โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฦๅ

ดัชนี ฦๅ

ฦๅ หรือ ตัวลือ สามารถใช้เป็นสระลอย ไม่มีพยัญชนะสะกด ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ล, ฦ และก่อนหน้า ว อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ลฺรี" เดิมตำราหลักภาษาไทยมักกำหนดให้ "ฦ" และ "ฦๅ" เป็นสระ ตามหลักอักขรวิธีในภาษาสันสกฤต แต่การใช้ "ฦๅ" ในภาษาไทยนั้น ใช้เป็นคำๆ หาได้ใช้อย่างสระเพื่อประสมกับพยัญชนะอย่างในสันสกฤตไม่ ดังนั้นในตำราภาษาไทยรุ่นใหม่ จึงไม่จัด ฦๅ เป็นสระ ส่วนทางภาษาศาสตร์นั้น ถือว่า ฦๅ เป็นพยางค์ที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย พยัญชนะ (ล) และสระ (อือ) จึงไม่ใช่เป็นสระหรือพยัญชนะ แต่โดยทั่วไป ในแผนผังอักษรไทย ก็ยังจำแนกไว้ตามแบบเดิม ถึงแม้ภาษาสันสกฤตจะถือว่า ฦๅ (และ ฦ) เป็นสระตัวหนึ่ง ใช้ประสมกับพยัญชนะอื่นได้ แต่ก็ปรากฏอยู่น้อยคำ เช่น "ฦๅ" หมายถึง พระฦๅ เป็นมารดาของเหล่าทานพ, ชายาของไทตย เป็นต้น แต่ในคำศัพท์ภาษาไทย เท่าที่ปรากฏในพจนานุกรม เสียง ฦๅ มีใช้กับคำไทยโบราณเท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยคำ ใช้ในหนังสือเก่า คำต่าง ๆ ที่เคยใช้ ฦๅ ได้เปลี่ยนไปใช้ ฤ, ฤๅ หรือ "ลือ" แทน เช่น.

5 ความสัมพันธ์: สระ (สัทศาสตร์)อักษรสระประกอบอักษรไทยปัญหาการเรียงพิมพ์อักษรไทย

ฦ หรือ ตัวลึ สามารถใช้เป็นสระลอย ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ล และก่อนหน้า ฦๅ, ว อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ลฺริ" ปัจจุบัน ไม่นิยมใช้ตัว ฦ คำต่าง ๆ ที่เคยใช้ ฦ ได้เปลี่ยนไปใช้ ฤ หรือ "ลึ" แทน เช่น.

ใหม่!!: ฦๅและฦ · ดูเพิ่มเติม »

สระ (สัทศาสตร์)

ในทางสัทศาสตร์ สระ (สะ-หฺระ) หมายถึงเสียงในภาษาที่เปล่งออกมาจากช่องเสียง (vocal tract) ที่เปิดออกโดยตรงจากช่องเส้นเสียง (glottis) โดยไม่กักอากาศ ตัวอย่างเช่น "อา" หรือ "โอ" (โดยไม่กักอากาศด้วยอักษร อ) ตรงข้ามกับพยัญชนะซึ่งมีการกักอากาศอย่างน้อยหนึ่งจุดภายในช่องเสียง เสียงสระสามารถจัดได้ว่าเป็นพยางค์ ส่วนเสียงเปิดที่เทียบเท่ากันแต่ไม่สามารถเปล่งออกมาเป็นพยางค์ได้เรียกว่า กึ่งสระ (semivowel) เสียงสระเป็นแกนพยางค์ (syllable nucleus) ในทุกภาษา ซึ่งเสียงพยัญชนะจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเสียงสระเสมอ อย่างไรก็ตามในบางภาษาอนุญาตให้เสียงอื่นเป็นแกนพยางค์ เช่นคำในภาษาอังกฤษ table "โต๊ะ" ใช้เสียง l เป็นแกนพยางค์ (ขีดเล็กๆ ที่อยู่ใต้ l หมายถึงสามารถออกเสียงได้เป็นพยางค์ ส่วนจุดคือตัวแบ่งพยางค์) หรือคำในภาษาเซอร์เบีย vrt "สวน" เป็นต้น แต่เสียงเหล่านี้ไม่เรียกว่าเป็นเสียงสร.

ใหม่!!: ฦๅและสระ (สัทศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสระประกอบ

อักษรเทวนาครีเป็นอักษรสระประกอบชนิดหนึ่ง อักษรสระประกอบ เป็นรูปแบบของระบบการเขียนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะและสระ แต่พยัญชนะจะมีความสำคัญมากกว่าสระ ซึ่งแตกต่างจากอักษรสระ-พยัญชนะ (alphabet) ที่เป็นระบบการเขียนทั้งสระและพยัญชนะจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และแตกต่างจากอักษรไร้สระ (abjad) ซึ่งมักจะไม่มีรูปสระปรากฏอยู่เลย ในบรรดาระบบการเขียนทั้งหมดในโลกนี้ มีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของระบบการเขียนทั้งหมดที่เป็นอักษรสระประกอบ ซึ่งอักษรไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน คำว่า "อักษรสระประกอบ" เป็นคำแปลจากคำว่า abugida ซึ่งเป็นคำที่ Peter T. Daniels นำมาใช้เรียกระบบการเขียนรูปแบบนี้ โดยคำนี้มาจากชื่อของอักษรเอธิโอเปีย (’ä bu gi da) ในภาษาเอธิโอเปีย โดยนำมาจากชื่ออักษรสี่ตัวของอักษรเอธิโอเปีย (ในทำนองเดียวกับคำว่า alphabet ที่มาจากชื่ออักษรกรีก แอลฟา และ บีตา) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: ฦๅและอักษรสระประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ฦๅและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาการเรียงพิมพ์อักษรไทย

การเรียงพิมพ์อักษรไทยในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบันเน้นรูปมากกว่าเสียง ซึ่งสืบทอดมาจากการเรียงพิมพ์ในเครื่องพิมพ์ดีดที่แยกอักขระเป็นตัว ๆ แล้วกดแป้นไปตามลำดับ แต่ถึงกระนั้นก็ยังทำให้เกิดปัญหาบางประการอยู่บ่อยครั้ง.

ใหม่!!: ฦๅและปัญหาการเรียงพิมพ์อักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฦาตัวลือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »