โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชวงศ์ออร์เลอ็อง

ดัชนี ราชวงศ์ออร์เลอ็อง

ตระกูลออร์เลอ็อง (House of Orléans) “ออร์เลอ็อง” เป็นชื่อที่ใช้เรียกสาขาของราชวงศ์ฝรั่งเศสหลายสาขาที่สืบเชื้อสายมาจากอูก กาเปต์ผู้ก่อตั้ง ระหว่างสมัย “การปกครองระบบโบราณในฝรั่งเศส” ก็จะมีการประเพณีมอบบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งออร์เลอ็องใหนแก่พระราชโอรสองค์รองของพระมหากษัตริย์ ฉะนั้นสาขาของตระกูลออร์เลอ็องจึงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมากที่สุดเพราะสืบเชื้อสายมาจากพระราชโอรส และบางครั้งก็เป็นผู้ได้ขึ้นครองพระราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเองถ้าพระราชโอรสองค์โตมาสิ้นพระชนม์เสียก่อน สาขาสุดท้ายของตระกูลออร์เลอ็องที่มีบรรดาศักดิ์เป็นดยุกสืบเชื้อสายมาจากอองรีเดอบูร์บอง ดยุกแห่งแวงโดม (พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส) ผู้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในปี..

29 ความสัมพันธ์: ฟิลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็องพระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสพวกคลั่งเจ้ามาเรีย หลุยส์แห่งออร์เลอองส์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปนราชวงศ์บูร์บงราชวงศ์กาเปเซียงรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศสรายพระนามพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์โปรตุเกสรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์เบลเยียมรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์กรายพระนามและรายนามผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รารายนามนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสหลุยส์ ฟิลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็องหลุยส์-มารีแห่งออร์เลอ็อง สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียมฌ็อง มักซีมีเลียง ลามาร์กดยุกแห่งออร์เลอ็องตระกูลกาแปปาแล-รัวยาลโกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสเจ้าชายฟร็องซัว เคานต์แห่งเคลมอนต์เจ้าชายสืบสายพระโลหิตเจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีสเจ้าชายจีนส์ ดยุกแห่งเวนมอนต์เจ้าชายโอโด ดยุกแห่งอ็องกูแลมเจ้าหญิงฟรานซิสกาแห่งบราซิลเจ้าหญิงมารีแห่งออร์เลอ็องเจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส

ฟิลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง

ฟิลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง (Philippe I, fils de France, Duke of Orléans) ฟิลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็องเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองที่รอดชีวิตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสและอานน์แห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส และทรงเป็นพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส การเป็นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ทำให้ฟิลิปจึงมีบรรดาศักดิ์เป็น “ฟิลส์เดอฟรองซ์” ใช้ “เดอฟรองซ์” เป็นนามสกุล ฟิลิปสมรสสองครั้ง ครั้งแรกกับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา แอนน์ สจวตแห่งอังกฤษผู้เป็นพระราชธิดาองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และ เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ครั้งที่สองกับเอลิซาเบ็ธ ชาร์ลอตต์ แห่งพาลาทิเนทผู้ที่ฟิลิปร่วมก่อตั้งราชวงศ์ออร์เลอ็องซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์บูร์บองและสร้างฐานะร่ำรวยขึ้นมาแต่มาวอดวายไปหมดระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและฟิลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส (Charles X de France, ชาร์ลดิสเดอฟร็องส์; 9 ตุลาคม พ.ศ. 2300 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2379), ได้รับพระสมัญญานามว่า ผู้ทรงเป็นที่รัก (le Bien-Aimé; เลอเบียงแนเม), ทรงดำรงตำแหน่งเคานต์แห่งอาร์ตัวก่อนจะขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ตั้งแต่ 16 กันยายน พ.ศ. 2367 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2373 เป็นพระปิตุลา (ลุง) ในเยาวกษัตริย์ผู้ทรงไม่ได้บรมราชาภิเษก พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 และพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ผู้ซึ่งหลังทรงถูกเนรเทศก็สนับสนุนพระอนุชาจนได้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ พระเจ้าชาร์ลที่ 10 ทรงครองราชสมบัติเป็นระยะเวลาเกือบ 6 ปี และสิ้นสุดลงด้วยการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ต้องทรงสละราชสมบัติแก่หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงถูกเนรเทศและสวรรคตที่กอริเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและพระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (Louis-Philippe Ier; Louis-Philippe of France) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2316 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2393) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศส (King of the French) ตั้งแต่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2373 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 รวม 18 ปี ต่อจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าชาร์ลที่ 10 พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักของประชาชนในนาม "พระมหากษัตริย์แห่งเดือนกรกฎาคม" โดยพระองค์ก็ถูกบังคับให้สละราชสมบัติในปีค.ศ. 1830 และเสด็จไปลี้ภัยที่ประเทศอังกฤษจนสิ้นพระชนม์ชีพ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งฝรั่งเศส (ถ้าไม่นับรวมจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งอยู่ในฐานะจักรพรรดิ).

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พวกคลั่งเจ้า

ระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ซึ่งพวกคลั่งเจ้าเห็นว่า ทรงประนีประนอมเกินไป พวกคลั่งเจ้า (Ultra-Royalist หรือ Ultra) เป็นกลุ่มหัวเอียงขวาในรัฐสภาฝรั่งเศสตั้งปี 1815 ถึง 1830 ซึ่งเป็นช่วงนำราชวงศ์บูร์บงคืนสู่ราชบัลลังก์ (Bourbon Restoration) ช่วงนั้น การเลือกตั้งตามสำมะโน (census suffrage) ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่แต่ละบุคคลมีคะแนนเสียงไม่เท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับสถานภาพตามทะเบียนสำมะโนนั้น ส่งผลให้พวกคลั่งเจ้าได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทน (Chamber of Deputies) ถึงสองครั้ง คือ ตั้งแต่ปี 1815 ถึง 1816 และตั้งแต่ปี 1824 ถึง 1827 ในเวลาดังกล่าว สภาได้รับสมญาว่า "สภาทุรคม" (Chambre introuvable) และพวกคลั่งเจ้าซึ่งขึ้นชื่อว่า "ทำตัวเป็นเจ้ายิ่งกว่ายิ่งเจ้า" (plus royalistes que le roi) ได้ครองเสียงข้างมากเด็ดขาดภายใต้การปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 (Louis XVIII) มาจนถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 10 (Charles X) พวกคลั่งเจ้าดังกล่าวไม่สนับสนุนแนวคิดเสรีนิยม สาธารณรัฐนิยม และประชาธิปไตย พวกเขาไม่ต้องการให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงดำเนินการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ทั้งยังต่อต้านการจำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ เพราะหมายจะบูรณะระบอบเก่า (Ancien Régime) และขจัดความแตกแยกซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เองทรงหวังที่จะลดทอนการนำระบอบเก่ากลับมาอีกครั้ง เผื่อประชาชนจะยอมรับระบอบเก่าได้บ้าง เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 สวรรคตในปี 1824 พวกคลั่งเจ้าเสียกำลังใจอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี พระเจ้าชาลส์ที่ 10 ซึ่งเคยเป็นผู้นำพวกคลั่งเจ้าต่อต้านพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ และร่วมมือกับพวกคลั่งเจ้าในการนำประเทศไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ครั้นเดือนมกราคม 1825 รัฐบาลซึ่งมีฌอแซฟ เดอ วีย์แลล (Joseph de Villèle) ผู้นำพวกคลั่งเจ้า เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการเหยียดหยามศาสนา (Anti-Sacrilege Act) เพื่อกำหนดให้การลักสิ่งเคารพทางศาสนาต้องระวางโทษประหารชีวิต ฌ็อง-นอแอล ฌ็อนเนย์ (Jean-Noël Jeanneney) นักประวัติศาสตร์ เรียกขานพระราชบัญญัตินี้ว่าเป็น "กฎหมายมิคสัญญี" (anachronic law) นอกจากนี้ พวกคลั่งเจ้ายังประสงค์จะจัดตั้งศาลเพื่อจัดการพวกนิยมการเปลี่ยนถึงรากฐาน (radicalism) และจะตรากฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพของสื่อด้วย ทว่า ในปี 1830 นั้นเอง เกิดการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมเสียก่อน เป็นเหตุให้พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 (Louis Philippe I) ราชนิกุลออร์เลอ็อง (Orléans) ซึ่งสนับสนุนนโยบายเสรีนิยม ได้เสวยราชย์ ส่วนพวกคลั่งเจ้าต้องพ้นจากอำนาจและล่าถอยไปอยู่อาศัยอย่างสันโดษในแถบชนบท พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปทรงยกเลิกพระราชบัญญัติข้างต้นในไม่กี่เดือนหลังทรงครองราชย์ แต่พวกคลั่งเจ้ายังมีอิทธิพลอยู่ต่อไปจนถึงปี 1879 เป็นอย่างน้อย ครั้นเกิดวิกฤติการณ์ 16 พฤษาคม 1877 อำนาจราชศักดิ์ของพวกคลั่งเจ้าลดน้อยถอยลงไปมากยิ่ง เขาเหล่านั้นจึงบรรเทาความสุดโต่งในแนวคิด และตั้งเป้าหมายใหม่เป็นการนำราชวงศ์บูร์บง (Bourbon) หวนคืนสู่ราชบัลลังก์อีกครั้ง นับแต่นั้น พวกคลั่งเจ้าจึงได้ชื่อใหม่ว่า "เหล่าผู้สืบสิทธิโดยนิติธรรม" (Legitimists) ปัจจุบัน พวกคลั่งเจ้า (ultra-royalist) สามารถหมายถึง บุคคลซึ่งนิยมเจ้าอย่างยิ่งยว.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและพวกคลั่งเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

มาเรีย หลุยส์แห่งออร์เลอองส์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน

มาเรีย หลุยส์แห่งออร์เลอองส์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน (Princess Marie Louise of Orléans) (26 มีนาคม ค.ศ. 1662 - 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1689) มาเรีย หลุยส์แห่งออร์เลอองส์ประสูติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1662 ที่พระราชวังหลวงในกรุงปารีสในฝรั่งเศส เป็นพระธิดาในฟิลิปป์ที่ 1 ดยุคแห่งออร์เลอองส์และเฮนเรียตตา แอนน์ สจวตผู้เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และ พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย มาเรีย หลุยส์เป็นพระอัครมเหสีองค์ที่แรกในพระเจ้าคาร์โลสที่ 2 แห่งสเปน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและมาเรีย หลุยส์แห่งออร์เลอองส์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์บูร์บง

ราชวงศ์บูร์บง (ฝรั่งเศส: Maison de Bourbon; สเปน: Casa de Borbón; อังกฤษ: House of Bourbon) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป ซึ่งได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 สมาชิกในราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศสเปน เมืองเนเปิลส์ เกาะซิซิลี และเมืองปาร์มาในประเทศอิตาลีด้วย ในปัจจุบันประเทศที่ยังคงมีสมาชิกในราชวงศ์บูร์บงปกครองอยู่คือราชอาณาจักรสเปนและราชรัฐลักเซมเบิร์ก กษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บงเริ่มการปกครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) ที่เมืองนาวาร์ (ตอนเหนือของประเทศสเปนและทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส) และพอมาถึงปี พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) ราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ จนมาถึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) เมื่อครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ก็ดำรงอยู่ได้เพียง 24 ปี ก็ได้มีการล้มล้างระบอบกษัตริย์ลง พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บูร์บงที่ได้ปกครองประเทศสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ได้มีการโค่นล้ม แก่งแย่ง และฟื้นฟูใหม่อยู่ตลอดเวลา จนมาถึงปัจจุบันซึ่งมีสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนทรงเป็นประมุขแห่งประเทศสเปนอยู่ ส่วนทางประเทศลักเซมเบิร์กนั้น ได้มีการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์ จึงนับได้ว่าทางฝ่ายราชสำนักลักเซมเบิร์กนั้นก็มีเชื้อสายราชวงศ์นี้เช่นกัน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและราชวงศ์บูร์บง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์กาเปเซียง

ราชวงศ์กาเปเซียง (Capétiens) หรือ ราชวงศ์คะพีเชียน (Capetians) คือ ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรฝรั่งเศสในสมัยกลาง มีพระเจ้าอูก กาแป (Hugh Capet) แห่งฝรั่งเศส เป็นต้นพระราชวงศ์ ปัจจุบันราชวงศ์กาเปเซียงที่ยังคงมีพระชนม์ชีพและถือพระราชสมบัติอยู่ คือ กษัตริย์แห่งสเปนและแกรนด์ดุ๊กแห่งลักเซมเบิร์กผ่านทางราชวงศ์บูร์บง คำว่า "คาพีเชียน" มาจากพระนามพระเจ้าอูก กาแป ทั้งที่ "กาแป" มิได้เป็นนามสกุลแต่เป็นฉายานาม แต่กษัตริย์ฝรั่งเศสก็ทรงใช้ "กาแป" เป็นพระนามของพระราชสกุล เช่นเมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ทรงถูกประหารด้วยกิโยตีนใน ค.ศ. 1793 การปกครองปฏิวัติในสมัยนั้นบันทึกในมรณบัตรว่า "หลุยส์ กาแป" บรรพบุรุษของราชวงศ์กาเปเซียง คือ ตระกูลรอแบร์ (Robertian) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเคานต์แห่งปารีสในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ปัจจุบันคือฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 ตระกูลรอแบร์อภิเษกกับราชวงศ์คาโรลินเจียน (Carolingian dynasty) ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกขณะนั้น ทำให้ตระกูลรอแบร์บางคนได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วย แต่ใน ค.ศ. 987 ราชวงศ์กาโรแล็งเชียงสิ้นสุดลงในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก อูก กาแป เคานต์แห่งปารีสที่สืบเชื้อสายจากตระกูลรอแบร์นั้น ได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์กาเปเซียง ราชวงศ์กาเปเซียงในสายตรงฝรั่งเศสสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1328 ด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 4 ที่ทรงไร้ทายาท แต่ ราชวงศ์วาลัว (Valois dynasty) และราชวงศ์บูร์บง (Bourbon dynasty) อันเป็นสาขาย่อยของราชวงศ์กาเปเซียงยังคงปกครองฝรั่งเศสต่อไป.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและราชวงศ์กาเปเซียง · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส

ระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (Monarques de France) ทรงปกครองดินแดนฝรั่งเศสมาตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแฟรงก์ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส

สมเด็จพระจักรพรรดินีเออเชนีเดอมองติโค พระจักรพรรดินีองค์สุดท้ายของฝรั่งเศส สมเด็จราชินีมารี อองตัวเนตแห่งออสเตรีย พระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ที่ทรงถูกบั่นพระเศียรในการปฏิวัติฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีมาเรีย เทเรส ชาร์ล็อตแห่งฝรั่งเศส พระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 19 แห่งฝรั่งเศส เป็นสมเด็จพระราชินีที่ครองราชสมบัติเพียง 20 นาทีเท่านั้น ดูที่รายพระนามกษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส พระมเหสีแห่งฝรั่งเศส ตั้งแต่พ.ศ. 1530 ประเทศฝรั่งเศสมีสมเด็จพระมเหสีในพระมหากษัตริย์และพระจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส (Royal Consort) ทั้งหมด 53 พระองค์ แยกตามพระอิสริยยศได้ดังนี้.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและรายพระนามพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์โปรตุเกส

้าหญิงอเมลีแห่งออร์เลออง ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสอย่างเป็นทางการพระองค์สุดท้าย ในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโปรตุเกสมีสมเด็จพระราชินีนาถซึ่งดำรงเป็นพระประมุขของโปรตุเกส 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกสและสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส(บางหลักฐานกล่าวว่า เจ้าหญิงเบียทริซแห่งโปรตุเกสได้ขึ้นครองราชสมบัติด้วยระยะเวลาอันสั้นในศตวรรษที่ 14 ซึ่งปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียง) สตรีซึ่งเป็นคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสจะได้รับพระอิศริยยศ "สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส" และสมเด็จพระราชินีบางพระองค์ได้รับพระอิศริยยศผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนยวกษัตริย์ซึ่งยังทรงพระเยาว์และยามที่พระมหากษัตริย์ปฏิบัติภารกิจนอกประเทศ และยังมีคู่อภิเษกสมรสในสมเด็จพระราชินีนาถซึ่งได้ดำรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดินร่วมกันด้ว.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์โปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์เบลเยียม

คู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยียม จากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา นับตั้งแต่สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 1 จนถึงรัชกาลของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 จะดำรงพระอิสริยยศที่ สมเด็จพระราชินี ทุกพระองค์ แต่ในรัชกาลของสมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 ได้อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับลิเลียน บาเอลส์ ซึ่งเธอมิได้ดำรงตำแหน่งที่ สมเด็จพระราชินี หากแต่ดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเรธี (Princess of Réthy) บ หมวดหมู่:ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์เบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา

รายพระนามผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา ซึ่งเป็นประมุขของราชรัฐอันดอร์รา ไฟล์:Joan Enric Vives.jpg|ฌูอัน อันริก บิบัส ซิซิเลีย ประมุขร่วมฝ่ายพระราชาคณะแห่งอันดอร์รา ดำรงตำแหน่ง 12 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและรายพระนามและรายนามผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส

ก่อนปี พ.ศ. 2502 ประเทศฝรั่งเศสไม่ปรากฏว่ามีการเรียกตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาลอย่างเป็นทางการว่า นายกรัฐมนตรี (Premier Ministre) เนื่องจากในอดีตภายใต้การปกครองของกษัตริย์ หลายครั้งที่คำนี้ใช้เรียกแทนประธานรัฐมนตรีของกษัตริย์ แม้ต่อมาในช่วงรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 รัฐมนตรีท่านหนึ่งในรัฐมนตรีสภาได้ดำรงตำแหน่งเป็นทั้ง ประธานรัฐมนตรีสภา (Président du Conseil des Ministres) และยังเป็นที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการในนาม "หัวหน้ารัฐมนตรีสภา" ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า นายกรัฐมนตรี (Premier Ministre) อีกด้วย ซึ่งเป็นการไม่เหมาะสม เป็นการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในบุคคลเดียว โดยเป็นทั้งประธานาธิบดีเอง และเป็นหัวหน้ารัฐมนตรีสภา (นายกรัฐมนตรี) ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมสภา และหัวหน้าฝ่ายบริหารคณะรัฐมนตรี เวลาต่อมา ในการทำให้ชื่อตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" มีผลบังคับทางกฎหมาย แทนที่ตำแหน่ง หัวหน้ารัฐมนตรีสภา นั้นก็ได้กลายเป็นตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2489 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 และต่อมาได้ถูกนำมาบัญญัติคำว่า "นายกรัฐมนตรี" (Premier Ministre) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ในปี พ.ศ. 2502 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 ประเทศฝรั่งเศสได้มีหัวหน้าคณะรัฐบาล (ในปัจจุบันเรียก "นายกรัฐมนตรี") 142 ท่าน (138 ท่าน นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2) หัวหน้าคณะรัฐบาล (ในปัจจุบันเรียก "นายกรัฐมนตรี") ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2, จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2, กษัตริย์แห่งเดือนกรกฎาคม, ราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ถึงปัจจุบันมีทั้งสิ้น 174 ท่าน ภายใต้ระยะเวลา 193 ปี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 - ปัจจุบัน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและรายนามนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ฟิลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง

หลุยส์ ฟีลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง (Louis Philippe II, Duke of Orléans หรือ Louis Philippe Joseph d'Orléans) (13 เมษายน ค.ศ. 1747 - 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1793) หลุยส์ ฟีลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง ผู้เป็นดยุกแห่งออร์เลอ็ององค์ที่ 5 เป็นขุนนางชาวฝรั่งเศสของสายย่อยของราชวงศ์บูร์บงซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองฝรั่งเศสอยู่ในขณะนั้น หลุยส์ ฟีลิปเป็นผู้สนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างขันแข็งและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ฟีลิป เอกาลีเต” (Philippe Égalité) แต่กระนั้นก็ยังตกเป็นเหยื่อของการถูกประหารชีวิตโดยกิโยตีนระหว่างสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ลูกชายของหลุยส์ ฟิลิปป์ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสหลังจากการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและหลุยส์ ฟิลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์-มารีแห่งออร์เลอ็อง สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม

หลุยส์แห่งออร์เลอ็อง (พระนามเต็ม: หลุยส์ มารี เตแรซ ชาร์ล็อต อิซาแบล, ประสูติ: 3 เมษายน ค.ศ. 1812, สวรรคต: 11 ตุลาคม ค.ศ. 1850) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งออร์เลอ็อง และสมเด็จพระราชินีแห่งชาวเบลเยียม พระอัครมเหสีพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เบลเยียม พระองค์ทรงเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ของเบลเยียมพระองค์ปัจจุบัน สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป, ผู้อ้างสิทธิในบัลลังก์อิตาลี (เจ้าชายแห่งเนเปิลส์), แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก และเจ้าชายชาร์ล นโปเลียน ประมุของค์ปัจจุบันของราชวงศ์โบนาปาร์ต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและหลุยส์-มารีแห่งออร์เลอ็อง สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง มักซีมีเลียง ลามาร์ก

็อง มักซีมีเลียง ลามาร์ก (Jean Maximilien Lamarque; ค.ศ. 1770 – ค.ศ. 1832) นิยมเรียกอย่างลำลองว่า นายพลลามาร์ก เป็นผู้บัญชาการทหารชาวฝรั่งเศส ยศพลโท (général de division) ในสมัยสงครามนโปเลียนและในภายหลังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา นายพลลามาร์กเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของกองทัพภายใต้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และได้รับการยกย่องอย่างมากจากคือการยึดครองกาปรีจากการปกครองของอังกฤษ รวมทั้งความพ่ายแพ้ของเขาแก่กองกำลังฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่จังหวัดว็องเดเมื่อปี ค.ศ. 1815 ชัยชนะของเขาได้รับการชื่นชมอย่างมากโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ว่าเขาเป็นคนที่ "สร้างปาฏิหาริย์ และเหนือความคาดหวังอยู่เสมอ" ภายหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง นายพลลามาร์กก็ได้กลายมาเป็นฝั่งตรงข้ามทันทีในยุคของการกลับมาของการปกครองระบบเก่า (Ancien Régime) และต่อมาในการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์บูร์บงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1830 เขาก็ได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังเพื่อเฝ้าระวังผู้นิยมราชวงศ์บูร์บง ที่เรียกตัวเองว่า "เหล่าผู้สืบสิทธิโดยนิติธรรม"(légitimistes) อันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับราชวงศ์ออร์เลอ็อง ต่อมาในยุคของการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (July Monarchy) เขาเป็นผู้นำฝ่ายซ้าย (เสรีนิยม) หนึ่งในผู้สนับสนุนพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1ให้ขึ้นครองราชย์ ซึ่งในภายหลังก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากการปกครองแบบใหม่นี้ก็ยังไม่ได้ช่วยเรื่องสิทธิมนุษยชน และความมีเสรีภาพของพรรคการเมือง เขายังเป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนการให้เอกราชของโปแลนด์และอิตาลีในขณะนั้น นายพลลามาร์กยังเป็นนักเขียนที่มีความคิดแนวเสรีนิยมคนหนึ่งในสมัยนั้น แนวความคิดต่างๆ ของนายพลลามาร์กทำให้เขาเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในฝรั่งเศส การถึงแก่อสัญกรรมของเขาเป็นตัวแปรสำคัญที่กระตุ้นการกบฎของประชนชาวปารีสในเดือนมิถุนายน (June Rebellion) ปี ค.ศ. 1832 ซึ่งเป็นที่มาของฉากและบทประพันธ์เรื่องเลมีเซราบล์ (Les Misérables) ของวิกตอร์ อูโก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและฌ็อง มักซีมีเลียง ลามาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งออร์เลอ็อง

ตราอาร์มของราชวงศ์ออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ (Duc d'Orléans, Duke of Orléans) เป็นตำแหน่งสูงสุดตำแหน่งหนึ่งในบรรดาตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลของฝรั่งเศสที่เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เรียกกันว่าเป็นตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” ตำแหน่งดยุคแห่งออร์เลอองส์เป็นตำแหน่งเฉพาะสำหรับเจ้าชายผู้มีเชื้อสายใกล้ที่สุดกับพระบรมวงศานุวงศ์ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นสายรองจากสายที่เป็นประมุขของราชอาณาจักรเป็นรองก็แต่เพียงผู้เป็นทายาทโดยตรงเท่านั้น ระหว่างสมัยอองเซียง เรฌีมผู้ถือตำแหน่งนี้มักจะมีบทบาททางการเมือง ผู้ได้เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสจากราชวงศ์ออร์เลอองส์องค์แรกคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ผู้เป็นดยุคแห่งออร์เลอองส์องค์ที่ 5 มีส่วนในการทำลายการปกครองยุคโบราณ ในฐานะหัวหน้าฝ่าย “ออร์เลอองนิสต์” (Orleanist) ที่พาเลส์รอยาลหลุยส์ ฟิลิปป์ท้าทายอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องที่ประทับอยู่ในลูฟร์ แต่ผู้ที่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสก็คือพระโอรสของหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ขึ้นครองราชย์ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและดยุกแห่งออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลกาแป

นตนาการของอูก กาแปผู้เป็นต้นตระกูลกาแป ตระกูลกาแป หรือ สายตรงจากราชวงศ์กาเปเซียง (Les Capétiens หรือ la Maison capétienne) หรือบางครั้งก็เรียกว่า "ตระกูลฝรั่งเศส" (la maison de France) หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า "กาแป" เป็นประมุขผู้ปกครองราชอาณาจักรฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 987 ถึง ค.ศ. 1328 เป็นสาขาที่อาวุโสที่สุดของผู้ที่สืบเชื้อสายจากราชวงศ์กาเปเซียง - ที่เป็นเชื้อสายที่มาจากตระกูลรอแบร์ ในฐานะประมุขของฝรั่งเศสตระกูลกาแปสืบการปกครองต่อจากตระกูลการอแล็งเฌียง ชื่อของตระกูลมาจากพระนามเล่นของอูก พระมหากษัตริย์กาเปเซียงองค์แรกที่รู้จักกันในพระนามว่า "อูก กาแป" (Hugues Capet) ตระกูลกาแปมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1328 เมื่อไม่มีพระราชโอรสองค์ใดในสามองค์ของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 ที่สามารถมีทายาทสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสได้ เมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 4 เสด็จสวรรคตราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของราชวงศ์วาลัวผู้สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากชาร์ลแห่งวาลัว พระราชโอรสองค์รองในพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ต่อมาราชบัลลังก์ก็ตกไปเป็นของราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์ออร์เลอ็อง ทั้งสองราชวงศ์สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 9) ซึ่งต่างก็สืบเชื้อสายไม่ทางใดทางหนึ่งก็มาจาก "อูก กาแป".

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและตระกูลกาแป · ดูเพิ่มเติม »

ปาแล-รัวยาล

ปาแล-รัวยาล (Palais-Royal) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส เดิมชื่อ “วังคาร์ดินัล” (Palais-Cardinal) ปาแล-รัวยาลและสวนอยู่หน้า “จตุรัสปาแล-รัวยาล” ตรงกันข้ามกับปีกเหนือของพระราชวังลูฟวร์ และ ลานเกียรติยศ (cour d'honneur) อันมีชื่อเสียง ด้านหน้ารายด้วยคอลัมน์ และ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและปาแล-รัวยาล · ดูเพิ่มเติม »

โกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

ลดแห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Claude of France) (14 ตุลาคม ค.ศ. 1499 - 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1524) โคลดแห่งบริตานีเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1514 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1524 โคลดแห่งบริตานีประสูติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1499 เป็นพระธิดาองค์โตในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส และพระราชินีแอนน์ โคลดทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นดัชเชสแห่งบริตานีต่อจากพระราชมารดา และเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ฉะนั้นจึงเป็นพระอัยกีของพระเจ้าแผ่นดินสามพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์วาลัว.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและโกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายฟร็องซัว เคานต์แห่งเคลมอนต์

้าชายฟร็องซัว เคานต์แห่งเคลมอนต์ (.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและเจ้าชายฟร็องซัว เคานต์แห่งเคลมอนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายสืบสายพระโลหิต

หลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ เจ้าชายสืบสายพระโลหิต (Prince du Sang หรือ Prince of the Blood) คือผู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยตรงจากประมุขของประเทศ ในฝรั่งเศสตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดในราชสำนักรองจากพระราชนิกุลที่ใกล้ชิดที่สุดของพระมหากษัตริย์ในสมัย “อองเซียง เรฌีม” และในสมัยราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” หรือ “เจ้าหญิงสืบสายพระโลหิต” เป็นตำแหน่งที่ใช้กับสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายของประมุขที่กำลังครองราชย์ ในยุโรปบางประเทศโดยเฉพาะในราชอาณาจักรฝรั่งเศสบรรดาศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งเฉพาะตัวและใช้อย่างจำกัดกว่าบรรดาศักดิ์อื่น.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและเจ้าชายสืบสายพระโลหิต · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส

้าชายอ็องรีแห่งออร์เลอ็อง เคานต์แห่งปารีส ดยุกแห่งฝรั่งเศส เป็นประมุขของราชวงศ์ออร์เลอ็องในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและเจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายจีนส์ ดยุกแห่งเวนมอนต์

้าชายจีนส์ ดยุกแห่งเวนมอนต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและเจ้าชายจีนส์ ดยุกแห่งเวนมอนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโอโด ดยุกแห่งอ็องกูแลม

้าชายโอโด ดยุกแห่งอ็องกูแลม.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและเจ้าชายโอโด ดยุกแห่งอ็องกูแลม · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงฟรานซิสกาแห่งบราซิล

้าหญิงฟรานซิสกาแห่งบราซิล (2 สิงหาคม พ.ศ. 2367 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2441) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดิบราซิล เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล ผู้ทรงครองราชย์เป็นพระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกสด้วย และพระราชมารดาของเจ้าหญิงคือ อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรสกับพระราชโอรสของพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสและมีพระราชโอรสธิดาร่วมกัน 3 พระองค์ โดยผ่านทางพระราชธิดาที่ทรงพระชนม์ชีพ พระนางจึงทรงเป็นบรรพบุรุษของเจ้าชายอองรี เดอ ออร์เลออง เคานท์แห่งปารีส ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสสายออร์เลอองนิสต์องค์ปัจจุบันและทรงเป็นบรรพบุรุษในสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและเจ้าหญิงฟรานซิสกาแห่งบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมารีแห่งออร์เลอ็อง

้าหญิงมารีแห่งออร์เลอ็อง (Marie d'Orléans) เป็นเจ้าหญิงชาวฝรั่งเศสซึ่งอภิเษกสมรสเข้าสู่พระราชวงศ์เดนมาร์ก เจ้าหญิงมารีแห่งออร์เลอ็องเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ในรอแบร็ต ดยุกแห่งชาทร์ ที่ประสูติแก่เจ้าหญิงฟร็องซัวแห่งออร์เลอ็อง บิดาของพระนางเป็นโอรสองค์รองในแฟร์ดีนันด์ ฟีลิปป์ ดยุกแห่งออร์เลอ็อง กับดัชเชสเฮเลนาแห่งเมคเลนบูร์ก-ชเวริน เจ้าหญิงมารีแห่งออร์เลอ็องประสูติในช่วงที่รัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 พระนางซึ่งเกิดมาในตระกูลซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองกับราชวงศ์โบนาปาร์ต จึงต้องไปเติบโตอยู่ในอังกฤษ ซึ่งครอบครัวของพระนางได้ย้ายไปอังกฤษในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและเจ้าหญิงมารีแห่งออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส

้าหญิงแห่งอัสตูเรียส (Princesa de Asturias, อัสตูเรียส: Princesa d'Asturies) เป็นพระอิสริยยศของพระราชวงศ์สเปน สำหรับพระชายาในเจ้าชายแห่งอัสตูเรียส รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สเปน พระอิสริยยศ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส ได้มีการสถาปนาขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ออร์เลอ็องและเจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

House of Bourbon-OrléansHouse of OrleansHouse of Orléansราชวงศ์ออร์เลอองราชวงศ์ออร์เลอองส์ตระกูลออร์เลอองส์ตระกูลบูร์บอง-ออร์เลอองส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »