สารบัญ
7 ความสัมพันธ์: บานพับภาพพระทรมานของพระเยซูพระเยซูในสวนเกทเสมนีภาพเหมือนตนเองมาร์ติน ลูเทอร์อาหารค่ำมื้อสุดท้ายไดแอนา (เทพปกรณัม)
บานพับภาพ
แซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10 บานพับภาพ (triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้.
พระทรมานของพระเยซู
“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดย ลูคัส ครานาค ราว ค.ศ. 1538 พระทรมานของพระเยซู (Passion of Jesus) เป็นศัพท์ทางเทววิทยาคริสเตียนที่บรรยายเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของพระเยซูในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน การตรึงพระเยซูที่กางเขนถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นหัวใจของความเชื่อในคริสต์ศาสนา รากศัพท์ของคำว่า “Passion” มาจากภาษาละติน “passus” (ซึ่งมีรากมาจาก “pati, patior” ที่แปลว่า “ความทรมาน” ที่เกิดจากภายนอก), เป็นคำที่เริ่มใช้ครั้งแรกในข้อเขียนทางคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่บรรยายความทุกข์ทรมานของพระเยซู แต่คำว่า “Passion” มามีความหมายกว้างขึ้นในสมัยต่อมา ส่วนวลี “ความระทมของพระเยซู” (“Agony of Jesus”) มีความหมายเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสวนเกทเสมนี -- “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” ที่ทรงอธิษฐานสวดภาวนาในสวนก่อนที่จะทรงถูกจับ “ความระทม” จึงหมายถึงสภาวะทางจิตใจ ข้อเขียนในพระวรสารในสารบบที่บรรยายถึงพระมหาทรมานเรียกว่า “Passion” หรือ “พระทรมานของพระเยซู” พระวรสารอื่นที่บรรยายเหตุการณ์นี้ก็ได้แก่พระวรสารนักบุญเปโตร.
ดู ลูคัส ครานัคและพระทรมานของพระเยซู
พระเยซูในสวนเกทเสมนี
“พระเยซูในสวนเกทเสมนี” โดย อันเดรีย มานเทนยา ราว ค.ศ. 1460 พระเยซูในสวนเกทเสมนี หรือ พระเยซูบนภูเขามะกอกเทศ (Agony in the Garden หรือ Christ on the Mount of Olives) เป็นเหตุการณ์หนึ่งในชีวิตของพระเยซูที่เกิดขึ้นระหว่างพระกระยาหารมื้อสุดท้ายและเมื่อทรงถูกจับ เหตุการนี้มีบันทึกในพระวรสารทั้งสี่เล่มที่กล่าวว่าทันทีหลังจากที่เสวยกระยาหารมื้อสุดท้ายแล้วพระเยซูก็เสด็จไปสวดมนต์ในสวนเกทเสมนี โดยมีนักบุญปีเตอร์, นักบุญจอห์น และนักบุญเจมส์ตามไปด้วย ผู้ที่ทรงขอให้รอและให้สวดมนต์ไปพลาง จากนั้นก็ทรงเดินหน้าไปเล็กน้อยจากอัครสาวกทั้งสาม เมื่อทรงมีความรู้สึกเศร้าและปวดร้าวพระทัยและทรงอธิษฐานว่า “โอ ข้าแต่พระบิดาของข้าพระองค์ ถ้าถ้วยนี้เลื่อนพ้นไปจากข้าพระองค์ไม่ได้ และข้าพระองค์จำต้องดื่มแล้ว ก็ให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์” ทรงอธิษฐานสามครั้ง และทรงกลับไปดูอัครสาวกทั้งสามระหว่างการอธิษฐานก็พบว่าทั้งสามคนนอนหลับ พระองค์จึงทรงเปรยว่า “จิตใจเต็มใจ แต่ร่างกายอ่อนแอ” เทวดาจึงลงมาช่วยเป็นกำลังใจให้พระองค์ เมื่อทรงเป็นทุกข์ก็ทรงอธิษฐานต่อจน “พระเสโทของพระองค์เป็นเหมือนโลหิตไหลหยดลงถึงดินเป็นเม็ด “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” เป็นฉากหนึ่งจากทุกขกิริยาของพระเยซูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซู ที่เป็นหัวเรื่องของศิลปะคริสต์ศาสนาที่ศิลปินนิยมสร้างหรือเขียนกัน.
ดู ลูคัส ครานัคและพระเยซูในสวนเกทเสมนี
ภาพเหมือนตนเอง
หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..
ดู ลูคัส ครานัคและภาพเหมือนตนเอง
มาร์ติน ลูเทอร์
มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2026 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2088) เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เรียกว่าการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ นิกายที่ถือหลักเทววิทยาตามแนวคิดของลูเทอร์เรียกว่านิกายลูเทอแรนซึ่งเป็นนิกายย่อยในนิกายโปรเตสแตนต.
ดู ลูคัส ครานัคและมาร์ติน ลูเทอร์
อาหารค่ำมื้อสุดท้าย
“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.
ดู ลูคัส ครานัคและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย
ไดแอนา (เทพปกรณัม)
“ไดแอนนาสรง” (Diana leaving her Bath) โดย ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) ราว ค.ศ. 1742 เทพีไดแอนนา (ภาษาอังกฤษ: Diana) ตามตำนานเทพเจ้าโรมัน “เทพีไดแอนนา” เป็นเทพีแห่งการล่าสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า, ป่าและพระจันทร์ ในวรรณคดีไดแอนนาเป็นเทพีโรมันที่คู่กับเทพีอาร์เทมีสของตำนานเทพเจ้ากรีก แต่ในลัทธินิยมไดแอนนาเป็นเทพีที่มาจากอิตาลีไม่ใช่กรีซโบราณ ไดแอนนาเป็นเทพีที่สักการะกันในศาสนาโรมันโบราณ (Religion in ancient Rome) และในปัจจุบันเป็นที่นับถือของศาสนาของขบวนการโรมันใหม่ (Nova Roma) และกลุ่มเวทมนตร์สเตรเกเรีย (Stregheria) นอกจากสัญลักษณ์ประจำตัวที่กล่าวแล้วป่าโอ้คก็ยังมีความศักดิ์สิทธิ์ต่อไดแอนนา และไดแอนนาก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของพรหมจารี (chastity) ตามตำนานแล้วไดแอนนาและพี่ชายแฝดเทพอพอลโลเกิดบนเกาะเดลอส (Delos) และเป็นธิดาของของเทพจูปิเตอร์ (Jupiter) และเทพีลาโทนา (Latona) ไดแอนนาเป็นหนึ่งในไตรเทพี: เทพีเอเกเรีย (Egeria) นิมฟ์น้ำ, สาวใช้ และหมอตำแย และเทพีเวอร์เบียส (Virbius) เทพีแห่งป่าโปร่ง.
ดู ลูคัส ครานัคและไดแอนา (เทพปกรณัม)
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Lucas CranachLucas Cranach the Elder