โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชวงศ์ทิวดอร์

ดัชนี ราชวงศ์ทิวดอร์

ราชวงศ์ทิวดอร์ (อังกฤษ: Tudor, เวลส์: Tudur) เป็นเชื้อพระวงศ์ชาวเวลส์ มีกษัตริย์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2028 ถึง พ.ศ. 2146 กษัตริย์สามในหกพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7, สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เป็นกษัตริย์องค์สำคัญที่ทรงเปลี่ยนแปลงอังกฤษจากชาติที่ค่อนข้างอ่อนแอเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ ในยุคกลางมาสู่ชาติมหาอำนาจในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่ซึ่งในศตวรรษต่อมาอังกฤษกลายมาเป็นชาติที่มีอิทธิพลอย่างมากในโลก สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษที่มีชื่อเสียงมากที่สุดตลอดกาล.

49 ความสัมพันธ์: ชาวอังกฤษอเมริกันพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษกรีนิชการรวมราชบัลลังก์กาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษภาพเชิงวัฒนธรรมของควีนแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษมหากฎบัตรมาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บีมาร์กาเร็ต ทิวดอร์มงกุฎทิวดอร์ยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์ราชวงศ์ราชวงศ์ยอร์กราชวงศ์สจวตราชวงศ์อ็องฌูราชวงศ์แลงคัสเตอร์รายชื่อธงในสหราชอาณาจักรรายชื่อธงในประเทศอังกฤษรายชื่อตำแหน่งดยุกและขุนนางสืบตระกูลของหมู่เกาะอังกฤษรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อังกฤษรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์กวิลเลียม เชกสเปียร์วิลเลียมเดอลาโพล ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1สมัยทิวดอร์สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีลสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสงครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์สงครามดอกกุหลาบธงชาติเวลส์ครุยวิทยฐานะในสหราชอาณาจักรประวัติศาสตร์อังกฤษประตูชักรอกแมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสแอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษแอนน์แห่งคลีฟส์ พระราชินีแห่งอังกฤษแจสเปอร์ ทิวดอร์ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดที่ 1แคเธอรีน พารร์ พระราชินีแห่งอังกฤษแคเธอรีน ฮอเวิร์ด พระราชินีแห่งอังกฤษโค้ด กีอัสไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์เจน ซีมัวร์ พระราชินีแห่งอังกฤษเจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสเทวสิทธิราชย์

ชาวอังกฤษอเมริกัน

วอังกฤษอเมริกัน หรือ ชาวแองโกลอเมริกัน (English Americans หรือ Anglo-Americans) คือประชาชนชาวอเมริกันที่มาจากอังกฤษหรือสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นชาวอังกฤษ จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และชาวอังกฤษอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน

ระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน (Felipe II de España; พ.ศ. 2070-พ.ศ. 2141) ทรงสืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์ฮับสบูร์กแห่งออสเตรีย ทรงดำรงฐานะเป็นทั้งกษัตริย์แห่งสเปนและโปรตุเกส โดยทรงเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม พระเจ้าฟีลีเปที่ 1 (Filipe I) รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาที่สเปนสามารถดำรงฐานะความเป็นชาติมหาอำนาจที่ทรงอิทธิพลทางทะเลมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายขยายอำนาจของสเปนในรัชสมัยของพระอง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (Henry VII of England) (28 มกราคม ค.ศ. 1457 – 21 เมษายน ค.ศ. 1509) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์ทิวดอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1509.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กรีนิช

หอดูดาวหลวงกรีนิช กรีนิช (Greenwich) เป็นเขตการปกครองของลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ เป็นที่ตั้งของหอดูดาวหลวงกรีนิชระหว่างปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

การรวมราชบัลลังก์

ตราอาร์มของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2146 - 2168) แสดงให้เห็นองค์ประกอบหลายอย่างจากการรวมราชบัลลังก์ของทั้งสามอาณาจักร เช่น ตราสิงห์สามตัวแห่งอังกฤษ ตราสิงห์แดงในกรอบดอกลิลลีแห่งสกอตแลนด์ และตราฮาร์พเกลลิคแห่งไอร์แลนด์ การรวมราชบัลลังก์ (Union of the Crowns; Aonadh nan Crùintean; Union o the Crouns) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และการรวมราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

กาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ

ระนางกาตาลินาแห่งอารากอน (Catalina de Aragón; Catherine of Aragon, Katharine of Aragon; พ.ศ. 2028 — พ.ศ. 2079) พระราชินีแห่งอังกฤษ พระมเหสีพระองค์แรกในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2052-2090) อภิเษกสมรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2044 กับเจ้าชายอาร์เธอร์ พระโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2029-2045) แต่เมื่อพระสวามีสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงกาตาลินาก็ได้ทรงรับหมั้นกับเจ้าชายที่เป็นน้องสามี ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง 11 ขวบ และได้อภิเษกสมรสกันในเวลาต่อมาเมื่อ..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และกาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเชิงวัฒนธรรมของควีนแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

''สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ วาดโดย ฮันส์ เอวอร์ท (ปี ค.ศ. 1555-58'' ประวัติศาตร์ของอังกฤษและชีวิตของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ได้ถูกนำไปถ่ายทอดในวรรณกรรม  ภาพยนตร์ และสื่อต่างๆ ในแง่มุมเชิงวัฒนธรรมจำนวนหนึ่ง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และภาพเชิงวัฒนธรรมของควีนแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มหากฎบัตร

มหากฎบัตร (Magna Carta) ฉบับที่พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ประกาศเมื่อ พ.ศ. 1768 มหากฎบัตร (Magna Carta, แปลว่า "กฎบัตรใหญ่") บางครั้งก็เรียกว่า "กฎบัตรใหญ่แห่งอิสรภาพ" (Magna Carta Libertatum) เป็นกฎบัตรของอังกฤษที่ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1758 (ค.ศ. 1215) โดยถือกันว่ามหากฎบัตรนี้คืออิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ที่มีต่อประวัติศาสตร์ศาสตร์อันยาวนานของกระบวนการที่นำมาสู่กฎหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน การที่ มหากฎบัตรเกิดขึ้นมาได้นั้น เนื่องมาจากข้อขัดแย้งระหว่างพระสันตปาปา พระเจ้าจอห์นและคณะขุนนางอังกฤษของพระองค์เกี่ยวกับสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ มหากฎบัตรบังคับให้พระมหากษัตริย์ทรงสละสิทธิ์บางอย่าง และยอมรับกระบวนการทางกฎหมายบางอย่าง และยังให้รับว่าพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย มีความเข้าใจผิดที่แพร่หลายหลายประการเกี่ยวกับมหากฎบัตรนี้ เช่นว่าเป็นเอกสารชิ้นแรกสุดที่จำกัดสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์โดยกฎหมายบ้าง (ความจริงไม่ใช่กฎบัตรแรกที่จำกัดสิทธิ์กษัตริย์และมหากฎบัตรนี้ส่วนหนึ่งมาจากสืบเนื่องกฎบัตรแห่งอิสรภาพ) และในแง่ปฏิบัติ พระมหากษัตริย์ถูกจำกัดสิทธิ์บ้าง เป็นเอกสารที่ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง มหากฎบัตรได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดยุคมืด และแก้ไขต่อในสมัยราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์สจวต และต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (พ.ศ. 2144-2343) ล่วงมาถึงช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาตราต่าง ๆ ที่มีเดิมในกฎหมายอังกฤษถูกยกเลิกหรือได้รับการปรับปรุงไปเกือบหมด อิทธิพลของมหากฎบัตรนอกประเทศอังกฤษ อาจเห็นได้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและในกฎหมายว่าด้วยสิทธิ์ นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ที่ใช้กฎหมายจารีตแต่มีรัฐธรรมนูญจะมีอิทธิพลของมหากฎบัตรอยู่ ทำให้มหากฎบัตรกลายเป็นเอกสารทางกฎหมายที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งประชาธิปไตย เนื้อหาหลักในมหากฎบัตร กล่าวถึง สิทธิในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของเสรีชน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในชนชั้นหรือวรรณะใดก็ตาม และพระเจ้าแผ่นดินจะต้องมอบสิทธินี้ให้กับขุนนางหรือผู้ครอบครองที่ดิน (Vassal) และขุนนางนั้นจะต้องมอบสิทธิให้กับพลเมืองหรือไพร่ในสังกัด โดยพลเมืองทุกคนจะไม่ถูกกดขี่ พ่อค้าและชาวนาไม่จำเป็นต้องมอบสินค้าบางส่วนหรือผลิตผลทางเกษตรให้กับขุนนางหรือพระเจ้าแผ่น เพื่อเป็นค่าคุ้มครอง ดังเนื้อความในส่วนหนึ่งของมหากฎบัตร ที่กล่าวว่า "จะไม่มีบุคคลที่ถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยว โดยปราศจากอิสรภาพ หรือถูกยึด ขู่กรรโชก ทรัพย์สินโดยปราศจากคำตัดสินของศาล" นอกจากนี้มีในมหากฎบัตรยังได้กล่าวถึงการเรียกเก็บภาษีของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะทรงเรียกเก็บภาษีตามพระราชหฤทัย โดยไม่ผ่านการเห็นชอบจากสภาบริหารราชการแผ่นดิน (The Great Council of the Nation) มิได้.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และมหากฎบัตร · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี

มาร์กาเร็ต โบฟอร์ท เคานเทสแห่งริชมอนด์และดาร์บี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เลดี้มาร์กาเร็ต โบฟอร์ท (Margaret Beaufort Countess of Richmond and Derby; 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1443 - 29 มิถุนายน ค.ศ. 1509) มาร์กาเร็ต โบฟอร์ทเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และ พระอัยกีของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 มาร์กาเร็ตเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในสงครามดอกกุหลาบและผู้มีอิทธิพลต่อราชวงศ์ทิวดอร์ และเป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยสองวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1509 มาร์กาเร็ตทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระราชนัดดาสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และมาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเร็ต ทิวดอร์

มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ (Margaret Tudor; 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1489 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 1541) หรือที่รู้จักกันในพระนามว่า "มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งชาวสกอต" (Margaret, Queen of Scots) ทรงประสูติที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตที่ทรงพระชนม์ในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษกับพระนางเอลิซาเบธแห่งยอร์ก และทรงเป็นพระเชษฐภคินีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และมาร์กาเร็ต ทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎทิวดอร์

มงกุฎทิวดอร์ (Tudor Crown) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มงกุฎพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henri VIII's Crown) เป็นมงกุฎองค์หลักซึ่งใช้ทรงโดยพระมหากษัตริย์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักรช่วงรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จนถึงช่วงสงครามกลางเมืองในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และมงกุฎทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์

ทธการบอสเวิร์ธฟิลด์ (Battle of Bosworth Field) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1485 ที่เมืองบริเวณมาร์เค็ตบอสเวิร์ธในมณฑลเลสเตอร์เชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ดที่ 3 และฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยเฮนรี ทิวดอร์ เอิร์ลแห่งริชมอนด์และจอห์นเดอเวียร์ เอิร์ลแห่งอ๊อกซฟอร์ดที่ 13 ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์ได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่มีหลักฐานแน่นอนที่ระบุไว้ การสิ้นสุดของสงครามเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทและเป็นการเริ่มการปกครองอังกฤษของราชวงศ์ใหม่ราชวงศ์ทิวดอร์โดยมีสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เป็นปฐมกษัตริย์ ในทางประวัติศาสตร์ยุทธการบอสเวิร์ธฟิลด์ถือว่าเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามดอกกุหลาบสงครามดอกกุหลาบและเป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางในราชอาณาจักรอังกฤษ แม้ว่าจะมียุทธการที่เกิดขึ้นหลังจากยุทธการนี้โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่ไม่สำเร็จก็ตาม ยุทธการครั้งนี้เป็นการต่อสู้แบบสงครามยุคกลางยุทธการสุดท้ายและพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษองค์สุดท้ายที่เสด็จสวรรคตในสนามร.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์

ราชวงศ์ (Dynasty) คือ ลำดับของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกันOxford English Dictionary, "dynasty, n." Oxford University Press (Oxford), 1897.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ยอร์ก

อกกุหลาบขาว สัญลักษณ์ราชวงศ์ยอร์คWarsoftheroses.com, Wars of the Roses - http://www.warsoftheroses.com/york.cfmhttp://www.warsoftheroses.com/york.cfm ราชวงศ์ยอร์ค (House of York) เป็นสาขาหนึ่งของ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท ของ อังกฤษ ราชวงศ์ยอร์คเป็นฝ่ายตรงข้ามของ ราชวงศ์แลงคาสเตอร์ ใน สงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็น สงครามกลางเมือง ในการแย่ง ราชบัลลังก์อังกฤษ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อ ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเวลส์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อ เอ็ดมันด์ แลงลีย์ พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งยอร์ค สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคาสเตอร์คือดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์ค พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงยุติการแย่งราชบัลลังก์ใน สงครามดอกกุหลาบ ระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์กับราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสกับ เอลิซาเบธ แห่งยอร์ค พระราชธิดาของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และตั้งราชวงศ์ใหม่ที่เรียกว่า “ราชวงศ์ทิวดอร์” กษัตริย์ราชวงศ์ยอร์ค ของอังกฤษ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์ยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สจวต

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์สจวต ราชวงศ์สจวต อังกฤษ: House of Stuart หรือ Stewart) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ซึ่งภายหลังได้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษ และได้ปกครองราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ได้ทรงรับเอาการสะกดชื่อพระราชวงศ์ว่า Stuart มาจากภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่ในฝรั่งเศสยืนยันว่าในภาษาสกอต Stewart นั้นออกเสียงได้ถูกต้องแล้ว ชื่อราชวงศ์มาจากพระอิสสริยยศโบราณของสกอตแลนด์ สจวตสูงแห่งสกอตแลนด์ (High Steward of Scotland) ราชวงศ์สจวตปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นเวลานาน 336 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 1914 ถึงปี พ.ศ. 2250 องค์รัชทายาทที่ใกล้ชิดกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษคือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษโดยผ่านทางสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ทิวดอร์ เจมส์ สจวตสืบทอดราชบัลลังก์ทั้งราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ พระองค์ทรงครองราชบัลลังก์ของทั้ง 3 ชาติ (Home Nations) (และยังสืบทอดการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของกษัตริย์อังกฤษด้วย) ในระหว่างปี พ.ศ. 2146 ถึง พ.ศ. 2250 ในระยะหลังราชวงศ์สจวตได้สถาปนาตนเองเป็น กษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ (Kings/Queens of Great Britain) จนถึงรัชสมัยของราชินีองค์สุดท้ายของราชวงศ์สจวตคือสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ราชวงศ์ฮาโนเวอร์ได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อเนื่องจากพระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2244 (Act of Settlement 1701) ที่กำหนดให้ผู้ที่สามารถขึ้นครองราชย์ต่อไปต้องเป็นโปรเตสแตนต์เพื่อประโยชน์ในการรวมไอร์แลนด์ให้อยู่ภายใต้รัฐบาลลอนดอน ในปัจจุบันยังคงมีสมาชิกของราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายราชวงศ์สจวตมีชีวิตอยู่ และยังคงมีผู้ที่ยังคงสนับสนุนราชวงศ์สจวตอยู่ เรียกขานกันว่า พวกจาโคไบท์ (Jacobite) โดยขบวนการนี้ถือเอา ฟรานซ์ ดยุคแห่งบาวาเรีย เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์ และ ฝรั่งเศสโดยชอบธรรม.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์สจวต · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์อ็องฌู

ัญทอนลักษณ์ที่ใช้บนเหรียญโดยชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอ็องตกกำการณ์เฌูและพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์ ราชวงศ์อ็องฌู โกเตตพัดกระโดดหรือ ราชวงศ์อ็องเฌอแว็ง (Andegavinus, (จากภาษาฝรั่งเศสเก่าจากภาษาละตินยุคกลางที่มาจากคำว่า Andegavia, อ็องฌู, ฝรั่งเศส); Houseฉ of Anjou) เป็นชื่อที่ใช้สำหรับผู้ที่พำกกนักอยู่ที่อ็องฌูที่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฝรั่งเศส และรว,มทั้งผู้ที่พำนักอยู่ที่ออแฉปตแตะนัปกพฏอ็องเฌ (Angers) ด้วย ปขฏผาดโผนร นอกจากนั้นแล้วก็ยังเป็นคำที่ใช้สำหรับตระกูลจากสมัยกลางหลายตระกูลที่เริ่มมาจากเคานต์ (หรือดยุคตั้งแต่ ค.ศ. 1360) ของทางตะวันตกของอ็องฌู ซึ่งใช้คำว่า “อ็องเฌอแว็ง” (angevin) เป็นคำคุณศัพท์ ราชวงศ์อ็องฌูสืบเชื้อสายมาจากขุนนางชื่อ “แองเชลแจร์”Vauchez, Encyclopedia of the Middle Ages, 65.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์อ็องฌู · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แลงคัสเตอร์

'''ราชวงศ์แลงคัสเตอร์'''Warsoftheroses.com, Wars of the Roses - House of Lancasterhttp://www.warsoftheroses.com/lancaster.cfm ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ (House of Lancaster) เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของอังกฤษ ราชวงศ์แลงคัสเตอร์เป็นฝ่ายหนึ่งในสงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษ และมีผลกระทบกระเทือนต่อราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเวลส์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อจอห์นแห่งกอนท์ พระราชโอรสของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งแลงคัสเตอร์ สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือ ดอกกุหลาบแดงแห่งแลงคัสเตอร์ ศัตรูของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือราชวงศ์ยอร์ค ความเป็นคู่แข่งระหว่างแลงคัสเตอร์กับยอร์ค ซึ่งกลายมาเป็นมลฑลสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การแข่งกีฬาประจำปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยแลงคัสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยยอร์ค ที่เรียกว่า “การแข่งขันกีฬาดอกกุหลาบ” (Roses Tournament) ราชวงศ์แลงคัสเตอร์มาสิ้นสุดลงในศึกทูคสบรี (Battle of Tewkesbury) ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์แลงคัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในสหราชอาณาจักร

ทความหน้านี้คือรายการเกี่ยวกับธงต่าง ๆ ที่เคยใช้และยังใช้อยู่ในสหราชอาณาจักร และในดินแดนภายใต้อาณัติ สำหรับการใช้ศักราชในบทความนี้ใช้ปีคริสต์ศักราช เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงถึงประวัติศาสตร์สากลเป็นหลัก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และรายชื่อธงในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศอังกฤษ

หน้านี้คือรายการธงต่างๆ ที่มีการใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ สำหรับธงอื่นๆ ที่มีการใช้ในอังกฤษและสหราชอาณาจักร ดูเพิ่มเติมที่ ธงในสหราชอาณาจักร สำหรับการใช้ศักราชในบทความนี้ใช่ปีคริสต์ศักราช เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงถึงประวัติศาสตร์สากลเป็นหลัก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และรายชื่อธงในประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตำแหน่งดยุกและขุนนางสืบตระกูลของหมู่เกาะอังกฤษ

ัชชีและขุนนางสืบตระกูลของอังกฤษ,..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และรายชื่อตำแหน่งดยุกและขุนนางสืบตระกูลของหมู่เกาะอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ระเจ้าเจมส์ที่ 1 เป็นสมเด็จพระราชินีของทั้งประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์เป็นพระองค์แรก พระมหากษัตริย์อังกฤษส่วนใหญ่เป็นสมเด็จพระราชาธิบดี คู่อภิเษกสมรสจึงได้รับอิสสริยยศเป็น "สมเด็จพระราชินี" หากพระมหากษัตริย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถ พระราชสวามีของพระนางจะได้รับพระอิสริยยศอื่น ๆ ตามแต่จะพระราชทาน เมื่อราชอาณาจักรอังกฤษถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ กลายเป็น "ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่" ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียมเดอลาโพล ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1

วิลเลียมเดอลาโพล ดยุกแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 (William de la Pole, 1st Duke of Suffolk) (16 ตุลาคม ค.ศ. 1396 - 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1450) วิลเลียมเดอลาโพลเป็นขุนนางชาวอังกฤษผู้มีบรรดาศักดิ์เป็นดยุกแห่งซัฟโฟล์คที่ 1, มาร์ควิสแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 และ เอิร์ลแห่งซัฟโฟล์คที่ 4 มีชื่อเล่นว่า “Jack Napes” เดอลาโพลเป็นแม่ทัพผู้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ในสงครามดอกกุหลาบ และต่อมามีหน้าที่เป็นอัครมหาเสนาบดี นอกจากนั้นก็ยังปรากฏในบทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์เรื่อง เฮนรี่ที่ 4, ตอน 1 และ เฮนรี่ที่ 4, ตอน 2 และการฆาตกรรมของเดอลาโพลเป็นหัวเรื่องของตำนานกลอนพื้นบ้านของอังกฤษชื่อ Six Dukes Went a-Fishing (ดยุกหกคนไปตกปลา).

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และวิลเลียมเดอลาโพล ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สมัยทิวดอร์

มัยทิวดอร์ (Tudor period) มักจะกล่าวถึงช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1603 โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษ โดยมีพระเจ้าเฮนรีที่ 7เป็นปฐมกษัตริย์ สมัยทิวดอร์เรียกอย่างกว้างๆ ที่รวมรัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แต่รัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธก็ถือว่าอีกสมัยหนึ่งต่างหากที่เป็นสมัยเอลิซ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และสมัยทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล

มเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล (Isabel I de Castilla; Isabella I of Castile22 เมษายน พ.ศ. 1994-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047) เป็นพระราชินีนาถแห่งคาสตีลและเลออนในราชวงศ์ตรัสตามารา พระนางและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระราชสวามี ได้วางรากฐานในการรวมสเปนให้สืบต่อไปจนถึงรุ่นหลาน คือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากพวกมัวร์และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบทวีปอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปนและพระนางทำให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน (España) ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรคาสตีล ราชอาณาจักรอารากอน และราชอาณาจักรนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และสมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีล · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (Mary I of England, 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งอรากอน คาสตีลและเนเปิล และสมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ในราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นผู้ซึ่งฟื้นฟูศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษ พระนางได้ดำเนินการเผาเหล่าบุคคลต่างศาสนา ต่างนิกายกว่า 300 คนทั้งเป็น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า แมรีบ้าเลือด หรือ แมรีผู้กระหายเลือด (Bloody Mary).

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์

งครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์ (The Other Boleyn Girl) เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ โดยนักเขียนชาวอังกฤษ ฟิลิปปา เกรกอรี่ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 เป็นนวนิยายชุดแรกในทิวดอร์ซีรีส์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ทิวดอร์แห่งอังกฤษ มีโครงเรื่องในคริสต์ศตวรรษที่ 16ในเกี่ยวกับ แมรี โบลีน น้องสาวของ แอนน์ โบลีน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในหนังสือกล่าวว่าจอร์จ โบลีนเป็นบุตรคนโตของตระกูลโบลีน และแอนน์ โบลีนเป็นบุตรสาวคนโตของตระกูลโบลีน ส่วนแมรีเป็นบุตรสาวคนเล็ก แต่ในความเป็นจริงนั้น สันนิษฐานว่าแมรี โบลีนเป็นบุตรสาวคนโต รองลงมาคือแอนน์ โบลีนและจอร์จ โบลีน ซึ่งเป็นบุตรชายคนเล็ก สงครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์ ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ซึ่งเข้าภายในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และสงครามรัก อำนาจ ราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเวลส์

23px ธงชาติเวลส์ สัดส่วนธง 3:5 ธงชาติเวลส์ ใช้ธงแถบเขียวขาว เป็นสีประจำชาติของแคว้นเวลส์ซึ่งมาจากลีเวลลินล์ แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ โดยเรียงแถบสีดังนี้คือ แถบบน สีขาว และ แถบล่าง สีเขียว ตรงกลางผืนธงมีรูปตรามังกรสีแดง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และธงชาติเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ครุยวิทยฐานะในสหราชอาณาจักร

รุยวิทยาศาสตร/ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เป็นเสื้อคลุมสีแดงสด ปลายแขนและสาบหน้าประดับผ้าไหมสีน้ำเงิน ไม่มีผ้าคล้องคอ ประกอบหมวกแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ครุยวิทยฐานะในสหราชอาณาจักร หรือครุยวิทยฐานะแบบอังกฤษ (academic dress) เป็นเสื้อคลุมสำหรับประกอบวิทยฐานะและตำแหน่งทางบริหารมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร มีที่มาจากเสื้อคลุมของฆราวาสที่อาศัยในโบสถ์ช่วงยุคกลาง ครุยวิทยฐานะสหราชอาณาจักรมีลักษณะที่เด่นชัดคือ ตอนหน้าอกจะเปิดออกตลอดให้เห็นเครื่องแต่งกายที่อยู่ภายใน คล้ายกับครุยวิทยฐานะไทย ต่างจากครุยวิทยฐานะในสหรัฐอเมริกาที่ตอนหน้าอกจะปิดทึบตลอด ครุยวิทยฐานะในแต่ละระดับและมหาวิทยาลัยจะต่างกันตรงที่ความยาวและรูปทรงของแขน ตลอดจนสีและวัสดุที่ใช้ทำ ครุยวิทยฐานะรูปทรงต่าง ๆ ถูกจัดจำแนกตามวิธีการจำแนกของนิโคลัส โกรฟ (Nicholas Groves) ปัจจุบันมีสมาคมเบอร์กอน (Burgon Society) เป็นผู้รวบรวมและดูแลรักษาข้อบังคับในการจัดทำครุยวิทยฐานะทั้งของสหราชอาณาจักรเองและของประเทศอื่น.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และครุยวิทยฐานะในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อังกฤษ

อังกฤษ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสำริด เช่น สโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประตูชักรอก

ประตูชักรอก (Portcullis) คือส่วนประตูของปราสาทที่มีลักษณะเป็นกรงที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ หรือ ทั้งไม้และโลหะรวมกัน ประตูชักรอกมักจะเป็นประตูที่ในการป้องกันทางเข้าปราสาทในยุคกลาง นับเป็นระบบการป้องกันระบบสุดท้ายก่อนที่จะเข้าถึงตัวปราสาท ประตูแต่ละช่องจะติดตั้งบนร่องดิ่งในกำแพงปราสาท และอาจจะยกขึ้นหรือลงได้อย่างรวดเร็วโดยการใช้โซ่หรือเชือกที่ร้อยกับระบบเครื่องกว้าน ทางเข้าปราสาทหลักมักจะมีประตูชักรอกสองช่อง ประตูด้านในเป็นประตูที่ปิดก่อน ตามด้วยประตูนอก ซึ่งทำให้เป็นกับดักข้าศึกระหว่างประตูสองช่อง เหนือช่องดักก็อาจจะมีช่องสังหารบนเพดานที่ผู้ป้องกันปราสาทสามารถใช้เพื่อการยิง หรือหย่อน หรือเทสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น ทรายร้อนหรือน้ำร้อนลงมายังข้าศึกผู้ติดกับอยู่ได้ ส่วนด้านข้างบนกำแพงก็จะมีช่องธนูที่นายขมังธนูใช้ยิงข้าศึกได้.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และประตูชักรอก · ดูเพิ่มเติม »

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Marie d'Angleterre, Mary Tudor, Queen of France) (18 มีนาคม ค.ศ. 1496 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1533) แมรี ทิวดอร์ เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515 แมรีประสูติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1496 ที่พระราชวังริชมอนด์ในราชอาณาจักรอังกฤษ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และเอลิซาเบธแห่งยอร์ค แมรีเป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระองค์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตพระองค์ก็ทรงเสกสมรสเป็นครั้งที่สองกับชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 (Charles Brandon, 1st Duke of Suffolk).

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และแมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษ

แอนน์ บุลิน (Anne Boleyn) เป็นบุตรีของเซอร์ทอมัส บุลิน กับเลดีเอลิซาเบธ บุลิน และเป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และเป็นพระราชมารดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ต่อมาเสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ) พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งเรื่องราว พระราชอำนาจหลังพระราชบัลลังก์ฉายเด่นชัดจากสมเด็จพระราชินีพระองค์นี้ ข้าราชการแบ่งฝักฝ่ายเป็นสองพวกคือ "คนของพระราชา" และ "คนของพระราชินี" แม้จนเมื่อท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จะทรงมีชัยชนะเหนือพระมเหสี สามารถสำเร็จโทษพระนางได้ ด้วยการกล่าวหาว่าพระนางสมสู่กับน้องชายแท้ ๆ ของพระนางเอง แต่ความแตกร้าวก็ยังคงมีอยู่ไม่รู้จบ พระองค์ถูกกล่าวขานถึงว่า "ราชินีแห่งอังกฤษที่โดดเด่นและสำคัญที่สุดเท่าที่เคยมี".

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และแอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์แห่งคลีฟส์ พระราชินีแห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีแอนน์แห่งอังกฤษ หรือ แอนน์แห่งคลีฟส์ (22 กันยายน พ.ศ. 2058 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2100) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีอัครมเหสีองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ระหว่างวันที่ 6 มกราคม-9 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และแอนน์แห่งคลีฟส์ พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แจสเปอร์ ทิวดอร์ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดที่ 1

แจสเปอร์ ทิวดอร์ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 หรือ แจสเปอร์ ทิวดอร์ เอิร์ลแห่งเพมโบรค (Jasper Tudor, 1st Duke of Bedford หรือ Jasper Tudor, Earl of Pembroke) (ราว ค.ศ. 1431 - 21/26 ธันวาคม ค.ศ. 1495) แจสเปอร์ ทิวดอร์เป็นขุนนางชาวอังกฤษผู้มีบทบาทในสงครามดอกกุหลาบทางฝ่ายแลงคาสเตอร์ แจสเปอร์เป็นลุงของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการที่ทำให้อังกฤษได้รับชัยชนะต่อเวลส์ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และแจสเปอร์ ทิวดอร์ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

แคเธอรีน พารร์ พระราชินีแห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีแคทเธอรีน พารร์ (พ.ศ. 2055Her precise date of birth is not known; the ODNB says "born in 1512, probably in August." Susan E. James, "Katherine (1512–1548)", Oxford Dictionary of National Biography, Oxford University Press, 2004; online edn, Jan 2008 - 5 กันยายน พ.ศ. 2091) เป็นพระมเหสีองค์สุดท้ายของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2086 - พ.ศ. 2090 หลังจากสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สิ้นพระชนม์ก็กลายเป็นสตรีสูงศักดิ์ พระนางเป็นราชินีอังกฤษที่สมรสมากที.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และแคเธอรีน พารร์ พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แคเธอรีน ฮอเวิร์ด พระราชินีแห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งอังกฤษ เดิมชื่อ แคเธอรีน ฮอเวิร์ด (Catherine Howard) เสด็จพระราชสมภพราว..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และแคเธอรีน ฮอเวิร์ด พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

โค้ด กีอัส

้ด กีอัส(CODE GEASS) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นสร้างโดยบริษัทซันไรส์ กำกับโดยโกะโร ทะนิงุชิ เขียนบทโดยอิชิโร โอโกชิ และออกแบบตัวละครโดยแคลมป์ โดยโฟกัสไปที่ ทำอย่างไรที่อดีตเจ้าชาย ลูลูช วี บริทาเนีย ซึ่งได้พลังเหนือธรรมชาติอย่างกีอัสมาครอบครอง จะใช้พลังที่ได้รับมาอย่างไรเพื่อทำลายจักรวรรดิบริทาเนียอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นชาติอภิมหาอำนาจที่แผ่ขยายอาณาเขตอย่างไพศาลให้สิ้นซาก ภาคแรกมีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นระหว่าง 5 ตุลาคม 2549 ถึง 28 กรกฎาคม 2550 และภาคที่สองที่มีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช R2 ออกอากาศระหว่าง 6 เมษายน 2551 ถึง 28 กันยายน 2551 จากกระแสตอบรับที่ล้นหลามทำให้เกิดเป็นมังงะและไลต์โนเวลออกมาอีกจำนวนมากซึ่งมีเนื้อเรื่องแยกจากฉบับอะนิเมะ ในมหกรรมฉลองครบรอบ 10 ปีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2559 อะนิเมะเรื่องนี้จะถูกทำเป็นฉบับไตรภาค โดยภาคที่สามมีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการฟื้นคืนของลูลูช ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ไม่กี่ปีหลังจากภาคก่อนหน้า ผู้กำกับได้ออกมาเปิดเผยว่าในภาคใหม่นี้ก็จะยังคงมีลูลูชตัวเป็นๆเป็นตัวละครเอก อะนิเมะเรื่องนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก เฉพาะในญี่ปุ่นสามารถขาย DVD และ Blu-ray ได้มากกว่าล้านแผ่น และยังชนะรางวัลมากมายในมหกรรมต่างๆอย่าง งาน Tokyo International Anime Fair, งาน Animage Anime Grand Prix และงาน Animation Kobe.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และโค้ด กีอัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

อานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระนามเต็มว่า ไดอานา ฟรานเซส (อังกฤษ: Diana Frances) สกุลเดิม สเปนเซอร์ (อังกฤษ: Spencer) ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เป็นพระชายาองค์แรกของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารอังกฤษ ไดอานาถือกำเนิดในตระกูลขุนนางที่สืบทอดเชื้อสายจากราชวงศ์อังกฤษโบราณ  เป็นบุตรีคนที่ 3 ของ จอห์น สเปนเซอร์ ไวเคานต์อัลธอร์พ และฟรานเซส โรช ในวัยเด็กไดอานาพักอาศัยที่คฤหาสน์พาร์กเฮาส์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่ตำหนักซานดริงแฮม ไดอานาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่ประเทศอังกฤษและได้เข้าศึกษาต่อเป็นเวลาสั้นๆ ในโรงเรียนการเรือนที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  เมื่ออายุได้ 14 ปี ไดอานาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น เลดี้ เมื่อบิดาสืบทอดฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น เอิร์ลแห่งสเปนเซอร์ ไดอานาเริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเมื่อเป็นเข้าพิธีหมั้นหมายกับเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ใน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจน ซีมัวร์ พระราชินีแห่งอังกฤษ

น ซีมัวร์ (c. 1507/1508 – 24 ตุลาคม 1537) เป็นธิดาของเซอร์จอห์น ซีมัวร์ และมาร์เกอรี เวนต์เวิร์ท หลังการทรงงานในฐานะนางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอน และสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน พระองค์ก็ทรงดึงดูดความสนใจจากสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ในฐานะสมเด็จพระราชินี เจนทรงเคร่งขรึมและไว้พระองค์ มีนางพระกำนัลเพียงไม่กี่คนคอยสนองงาน 2 คนในจำนวนนั้นคือน้องสาวและน้องสะใภ้ของพระองค์ ใน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และเจน ซีมัวร์ พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส

้าหญิงแห่งอัสตูเรียส (Princesa de Asturias, อัสตูเรียส: Princesa d'Asturies) เป็นพระอิสริยยศของพระราชวงศ์สเปน สำหรับพระชายาในเจ้าชายแห่งอัสตูเรียส รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สเปน พระอิสริยยศ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส ได้มีการสถาปนาขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และเจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส · ดูเพิ่มเติม »

เทวสิทธิราชย์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์ เทวสิทธิราชย์ (Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่างๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทิวดอร์และเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tudor DynastyTudor dynasty

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »