เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ริชาร์ด ไฟน์แมน

ดัชนี ริชาร์ด ไฟน์แมน

ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.

สารบัญ

  1. 22 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์พ.ศ. 2461พ.ศ. 2508พ.ศ. 2531พาย (ค่าคงตัว)การทดลองทางความคิดมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์วิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียอันตรกิริยาพื้นฐานทรินิตีดักลาส โอเชอร์ออฟตารางธาตุประวัติศาสตร์ฟิสิกส์นักฟิสิกส์นักวิทยาศาสตร์นักคณิตศาสตร์นีล ดะแกรส ไทสันเฟืองแบบบราวน์11 พฤษภาคม15 กุมภาพันธ์

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและฟิสิกส์

พ.ศ. 2461

ทธศักราช 2461 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1918 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินจูเลียน.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและพ.ศ. 2461

พ.ศ. 2508

ทธศักราช 2508 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1965 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและพ.ศ. 2508

พ.ศ. 2531

ทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและพ.ศ. 2531

พาย (ค่าคงตัว)

ัญลักษณ์ของพาย พาย หรือ ไพ (อักษรกรีก) เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดจากความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ค่า π มักใช้ในคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์ และวิศวกรรม π เป็นอักษรกรีกที่ตรงกับตัว "p" ในอักษรละติน มีชื่อว่า "pi" (อ่านว่า พาย ในภาษาอังกฤษ แต่อ่านว่า พี ในภาษากรีก) บางครั้งเรียกว่า ค่าคงตัวของอาร์คิมิดีส (Archimedes' Constant) หรือจำนวนของลูดอล์ฟ (Ludolphine number หรือ Ludolph's Constant) ในเรขาคณิตแบบยุคลิด π มีนิยามว่าเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม หรือเป็นอัตราส่วนของพื้นที่วงกลม หารด้วย รัศมียกกำลังกำลังสอง ในคณิตศาสตร์ชั้นสูงจะนิยาม π โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เช่น π คือจำนวนบวก x ที่น้อยสุดที่ทำให้ sin (x).

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและพาย (ค่าคงตัว)

การทดลองทางความคิด

การทดลองทางความคิด (Thought Experiment) (มาจากคำ เยอรมัน ว่า Gedankenexperiment ซึ่งตั้งโดย ฮานส์ คริสเตียน เออร์สเตด) ในความหมายที่แพร่หลายที่สุดคือ การใช้แผนการที่จินตนาการขึ้นมาเพื่อช่วยเราเข้าใจวิถีทางที่สิ่งต่าง ๆ เป็นในความเป็นจริง ความเข้าใจได้มาจากปฏิกิริยาต่อสถานการณ์นั้น หลักการของการทดลองทางความคิด เป็น a priori มากกว่า เชิงประจักษ์ กล่าวคือ การทดลองทางความคิดไม่ได้มาจาก การสังเกต หรือ การทดลอง แต่อย่างใด การทดลองทางความคิดคือคำถามเชิง สมมติฐาน ที่วางรูปแบบอย่างดีซึ่งให้เหตุผลจำพวก "จะเกิดอะไรถ้า?" (ดูที่ irrealis moods) การทดลองทางความคิดถูกนำมาใช้ใน ปรัชญา, ฟิสิกส์, และสาขาอื่น ๆ มันถูกใช้ในการตั้งคำถามทางปรัชญาอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ยุคกรีก สมัยก่อน โสกราตีส ในฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ นั้น การทดลองทางความคิดที่มีชื่อเริ่มจากคริสตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ตัวอย่างต่าง ๆ ก็ได้เริ่มพบมากตั้งแต่อย่างน้อยในยุคของ กาลิเลโอ.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและการทดลองทางความคิด

มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน

ฟัลด์ฮอลล์ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองพรินซ์ตัน ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (Nobelpriset i fysik, Nobel Prize in Physics) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งใน 5 สาขา ริเริ่มโดยอัลเฟรด โนเบล ตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและวิทยาศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

ห้องสมุดมิลลิแกน สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ แคลเทค (California Institute of Technology ย่อว่า CalTech) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแพซาดีนา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งในปี พ.ศ.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

อันตรกิริยาพื้นฐาน

อันตรกิริยาพื้นฐาน (fundamental interaction; บางครั้งก็เรียกว่า แรงพื้นฐาน) ในทางฟิสิกส์ คือวิธีการที่อนุภาคชนิดเรียบง่ายที่สุดในเอกภพกระทำต่อกันและกัน อันตรกิริยานั้นจะถือว่าเป็นอันตรกิริยาพื้นฐานเมื่อมันไม่สามารถอธิบายในรูปแบบอันตรกิริยาอื่นใดได้อีก มีอันตรกิริยาพื้นฐานอยู่ 4 ชนิดที่เรารู้จัก ได้แก่ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า อันตรกิริยาอย่างเข้ม อันตรกิริยาอย่างอ่อน (บางครั้งก็เรียกว่า แรงนิวเคลียร์ชนิดเข้ม กับ แรงนิวเคลียร์ชนิดอ่อน) และแรงโน้มถ่วง แรงสามชนิดแรกนั้นสามารถอธิบายได้ในรูปแบบของกระบวนการคำนวณต่างๆ ด้วยทฤษฎีที่เรียกชื่อว่า perturbation theory โดยการพิจารณาการแลกเปลี่ยนโบซอนระหว่างอนุภาค ตารางต่อไปนี้แสดงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอันตรกิริยาแบบต่างๆ ค่าของแรงสัมพัทธ์และระยะที่มีผลที่แสดงในตารางนี้ จะมีความหมายก็ต่อเมื่ออยู่ในกรอบการพิจารณาทางทฤษฎีเท่านั้น พึงทราบด้วยว่าข้อมูลในตารางนี้อ้างอิงจากแนวคิดหลักซึ่งยังเป็นหัวข้อวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ ในฟิสิกส์แผนใหม่ อันตรกิริยาระหว่างอนุภาคมักจะอธิบายได้ในรูปของการแลกเปลี่ยนหรือการคายและดูดกลืนแบบต่อเนื่องของอะไรบางอย่างที่เรียกอนุภาคสนาม (field particles) หรือ อนุภาคแลกเปลี่ยน (exchange particles) ในกรณีอันตรกิริยาไฟฟ้าอนุภาคสนามก็คือ โฟตอน (photon) ในภาษาของฟิสิกส์แผนใหม่เรากล่าวว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีโฟตอนเป็นสื่อ (mediated) หรือพาหะ (carrier) และโฟตอนก็เป็นอนุภาคสนามของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นกัน แรงนิวเคลียร์ก็มีสื่อเรียก      กลูออน (gluons) (ที่มีชื่อเช่นนี้ เพราะมัน “ยึดติด” นิวคลีออนไว้ด้วยกันเหมือนกาว) แรงอ่อนมีอนุภาคสนามเป็นสื่อ ชื่อ W และ Z โบซอน (bosons) และแรงโน้มถ่วงมีอนุภาคสนามเป็นพาหะเรียก      แกรวิตอน (gravitons) อันตรกิริยาเหล่านี้ พิสัยและความเข้มสัมพัทธ์ของมัน.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและอันตรกิริยาพื้นฐาน

ทรินิตี

ในการทดลองอาวุธ ทรินิตี (Trinity) เป็นการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรก โดยสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 16 กรกฎาคม..

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและทรินิตี

ดักลาส โอเชอร์ออฟ

ตราจารย์เกียรติคุณ ดร.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและดักลาส โอเชอร์ออฟ

ตารางธาตุ

ตารางธาตุในลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ รู้จักกันในฐานะผู้ที่ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรก ใน..

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและตารางธาตุ

ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

''Table of Mechanicks'', 1728 ''Cyclopaedia''. ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์ คือ การศึกษาการเติบโตของฟิสิกส์ไม่ได้นำมาเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโลกแห่งวัตถุ คณิตศาสตร์ และ ปรัชญา เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และการเปลี่ยนรูปแบบของสังคม ฟิสิกส์ถูกพิจารณาในแง่ของทั้งตัวเนื้อความรู้และการปฏิบัติที่สร้างและส่งผ่านความรู้ดังกล่าว การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นประมาณปี ค.ศ.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

นักฟิสิกส์

นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้น.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและนักฟิสิกส์

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและนักวิทยาศาสตร์

นักคณิตศาสตร์

นักคณิตศาสตร์ (mathematician) คือบุคคลที่ศึกษาและ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและนักคณิตศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทสัน

นีล ดะแกรส ไทสัน (Neil deGrasse Tyson; เกิด 5 ตุลาคม 1958) เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้ประพันธ์และผู้สื่อสารวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ตั้งแต่ปี 1996 เขาเป็นผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลองเฮย์เดน ณ ศูนย์โลกและอวกาศโรสในนครนิวยอร์ก ศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา ซึ่งไทสันก่อตั้งแผนกฟิสิกส์ดาราศาสตร์ในปี 1997 และเป็นผู้ช่วยวิจัยในแผนกฯ ตั้งแต่ปี 2003 เขาเกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก มีความสนใจดาราศาสตร์ตั้งแต่อายุ 9 ปีหลังชมท้องฟ้าจำลองเฮย์เดน หลังสำเร็จการศึกษาจากไฮสกูลวิททยาศาสตร์บรองซ์ ซึ่งเขาเป็นบรรณาธิการอำนวยการของวารสารวิทยาศาสตร์กายภาพ เขาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิชาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 1980 หลังได้รับปริญญาโทในสาขาดาราศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสตินในปี 1983 เขาได้รับปริญญาโท (ปี 1989) และปริญญาเอก (ปี 1991) ในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อีกสามปีถัดมา เขาเป็นผู้ช่วยวิจัยหลังปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในปี 1994 เขาเข้าร่วมเป็นนักวิทยาศาสตร์เจ้าหน้าที่ ณ ท้องฟ้าจำลองเฮย์เดนและศูนย์พรินซ์ตันเป็นนักวิทยาศาสตร์วิจัยและอาจารย์รับเชิญ ในปี 1996 เขาเป็นผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลองและควบคุมดูแลโครงการบูรณะ 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2000 ระหว่างปี 1995 ถึง 2005 ไทสันเขียนความเรียงรายเดือนในคอลัมน์ "เอกภพ" ให้นิตยสารประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งบางส่วนจัดพิมพ์ในหนังสือของเขา มรณะด้วยหลุมดำ (ปี 2007) และฟิสิกส์ดาราศาสตร์สำหรับคนรีบ (ปี 2017) ในช่วงเดียวกัน เขาเขียนคอลัมน์รายเดือนในนิตยสารสตาร์เดต ตอบคำถามเกี่ยวกับเอกภพโดยใช้นามปากกา "เมอร์ลิน" เนื้อความจากคอลัมน์ปรากฏในหนังสือของเขา ทัวร์เอกภพของเมอร์ลิน (ปี 1998) และเพียงชมดาวเคราะห์นี้ (ปี 1998) ไทสันรับราชการเป็นคณะกรรมการของรัฐบาลว่าด้วยอนาคตของอุตสาหกรรมห้วงอากาศ-อวกาศของสหรัฐปี 2001 และในคณะกรรมการดวงจันทร์ ดาวอังคารและกว่านั้นปี 2004 เขาได้รับเหรียญราชการโดดเด่นของนาซาในปีเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2011 เขาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์โนวาไซอันซ์นาว ทางพีบีเอส ตั้งแต่ปี 2009 เขาเป็นพิธีกรพอตคแสรายสัปดาห์ สตาร์ทอล์ก รายการแยกชื่อเดียวกันเริ่มแพร่สัญญาณทางเนชันแนลจีโอกราฟิกในปี 2015; ในปี 2014 เขาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ คอสมอส: อะสเปซไทม์ออดิซีย์ (จักรวาล: การเดินทางปริภูมิ-เวลา) ซึ่งต่อจากซีรีย์คอสมอส: อะเพอร์ซันแนลโวยาจ (จักรวาล: การเดินทางส่วนบุคคล) ของคาร์ล เซแกนในปี 1980 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐมอบเหรียญสวัสดิการสาธารณะแก่ไทสันในปี 2015 สำหรับ "บทบาทโดดเด่นในการสร้างความตื่นเต้นแก่สาธารณะเกี่ยวกับสิ่งมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์".

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและนีล ดะแกรส ไทสัน

เฟืองแบบบราวน์

Brownian ratchet คือ การทดลองทางความคิด เกี่ยวกับเครื่องจักร perpetual motion ที่เห็นได้ชัดซึ่งตั้งโดย ริชาร์ด ไฟยน์แมน ในการบรรยาย ฟิสิกส์ ณ California Institute of Technology ในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและเฟืองแบบบราวน์

11 พฤษภาคม

วันที่ 11 พฤษภาคม เป็นวันที่ 131 ของปี (วันที่ 132 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 234 วันในปีนั้น.

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและ11 พฤษภาคม

15 กุมภาพันธ์

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 46 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 319 วันในปีนั้น (320 วันในปีอธิกสุรทิน).

ดู ริชาร์ด ไฟน์แมนและ15 กุมภาพันธ์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ FeynmanRichard Feynmanริชาร์ด ฟายน์แมนไฟน์แมน