สารบัญ
62 ความสัมพันธ์: บูเช็กเทียนพระเจ้าโจวกงพระเจ้าโจวมู่พระเจ้าโจวอวี่ (จี เจี้ยน)พระเจ้าโจวอู่พระเจ้าโจวฮวนพระเจ้าโจวผิงพระเจ้าโจวจวงพระเจ้าโจวจิง (กุย)พระเจ้าโจวคังพระเจ้าโจวนันพระเจ้าโจวโยวพระเจ้าโจวไท่พระเจ้าโจวเหวินพระเจ้าโจวเจ้าพระเจ้าโจวเฉิงพระเจ้าโจวเซี่ยวพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรกฎหมายจีนดั้งเดิมการสอบขุนนางฐานันดรศักดิ์จีนมังกรจีนมาตราชั่งตวงวัดของญี่ปุ่นยาทาเล็บยุทธการมู่เหย่ยุควสันตสารทรัฐฉินราชวงศ์ราชวงศ์โจว (แก้ความกำกวม)รายพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โจวรายพระนามจักรพรรดินีจีนสิทธิปฏิวัติสีในวัฒนธรรมจีนหมากล้อมห้องสินอาณัติแห่งสวรรค์อาณาจักรแพ็กเจใหม่อาณาจักรโชซ็อนโบราณอู๋ซีอู๋ไท่ปั๋วอ๋องจิ๋นซีฮ่องเต้ขันทีคลองใหญ่ (ประเทศจีน)ความชอบธรรม (รัฐศาสตร์)ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีนตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีนซีอานซนโนโจอิปฏิทินจีน... ขยายดัชนี (12 มากกว่า) »
บูเช็กเทียน
อู่ เจ๋อเทียน ตามสำเนียงกลาง หรือ บูเช็กเทียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (พระราชสมภพ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 624ปีประสูตินี้ ได้มาจากการเอาพระชนม์กับปีสวรรคตที่ระบุไว้ใน นวพงศาวดารถัง (New Book of Tang) ฉบับ ค.ศ.
พระเจ้าโจวกง
ระเจ้าโจวกง เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์โจว ครองราชย์ในช่วงระหว่าง 922-900 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือ 917/15-900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยประมาณตามประวัติศาสตร์โบราณของจีนเคมบร.
พระเจ้าโจวมู่
ระเจ้าโจวมู่ เป็นกษัตริย์องค์ที่ห้าของจีนในราชวงศ์โจว ครองราชย์ในช่วงระหว่าง 976-922 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 956-918 ปีก่อนคริสตกาล โดยประมาณ.
พระเจ้าโจวอวี่ (จี เจี้ยน)
ระเจ้าโจวอวี่ เป็นกษัตริย์องค์ที่เจ็ดของจีนในราชวงศ์โจว ครองราชย์ในช่วงระหว่าง 899–892 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 899–873 ปีก่อนคริสตกาล โดยประมาณตามประวัติศาสตร์โบราณของจีนเคมบร.
ดู ราชวงศ์โจวและพระเจ้าโจวอวี่ (จี เจี้ยน)
พระเจ้าโจวอู่
ระเจ้าโจวอู่ (หรือพระเจ้าจิวบู๊อ๋อง ในสำเนียงแต้จิ๋ว) (? - 1043 ปีก่อน ค.ศ.) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ผู้โค่นล้ม ราชวงศ์ซาง ทรงครองราชย์ระหว่าง 1046 - 1043 ปีก่อน..
พระเจ้าโจวฮวน
พระเจ้าโจวฮวน (จีน: 周桓王; pinyin: Zhōu Húan Wáng,? - 697 BC) กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์โจว และองค์ ที่ 2 แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก ขึ้นครองราชย์สืบต่อจาก พระเจ้าโจวผิง พระอัยกา เมื่อ 719 ปีก่อนคริสตกาล ครองราชย์ได้ 23 ปี สวรรคตเมื่อ 697 ปีก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์โจว หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:697 ปีก่อนคริสตกาล.
พระเจ้าโจวผิง
ระเจ้าโจวผิง (King Ping of Zhou) (? - 720 ปีก่อนคริสตกาล) (จีน: 周平王พินอิน: zhōu píngwáng) กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์โจว และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก ครองราชย์ระหว่าง 771 - 720 ปีก่อนคริสตกาล เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจวอิว กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โจวตะวันตก ที่ประสูติแต่พระมเหสีองค์แรกที่ถูกปลด เมื่อพระราชบิดาสวรรคตและราชวงศ์โจวตะวันตกล่มสลายลง เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางข้าราชการ ได้พร้อมใจกันเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อ ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงและโปรดให้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่ลั่วหยาง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองหลวงเดิม ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 51 ปีจึงสวรรคต เมื่อ 720 ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นพระราชนัดดาของพระองค์จึงขึ้นครองราชย์สืบต่อมา เป็น พระเจ้าโจวฮวน.
พระเจ้าโจวจวง
พระเจ้าโจวจวง (สิ้นพระชนม์ 682 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม จีโถว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 15 ในราชวงศ์โจว และรัชกาลที่ 3 ในราชวงศ์โจวตะวันออก ครองราชบัลลังก์ระหว่าง 696 – 682 ปีก่อนคริสตกาลสืบต่อจากพระราชบิดาคือพระเจ้าโจวฮวน หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์โจว.
พระเจ้าโจวจิง (กุย)
พระเจ้าโจวจิง (? - 520 ปีก่อนคริสตกาล, ครองราชย์ 544 – 520 ปีก่อนคริสตกาล) พระมหากษัตริย์องค์ที่ 24 แห่ง ราชวงศ์โจว และเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 12 แห่ง ราชวงศ์โจวตะวันออก ครองราชย์ระหว่าง 544 – 520 ปีก่อนคริสตกาลภายหลังการสวรรคตของ พระเจ้าโจวหลิง ผู้เป็นพระราชบิดาซึ่งผู้ที่สืบราชบัลลังก์ต่อคือพระราชโอรสของพระองค์ พระเจ้าโจวเต้า.
ดู ราชวงศ์โจวและพระเจ้าโจวจิง (กุย)
พระเจ้าโจวคัง
ระเจ้าโจวคัง เป็นกษัตริย์องค์ที่สามของจีนในราชวงศ์โจว และเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโจวเฉิง ครองราชย์ในช่วงระหว่าง 1020 – 996 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าโจวคัง ได้ทรงตามรอยนโยบายของพระราชบิดาพระเจ้าโจวเฉิง และทรงขยายอาณาเขตของโจวในภาคเหนือและตะวันตก พระองค์ยังทรงปราบปรามก่อจลาจลในภาคตะวันออก ทำให้เจริญรุ่งเรืองในราชวงศ์โจวภายใต้การปกครองของพระเจ้าโจวคัง พระองค์มีพระราชโอรส 1 พระองค์ คือ พระเจ้าโจวเจ้.
พระเจ้าโจวนัน
พระเจ้าโจวนัน (? – 256 ปีก่อนคริสตกาล, ครองราชย์ 314 – 256 ปีก่อนคริสตกาล) พระมหากษัตริย์ลำดับสุดท้ายแห่ง ราชวงศ์โจว พระองค์ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุคก่อนรวมแผ่นดินซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้สูญเสียพระราชอำนาจทั้งทางด้านการทหารและการปกครองกระทั่งพระองค์สวรรคตเมื่อ 256 ปีก่อนคริสตกาลตำแหน่งกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจวจึงถูกยกเลิก.
พระเจ้าโจวโยว
ระเจ้าโจวโยว (King You of Zhou) (ครองราชย์ 781-771 ปีก่อนคริสตกาล) (จีน: 周幽王; พินอิน: zhōu yōu wáng) กษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์โจว และองค์สุดท้ายของราชวงศ์โจวตะวันตก ในปีแรกที่ขึ้นครองราชย์คือ 780 ปีก่อนคริสตกาล ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่กวนจง ทรงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอไร้ความสามารถ เสวยแต่น้ำจัณฑ์ หลงผู้หญิงถึงขั้นทรงปลดพระมเหสีและองค์รัชทายาทองค์เก่าลงจากตำแหน่ง พร้อมกับแต่งตั้งนางเปาซือ และพระโอรสอีกองค์ขึ้นเป็นพระมเหสีและองค์รัชทายาทองค์ใหม่ พระนางเปาซือทรงยิ้มไม่เป็น พระเจ้าโจวโยวจึงโปรดให้จุดพลุเตือนภัยขึ้นฟ้า ทำให้พระนางเปาซือยิ้มได้ แต่ท่านอ๋องเข้าใจผิดว่ามีข้าศึกมารุกราน ก็เดินทางมายังพระราชวัง เมื่อไม่เห็นข้าศึกก็โกรธและเดินทางกลับไป ต่อมาเมื่อมีข้าศึกมารุกรานจริง ๆ พระเจ้าโจวโยวโปรดให้จุดพลุเตือนภัยขึ้นฟ้า แต่เหล่าท่านอ๋องก็ไม่สนใจ เหล่าข้าศึกบุกเข้าพระราชวัง พระเจ้าโจวโยวเห็นจวนตัวก็ทรงปลงพระชนม์เอง ส่วนพระนางเปาซือและองค์รัชทายาทก็ถูกจับไป ส่วนอดีตมเหสีและองค์รัชทายาทก็อพยพไปยังลั่วหยาง พร้อมกับเชื้อพระวงศ์ขุนนางข้าราชการ และประชาชน และทรงถูกอัญเชิญขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก ส่วนราชวงศ์โจวตะวันตกก็ล่มสลายจากเหตุการณ์คราวนี้.
พระเจ้าโจวไท่
ระเจ้าโจวไท่ (แปลว่า มหาราชแห่งโจว) หรือ กู่กงตั่นฟู่ (แปลว่า พระยาตั่นฟู่ผู้ชรา) เป็นผู้ปกครองและกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองโจวในช่วงราชวงศ์ซาง ต่อมา เหลนของพระองค์ผู้มีพระนามว่า ฟา (發) หรือ พระเจ้าโจวอู่ ได้ยกทัพเข้าครอบครองเมืองซางและสถาปนาราชวงศ์โจว.
พระเจ้าโจวเหวิน
ระเจ้าโจวเหวิน (King Wen of Zhou) เป็นกษัตริย์จีนในราชวงศ์โจวอยู่ในช่วงระหว่างปลายราชวงศ์ชาง แม้ว่าโจวอู่หวัง พระราชโอรสของพระองค์ ได้ยกทัพมาปราบพระเจ้าซางโจ้วกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชางพระองค์สุดท้าย แล้วสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น แต่พระเจ้าโจวเหวิน ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สถาปนาก่อตั้งราชวงศ์โจว.
ดู ราชวงศ์โจวและพระเจ้าโจวเหวิน
พระเจ้าโจวเจ้า
ระเจ้าโจวเจา เป็นกษัตริย์องค์ที่สี่ของจีนในราชวงศ์โจว ครองราชย์ในช่วงระหว่าง 995-977 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 977/75-957 ปีก่อนคริสตกาล โดยประมาณ ในรัชกาลพระเจ้าโจวเจา ที่เกิดขึ้นที่จุดเมื่อราชวงศ์โจว ได้ขยายไปทั่วที่ราบลุ่มภาคกลางของจีนและหันความสนใจไปยังภาคใต้ของจีน พระเจ้าโจวเจา ถูกปลงพระชนพ์และกองทัพของพระองค์ รณรงค์ถูกเช็ดออกทางทิศใต้ของแม่น้ำฮัน และสร้างขีดจำกัดของการควบคุมโดยตรงของภาคใต้ในช่วงราชวงศ์โจวตะวันตก.
ดู ราชวงศ์โจวและพระเจ้าโจวเจ้า
พระเจ้าโจวเฉิง
ระเจ้าโจวเฉิง (จีน: 周成王พินอิน: zhōu chéng wáng) กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่ง ราชวงศ์โจว ทรงครองราชย์ระหว่าง 1043- 1021 ปีก่อนคริสตกาล เป็นพระราชโอรสองค์โตใน พระเจ้าโจวอู่ ทรงพระนามเดิมว่า จี สง เมื่อพระราชบิดาสวรรคตเมื่อ 1043 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวเฉิง ในรัชสมัยของพระองค์ มีโจวกง (จีตัน ผู้เป็นพระปิตุลาหรืออา) ช่วยบริหารราชการแผ่นดิน แผ่นดินสงบสันติ พระเจ้าโจวเฉิง เสด็จสวรรคตเมื่อ 1021 ปีก่อนคริสตกาล องค์ชายจี จ้าว จึงขึ้นครองราชย์สืบต่อมาเป็น พระเจ้าคัง.
ดู ราชวงศ์โจวและพระเจ้าโจวเฉิง
พระเจ้าโจวเซี่ยว
ระเจ้าโจวเซี่ยว เป็นกษัตริย์องค์ที่ 8 ของจีนในราชวงศ์โจว ครองราชย์ในช่วงระหว่าง 891–886 ปีก่อนคริสตกาล เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโจวมู่ และเป็นพระราชอนุชาของพระเจ้าโจวกง.
ดู ราชวงศ์โจวและพระเจ้าโจวเซี่ยว
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร
ัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร หรือ อุทยานมังกรสวรรค์ สร้างขึ้นตามความต้องการของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เริ่มออกแบบและจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรขึ้นภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ห่างจากฝั่งแม่น้ำไปตามถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของชาวจีนในประเทศไทย ตลอดจนประวัติศาสตร์และอารยธรรมจีน เพื่อเป็นอนุสรณ์สัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ครบ 20 ปีใน..
ดู ราชวงศ์โจวและพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร
กฎหมายจีนดั้งเดิม
กฎหมายจีนดั้งเดิม (traditional Chinese law) หมายถึง บรรดากฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่ใช้บังคับในประเทศจีนนับแต่โบราณกาลมาจนถึง พ.ศ.
ดู ราชวงศ์โจวและกฎหมายจีนดั้งเดิม
การสอบขุนนาง
การสอบขุนนาง (imperial examination) เป็นระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการพลเรือนในประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อสอบบรรจุข้าราชการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับระบบราชการของรัฐ ในการสอบใช้ข้อสอบแบบวัตถุวิสัย (objective) เพื่อประเมินการได้รับความรู้และคุณธรรมของผู้เข้าสอบ ผู้สอบได้จะได้รับวุฒิ จิ้นชื่อ แปลว่า "บัณฑิตชั้นสูง" (advanced scholar) (ซึ่งอาจเทียบได้กับปริญญา ดุษฎีบัณฑิต หรือปริญญาเอกในระบบการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งถือเป็นชั้นสูงสุด) รวมถึงปริญญาชั้นอื่น ๆ แล้วจะได้รับการประเมินเพื่อบรรจุเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ได้รับวุฒิจิ้นซี่อในการสอบขุนนางนั้นจะได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการระดับสูงแห่งราชสำนัก ตำแหน่งที่ได้รับจะเรียงตามลำดับผลคะแนนที่สอบได้ ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงกว่าจะได้รับตำแหน่งที่ดีกว่า นอกจากนั้นองค์จักรพรรดิหรือจักรพรรดินีจะทรงให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้เข้าสอบที่ได้คะแนนสูงสุด ด้วยพื้นฐานจากปรัชญาลัทธิขงจื้อ การสอบขุนนางนี้โดยทฤษฎีแล้วมุ่งทดสอบและคัดเลือกบุคคลด้วยคุณธรรม จึงมีอิทธิพลต่อประเทศจีนทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีส่วนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการคานอำนาจในช่วงราชวงศ์ถัง ราชวงศ์โจวของพระนางบูเช็กเทียน (Wu Zetian) และราชวงศ์ซ่ง ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังส่งผลเป็นการหลอมรวมโครงสร้างทางสังคมไว้เป็นเวลานาน อนึ่ง มีหลายครั้งที่การสอบทำให้อภิชนบางกลุ่มถูกแทนที่ด้วยบุคคลจากชั้นรากหญ้า หลายดินแดนในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศเวียดนาม ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และรีวกีว (Ryūkyū) รับระบบการสอบนี้มาใช้เพื่อคัดเลือกบุคคลระดับหัวกะทิ เพื่อรักษาเป้าหมายทางอุดมคติและทรัพยากร กับทั้งเพื่อส่งเสริมวรรณกรรมและการเล่าเรียน เนื่องจากการจัดการสอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบทะเบียนหลวง วันที่ได้รับการประสาทวุฒิจิ้นชื่อ จึงมักเป็นข้อมูลที่ชัดเจนส่วนหนึ่งที่ระบุไว้ในชีวประวัติบุคคลสำคัญสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ต่อ ๆ มา ในประวัติศาสตร์จีน.
ฐานันดรศักดิ์จีน
นชั้นฐานันดรจีน ประกอบด้วย กษัตริย์และขุนนางของจักรวรรดิจีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญขององค์การทางการเมืองและสังคมตามประเพณีจีน แม้ว่าแนวคิดเรื่องฐานันดรศักดิ์แบบสืบตระกูลจะปรากฏมาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นอย่างน้อย แต่ระบบฐานันดรศักดิ์ที่แน่นอนนั้นมีขึ้นครั้งแรกในช่วงราชวงศ์โจว หลายพันปีให้หลัง ระบบดังกล่าวเปลี่ยนแปลงรูปแบบค่อนข้างน้อย แต่เนื้อหาสาระมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง รูปแบบฐานันดรศักดิ์ชุดท้ายสุดมีอยู่ในสมัยราชวงศ์ชิง จนถูกล้มเลิกไปเมื่อเกิดการปฏิวัติซินไฮ่ของกลุ่มนิยมสาธารณรัฐเมื่อ..
ดู ราชวงศ์โจวและฐานันดรศักดิ์จีน
มังกรจีน
วาดมังกรจีนโบราณ มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: เล้ง; ไทยถิ่นเหนือ: ลวง) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ, คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร.
มาตราชั่งตวงวัดของญี่ปุ่น
ักกันโฮ เป็นชื่อเรียกมาตราชั่งตวงวัดตามประเพณีญี่ปุ่น ชื่อ "ชักกันโฮ" นี้มาจากการประสมระหว่างคำว่า ชะกุ (หน่วยวัดความยาว) และ คัง (หน่วยวัดมวล) มีต้นกำเนิดมาจากจีน สมัยราชวงศ์ซางในช่วงก่อนคริสต์ศักราชราว 13 ศตวรรษ และมีเสถียรภาพมากที่สุดในยุคราชวงศ์โจว และเริ่มแพร่หลายไปในญี่ปุ่น, โชซ็อน และชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหน่วยการวัดของราชวงศ์ถังได้รับการนำมาใช้อย่างเป็นทางการในญี่ปุ่น ในปี..
ดู ราชวงศ์โจวและมาตราชั่งตวงวัดของญี่ปุ่น
ยาทาเล็บ
ทาเล็บที่บรรจุใส่ขวดยี่ห้อหนึ่ง ยาทาเล็บ (Nail polish; Nail varnish) คือเครื่องสำอางประเภทหนึ่งที่ใช้ตกแต่งเล็บของมนุษย์ ให้มีความสวยงาม.
ยุทธการมู่เหย่
ทธการมู่เหย่ (Battle of Muye) เป็นการสู้รบระหว่างราชวงศ์ซางกับราชวงศ์โจว เกิดขึ้นประมาณปีที่ 1046 ก่อนคริสต์ศักราช ประมาณศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ซางได้ขยายอิทธิพลมาทางตะวันตกแถบหุบเขาแม่น้ำเว่ย์ ซึ่งตระกูลโจวปกครองอยู่ พระเจ้าโจวเหวินเป็นผู้ปกครองดินแดนพระองค์หนึ่งของราชวงศ์ซางและเคยช่วยเหลือพระเจ้าซางโจ้วในตอนที่พระองค์นำทัพบุกภาคตะวันออกเฉียงใต้ แต่พระเจ้าซางโจ้วรู้สึกระแวงจึงสั่งคุมขังพระเจ้าโจวเหวิน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซางและโจวตึงเครียดขึ้น ภายหลังที่ถูกปล่อยตัวออกมา พระเจ้าโจวเหวินได้นำกองทัพพิชิตดินแดนต่าง ๆ ที่ภักดีต่อราชวงศ์ซาง แต่ในปีที่ 1050 ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์เสด็จสวรรคต พระเจ้าโจวอู่ พระโอรสก่อกบฏต่อพระเจ้าซางโจ้วโดยมีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก พระเจ้าโจวอู่ได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษา เจียง จื่อหยา ให้นำกำลัง 50,000 นายเข้าตีกองทัพพระเจ้าซางโจ้วที่กำลังติดพันกับการศึกทางทิศตะวันออก แต่พระเจ้าซางโจ้ววางกำลังทหารไว้ป้องกันเมืองอินซฺวี เมืองหลวงราว 530,000 นายและทาสกว่า 170,000 คน อย่างไรก็ตาม กลุ่มทาสได้แปรพักตร์ไปอยู่ฝ่ายพระเจ้าโจวอู่ ทำให้ขวัญกำลังใจทหารซางลดน้อยลง ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่ตำบลมู่เหย่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอินซฺวี ทหารฝ่ายราชวงศ์ซางส่วนใหญ่ลดอาวุธลงและแปรพักตร์เพราะไม่อยากรบเพื่อพระเจ้าซางโจ้ว แต่บางส่วนยังไม่ยอมจำนนจึงเกิดการสู้รบกันอย่างรุนแรง พระเจ้าซางโจ้วหลบหนีไปที่เมืองหลวงหลังเห็นว่าทัพของพระองค์พ่ายแพ้ หลังการสู้รบ พระเจ้าซางโจ้วได้ปลงพระชนม์พระองค์เอง พระเจ้าโจวอู่สังหารพระนางต๋าจี่ พระมเหสีของพระเจ้าซางโจ้วหลังพบว่าพระนางวางแผนลอบปลงพระชนม์พระองค์ ข้าวในท้องพระคลังถูกนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไป ยุทธการมู่เหย่เป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ซาง และการขึ้นสู่อำนาจของราชวงศ์โจว.
ดู ราชวงศ์โจวและยุทธการมู่เหย่
ยุควสันตสารท
แผนที่แสดงที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในยุควสันตสารท วสันตสารท หรือภาษาจีนว่า ชุนชิว (Spring and Autumn period) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ อยู่ระหว่าง ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งถูกรวมไว้ด้วยกันกับยุคจ้านกว๋อ (หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อเลียดก๊ก) การรบในยุคชุนชิวนั้นหลายเรื่องได้อ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา อีกแง่หนึ่ง เป็นยุคที่นักปราชญ์บัณฑิตแต่ละสาขาได้ถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้แต่งตำราหรือคำสอนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, เม่งจื๊อ, ม่อจื๊อ เป็นต้น ในส่วนของปราชญ์แห่งสงคราม ก็คือ ซุนวู นั่นเอง.
รัฐฉิน
ฉิน เป็นรัฐจีนโบราณในช่วงราชวงศ์โจว ถือกำเนิดจากการยึดดินแดนฟากตะวันตกที่เคยเสียให้แก่ชาวซีหรง (西戎) ความที่ตั้งอยู่ชายขอบด้านตะวันตกของอารยธรรมจีนนี้เอง ทำให้รัฐฉินขยายพื้นที่และพัฒนาได้อย่างที่รัฐคู่แข่งทางที่ราบจีนเหนือไม่สามารถทำได้มาก่อน ครั้นเมื่อปฏิรูปกฎหมายขนานใหญ่ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล รัฐฉินก็กลายเป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจที่โดดเด่นของกลุ่มเจ็ดรณรัฐ (戰國七雄) จนผนวกดินแดนจีนทั้งมวลได้ในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาลภายใต้การนำของฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝; "ปฐมจักรพรรดิฉิน") ก่อตั้งเป็นจักรวรรดิฉิน (秦朝) ซึ่งแม้จะดำรงอยู่ไม่นาน แต่ก็มีอิทธิพลมากยิ่งในประวัติศาสตร์จีนยุคหลัง หมวดหมู่:สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 3 หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศจีน.
ราชวงศ์
ราชวงศ์ (Dynasty) คือ ลำดับของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกันOxford English Dictionary, "dynasty, n." Oxford University Press (Oxford), 1897.
ราชวงศ์โจว (แก้ความกำกวม)
ราชวงศ์โจว เป็นชื่อราชวงศ์โบราณของจีนหลายราชวงศ์ โดยมากจะหมายถึงราชวงศ์โจวก่อนคริสตกาล คือ.
ดู ราชวงศ์โจวและราชวงศ์โจว (แก้ความกำกวม)
รายพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โจว
ราชวงศ์โจว ปกครองจีนระหว่าง กลางศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล ถึง 256 ปีก่อนคริสตกาล จ.
ดู ราชวงศ์โจวและรายพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โจว
รายพระนามจักรพรรดินีจีน
ในจักรวรรดิจีน จักรพรรดินี เป็นพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีในจักรพรรดิจีน และ จักรพรรดินีพันปีหลวง เป็นพระอิสริยยศของพระราชชนนีในจักรพรรดิจีนพระองค์ปัจจุบันหรือพระองค์ก่อน.
ดู ราชวงศ์โจวและรายพระนามจักรพรรดินีจีน
สิทธิปฏิวัติ
ทธิปฏิวัติ (right of revolution) หรือ สิทธิกบฏ (right of rebellion) ในปรัชญาการเมืองนั้น คือ สิทธิหรือหน้าที่ที่ชนในชาติสามารถล้มล้างการปกครองซึ่งขัดต่อประโยชน์ส่วนรวมได้ ความเชื่อเรื่องสิทธินี้ย้อนหลังไปถึงจีนโบราณ และสิทธินี้ก็ได้ใช้มาแล้วตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่กบฏซึ่งรวมถึงการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส ในประเทศจีนนั้น เป็นไปได้ว่า ราชวงศ์โจวสร้างความชัดเจนให้แก่สิทธิปฏิวัติในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ราชวงศ์โจวตั้งแนวคิดซึ่งเรียกกันว่า "อาณัติแห่งสวรรค์" (Mandate of Heaven) ขึ้นเพื่อเป็นเหตุผลสำหรับการที่ตนโค่นล้มราชวงศ์ซาง โดยระบุว่า สวรรค์ย่อมประสาทอำนาจให้แก่ผู้นำซึ่งทรงธรรม และย่อมเพิกถอนอาณัติที่เคยให้ไว้แก่ผู้นำซึ่งกดขี่ ฉะนั้น อาณัติแห่งสวรรค์ย่อมถ่ายโอนไปยังบุคคลซึ่งปกครองเป็นเลิศ นักประวัติศาสตร์จีนตีความว่า การปฏิวัติสำเร็จเป็นเครื่องยืนยันว่า อาณัติแห่งสวรรค์ถ่ายโอนมาแล้ว ในทุกช่วงเวลาของประวัติศาสต์จีน ผู้ต่อต้านราชวงศ์ซึ่งกำลังอยู่ในอำนาจมักอ้างว่า อาณัติแห่งสวรรค์โอนผ่านมาแล้ว พวกเขาจึงชอบจะปฏิวัติ เป็นเหตุให้ราชวงศ์ที่กำลังผ่านบ้านครองเมืองมักคับอกคับใจกับทฤษฎีดังกล่าว และทำให้เมิ่งจื่อ (Mencius) ปรัชญาเมธีลัทธิขงจื่อ ถูกระงับงานเขียนที่แถลงว่า ประชาชนมีสิทธิคว่ำผู้ปกครองที่ไม่แยแสความต้องการของพวกตน สำหรับศาสนาอิสลามนั้น เบอร์นาร์ด ลิวอิส (Bernard Lewis) นักวิชาการ กล่าวว่า มีหลายจุดในคัมภีร์กุรอ่านที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิปฏิวัติในศาสนาอิสลาม คัมภีร์ระบุไว้ชัดเจนว่า หน้าที่ต้องเชื่อฟังนั้นมีอยู่ กล่าวกันว่า มุฮัมมัดเคยเอ่ยว่า "จงเชื่อฟังพระเจ้า จงเชื่อฟังศาสดา จงเชื่อฟังบรรดาผู้มีอำนาจเหนือเจ้า" ("Obey God, obey the Prophet, obey those who hold authority over you.") แต่ก็มีถ้อยคำที่สร้างข้อจำกัดแก่หน้าที่ต้องเชื่อฟังนั้นอยู่เช่นกัน ในการนี้ มีดำรัสศาสดาอยู่สองข้อซึ่งยอมรับนับถือทั่วกันว่า ถูกต้องแท้จริง ข้อหนึ่งว่า "อย่าหัวอ่อนต่อบาป" ("there is no obedience in sin") กล่าวคือ ถ้าผู้ปกครองสั่งการอันใดอันขัดต่อเทวบัญญัติ ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเชื่อฟัง อีกข้อหนึ่งว่า "อย่าศิโรราบต่อสัตว์ซึ่งขัดต่อพระผู้สร้าง" ("do not obey a creature against his Creator") ข้อนี้สร้างกรอบสำหรับการใช้อำนาจของผู้ปกครอง ไม่ว่าผู้ปกครองนั้นจะเป็นผู้ใดในสายพระเนตรพระเจ้า ส่วนทางยุโรปนั้น สิทธิปฏิวัติอาจย้อนหลังไปถึงมหากฎบัตร (Magna Carta) ซึ่งเป็นธรรมนูญของอังกฤษที่ตราขึ้นเมื่อปี 1215 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงสละสิทธิบางประการ และรับว่า จะทรงอยู่ในอำนาจกฎหมาย มหากฎบัตรยังมี "บทประกัน" (security clause) ซึ่งให้คณะบารอน (committee of barons) มีสิทธิยับยั้งพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ได้ แม้จะใช้กำลังยับยั้งก็ได้ถ้าจำเป็น มหากฎบัตรจึงมีอิทธิพลโดยตรงต่อพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภารวมถึงเอกสารทางรัฐธรรมนูญอื่น ๆ เช่น รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา อนึ่ง สารตราทอง ค.ศ.
สีในวัฒนธรรมจีน
Red paper lanterns for sale in เซี่ยงไฮ้, 2012. The color red symbolizes luck and is believed to ward away evil. สีในวัฒนธรรมจีน หมายถึง สีต่าง ๆ ที่มีความหมายทั้งในทางที่ดี (auspicious; 吉利) และไม่ดี (inauspicious; 不利) ตัวอักษรภาษาจีนของคำว่า สี คือ 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (yánsè) ในสมัยจีนโบราณมักใช้ตัวอักษร 色 (sè) เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความหมายโดยตรงถึงสีบนใบหน้า (color in the face) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (emotion) เพราะคำว่า 'เหยียน' หมายถึงพื้นที่ระหว่างคิ้ว 'เซอะ' หมายถึงลมปราณ ปราชญ์จีนโบราณกล่าวว่า เมื่อคนเราเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ที่ใจ พลังงาน หรือ 'ชี่' จะไปแสดงออกที่หว่างคิ้ว กลายเป็นอารมณ์หรือสีหน้า เริ่มมีการใช้คำว่า หยานเซอะ (yánsè) ในความหมายของสีทุกสีในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง อีกทั้งมีสำนวนจีนที่กล่าวว่า “wǔ (ห้า) yán liù (หก) sè” ใช้ในการอธิบายถึงความหลากหลายของสี จึงเป็นการใช้คำว่า 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (สี) ในความหมายทั่วไป.
ดู ราชวงศ์โจวและสีในวัฒนธรรมจีน
หมากล้อม
หมากล้อม หรือ โกะ (เหวยฉี) เป็นเกมหมากกระดานชนิดหนึ่ง เป็นเกมกลยุทธ์ซึ่งผู้เล่นสองคนต่างมุ่งหมายล้อมเอาพื้นที่ในกระดานให้ได้มากกว่าคู่แข่ง เดิมถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งแสดงถึงความเก่าแก่และลึกซึ้งของอารยธรรมจีน เหวยฉีเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ปัญญาชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ ในสมัยนั้น เหวยฉีหรือหมากล้อมเป็นหมากกระดานประจำชาติจีน ถูกจัดเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน (ได้แก่ หมากล้อม ดนตรี กลอน ภาพ) เป็นภูมิปัญญาจีนแท้ ในขณะที่หมากรุกจีนยังมีเค้าว่ารับมาจากอินเดียและเพิ่งจะแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถังเท่านั้น ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "โกะ" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกเหวยฉีหรือหมากล้อม โกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น สมัยโชกุนโทะกุงะวะ ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นโกะ เปลี่ยนวิธีการรบด้วยกำลังเป็นการรบด้วยปัญญา และยังสนับสนุนให้โกะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก โชกุนโทะกุงะวะได้ตั้งสำนักโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือกผู้เป็นยอดฝีมือโกะของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงอินโบ, อิโนะอูเอะ, ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทนมาประลองฝีมือเพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" จากการส่งเสริมโกะของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือนักเล่นโกะของญี่ปุ่นก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโกะรวมทั้งประเทศเกาหลีไปไกลแล้ว ปัจจุบันทั่วโลกเล่นโกะกันอย่างแพร่หลาย โกะเรียกเป็นสากลว่า "Go" ปัจจุบัน โกะแพร่หลายในกว่า 50 ประเทศ ทวีปออสเตรเลียและอเมริกาเหนือทุกประเทศ อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย เกือบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในทวีปแอฟริกาแพร่หลายในประเทศแอฟริกาใต้ ประชากรที่เล่นโกะในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่น 10 ล้านคน, เกาหลีใต้ 10 ล้านคน (เกาหลีใต้มีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นโกะมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวัน 1 ล้านคน, สหรัฐอเมริกา 1 ล้านคน สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งญี่ปุ่น (Japan Go Association) ได้จัดการแข่งขันหมากล้อมสมัครเล่นชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกในปี 2522 มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแข่งขัน 15 ประเทศ และเพิ่มเป็น 29 ประเทศในปี 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (International Go Federation) ขึ้น ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2558 มีสมาชิกจำนวน 75 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2526 และต่อมาในปี 2527 ได้มีการส่งตัวแทนไปแข่งครั้งแรกที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น สำหรับการก่อตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.
ห้องสิน
มุดภาพโฮะกุไซ'' (北斎漫画; ''Hokusai Manga'') ของญี่ปุ่น ห้องสิน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เฟิงเฉิน ตามสำเนียงกลาง แปลว่า สถาปนาเทวดา (Investiture of Gods) เป็นนิยายจีนซึ่งประพันธ์ขึ้นในช่วงราชวงศ์หมิง เนื้อหาใช้ภาษาชาวบ้าน มีทั้งสิ้นหนึ่งร้อยตอน จัดพิมพ์ครั้งแรกราวทศวรรษที่ 1550 และจัดอยู่ในประเภทนิยายภูตผีปีศาจ (神魔小說; gods and demons fiction) ชื่อเต็มของนิยายเรื่องนี้ ห้องสินเอี้ยนหงี ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เฟิงเฉินหยั่นอี้ ตามสำเนียงกลาง แปลว่า "วีรคติเรื่องสถาปนาเทวดา" (Romance of the Investiture of the Gods) วงวิชาการลงความเห็นว่า ผู้เขียนนิยายนี้ คือ สี่ว์ จ้งหลิน (許仲琳).
อาณัติแห่งสวรรค์
อาณัติแห่งสวรรค์ (mandate of heaven) คือความชอบธรรมที่สวรรค์มอบให้แก่มนุษย์คนหนึ่ง ให้มีอำนาจในการปกครองประชาชน มีลักษณะใกล้เคียงกับแนวคิดเทวสิทธิราชย์ในปรัชญาการเมืองตะวันตก.
ดู ราชวงศ์โจวและอาณัติแห่งสวรรค์
อาณาจักรแพ็กเจใหม่
ูแบ็กเจ หรือ อาณาจักรแพ็กเจใหม่ (ค.ศ. 892 – ค.ศ. 936) เป็นหนึ่งในสามอาณาจักรหลังของเกาหลี (อีกสองอาณาจักรได้แก่อาณาจักรโคกูรยอใหม่และอาณาจักรชิลลา โดยถูกก่อตั้งโดย คยอน ฮวอน ใน ค.ศ.
ดู ราชวงศ์โจวและอาณาจักรแพ็กเจใหม่
อาณาจักรโชซ็อนโบราณ
อาณาจักรโชซ็อนโบราณ ประวัติศาสตร์เกาหลี นั้นมีการบันทึกค่อนข้างมากมายหลายแขนง จนเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้เหล่านักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ว่าจะยึดถือเอาประวัติศาสตร์ใดจึงจะเหมาะสม แต่โดยทั่วไปแล้วมักยึดถือเอาจุดเริ่มต้นของอารยะธรรมที่สืบทอดต่อจากยุคดึกดำบรรพ์นั้นเริ่มต้นขึ้นอย่างแท้จริงในยุคสมัยโคโจซ็อนหรือโชซ็อนโบราณ และล้วนกล่าวตรงกันหมดว่าเริ่มต้นขึ้นที่ปี 1790 ปีก่อนพุทธศักราช โคโจซ็อนเป็นอาณาจักรแห่งแรก ตั้งอยู่ตรงบริเวณตอนใต้ของ แมนจูเรีย และตอนเหนือของ คาบสมุทรเกาหลี อาณาจักรแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดยกษัตริย์ ทันกุน เรื่องราวประวัติศาสตร์นี้บันทึกครั้งแรกในหนังสือ ซัมกุก ยูซา ที่บันทึกประวัติศาสตร์ในสมัยซัมกุก หรือ สามอาณาจักรแห่งเกาหลี ซึ่งบันทึกขึ้นในช่วง พุทธศตวรรษที่ 18 ในบันทึกประวัติศาสตร์เล่มนี้กล่าวถึงการสร้างชาติของ เกาหลี ย้อนขึ้นไปถึงช่วงก่อนหน้าที่จะมาเป็นยุคสามอาณาจักรว่าแผ่นดิน เกาหลี ถูกสร้างขึ้นโดย ทันกุน นักประวัติศาสตร์ทั่วไปเชื่อว่า ทันกุน มิใช่พระนามแต่เป็นยศศักดิ์อันหมายถึง กษัตริย์ ส่วน วังกอม ต่างหากเป็นพระนามที่แท้จริง.
ดู ราชวงศ์โจวและอาณาจักรโชซ็อนโบราณ
อู๋ซี
อู๋ซี (อังกฤษ: Wuxi) เป็นเมืองอุตสาหกรรมเก่าในมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณที่ลุ่มปากแม่น้ำแยงซี มีทะเลสาบไท่หูพาดผ่านแบ่งเมืองออกเป็นสองส่วน ทางทิศจะวันตกมีอาณาเขตติดกับฉางโจว และทางทิศตะวันออกติดกับซูโจว เนื่องจากเป็นเมืองที่ได้รับการพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้ จึงถูกขนานนามว่า "เซี่ยงไฮ้น้อย" มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นหนึ่งในเมืองต้นกำเนิดอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสมัยใหม่ของจีน และยังเป็นบ้านเกิดของนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายคนในสมัยศตวรรษที่ 20 ที่มีส่วนสร้างเมืองเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองเศรษฐกิจสมัยใหม่อีกด้ว.
อู๋ไท่ปั๋ว
ท่ปั๋ว () เป็นพระโอรสพระองค์แรกของพระเจ้าโจวไท่ (周太王) และเป็นผู้ก่อตั้งแคว้นอู๋ วันประสูติและสวรรคตของพระองค์ยังไม่เป็นที่แน่ชั.
อ๋อง
อ๋อง (หวัง หรือ หวาง) แปลเป็นภาษาไทยคือกษัตริย์ เป็นตำแหน่งสูงสุดของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ยจนถึงราชวงศ์โจว ซึ่งสมัยนั้นจีนยังไม่รวมเป็นจักรวรรดิที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งแต่ละแคว้นก็จะมีอ๋องเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งต่อมาฉินอ๋องเจิ้งแห่งแคว้นฉินทรงรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น พระองค์ถือว่าพระองค์มีคุณงามความดีเหนืออ๋องในอดีตทั้งมวล ทรงเห็นว่าตำแหน่งอ๋องไม่ยิ่งใหญ่เพียงพอสำหรับพระองค์ ฉินอ๋องเจิ้นจึงทรงพระราชดำริคำเรียกขึ้นใหม่คือ ฮ่องเต้ ฉินอ๋องเจิ้นทรงใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ ในยุคชุนชิวและจ้านกว๋อ (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีอ๋องอยู่เพียง 5 พระองค์เท่านั้นที่ได้รับการยกย่องเป็น ปาอ๋อง หรือ ปาจู๋ (霸, Bà) แปลได้ว่า "อ๋องผู้ยิ่งใหญ่" ได้แก.
จิ๋นซีฮ่องเต้
ฉินฉื่อหฺวังตี้ ตามสำเนียงกลาง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ตามสำเนียงอื่น (260–210 ก่อนคริสตกาลWood, Frances. (2008). China's First Emperor and His Terracotta Warriors, pp.
ขันที
หลี่เสียน ค.ศ. 706 ขันที คือ ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สำหรับควบคุมฝ่ายใน ในภาษาจีนเรียกว่า ไท้เจี๋ยน หรือไท้ก๋ำ (ฮกเกี้ยน:太監,ไท้ก่ำ) ในภาษาละตินและอาหรับเรียกว่ายูนุก (Eunuch) โดยมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า ยูโนคอส (eunouchos) แปลว่าผู้ดูแลรักษาเตียง ส่วนชนชาติมอญเรียกขันทีว่า กมนุย (อ่านว่า ก็อมนอย) แปลว่า ขันทีที่ปราศจากความรู้สึกทาง.
คลองใหญ่ (ประเทศจีน)
แผนที่คลองใหญ่ในสมัยราชวงศ์สุย คลองใหญ่ (Grand Canal) หรือ ต้า-ยฺวิ่นเหอ ขุดในสมัยราชวงศ์สุย เริ่มขุดตั้งแต่ปี..
ดู ราชวงศ์โจวและคลองใหญ่ (ประเทศจีน)
ความชอบธรรม (รัฐศาสตร์)
ในรัฐศาสตร์ ความชอบธรรม (legitimacy) คือ การที่อำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายซึ่งใช้บังคับ หรือระบอบการปกครองนั้น ได้รับการยอมรับจากสาธารณชน ความชอบธรรมทางการเมืองถือเป็นเงื่อนไขพื้นฐานในการปกครอง ถ้าไร้ซึ่งความชอบธรรมแล้ว รัฐบาลจะ "เข้าตาจนในการบัญญัติกฎหมาย" (legislative deadlock) และอาจล่มสลายได้ในที่สุด แต่ในระบบการเมืองซึ่งมิได้ให้ความสำคัญแก่ความชอบธรรมนั้น ระบอบการปกครองที่มิใช่ของประชาชนสามารถดำรงอยู่ได้เพราะได้รับการอุ้มชูจากอภิชนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีอิทธิพลมาก ในปรัชญารัฐศาสตร์จีน นับแต่สมัยราชวงศ์โจวเป็นต้นมา รัฐบาลและผู้ปกครองจะมีความชอบธรรมต่อเมื่อได้รับอาณัติแห่งสวรรค์ (Mandate of Heaven) เมื่อใดที่ผู้ปกครองขาดอาณัติแห่งสวรรค์ เมื่อนั้นก็จะขาดความชอบธรรมและสิทธิที่จะปกบ้านครองเมือง ในจริยปรัชญา คำว่า "ความชอบธรรม" มักได้รับการตีความอย่างเด็ดขาดว่า เป็นบรรทัดฐานที่ผู้อยู่ใต้ปกครองได้ประทานให้แก่ผู้ปกครองและการกระทำต่าง ๆ ของผู้ปกครอง โดยเชื่อว่า คณะผู้ปกครองที่ได้รับการจัดตั้งตามกฎหมายจะกระทำการทั้งหลายด้วยอำนาจที่ใช้อย่างเหมาะสม ส่วนในนิติศาสตร์นั้น "ความชอบธรรม" (legitimacy) ต่างจาก "ความชอบด้วยกฎหมาย" (legality) เพราะการกระทำของผู้ปกครองอาจชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ชอบธรรมก็ได้ เช่น มติอ่าวตังเกี๋ยที่ให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเปิดสงครามต่อเวียดนามได้โดยไม่ต้องประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ ตรงกันข้าม การกระทำของผู้ปกครองอาจชอบธรรม แต่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ได้ เช่น กรณีรัฐบาลทหารชิลีเมื่อ ค.ศ.
ดู ราชวงศ์โจวและความชอบธรรม (รัฐศาสตร์)
ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน
หวงตี้ ฮ่องเต้องค์แรกในความเชื่อของจีน ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน (开天辟地) เป็นนิทานปรัมปราที่เล่าสืบกันมาแต่โบราณ ว่า โลกเดิมทีเป็นฟองไข่ทรงกลม ที่ภายในมียักษ์ตนหนึ่งที่มีผมเพ้าและหนวดเครายาว มีร่างกายยาวถึง 90,000 ลี้ (ประมาณ 45,000 กิโลเมตร) ชื่อ ป้านกู (盤古) วันหนึ่งป้านกูตื่นขึ้นมาและได้ฟักตัวออกจากไข่ ด้วยเรี่ยวแรงมหาศาลของป้านกู ป้านกูจึงดันส่วนบนของไข่ให้กลายเป็นสวรรค์และด้านล่างกลายเป็นโลก แต่สวรรค์และโลกกลับดูดตัวเข้าหากัน ป้านกูจึงให้พละกำลังดันทั้ง 2 ส่วนอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานับหมื่น ๆ ปี จนในที่สุดทั้งสวรรค์และโลกไม่อาจรวมตัวกันได้ ป้านกูจึงล้มลงและเสียชีวิต ภายหลังเสียชีวิตแล้ว ตาข้างซ้ายของป้านกูกลายเป็นพระอาทิตย์ ตาข้างขวากลายมาเป็นพระจันทร์ ร่างกลายกลายเป็นภูเขา เลือดกลายเป็นแม่น้ำ ผมและหนวดเคราที่ยาวสลวยกลายเป็นผักและหญ้า ผ่านไปหลังจากนั้นอีกเนิ่นนาน เจ้าแม่หนี่วา (女媧) ได้ลงมาท่องเที่ยวชมพื้นโลก และชื่นชมว่าโลกเป็นสถานที่ ๆ น่าอยู่ยิ่งนัก เมื่อนางได้ใช้นิ้วจิ้มดินและเศษดินตกลงสู่น้ำก็กลายเป็นลูกอ๊อด องค์เจ้าแม่หนี่วา ทรงดีพระทัยยิ่งนัก จึงใช้ดินปั้นเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ จึงกำเนิดขึ้นเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ แต่นางรู้สึกว่าขาดอะไรบางอย่างไป ในวันที่ 7 พระนางจึงเริ่มปั้นรูปเหมือนตัวพระนางขึ้น เกิดเป็นมนุษย์ผู้หญิงขึ้น และพระนางเกรงว่ามนุษย์ผู้หญิงนี้จะเหงา จึงปั้นรูปใหม่ขึ้นมาให้คล้ายเคียงกันเป็นมนุษย์ผู้ชาย และให้มนุษย์ทั้ง 2 เพศนี้อยู่คู่กันและออกลูกหลานสืบต่อกันมา ต่อมา ฟูซี (伏羲) ซึ่งเป็นผู้ปกครองชนเผ่าของมนุษย์ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติ จนสามารถพึ่งตัวเองได้และเกิดเป็นองค์ความรู้ วันหนึ่งมีกิเลนตัวหนึ่งกระโดดขึ้นมาจากแม่น้ำฮวงโห บนหลังกิเลนมีสัญลักษณ์ปรากฏที่ถูกเรียกในภายหลังว่า "แผนภูมิเหอถู" (河图) ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นตัวอักษร หลังยุคฟูซี เสินหนง (神農) ได้เป็นผู้ปกครองแทน เสินหนงได้สอนให้ผู้คนรู้จักการเพาะปลูก และใช้คันไถ และยุคต่อมาก็คือ ยุคของหวงตี้ (黃帝) หรือ จักรพรรดิเหลือง หวงตี้ได้ทำสงครามกับเหยียนตี้ที่ปั่นเฉวียน (阪泉) สุดท้ายเหยียนตี้พ่ายแพ้ หวงตี้จึงขยายอำนาจการปกครองจากทางตอนเหนือลงไปทางใต้ จนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงและฮั่นสุ่ย ซึ่งหวงตี้ได้รับการนับถือจากชาวจีนรุ่นต่อมาว่าเป็น ฮ่องเต้หรือจักรพรรดิองค์แรกของจีน และชื่อของพระองค์ก็กลายมาเป็นคำว่า ฮ่องเต้ หรือ จักรพรรดิ ความหมายของชื่อก็กลายมาเป็นสีประจำตัวฮ่องเต้ด้วย คือ สีเหลือง ชาวจีนเชื่อว่า ในราชวงศ์ชั้นหลัง เช่น ราชวงศ์เซี่ย, ราชวงศ์ซาง, ราชวงศ์โจว ต่อมาต่างก็สืบเชื้อสายจากหวงตี้ทั้งนั้น หลังยุคหวงตี้ เป็นยุคของเชาเหา (少昊) และ ซวนซู (顓頊) ซึ่งในยุคนี้ได้กำเนิดดาราศาสตร์, ปฏิทิน, ความเชื่อ, ไสยศาสตร์และเรือ ต่อมาจึงเป็นยุคของ กู (帝嚳) และ เหยา (尧) ซึ่งในยุคนี้พระอาทิตย์มีมากมายพร้อมกันถึง 10 ดวง และต่างพากันเปล่งรัศมีความร้อนแรงมายังโลกมนุษย์ ทำให้เดือดร้อนกันมาก เง็กเซียนฮ่องเต้จึงมีบัญชาให้ โหวอี้ นักยิงธนูบนสวรรค์ลงไปยังโลกมนุษย์เพื่อจัดการ โหวอี้ใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกไปถึง 9 ดวง และตำนานโฮ๋วอี้ยิงดวงอาทิตย์ 9 ดวงนี้ก็ก่อให้เกิดตำนาน เทพธิดาฉางเอ๋อ เหาะไปดวงจันทร์และเป็นต้นกำเนิดเทศกาลไหว้พระจันทร์ของจีน ต่อมาเป็นยุคของซุน (舜) และ อวี่ (禹) ในยุคของอวี่ได้เกิดอุทกภัย (大禹治水) และอวี่สามารถสร้างเขื่อนควบคุมกระแสน้ำได้สำเร็จ โดยไม่ได้กลับบ้านเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปี และวันหนึ่งก็ได้มีเต่าศักดิ์สิทธิ์ตัวหนึ่งผุดขึ้นมาจากแม่น้ำลั่ว บนกระดองเต่ามีอักษรที่ต่อมาเรียกว่า "แผนภูมิลั่วซู" (洛书) ซึ่งกลายมาเป็นศิลปะวิทยาการต่าง ๆ สืบมาจนปัจจุบัน ภายหลังจากอวี่เสียชีวิตลง บุตรชายของอวี่ก็สังหารอี้เพื่อแย่งชิงตำแหน่งหัวหน้า และเริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าโดยสายเลือดในระบบวงศ์วานว่านเครือ และหลังจากนั้น ประวัติศาสตร์จีนก้าวเข้าสู่ราชวงศ์แรกที่มีการสืบทอดบัลลังก์อำนาจโดยสายเลือด นั่นคือ จุดกำเนิดของราชวงศ์เซี่ย (夏代) ราชวงศ์แรกของจีน.
ดู ราชวงศ์โจวและความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน
ตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีน
ตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีน เป็นเครื่องที่แสดงถึงความมีอำนาจสูงที่สุดของแผ่นดินแผ่นดินจีนในประวัติศาสตร์ ตราประทับพระราชลัญจกรในจักรพรรดิเฉียนหลง.
ดู ราชวงศ์โจวและตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีน
ซีอาน
ซีอาน หอระฆังกลางเมืองซีอาน วิวซีอาน ซีอาน เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนซีอาน เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเมืองหนึ่ง ความหมาย: ความสงบสุขทางตะวันตก) เป็นเมืองหลวงของมณฑลส่านซี ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ในอดีตซีอานได้เป็นเมืองหลวงของ 13 ราชวงศ์ รวมทั้ง โจว ชิน ฮั่น และ ถัง ซีอานยังเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางสายไหม ซีอานมีประวัติอันยาวนานมากกว่า 3,100 ปี โดยชื่อเดิมว่า ฉางอาน (长安, 長安 พินอิน: Cháng'ān) ซึ่งมีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" ซีอานเป็นเป็นเมืองที่เจริญและใหญ่ที่สุดในส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน และเป็น 1 ใน 10 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ภูมิอากาศของภูมิภาคนี้อบอุ่น มีฝนตกมาก มีปริมาณฝนเทียบได้ใกล้เคียงกับภูมิภาคด้านใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน ดังนั้น ประชากรที่นี่จึงค่อนข้างมาก ทางตะวันออกของ ซีอาน ห่างไปประมาณ 6 กิโลเมตร มีหมู่บ้านชื่อ ปั้น-ภอ-ฌุน ได้มีการค้นพบหมู่บ้านที่มีอายุกว่า 6 พันปี ซึ่งมีประชากรประมาณ 500 คน ฮ่องเต้ของราชวงศ์โจวตะวันตก ได้เคยสร้างเมืองหลวง 2 เมือง ทางตะวันตกของ ซีอาน.
ซนโนโจอิ
มพ์ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1861 แสดงออกถึงการต่อต้านคนต่างชาติ ("โจอิ" - 攘夷, "ขับคนป่าเถื่อน") ซนโนโจอิ เป็นชื่อของปรัชญาการเมืองและขบวนการทางสังคมของญี่ปุ่นที่มีรากฐานมาจากลัทธิขงจื้อใหม่ (Neo-Confucianism) ซึ่งได้กลายเป็นคำขวัญทางการเมืองในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1850 - 1860 ในความพยายามล้มล้างรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในช่วงยุคบะคุมะสึ.
ปฏิทินจีน
ปฏิธินจีนปี ค.ศ.2017 ปฏิทินจีน หมายถึง ปฏิทินสุริยคติหรือปฏิทินจันทรคติซึ่งชาวจีนหรือชาวต่างประเทศเชื้อสายจีนใช้ในทางราชการและการกำหนดวันสำคัญต่าง ๆ ในการติดต่อราชการ-ธุรกิจ ชาวจีนใช้ปฏิทินสุริยคติสากลเช่นเดียวกับชาวตะวันตกและอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่การกำหนดประเพณีสำคัญจะอาศัยปฏิทินจันทรคติเป็นหลักเสมอ ปฏิทินสุริยคติจีน กำหนดให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ดับที่ใกล้กับวันเหมายัน หรือวันที่ซีกโลกเหนือมีกลางวันสั้นที่สุด ส่วนปฏิทินจันทรคติจีน กำหนดให้เริ่มขึ้นปีนักษัตรใหม่ในวันลี่ชุน แต่เริ่มปีใหม่ในวันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันจันทร์ดับต้นฤดูใบไม้ผลิ มักอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์หรือปลายเดือนมกราคมของทุกปี.
ประวัติศาสตร์จีน
ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.
ดู ราชวงศ์โจวและประวัติศาสตร์จีน
ปี่เซียะ
ปี่เซียะ ปี่เซียะ (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผีซิว (สำเนียงกลาง) หรือ เผยเหย้า (สำเนียงกวางตุ้ง) (Pixiu, Pi Yao; 貔貅; พินอิน: pí xiū) เป็นสัตว์ประหลาดตามความเชื่อของจีนมาแต่โบราณ เชื่อว่า ปี่เซียะ มีรูปร่างและเขาคล้ายกวาง แต่มีหน้า, หัว, ขาคล้ายสิงโต, มีปีกคล้ายนก, หลังคล้ายปลา และมีส่วนหางคล้ายแมวปนไปด้วยท้องและบางส่วนของหัวคล้ายมังกร เป็นสัตว์สี่ขา และเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ช่วยป้องกันและปัดเป่าภยันตรายและภูตผีปีศาจ สิ่งไม่ดีต่าง ๆ ได้ เชื่อว่าถูกแบ่งเป็นตัวผู้ชื่อ ปี่ (貔) และ ตัวเมียชื่อ เซียะ (貅) นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น เทียนลู่ (天祿) หรือ เทียนลก (樂祿) ตามแต่ละพื้นที่อีกด้วย ซึ่งความหมายของชื่อเหล่านี้ แปลได้ว่า กวางสวรรค์ หรือ ขจัดปัดเป่า เชื่อกันว่า ปี่เซียะ เป็นลูกตัวที่ 9 ของมังกร เป็นสัตว์ที่กินเก่งและไม่มีรูทวาร จึงไม่มีการขับถ่าย ในปลายยุคราชวงศ์โจว ตรงกับยุคชุนชิว มีการนำปี่เซียะมาใช้เป็นสัญลักษณ์โดยประดับเป็นรูปบนธงสำหรับการออกรบ โดยรวมในอดีตสันนิษฐานว่า ปีเซียะให้ความหมายในทางความกล้าหาญ การปกป้องคุ้มภัย และการต่อสู้เพื่อจะให้ได้มาซึ่งชัยชนะ นอกจากนี้แล้ว ปี่เซียะยังเป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์และคุ้มครองทรัพย์สมบัติอีกด้วย อันเนื่องจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอย่างเดียวไม่มีการขับถ่าย จึงมีการปั้นเป็นรูปปั้นเฝ้าหน้าท้องพระโรง ภายในพระราชวัง เช่น ฮ่องเต้ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงและประเทศจีน ปัจจุบัน มีการบูชาปี่เซียะ โดยมักทำเป็นรูปเคารพของสัตว์ที่มีลักษณะดังกล่าวในลักษณะหมอบ และมักทำเป็นคู่กัน โดยจะตั้งวางให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ยด้วย อีกทั้งยังเป็นที่บูชาของนักพนัน ผู้ที่นิยมเสี่ยงโชคในลักษณะวัตถุมงคล จากการที่เป็นสัตว์ที่กินอย่างเดียวไม่มีถ่าย จึงเป็นสัญลักษณ์ของการเก็บทรัพย์ ซึ่งกาสิโนบางแห่งในประเทศจีน, มาเก๊า และฮ่องกง จะมีรูปปั้นปี่เซียะนี้อยู่ด้านหน้าด้ว.
แผนภูมิสวรรค์
แผนภูมิสวรรค์ แผนภูมิสวรรค์ (กานจือ) คือระบบเลขฐาน 60 แบบวนรอบที่เขียนด้วยอักษรจีน ซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน ได้แก่ ภาคสวรรค์ เรียกว่า "ราศีบน" มี 10 ตัวอักษร (天干; tiāngān เทียนกาน) และภาคปฐพี เรียกว่า "ราศีล่าง" มี 12 ตัวอักษร (地支; dìzhī ตี้จือ) แผนภูมิสวรรค์ใช้สำหรับการนับวันและปีแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในโหราศาสตร์ของจีน นอกจากจีนแล้วประเทศในเอเชียตะวันออกอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ก็ใช้ระบบเลขนี้ด้วย “ปีหนไท” ซึ่งเป็นระบบปฏิทินแบบไทโบราณที่เคยใช้ในอาณาจักรสิบสองปันนา ล้านนา ล้านช้าง และสมัยสุโขทัยตอนต้น ก็เชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากปฏิทินกานจือของจีนโบราณเช่นกัน เนื่องจากมีองค์ประกอบเหมือนกันทุกประการ และมีชื่อเรียกต่างกันเล็กน้อย เช่น ภาคสวรรค์ (แม่มื้อ) ได้แก่ กาบ ดับ ระวาย เมือง เปลิก กัด กด ร้วง เต่า ก่า (เทียบเท่ากับ เอกศก โทศก ตรีศก ในปัจจุบัน) และภาคปฐพี (ลูกมื้อ) ได้แก่ ใจ้ เปล้า ญี เหม้า สี ใส้ สะง้อ เม็ด สัน เร้า เส็ด ใค้ (เทียบเท่ากับ ชวด ฉลู ขาล ฯลฯ ในปัจจุบัน).
โอรสสวรรค์
โอรสสวรรค์ หรือเทียนจื่อ (天子) เป็นราชฐานันดรอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิจีน กำเนิดขึ้นพร้อมกับราชวงศ์โจวโบราณ และตั้งอยู่บนหลักการเมืองและจิตวิญญาณเรื่องอาณัติสวรรค์ ต่อมา พระมหากษัตริย์เอเชียตะวันออกอื่นต่างรับเอาฐานันดรศักดิ์ "โอรสสวรรค์" ไปเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การปกครองของตน โอรสสวรรค์เป็นจักรพรรดิสากลสูงสุด ผู้ทรงปกครองเทียนเซี่ย ("ใต้หล้า") สถานภาพของพระองค์แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "ผู้ปกครองทั้งจักรวาล" หรือ "ผู้ปกครองทั้งโลก" ฐานันดรศักดิ์ "โอรสสวรรค์" มีการตีความตามอักษรเฉพาะในประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งพระมหากษัตริย์ถูกเรียกเป็นกึ่งเทวดา เทวดา หรือ "เทวดาที่ยังทรงพระชนม์ชีพ" ผู้ที่เทวดาโบราณทั้งปวงทรงเลือก หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์จีน หมวดหมู่:อภิชนจีน.
ไหม (วัสดุ)
การสาวไหม ไหม เป็นเส้นใยโปรตีนธรรมชาติ มีความเหนียว ทนทาน และมันวาว สามารถนำไปใช้ทอเป็นผืนผ้าได้อย่างงดงาม ไหมที่พบได้ทั่วไปส่วนมากมาจากตัวอ่อนของตัวไหมหรือผีเสื้อไหมมัลเบอรรีชนิดที่เรียกว่า Bombyx mori ซึ่งชักใยออกมาพันรอบตัวขณะเป็นดักแด้ก่อนจะเจาะออกมาเป็นผีเสื้อตัวเต็มวัย การดึงเส้นไหมออกจากดักแด้ หรือปลอกไหม เรียกว่า การสาวไหม ความเงามันวาวของเส้นไหมนั้น มาจากคุณสมบัติของโครงสร้างที่คล้ายปริซึมสามเหลี่ยมของเส้นใยนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ผ้าไหม (ผ้าที่ทอจากเส้นไหม) จึงมีความมัน สะท้อนแสงเป็นประกายวับวาวจากมุมต่างๆ ที่ทำให้สะท้อนออกเป็นสีต่าง.
เพลงชาติสาธารณรัฐจีน
ลงชาติสาธารณรัฐจีน (จงหัวหมินกั๋วกั๋วเกอ) เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐจีนซึ่งตั้งมั่นอยู่บนเกาะไต้หวันในปัจจุบัน เนื้อหากล่าวถึงวิสัยทัศน์และความหวังของรัฐชาติใหม่และประชาชนในรัฐนั้นจะเป็นจริงได้ด้วยการดำเนินตามหลักลัทธิไตรราษฎร์ หรือ หลัก 3 ประการ แห่งประชาชน เพลงนี้มักมีการเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "ซานหมินจู่อี้" อันเป็นชื่อของหลักลัทธิไตรราษฎร์ที่ปรากฏในวรรคแรกของเพลง แต่ชื่อดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการเรียกขานอย่างเป็นทางการแต่อย่างใ.
ดู ราชวงศ์โจวและเพลงชาติสาธารณรัฐจีน
เล่าจื๊อ
ล่าจื๊อ, จาก ''ไมท์แอนด์ลีเจนส์ออฟไชน่า'', ค.ศ. 1922 โดย อี.ที.ซี. เวอร์เนอร์ เล่าจื๊อ (Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปรัชญาชาวจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดท่านหนึ่ง เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching) (道德經) ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ เล่าจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางเต๋า ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร.
เจียง จื่อหยา
วาดเจียง จื่อหยา จาก''สมุดภาพไตรภูมิ'' ภาพวาดเจียง จื่อหยาตกปลาที่ริมฝั่งแม่น้ำเว่ยสุ่ย และได้พบกับ โจวเหวินหวัง เจียงจื่อหยา (ตามสำเนียงกลาง) หรือ เกียงจูแหย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เจียงไท่กง เป็นนักยุทธศาสตร์คนสำคัญของโจวเหวินหวังและโจวอู่หวัง ผู้นำในการก่อรัฐประหารเพื่อล้มล้างราชวงศ์ซาง และสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการ หลายสำนักต่างลงความเห็นว่า เจียง จื่อหยา คือ 1 ใน 2 นักยุทธศาสตร์การสงครามที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์จีน โดยอีกผู้หนึ่งได้แก่ เตียวเหลียง (มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นคนละคนกับเตียวเหลียงในเรื่องสามก๊ก) เสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นของหลิวปัง หรือปฐมจักรพรรดิฮั่นเกา ซึ่งบางตำราอ้างว่าเตียวเหลียงศึกษาการสงครามมาจากตำราพิชัยสงครามที่ เจียงจื่อหยา เขียนขึ้น.
เจียงหนาน
Xishi bridge, Mudu, Suzhouเจียงหนาน (Jiangnan;; หรือบางครั้งสะกดว่า Kiang-nan) คือพื้นที่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนปัจจุบัน โดยรวมถึงพื้นที่ตอนใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta) ด้วย บริเวณเจียงหนานมีพื้นที่ครอบคลุมนครเซี่ยงไฮ้ ทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซู ทางตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซี และตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง เมืองสำคัญในบริเวณนี้ ได้แก่ เมืองเซี่ยงไฮ้ หนานจิง หนิงป่อ หางโจว ซูโจว อู๋ซี ฉางโจว (อังกฤษ: Changzhou; จีน: 常州; พินอิน: Chángzhōu) และ เช่าซิง (Shaoxing; จีนตัวย่อ: 绍兴; จีนตัวเต็ม: 紹興; พินอิน: Shàoxīng) ประชาชนในบริเวณเจียงหนานส่วนมากมักใช้ภาษาจีนอู๋เป็นภาษาพูดประจำท้องถิ่น.
เทือกเขาคุนหลุน
ทือกเขาคุนหลุน เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย มีความยาวมากกว่า 3,000 กิโลเมตร.
ดู ราชวงศ์โจวและเทือกเขาคุนหลุน
เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
ตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى-; 新疆维吾尔自治区) เป็นเขตปกครองตนเองของจีนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรและเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ มีดินแดนพิพาทอักไสชินที่จีนบริหารอยู่ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิซสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน.
ดู ราชวงศ์โจวและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
เตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)
ตียวเหลียง หรือ จางเหลียง (Zhang Liang; 张亮; พินอิน: Zhāng liàng อ่านว่า จางเลี่ยง; ? - 189 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นที่ปรึกษาและเสนาธิการคนสำคัญของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยรับใช้หลิวปัง (ฮั่นเกาจู่) มาตั้งแต่ช่วงปลายราชวงศ์ฉิน จนถึงสงครามฉู่-ฮั่น ระหว่างหลิวปังและเซี่ยงอวี่ (ฌ้อปาอ๋อง) จนเป็นที่มาของวรรณกรรมจีนอมตะเรื่องไซ่ฮั่น เมื่อหลิวปังได้ชัยชนะเหนือฌ้อป้าอ๋องแล้วและขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นเกาจู่ ก็ทรงแต่งตั้งเตียวเหลียงเป็นที่ปรึกษาในพระองค์ เชื่อกันว่า เตียวเหลียงได้รับคัมภีร์พิชัยสงครามที่ตกทอดมาจากเจียง ไท่กง หรือเจียง จื่อหยาง ที่ปรึกษาและเสนาธิการคนสำคัญอีกคนหนึ่งในยุคราชวงศ์โจวตอนต้น และในประวัติศาสตร์จีน จึงทำให้เตียวเหลียงวางแผนไม่เคยผิดพลาด ซือหม่า เชียน นักบันทึกประวัติศาสตร์ในยุคจีนโบราณได้บันทึกถึงเตียวเหลียงเอาไว้ว่า "เมื่อถึงคราวที่พระเจ้าฮั่นโกโจเผชิญปัญหาหนักหนาถึงขนาดคอขาดบาดตาย เตียวเหลียงผู้นี้ก็มักจะเป็นคนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากเรื่องเหล่านั้นเสมอ" นอกจากนี้แล้ว เตียวเหลียงยังได้รับการกล่าวขานอีกว่า เป็นบุรุษที่มีใบหน้าสวยราวกับอิสตรีคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ผู้คนมักจะเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้งว่าเป็นอิสตรี ในวรรณกรรมสามก๊ก นอกจากขวันต๋ง, งักเย และเจียง จื่อหยาง แล้ว ความสามารถของขงเบ้งที่ทั้งชีซี ผู้เป็นสหาย และสุมาเต็กโช ผู้เป็นอาจารย์มักจะกล่าวเปรียบเปรยนั้น เตียวเหลียงก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มักถูกหยิบยกไปเทียบเคียงกับขงเบ้ง โดยระบุว่า "หนึ่งในนั้นคือเกงสง (เจียง จื่อหยาง) ผู้วางฐานรากของราชวงศ์โจวอย่างแน่นหนาเป็นเวลาแปดร้อยปีและคนอื่น ๆ เตียวเหลียงที่ทำให้ราชวงศ์ฮั่นรุ่งโรจน์เป็นเวลาสี่ร้อยปี" เตียวเหลียงถึงแก่อสัญกรรรมเมื่อ 189 ปีก่อน..
ดู ราชวงศ์โจวและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)