โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชวงศ์ปาณฑพ

ดัชนี ราชวงศ์ปาณฑพ

กซ้าย ภีมะ, อรชุน, ยุธิษฐิระ, ฝาแฝดนกุลและสหเทพ และพระนางเทราปตี ในเรื่องมหาภารตะ ปาณฑพ(ปาน-ดบ) เป็นกลุ่มพี่น้อง 5 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวปาณฑุ ประสูติจากพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ที่ร่ายเวทมนตร์อัญเชิญเทพมาประทานโอร.

27 ความสัมพันธ์: พระพลรามพระศิวะ (ละครโทรทัศน์)พระศุกร์พระนางกุนตีพระนางสัตยวดีพระนางคานธารีพระนางเทราปตีกฤปาจารย์มหาภารตะมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531)มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)มายาสูรยุธิษฐิระฤๅษีทุรวาสสัญชัยสารถีสงครามทุ่งกุรุเกษตรหัสตินาปุระหิฑิมพะอรชุนอัศวัตถามาธฤษฏัทยุมนะธฤตราษฎร์ท้าววิทูรท้าวปาณฑุฆโฎตกัจนางหิฑิมพี

พระพลราม

ระพลราม พระพลราม (เทวนาครี: बलराम) เป็นบุตรของพระวาสุเทพ นางเทวกี และโยคะนิทรา ได้ย้ายไปอยู่ในครรภ์ของนางโหหิณี ภรรยาอีกคนของพระวาสุเทพ ซึ่งอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านโคกุล พระพลรามเป็นพี่ชายของพระกฤษณะ ในมหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร พระพลรามได้วางตัวเป็นกลางไม่ยอมไปยุ่งเกี่ยวกับปาณฑพและเการพ ก็เพราะว่าภีมะ ในฝ่ายของปาณฑพ และทุรโยธน์ในฝ่ายของเการพ ต่างเป็นศิษย์ของพระพลรามด้วยกันทั้งคู่ สาเหตุที่พระพลรามเป็นอาจารย์ของภีมะและทุรโยธน์ ก็เพราะว่าโทรณาจารย์ได้ขอร้องให้ พระพลรามสอนวิชาตีตะบองให้กับภีมะและทุรโยธน์ อยู่มาวันหนึ่ง รุกมินได้ไปร่วมงานกับในงานพิธีหนึ่ง รุกมินได้พูดจาดูถูกเหยียดหยามพระกฤษณะและพระพลรามและก็ได้ถูกพระพลรามสังหาร ภรรยาของพระพลราม คือ นางเรวดี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและพระพลราม · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ (ละครโทรทัศน์)

ระศิวะ (Om Namah Shivay) เป็นละครโทรทัศน์อินเดีย ออกอากาศทางช่อง Zee TV ในอินเดีย ต่อมาสหมงคลฟิล์มได้ซื้อลิขสิทธิ์ แล้วก็นำมาออกอากาศทางช่อง Happy Home TV และ มงคลแชนแนล ในประเทศไทย โดยมีทีมพากย์พันธมิตรให้เสียงพากย์ภาษาไทย นำแสดงโดย ซามาร์ เจ ซิงห์ ยาโชดัน รานา กายาตรี ชัสตรี ซันเจ ชามาร์ อมิต พาโชรี รีน่า กาปูร์ สุนิล นาการ์ ฯลฯ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและพระศิวะ (ละครโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

พระศุกร์

ระศุกร์ (เทวนาครี: शुक्र ศุกฺร) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระศุกร์ถูกสร้างขึ้นมาจากคาวี (วัว) ๒๑ ตัว (บางตำรากล่าวว่าสร้างจากเทพยาธร-ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีฟ้าอ่อน แล้วเสกได้เป็นพระศุกร์ มีสีวรกายฟ้า ทรงคาวีเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๒ (ส ห ฬ อ) พระศุกร์จัดเป็นครูของพวกยักษ์ ซึ่งตรงข้ามกับพระพฤหัสบดีที่เป็นครูของเทพ พระศุกร์ เป็นบุตรของพระฤๅษีภฤคุ กับ นางชยาติ และเป็นสาวกเอกของพระศิวะ วิมานอยู่ทางศิวโลก ด้านทิศเหนือ พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๖ (เลขหกไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคาวี ๒๑ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือปางรำพึง ในมหาภารตะ พระศุกร์เป็นศัตรูกับท้าวยยาติ ลูกเขยของพระศุกร์ คือท้าวยยาตินั้น เห็นพระศุกร์ เป็นเพียงแค่ฤๅษีคนหนึ่ง จึงได้พูดจาสบประมาท ดูถูกพระศุกร์ และแล้ว ฤๅษีนารทมุนี ได้นำความไปฟ้องพระศุกร์ พระศุกร์โกรธมากจึงสาปท้าวยยาติให้กลายเป็นคนหลังค่อม และลูกหลานต้องฆ่ากันตายและต้องมีตระกูลหนึ่งต้องสูญพันธุ์ไม่มีผู้สืบสกุล จนทำให้เกิด มหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ๑๘ วัน ก็คือปาณฑพ และ เการพ และตระกูลที่สูญพันธุ์ไร้ผู้สืบสกุลก็คือสกุลเการพ ในเวลาต่อมา เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระศุกร์เทียบได้กับอะโฟร์ไดตีของเทพปกรณัมกรีก และวีนัสของเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและพระศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางกุนตี

พระนางกุนตี มีชื่อเดิมว่า "ปฤถา" เป็นธิดาในท้าวศูระเสน กษัตริย์แห่งกรุงมถุรา มีพี่ชายนามว่า "วาสุเทพ" ซึ่งเป็นบิดาของ"พระกฤษณะ" ดังนั้นพระกฤษณะจึงมีศักดิ์เป็นหลานชายของพระนางนั่นเอง กาลต่อมาท้าวกุนติโภช ซึ่งเป็นพระญาติสนิทกับท้าวศูระเสนได้ขอพระนางไปเลี้ยงเป็นพระธิดาบุญธรรม เนื่องจากไม่มีโอรสธิดา ท้าวศูระเสนจึงมอบให้ด้วยความยินดี เมื่อมาอยู่กับท้าวกุนติโภชจึงได้นามใหม่ว่า "กุนตี" อยู่มาวันหนึ่งมหาฤๅษีทุรวาสได้เดินทางมายังเมืองของท้าวกุนติโภช ซึ่งท้าวกุนติโภชได้มอบหมายให้พระธิดากุนตีคอยปรนนิบัติรับใช้จนมหาฤๅษีพอใจ จึงให้พรเป็นมนต์สำหรับเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะมหาฤๅษีทุรวาสทราบด้วยญาณว่า ในอนาคตพระธิดากุนตีต้องเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะไม่อาจมีบุตรกับสวามีของนางได้นั่นเอง แต่ด้วยความคึกคะนองของนางที่อยากทดสอบมนต์ของมหาฤๅษีว่าจะศักดิ์สิทธิ์เพียงใด จึงลองเชิญพระสุริยเทพดู พระสุริยะเทพก็ปรากฏกายต่อหน้านาง แต่ด้วยความที่นางไร้เดียงสาจึงไม่ต้องการมีบุตร แต่ด้วยมนต์นั้นพระสุริยะเทพไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ จึงประทานบุตรให้แก่นางโดยที่นางไม่เสียพรหมจรรย์ เมื่อนางคลอดลูกแล้ว ด้วยความอายกลัวคนอื่นจะครหาว่ามีบุตรก่อนจะแต่งงาน นางจึงนำบุตรน้อยใส่กล่องแล้วลอยไปในแม่น้ำคงคา ซึ่งต่อมาบุตรคนนี้ก็คือ "กรรณะ" พี่ชายคนโตของเหล่าปาณฑพ แต่อยู่ฝ่ายเการพและมีบทบาทอย่างมากในสงครามมหาภารตะนั่นเอง ต่อมาท้าวกุนติโภชได้จัดพิธีสยุมพรให้แก่พระธิดากุนตีกับท้าวปาณฑุแห่งกรุงหัสตินาปุระ และต่อมาไม่นานท้าวปาณฑุก็มีชายาอีกองค์หนึ่ง นามว่า "พระนางมาทรี" ในตอนแรกพระนางกุนตียังไม่ยอมรับในพระนางมาทรีเท่าไหร่ แต่เมื่อได้สนทนากันเห็นว่านางเป็นคนดีจึงยอมรับและรักนางเหมือนน้องสาวคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งท้าวปาณฑุได้ออกไปล่าสัตว์ เห็นกวางสองตัวกำลังเสพสังวาสกัน จึงแผลงศรไปโดนกวางทั้งสองตัวเข้า ซึ่งกวางทั้งสองเป็นพราหมณ์และพราหมณีแปลงร่างมา ก่อนทั้งสองจะสิ้นใจได้สาปว่า หากท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์ที่จะอภิรมย์สมสู่กับชายาตนเมื่อใด จงสิ้นชีวิตเมื่อนั้น ท้าวปาณฑุเกรงในคำสาปนี้จึงสละราชสมบัติให้ท้าวธฤตราษฎร์ขึ้นครองแทน แล้วไปบำเพ็ญศีลในป่า ซึ่งพระนางกุนตีและพระนางมาทรีได้ติดตามไปด้วย และในวันหนึ่งท้าวปาณฑุปรารถนาจะมีโอรส พระนางกุนตีจึงบอกเรื่องมนต์เชิญเทพเจ้ามาประทานบุตร ท้าวปาณฑุจึงขอให้พระนางกุนตีเชิญ "พระธรรมราช" (พระยม) "พระวายุ" และ"พระอินทร์" มาประทานบุตรให้ ซึ่งก็ได้บุตรชายคือ "ยุธิษฐิระ""ภีมะหรือภีมเสน" และ"อรชุน" ตามลำดับ ฝ่ายพระนางมาทรีปรารถนาจะมีโอรสบ้างจึงอ้อนวอนให้พระนางกุนตีสอนมนต์ให้แก่นาง พระนางกุนตีก็ไม่ขัดข้อง พระนางมาทรีจึงเชิญ "พระอัศวิน" โอรสฝาแฝดของพระสุริยะเทพมาประทานโอรสให้ ก็ได้โอรสแฝดนามว่า "นกุล" กับ "สหเทพ" รวมกันเป็นพี่น้อง "ปาณฑพ" นั่นเอง วันหนึ่งท้าวปาณฑุกับพระนางมาทรีไปหาฟืนและอาหารในป่า ท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์รักเข้าจึงจะสมสู่กับพระนางมาทรี แต่ในขณะกำลังซบบนพระถันของพระนางมาทรี ท้าวปาณฑุก็สิ้นใจตายในทันทีตามคำสาป พระนางมาทรีทำใจไม่ได้จึงตามท้าวปาณฑุไปในกองไฟเผาศพ แต่ก่อนไปพระนางได้ฝากฝังนกุลกับสหเทพให้กับพระนางกุนตีคอยดูแลด้วย ซึ่งต่อมาพระนางกุนตีกับโอรสทั้ง 5 ได้กลับไปยังกรุงหัสตินาปุระอีกครั้ง มีอยู่คราวหนึ่งพระนางกุนตีกับพี่น้องปาณฑพได้รับคำเชิญให้ไปประทับยังเมืองวาราณาวัต ซึ่งทุรโยธน์กับลุงนามศกุนิ ได้วางแผนให้ ปุโรจัน ไปสร้างพระราชวังที่ประทับให้กับพี่น้องปาณฑพซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อเพลิงอย่างดี เมื่อเหล่าปาณฑพกับพระนางกุนตีนอนหลับ ปุโรจันก็วางเพลิง แต่โชคดีที่มหามนตรีวิฑูรทราบเรื่องก่อน จึงเตรียมทางหนีไว้ให้ ทั้งพระนางกุนตีและพี่น้องปาณฑพจึงรอดจากการวางเพลิงไปได้ ส่วนปุโรจันนั้นตายในกองเพลิงนั้นเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและพระนางกุนตี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางสัตยวดี

ท้าวศานตนุและนางสัตยวดี, ผลงานภาพวาดของ ราชา รวิ วรรมา พระนางสัตยวดี เป็นตัวละครในมหาภารตะ เป็นลูกของกษัตริย์พระองค์หนึ่งกับนางอัปสรซึ่งถูกสาปให้เป็นปลากับ วันหนึ่งชาวประมงได้จับนางปลาออกมาผ่าท้อง เนื่องจากท้องโตผิดปกติ เมื่อผ่าออกมาดูปรากฏว่าเป็นเด็กผู้หญิง ซึ่งก็คือ พระนางสัตยวดี คนนี้นี่เอง ชาวประมงจึงเลี้ยงไว้ด้วยความสงสาร ในวัยเด็ก สัตยวดี มีกลิ่นตัวเป็นกลิ่นคาวปลาแรงมาก เพราะอาศัยอยู่ในท้องปลาเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีชายใดหมายปอง แต่เมื่อฤๅษีตนหนึ่งผ่านมาชื่อว่า ฤๅษีปราศร ก็ถูกใจนางสัตยวดีมากเพราะเป็นคนสวยและจริง ๆ แล้วเป็นคนวรรณะกษัตริย์ ก็ให้พรโดยให้กลิ่นตัวของนางหายไป และกลายเป็นกลิ่นหอมของดอกไม้มาแทน จากนั้นฤๅษีปราศรกับนางสัตยวดีก็มีความสัมพันธ์กันและมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ ฤๅษีวยาส ซึ่งเป็นคนสำคัญในเรื่องมหาภารตะ เพราะเป็นปู่โดยตรงของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ และจะออกมาคลี่คลายปัญหาเป็นพัก ๆ ให้กับฝ่ายต่าง ๆ เมื่อนางสัตยวดีโตขึ้น พระราชาศานตนุก็มาเจอกับนางเข้าและถูกใจมาก แต่พ่อของนางขอไว้ว่าลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ ท้าวศานตนุไม่ตกลงในทันทีเพราะเห็นแก่ภีษมะ ลูกของพระองค์กับพระแม่คงคา แต่ผู้ให้สัญญานี้คือ ภีษมะ นั่นเอง พระนางสัตยวดีเมื่อแต่งงานกับพระราชาศานตนุก็มีพระโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ ซึ่งถือเป็นน้อยชายต่างมารดาของท้าวภีษมะ ๒ คน กล่าวได้ว่าท้าวศานตนุมีผู้สืบเชื้อสายโดยตรง ๑๐ พระองค์ แต่ ๗ คนแรก พระแม่คงคาได้นำไปทิ้งลงสู่แม่น้ำ ท้าวภีษมะก็สาบานต่อฟ้าดินอย่างเคร่งครัดไว้ว่าจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใด จิตรางคทะก็ถูกคนธรรพ์ชื่อเหมือนกันท้ารบและถูกฆ่าตายในวัยเยาว์ ส่วนวิจิตรวีรยะแม้จะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงอัมพิกาและเจ้าหญิงอัมพาลิกาแล้ว แต่ก็ยังไม่มีพระโอรสสืบต่อพระราชบัลลังก์แม้แต่คนเดียว พระนางสัตยวดีเกรงว่าตนจะเป็นคนบาปที่ทำให้ราชวงศ์กุรุต้องสิ้นสุด จึงให้ฤๅษีวยาส ลูกนอกสมรสมาทำพิธีนิโยค (รับภรรยาของญาติที่เป็นหม้ายมาเป็นภรรยาเพื่อสืบเชื้อสายของวงศ์ตระกูลต่อไป) ทำให้ลูกของฤๅษีวยาสกับเจ้าหญิงอัมพิกาชื่อ ธฤตราษฎร์ (ตาบอดตั้งแต่เกิด แต่มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นพระบิดาของฝ่ายเการพ), เจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาสชื่อ ปาณฑุ (มีสีผิวซีด สุขภาพไม่แข็งแรง แต่เป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่และเป็นพระบิดาของปาณฑพทั้งห้าด้วย), นางกำนัลกับฤๅษีวยาสชื่อ วิทูร (ครบถ้วนสมบูรณ์ดี เป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรม) หลังจากที่พระราชาปาณฑุสิ้นพระชนม์ ฤๅษีวยาสก็แนะนำให้พระนางสัตยวดีไปบำเพ็ญเพียรช่วงสุดท้ายของชีวิตในป่า จะได้ไม่ต้องมารับรู้เรื่องที่หลาน ๆ เหลน ๆ จะมาฆ่าฟันกัน พระนางสัตยวดีเห็นดีด้วยจึงทำตามคำแนะนำของฤๅษีวยาส และออกป่าไปพร้อมกับพระนางอัมพิกาและพระนางอัมพาลิกาและในเรื่องก็ไม่ได้พูดถึงอีก หมวดหมู่:นางในวรรณคดี หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและพระนางสัตยวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางคานธารี

คานธารี เป็นธิดาของท้าวสุพล แห่งนครคันธาระ มีพี่ชายชื่อศกุนิผู้เลวทราม เมื่อพระนางคานธารี รู้ว่าต้องอภิเษกกับท้าวธฤตราษฎร์ สามีตาบอด นางได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณถวายความภักดี โดยใช้ผ้าผูกตาให้มืดมิดเหมือนสวามีชั่วชีวิต พระนางมีโอรส 100 คนและธิดาอีก 1 พระองค์ โดยมีทุรโยธน์ เป็นพี่ใหญ่ มีนิสัยอันธพาลชาติชั่ว เหมือนศกุนิผู้เป็นลุง พระนางคานธารี เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรมมาโดยตลอด แต่ไม่ทัดทานนิสัยของลูกๆ และพี่ชายได้เลย จึงปล่อยไปตามยถากรรม จึงเกิดศึกมหาภารตะของปาณฑพ และเการพขึ้น เนื่องจากศึกมหาภารตะ ทำให้ลูกของนางและพี่ชายตายจนหมด นางแค้นใจพระกฤษณะผู้ชี้ทางแก่ปาณฑพ จนสังหารลูกของนางตายจนเกลี้ยง จึงสาปแช่งพระกฤษณะ และวงศาคณาญาติให้รบราฆ่าฟันสังหารกันเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและพระนางคานธารี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเทราปตี

ระนางเทราปที (द्रौपदी) (อ่านว่า ทะเรา-ปะ-ที พยางค์หน้าออกเสียง/อะ/ กึ่งมาตรา) เป็นบุตรของท้าวทรุปัทและเป็นน้องสาวของธฤษฏัทยุมนะ มีต้นกำเนิดมาจากกองไฟยัญญะ ที่ฤๅษีได้ทำพิธีขึ้นมา เนื่องจากท้าวทรุปัทมีความแค้นโทรณาจารย์ที่ได้ให้ลูกศิษย์คือ อรชุน มาแก้แค้นและแพ้สงครามแก่อรชุน จึงแค้นใจตนเองว่าเหตุใดจึงไม่มีบุตรที่เก่งกาจดังเช่นอรชุน จึงให้ฤๅษีกระทำพิธีขอบุตรชายที่รบและเก่งในการทำสงครามและบุตรสาวที่รูปงามเพื่อที่จะมาเป็นภรรยาของอรชุนในภายภาคหน้า ต่อมาท้าวทรุปัทได้ให้ทำพิธีสยุมพรแก่พระนางเทราปที ปรากฏว่าอรชุนได้รับเลือกเป็นสามี แต่ต่อมาอรชุนได้ยกพระนางเทราปทีแก่เหล่าพี่น้องได้แก่ 1.ยุธิษฐิระ 2.ภีมะ 3.นกุล 4.สหเทพ ให้มาเป็นสามีร่วมกัน เนื่องจากพระนางกุนตีผู้เป็นพระมารดาของปาณฑพได้กล่าวให้แบ่งกันอย่างเท่าเทียมกันด้วยความไม่ได้ตั้งใจ และพวกปาณฑพเองต่างได้ถือคำพูดของมารดาเป็นวาจาสิทธิ์ นอกจากนั้นพระนางเทราปทียังเป็นชนวนเหตุของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรอีกด้วย เพราะพระนางเทราปทีได้ถูกทุหศาสันลากมากระทำอนาจารที่กลางสถา ทำให้ฝ่ายปาณฑพแค้นมากจึงประกาศสงครามขึ้น นางเทราปทีได้ให้กำเนิดพระโอรสแก่พี่น้องปาณฑพทั้งห้า ดังนี้.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและพระนางเทราปตี · ดูเพิ่มเติม »

กฤปาจารย์

กฤปะ (สันสกฤต: कृप อังกฤษ: Kripa) เป็นตัวละครฝ่ายชายใน มหากาพย์มหาภารตะ เป็นอาจารย์ของพวกปาณฑพและพวกเการพ เป็นพี่ชายของนางกฤปิ ซึ่งเป็นภรรยาของ โทรณาจารย์ ซึ่งตัวเขานั้นเป็นอาจารย์สอนวิชากับเหล่าพวกปาณฑพและเการพในช่วงแรกๆ ก่อนที่โทรณาจารย์จะเข้ามาช่วยสอนในภายหลัง ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร กฤปาจารย์เป็น 1 ในแม่ทัพคนสำคัญของเหล่าเการพ และยังเป็น 1 ใน 3 ของเหล่าเการพที่รอดชีวิตจากสงครามครั้งนี้ (อีก 2 คนคือ อัศวัตถามา และ กฤตวรมัน) หลังจากสงคราม กฤปาจารย์กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำราชสำนักหัสตินาปุระ(กุลคุรุ)ตามเดิม หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและกฤปาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531)

มหาภารตะ (เทวนาครี:महाभारत (टीवी धारावाहिक) อังกฤษ: Mahabharat) เป็นละครอินเดียที่เคยมาฉายที่ ช่อง 3 เมื่อปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531) · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)

มหาภารตะ (Mahabharat) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามมหาภารตะ ระหว่างราชวงศ์เการพ กับราชวงศ์ปาณฑพ ละครเรื่องสร้างขึ้นโดยรีเมคจากละครเรื่อง มหาภารตะ ที่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2531 นำแสดงโดย ซอรับห์ ราจ เจน, ชาเฮียร์ ชีคห์, พูจา ชาร์มา, อฮัม ชาร์มา ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5เป็นตอนแรกในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) · ดูเพิ่มเติม »

มายาสูร

มายาสูร เป็นยักษ์ที่เป็นที่ปรึกษาด้านสถาปนิกของพระเวสสุกรรม วันหนึ่งพระกฤษณะและอรชุนไปเที่ยวป่าขาณฑวะ ซึ่งเป็นป่าที่ต้นไม้ขึ้นหนาทึบ ได้เจอกับพระอัคนีซึ่งขอร้องให้ทั้งสองช่วยให้พระอัคนีได้เผาป่าขาณฑวะเพื่อกินสมุนไพร เพราะตนป่วยและไม่ได้กินอะไรมาหลายวัน เพราะเมื่อพระอัคนีเผาป่าเมื่อใด พระอินทร์ซึ่งเป็นมิตรกับพญานาคตักษกะขอร้องให้ช่วยดับไฟให้ พระอินทร์ก็จะประทานฝนลงมาดับไฟทุกครั้ง พระกฤษณะและอรชุนจึงรับปาก พระอัคนีจึงขอร้องให้เทพวรุณ เทพเจ้าแห่งมหาสมุทรให้ธนูคาณฑีวะ นอกจากนี้ยังคืนจักรสุทรรศน์ และคทาเกาโมทกี ให้กับพระกฤษณะด้วย จากนั้นอรชุนจึงเป็นผู้ยิงธนูคาณฑีวะ สกัดกั้นสายฝน และพระกฤษณะก็เป็นสารถีให้ พระอินทร์แปลกใจมากจึงให้เหล่าเทวดามาช่วยกันซัดอาวุธลงไปสู้กับอรชุนและพระกฤษณะ แต่พระกฤษณะก็ใช้จักรสุทรรศน์ทำลายอาวุธเหล่านั้นจนหมดสิ้น พระอินทร์ เมื่อทราบว่ามนุษย์ที่สู้ด้วยนั้นคืออรชุน พระโอรสของพระองค์ก็ไม่สู้รบด้วยต่อไป และปล่อยให้เรื่องของพญางูเลยตามเลย(ภายหลังพระอินทร์ลงมาตรัสบอกว่าในอนาคตพระศิวะจะให้อาวุธอานุภาพแรงสูงชื่อ ปาศุปัต แก่อรชุน) พระอัคนีจึงได้เผาป่า มเหสีของพญางูไปด้วย เหลือแต่ลูกชายที่รอดมาได้อย่างหวุดหวิด นอกจากนี้ในการเผาป่า ยักษ์ที่ชื่อ มายาสูร ตนนี้ก็ได้วิ่งมาหาอรชุนและร้องขอชีวิต อรชุนจึงขอชีวิตยักษ์ตนนี้ไว้ ยักษ์มายาสูรอยากตอบแทนพระคุณมากจึงไปหาพระกฤษณะและอรชุนในตอนกลางคืนพร้อมกับบอกว่าจะสร้างสิ่งก่อสร้างให้อย่างหนึ่ง พระกฤษณะแนะนำให้สร้างสภา มายาสูรจึงรีบดำเนินการตามนั้นทันที มายาสูรออกแบบสภาอย่างวิจิตรตระการตาและยังนำอัญมณีต่าง ๆ ที่ตนเคยสะสมไว้มาตกแต่งอย่างสวยงาม ทำให้ผู้คนจากเมืองอื่นมาดูกันอย่างมากมายและเรียกสภาแห่งนี้ว่า มายาสภา ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ฝ่ายทุรโยธน์อิจฉาพวกปาณฑพเป็นอย่างมาก จึงสร้างสภาขึ้นมาอีก แต่สวยไม่เทียบเท่า และให้ท้าวธฤตราษฎร์เชิญยุธิษฐิระมาเล่นพนันเอาบ้านเอาเมืองกันอีกด้วย หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและมายาสูร · ดูเพิ่มเติม »

ยุธิษฐิระ

ยุธิษฐิระ (สันสกฤต:युधिष्ठिर) เป็นพี่ชายคนโตของตระกูลปาณฑพ โดยถือว่าเป็นพระโอรสของท้าวปาณฑุ กับ พระนางกุนตี แต่จริง ๆ แล้วเป็นพระโอรสของพระนางกุนตีและพระธรรมเทพ (พระยม) มีลักษณะโดดเด่นคือเป็นผู้มีความยุติธรรม ตั้งอยู่บนหลักธรรมเคร่งครัดตลอดมา พี่น้องปาณฑพจึงยึดเอาการตัดสินใจของพี่คนโตคนนี้เป็นหลัก ยุธิษฐิระ แปลว่า ผู้มีความมั่นคงในการสงคราม และยังมีชื่ออื่นๆอีก เช่น ภารตะวงศี อชาตศัตรู ธรรมนันทัน ธรรมราช ยุธิษฐิระมีพระมเหสีคือพระนางเทราปตี (ซึ่งเป็นพระมเหสีของปาณฑพทั้งห้า) มีพระโอรสด้วยกัน 1 พระองค์คือ ประติวินธยะ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์อิจฉาพวกปานฑพมาก จึงขอให้ท้าวธฤตราษฎร์แบ่งกรุงหัสตินาปุระออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือกรุงหัสตินาปุระที่รุ่งเรืองให้กับทุรโยธน์ครอบครองและดินแดนขาณฑวปรัสถ์ที่แห้งแล้ง ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงหัสตินาปุระ ให้พวกปาณฑพครอบครอง ยุธิษฐิระซึ่งเป็นพี่คนโตและมีหลักธรรมประจำใจว่าจะไม่ปฏิเสธคำของผู้ใหญ่จึงรับดินแดนส่วนนี้ไว้ พระกฤษณะ (นารายณ์อวตาร) ทราบจึงมาช่วยพวกปาณฑพพลิกฟื้นดินแดนส่วนนี้ขึ้นมาใหม่ โดยให้พระวิษณุกรรม (พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชฉลูกรรม) ซึ่งเป็นสถาปนิกของพระอินทร์มาช่วยสร้างพระราชวังใหญ่โตให้กับพวกปาณฑพ โดยยุธิษฐิระเป็นกษัตริย์และตั้งชื่อว่ากรุงอินทรปรัสถ์ จากนั้นเมื่อมีผู้ทราบว่าพวกปาณฑพมาเป็นกษัตริย์ที่เมืองนี้ ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อินทรปรัสถ์บ้าง ทำให้กรุงอินทรปรัสถ์รุ่งเรืองขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากที่ไม่มีอะไรเลย มีอยู่วันหนึ่งพระกฤษณะและอรชุนได้ช่วยยักษ์ที่ชื่อมายาสูร (เป็นผู้ช่วยพระวิษณุกรรมด้วย) ไม่ให้พระอัคนีที่กำลังเผาป่าขาณฑวะกินเป็นอาหาร เผายักษ์ตนนี้ด้วย ยักษ์มายาจึงสำนึกในบุญคุณของอรชุนและพระกฤษณะมากจึงดำเนินการสร้างสภาอันยิ่งใหญ่ตระการตาให้กับพวกปาณฑพ โดยตั้งชื่อว่า มายาสภา หลังจากสร้างมายาสภาได้ไม่นาน เทพฤๅษีนารัทมุนี ก็แนะนำให้ยุธิษฐิระทำพิธีราชสูยะ (เป็นพิธีที่ประกาศความยิ่งใหญ่ของกรุงอินทรปรัสถ์ โดยส่งสาส์นออกไปให้พระราชาแคว้นต่าง ๆ ยอมรับ หากไม่ยอมรับก็ทำสงครามกัน) อรชุนไปทางทิศเหนือ ภีมะไปทางทิศตะวันออก นกุลเลือกทิศตะวันตก ส่วนสหเทพเลือกทิศใต้ โดยทำได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยเหตุนี้ทำให้พวกทุรโยธน์อิจฉาขึ้นมาอีก จึงสร้างสภาขึ้นมาบ้างและเชิญพวกปาณฑพมาเล่นสกากัน จุดมุ่งหมายคือ จะเล่นสกาพนันเอาบ้านเอาเมืองกัน ยุธิษฐิระเมื่อเห็นว่าท้าวธฤตราษฎร์เป็นผู้กล่าวชักชวน จึงไม่ปฏิเสธ โดยทุรโยธน์ให้ศกุนิผู้เป็นลุงและชำนาญในการเล่นสกามาก เป็นผู้เล่นแทนและชนะทุกครั้ง ผลคือพวกปาณฑพแพ้และไม่เหลืออะไรสักอย่าง ยุธิษฐิระจึงเริ่มจากการพนันน้องชาย นกุล สหเทพ อรชุน และภีมะตามลำดับ จากนั้นจึงเอาตัวเองเป็นพนันและเล่นสกาต่อไปโดยใช้พระนางเทราปตีพนัน แต่ก็แพ้จนหมด ทุรโยธน์สั่งให้ทุหศาสันนำตัวพระนางเทราปตีมายังสภาและย่ำยีเกียรติของนางโดยบอกให้นางมานั่งตัก ภีมะทนไม่ไหวจึงลั่นคำสาบานออกมาว่าจะใช้คทาของภีมะเองทุบหน้าขาของทุรโยธน์ให้แหลก จากนั้นกรรณะหรือราธียะก็ให้ทุหศาสันดึงผ้าส่าหรีของพระนางเทราปตีออกมา แต่พระนางได้ขอให้พระกฤษณะช่วยไว้ พระกฤษณะจึงประทานผ้าส่าหรีให้นางไม่มีวันหมดสิ้นจนในที่สุดทุหศาสันก็หมดแรง ภีมะลั่นคำสาบานออกมาอีกเป็นรอบที่สองคือ จะฉีกอกทุหศาสันเพื่อดื่มเลือดให้หายแค้น นอกจากนี้ภีมะยังบอกอีกว่า ตนจะเป็นคนฆ่าทุรโยธน์ ทุหศาสันและ อรชุนจะฆ่ากรรณะ สหเทพจะฆ่าศกุนิ ส่วนนกุลก็สาบานว่าจะฆ่าลูกของศกุนิ เช่น อูลูกะ เรื่องราวเลยเถิดออกมามากจนในที่สุดท้าวธฤตราษฎร์ก็ขอให้พระนางเทราปตีให้อภัยและแลกกับให้นางขออะไรก็ได้ นางจึงขอให้คืนทุกอย่างกลับสู่สภาพเดิม ท้าวธฤตราษฎร์จึงตกลงตามที่ว่า แต่ทุรโยธน์ไม่จบแค่นั้น ยังให้ท้าวธฤตราษฎร์ชักชวนให้พวกปาณฑพมาเล่นสกาอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้แพ้ต้องออกป่าเป็นเวลา 13 ปี และในปีที่ 13 ห้ามให้ใครจำได้ ถ้าใครจำได้ต้องเดินป่าอีก 13 ปี ยุธิษฐิระทราบชะตากรรมดี แต่ก็ยอมเล่นสกา ระหว่างที่เดินป่าฤๅษีวยาสก็สอนมนต์เพื่อขออาวุธวิเศษจากพระศิวะแก่ยุธิษฐิระเพื่อถ่ายทอดให้กับอรชุนต่อไปด้วย อรชุนจึงได้อาวุธวิเศษกลับมาพร้อมทั้งได้รับการสอนการร่ายรำ นาฏศิลป์ต่าง ๆ จากท้าวจิตรเสนและรับการสอนการใช้อาวุธจากอินทรเทพผู้เป็นพระบิดาอีกด้วย ระหว่างนั้น นางอัปสรอุรวศีก็พอใจอรชุนมาก แต่อรชุนเห็นว่านางเป็นแม่เท่านั้น นางโกรธมากจึงสาปให้อรชุนเป็นกะเทยตลอดไป แต่พระอินทร์ก็เกลี้ยกล่อมให้นางลดคำสาปเหลือ 1 ปี ให้เป็นในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องเดินป่า จะได้เป็นประโยชน์ในการอำพรางตัว ในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องไม่ให้ใครจำได้นั้น ยุธิษฐิระได้ขอพรจากพระธรรมเทพผู้เป็นบิดาว่าในปีที่ 13 นี้ขอให้ไม่มีใครจำได้ เนื่องจากพระธรรมเทพมาพิสูจน์ความตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมของยุธิษฐิระ โดยการทำให้น้องชายทั้งสี่คนตายไปและแปลงกายเป็นยักษ์ ผู้เฝ้าธารน้ำที่พี่น้องปาณฑพสี่คนลงไปดื่ม แล้วถามว่ายุธิษฐิระจะเลือกใครให้ฟื้นขึ้นมา จึงเลือกนกุล เพราะตนเป็นบุตรพระมารดากุนตี ส่วนบุตรของพระมารดามาทรีหรือมัทรีได้ตายไปหมดแล้ว จึงเลือกนกุลให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง พระธรรมเทพพอใจมากจึงคืนชีวิตให้กับทุกคนและปรากฏร่างเป็นพระธรรมเทพดังเดิม จากนั้นปาณฑพตกลงว่าจะแฝงตัวไปทำงานในวังของท้าววิราฎ แคว้นมัตสยะ โดยยุธิษฐิระได้ใช้ชื่อว่า กังกะ เข้ามาทำงานเป็นมหามนตรีและสอนสกาแก่ท้าววิราฏ, ภีมะใช้ชื่อว่าวัลลภ เข้ามาทำงานเป็นพ่อครัวหลวง, อรชุน ใช้ชื่อว่าพฤหันนลา(ในขณะนั้นเป็นกะเทย) เข้ามาทำงานสอนนาฏศิลป์แก่เจ้าหญิงอุตตรา พระธิดาของท้าววิราฏ,นกุล ใช้ชื่อว่า ครันถิกะ เข้ามาทำงานดูแลม้า, สหเทพ ใช้ชื่อว่า ตันติบาล เข้ามาทำงานดูแลปศุสัตว์ ส่วนพระนางเทราปตีใช้ชื่อว่า ไศรันทรี เข้ามาทำงานดูแลความงามให้กับพระนางสุเทศนา พระมเหสีของท้าววิราฎ เมื่อสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรเกิดขึ้น ยุธิษฐิระก็ได้เข้าร่วมการรบด้วย แต่ไม่ได้ตายในสงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุด ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิกรุงหัสตินาปุระ แต่หลังจากนั้นปาณฑพเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตเพราะเห็นผลของสงคราม จึงยกบัลลังก์ให้ปรีกษิต หลานชายของอรชุน และพี่น้องปาณฑพกับนางเทราปตีก็ออกเดินป่า พร้อมกับสุนัขอีก 1 ตัว สุดท้ายพี่น้องปาณฑพทั้งสี่และนางเทราปตีก็สิ้นชีวิตลงและขึ้นสวรรค์บนยอดเขาหิมาลัย จากนั้นสุนัขที่ติดตามมาด้วยก็กลับกลายเป็นพระธรรมเทพ และพายุธิษฐิระขึ้นไปบนสวรรค์ (แต่ตอนนั้นยุธิษฐิระยังไม่ตาย และมีผู้กล่าวว่ายุธิษฐิระเป็นคนคนเดียวในโลกที่สามารถขึ้นไปยังยอดเขาหิมาลัยได้ทั้งเป็น) แต่กลับพบว่าทุรโยธน์นั่งครองบัลลังก์อยู่ แต่ปาณฑพและนางเทราปตีต้องตกนรกเพราะฆ่าพี่น้องของตน ยุธิษฐิระจึงตัดสินใจตกนรกด้วย จากนั้นพระธรรมเทพจึงบอกว่าทั้งหมดเป็นภาพลวงตา จริง ๆ แล้วเการพต้องตกนรก แต่ปาณฑพอยู่บนสวรรค์ ทั้งหมดที่ทำมาคือการทดสอบจิตใจของยุธิษฐิระ ยุธิษฐิระ พี่น้องปาณฑพและนางเทราปตีก็ได้อยู่บนสวรรค์ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและยุธิษฐิระ · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษีทุรวาส

ฤๅษีทุรวาส หรือ ฤๅษีทุรวาสา เป็นภาคหนึ่งในการอวตารของพระอิศวร เป็นบุตรฤๅษีอัตริ กับนางอนสูยา มีฤทธิ์มากและอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายอีกด้วย ครั้งหนึ่งไม่พอใจในการเฉยเมยของนางศกุนตลา มเหสีของท้าวทุษยันต์ กษัตริย์ผู้ครองกรุงประดิษฐาน(เมืองหลวงเก่า) บรรพบุรุษของท้าวศานตนุ จึงสาปให้ท้าวทุษยันต์ลืมคำสัญญาที่ให้กับนางจนหมดสิ้น แต่ในเรื่องนี้ ท่านฤๅษีพอใจในการปรนนิบัติดูแลของพระนางกุนตี และรู้อนาคตว่าจะมีสามีที่ไม่มีลูกได้ จึงให้มนตร์วิเศษเชิญเทพมาประทานโอรสแก่นาง ซึ่งต่อมาก็คือกรรณะและห้าพี่น้องปาณฑพนั่นเอง ในช่วงที่เหล่าปาณฑพ กำลังถูกเนรเทศ 13 ปี ฤๅษีทุรวาสและฤๅษีลูกศิษย์ราวๆ 500 ตน มายังหัสตินาปุระ ทุรโยธน์ได้ต้อนรับท่านฤๅษีอย่างดี ศกุนิออกอุบายโดยให้ทุรโยธน์ อาราธนาเชิญฤๅษีทุรวาส ให้ไปเยี่ยมพวกปาณฑพ เพื่อหวังจะให้พวกปาณฑพต้องคำสาปฤๅษีทุรวาส ในขณะนั้นในกระโจมของพวกปาณฑพไม่มีอาหารเหลืออยู่เลย เมื่อฤๅษีมาถึง พวกปาณฑพไม่มีอาหารจะถวาย แต่พระกฤษณะรู้ทันจึงมาหาพวกปาณฑพ และบอกให้หาอาหารอะไรสักอย่างมาให้ตนกิน พวกปาณฑพหาได้แค่เมล็ดข้าวเพียงเมล็ดเดียว พระกฤษณะ ก็กินข้าวเมล็ดนั้น ทำให้ฤๅษีทุรวาสและเหล่าลูกศิษย์อิ่มโดยทันที ฤๅษีรู้ว่าพระกฤษณะมาช่วยก็ไม่ได้ว่าอะไร ได้ให้พรพวกปาณฑพและเดินทางจากไป หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและฤๅษีทุรวาส · ดูเพิ่มเติม »

สัญชัยสารถี

สัญชัยสารถี เป็นตัวละครที่ปรากฏในมหาภารตะ เป็นสารถีคนสนิทของท้าวธฤตราษฎร์ ที่ไว้วางใจได้ ไม่มีบทบาทอะไรในการดำเนินเรื่องมาก แต่ตอนสุดท้าย ระหว่างการรบในสงครามทุ่งกุรุเกษตร สัญชัยสารถีก็ได้พรจากฤๅษีวยาสผู้เป็นปู่ของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพว่าให้มองเห็นทุกซอกทุกมุมของการรบนั้น และนำมาเล่าให้ท้าวธฤตราษฎร์ฟังถึงความเลวร้ายที่เกิดขึ้น เพราะท้าวธฤตราษฎร์ไม่ยอมห้ามทุรโยธน์ไว้ตั้งแต่แรก ทำให้สงครามบนทุ่งกุรุเกษตรได้บังเกิดขึ้น หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและสัญชัยสารถี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามทุ่งกุรุเกษตร

ีษมะนอนบนเตียงธนู สงครามทุ่งกุรุเกษตร เป็นเหตุการณ์ในมหาภารตะ ทุ่งกุรุเกษตร เป็นที่ราบที่อยู่ใกล้ ๆ กับกรุงหัสตินาปุระ ที่ทั้งสองตระกูลคือปาณฑพและเการพใช้เป็นสมรภูมิรบ มีทหาร เจ้าชายและกษัตริย์จากแคว้นเมืองต่าง ๆ ล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่สมรภูมิรบแห่งนี้ ฝ่ายปาณฑพมีกำลังพลและหน่วยรบรวมกันทั้งหมด 7 อักเษาหิณี (ประมาณ 2 ล้านคน) และฝ่ายเการพ 11 อักเษาหิณี (ประมาณ 3 ล้านคน) ในสงครามหนนี้ มีผู้คนล้มตายไปราว ๆ 5 ล้านคน ที่รอดจากสงครามมาได้ก็มีเพียงฝ่ายปาณฑ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและสงครามทุ่งกุรุเกษตร · ดูเพิ่มเติม »

หัสตินาปุระ

วาดท้าวยุธิษฐิระเสด็จกลับกรุงหัสตินาปุระหลังสงครามทุ่งกุรุเกษตร กรุงหัสตินาปุระ (เทวนาครี: हस्‍तिनापुर) เป็นเมืองหนึ่งในเรื่องมหาภารตะ ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในอดีตมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ อันประกอบไปด้ว.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและหัสตินาปุระ · ดูเพิ่มเติม »

หิฑิมพะ

หิฑิมพะ (สันสกฤต: हिडिम्ब อังกฤษ: Hidimba) เป็นตัวละครฝ่ายชายจาก มหากาพย์มหาภารตะ เป็นพี่ชายของ นางหิฑิมพี ซึ่งปรากฎตัวในตอนที่ พวกปาณฑพ เข้ามาพักผ่อนหลังจากหลบหนีจากการที่ถูกตามล่าโดย พวกเการพ (ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากการโดนวางเพลิงที่เมืองวาราณาวัต แต่พวกปาณฑพสามารถรอดตายมาได้) ซึ่งพวกเขาได้เข้ามาพักในเขตป่าของหิฑิมพะ ซึ่งหิฑิมพะจะกินเนื้อมนุษย์ที่หลงเข้ามาในป่าของตน จึงให้นางหิฑิมพี เข้าไปหลอกล่อพวกปาณฑพให้มาหาตน แต่กลับกลายเป็นว่า นางได้หลงรักภีมะเข้าให้ จึงเป็นเหตุให้ตนต้องมาถึงที่เอง จึงทำให้เกิดการต่อสู้กันระหว่างตนกับภีมะ สุดท้าย หิฑิมพะถูกฆ่าตายโดยภีมะ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและหิฑิมพะ · ดูเพิ่มเติม »

อรชุน

อรชุน (เทวนาครี: अर्जुन, อังกฤษ: Arjuna) เป็นหนึ่งในตัวละครเอกในมหากาพย์มหาภารตะ ชื่อนี้หมายถึง สว่าง ส่องแสง ขาว หรือ เงิน อรชุนเป็นนักยิงธนูที่มีฝีมือสูงส่ง ไม่มีใครเทียบได้ เป็นพี่น้องคนที่สามในบรรดาปาณฑพทั้งห้า เป็นลูกของนางกุนตี ภรรยาคนแรกของปาณฑุ และเป็นคนเดียวในพี่น้องปาณฑพที่ได้รับพรและอาวุธวิเศษจากเทพเจ้ามากที่สุดด้ว.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและอรชุน · ดูเพิ่มเติม »

อัศวัตถามา

อัศวัตถามา (สันสกฤต: अश्वत्थामा) มีอีกชื่อคือ เทราณี เป็นบุตรชายของโทรณาจารย์ ครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักนครหัสตินาปุระ และเป็นหลานของฤๅษีภรัทวาชะ อัศวัตถามาเป็นมหารถี (นักรบ) ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ในฝั่งเการพที่ต่อสู้กับฝั่งปาณฑพ อัศวัตถามาถือว่าเป็นอวตารหนึ่งใน ๑๙ อวตารของพระศิวะ หนึ่งในพระตรีมูรติทั้ง ๓ พระองค์ อัศวถามาได้ร่วมทำสงครามกุรุเกษตรโดยอยู่ฝั่งเการพเพราะอัศวัตถามาเป็นสหายของทุรโยธน์ พี่ชายคนโตของพี่น้องเการพ ด้วยเหตุนี้อัศวัตถามาจึงเข้าร่วมกับฝั่งเการพในสงครามทุ่งกุรุเกษตร อัศวัตถามาถือว่าเป็นนักรบไม่กี่คนของฝั่งเการพที่ไม่ตายในสงครามทุ่งกุรุเกษตร และในตอนท้ายของมหากาพย์มหาภารตะ อัศวัตถามาได้แอบเข้าไปสังหารธฤษฏัทยุมนะ ศิขัณฑี อุปปาณฑพ และเหล่าทหารของฝั่งปาณฑพ นอกจากนี้ยังใช้ศรพรหมเศียรพยายามฆ่าบุตรในครรภ์ของนางอุตตรา ชายาของอภิมันยุ พระกฤษณะจึงใช้จักรสุทรรศนะตัดอัญมณีบนหน้าผากของอัศวัตถามาออกพร้อมกับสาปให้อัศวัตถามามีหน้าตาหน้าเกลียดมีเลือดไหลออกจากร่างและไม่มีวันตายจนกว่าจะถึงการสิ้นสุดของโลกพร้อมกับต้องเร่ร่อนไม่มีใครจำได้ตลอดชั่วกัลปาวสาน หมวดหมู่: ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและอัศวัตถามา · ดูเพิ่มเติม »

ธฤษฏัทยุมนะ

ธฤษฏัทยุมนะ (धृष्टद्युम्न, dhṛṣṭadyumna) คือตัวละครหนึ่งในมหากาพย์มหาภารตะ เป็นบุตรของท้าวทรุปัท ที่เกิดจากการประกอบพิธียัญญะบูชาตามพิธีพราหมณ์ หลังจากที่ท้าวทรุปัทพ่ายแพ้ต่ออรชุน และถูกจับตัวไปเป็นเชลย มอบให้กับ โทรณาจารย์ แต่ภายหลัง โทรณาจารย์ปล่อยตัวโดยขอดินแดนแคว้นปัญจาละ ครึ่งหนึ่ง ท้าวทรุปัทรู้สึกเจ็บแค้นและเสียใจที่ไม่มีบุตรชายสืบเชื้อสาย ในการประกอบพิธีในครั้งนั้น ทำให้ท้าวทรุปัท ได้บุตร สองคน คือ ธฤษฏัทยุมนะ และ พระนางเทราปตี (ภายหลังได้กลายเป็นมเหสีของพี่น้องปาณฑพ ทั้ง 5 คน) ในสงครามมหายุทธ ณ ทุ่งกุรุเกษตร ธฤษฏัทยุมนะได้รับหน้าที่เป็นประธานเสนาบดี(แม่ทัพ)ฝ่ายปาณฑพ นำกำลังพลทั้งสิ้น 7 อักเษาหิณี (เป็นหน่วยนับจำนวนของอินเดียโบราณ) ภายหลังธฤษฏัทยุมนะได้ขอเข้ามาเป็นศิษย์ในสำนักของโทรณาจารย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาและยุทธวิทยาการรบ แต่ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร ธฤษฏัทยุมนะกลับเป็นคนที่สังหารโทรณาจารย์ ในการรบวันที่ 15 จากการรบทั้งสิ้น 18 วันโดยการใช้ดาบตัดศีรษะ การที่ศิษย์ต้องมาสังหารอาจารย์นั้นก็เพราะเป็นการล้างแค้นแทนท้าวทรุปัทผู้เป็นบิดาซึ่งถูกสังหารโดยโทรณาจารย์ ที่เป็นอาจารย์ของตนเอง นั่นนับเป็นอีกสิ่งเลวร้ายอีกหนึ่งอย่างในหลายๆ สิ่งในสงครามครั้งนั้น และในวันสุดท้ายของศึก ธฤษฏัทยุมนะ ก็ถูกสังหารโดยอัศวัตถามา บุตรชายของโทรณาจารย์โดยการใช้ดาบตัดศีรษะเพื่อล้างแค้นให้บิดาเช่นกัน หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและธฤษฏัทยุมนะ · ดูเพิ่มเติม »

ธฤตราษฎร์

ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นโอรสในนามของวิจิตรวีรยะ และอัมพิกา แต่ที่จริงเป็นบุตรของฤๅษีวยาส กับการนิโยคกับอัมพิกา ท้าวธฤตราษฎร์ มีนัยน์ตาบอด พระองค์มีมเหสีชื่อ พระนางคานธารีและมีบุตร 100 คนและธิดา 1 องค์ เรียกว่า เการพ และมีบุตรกับนางสนม 1 คนคือ ยุยุตสุ ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งกรุงหัสตินาปุระ เป็นคนอ่อนไหว ใจโลเล และลำเอียง ไม่อบรมสอนสั่งลูก จึงเป็นเหตุให้ ทุรโยธน์ มีใจชั่วร้าย กระทำเลวร้ายต่อ ปาณฑพ และเป็นเหตุให้เกิดสงครามมหาภารตะขึ้น หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและธฤตราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววิทูร

วิทูร เป็นโอรสคนที่ 3 ในนามของ วิจิตรวีรยะ ที่จริงแล้วเกิดจากการทำพิธีนิโยคของฤๅษีวยาสและนางกำนัลปาริศรามี เป็นผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศ ดำรงตำแหน่งมหามนตรีแห่งกรุงหัสตินาปุระ มีพี่ชาย 2 องค์ คือท้าวธฤตราษฎร์และท้าวปาณฑุ วิทูรจึงเป็นอาของปาณฑพและเการพด้วย วิทูรเป็นผู้ทรงคุณธรรม เนื่องจากวิทูรเป็นอวตารของพระธรรมเทพหรือพระยม เนื่องจากพระยมทรงถูกพระฤๅษีมาณฑวยะสาปให้มาเกิดเป็นบุตรของนางกำนัล หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและท้าววิทูร · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวปาณฑุ

ท้าวปาณฑุ เป็นพระโอรสของเจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาส ซึ่งเกิดจากพิธีที่เรียกว่า นิโยค มีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีผิวกายที่ขาวซีด เป็นน้องชายของท้าวธฤตราษฎร์และเป็นบิดาของปาณฑพทั้ง 5 มีพระชายา 2 พระองค์คือพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ครั้งหนึ่งเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วเสด็จประพาสป่า ได้ยิงธนูใส่กวางคู่หนึ่งที่กำลังสมสู่กันอยู่ แต่ปรากฏว่ากวางคู่นั้นเป็นฤๅษีกินทมะจำแลงกายเป็นกวาง ก่อนตายฤๅษีได้สาปแช่งท้าวปาณฑุว่า เมื่อใดที่ท่านสมสู่กับหญิงผู้ใดก็ตามขอให้ท่านได้ประสบถึงแก่ความตาย ทำให้ท้าวปาณฑุเสียใจมากจึงสละราชสมบัติแล้วเข้าป่าออกบวช ซึ่งชายาทั้ง 2 ก็ขอติดตามไปด้วย วันหนึ่งท้าวปาณฑุได้เข้าไปในป่ากับพระนางมาทรีเพื่อไปเก็บผลไม้และดอกไม้ ระหว่างนั้นได้เกิดความใคร่อยากสมสู่กับพระนางมาทรีขึ้น จึงทำให้ท้าวปาณฑุสิ้นใจในเวลาต่อมาตามคำสาปของฤๅษีที่ได้สาปแช่งไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและท้าวปาณฑุ · ดูเพิ่มเติม »

ฑ (มณโฑ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 17 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฐ (ฐาน) และก่อนหน้า ฒ (ผู้เฒ่า) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฑ มณโฑ” (บางคนก็เรียกว่า ฑ นางมณโฑ) อักษร ฑ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ หรือ /d/ (ดูหัวข้อถัดไป) และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฑ อยู่น้อยคำ ได้แก่ ฑังส, ฑาก, ฑาหก, ฑาหะ นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและฑ · ดูเพิ่มเติม »

ฆโฎตกัจ

ฆโฏตกัจ (Ghatotkacha) เป็นตัวละครในเรื่องมหาภารตะ เป็นโอรสของภีมะ กับนางรากษสหิฑิมพี ซึ่งตำนานกล่าวไว้ว่าแรกเกิดของฆโฏตกัจนั้นได้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ทันที เนื่องจากในหลายปีก่อนนั้นได้มีฤๅษีรากษสบำเพ็ญตบะอยู่หลายล้านปี พระศิวะเห็นใจจึงลงมาให้พร ซึ่งก็ได้ขอพรจากพระศิวะมากมาย และหนึ่งในพรนั้นก็คือขอให้ลูกรากษสที่เกิดมาทุกตนได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ทันทีหลังที่ได้กำเนิดมา ต่อมา หลังจากที่ฝ่ายปาณฑพได้ประกาศศึกต่อฝ่ายเการพที่ทุ่งกุรุเกษตรแล้ว ฆโฏต์กัจได้มาเป็นแม่ทัพสำคัญของกองกำลังอักเษาหิณีที่ 3 และในสงครามนั้น เขาได้สังหารยักษ์อลัมพุษะ และ อลายุธ ซึ่งเป็นแม่ทัพของกองทัพอักเษาหิณีที่ 8 ตายไปด้วย สุดท้าย ฆโฏตกัจก็ตายด้วยน้ำมือของกรรณะ ซึ่งในศึกวันที่ 14 เขาได้ต่อสู้กับกรรณะในขณะที่อาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว แต่เขายังไม่ยอมสงบศึกกับกรรณะด้วยความแค้นที่ทำกับอภิมันยุ(ลูกชายของอรชุน)และการกระทำนั้นผิดกฎสงครามที่กำหนดไว้ ทำให้กรรณะที่มีความโกรธที่ไม่สามารถทำร้ายฆโฏตกัจได้ จึงนำหอกวาสวีศักติซึ่งใช้ได้ครั้งเดียวแล้วกลับไปหาเจ้าของเดิมออกมาขว้างใส่ฆโฏตกัจ ทำให้ฆโฏตกัจตาย เนื่องจากที่เขาตั้งใจให้เป็นแผนหลอกเอาหอกวาสวีศักติฆ่าตนเอง เพื่อไม่ให้อรชุนไม่ต้องตายในศึกแห่งนี้ด้วยหอกวาสวีศักติตามแผนของพระกฤษณะซึ่งเขาก็ยินดีร่วมแผนนี้ด้วยนั่นเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและฆโฎตกัจ · ดูเพิ่มเติม »

นางหิฑิมพี

นางหิฑิมพี (Hidimbi) ตัวละครฝ่ายหญิงจาก มหากาพย์มหาภารตะ เป็นมเหสีอีกองค์หนึ่งของ ภีมะ พี่น้องคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้อง 5 คนจากฝ่าย ปาณฑพ โดยนางเป็นพวกรากษสหรือยักษ์ประเภทหนึ่งซึ่งนางได้ให้กำเนิดบุตรชายให้กับภีมะ 1 คนคือ ฆโฎตกัจ โดยใน สงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร นางหิฑิมพีได้ส่งฆโฎตกัจบุตรชายไปร่วมรบกับภีมะผู้เป็นบิดาในกองทัพฝ่ายปาณฑพด้วย ในระหว่างที่พี่น้องฝ่ายปาณฑพทั้งห้าพร้อมกับพระนางกุนตีและพระนางเทราปตีถูกเนรเทศไปอยู่ในป่าเป็นเวลา 14 ปีภีมะได้ต่อสู้กับ หิฑิมพะ และฆ่าหิฑิมพะตายพร้อมกันนั้นภีมะก็ต้องการฆ่านางหิฑิมพีให้ตายตามไปด้วยแต่พระนางกุนตีได้ร้องขอชีวิตเอาไว้และ ยุธิษฐิระ พี่ชายคนโตได้อนุญาตให้จัดงานแต่งงานระหว่างภีมะกับนางหิฑิมพี หมวดหมู่:นางในวรรณคดี หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ปาณฑพและนางหิฑิมพี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ปาณฑพ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »