เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ลิสแซมฟิเบีย

ดัชนี ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

สารบัญ

  1. 22 ความสัมพันธ์: กบแคระแอฟริกันลิสแซมฟิเบียวงศ์กบเล็บวงศ์ย่อยอึ่งอ่างวงศ์หมาน้ำวงศ์อึ่งกรายวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์วงศ์ซาลาแมนเดอร์เอเชียสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอันดับกบอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์คางคกซูรินาม (สกุล)ซาลาแมนเดอร์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ปาดเขียวตีนดำแอมฟิอูมาโอล์มไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)ไซเรนแคระเฮลล์เบนเดอร์เขียดงู

กบแคระแอฟริกัน

กบแคระแอฟริกัน (African dwarf frog) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Hymenochirus ในวงศ์กบเล็บ (Pipidae) เป็นกบที่มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต มีลำตัวแบนราบมาก ขายื่นออกไปทางด้านข้างลำตัว ไม่มีเส้นข้างลำตัวเหมือนกบสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน ขาหลังใหญ่และมีแผ่นหนังเป็นพังผืดระหว่างนิ้วตีนใหญ่มาก ขาหน้ามีนิ้วตีนยาวและมีพังผืด ลูกอ๊อดกินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 6.35 เซนติเมตร (2.5 นิ้ว) อายุสูงสุดที่พบคือ 20 ปี พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ของทวีปแอฟริกา แถบลุ่มน้ำคองโก เป็นกบที่มีขนาดเล็ก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์น้ำสวยงามเหมือนปลาสวยงามในตู้กระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวที่เป็นสีเผือก.

ดู ลิสแซมฟิเบียและกบแคระแอฟริกัน

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ดู ลิสแซมฟิเบียและลิสแซมฟิเบีย

วงศ์กบเล็บ

วงศ์กบเล็บ หรือ วงศ์กบไม่มีลิ้น (Clawed frog, Tongueless frog, Aquatic frog) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำวงศ์หนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Papidae (/ปา-ปิ-ดี/) มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วไม่มีลิ้น กระดูกสันหลังปล้องที่ 2-4 ของตัวเต็มวัยมีกระดูกซี่โครงและเชื่อมรวมกัน บางสกุลและบางชนิดไม่มีฟันที่กระดูกพรีแมคซิลลาและที่กระดูกแมคซิลลา มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 6-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโอพิสโธซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิเฟอรัลหรือแบบอย่างดัดแปรของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลลาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ลูกอ๊อดมีช่องปากยาวและแคบ ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันบริเวณปาก ช่องเปิดห้องเหงือกมี 2 ช่องอยู่ทางด้านข้างของลำตัว กินอาหารด้วยการกรองเข้าปาก มีความยาวลำตัวประมาณ 4-17 เซนติเมตร มีลำตัวแบนราบมาก และมีขายื่นไปทางด้านข้างลำตัว อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำได้หลากหลายประเภท รวมทั้งแหล่งน้ำขังชั่วคราวบนท้องถนน เนื่องจากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เส้นข้างลำตัวจึงเจริญ ยกเว้นบางสกุลที่ไม่มี ขาหลังใหญ่และมีแผ่นหนังระหว่างนิ้วตีนใหญ่มาก ขาหน้ามีนิ้วตีนยาวแต่ไม่มีแผ่นหนังระหว่างนิ้ว ยกเว้นบางสกุลเท่านั้นที่มี นิ้วตีนมีเล็บยาว แบ่งออกได้เป็น 5 สกุล 32 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ บางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ขณะที่ในบางสกุลนิยมใช้เพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยาการเจริญ, ชีววิทยาโมเลกุล, ชีววิทยาประสาท, พันธุกรรมศาสตร์ เป็นต้น.

ดู ลิสแซมฟิเบียและวงศ์กบเล็บ

วงศ์ย่อยอึ่งอ่าง

วงศ์ย่อยอึ่งอ่าง เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบในวงศ์ใหญ่ Microhylidae ใช้ชื่อวงศ์ว่า Microhylinae กะโหลกมีกระดูกเอธมอยด์หนึ่งคู่และมีกระดูกพรีโวเมอร์ขนาดเล็กหนึ่งชิ้น ไม่มีฟันที่กระดูกแมกซิลลา กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสและแบบไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่มีกระดูกไหปลาร้าและกระดูกโพรโคราคอยด์ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่เล็ก-ใหญ่ ส่วนใหญ่อาศัยบนพื้นดินตั้งแต่พื้นที่แห้งแล้งของป่าหญ้า-ป่าดิบชื้นแต่ปีนป่ายต้นไม้ได้ดี ลูกอ๊อดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ ยกเว้นสกุล Myersiella ที่เอมบริโอเจริญภายในไข่และลูกอ๊อดออกจากไข่เป็นรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย และลูกอ๊อดของชนิด Synecope antenori ไม่กินอาหาร.

ดู ลิสแซมฟิเบียและวงศ์ย่อยอึ่งอ่าง

วงศ์หมาน้ำ

ำหรับหมาน้ำที่เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ดูที่: อะโซล็อต สำหรับหมาน้ำที่เป็นกบและคางคก ดูที่: จงโคร่ง และเขียดว้าก วงศ์หมาน้ำ (Mudpuppy, Waterdog) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Proteidae ลักษณะโดยรวมของซาลาแมนเดอร์ในวงศ์นี้ คือ มีโครงสร้างรูปร่างที่ยังคงรูปร่างของซาลาแมนเดอร์ขณะยังเป็นวัยอ่อนอยู่เมื่อเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เช่น ไม่มีเปลือกตา มีเหงือกขนาดใหญ่และมีช่องเปิดเหงือก 2 ช่อง มีแผ่นครีบหาง และมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น ๆ คือ ไม่มีกระดูกแมคซิลลา เช่นเดียวกับไซเรน (Sirenidae) และมีโครโมโซมจำนวน 38 (2n) แท่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น มีปอดแต่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีรูปร่างราวเรียวยาว ความยาวลำตัวประมาณ 20-48 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา โดยจะอาศัยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใสสะอ.

ดู ลิสแซมฟิเบียและวงศ์หมาน้ำ

วงศ์อึ่งกราย

วงศ์อึ่งกราย (Asian toads) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Megophryidae มีลักษณะเด่น คืิอ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของแอมฟิซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิฟเอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ผิวหนังลำตัวมีต่อมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วหลายชนิดของทั้งตัวผู้และตัวเมียยังมีกลุ่มของต่อมบริเวณขาหนีบและซอกขาหน้า มีขนาดตัวตั้งแต่ 2-12 เซนติเมตร อาศัยอยู่บนพื้นล่างของป่าหรือบริเวณใกล้ลำห้วยหรือลำธาร ส่วนใหญ่มีสีลำตัวกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม วางไข่ในแหล่งน้ำ โดยขณะผสมพันธุ์ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในตำแหน่งเอว ลูกอ๊อดมีรูปร่างและโครงสร้างของปากแตกต่างกัน บางสกุลมีปากเป็นรูปกรวยและไม่มีจะงอยปาก รวมทั้งไม่มีตุ่มฟัน อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง แต่ขณะที่บางสกุลมีคุณสมบัติแตกต่างจากเหล่านี้สิ้นเชิง และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยว เป็นต้น แพร่กระจายพันธุ์อยู่เฉพาะทวีปเอเชีย เช่น จีน, ปากีสถาน, อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, หมู่เกาะฟิลิปปิน และเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยพบประมาณ 25 ชน.

ดู ลิสแซมฟิเบียและวงศ์อึ่งกราย

วงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์

วงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Giant salamander;; オオサンショウウオ) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ในวงศ์ Cryptobranchidae.

ดู ลิสแซมฟิเบียและวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์

วงศ์ซาลาแมนเดอร์เอเชีย

วงศ์ซาลาแมนเดอร์เอเชีย (Asiatic salamander) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hynobiidae พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียและรัสเซีย พบจนถึงอัฟกานิสถานและอิหร่าน มีความใกล้เคียงกับซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Cryptobranchidae) ซึ่งถือเป็นว่าเป็นซาลาแมนเดอร์ที่ยังมีเค้าโครงมาจากซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จึงจัดอยู่ในอันดับย่อยเดียวกัน คือ Cryptobranchoidea ประมาณครึ่งหนึ่งของสมาชิกในวงศ์นี้ พบในประเทศญี่ปุ่น ซาลาแมนเดอร์วงศ์นี้ มีการปฏิสนธิภายนอกหรือออกลูกเป็นไข่ ซึ่งแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่นที่ปฏิสนธิภายใน ตัวผู้จะสนใจถุงไข่มากกว่าตัวเมีย ตัวเมียจะวางถุงไข่ครั้งละ 2 ใบ ถุงไข่แต่ละถุงจะมีไข่ได้มากกว่า 70 ใบ จากนั้นตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงโดยพ่อแม่ เป็นวงศ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างสมบูรณ์ ตัวเต็มวัยมีเปลือกตาและไม่มีเหงือก ลำตัวป้อม หัวและหางมีขนาดใหญ่ มีขาทั้ง 2 คู่ ส่วนมากมีปอดใหญ่ แต่ในสกุล Ranodon มีปอดเล็กมาก และสกุล Onychodactylus ไม่มีปอด ส่วนใหญ่ซาลาแมนเดอร์วงศ์นี้มีขนาดตัวเล็กและความยาวน้อยกว่า 10 เซนติเมตร ชนิดที่ใหญ่ที่สุดยาว 25 เซนติเมตร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบกแต่เคลื่อนย้ายไปยังแหล่งน้ำเพื่อผสมพันธุ์ นอกจากบางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำและหลายชนิดอาศัยอยู่ในลำธารบนภูเขา หน้า 309, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ฺ เลาหะจินดา (พ.ศ.

ดู ลิสแซมฟิเบียและวงศ์ซาลาแมนเดอร์เอเชีย

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ดู ลิสแซมฟิเบียและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

ดู ลิสแซมฟิเบียและอันดับกบ

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ (Advanced salamander) เป็นอันดับย่อยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์และนิวต์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandroidea เป็นอันดับย่อยของซาลาแมนเดอร์ส่วนใหญ่ พบกระจายพันธุ์ในทุกภูมิภาคของโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา, ตอนใต้ของซาฮาร่า และโอเชียเนีย มีลักษณะโครงสร้างของร่างกายแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อย Cryptobranchoidea ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์ที่มีโครงสร้างเหมือนกับซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ จะมีกระดูกเพียร์ติคูลาร์เป็นเชิงมุม ในขากรรไกรล่างเชื่อมติดกันและทุกชนิดมีการปฏิสนธิภายในตัว ตัวเมียจะถูกปฏิสนธิจากสเปิร์มจากถุงสเปิร์ม ถุงสเปิร์มจะติดอยู่ที่ช่องทวารรวม สเปิร์มจะถูกเก็บไว้ในถุงเก็บสเปิร์มของตัวเมียบนด้านหลังของช่องทวารรวมเป็นสิ่งจำเป็นในเวลาที่วางไข่ ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ คือ Beiyanerpeton jianpingensis ที่พบในชั้นเทียวจิซาน ฟอร์เมชั่น ตรงกับยุคจูราซซิคยุคปลาย ราว 157 ล้านปีมาแล้ว (บวกลบไม่เกิน 3 ล้านปี).

ดู ลิสแซมฟิเบียและอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Primitive salamander) เป็นอันดับย่อยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cryptobranchoidea เป็นซาลาแมนเดอร์กลุ่มที่พบกระจายพันธุ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายพื้นที่ของทวีปเอเชีย อาทิ จีน, ญี่ปุ่น, เกาะไต้หวัน, เกาหลี, อัฟกานิสถาน และอิหร่าน มีลักษณะบางอย่างทางโครงสร้างของร่างกายเหมือนกับซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์คล้ายคลึงกัน คือ มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นภายนอกลำตัว และไม่มีพฤติกรรมในการเกี้ยวพาราสี ตัวผู้ในบางสกุลแสดงความสนใจในตัวเมียต่อเมื่อมีถุงไข่โผล่ออกมาจากช่องทวารร่วมของตัวเมีย ในช่วงเวลาที่ตัวเมียปล่อยถุงไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำและพยายามทำให้ถุงไข่หลุดออกจากช่องทวารร่วมนั้น ตัวผู้หลายตัวจะเข้าไปกลุ้มรุมตัวเมียและพยายามดันตัวเมียให้พ้นไปจากถุงไข่เพื่อถ่ายสเปิร์ม.

ดู ลิสแซมฟิเบียและอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์

คางคกซูรินาม (สกุล)

งคกซูรินาม (Surinam toad) เป็นสกุลของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Aruna) ในวงศ์กบเล็บ (Pipidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pipa (/ปี-ปา/) มีลักษณะสำคัญ คือ ลำตัวแบนราบเหมือนใบไม้ ไม่มีเล็บเหมือนสกุลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน มีเส้นข้างลำตัวที่เจริญเป็นอย่างดี เนื่องจากใช้ชีวิตและหากินตลอดในน้ำ มีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในน้ำได้หมุนตัวและกลับตัวเพื่อให้ไข่ที่รับได้การปฏิสนธิแล้วขึ้นไปติดอยู่กับผิวของตัวเมีย ต่อมาเนื้อเยื่อของผิวหนังบนหลังของตัวเมียจะแปรสภาพและเจริญขึ้นมาปกคลุมไข่แต่ละฟอง เมื่อไข่พัฒนาเป็นเอ็มบริโอแล้วจะเจริญภายในไข่ที่อยู่บนหลัง เมื่อฟักออกเป็นลูกอ๊อดแล้ว จึงจะแตกตัวออกจากหลังแม่ และใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะพัฒนาเหมือนตัวเต็มวัย ยกเว้นในชนิดคางคกซูรินาม (Pipa pipa) ที่ลูกอ๊อดจะยังอยู่บนหลังแม่ไปจนกว่าจะกลายสภาพเหมือนตัวเต็มวัย ถูกจำแนกออกเป็น 7 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปอเมริกาใต้.

ดู ลิสแซมฟิเบียและคางคกซูรินาม (สกุล)

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ดู ลิสแซมฟิเบียและซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Giant salamander) เป็นสกุลของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่จำพวกซาลาแมนเดอร์ ใช้ชื่อสกุลว่า Andrias ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Cryptobranchidae) มีลักษณะเฉพาะ คือ มีช่องเหงือก 1 คู่ ที่ปิด จัดเป็นซาลาแมนเดอร์และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึงเกือบ 2 เมตร พบเฉพาะลำธารหรือแหล่งน้ำที่ใสสะอาด มีออกซิเจนละลายในปริมาณที่สูง และมีอุณหภูมิหนาวเย็น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก 2 ประเทศเท่านั้น คือ จีน และญี่ปุ่น แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ดู ลิสแซมฟิเบียและซาลาแมนเดอร์ยักษ์

ปาดเขียวตีนดำ

ปาดเขียวตีนดำ (Wallace's frog, Wallace's flying frog) เป็นปาดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปาดโลกเก่า (Rhacophoridae) มีขนาดความยาวลำตัว 80-100 มิลลิเมตร โดยเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ปาดเขียวตีนดำเป็นหนึ่งในปาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Rhacophorus ซึ่งตาและหูของปาดเขียวตีนดำมีขนาดใหญ่ ส่วนของขาทั้ง 4 มีขนาดยาว และบริเวณระหว่างนิ้วมีพังผืดอยู่ตลอดความยาวนิ้ว ประกอบกับบริเวณข้างลำตัวซึ่งมีผิวหนังที่สามารถยืดได้ระหว่างขาหน้าและขาหลัง ทำให้สามารถกระโดดหรือร่อนจากบนต้นไม้สูงลงสู่บริเวณพื้นที่ต่ำกว่าได้ * (2003): AmphibiaWeb -.

ดู ลิสแซมฟิเบียและปาดเขียวตีนดำ

แอมฟิอูมา

แอมฟิอูมา (Amphiuma, Conger eel) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Amphiumidae เป็นวงศ์ที่คงรูปร่างของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในวัยอ่อนไว้เมื่อเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คือ ไม่มีเปลือกตา ไม่มีลิ้น ไม่มีเหงือกภายนอก แต่มีเหงือกภายใน และมีช่องเปิดเหงือก 1 คู่ มีขาทั้ง 2 คู่ แต่มีขนาดเล็กมาก และมีจำนวนนิ้วที่แตกต่างกันตั้งแต่ 1-3 นิ้ว มีฟันและมีปอด มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรืองูและมีความยาวแตกต่างกัน ตั้งแต่ 33 เซนติเมตร จนถึง 1.2 เมตร พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลไม่แรง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น และบางครั้งอาจขึ้นมาบนบก โดยสามารถกินได้ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก เช่น แมลง, กุ้ง, ปู, หอย, ปลา, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกอื่น และหนูตัวเล็ก ๆ ก็สามารถกินได้ หากินในเวลากลางคืน มีการปฏิสนธิภายในตัว โดยตัวผู้จะถ่ายสเปอร์มาโทฟอร์เข้าไปในช่องทวารร่วมของตัวเมียโดยตรง ขณะเกี้ยวพาราสีกัน ตัวเมียวางไข่บนพื้นโคลนใกล้แหล่งน้ำที่อาศัยและเฝ้าดูแลไข่ แอมฟิอูมา มีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Amphiuma แตกต่างกันไปตามจำนวนของนิ้วที่ปรากฏ.

ดู ลิสแซมฟิเบียและแอมฟิอูมา

โอล์ม

อล์ม (Olm, Human fish) เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์หมาน้ำ (Proteidae) จัดเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Proteus (เคยมีอีกชนิดหนึ่ง คือ P.

ดู ลิสแซมฟิเบียและโอล์ม

ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

ำหรับสัตว์ประหลาดในเทพปกรณัมกรีก ดูที่: ไซเรน ไซเรน (Sirens) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sirenidae จัดอยู่ในอันดับย่อย Sirenoidea ไซเรน มีความแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่น ๆ พอสมควร เนื่องจากมีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรือเขียดงู ไม่มีขาคู่หลังและกระดูกเชิงกราน ขาคู่หน้าเล็กมากและนิ้วเท้าลดจำนวนลง ปากเป็นจะงอยแข็ง เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ยังคงรูปโครงสร้างของระยะวัยอ่อนไว้หลายประการ เช่น ไม่มีเปลือกตา, มีเหงือก, มีช่องเปิดเหงือก 1 คู่ หรือ 3 ช่อง, ไม่มีฟัน, ไม่มีกระดูกแมคซิลลา หรือมีขนาดเล็กมาก รวมทั้งลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง มีความยาวของลำตัวประมาณ 10–90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา เช่น บึง, ทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไม่แรง และมีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น กินอาหารจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น กุ้ง, ปู, แมลงน้ำ, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ เป็นต้น โดยกินด้วยการดูด ในช่วงฤดูแล้งจะฝังตัวอยู่ใต้โคลน โดยสร้างปลอกหุ้มตัวคล้ายดักแด้ของแมลง การปฏิสนธิของไซเรน เกิดขึ้นภายนอกตัว และไม่พบมีพฤติกรรมเกี้ยวพาราสี และไม่มีต่อมโคลเอคัลซึ่งเป็นต่อมที่ตัวผู้ของซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่นใช้สร้างสเปอร์มาโทฟอร์ และของตัวเมียใช้เก็บสเปิร์ม ตัวเมียวางไข่ติดกับพืชน้ำหรือสร้างรังอยู่ในกอของพืชน้ำที่อยู่ใต้น้ำ บางชนิดมีพฤติกรรมเฝ้.

ดู ลิสแซมฟิเบียและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

ไซเรนแคระ

ซเรนแคระ (Dwarf sirens, Mud sirens) เป็นสกุลของซาลาแมนเดอร์ จำพวกไซเรน (Sirenidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pseudobranchus ไซเรนในสกุลนี้ มีรูปร่างแตกต่างจากไซเรนในสกุล Siren คือ มีลำตัวสั้นป้อมกว่า และไม่มีกระดูกแมคซิลลา พบกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ดู ลิสแซมฟิเบียและไซเรนแคระ

เฮลล์เบนเดอร์

ลล์เบนเดอร์ (Hellbender, Hellbender salamander) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่ จำพวกซาลาแมนเดอร์ยักษ์ชนิดหนึ่ง นับเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cryptobranchus เฮลล์เบนเดอร์ เป็นซาลาแมนเดอร์ยักษ์เพียงชนิดเดียวที่พบได้ในสหรัฐอเมริกา และเป็นซาลาแมนเดอร์ยักษ์ 1 ใน 3 ชนิดที่สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า 300 ล้านปีมาแล้ว โดยที่ชื่อ "เฮลล์เบนเดอร์" นั้น มีความหมายว่า "เลื้อยมาจากนรก" โดยไม่ทราบสาเหตุที่มาของชื่อนี้ ขณะที่ชื่อสกุลมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า kryptos หมายถึง "หลบซ่อน" และ branchion หมายถึง "เหงือก" นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อสามัญอื่น ๆ อีก เช่น "นากเมือก" (Snot otter), "หมาปีศาจ" (Devil dog) และ "ปีศาจโคลน" (Mud-devil) เป็นต้น ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่า เฮลล์เบนเดอร์เป็นสัตว์มีพิษและเป็นภัยคุกคามต่อการประมง เฮลล์เบนเดอร์มีลักษณะคล้ายกับซาลาแมนเดอร์ยักษ์ที่พบในจีน และญี่ปุ่น คือ มีส่วนหัวแบนที่กว้างและแผ่แบน รอบ ๆ ปากมีตุ่มที่เป็นประสาทสัมผัสตรวจจับการสั่นสะเทือนของน้ำ ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง มุมปากยาวจากตาข้างหนึ่งจรดตาอีกข้างหนึ่ง ลำตัวแบนเรียวยาว หางมีแผ่นครีบ และไวต่อความรู้สึก ผิวหนังย่นเพื่อใช้ในการหายใจแลกเปลี่ยนออกซิเจน เพราะเป็นซาลาแมนเดอร์ที่ใช้ผิวหนังในการหายใจ แต่ทว่ามีความยาวน้อยกว่า โดยเฮลล์เบนเดอร์โตได้เต็มที่ประมาณ 2 ฟุต หรือ 75 เซนติเมตร มีอายุได้ยาวนานถึง 30 ปี เฮลล์เบนเดอร์ อาศัยอยู่ในลำธารน้ำที่ไหลแรงและสะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง ในป่าทึบบนภูเขาที่ห่างไกลของสหรัฐอเมริกา เมื่อถูกคุกคามจะปล่อยเมือกจำนวนมากที่มีรสชาติขม เพื่อป้องกันมิให้ถูกกินจากสัตว์นักล่า เฮลล์เบนเดอร์ตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อน ตัวอ่อนจะมีพู่เหงือกภายนอกเหมือนกับซาลาแมนเดอร์หลายชนิดทั่วไป ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น เครย์ฟิช เป็นอาหาร ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนจะกินแมลงน้ำ ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในโพรงหินหรือใต้ก้อนหิน เนื่องจากมีลำตัวและส่วนหัวที่แบน เพื่อป้องกันตัวเองและมิให้ถูกกระแสน้ำพัดไป เพราะเฮลล์เบนเดอร์โดยเฉพาะที่ยังเป็นตัวเล็กจะตกเป็นอาหารของสัตว์อื่นได้ เช่น เต่า หรืองู รวมถึงปลาเทราต์ เฮลล์เบนเดอร์ตะวันตก หรือเฮลล์เบนเดอร์โอซาร์คส์ เฮลล์เบนเดอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ ชนิดตะวันออก และชนิดตะวันตก โดยชนิดตะวันออกนั้นยังมีจำนวนประชากรมากอยู่และปลอดภัยจากการถูกคุกคาม แต่ในชนิดตะวันตก โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในภูเขาโอซาร์คส์ ทางแถบตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา มีจำนวนประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปีแล้ว ตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 จากการถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงภัยคุกคามอย่างอื่น ได้แก่ มลภาวะในน้ำ และเชื้อราไคทริด ที่เป็นภัยคุกคามสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปัจจุบัน เฮลล์เบนเดอร์ที่ติดเชื้อรานี้จะทำให้เกิดแผลต่าง ๆ ตามร่างกาย ทำให้นิ้วตีนกุดหรือขาดไป และตายในที่สุด แม้จะสามารถงอกอวัยวะใหม่ได้เมื่อขาดไป แต่หากกระดูกภายในได้หักไปแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะงอกใหม่ได้อีก หรือแม้แต่เฮลล์เบนเดอร์ที่มีจำนวนนิ้วงอกมากกว่าปกติก็มี ซึ่งเชื้อราไคทิรดนี้เชื่อว่าแพร่ระบาดมาจากกบที่นำเข้ามาจากแอฟริกา เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้แล้วยังโดนคุกคามจากปลาเทราต์ ซึ่งเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ ปลาเทราต์สีน้ำตาล เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เฮลล์เบนเดอร์ตะวันตกต้องพิการ ในปัจจุบัน ได้มีการให้ทุนจากกรมประมงและสัตว์ป่า สหรัฐอเมริกา (FWS) แก่ผู้ที่ทำการวิจัยและฝึกเฮลล์เบนเดอร์ในวัยอ่อนให้ระวังการจู่โจมของปลาเทราต์สีน้ำตาล ในสถานที่เลี้ยง ก่อนที่จะนำปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป โดยให้เฮลล์เบนเดอร์รู้จักหลบเลี่ยงเมื่อได้กลิ่นของปลาเทราต์The Hellbender, "Nick Baker's Weird Creatures".

ดู ลิสแซมฟิเบียและเฮลล์เบนเดอร์

เขียดงู

ียดงู (Caecilians) เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apoda (ในบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Gymnophiona) มีลักษณะโดยรวมของรูปร่าง คือ ลำตัวเรียวยาวคล้ายงูหรือปลาไหล มีทั้งอาศัยอยู่บนบก ในโพรงดิน และในน้ำ โดยลดรูปโครงสร้างหลายประการซึ่งเป็นลักษณะที่พบกับสัตว์ที่มีลำตัวเรียวยาวหรืออาศัยอยู่ในโพรง กล่าว คือ หางมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีเลย ไม่มีรยางค์ขาหรือฐานรยางค์ แต่ในสกุล Eocaecilia ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีรยางค์ขา ตามีขนาดเล็กและบางชนิดอยู่ในร่องของกระดูกกะโหลกและถูกชั้นหนังปกคลุมไว้ ปอดข้างซ้ายมีขนาดเล็กหรือไม่มี ขณะที่บางวงศ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะไม่มีปอด บางชนิดมีเกล็ดฝังตัวอยู่ในร่องที่แบ่งลำตัวเป็นปล้อง การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายใน โดยตัวผู้จะมีอวัยวะถ่ายอสุจิเจริญจากผนังของห้องทวารร่วม บางชนิดวางไข่ในน้ำ และมีระยะเวลาของวัยอ่อนและบางชนิดวางไข่บนบกโดยไม่มีระยะวัยอ่อน ตัวเมียมีพฤติกรรมเฝ้าไข่ แต่เขียดงูส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 75 ออกลูกเป็นตัว วัยอ่อนภายในท่อนำไข่ได้รับสารอาหารจากสิ่งผลิตภายในท่อนำไข่ มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเป็นปล้อง ปล้องของลำตัวโดยทั่วไปมีจำนานเท่ากับจำนวนปล้องของกระดูกสันหลัง แต่บางชนิดอาจมีปล้องลำตัวจำนวนสองปล้องหรืออาจจะถึงสามปล้องต่อกระดูกสันหลังหนึ่งปล้อง โดยปล้องลำตัวปฐมภูมิเจริญขึ้นมาก่อนต่อจากนั้นจึงมีปล้องลำตัวทุติยภูมิหรือปล้องลำตัวตติยภูมิเจริญขึ้นมาเป็นลำดับต่อมา เกล็ดของเขียดงูประกอบด้วยคอลลาเจนหลายชั้นเรียงซ้อนกันและฝังตัวอยู่ในร่องตรงส่วนลึกที่สุดของปล้องลำตัวปฐมภูมิ โดยเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันในแนวเฉียง กะโหลกของเขียดงูมีชิ้นของกระดูกยึดติดกันแข็งแรงและส่วนใหญ่ไม่มีช่องเปิดที่กะโหลก นอกจากช่องเปิดของอวัยวะรับความรู้สึก ได้แก่ ตา, จมูก, หนวด ในบางวงศ์มีช่องเปิดบริเวณขมับ กระดูกกะโหลกจึงขยับได้บ้าง ฟันที่ขากรรไกรบนอยู่บนกระดูกพรีแมคซิลลา กระดูกแมคซิลโลพาลาทีนและกระดูกโวเมอร์ มีอวัยวะรับรู้จำเพาะ คือ อวัยวะที่แลดูคล้ายหนวด ที่เจริญขึ้นมาจากช่องเปิดที่อยู่ระหว่างตากับช่องเปิดจมูก ตำแหน่งของช่องเปิดหนวดแตกต่างกันในแต่ละชนิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการอนุกรมวิธาน สัดส่วนความยาวของหนวดที่โผล่พ้นช่องเปิดออกมาก็แตกต่างกันในแต่ละวงศ์ โดยหนวดเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ, ต่อม และท่อ การเจริญของหนวดสัมพันธ์กับตาและอวัยวะจาคอบสัน ซึ่งทำหน้าที่รับรู้สารเคมี เขียดงูแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 9 วงศ์ ประมาณ 200 ชนิด (ในขณะที่บางข้อมูลแบ่งเพียง 6 วงศ์ หรือ 3 วงศ์) กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน ยกเว้นบนเกาะมาดากัสการ์และทางตะวันออกของเส้นสมมติวอลเลซ ในประเทศไทยพบได้ 1 วงศ์ เช่น เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis) เป็นต้น.

ดู ลิสแซมฟิเบียและเขียดงู

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Lissamphibiaชั้นย่อยลิสแซมฟิเบีย