื่อน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ระดูขาว แก้ไตพิการ ต้นแห้งต้มกับน้ำกินแก้อ่อนเพลีย ตานขโมย โรคกระเพาะอาหาร ใช้ทาแก้ผื่นคันและหัด ใบสดตำผสมกับเกลือและพิมเสน ใช้พอกแผลพุพอง รากแห้ง ต้มน้ำแก้ปวดประจำเดือน ปวดศีรษ.

ดู วงศ์ถั่วและไมยราบ

ไมยราบยักษ์

มยราบยักษ์ (pricky wood weed, mimosa, giant sensitive plant, catclaw mimosa, black mimosa) เป็นพืชดอกมีลักษณะเป็นไม้พุ่มในวงศ์ถั่ว เป็นวัชพืชต่างถิ่นประเภทรุกรานที่มีความรุนแรง เนื่องจากสามารถเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีความทนต่อสภาพน้ำท่วมและแห้งแล้งได้ดี.

ดู วงศ์ถั่วและไมยราบยักษ์

ไมยราบไร้หนาม

มยราบไร้หนาม หรือ ไมยราบเลื้อย หรือ ไมยราบวัว (Giant sensitive plant) ไม้ล้มลุกกึ่งทอดเลื้อย อายุหลายปีในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ชนิดหนึ่ง มีลำต้นสี่เหลี่ยม มีหนาม แหลมเป็นแง่งและขนสากปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ยาวได้ถึง 22 เซนติเมตร ใบย่อยชั้นแรก 6-9 คู่ มีหนามแหลม ตลอดแผงก้านใบ ใบย่อยชั้นรอง 15-30 คู่ รูปขอบขนาน ดอก สีม่วงแดงแกมชมพู ออกเป็นช่อกลมที่ซอกใบ ขนาด 12-15 มิลลิเมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบรองดอกรูประฆัง กลีบดอก เชื่อมกันที่ฐาน ปลายแยก 4 กลีบ รูปไข่ ปลายมน เกสรผู้ 8 อัน ก้านชูเกสร ยาว 6-7 มิลลิเมตร รังไข่รูปรีแบน ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย กว้าง 5 มิลลิเมตร ยาว 25-35 มิลลิเมตร ติดกันแน่น เป็นกระจุก ผิวมีหนาม ผลแก่สีน้ำตาลอ่อน มี 3-6 เมล็ด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นวัชพืชร้ายแรง พบทั่วไปตามที่รกร้างหรือที่เปิดโล่ง ที่ระดับความสูงได้ถึง 1,200 เมตร ออกดอกช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม ไมยราบไร้หนาม มีประโยชน์ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดและพืชคลุมดินได้ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เพิ่มสัดส่วนของช่องอากาศในดิน ทำให้ดินร่วนซุย และเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน แต่ไม่เหมาะสมนำมาเป็นอาหารสัตว์หากไม่เข้าใจวิธีดำเนินการเนื่องจากมีสารไนเตรท-ไนโตรเจน สะสมอยู่ในลำต้นและใบในปริมาณสูงพอที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษขึ้นได้ เมื่อสัตว์กินเข้าไปในปริมาณมาก โดยเฉพาะในช่วงต่อระหว่างฤดูแล้งกับฤดูฝน ภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิและความชื้น โดยเฉพาะสัตว์จำพวกโค-กระบือ หากกินเข้าไปจะเป็นพิษมากกว่าแพะและม้า นอกจากนี้ในต้นไมยราบไร้หนามยังมีสารไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบ ไมยราบไร้หนาม สันนิษฐานว่าเป็นต้นเหตุของการตายของกระทิงจำนวนหลายตัวในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีในช่วงต้นปี..

ดู วงศ์ถั่วและไมยราบไร้หนาม

ไรโซเบียม

รโซเบียม (Rhizobium) เป็นจีนัสของแบคทีเรียที่อยู่ในปมรากของพืชตระกูลถั่ว มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอดวงชีวิต แหล่งพลังงานของไรโซเบียมได้แก่ มอลโตส ซูโครส กลูโคสและแมนนิทอลแต่ไม่สามารถใช้เซลลูโลส แป้งและเพกตินเป็นแหล่งพลังงานได้ สมศักดิ์ วังใน.

ดู วงศ์ถั่วและไรโซเบียม

ไดแคมบา

แคมบา (Dicamba; 3,6-dichloro-2-methoxybenzoic acid)เป็นสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ควบคุมวัชพืชกลุ่มกุหลาบปีเดียวและหลายปีในไร่องุ่นและที่ดอน กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีรวมทั้งพืชตระกูลถั่ว ใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชชนิดอื่น เช่น phenoxyalkanoic acid เพื่อควบคุมวัชพืชในบริเวณที่ไม่ได้เพาะปลูก ชื่อทางการค้า เช่น Banvel, Oracle และ Vanquish ออกฤทธิ์เป็นออกซินได้ด้ว.

ดู วงศ์ถั่วและไดแคมบา

เพลี้ยอ่อนถั่ว

ลี้ยอ่อนถั่ว (Koch.) เป็นแมลงประเภทปากดูด (sucking pest) ดูดกินน้ำเลี้ยงจากทุก ๆ ส่วนของพืช เช่น ลำต้น ใบ ยอด กิ่ง และดอก ตลอดจนฝัก โดยใช้ปากแบบเจาะดูดแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อพืช แล้วดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ยอด และใบอ่อน มีอาการหงิกงอ และเหี่ยวแห้ง ทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่นไป เมื่อพืชถูกทำลายมาก ๆ จะหยุดเจริญเติบโตและตายได้ เป็นพาหะนำไวรัสมาสู่พืชตระกูลถั่ว ทำให้เกิดโรคใบด่าง (Mosaic) ซึ่งเป็นโรคของใบที่สำคัญมากของถั่วฝักยาวที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุดารัตน์ หอมหวล ยุวดี ชูประภาวรรณ และวิรัตน์ จันทร์ตรี.

ดู วงศ์ถั่วและเพลี้ยอ่อนถั่ว

เกล็ดปลาหมอ

เกล็ดปลาหมอ มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตรง ลักษณะใบเป็นแบบขนนกเรียงสลับจะมีใบย่อย 3 ใบ ดอกของมันจะเป็นกระจุกที่ซอกใบ มีใบประดับลักษณะคล้ายเกล็ดปลา ประกบหุ้มไว้ 2 ใบ กลีบดอกสีขาว รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝักแบนยาว มีสรรพคุณทางสมุนไพร ใช้รากต้มน้ำดื่มเพื่อแก้โรคตับพิการ หมวดหมู่:สมุนไพร หมวดหมู่:วงศ์ย่อยถั่ว.

ดู วงศ์ถั่วและเกล็ดปลาหมอ

เสียดเครือ

ียดเครือ เป็นพืชในสกุลคราม เป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนมีขนกระจายทั่วไป ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ ริ้วประดับรูปใบหอก กลีบดอกสีชมพู ฝักทรงกระบอก เหยียดตรง พบใน อินเดีย พม่า จีน ไต้หวัน ลาว และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ.

ดู วงศ์ถั่วและเสียดเครือ

เสี้ยว (พืช)

ี้ยว เป็นพืชในวงศ์ถั่ว สกุลชงโค ในทางสมุนไพร เสี้ยวมีฤทธิ์ทางใช้ ฟอกโลหิต แก้ไอ แก้ไข้ ขับโลหิตระดู ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรี.

ดู วงศ์ถั่วและเสี้ยว (พืช)

เสี้ยวฟ่อน

ี้ยวฟ่อน var.

ดู วงศ์ถั่วและเสี้ยวฟ่อน

เสี้ยวดอกขาว

''Bauhinia variegata'' เสี้ยวดอกขาว (ภาษากะเหรี่ยง: โพะเพ่; ภาษาฮินดี:कचनार, ภาษาสันสกฤต: कोविदार ภาษาอูรดู: کچنار) เป็นพืชมีดอกชนิดหนึ่งในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชีย แพร่กระจายในจีนไปจนถึงปากีสถานและอินเดีย ชื่อสามัญอื่นๆ ได้แก่ กล้วยไม้ต้น (Orchid tree) ต้นเท้าอูฐ (Camel's Foot Tree) และ Mountain-ebony Kachnar (ภาษาฮินดีภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู) หรือ Kanchan(ภาษาเบงกาลี) ในจังหวัดปัญจาบของปากีสถาน เรียกพืชนี้ว่า Kolaar کلاڑ ซึ่งต่างจากชื่อในภาษาอูรดู พันธุ์ ''candida'' ในเมืองไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 10-12 เมตร ใบยาว 10-20 เซนติเมตร และกว้าง กลม เป็นสองซีกแบบใบชงโค ดอกสีชมพูอ่อนหรือสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร มี 5 กลีบ ผลยาว มีหลายเมล็ด เป็นพืชที่นิยมใช้ในการจัดสวน และใช้ดึงดูดนกฮัมมิงเบิร์ด เช่น Sapphire-spangled Emerald (Amazilia lactea), Glittering-bellied Emerald (Chlorostilbon lucidus) หรือ White-throated Hummingbird (Leucochloris albicollis) ให้เข้ามาในสวนBaza Mendonça & dos Anjos (2005) แต่ในบางบริเวณ อาจกลายเป็นพืชรุกรานได้.

ดู วงศ์ถั่วและเสี้ยวดอกขาว

เสี้ยวเครือ

ี้ยวเครือ เป็นพืชในสกุลชงโค เปลือกลำต้นแตกเป็นร่องลึกหรือเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลเข้ม ดอกช่อ มีขนกระจายทั่วไป ผลเป็นฝักแห้งแตก เมล็ดรูปไข่กลับ เกลี้ยง สีน้ำตาล เถาใช้เป็นยาฟอกโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ผื่นคัน.

ดู วงศ์ถั่วและเสี้ยวเครือ

เหรียง

หรียง ชื่ออื่น ได้แก่ กะเหรี่ยง, เรียง, สะเหรี่ยง (ใต้); นะกิง, นะริง (มลายู-ใต้); สะตือ (ใต้)เป็นพืชในวงศ์ Mimosaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-50 เมตร ไม่ค่อยมีกิ่งก้านที่ลำต้น เปลือกเรียบและหนาสีเทาปนเขียวอ่อน มีกลิ่นฉุน ลักษณะทั่วไปคล้ายสะตอ แต่พุ่มใบแน่น และเขียวทึบกว่า ใบใหญ่และหนากว่าสะตอ ลักษณะใบเป็นแบบช่อ ใบประกอบมี 18-33 คู่ ใบแคบปลายแหลม ใบแก่จะเป็นสีเหลืองร่วงเกือบหมดต้น และผลิใบใหม่แทน ลักษณะดอกเป็นดอกช่อแบบสะตอ ออกที่ปลายยอด เป็นก้านยาวสีเขียวสลับน้ำตาล ลักษณะผลเป็นฝัก กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยางประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่ ประมาณ 15-20 เมล็ดต่อฝัก ฝักแก่เต็มที่มีสีดำ เมล็ดในสีดำ เนื้อในเมล็ดมีสีเขียวเข้ม และมีกลิ่นฉุน เปลือกต้นเป็นยาสมานแผล ลดน้ำเหลือง เมล็ดเมื่อแก่ตัดส่วนปลายนำไปเพาะให้แตกรากสั้น ๆ รับประทานสดหรือดอง ใช้เป็นผักเหนาะและนำไปประกอบอาหาร ทั้งผัดและแกง เช่น แกงหมูกับลูกเหรียง.

ดู วงศ์ถั่วและเหรียง

เผ่าคราม

ผ่าคราม (Indigofereae) เป็นการแบ่งย่อยระดับเผ่าของวงศ์ Fabaceae ซึ่งสกุลในเผ่านี้ได้แก่.

ดู วงศ์ถั่วและเผ่าคราม

เครือขยัน

รือขยัน หรือย่านางแดง เป็นไม้เลื้อยในสกุลชงโค และวงศ์ถั่ว จัดเป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เปลือกรากขรุขระมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็กๆทั่วไป เนื้อไม้ภายในรากสีน้ำตาลแดง เถาแบน มีร่องตรงกลาง เปลือกสีออกเทาน้ำตาล เมื่อแก่เถากลม สีน้ำตาลแดง ใบรูปไข่แกมขอบขนาน ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ในทางยาสมุนไพรมีฤทธิ์แก้ท้องเสีย ฝาดสมาน ใช้ ใบ เถา และราก เป็นยาเช่นเดียวกับย่านางแต่มีฤทธิ์แรงกว่า ใช้ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง แก้ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก ใช้ฝนกับน้ำ หรือต้มน้ำดื่ม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เป็นส่วนผสมของยาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น.

ดู วงศ์ถั่วและเครือขยัน

เต่ายูนิฟอรา

ต่ายูนิฟอรา (Ploughshare tortoise, Madagascar tortoise, Angonoka, Madagascar angulated tortoise) สัตว์เลื้อยคลานประเภทเต่า จำพวกเต่าบกชนิดหนึ่ง เต่ายูนิฟอรา มีลักษณะเด่น คือ กระดองจะกลมสูงกว่าเต่าชนิดอื่น ๆ ตรงขอบด้านข้างของกระดอง จะยังคงมีลายสามเหลี่ยมสีเข้มชี้ขึ้นข้างบน โดยที่ฐานของสามเหลี่ยมจะชนกันทำให้ส่วนล่างของขอบกระดองด้านข้างเป็นสีดำ แลดูคล้ายแฉกของดาว จัดว่าเป็นเต่าที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว (44.5 เซนติเมตร) และตัวเมียประมาณ 15 นิ้ว (38 เซนติเมตร) กินพืชจำพวกใบไม้ตระกูลถั่ว โดยเฉพาะที่อยู่ในสกุลชงโค (Bauhinia) เป็นอาหารหลักมากถึงร้อยละ 90 ที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นหญ้า เป็นเต่าที่พบได้เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์ ในป่าละเมาะใกล้ชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใกล้กับอ่าวบาลีเบย์ที่เดียวเท่านั้น ด้วยความสวยงามจึงมักถูกจับนำมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ ๆกอรปกับพื้นที่อาศัยถูกบุกรุกแผ้วถางด้วยไฟเพื่อทำการเกษตรรวมทั้งถูกจับไปบริโภคเป็นอาหาร จนคาดว่าเหลือปริมาณประชากรในธรรมชาติไม่ถึง 400 ตัว ถือได้ว่าเป็นเต่าบกชนิดที่หายากที่สุดในโลก จึงมักตกเป็นข่าวลักลอบซื้อขายกันอย่างผิดกฎหมายอยู่บ่อย ๆ มีราคาซื้อขายที่สูงมากแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วก็ตาม โดยเต่าขนาดเล็กอายุประมาณ 3–4 ปี ขนาดประมาณ 6 นิ้ว มีราคาซื้อขายกันอยู่กับที่ประมาณ 200,000 บาท และตัวใหญ่อายุประมาณ 10 ปี ความยาวประมาณ 12 นิ้ว ราคาซื้อขายอยู่ที่ 1–2,000,000 บาท โดยในตัวใหญ่มีราคาซื้อกันที่เซนติเมตรละ 200,000 บาท ราคาจะแตกต่างกันไปที่ความสวยงามของกระดองและอายุรวมถึงขนาดหน้า 9 ต่อหน้า 1, เส้นทางทารุณ 'เต่า' สัตว์มงคล.

ดู วงศ์ถั่วและเต่ายูนิฟอรา

เนียง

ต้นเนียง หรือ ลูกเนียง เป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกลิ่นแรง ในอินโดนีเซียและมาเลเซียเรียก jering ในพม่าเรียกda nyin thee ทางภาคใต้ของไทยเรียกลูกเนียง เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา ยอดอ่อนสีแดง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลมีเปลือกแข็ง ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำ ในลูกเนียงดิบมีกรดเจงโคลิก (djenkolic acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกรดกำมะถันสูงมาก สารนี้ทำลายระบบประสาทของไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สะดวก เนื้อข้างในรับประทานได้ ผลอ่อนเปลือกในที่ติดกับเม็ดเป็นสีนวล ต้มสุกแล้วด้าน ผิวสีดำ เนื้อไม่เหนียว ผลแก่จัดเมื่อต้มจะเป็นสีปูนแดง เนื้อเหนียวมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น ทางใต้กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก กินกับขนมจีน ถ้ามีมากจะนำไปเพาะ หรือนำไปดองก่อนรับประทาน ทำเป็นขนมได้โดยนำไปต้มเคล้ากับน้ำตาลทรายและมะพร้าวขูด ในอินโดนีเซียนำไปเป็นส่วนผสมของซัมบัล เรินดัง หรือแกง และเซอมูร์ ในพม่านำไปดองหรือต้มกินกับน้ำพริก.

ดู วงศ์ถั่วและเนียง

Bauhinia forficata

Bauhinia forficata หรือมีชื่อสามัญว่า ปาตา เด วากา (Pata de Vaca) เป็นพืชมีดอกที่เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชท้องถิ่นของบราซิลและเปรู ในทางยาสมุนไพร ใช้รักษาโรคเบาหวานและโรคทางเดินปัสสาวะในบราซิล มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลอง เพิ่มการนำกลูโคสเข้าสู่กล้ามเนื้อ.

ดู วงศ์ถั่วและBauhinia forficata

Bauhinia tarapotensis

Bauhinia tarapotensis เป็นพืชในสกุลชงโค วงศ์ถั่ว กระจายพันธุ์ในบราซิล เปรู โคลัมเบีย เอกวาดอร์และโบลิเวีย เป็นพืชที่เป็นสมุนไพร ใช้รักษาอาการอักเสบในเอกวาดอร์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ลดอาการบวมน้ำในหูหนูที่ถูกชักนำด้วยน้ำมันจากพืชสกุลเปล้.

ดู วงศ์ถั่วและBauhinia tarapotensis

Crop wild relative

Crop Wild Relative คือ สายพันธุ์ป่าของพืชอาหารพันธุ์เพาะปลูก.

ดู วงศ์ถั่วและCrop wild relative

The China Study

หนังสือ The China Study (แปลว่า งานวิจัยในเมืองจีน, พิมพ์ปี ค.ศ. 2005) มีผู้เขียน 2 คนคือ.

ดู วงศ์ถั่วและThe China Study

หรือที่รู้จักกันในชื่อ BeanBeansFabaceaeLegumeLeguminosaeพืชตระกูลถั่ว

วัฏจักรไนโตรเจนวีสเตียเรียวงศ์ย่อยราชพฤกษ์วงศ์ย่อยสีเสียดวงศ์ย่อยถั่วสกุลชงโคสกุลมะขามเทศสกุลมะค่าแต้สกุลราชพฤกษ์สกุลหมามุ่ยสกุลจั่นสกุลถ่อนสกุลขี้เหล็กสกุลครามสร้อยสยามสะบ้า (พืช)สะตอสักขีสารพัดพิษสาธร (พรรณไม้)สิรินธรวัลลีสีเสียดสีเสียดแก่นส้มป่อยหมามุ่ยช้างหมามุ้ยหยีหยีน้ำหลุมพอทะเลหางหมาจอกหางนกยูงหางนกยูงฝรั่งหางไหลหิ่งเม่นอรพิมอะรางอัญชันอัญชันป่าอัมพวา (ผลไม้)อันดับถั่วอาเคเชียอึ่งคี้อโศกน้ำอโศกเหลืองผักคาผีเสื้อหนอนถั่วจันทน์แดงจั่น (พรรณไม้)จิบเบอเรลลินถอบแถบทะเลถั่วพร้าถั่วพูถั่วฝักยาวถั่วลันเตาถั่วลิสงถั่วลิสงนาถั่วลูกไก่ถั่วผีถั่วผีทะเลถั่วดำถั่วดินถั่วคล้าทะเลถั่วปากอ้าถั่วแปบ (พืช)ถั่วแปบช้างถั่วไมยราถั่วเมสคาลถั่วเหลืองถั่วเขียวถ่อนฝักตั้งทรงบาดาลทองกวาวทองหลางลายทองหลางป่าทองเดือนห้าขี้หนอนเถาขี้แรดขี้เหล็กขี้เหล็กอเมริกันคราม (พืช)ครามภูครามม้งครามสมิตินันท์ครามสยามครามหมอเคอร์ครามหลวงครามหิมาลัยครามอุดรครามขาวครามขนครามดอกม่วงครามดอกห่างครามดอยครามคายครามตีนกาครามต่อมครามป่าครามป่าใบต่างครามป่าใบแหลมครามนอกครามใบแถบครามใบเล็กครามเช้าครามเลื้อยครามเถื่อนครามเขาครามเครือคารอบคาร์นิทีนตองหมองประดู่ประดู่บ้านประดู่แดงปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้านนทรีแบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้แมคาเดเมียแสลงพันกระดูกแสลงพันเถาแห้วประดู่แอลแฟลฟาแดง (พรรณไม้)แคแคฝรั่งแซะใบไม้สีทองโกฐนษิณีโยทะกาโสนโสน (สกุล)โผงเผงไฟโตอเล็กซินไฟเตตไมยราบไมยราบยักษ์ไมยราบไร้หนามไรโซเบียมไดแคมบาเพลี้ยอ่อนถั่วเกล็ดปลาหมอเสียดเครือเสี้ยว (พืช)เสี้ยวฟ่อนเสี้ยวดอกขาวเสี้ยวเครือเหรียงเผ่าครามเครือขยันเต่ายูนิฟอราเนียงBauhinia forficataBauhinia tarapotensisCrop wild relativeThe China Study