โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลอจิกเกต

ดัชนี ลอจิกเกต

ลอจิกเกต หรือ ประตูสัญญาณตรรกะ (logic gate) เป็นตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ซึ่งรับข้อมูลเข้าอย่างน้อยหนึ่งตัว มาคำนวณและส่งข้อมูลออกหนึ่งตัว การทำงานของเกตนิยมเขียนอยู่ในรูปพีชคณิตแบบบูล เมื่อนำเกตต่าง ๆ มาประกอบเป็นวงจรจะได้วงจรตรรกะ (logic circuit) ซึ่งเป็นวงจรดิจิทัลประเภทหนึ่ง เกตนิยมสร้างโดยใช้ไดโอดและทรานซิสเตอร์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็สามารถสร้างโดยใช้วงจรรีเลย์, แสง หรือกลไกอื่น ๆ ได้ด้ว.

14 ความสัมพันธ์: บีม (หุ่นยนต์)พีแอลดีมอสเฟตวงจรบวกวงจรเชิงผสมสัญญาณดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์ทรานซิสเตอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลีแกรฟีนแลตช์ (อิเล็กทรอนิกส์)ไมน์คราฟต์เอฟพีจีเอDigital timing diagram

บีม (หุ่นยนต์)

หุ่นยนต์บีมอย่างง่ายที่มีตัวตรวจจับแสงและวิ่งไล่ตามแสงได้ ซึ่งใช้วัสดุเหลือใช้ อย่างเช่นมอเตอร์ใช้แล้ว และแผ่นพลาสติกเหลือใช้ บีม (BEAM) คือหุ่นยนต์อัตโนมัติรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้อาศัยไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมและประมวลผลสัญญาณเหมือนหุ่นยนต์ทั่วไป แต่อาศัยคุณสมบัติของวงจรแอนะล็อกอย่างง่าย (อย่างเช่น อุปกรณ์เปรียบเทียบ (Comparator) และ ออสซิลเลเตอร์ (Oscillator))ในการสร้างสัญญาณสั่งให้ตัวขับ (actuator) ทำงานได้ กล่าวคือ เป็นการใช้วงจรอิเล็กโทรนิกแบบแอนะล็อกเลียนแบบการทำงานของระบบประสาทในสิ่งมีชีวิตในการสร้างสัญญาณไฟฟ้าเพื่อที่จะควบคุมอวัยวะต่างๆของตัวหุ่นยนต์ (ในที่นี้คือ มอเตอร์ และตัวขับไฮดรอลิก) โดยคำว่า B.E.A.M ย่อมาจาก B.

ใหม่!!: ลอจิกเกตและบีม (หุ่นยนต์) · ดูเพิ่มเติม »

พีแอลดี

ีแอลดี (อังกฤษ Programmable Logic Devices, PLDs) เป็นไอซีที่ใช้สร้างวงจรดิจิทัล แต่มีจุดที่แตกต่างจากลอจิกเกตตรงที่ฟังก์ชันการคำนวณไม่ได้ถูกกำหนดตั้งแต่ตอนผลิต ผู้ที่นำพีแอลดีไปใช้ต้องโปรแกรมพีแอลดีก่อนจึงจะนำไปใช้ในวงจรได้ พีแอลดีมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กที่สามารถสังเคราะห์ 2 ถึง 10 ฟังก์ชัน (หรือสัญญาณออก) ของตัวแปร (หรือสัญญาณเข้า) 4 ถึง 6 ตัว ไปจนถึงฟังก์ชันขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน มีทั้งชนิดวงจรจัดกลุ่ม (Combinational PLD) และวงจรลำดับ (Sequential PLD) การใช้พีแอลดีมีข้อดีคือสามารถใช้แทนที่ไอซีขนาดเล็ก (Small scale integration, SSI) และขนาดกลาง (Medium scale integration, MSI) หลาย ๆ ตัวในการรวมวงจร อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงการออกแบบสามารถทำได้โดยง่ายโดยการเปลี่ยนโปรแกรมของ พีแอลดีโดยไม่ต้องแก้ส่วน Wiring ในร.

ใหม่!!: ลอจิกเกตและพีแอลดี · ดูเพิ่มเติม »

มอสเฟต

ตัวอย่างมอสเฟต มอสเฟต (metal–oxide–semiconductor field-effect transistor: MOSFET) เป็นทรานซิสเตอร์ ที่ใช้อิทธิพลสนามไฟฟ้าในการควบคุมสัญญาณไฟฟ้า โดยใช้ออกไซด์ของโลหะในการทำส่วน GATE นิยมใช้ในวงจรดิจิตอล โดยนำไปสร้างลอจิกเกตต่างๆเพราะมีขนาดเล็ก.

ใหม่!!: ลอจิกเกตและมอสเฟต · ดูเพิ่มเติม »

วงจรบวก

วงจรบวก(Adder) เป็นวงจรเชิงผสม ที่ใช้บวกเลขฐาน2 ซึ่งเป็นหน่วยคำนวณและตรรกะ ชนิดหนึ่ง มักใช้เป็นกรณีศึกษาของการออกแบบวงจรเชิงผสม.

ใหม่!!: ลอจิกเกตและวงจรบวก · ดูเพิ่มเติม »

วงจรเชิงผสม

วงจรเชิงผสม วงจรเชิงผสม(Combinational Curcuit) หรือวงจรไร้ความจำ เกิดจากการต่อลอจิกเกตเข้าด้วยกันโดยไม่มีการต่อกลับ (feed back) ของสาย ทำให้สำหรับทุกๆอินพุตชุดใดชุดหนึ่ง จะมีเอาต์พุตเพียงชุดเดียวเท่านั้น ในระบบวงจรดิจิตอลนั้นโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว วงจรเชิงผสมมักใช้ทำ หน่วยคำนวณและตรรกะ เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ ฯลฯ หรือใช้ในการออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของวงจรเชิงลำดับ หรือ ส่วนข้อมูล(Data Path) ตัวอย่างวงจรเชิงผสม จะเห็นว่าไม่มีการต่อกลับของ.

ใหม่!!: ลอจิกเกตและวงจรเชิงผสม · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาณดิจิทัล

ัญญาณดิจิทัล (digital signal) เป็นสัญญาณทางกายภาพที่เป็นตัวแทดับของค่าที่แยกจากกัน (สัญญาณที่มีปริมาณไม่ต่อเนื่องในแกนเวลา) เช่น กระแสบิตที่ไม่มีหลักเกณฑ์หรือสัญญาณแอนะล็อกที่ถูกทำเป็นบิตสตรีม (digitized) (ถูกสุ่มเลือกและแปลงจากแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล) สัญญาณดิจิทัลสามารถอ้างถึงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้.

ใหม่!!: ลอจิกเกตและสัญญาณดิจิทัล · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กทรอนิกส์

อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็น active component เช่นหลอดสูญญากาศ, ทรานซิสเตอร์, ไดโอด และ Integrated Circuit และ ชิ้นส่วน พาสซีฟ (passive component) เช่น ตัวนำไฟฟ้า, ตัวต้านทานไฟฟ้า, ตัวเก็บประจุ และคอยล์ พฤติกรรมไม่เชิงเส้นของ active component และความสามารถในการควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนทำให้สามารถขยายสัญญาณอ่อนๆให้แรงขึ้นเพื่อการสื่อสารทางภาพและเสียงเช่นโทรเลข, โทรศัพท์, วิทยุ, โทรทัศน์ เป็นต้น อิเล็กทรอนิกส์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการสื่อสารข้อมูลโทรคมนาคม ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ปิดเปิดวงจรถูกนำไปใช้ในวงจร ลอจิกเกต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญหลักในระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้น วงจรอิเล็กทรอนิกส์ยังถูกนำไปใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ในการส่งพลังงานไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ การผลิตพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมต่างๆอีกมาก อิเล็กทรอนิกส์แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเครื่องกลไฟฟ้า โดยจะเกี่ยวข้องกับการสร้าง, การกระจาย, การสวิทช์, การจัดเก็บและการแปลงพลังงานไฟฟ้าไปและมาจากพลังงานรูปแบบอื่น ๆ โดยใช้สายไฟ, มอเตอร์, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, แบตเตอรี่, สวิตช์, รีเลย์, หม้อแปลงไฟฟ้า ตัวต้านทานและส่วนประกอบที่เป็นพาสซีพอื่นๆ ความแตกต่างนี้เริ่มราวปี 1906 เป็นผลจากการประดิษฐ์ไตรโอดโดยลี เดอ ฟอเรสท์ ซึ่งใช้ขยายสัญญาณวิทยุที่อ่อนๆได้ ทำให้เกิดการออกแบบและพัฒนาระบบการรับส่งสัญญาณเสียงและหลอดสูญญากาศ จึงเรียกสาขานี้ว่า "เทคโนโลยีวิทยุ" จนถึงปี 1950 ปัจจุบัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ ใช้ชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำเพื่อควบคุมการทำงานของอิเล็กตรอน การศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำและเทคโนโลยีโซลิดสเตต ในขณะที่การออกแบบและการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติอยู่ภายใต้สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ บทความนี้มุ่งเน้นด้านวิศวกรรมของ.

ใหม่!!: ลอจิกเกตและอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรานซิสเตอร์

ทรานซิสเตอร์ (transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึงตัวนำที่สามารถควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนได้ ใช้ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า, เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า, ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่, หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (modulate) เป็นต้น การทำงานของทรานซิสเตอร์เปรียบได้กับวาล์วควบคุมที่ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่ขาเข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่จ่ายมาจากแหล่งจ่ายไฟ ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่มีอย่างน้อยสามขั้วไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับวงจร ภายนอก แรงดันหรือกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขั้วทรานซิสเตอร์หนึ่งคู่ จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสที่ไหลผ่านในขั้วทรานซิสเตอร์อีกคู่หนึ่ง เนื่องจากพลังงานที่ถูกควบคุม (เอาต์พุต)จะสูงกว่าพลังงานที่ใช้ในการควบคุม (อินพุท) ทรานซิสเตอร์จึงสามารถขยายสัญญาณได้ ปัจจุบัน บางทรานซิสเตอร์ถูกประกอบขึ้นมาต่างหากแต่ยังมีอีกมากที่พบฝังอยู่ใน แผงวงจรรวม ทรานซิสเตอร์เป็นการสร้างบล็อกพื้นฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ​​และเป็นที่แพร่หลายในระบบอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม.

ใหม่!!: ลอจิกเกตและทรานซิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี

ซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นและประดิษฐ์เวิลด์ไวด์เว็บ เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2498) ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ เวิลด์ไวด์เว็บ ผู้อำนวยการWorld Wide Web Consortium (ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาต่อเนื่องใหม่ ๆ เกี่ยวกับเว็บ) นักวิจัยอาวุโสและผู้นั่งในตำแหน่ง ทรีคอมฟาวน์เดอร์สแชร์ (3Com Founders Chair) ที่หอทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์แห่งเอ็มไอที (CSAIL).

ใหม่!!: ลอจิกเกตและทิม เบอร์เนิร์ส-ลี · ดูเพิ่มเติม »

แกรฟีน

แกรฟีนเป็นโครงสร้างตารางแบบรังผึ้งหนาเพียงหนึ่งอะตอมที่ประกอบขึ้นโดยการวางตัวของอะตอมของคาร์บอนหลายๆอะตอม แกรฟีน (Graphene) หรือ กราฟีน เป็นรูปแบบหนึ่งของผลึกคาร์บอน เคียงข้างกับ เพชร, กราไฟท์, ท่อนาโนคาร์บอนและฟูลเลอรีน โดยที่ อะตอมของคาร์บอนจะเรียงตัวในรูปแบบหกเหลี่ยมรังผึ้งทั่วไป แกรฟีนสามารถอธิบายได้ว่า เป็นชั้นหนาเพียงอะตอมเดียวของแร่แกรไฟต์ที่เป็นชั้นๆ กราฟีนที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรงมาก น้ำหนักเบา(แกรฟีนขนาด 1 ตารางเมตรมีน้ำหนักเพียง 0.77 มิลลิกรัมเท่านั้น) เกือบโปร่งใส และเป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี การที่มันมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับวัสดุอื่นๆ และกับแสง, และการที่โดยธรรมชาติเป็นแบบสองมิติของมัน ทำให้มันมีคุณสมบัติเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ในช่วงปี 2004 นักวิจัยหลายคนที่ศึกษาคาร์บอนนาโนทิวบ์ได้คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว กับองค์ประกอบของโครงสร้างและคุณสมบัติของแกรฟีน ซึ่งได้รับการคำนวณในหลายทศวรรษที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ เมื่อรวมเข้ากับคุณสมบัติพิเศษและความสะดวกที่น่าแปลกใจของการแยกออกทำให้เกิดการการวิจัยของแกรฟีนเป็นไปอย่างกว้างขวาง Andre Geim และ คอนสแตนติน Novoselov แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ชนะรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ในปี 2010 "สำหรับการเริ่มต้นการทดลองที่เกี่ยวข้องกับวัสดุแกรฟีนสองมิติ".

ใหม่!!: ลอจิกเกตและแกรฟีน · ดูเพิ่มเติม »

แลตช์ (อิเล็กทรอนิกส์)

แลตซ์ (Latch) เป็นกลุ่มวงจรที่มีขา enable จะกระตุ้นด้วย ระดับของสัญญาณนาฬิกา แทนที่จะเป็น ขอบของสัญญาณนาฬิกา เหมือน ฟลิปฟล็อป จะใช้ขา enable แบ่งเป็นสองประเภทคือ จะทำงานเมื่อสัญญาณนาฬิกาเป็นหนึ่ง (high enable) กับทำงานเมื่อสัญญาณนาฬิกาเป็นศูนย์ (low enable).

ใหม่!!: ลอจิกเกตและแลตช์ (อิเล็กทรอนิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

ไมน์คราฟต์

มน์คราฟต์ (Minecraft) เป็นวิดีโอเกมแซนด์บ็อกซ์ สร้างขึ้นโดยนักออกแบบเกมชาวสวีเดน มาร์คัส "นอตช์" แพร์สสัน (Markus "Notch" Persson) ต่อมาได้รับการพัฒนาและเผยแพร่โดยโมแยง (Mojang) ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างสิ่งต่าง ๆ ในไมน์คราฟต์ช่วยทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างออกเป็นรูปแบบ 3 มิติ ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ในเกมก็จะมีการสำรวจ รวบรวมทรัพยากร คราฟต์ของ และต่อสู้ เกมนี้จะมีโหมดการเล่นที่หลากหลายซึ่งประกอบไปด้วยโหมดเอาชีวิตรอด (Survival mode) เป็นโหมดที่ผู้เล่นจะต้องหาทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อสร้างโลกของตัวเองและต้องรักษาเลือดของตัวเองด้วยโหมดฮาร์ดคอร์ (Hardcore mode) เป็นโหมดที่ผู้เล่นจะต้องหาทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อสร้างโลกของตัวเองเช่นเดียวกับโหมดเอาชีวิตรอด แต่โหมดนี้ผู้เล่นจะมีเพียงแค่หนึ่งชีวิตเท่านั้น กล่าวคือถ้าผู้เล่นตายแล้วจะไม่สามารถเกิดใหม่ได้ โหมดสร้างสรรค์ (Creative mode) เป็นโหมดที่ผู้เล่นมีทรัพยากรไม่จำกัดและสามารถบินได้ โหมดผจญภัย (Adventure mode) เป็นโหมดที่ผู้เล่นสามารถเล่นแมปที่สร้างโดยคนอื่นได้ และโหมดผู้ชม (Spectator mode) เป็นโหมดที่ผู้เล่นสามารถบินไปได้รอบ ๆ และสามารถทะลุบล็อกได้ แต่จะไม่สามารถวางหรือทำลายบล็อกใด ๆ ได้เลย ไมน์คราฟต์ ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลและได้รับรางวัลและเกียรติต่าง ๆ มากมาย ณ เดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ลอจิกเกตและไมน์คราฟต์ · ดูเพิ่มเติม »

เอฟพีจีเอ

An Altera FPGA with 20,000 cells. เอฟพีจีเอ หรือ อุปกรณ์ลอจิกแบบโปรแกรมได้ (field programmable gate array: FPGA) บางครั้งอาจจะมีคนสับสนกับคำว่า flip-chip pin grid array ซึ่งมีโครงสร้างตัวถังคล้ายๆ กัน FPGA จัดเป็น อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดโปรแกรมได้ที่มีโครงข่ายการเชื่อมต่อภายในแบบแมตริกซ์ โครงสร้างภายในของ FPGA นั้นสามารถโปรแกรมให้มีหน้าที่การทำงานเหมือนลอจิกเกตพื้นฐาน เช่น AND, OR, XOR, NOT หรือรวมกันหลายๆ ชนิด (combinational logic) เพื่อให้ทำหน้าที่ที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น decoders หรือฟังก์ชันทางตณิตศาสตร์ ใน FPGAs ทั่วไป นอกจากจะประกอบด้วยส่วนของวงจรลอจิกแบบโปรแกรมได้แล้ว จะยังมีบล็อกของหน่วยความจำ ซึ่งอาจจะสร้างด้วยฟลิบฟลอปอย่างง่าย หรือใช้พื้นที่ของสารกึ่งตัวนำสร้างเป็นหน่วยความจำจริงๆ อยู่ภายในก็ได้ ในการออกแบบวงจรดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มี FPGA อยู่บนแผงวงจรด้วยนั้น จะช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถลดขนาดของแผงวงจร รวมทั้งสามารถออกแบบได้รวดเร็ว ไม่ต้องทดสอบรายละเอียดภายในให้เสร็จสมบูรณ์ 100 % ก็สามารถออกแบบแผงวงจรได้ เมื่อได้รับแผงวงจรและประกอบอุปกรณ์ต่างๆ เสร็จแล้ว จึงค่อยกำหนดหน้าที่การทำงานของ FPGA ได้ในภายหลัง ต่างจากการออกแบบด้วยลอจิกเกตขนาดเล็ก ที่ต้องออกแบบทางเดินของลายทองแดงให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน และไม่สามารถแก้ไขได้ในภายหลัง นอกจากนี้ การใช้งาน FPGA สามารถโปรแกรมการทำงานได้ในทุกขณะแม้แต่ขณะที่ส่งมอบงานแล้ว ก็ยังสามารถเข้าไปแก้ไขวงจรได้โดยง่ายดาย จึงเป็นที่มาของคำว่า "field programmable" ซึ่งก็หมายถึงโปรแกรมได้ในภาคสนามหรือที่หน้างานนั่นเอง อย่างไรก็ตามข้อกำหนด (Configuration) ของ FPGA จะหายไปหลังจากปิดไฟเลี้ยง ดังนั้น จะต้องมีหน่วยความจำภายนอก (Flash) มาคอยรักษาข้อกำหนดของ FPGA ไว้ ซึ่ง FPGA จะมีกระบวนการอ่านข้อกำหนดนั้นโดยอัตโนมัติหลังจากได้รับไฟเลี้ยง การทำงานของ FPGAs จะยังมีความเร็วที่ด้อยกว่าapplication-specific integrated circuit (ASIC), และเมื่อเปรียบเทียบขนาดทางกายภาพ พบว่าจะมีความหนาแน่นของวงจรที่น้อยกว่า รวมทั้งใช้กำลังงานมากกว่า ASIC อย่างไรก็ตาม FPGA มีข้อได้เปรียบตรงที่ใช้เวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (time to market) ที่น้อยกว่า สามารถแก้ไขวงจรได้หลังจากที่ใช้งานจริงในภาคสนาม,และมีค่าแรงในการดำเนินการที่ต่ำกว่า (non-recurring engineering).

ใหม่!!: ลอจิกเกตและเอฟพีจีเอ · ดูเพิ่มเติม »

Digital timing diagram

แผนผัง SPI Digital timing diagram คือ แผนผังแสดงการเปลี่ยนแปลงสถานะของลอจิกเกตต่างๆ โดยจะมีทั้งค่าอินพุต และ เอาต์พุต ของลอจิกเกตนั้นๆ ซึ่งตามแผนผังแล้ว จะแบ่งออกเป็นช่องๆ ถ้าเราดูแนวนอนจะพบว่า แนวนอน คือ เวลา เช่น เวลาที่ t1, t2, t3,. ส่วนแนวตั้งนั้นจะเป็นตัวแปรอินพุท และเอาต์พุต ซึ่งค่า เอาต์พุตนั้นจะเปลี่ยนแปลงตามค่าลอจิกเกตที่เรากำหนดมัน การอ่านค่าของ Timing Diagram นั้น เราจะอ่านจากซ้ายไปขวา และค่าของตัวอินพุท และ เอาต์พุต นั้น จะมีค่าแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น โดยดูจากเส้นในแนวนอน ถ้าอยู่ข้างล่างจะเป็นค่า 0 แต่ถ้าอยู่ข้างบนจะเป็นค่า 1 ซึ่งค่าในแต่ละช่องของอินพุท และเอาต์พุตนั้นจะแตกต่างกันไป และจากการดูแผนผังเวลานั้น เราสามารถนำมาเขียนเป็นตารางค่าความจริง (Truth Table) ได้ และในทางกลับกันเราก็สามารถเขียน Timing Diagram จากตารางค่าความจริงได้ Timing Diagram มีประโยชน์ คือ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ค่าความจริงของลอจิกเกตได้ และยังสามารถใช้ตรวจสอบวงจรดิจิตอลที่เราต่อได้โดยดูจากค่าของเอาต์พุต หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์ หมวดหมู่:วงจรดิจิทัล หมวดหมู่:ระบบดิจิทัล.

ใหม่!!: ลอจิกเกตและDigital timing diagram · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Logic GateLogic gateลอจิกเกทวงจรตรรกวงจรตรรกะประตูสัญญาณตรรกะเกต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »