โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ชะมดและอีเห็น

ดัชนี วงศ์ชะมดและอีเห็น

มดและอีเห็น เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง.

24 ความสัมพันธ์: ชะมดชะมด (แก้ความกำกวม)ชะมดแผงชะมดแผงสันหางดำชะมดแผงหางปล้องชะมดแปลงชะมดแปลงลายจุดชะมดแปลงลายแถบชะมดเช็ดกาแฟขี้ชะมดวงศ์พังพอนวงศ์ย่อยชะมดวงศ์ย่อยอีเห็นวงศ์ย่อยอีเห็นลายเสือโคร่งสัตว์กินเนื้อหมีขออีเห็นอีเห็นลายเสือโคร่งอีเห็นลายเสือโคร่งอินโดจีนอีเห็นหน้าขาวอีเห็นข้างลายอีเห็นน้ำมลายูอีเห็นน้ำอินโดจีนอีเห็นเครือ

ชะมด

ัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นหลายชนิด (จากซ้ายไปขวา คือ สกุล ''Paradoxurus'', ''Genetta'', ''Paguma'' และ ''Arctictis'') ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد) ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิดVeron, G., Gaubert, P., Franklin, N., Jennings, A. P. and Grassman Jr., L. I. (2006).

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมด (แก้ความกำกวม)

มด อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมด (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแผง

มดแผง เป็นสกุลของชะมดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Viverra มีลักษณะคล้ายกับชะมดหรืออีเห็นทั่วไป มีลักษณะเด่น คือ ที่อุ้งตีนมีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว โดยที่หัวแม่เท้ามีขนาดเล็กมากจนดูเหมือนมี 4 นิ้ว เมื่อประทับลงบนพื้นดิน จะมีรอยเท้าเพียง 4 นิ้ว เนื่องจากหากินบนพื้นดินเป็นหลัก และมีขนาดใหญ่กว่าของอีเห็น อีกทั้งที่ขนบริเวณสันหลังจรดปลายหางมีลักษณะเป็นแผงขนสีดำ พาดยาวตั้งแต่สันคอไปตามแนวสันหลัง ซึ่งเวลาตกใจหรือต้องการข่มขู่ผู้รุกรานจะยกแผงขนหลังนี้ให้ตั้งชันได้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกขาน ส่วนหางจะเป็นลายปล้อง ๆ เป็นชะมดขนาดใหญ่ หากินตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ และักินสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู, กระรอก หรือ กบ, เขียด มากกว่ากินผลไม้หรือลูกไม้ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชียอาคเนย์ทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และเกาะต่าง ๆ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก พบได้ในประเทศไทย 2 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแผง · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแผงสันหางดำ

มดแผงสันหางดำ (Large-spotted civet) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกับชะมดแผงหางปล้อง (V. zibetha) แต่ต่างกันที่บริเวณหาง โดยหางของชะมดแผงสันหางดำจะมีลายขวางสีดำบริเวณด้านบนของหางลากยาวมาจากโคนหางถึงปลายหาง ทำให้ปล้องหางไม่แยกขาดจากกันเหมือนชะมดแผงหางปล้อง ปลายหางมีสีดำและมีลายจุดสีดำกระจายไปทั่วตัว มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 72-85 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 30-36.9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 8-9 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถอาศัยอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท ทั้งป่าสมบูรณ์ และตามสวนเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น สวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน แต่ส่วนมากมักพบเห็นตามพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 80-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยปกติแล้วมักอาศัยและหากินตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงดูลูกอ่อน จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแผงสันหางดำ · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแผงหางปล้อง

มดแผงหางปล้อง (Large indian civet;; อีสาน: เหง็นแผงหางก่าน) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง มีลำตัวสีเทาค่อนข้างดำ มีลายสีดำข้างลำตัว ข้างลำคอมีเส้นสีดำสามแถบพาดผ่านในแนวขวาง มีจุดเด่น คือ ส่วนหางมีลายสีดำสลับกับขาวเป็นปล้อง ๆ 5-6 ปล้อง มีขนสีดำสนิทพาดตั้งแต่กึ่งกลางหลังจนถึงโคนหาง เท้ามีสีดำ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย จัดเป็นชะมดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวลำตัวและหัว 75-85 เซนติเมตร ความยาวหาง 38-46 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 8-10 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, อินโดจีน, ประเทศจีน, ฮ่องกง, มาเลเซีย และสิงคโปร์ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท แม้กระทั่งใกล้ชุมชนของมนุษย์ หากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้หลากหลาย โดยจับเหยื่อจะใช้ฟันกัดและสะบัดอย่างแรงจนเหยื่อตายมากกว่าจะใช้เล็บตะปบ ตอนกลางวันจะนอนหลับตามโพรงไม้หรือโพรงหินหรือในถ้ำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแผงหางปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลง

มดแปลง (Asiatic linsang) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Prionodon (/ไพร-โอ-โน-ดอน/) ในวงศ์ย่อย Prionodontinae (หรือแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก คือ Prionodontidae) ชะมดแปลง เป็นชะมดจำพวกหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับชะมดส่วนใหญ่ทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียว มีหางยาว ความยาวลำตัวไม่เกิน 30 เซนติเมตร อาศัยและหากินส่วนใหญ่บนต้นไม้ ด้วยรูปร่างที่เพรียวยาวจึงทำให้ดูเผิน ๆ เหมือนงูไต่ตามต้นไม้มากกว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อุ้งตีนมีซองเก็บเล็บได้เหมือนสัตว์ตระกูลแมว มีสีขนตามลำตัวเป็นจุดหรือลายแถบคดเคี้ยวแตกต่างไปตามชนิด ส่วนหางเป็นปล้อง ๆ ไม่มีขนแผงคอหรือขนที่สันหลัง และมีลักษณะเด่นเฉพาะ คือ ไม่มีต่อมผลิตกลิ่น เหมือนชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า ชะมดแปลงหน้า 82-84, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแปลง · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลงลายจุด

มดแปลงลายจุด หรือ อีเห็นลายเสือ (Spotted linsang) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง เป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่นเช่นเดียวกับชะมดแปลงลายแถบ (P. linsang) และมีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ส่วนหัวมีขนสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีจุดสีน้ำตาลเข้มหรือดำขึ้นอยู่ประปรายตามลำตัว หางยาวและมีแถบสีขาวสลับดำ หรือน้ำตาลเข้มเป็นปล้องประมาณ 7 ปล้อง มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 35-37 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 31-34 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 700 กรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, แคว้นสิกขิมและแคว้นอัสสัมของอินเดีย, ภาคใต้ของจีน, ภาคเหนือของพม่า, ไทย, ลาว และเวียดนาม มักอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนอาจอยู่เป็นคู่หรือหลายตัว มักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500-2,700 เมตร ล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก, หนู, นก และแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่จะหากินเป็นหลักบนต้นไม้ นานครั้งจึงจะลงมาบนพื้นดิน มีฤดูผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ออกลูกครั้งละ 2 ตัว ใช้โพรงไม้ในการเลี้ยงดูลูกอ่อน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแปลงลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลงลายแถบ

มดแปลงลายแถบ หรือ อีเห็นลายเมฆ เป็นชะมดแปลงชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์ในแถบมาเลเซียตะวันตก, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และชวาตะวันตก รวมทั้งในประเทศไทยตั้งแต่บริเวณคอคอดกระลงไป ชะมดแปลงลายแถบ จัดเป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่น มีลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางบริเวณหลังทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลัง มีขนาดตัวยาวจากหัวถึงหาง 74 เซนติเมตร อาศัยและหากินบนต้นไม้มากกว่าจะลงมาพื้นดิน กินอาหาร ได้แก่ กระรอก, หนู, นก และจิ้งจก มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม สร้างรังออกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแปลงลายแถบ · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดเช็ด

มดเช็ด หรือ ชะมดเชียง หรือ มูสัง (Indian small civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง จัดเป็นชะมดขนาดเล็ก ขาสั้น หูทั้งสองข้างอยู่ใกล้กัน เมื่อมองไกล ๆ อาจคล้ายแมว จนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง และมีจุดสีดำขนาดเล็กแทรกอยู่ทั่วไปตามลำตัว มีแถบสีดำและขาวบริเวณลำคอ หางมีวงสีดำ 6-9 ปล้องพาดขวางอยู่ ทำให้มีดูมีลักษณะเป็นปล้องสีดำ ไม่มีขนแผงสันหลัง ปลายหางมีสีขาว ขาหลังมีต่อมกลิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างพวกเดียวกัน และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล ViverriculaBlanford, W. T. (1888–91).

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดเช็ด · ดูเพิ่มเติม »

กาแฟขี้ชะมด

วไร่กาแฟขี้ชะมดที่เกาะสุมาตราแสดงมูลที่ชะมดถ่ายออกมา มีเมล็ดกาแฟอยู่ภายในแต่ยังไม่ได้ล้าง กาแฟขี้ชะมด หรือ กาแฟชะมด (Kopi Luwak, civet coffee) หมายถึงเมล็ดกาแฟที่สัตว์กลุ่มชะมดโดยเฉพาะคืออีเห็นข้างลาย (Paradoxurus hermaphroditus) ได้กินและถ่ายออกมาแล้ว นอกจากนั้นแล้ว ยังหมายถึงเครื่องดื่มกาแฟที่ทำมาจากเมล็ดกาแฟชนิดนี้ โดยที่คนอินโดนีเซียเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kopi Luwak (โกปิ ลูวะก์) (ซึ่งคำว่า Kupi เป็นภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า กาแฟ ส่วนคำว่า Luwak หมายถึงอีเห็นข้างลาย) มีราคาซื้อขายที่สูงมาก เมื่อขายปลีกเป็นกาแฟปรุงสำเร็จถ้วยละ 500-1,500 บาท และขายเป็นเมล็ดกาแฟ กิโลกรัมละ 100,000 บาท (ราคาในประเทศไทย) ผู้ผลิตการแฟอ้างว่า วิธีการที่ให้กำเนิดกาแฟนี้ เพิ่มคุณภาพผ่านกลไกสองอย่างคือ การคัดเลือกเมล็ด และการย่อย คือ ชะมดจะเลือกกินเมล็ดกาแฟซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่า และกลไกการย่อยของชะมดอาจจะเพิ่มรสชาติของเมล็ดกาแฟ คือ ชะมดจะกินเมล็ดกาแฟพร้อมกับเนื้อเข้าไป และจะเกิดการหมักในทางเดินอาหาร เอนไซม์ Protease ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนจะซึมเข้าไปในเมล็ด ทำให้เกิดเพปไทด์ที่สั้นกว่าและจำนวนกรดอะมิโนอิสระที่มากกว่า ส่วนเมล็ดจะผ่านระบบทางเดินอาหารของตัวชะมดจนกระทั่งถ่ายออกมา ซึ่งชาวไร่จะเก็บและนำผ่านกระบวนการผลิตต่อไป วิธีการผลิตกาแฟดั้งเดิมที่เก็บมูลชะมดในป่า ได้เปลี่ยนไปเป็นกระบวนการขังชะมดไว้ในกรงแล้วบังคับให้กินเมล็ดกาแฟ ซึ่งได้สร้างปัญหาด้านจริยธรรมเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงชะมด เพราะชะมดถูกบังคับให้อยู่ใน "สิ่งแวดล้อมที่น่าสะพรึงกลัว" รวมทั้งการถูกขังแยก อาหารที่ไม่ดี กรงที่เล็ก และอัตราการตายในระดับสูง ในปี..

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและกาแฟขี้ชะมด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พังพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์เพียงพอน วงศ์พังพอน (mongoose; ไทยถิ่นเหนือ: จ่อน) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Herpestidae เดิมเคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์ Viverridae หรือ วงศ์ชะมดและอีเห็น.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและวงศ์พังพอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยชะมด

วงศ์ย่อยชะมด เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Viverrinae นับเป็นวงศ์ย่อยที่มีสมาชิกที่หลากหลายและมากที่สุดในวงศ์นี้ แบ่งออกได้เป็น 22 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ขนาดความยาวสูงสุดได้ถึง 84 เซนติเมตร (33 นิ้ว) น้ำหนัก 18 กิโลกรัม (40 กรัม) พบในแอฟริกา เป็นสัตว์ที่มีฟันแหลม สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและวงศ์ย่อยชะมด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยอีเห็น

วงศ์ย่อยอีเห็น เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Paradoxurinae การจำแนก.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและวงศ์ย่อยอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยอีเห็นลายเสือโคร่ง

วงศ์ย่อยอีเห็นลายเสือโคร่ง เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemigalinae สามารถจำแนกได้ดังนี้.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและวงศ์ย่อยอีเห็นลายเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

หมีขอ

หมีขอ หรือ บินตุรง หรือ หมีกระรอก (Binturong, Bearcat;; อีสาน: เหง็นหางขอ, เหง็นหมี) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แม้จะมีหน้าตาคล้ายหมีจนได้ชื่อว่าหมี แต่เป็นสัตว์จำพวกชะมดและอีเห็น (Viverridae) ที่ใหญ่ที่สุด จัดเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวในสกุล Arctictis มีหางยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก ขนตามลำตัวค่อนข้างยาวสีดำและหยาบ สีขนบริเวณหัวอาจมีสีเทา หูกลม บริเวณขอบหูมีสีขาว หางที่ยาวสามารถใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้เป็นอย่างดี มีความยาวลำตัวและหัว 61-96.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 50-84 เซนติเมตร น้ำหนัก 9-20 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูฐาน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ภาคตะวันตกของพม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, พรมแดนระหว่างเวียดนามติดกับลาวและกัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวในอินโดนีเซีย และเกาะปาลาวันในฟิลิปปินส์ หมีขอเป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน อาศัยและหากินตามลำพัง แต่ในบางครั้งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประกอบไปด้วย แม่และลูก ในเวลากลางวันจะอาศัยโพรงไม้เป็นที่หลับนอน อาหารได้แก่ ผลไม้และสัตว์ที่มีขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ บนต้นไม้ทั้งแมลงและสัตว์เลื้อยคลาน ปีนต้นไม้ได้เก่งมาก โดยใช้หางที่ยาวเกาะเกี่ยวกิ่งไม้จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถว่ายน้ำได้อีกด้วย มีการผสมพันธุ์กันได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 92 วัน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว หมีขอตัวเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 2 คู่ ลูกที่เกิดใหม่ยังไม่สามารถขาและหางเกี่ยวกิ่งไม้ได้ชำนาญเหมือนตัวพ่อแม่ หมีขอเป็นสัตว์ที่เลี้ยงตั้งแต่เล็กแล้วจะเชื่อง จนสามารถนำมาฝึกให้แสดงโชว์ต่าง ๆ ได้ตามสวนสัตว์ สถานะปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและหมีขอ · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็น

อีเห็น หรือ กระเห็น(Palm civet.; อีสาน: เหง็น; ใต้: มูสัง) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Paradoxurus ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) อีเห็น มีความแตกต่างจากชะมด (Viverra spp.) ซึ่งเป็นสัตว์อีกสกุลในวงศ์นี้ คือ อุ้งตีนมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการปีนป่าย โดยเฉพาะนิ้วที่ 3 และ 4 ของตีนหลังบางส่วนมีพังผืดเชื่อมติดกัน อุ้งตีนแยกออกเป็น 4 ส่วน อีเห็นจะมีนิ้วตีนทั้งหมดที่อุ้งตีนข้างละ 5 นิ้ว มีเล็บคมยาวไว้ปีนป่าย ขนาดอุ้งตีนของอีเห็นจะเล็กกว่าชะมด เพราะอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมด ที่หากินตามพื้นดิน แต่ทั้ง 2 สกุลนี้ เมื่อลงพื้นดิน โดยเฉพาะดินที่อ่อนนุ่ม จะฝากรอยเท้าทิ้งเอาไว้ให้สังเกตเห็นได้ง่าย อีกทั้ง อีเห็นจะเป็นสัตว์กินพืชและผลไม้มากกว่าชะมด ขณะที่ชะมดจะกินสัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ หรือเขียด หรือปลา เป็นอาหารมากกว่าพืช อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นลายเสือโคร่ง

อีเห็นลายเสือโคร่ง หรือ อีเห็นลายพาด (Banded palm civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemigalus derbyanus มีรูปร่างหน้าตาเหมือนสัตว์จำพวกอีเห็นหรือชะมดทั่วไป แต่มีหน้ายาวและมีรูปร่างเพรียวบางกว่า ขนตามลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะเด่น คือ มีแถบสีดำ 7-8 แถบพาดขวางลำตัว โดยแถบดังกล่าวมีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยมยาว ๆ และมีแถบสีดำพาดยาวผ่านใบหน้าและหน้าผาก 2 เส้น ด้านล่างของลำตัวและขามีสีอ่อนกว่าบริเวณหลัง มีหูยาวและมีประสิทธิภาพในการฟังเสียงที่สูง ตามีขนาดใหญ่ ส่วนโคนหางจะมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ มีต้อมกลิ่นขนาดเล็ก สามารถหดเล็บเก็บได้เหมือนพวกแมว มีความยาวลำตัวและหัว 45-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-32.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของพม่า ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว มักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ มักอาศัยและออกหากินตามลำพัง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ หรือ มีลูกอ่อนที่อาจพบว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 หรือ 3 ตัว ออกหากินในเวลากลางคืน มีลิ้นที่สากเหมือนพวกแมว กินสัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง, ไส้เดือน, มด, แมงมุม, สัตว์น้ำขนาดเล็ก หอยทาก รวมทั้งพืช อย่าง ผลไม้เป็นต้น ปัจจุบัน การศึกษานิเวศวิทยาของอีเห็นลายเสือโคร่งนั้นยังมีอยู่น้อยมาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่พบเห็นตัวได้ยาก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นลายเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นลายเสือโคร่งอินโดจีน

อีเห็นลายเสือโคร่งอินโดจีน หรือ อีเห็นลายเมฆอินโดจีน (Owston's palm civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chrotagale owstoni มีรูปร่างหน้าตาคล้ายอีเห็นลายเสือโคร่ง (Hemigalus derbyanus) แต่ลำตัวมีขนาดใหญ่และมีขนที่ยาวกว่า สีขนตามลำตัวจะมีสีออกเทาอมเหลือง ซึ่งแตกต่างไปจากอีเห็นลายเสือโคร่งที่มีสีน้ำตาลอมเหลือง มีลักษณะเด่น คือ ขนหางค่อนข้างยาวและมีจุดสีดำขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปตามลำตัวและขาทั้งสี่ข้าง จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Chrotogale มีความยาวลำตัวและหัว 50-64 เซนติเมตร ความยาวหาง 38-48 เซนติเมตร น้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของจีนบริเวณที่ติดต่อกับลาวและเวียดนาม ภาคเหนือของเวียดนามและลาว มีพฤติกรรมหาอาหารโดยการใช้จมูกขุดคุ้ยหาแมลงและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ใต้ดินเป็นอาหาร มักใช้เล็บขีดข่วนให้ปรากฏเห็นเป็นร่องรอยอยู่ตามพื้นดินเสมอ ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่หายากและกำลังใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นลายเสือโคร่งอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นหน้าขาว

อีเห็นหน้าขาว หรือ อีเห็นหูด่าง (Small-toothed palm civet) เป็นสัตว์จำพวกชะมดและอีเห็น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arctogalidia trivirgata มีรูปร่างหน้าตาคล้ายอีเห็นเครือ (Paguma larvata) แต่มีขนาดเล็กกว่า มีสีขนที่แตกต่างหลากหลายออกไป ในบางตัวอาจมีสีน้ำตาลแดง บางตัวเป็นสีน้ำตาลดำ มีลักษณะเด่นคือ ขอบใบหูจะมีสีขาว บริเวณหลังมีแถบสีดำ 3 เส้นพาดเป็นทางยาวจนถึงโคนหาง บางตัวอาจมีลายเส้นสีขาวพาดยาวมาจรดปลายจมูก หางมีความยาวมากใช้สำหรับทรงตัวบนต้นไม้ ตัวเมียจะมีเต้านม 2 คู่ และมีต่อมกลิ่นด้วย มีความยาวลำตัวและหัว 43-53 เซนติเมตร ความยาวหาง 51-56 เซนติเมตร น้ำหนัก 2-2.5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัม, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว มีชนิดย่อยทั้งหมด 14 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าเบญจพรรณ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตามลำพังและหากินบนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไวกว่าอีเห็นธรรมดา (Paradoxurus hermaphroditus) มาก โดยมักล่าสัตว์ที่อยู่บนต้นไม้เป็นอาหาร เช่น หนู, กระรอก, นก และช่วยควบคุมปริมาณกระรอกที่ทำลายสวนมะพร้าวไม่ให้มีมากไป สามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 45 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นหน้าขาว · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นข้างลาย

อีเห็นข้างลาย หรือ อีเห็นธรรมดา หรือ มูสังหอม ในภาษาใต้ (Asian palm civet) เป็นอีเห็นขนาดเล็ก สีขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ ยกเว้นบริเวณรอบจมูก หู ขา และปลายหางมีสีดำมีลายสีขาวพาดขวางบริเวณหน้าผาก หลังมีจุดเล็ก ๆ สีดำเรียงตัวเป็นแนวยาว 3 เส้น จากไหล่ถึงโคนหาง หางมีความยาวพอ ๆ กับลำตัว ขนปลายหางบางตัวอาจมีสีขาว มีต่อมน้ำมันและจะส่งกลิ่นออกมาเมื่อเวลาตกใจ ซึ่งต่อมน้ำมันนี้จะแตกต่างจากชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ ตัวเมียมีเต้านม 3 คู่ มีความยาวลำตัวและหัว 43–71 เซนติเมตร ความยาวหาง 40.6–66 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–5 กิโลกรัม อีเห็นข้างลายมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบตั้งแต่รัฐชัมมูและกัศมีร์ และภาคใต้ของอินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, รัฐสิกขิม, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และหมู่เกาะซุนดาน้อย และมีชนิดย่อยมากถึง 30 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมมักอาศัยและหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ ป่าดิบชื้น, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง และน้ำหวานของเกสรดอกไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน นอนหลับในเวลากลางวัน ใช้เวลาส่วนมากตามพื้นดินและจะใช้เวลาน้อยมากอยู่บนต้นไม้ ออกลูกครั้งละ 2–4 ตัว โดยจะเลี้ยงลูกอ่อนไว้ตามโพรงไม้หรือโพรงหิน อีเห็นข้างลายไม่ได้ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546 ปัจจุบันทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีโครงการในการเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลาย เพื่อผลิต "กาแฟขี้ชะมด" ซึ่งเป็นกาแฟที่ได้จากมูลของอีเห็นข้างลาย มีราคาซื้อขายที่สูงมาก และในการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการนี้ที่จังหวัดตรังโดยเอกชนด้วยหน้า 27, อะเมซซิง..."กาแฟขี้ชะมดตรัง" โดย มนตรี สังขาว.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นน้ำมลายู

อีเห็นน้ำมลายู หรือ อีเห็นน้ำซุนดา (Otter civet) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีรูปร่างอ้วน ขาสั้น ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำสนิท ลักษณะเด่นคือ หัวค่อนข้างแบน จมูกและปากยื่นออกมามีสีขาว จมูกมีขนาดใหญ่ รูจมูกด้านบนเปิดขึ้นและสามารถปิดได้เมื่ออยู่ใต้น้ำ ใบหูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูไม่ให้น้ำเข้าขณะว่ายน้ำ ห่างค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับความยาวลำตัว มีพังผืดยืดระหว่างนิ้วคล้ายกับนิ้วเท้าของนากเล็กเล็บสั้น (Amblonyx cinerea) มีความยาวลำตัวและหัว 70-80 เซนติเมตร ความยาวหาง 12-20 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว มีพฤติกรรมอาศัยและหากินตามลำพัง โดยล่าพวกสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น หนู สามารถปรับตัวให้อาศัยแบะหากินอยู่ในน้ำได้ดีเช่นเดียวกับนาก มักอาศัยอยู่ในป่าพรุหรือพื้นที่ชุ่มน้ำอื่น ๆ ปีนต้นไม้ได้เก่ง บางครั้งพบว่าอาจปีนต้นไม้เพื่อกินผลไม้สุกได้.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นน้ำมลายู · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นน้ำอินโดจีน

อีเห็นน้ำอินโดจีน หรือ อีเห็นน้ำตังเกี๋ย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynogale lowei เป็นสัตว์ที่มีข้อมูลน้อยมาก เนื่องจากพบเห็นได้ยากและมีรายงานการพบเห็นตัวเพียงไม่กี่ครั้ง ข้อมูลเท่าที่มีบ่งให้รู้ว่ารูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับอีเห็นน้ำมลายู (C. bennettii) แต่ต่างกันตรงสีขน กล่าวคือ อีเห็นน้ำอินโดจีนมีขนสั้นหนา และมีสีขนที่อ่อนกว่าอีเห็นน้ำมลายู โดยจมูกใต้คอและหน้าอกมีสีขาว ส่วนข้อมูลอื่น ๆ เช่น ขนาดและน้ำหนักนั้นไม่มี มีผู้เก็บซากอีเห็นน้ำอินโดจีนได้ทางภาคเหนือของเวียดนาม และเคยมีรายงานพบเห็นที่ภาคใต้ของจีน และคาดว่าอาจมีอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย ของไทยด้วย มีรายงานการพบเห็นใกล้กับแหล่งน้ำ เช่น ทะเลสาบหรือแม่น้ำ ปัจจุบันสันนิษฐานว่า อีเห็นน้ำอินโดจีนได้สูญพันธุ์จากโลกไปนานแล้ว เพราะปัญหาการพัฒนาและขยายพื้นที่เกษตรกรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้อีเห็นน้ำอินโดจีนสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ปัจจุบัน เชื่อว่าอาจจะเป็นชนิดเดียวกันหรือชนิดย่อยของอีเห็นน้ำมลายูก็ได้.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นน้ำอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นเครือ

อีเห็นเครือ (Masked palm civet) สัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Paguma larvata จัดเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ในสัตว์จำพวกนี้ ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีจุดหรือลวดลายใด ๆ บริเวณท้องมีสีอ่อนกว่าส่วนหลัง หลังหูและหลังคอมีสีเข้ม ม่านตามีสีน้ำตาลแดง มีหนวดเป็นเส้นยาวบริเวณจมูกและแก้ม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ตัวเมียมีเต้านม 2 คู่ ขนาดลำตัวและหัวยาว 50.8-76.2 เซนติเมตร ความยาวหาง 50.8-63.6 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง พบตั้งแต่ภาคเหนือของอินเดีย, ปากีสถาน, ตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไต้หวัน, ตะวันออกของจีน, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว, ตะวันตกของพม่า, สิกขิม, ภูฐาน, เนปาล มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตรกรรม สามารถปีนต้นไม้ได้คล่องแคล่ว และจะใช้เวลาส่วนใหญ่บนต้นไม้ โดยจะกินทั้งพืชและสัตว์ แต่ในบางครั้งอาจมาหากินบนพื้นดินด้วย จากการศึกษาในเนปาลพบว่า มีการผสมพันธุ์กันในฤดูร้อน โดยในช่วงปลายฤดูฝนอีเห็นเครือตัวเมียจะสร้างรังในโพรงไม้ เพื่อใช้เลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาตั้งท้องนาน 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว อีเห็นเครือถูกสันนิษฐานว่าเป็นสัตว์ที่เป็นต้นตอแพร่เชื้อของโรคซาร์สที่ระบาดในฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ ในช่วงปี พ.ศ. 2546 เพราะชาวจีนนิยมกินเนื้ออีเห็นเครือและสัตว์ในตระกูลนี้มาก ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นเครือ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Viverridaeมุดสัง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »