เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ราชวงศ์ตองอู

ดัชนี ราชวงศ์ตองอู

ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty; တောင်ငူခေတ်) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มน้ำอิระวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ" แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป และภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูก็ยังได้สืบราชสมบัติต่อมา แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เข้มแข็งพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกอบกู้อาณาจักรขึ้นมา แม้นจะมีความพยายามจากพระเจ้าอโนเพตลุน ราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันว่า "ยุคนยองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้ว มอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.

สารบัญ

  1. 124 ความสัมพันธ์: บะละมินทินชาวมอญพ.ศ. 2091พ.ศ. 2135พญารามที่ 2พญาลอพญาทะละพญาทะละ (แก้ความกำกวม)พญาทะละ (เสนาบดี)พระช้อยพระยาสุมังคละโพธิสัตว์พระยานครน้อยพระราชวังกัมโพชธานีพระนางรัตนาเทวีแห่งตองอูพระนางราชธาตุกัลยาพระนางราชเทวีแห่งตองอูพระนางวิสุทธิเทวีพระนางสิริมหาธัมมราชาธิบดีเทวีพระนางสิริราชเทวีพระนางอตุลสิริมหาราชเทวีพระนางจันทาเทวีพระนางธัมมเทวีแห่งตองอูพระนางขิ่นเมียะพระนางนัตชินเมดอพระนางเมงเกงสอพระนางเข่มะนอพระเมกุฏิสุทธิวงศ์พระเจ้าบุเรงนองพระเจ้าญองยานพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดีพระเจ้ามังกะยอดินพระเจ้ามังฆ้องแห่งแปรพระเจ้ามีนเยเดะบะพระเจ้าสการะวุตพีพระเจ้าสเน่ห์มินพระเจ้าอลองพญาพระเจ้าอะเนาะเพะลูนพระเจ้าอโนรธามังช่อพระเจ้าตราพระยาแห่งตองอูพระเจ้าตะนินกันเหว่พระเจ้าตะโดเมงสอแห่งอังวะพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้พระเจ้าตาลูนพระเจ้าปีนดะเลพระเจ้าปเยพระเจ้านรสีหบดีพระเจ้านะราวะระพระเจ้านันทบุเรงพระเจ้าโต่หั่นบวาพระเจ้าเมงจีโย... ขยายดัชนี (74 มากกว่า) »

บะละมินทิน

ละมินทิน (ဗလမင်းထင်, or) แม่ทัพที่มีชื่อเสียงระหว่างสงครามจีน-พม่า เขาเป็นแม่ทัพคู่บารมีอีกคนหนึ่งของพระเจ้ามังระ เป็นนายทหารผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งใน 68 ทหารผู้กล้าหาญที่ร่วมกันสถาปนาราชวงศ์โกนบอง ผู้ซึ่งพระเจ้ามังระให้ความสำคัญไม่แพ้อะแซหวุ่นกี้ โดยให้เขาเป็นผู้รักษาเมืองกองตน เมืองหน้าด่านที่เป็นเสมือนหัวใจแห่งราชวงค์โกนบองจากจักรวรรดิต้าชิง.

ดู ราชวงศ์ตองอูและบะละมินทิน

ชาวมอญ

มอญ (မွန်လူမျိုး; မန် หรือ မည်; IPA:; อังกฤษ: Mon) เป็นชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร.

ดู ราชวงศ์ตองอูและชาวมอญ

พ.ศ. 2091

ทธศักราช 2091 ใกล้เคียงกั.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพ.ศ. 2091

พ.ศ. 2135

ทธศักราช 2135 ใกล้เคียงกั.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพ.ศ. 2135

พญารามที่ 2

ญารามที่ 2 (ဒုတိယ ဗညားရံ,; ဗညားရာံ; ประมาณ 1469–1526) กษัตริย์องค์ที่ 17 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ครองสิริราชสมบัติระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพญารามที่ 2

พญาลอ

ญาลอ (ဗညားလော,; ถึงแก่กรรม 1538) เสนาบดีผู้ใหญ่ในราชสำนักของ พระเจ้าสการะวุตพี กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง อาณาจักรหงสาวดี เขาและ พญาเกียรติ์ รวมถึงเสนาบดีผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ประสบความสำเร็จในป้องกันการรุกรานจาก อาณาจักรตองอู ถึง 3 ครั้งในช่วงปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพญาลอ

พญาทะละ

ญาทะละ (ဗညားဒလ บะญาดะละ; ? – ธันวาคม 1774) เป็นพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ที่ 2 และพระองค์สุดท้ายในช่วงฟื้นฟูอาณาจักร ครองราชย์ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพญาทะละ

พญาทะละ (แก้ความกำกวม)

ญาทะละ หรือ บินยาทะละ เป็นชื่อยศเสนาบดีหรือนายพลเอก มักใช้ใน อาณาจักรหงสาวดี, อาณาจักรตองอู และ อาณาจักรหงสาวดีใหม.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพญาทะละ (แก้ความกำกวม)

พญาทะละ (เสนาบดี)

อัครมหาเสนาบดีพญาทะละ (အဂ္ဂမဟာသေနာပတိ ဗညားဒလ,; บางครั้งเรียก พญาทะละ, 1518 – 1573) รัฐบุรุษ,นายพลและนักปราชญ์ชาวพม่าในระหว่างรัชสมัย พระเจ้าบุเรงนอง แห่ง ราชวงศ์ตองอู เขาเป็นที่ปรึกษาและนายพลที่พระเจ้าบุเรงนองไว้วางพระราชหฤทัยมากที่สุดและเป็นกุญแจสำคัญในการขยายและปกป้องดินแดนของ อาณาจักรตองอู ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1550 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพญาทะละ (เสนาบดี)

พระช้อย

ระช้อย หรือ สะโทกะยอ (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่) หรือ เจ้าหมองส่วยสโตคอย (พงษาวดารเมืองน่าน) เป็นพระเจ้าเชียงใหม่จากราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระเจ้าเชียงใหม่นรธาเมงสอ หลังจากที่พระราชบิดาสิ้นพระชนม์แล้ว พระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน ในที่สุดขุนนางกลุ่มหนึ่งสนับสนุนให้พระองค์ครองราชย์ต่อจากพระบิดาได้สำเร็จในรัชสมัยแรกระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระช้อย

พระยาสุมังคละโพธิสัตว์

ระยาสุมังคละโพธิสัตว์สุรศักดิ์ ศรีสำอาง.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระยาสุมังคละโพธิสัตว์

พระยานครน้อย

ระยานครน้อย เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างรัชกาลที่ 49 เป็นโอรสของพระสุมังคละโพธิสัตว์อัยการาชา หรือพระยาแสนสุรินทร์ลือชัย เดิมชื่อว่าน้อย เมื่อพิจารณาจากราชทินนามแล้วเชื่อได้ว่าเคยอยู่ในตำแหน่งเจ้าเมืองนคร (นครพนม) มาก่อนด้วย พระยานครน้อยสืบราชสมบัติต่อจากพระบิดาใน พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระยานครน้อย

พระราชวังกัมโพชธานี

้านหน้าของพระราชวังกัมโพชธานี พระราชวังกัมโพชธานี (Kamboza Thadi Palace, Kanbawzathadi Palace; ကမ္ဘောဇသာဒီ နန်းတော်) พระราชวังแห่งเมืองหงสาวดี (พะโค) ของพระเจ้าบุเรงนอง เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ (พระธาตุมุเตา) สร้างขึ้นในปี พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระราชวังกัมโพชธานี

พระนางรัตนาเทวีแห่งตองอู

พระนางรัตนาเทวีแห่งตองอู (ရတနာ ဒေဝီ) หนึ่งในห้าพระมเหสีของ พระเจ้าเมงจีโย ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์ตองอู และเป็นพระมารดาของ พระนางอตุลสิริมหาราชเทวี พระอัครมเหสีใน พระเจ้าบุเรงนอง มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า ขิ่นเว หมวดหมู่:ราชวงศ์ตองอู หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1490.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางรัตนาเทวีแห่งตองอู

พระนางราชธาตุกัลยา

ระนางราชธาตุกัลยา (ရာဇ ဓာတု ကလျာ,; 12 พฤศจิกายน 1559 – พฤศจิกายน 1603) เจ้าหญิงรัชทายาทแห่งพม่าจาก..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางราชธาตุกัลยา

พระนางราชเทวีแห่งตองอู

ระนางราชเทวีแห่งตองอู (ရာဇဒေဝီ) พระมเหสีใน พระเจ้าเมงจีโย ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์ตองอู และพระราชมารดาของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า ขิ่นโอ (Khin Oo) เป็นธิดาของผู้นำหมู่บ้าน เลเว หรือปัจจุบันคือ ตำบลละเว ต่อมาได้เข้าถวายตัวเป็นพระสนมของพระเจ้าเมงจีโยใน..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางราชเทวีแห่งตองอู

พระนางวิสุทธิเทวี

ระนางวิสุทธิเทวี หรือ สมเด็จเจ้าราชวิสุทธ (? — พ.ศ. 2121) เป็นขัตติยราชนารีพระองค์หนึ่งที่สำคัญพระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านนา และเป็นพระกษัตรีย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มังราย ก่อนที่การปกครองอาณาจักรล้านนาจะตกไปสู่การปกครองของราชวงศ์ตองอู มหาเทวีวิสุทธิได้ให้การยอมรับอำนาจของพม่า และสนองนโยบายการขยายอำนาจจากล้านนาไปสู่กรุงศรีอยุธยา และล้านช้าง โดยใช้ล้านนาเป็นที่มั่น และส่งกองทัพเข้าร่วมรบกับเชียงใหม่ในคราวเสียกรุงศรีอ..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางวิสุทธิเทวี

พระนางสิริมหาธัมมราชาธิบดีเทวี

พระนางสิริมหาธัมมราชาธิบดีเทวี (သီရိ မဟာ ဓမ္မရာဇာဓိပတိ ဒေဝီ,; พระอัครมเหสีใน พระเจ้านยองยาน แห่ง ราชวงศ์ตองอู พระองค์อภิเษกกับพระเชษฐาต่างพระมารดา นยองยาน เพราะพระองค์เป็นพระราชธิดาของ พระเจ้าบุเรงนอง เช่นเดียวกับพระเจ้านยองยานเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางสิริมหาธัมมราชาธิบดีเทวี

พระนางสิริราชเทวี

ระนางสิริราชเทวี (သီရိရာဇဒေဝီ) พระมเหสีตำหนักเหนือของ พระเจ้านันทบุเรง แห่ง ราชวงศ์ตองอู ของพม่าจาก..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางสิริราชเทวี

พระนางอตุลสิริมหาราชเทวี

ระนางอตุลสิริมหาราชเทวี (အတုလသီရိ မဟာရာဇ ဒေဝီ; ประมาณ 1518 – 15 มิถุนายน 1568) พระอัครมเหสีองค์แรกใน พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ตองอูจาก..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางอตุลสิริมหาราชเทวี

พระนางจันทาเทวี

ระนางจันทาเทวี (စန္ဒာဒေဝီ) หนึ่งในพระมเหสีของ พระเจ้าบุเรงนอง แห่ง ราชวงศ์ตองอู ของ พม่า ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางจันทาเทวี

พระนางธัมมเทวีแห่งตองอู

ระนางธรรมเทวีแห่งตองอู (ဓမ္မဒေဝီ) หนึ่งในสามอัครมเหสีของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าแห่ง ราชวงศ์ตองอู เป็นธิดาของ เมงเยสีหตู พระอาจารย์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้รวมถึงเป็นพระเชษฐภคินี (พี่สาว) ของ พระเจ้าบุเรงนอง เมื่อเจ้าชายรัชทายาทขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจาก พระเจ้าเมงจีโย พระราชบิดาเป็นพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ใน..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางธัมมเทวีแห่งตองอู

พระนางขิ่นเมียะ

ระนางขิ่นเมี๊ยะ (ခင်မြတ်) พระมเหสีของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ แห่ง ราชวงศ์ตองอู พระราชบิดาของพระนาง ชินนิต่า เป็น 1 ใน 7 ขุนนางที่ได้รับการอวยยศจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ให้เป็นเจ้าเมือง แปร ใน..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางขิ่นเมียะ

พระนางนัตชินเมดอ

ระนางนัตชินเมดอ (နတ်ရှင် မယ်တော်, or) เจ้าหญิงรัชทายาทแห่ง ราชวงศ์ตองอู ของพม่าจาก..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางนัตชินเมดอ

พระนางเมงเกงสอ

ระนางเมงเกงสอ (မင်းခင်စော) หรือ พระนางมินขิ่นสอ ตามพงศาวดารพม่าพระอัครมเหสีแห่ง เมืองตองอู ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางเมงเกงสอ

พระนางเข่มะนอ

ระนางเข่มะนอ (ခေမနော) พระอัครมเหสีร่วมของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ แห่ง ราชวงศ์ตองอู ร่วมกับ พระนางธัมมเทวี ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระนางเข่มะนอ

พระเมกุฏิสุทธิวงศ์

ระเป็นเจ้าแม่กุตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 91 (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่) พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ (พงศาวดารโยนก) พญาเมกุ หรือเจ้าขนานแม่กุประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 178-179 ส่วนพม่าเรียกว่า ยูนบะหยิ่น (ယွန်းဘုရင်, Yun Bayin "กษัตริย์ของชาวโยน"), พระสังพม่าอ่านไทย, หน้า 162-163 หรือ พระสารพระราชพงศาวดารพม่า, หน้า 1129 เป็นอดีตเจ้านายเมืองนาย และเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ผู้สืบเชื้อสายมาจากพญามังราย ภายหลังอาณาจักรล้านนาได้พ่ายแพ้แก่พม่าในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง พระเมกุฏิสุทธิวงศ์จึงถูกนำไปเป็นองค์ประกันในพม่าก่อนพิราลัยที่นั่นด้วยโรคบิด การพิราลัยด้วยพระโรคบิดของพระองค์นั้น ทางคติพม่าถือว่าเป็นการตายร้าย น่าสังเวชเวทนา จึงกลายเป็นนัตตระกูลสูงหนึ่งจากทั้งหมดสามสิบเจ็ดตน พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์ในรูปลักษณ์ของนัตมีลักษณะคือ ประทับนั่งชันพระชานุขวา พระหัตถ์ขวาถือพระแสงดาบพาดพระอังสาเบื้องขวา และพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระชานุซ้.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเมกุฏิสุทธิวงศ์

พระเจ้าบุเรงนอง

ระเจ้าบุเรงนอง หรือพระนามเต็มว่า พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา (Bayinnaung Kyawhtin Nawrahta, ဘုရင့်နောင် ကျော်ထင်နော်ရထာ บะยิ่นเหน่าง์จ่อถิ่นหน่อยะถ่า; 16 มกราคม 2059 – 10 พฤศจิกายน 2124) หรือ พระเจ้าหงษานีพัตร เป็นพระมหากษัตริย์พม่าจากราชวงศ์ตองอู เสวยราชย์ตั้งแต่ปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าบุเรงนอง

พระเจ้าญองยาน

ระเจ้าญองยาน (ညောင်ရမ်းမင်း เหญ่าง์ยาน) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์ตองอู ครองราชย์เป็นพระเจ้าอังวะระหว่างปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าญองยาน

พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี

ระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี (မဟာ ဓမ္မရာဇာ ဓိပတိ) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ตองอูของพม่า ตั้งแต..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี

พระเจ้ามังกะยอดิน

ระเจ้ามังกะยอดิน (မင်းရဲကျော်ထင်) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า ตั้งแต..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้ามังกะยอดิน

พระเจ้ามังฆ้องแห่งแปร

ระเจ้ามังฆ้องแห่งแปร (မင်းခေါင် (ပြည်); ประมาณ 1510s – เมษายน 1553) กษัตริย์องค์ที่ 4 และองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรแปรครองสิริราชสมบัติระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้ามังฆ้องแห่งแปร

พระเจ้ามีนเยเดะบะ

ระเจ้ามินแยไดกปา (မင်းရဲဒိဗ္ဗ) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 ของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่า พระองค์ครองราชบัลลังก์ในเดือนกรกฎาคม..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้ามีนเยเดะบะ

พระเจ้าสการะวุตพี

ระเจ้าสการะวุตพีพระราชพงศาวดารพม่า, หน้า 118 (Takayutpi ตะก่ายุปิ๊; 1511 – 1539) พงศาวดารมอญพม่าเรียกว่าพระเจ้าพะธิโรราชา เป็นพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ที่ 18 และพระองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรหงสาวดีในพม่าระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าสการะวุตพี

พระเจ้าสเน่ห์มิน

ระเจ้าสเน่ห์มินเป็นพระมหากษัตริย์พม่าองค์ที่ 12แห่งราชวงศ์ตองอูครองราชต่อจากพระเจ้ามังกะยอดินพระบิดาของพระองค์ เมื่อปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าสเน่ห์มิน

พระเจ้าอลองพญา

ระบรมราชานุสาวรีย์ของพระเจ้าอลองพญาที่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติใน นครย่างกุ้ง พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอลองพญา พระเจ้าอลองพญา หรือ พระเจ้าอลองพญารี (Alaungpaya, အလောင်းမင်းတရား พระนามของพระองค์ออกสำเนียงเป็นภาษาพม่าว่า "อลองเมงตะยาจี" หรือ "อลองพะ" มีความหมายว่า "พระโพธิสัตว์"; สิงหาคม ค.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าอลองพญา

พระเจ้าอะเนาะเพะลูน

ระเจ้าอะเน่าก์แพตหลุ่น (အနောက်ဖက်လွန် อะเน่าก์แพะหลุ่นมิง แปลว่า พระราชาแห่งทิศตะวันตก) หรือ พระเจ้ามหาธรรมราชา พงศาวดารมอญพม่าเรียกว่าพระเจ้าปราสาททองกลดแก้ว เป็นพระมหากษัตริย์พม่าในราชวงศ์ตองอู เมื่อสิ้นพระเจ้าบุเรงนองและพระเจ้านันทบุเรงแล้ว ฐานอำนาจของราชวงศ์ตองอูสั่นคลอนเนื่องจากเกิดการกบฏจากพม่าด้วยกันเองในหลายหัวเมือง อีกทั้งการรุกรานจากต่างชาติ เช่น มอญและชาวโปรตุเกส พระองค์ทรงเป็นผู้รวบรวมอาณาจักรพม่าให้กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง แม้ไม่ยิ่งใหญ่เท่าสมัยของพระอัยกาก็ตาม.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าอะเนาะเพะลูน

พระเจ้าอโนรธามังช่อ

ระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโนรธามังช่อ ในปัจจุบัน เจดีย์ชเวซีโกน ในปัจจุบัน พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ พระเจ้าอโนรธา (Anawrahta Minsaw, Anawrahta, အနိရုဒ္ဓ) (พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าอโนรธามังช่อ

พระเจ้าตราพระยาแห่งตองอู

ระเจ้าตราพระยาแห่งตองอู (တောင်ငူ တရဖျား) อุปราชแห่งเมือง ตองอู ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าตราพระยาแห่งตองอู

พระเจ้าตะนินกันเหว่

ระเจ้าทนินกันเว (တနင်္ဂနွေမင်း) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า ตั้งแต..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าตะนินกันเหว่

พระเจ้าตะโดเมงสอแห่งอังวะ

ระเจ้าตะโดเมงสอแห่งอังวะ (သတိုးမင်းစော,; 1531–1584) อุปราชแห่งอังวะในฐานะเมืองออกของ พระเจ้าบุเรงนอง ผู้เป็นพระเชษฐาและ พระเจ้านันทบุเรง ผู้เป็นพระราชนัดดาระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าตะโดเมงสอแห่งอังวะ

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

ระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ หรือ ตะเบ็งเฉวฺ่ที (Tabinshwehti, တပင်ရွှေထီး; สำเนียงพม่าออกว่า "ตะเบ็งเฉวฺ่ที") เป็นพระมหากษัตริย์พม่ารัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในพระเจ้าเมงจีโย ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอู.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

พระเจ้าตาลูน

ระเจ้าทาลุน (พระเจ้าสิริสุธรรมราชามหาธิบดีตลุนมิน) เป็นพระอนุชาของ พระเจ้าอโนเพตลุน และเป็นพระโอรสของ พระเจ้าสีหสุธรรมราชา หรือ เจ้านยองยาน พระโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง กล่าวคือพระองค์เองและพระเชษฐาธิราชต่างก็เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าชนะสิบทิศบุเรงนอง พระเจ้าสิริสุธรรมราชามหาธิบดี (พระเจ้าทาลุน) (พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าตาลูน

พระเจ้าปีนดะเล

พระเจ้าพินดาเล (2191-2204) กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าทาลุน เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อปีพ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าปีนดะเล

พระเจ้าปเย

ระเจ้าปเย (พระเจ้ามหาสีหสุรสุธรรมราชา) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าองค์ที่ 9แห่งราชวงศ์ตองอูพระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าทาลุน พระองค์ครองราชย์เมื่อปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าปเย

พระเจ้านรสีหบดี

ระเจ้านรสีหบดี (Narathihapate.; နရသီဟပတေ့, nəɹa̰ θìha̰pətḛ; c. 1238–1287) เป็นกษัตริย์พม่าองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พุกาม ครองราชย์ตั้งแต่ปี..1254-1287 มีเรื่องโดดเด่นสองประการที่สร้างพระเจ้านรสีหบดีพระองค์นี้เป็นที่จดจำ คือ ความตะกละตะกลามชอบเสวยอาหาร โดยร่ำลือกันว่าต้องมีอาหารหลากหลายถึงสามร้อยชนิดต่อมื้อพระกระยาหาร และอีกประการคือ ความขลาดกลัวต่อการรุกรานของทัพมองโกล จนเป็นกษัตริย์ที่ได้ฉายาว่า "กษัตริย์ขี้ตะกละผู้หนีทัพจีน" พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยถูกปลงพระชนม์โดยการวางยาพิษจากราชโอรสพระองค์รองนาม สีหตู (Thihathu) ซึ่งขณะนั้นได้ครองเมืองแปร จากนั้นราชวงศ์พุกามก็ได้ล่มสลายลงพร้อมกับชัยชนะของมองโกลที่มีอำนาจเหนือภูมิภาคตอนบนของพม่า กว่า 250 ปี ที่ราชวงศ์พุกามปกครองมีอำนาจในพื้นที่ลุ่มน้ำอิรวดี ผืนแผ่นดินอาณาจักรได้กลับไปแตกแยกเป็นแคว้นเล็กเมืองน้อยอีกครั้ง สภาพสุญญากาศทางการปกครอง สภาวะไร้ผู้นำได้ดำเนินต่อไปอีกกว่า 250 ปี จนกระทั่งการขึ้นมาของราชวงศ์ตองอูที่ได้รวบรวมอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้านรสีหบดี

พระเจ้านะราวะระ

พระเจ้านราวาระ เป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์ที่ 10 แห่ง ราชวงศ์ตองอู ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2215 แต่พระองค์ครองราชย์แค่เพียงปีเดียวก็สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน พระอนุชาของพระองค์จึงขึ้นครองราชย์ต่อเป็น พระเจ้ามังกะยอดิน หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ตองอู.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้านะราวะระ

พระเจ้านันทบุเรง

นันทบุเรง (နန္ဒဘုရင်,; Nanda Bayin; 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1535 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600) หรือ พระเจ้าหงษางาจีสะยาง เป็นพระมหากษัตริย์พม่าจากราชวงศ์ตองอู เสวยราชสมบัติตั้งแต..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้านันทบุเรง

พระเจ้าโต่หั่นบวา

ระเจ้าโต่หั่นบวา (သိုဟန်ဘွား,, 1505 – พฤษภาคม 1542) กษัตริย์แห่ง อาณาจักรอังวะ จาก..

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าโต่หั่นบวา

พระเจ้าเมงจีโย

ระเจ้าเมงจีโย (สำเนียงพม่าออกว่า มินจีโหญ่) (Mingyinyo, မင်းကြီးညို) หรือ พระเจ้าสิริชัยสุระ ตามพงศาวดารไทย หรือในนวนิยายผู้ชนะสิบทิศเรียก เมงกะยินโย เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอู ราชวงศ์และอาณาจักรที่ 2 ของประวัติศาสตร์พม่า พระเจ้าเมงจีโยเดิมเป็นนายทหารที่มีความสามารถในการรบ ได้ทำการรวบรวมชาวพม่าที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกามภายหลังการโจมตีของมองโกล โดยได้รับความช่วยเหลือจากขุนนางสำคัญหลายคน เช่น เมงเยสีหตู (บางคนถูกสมมติเป็นตัวละครในนวนิยายผู้สิบทิศ เช่น มหาเถรวัดกุโสดอ) พระเจ้าเมงจีโยได้สถาปนาเมืองตองอู ซึ่งเป็นเมืองในขุนเขาเป็นปราการที่ดีขึ้นเป็นศูนย์กลางอำนาจใหม่ ต่อมามีการแผ่ขยายอำนาจเข้ายึดเมืองแปรโดยสามารถรบชนะพระเจ้านระบดีแห่งเมืองแปรได้สำเร็จ ต่อมาคิดจะเข้ายึดเมืองหงสาวดีที่มีพระเจ้าสการะวุตพีเป็นกษัตริย์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากพระเจ้าเมงจีโยสวรรคตเสียก่อน ในมหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ระบุว่า พระองค์ได้พบกับพระมเหสีเมื่อเสด็จทอดพระเนตรการสร้างเขื่อน ซึ่งต่อมามีพระโอรสเพียงพระองค์เดียว ที่ได้ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระเจ้าเมงจีโย สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพระเจ้าเมงจีโย

พะโค

(ပဲခူးမြို့, Bago หรือ Pegu) หรือชื่อในอดีตคือ หงสาวดี (ဟံသာဝတီ, หงสาวะโตย; Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy) เป็นเมืองหลวงของเขตหงสาวดี ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า นครหงสาวดีเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ และอาณาจักรตองอูของชาวพม.

ดู ราชวงศ์ตองอูและพะโค

กองทัพอาณาจักรพม่า

กองทัพอาณาจักรพม่า (တပ်မတော်) เป็นกองกำลังทหารพม่าราชาธิปไตย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ถึง ศตวรรษที่ 19.

ดู ราชวงศ์ตองอูและกองทัพอาณาจักรพม่า

การรบที่เมืองคัง

การรบที่เมืองคัง เป็นผลมาจากการสวรรคตของพระเจ้าบุเรงนอง พระมหากษัตริย์พม่า ทำให้เจ้าประเทศราชไทยใหญ่กระด้างกระเดื่องต่อพม่า พม่าต้องการปราบปรามเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ประเทศราชอื่น ๆ พระเจ้านันทบุเรงทรงต้องการให้มีการแข่งขันในการรบ จึงทรงจัดให้เจ้านายพม่าและพระนเรศวรเข้าตีเมืองคังคนละวัน เจ้านายพม่าทั้งสองไม่สามารถเข้าตีเมืองได้ จนถึงวันที่สาม พระนเรศวรทรงใช้เส้นทางลับเข้าตีเมืองจนสำเร็.

ดู ราชวงศ์ตองอูและการรบที่เมืองคัง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองหรือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สองระหว่างราชวงศ์โกนบองแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งอยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีคนไทยเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน..

ดู ราชวงศ์ตองอูและการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรตองอูและอาณาจักรอยุธยา อันเป็นผลมาจากความต้องการของพระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชดนั.

ดู ราชวงศ์ตองอูและการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

มหากาพย์กู้แผ่นดิน

มหากาพย์กู้แผ่นดิน เป็นหนังสือการ์ตูนไทยแนวอิงประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คลีเนทีฟในเครืออีคิวพลัส (Cleanative/E.Q.Plus) สตอรี่บอร์ดและเนื้อเรื่อง โดย อรุณทิวา วชิรพรพงศา วาดภาพโดย มนตรี คุ้มเรือน มีจำนวน 5 เล่ม การ์ตูนชุดนี้ยังได้รับรางวัลชมเชยจากรางวัลการ์ตูนนานาชาติ (International Manga Award) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน..

ดู ราชวงศ์ตองอูและมหากาพย์กู้แผ่นดิน

มหาราชวงศ์

มหาราชวงศ์ (မဟာရာဇဝင်ကြီး, มะห่าหย่าซะหวิ่นจี; Maha-Radza Weng) เป็นหนังสือบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์พม่า ที่อูกะลา อาลักษณ์ในราชสำนักพระเจ้าตะนินกันเหว่แห่งกรุงอังวะ ได้แต่งจนแล้วเสร็จในปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและมหาราชวงศ์

มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว

มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (မှန်နန်း မဟာ ရာဇဝင်တော်ကြီး, หมั่นนัน มะห่าหย่าซะหวิ่นด่อจี) เป็นหนังสือบันทึกเหตุการณ์ฉบับทางการเป็นฉบับแรกของราชวงศ์คองบอง ที่พระเจ้าจักกายแมงโปรดให้คณะกรรมการประวัติศาสตร์หลวงแห่งพม่าเรียบเรียงขึ้นระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว

มังกะยอชวา

มังกะยอชวา (พระนามภาษาพม่า: မင်းကြီးစွာ; อักษรโรมัน: Minyekyawswa, Minchit Sra; ออกเสียง: เมงเยจอสวา) หรือ มังสามเกียด (ตามที่พงศาวดารไทยและพงศาวดารมอญเรียก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยโดยทรงนำทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง รวมถึงได้ทรงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาร.

ดู ราชวงศ์ตองอูและมังกะยอชวา

มังมหานรธา

มังมหานรธา (မဟာနော်ရထာ, Maha Nawrahta) เป็นหนึ่งในขุนพลเอกของพระเจ้ามังระที่พระองค์ทรงไว้ใจเป็นอย่างมาก มังมหานรธามักจะเป็นตัวเลือกแรกๆที่พระเจ้ามังระทรงเลือกใช้งานโดยไม่คำนึงถึงอายุที่มากของเขาไม่ว่าผู้ใดจะทัดทาน ในปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและมังมหานรธา

มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู

มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู (တောင်ငူမင်းခေါင်, เต่าง์หงู่มิงเข่าง์; ประมาณ 1520s – มิถุนายน 1584) หรือที่รู้จักกันในราชทินนามสีหตู (သီဟသူ ตี่หะตู่) เป็นพระเจ้าตองอูในฐานะประเทศราชของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและมังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู

มังฆ้องนรธา

มังฆ้องนรธา (မင်းခေါင် နော်ရထာ; ประมาณ ค.ศ. 1714 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1760) เป็นแม่ทัพแห่งกองทัพพม่าแห่งราชวงศ์คองบองสมัยพระเจ้าอลองพญา เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้คุมทหารกองหลังในสงครามพระเจ้าอลองพญา ขณะที่กองทัพพม่าเร่งรุดเดินทางเพื่อนำพระบรมศพพระเจ้าอลองพญากลับประเทศ แม่ทัพคนดังกล่าว ซึ่งได้รับความเคารพนับถือจากทหารใต้บังคับบัญชา ได้ก่อกบฏต่อพระเจ้ามังลอก พระมหากษัตริย์พระองค์ถัดจากพระเจ้าอลองพญา เชื่อกันว่าถูกประหารชีวิตโดยพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ผู้ซึ่งมีประวัติปฏิปักษ์ต่อกันมานาน แม่ทัพกบฏผู้นี้ได้ยึดอังวะได้ในเดือนมิถุนายน..

ดู ราชวงศ์ตองอูและมังฆ้องนรธา

มินเลตยาแห่งอังวะ

มินเลตยาแห่งอังวะ (မင်းလက်ျာ,; – 1586) เจ้าเมืองอังวะระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและมินเลตยาแห่งอังวะ

รัฐร่วมประมุข

ียนฉลองรัฐร่วมประมุขระหว่างโปแลนด์และลิทัวเนียเป็นสหราชอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนีย รัฐร่วมประมุข หรือ การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักร (personal union) เป็นการรวมรัฐอิสระมากกว่าสองรัฐขึ้นไปภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในขณะที่พรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายของอาณาจักรในกลุ่มยังคงเป็นตัวของตัวเอง สหราชไม่ใช่ “สหพันธรัฐ” (federation) ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหลายรัฐที่รวมเข้ามาเป็นรัฐเดียวกันและมีพรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายส่วนใหญ่ร่วมกัน หรือ “สหราชวงศ์” (dynastic union) ซึ่งหมายถึงการรวมภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน แต่กระนั้นความหมายระหว่าง “สหราช” และ “สหพันธรัฐ” ก็มีความเกี่ยวพันกัน และ “สหราช” มักจะวิวัฒนาการมาเป็น “สหพันธรัฐ” การรวมตัวกันเป็น “สหราช” อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุผลหลายประการตั้งแต่การเกิดขึ้นโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันเช่นการเสกสมรสระหว่าง “สมเด็จพระราชินีนาถ” (queen regnant) ของราชอาณาจักรหนึ่ง กับ พระมหากษัตริย์ของอีกราชอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งทำให้พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ก็จะได้รับราชบังลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักร ไปจนถึงการผนวกดินแดน การรวมตัวกันอาจจะเป็นตามบทบัญญัติทางกฎหมาย เช่นการผ่านพระราชบัญญัติในรัฐสภาระบุการรวมตัวกัน หรืออาจจะโดยพฤตินัยซึ่งง่ายต่อการแยกตัวกลับไปเป็นอาณาจักรเดิม เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์ของบรรดาอาณาจักรร่วมที่มีระบบการสืบสันตติวงศ์ที่ต่างกัน “สหราช” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบราชาธิปไตยเท่านั้น และบางครั้งก็จะใช้คำว่า “สหราชาธิปไตย” (dual monarchy) ในการแสดงแสดงว่าเป็นการรวมอาณาจักรของสองราชบัลลังก์ รายการข้างล่างแสดงให้เห็นถึงรายระเอียดของการรวมเป็นสหราชอาณาจักรตลอดมาในประวัติศาสตร์ ยกเว้นแต่ในกรณีของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของเครือจักรภพบริติชเช่นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และแคนาดา ซึ่งไม่ใช่การรวมเป็นสหราชอาณาจักรของโลกยุคปัจจุบัน นอกจากนั้นคำว่า “การรวมสหอำนาจ” ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้โดยนาซีเยอรมนีในการรวมตำแหน่งระดับสูงในพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน เครื่องมือทางการเมืองเดียวกันนี้นำมาใช้โดยรัฐบาลอื่นๆ เช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคล้ายกันกับ “ผู้ได้รับการแต่งตั้ง” (persona designata) ที่เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่ทางศาลสามารถแต่งตั้งให้ผู้ไม่มีหน้าที่ทางศาลมีความรับผิดชอบในหน้าที่กึ่งเกี่ยวกับระบบยุติธรรมภายใต้ระบบคอมมอนลอว.

ดู ราชวงศ์ตองอูและรัฐร่วมประมุข

ราชวงศ์

ราชวงศ์ (Dynasty) คือ ลำดับของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกันOxford English Dictionary, "dynasty, n." Oxford University Press (Oxford), 1897.

ดู ราชวงศ์ตองอูและราชวงศ์

ราชวงศ์โกนบอง

ราชวงศ์โกนบอง (ကုန်းဘောင်ခေတ်,; Konbaung Dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์พม่า และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และสิ้นสุดการปกครองระบอบราชาธิปไตยของพม่า ราชวงศ์อลองพญานั้นได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการเสวยราชสมบัติของพระเจ้าอลองพญาในปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและราชวงศ์โกนบอง

ราชาธิราช

ราชาธิราช หรือชื่อในภาษาพม่า ยาซาดะริต อเยดอว์บอง (ရာဇာဓိရာဇ် အရေးတော်ပုံ) เป็นชื่อของพงศาวดารพม่า ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์ของอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญตั้งแต่ พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและราชาธิราช

รายชื่อเมืองหลวงของพม่า

รายชื่อเมืองหลวงในประวัติศาสตร์พม.

ดู ราชวงศ์ตองอูและรายชื่อเมืองหลวงของพม่า

รายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า

ทความนี้รวบรวมรายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรต่าง ๆ ภายในประเทศพม.

ดู ราชวงศ์ตองอูและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า

รายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช

มหาราช (The Great) เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในกลุ่มคนที่พูดภาษานั้น ๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช" เขียนไว้ที่ท้ายพระนาม.

ดู ราชวงศ์ตองอูและรายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช

รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่า

ระเจ้าธีบอถูกเนรเทศในปี 1885.

ดู ราชวงศ์ตองอูและรายพระนามพระมหาอุปราชาพม่า

สมิงพยู

มิงพยู (သမိန်ပရူ,; ถึงแก่กรรม 1544) นายพลและแม่ทัพเรือแห่ง กองทัพพม่า และเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ แห่ง ราชวงศ์ตองอู ของ พม่า ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและสมิงพยู

สมิงสอตุต

มิงสอตุด (သမိန်စောထွတ်,; สวรรคตสิงหาคม 1550) เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ราชอาณาจักรหงสาวดี และเป็นผู้ลอบสังหารพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ของราชวงศ์ตองอู เดิมเป็นขุนนางชาวมอญที่ได้รับราชการให้ไปปกครองเมืองสะโตงในรัชสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ผู้ที่พิชิตราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญได้ในปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและสมิงสอตุต

สมิงทอ

มิงทอ (သမိန်ထော,; ? – 27 มีนาคม 1553) หรือสมิงเตารามะ เป็นพระเจ้าหงสาวดีพระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์หงสาวดี ซึ่งมีราชอาณาเขตเล็กเพียงรอบกรุงหงสาวดีจาก..

ดู ราชวงศ์ตองอูและสมิงทอ

สมิงทอพุทธกิตติ

มิงทอพุทธกิตติ (သမိန်ထောဗုဒ္ဓကိတ္တိ สะเมงทอโบ้วด๊ะเกติ๊) เป็นพระเจ้าหงสาวดีระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและสมิงทอพุทธกิตติ

สอพินยา

อพินยา (စောဗညား,; สิ้นพระชนม์ 1541) อุปราชเจ้าเมือง เมาะตะมะ ระหว่างประมาณคริสต์ทศวรรษ 1510 ถึง 1541 และตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรหงสาวดี ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและสอพินยา

สิริสุธรรมราชาแห่งเมาะตะมะ

ริสุธรรมราชาแห่งเมาะตะมะ (သီရိ သုဓမ္မ ရာဇာ,; 8 เมษายน 1561 – ประมาณ พฤษภาคม 1584) เจ้าเมือง เมาะตะมะ ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและสิริสุธรรมราชาแห่งเมาะตะมะ

สงครามช้างเผือก

งครามช้างเผือก เป็นสงครามก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง สงครามมีสาเหตุมาจาก ในปีพ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเพื่อทูลขอ ช้างเผือก 2 เชือก เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้นมีช้างเผือกอยู่ทั้งหมด 7 เชือก ฝ่ายขุนนางจึงมีความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งต้องการให้ส่งช้างเผือกไปถวายแก่พระเจ้าบุเรงนองเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม ส่วนอีกฝ่าย อันได้แก่พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงครามไม่เห็นด้วยกับการส่งช้างเผือกไป เนื่องจากจะเป็นการอ่อนข้อให้หงสาวดี ในที่สุดสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ทรงมีพระบรมราชโองการไม่ประทานช้างเผือก แล้วมีพระราชสาสน์ตอบกลับไปดังนี้ "ช้างเผือกย่อมเกิดสำหรับบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของ เมื่อพระเจ้าหงสาวดีได้บำเพ็ญธรรมให้ไพบูรณ์คงจะได้ช้างเผือกมาสู่บารมีเป็นมั่นคงอย่าได้ทรงวิตกเลย" และรับสั่งให้เตรียมไพร่พลพร้อมรับศึกอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพรวมพลที่เมืองเมาะตะมะ จัดทัพใหญ่ออก เป็น 5 ทัพ มีเจ้าเมืองเชียงใหม่ควบคุมกองเรือเสบียง ล่องลงมาถึงเมืองตาก รวมไพล่พลเป็นจำนวนประมาณ 500,000 คน ส่วนทางอยุธยาได้เตรียมพลพร้อมรบและเรือรบจำนวนมาก เพื่อป้องกันการโจมตีจากทัพหลวงของหงสาวดีทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่เหตุการณ์ไม่เป็นดังที่คาดไว้ กองทัพพม่ากลับยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา และเข้าตีกำแพงเพชรจนชนะ แล้วแยกทัพไปตีสุโขทัย เนื่องด้วยทางสุโขทัยมีกำลังน้อยกว่ามากแต่ก็สู้รบอย่างเต็มความสามารถ แต่ท้ายที่สุดก็ถูกพม่ายึดเมืองได้สำเร็จ จากนั้นพม่าจึงล้อมเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาก็ต่อสู้เป็นสามารถเช่นกัน แต่เกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมืองและเสบียงอาหารก็หมดจึงยอมจำนน หลังจากที่พม่าได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้วจึงบังคับให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่า พร้อมทั้งสั่งให้ยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาด้วย ในเวลาต่อมา กองทัพพม่าก็ยกมาประชิดเขตเมืองใก้ลทุ่งลุมพลีพระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก กองทัพเรือ ระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู่ไม่ได้จึงถอย ทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี (ทุ่งลุมพลี) ป้อมจำปา ป้อมพระยามหาเสนา (ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามีกำลังมาก การที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัยคงจะยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนำปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วงเวลาให้ เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ำหลากพม่าคงจะถอยไปเอง แต่พม่าได้เตรียมเรือรบ และปืนใหญ่มาจำนวนมากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามา ในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายมาก ทางพระเจ้าบุเรงนองจึงมีพระราชสาสน์มาว่า จะรบต่อไปหรือยอมเป็นไมตรี เนื่องด้วยทางไทยเสียเปรียบมาก พระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมเป็นไมตรี ทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียช้างเผือกจาก 2 เชือก เป็น 4 เชือก และทุกปีต้องส่งช้างให้ 30 เชือก พร้อมเงิน 300 ชั่ง จับตัวพระยาจักรี พระราเมศวร และ พระสมุทรสงคราม ไปเป็นตัวประกัน นอกจากนี้ยังจะขอเก็บภาษีอากรจากเมืองมะริดที่ขึ้นกับไทยอีกด้วย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระชมมายุได้ 9 พรรษาถูกนำเสด็จไปประทับที่กรุงหงสาวดีเพื่อเป็นองค์ประกันด้ว.

ดู ราชวงศ์ตองอูและสงครามช้างเผือก

สงครามพระเจ้าอลองพญา

งครามพระเจ้าอลองพญา เป็นชื่อเรียกความขัดแย้งทางทหารครั้งแรกระหว่างอาณาจักรโกนบองแห่งพม่า กับอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง สงครามครั้งนี้เป็นการจุดชนวนการสงครามนานหลายศตวรรษระหว่างทั้งสองรัฐขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะกินเวลานานไปอีกหนึ่งศตวรรษข้างหน้า ฝ่ายพม่านั้นอยู่ที่ "ขอบแห่งชัยชนะ" แล้วเมื่อจำต้องถอนกำลังจากการล้อมอยุธยา เนื่องจากพระเจ้าอลองพญาถูกระเบิดปืนใหญ่สิ้นพระชนม์ พระองค์สวรรคตและทำให้สงครามครั้งนี้ยุติลง ความต้องการครอบครองชายฝั่งตะนาวศรีและการค้าขายในแถบนี้เป็นชนวนเหตุของสงครามBaker, et al, p.

ดู ราชวงศ์ตองอูและสงครามพระเจ้าอลองพญา

สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้

งครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ หรือ สงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัยดนั.

ดู ราชวงศ์ตองอูและสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้

สงครามยุทธหัตถี

ระมหาอุปราชมังกะยอชวา สงครามยุทธหัตถี เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2135 ระหว่างอยุธยากับพม่า ผลของสงครามครั้งนั้นปรากฏว่าอยุธยาเป็นฝ่ายชนะถึงแม้จะมีกำลังพลน้อยกว.

ดู ราชวงศ์ตองอูและสงครามยุทธหัตถี

สงครามจีน–พม่า

งครามจีน–พม่า (တရုတ်-မြန်မာ စစ်, 中緬戰爭, 清緬戰爭) หรือ การบุกพม่าของราชวงศ์ชิง หรือ การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง (Qing invasions of Burma, Myanmar campaign of the Qing Dynasty) เป็นการสงครามระหว่างราชวงศ์ชิงของจีน กับราชวงศ์โกนบองของพม่า กินเวลา 4 ปี ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและสงครามจีน–พม่า

สงครามโกนบอง–หงสาวดี

งครามโกนบอง–หงสาวดี (ကုန်းဘောင်-ဟံသာဝတီ စစ်; Konbaung–Hanthawaddy War) เป็นสงครามที่สู้กันระหว่างราชอาณาจักรโกนบองและราชอาณาจักรหงสาวดีใหม่ในพม่าตั้งแต..

ดู ราชวงศ์ตองอูและสงครามโกนบอง–หงสาวดี

หงสาวดีมิบะยา

หงสาวดีมิบะยาหงสาวดี มิบะยา แปลว่า พระมเหสีกรุงหงสาวดี แต่พระนามเดิมไม่ปรากฏในพงศาวดาร (ဟံသာဝတီ မိဖုရား, หั่งส่าวะดี่ มิบะยา; ประมาณ 1536 – มิถุนายน 1606) เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้านันทบุเรงแห่งราชวงศ์ตองอู ดำรงพระอิสสริยยศระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและหงสาวดีมิบะยา

หงส์

หงส์ (มักเขียนผิดเป็น หงษ์) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก.

ดู ราชวงศ์ตองอูและหงส์

อะแซหวุ่นกี้

มะฮาตีฮะตูระ (แปลงเป็นไทย มหาสีหสุระ, မဟာသီဟသူရ, Maha Thiha Thura; ราวพุทธศักราช 2263-2325) เอกสารไทยเรียก อะแซหวุ่นกี้ เป็นแม่ทัพแห่งกองทัพพม่าช่วง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและอะแซหวุ่นกี้

อังวะ

อังวะ (အင်းဝ, อีนวะ หรือ อะวะ) ตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า เป็นเมืองหลวงเก่าของพม่าถึง 5 ครั้งในช่วง 360 ปีระหว่าง ค.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและอังวะ

อังวะมิบะยา

อังวะมิบะยาอังวะมิบะยา แปลว่า พระมเหสีกรุงอังวะ แต่พระนามจริงไม่ปรากฏในพงศาวดาร (အင်းဝ မိဖုရား, อิงวะ มิบะยา; 1534 – 1595) เป็นพระอัครมเหสีแห่งอังวะ ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและอังวะมิบะยา

อาณาจักรพม่า

อาณาจักรพม่า สามารถหมายถึง.

ดู ราชวงศ์ตองอูและอาณาจักรพม่า

อาณาจักรมอญ

อาณาจักรมอญ หรือ รามัญประเทศ เป็นอาณาจักรของชนชาติมอญซึ่ง อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค ยุคแรกคือยุคราชวงศ์สะเทิม อาณาจักรสุธรรมวดี มีกษัตริย์ปกครอง 59 พระองค์ เริ่มจากสมัยพระเจ้าสีหราชา มาจนถึงสมัยพระเจ้ามนูหา เชื่อว่ายุคนี้ครอบครองพื้นที่ได้ ทั้งทวารวดีและสะเทิม ยุคแรกสิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกาม ยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหาHtin Aung 1967: 32–33 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านเชื่อว่าพระเจ้าอโนรธาน่าจะยกมาตีถึงนครปฐม ยุคที่สองคือยุคราชวงศ์เมาะตะมะ-หงสาวดี หรือยุคอาณาจักรหงสาวดี‎ เริ่มจากสมัยที่พม่าซึ่งอ่อนแอจากการรุกรานของมองโกล พระเจ้าวาเรรูหรือพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ได้ทรงกอบกู้เอกราชมอญจากพม่าและสถาปนาอาณาจักรหงสาวดี พระองค์มีมเหสีเป็นราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ของไทย มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมาะตะมะ ต่อมาในสมัยพญาอู่ ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ เมืองพะโคหรือหงสาวดี ราชบุตรของพระองค์คือพญาน้อย ซึ่งต่อมาก็คือพระเจ้าราชาธิราช ผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าอาณาจักรอังวะ ในสมัยพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา กับสมัย พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ขุนพลสำคัญของพระเจ้าราชาธิราช คือ สมิงพระราม สมิงนครอินทร์ และแอมูน-ทยา ในสมัยของพระเจ้าราชาธิราชนั้นหงสาวดีกลายเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งทะเลอ่าวเบงกอลจากแม่น้ำอิรวดีขยายลงไปทางตะวันออกถึงแม่น้ำสาละวิน และเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต มีเมืองท่าที่สำคัญหลายแห่งในหลายลุ่มน้ำ เช่น เมาะตะมะ สะโตง พะโค พะสิมHtin Aung 1967: 78–80 อาณาจักรมอญยุคนี้เจริญสูงสุดในสมัยพระนางเชงสอบูและสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์Myint-U 2006: 64–65 หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าสการะวุตพี หงสาวดีก็เสียแก่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ในปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและอาณาจักรมอญ

อาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง (ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่บางส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและอาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรล้านนา (95px) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอนสรัสวดี อ๋องสกุล.

ดู ราชวงศ์ตองอูและอาณาจักรล้านนา

อาณาจักรหงสาวดี

อาณาจักรหงสาวดี (ဟံသာဝတီ ပဲခူး နေပြည်တော်;,; บางครั้งเรียก กรุงหงสาวดี หรืออย่างสั้น พะโค) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่างตั้งแต..

ดู ราชวงศ์ตองอูและอาณาจักรหงสาวดี

อาณาจักรหงสาวดีใหม่

อาณาจักรหงสาวดีใหม่ (ဟံသာဝတီ နေပြည်တော်) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่าง และบางส่วนของพม่าตอนบน ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและอาณาจักรหงสาวดีใหม่

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและอาณาจักรอยุธยา

อาณาจักรแปร

อาณาจักรแปร (Prome Kingdom; ဒုတိယ သရေခေတ္တရာ နေပြည်တော်) อาณาจักรเล็ก ๆ ที่มีอายุยาวนานกว่า 6 ทศวรรษระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและอาณาจักรแปร

ผู้ชนะสิบทิศ

หน้าปกนวนิยาย ผู้ชนะสิบทิศ ตอน บุเรงนองลั่นกลองรบ ฉบับตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2496 ผู้ชนะสิบทิศ เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ งานประพันธ์ชิ้นเอกของ ยาขอบ กล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็น "ผู้ชนะสิบทิศ" นั่นคือ พระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดี นวนิยายได้รับความนิยมมากและดัดแปลงเป็นละครเวที ละครโทรทัศน์ และ ภาพยนตร์ หลายครั้ง ตลอดจน ละครวิทยุ รวมถึงมีการประพันธ์เพลง ผู้ชนะสิบทิศ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายด้ว.

ดู ราชวงศ์ตองอูและผู้ชนะสิบทิศ

ตองอู

ตองอู หรือ ตองงู (တောင်ငူ;; เตาง์งู; คำแปล: เมืองในขุนเขา) เป็นเมืองในเขตหงสาวดี ประเทศพม่า อยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือ 220 กิโลเมตร ตั้งบนฝั่งแม่น้ำสะโตง เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอิสระตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14–16 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเข้ายึดครองระหว่างปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและตองอู

ตะโดธรรมราชาที่ 2

ระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 (သတိုးဓမ္မရာဇာ,; Thado Dhamma Yaza II of Prome, ประมาณ 1520s – 1588) เริ่มรับราชการทหารในรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งราชวงศ์ตองอู กระทั่งได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าแปรในฐานะกษัตริย์เมืองออกของพระเจ้าบุเรงนองผู้เป็นพระเชษฐาและพระเจ้านันทบุเรงพระนัดดาระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและตะโดธรรมราชาที่ 2

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา หรือ ภาคปฐมวัย เป็นภาพยนตร์ภาคแรกของภาพยนตร์ไตรภาคชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นำแสดงโดย ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์, จิรายุ ละอองมณี, สุชาดา เช็คลีย์, โชติ บัวสุวรรณ, สรพงษ์ ชาตรี, ปวีณา ชารีฟสกุล, สมภพ เบญจาธิกุล, ฉัตรชัย เปล่งพานิช, สันติสุข พรหมศิริ, ไพโรจน์ ใจสิงห์, เกรซ มหาดำรงค์กุล บทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล.

ดู ราชวงศ์ตองอูและตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ ภาพยนตร์ภาคสองในภาพยนตร์ไตรภาคชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นำแสดง.ต.วันชนะ สวัสดี, นพชัย ชัยนาม, ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ, จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์, นภัสกร มิตรเอม, อินทิรา เจริญปุระ,.ต.คมกริช อินทรสุวรรณ, ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง, พ.ท.วินธัย สุวารี, สรพงษ์ ชาตรี เขียนบทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล.

ดู ราชวงศ์ตองอูและตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาค องค์ประกันหงสา หรือ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาค ปฐมวัย เป็นละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ ภาคที่หนึ่งของละครเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ กำกับการแสดงโดย หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล เป็นการสร้างละครที่อิงเอาเนื้อเรื่องจากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลที่ทำไว้มาสร้างใหม่อีกครั้ง ใช้กระบวนการถ่ายทำและเทคนิคแบบภาพยนตร์ ด้วยความมุ่งหมายจะให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์กว่าในแบบฉบับภาพยนตร์ ละครเรื่องนี้ออกอากาศตอนแรกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพ

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาค ประกาศอิสรภาพ หรือ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช The Series ภาค ประกาศอิสรภาพ เป็นละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ ภาคที่สองของละครเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ กำกับการแสดงโดย หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล เป็นการสร้างละครที่อิงเอาเนื้อเรื่องจากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ ที่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลได้สร้างไว้มาสร้างใหม่อีกครั้ง โดยใช้กระบวนการถ่ายทำและเทคนิคแบบภาพยนตร์ ด้วยความมุ่งหมายจะให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์กว่าในแบบฉบับภาพยนตร์ ละครเรื่องนี้เป็นภาคต่อของ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหง.

ดู ราชวงศ์ตองอูและตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพ

ฉิ่นโยเมี๊ยะ

ฉิ่นโยเมี๊ยะ (ရှင်မျိုးမြတ်,; ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1490 – ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1520) พระนมของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ แห่ง ราชวงศ์ตองอู และเป็นพระราชมารดาของ พระเจ้าบุเรงนอง ใน..

ดู ราชวงศ์ตองอูและฉิ่นโยเมี๊ยะ

ประวัติศาสตร์ไทย

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก ภูมิภาคสุวรรณภูมิเคยถูกชาวมอญ เขมร และมลายูปกครองมาก่อน ต่อมา คนไทยได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง เช่น อาณาจักรสุโขทัย ไล่เลี่ยกันกับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรเชียงแสน และอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาค่อนข้างสั้นประมาณ 200 ปี ก็ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อยุธยาเป็นสังคมศักดินา อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ..

ดู ราชวงศ์ตองอูและประวัติศาสตร์ไทย

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ดู ราชวงศ์ตองอูและประเทศพม่า

ประเทศพม่าใน ค.ศ. 1757

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1757 ในประเทศพม.

ดู ราชวงศ์ตองอูและประเทศพม่าใน ค.ศ. 1757

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู ราชวงศ์ตองอูและประเทศไทย

นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์

นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ หรือ นภัสกร มิตรเอม(ชื่อเล่น: ตั๊ก) เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2515 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาบริหารอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนานาชาติ มีชื่อเสียงมาจากการรับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง ฅนปีมะ (พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและนภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์

นรธาเมงสอ

นรธาเมงสอ (နော်ရထာ မင်းစော, หน่อยะถ่ามิงซอ) หรือ สาวัตถีนรถามังคะยอ (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่) หรือ เมงซานรธามังคุย (พงศาวดารโยนก) เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ผู้ปกครองแคว้นล้านนา ในช่วง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและนรธาเมงสอ

นะฉิ่นเหน่าง์

นะฉิ่นเหน่าง์ (Natshinnaung; နတ်သျှင်နောင်) หรือ พระสังขทัต ตามพงศาวดารไทย เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าตองอู (สีหตู) อันเป็นพระอนุชาของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง นะฉิ่นเหน่าง์นั้นเป็นที่เลื่องลือในพม่าว่าเป็นมีความสามารถด้านการกวีสูงอย่างยิ่งและมีความรอบรู้ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก ต่อมานะฉิ่นเหน่าง์ได้ปกครองเมืองตองอูต่อจากบิดา ต่อมาได้เป็นผู้วางยาพิษปลงพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ในช่วงนั้นเครือข่ายอำนาจของพม่าแตกออกเป็นสามขั้วคือ อังวะ แปร และตองอู พระเจ้าอังวะคือ พระเจ้าอโนเพตลุน ได้ยึดเมืองแปรได้ นะฉิ่นเหน่าง์เห็นว่าเมืองตองอูคงไม่อาจสามารถต่อสู้กับอังวะได้จึงสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยาซึ่งในสมัยนั้นมี สมเด็จพระเอกาทศรถปกครองอยู่ ต่อมาพระเจ้าอังวะได้บุกเมืองตองอู นะฉิ่นเหน่าง์ได้ขอความช่วยเหลือต่อกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเอกาทศรถทรงให้นายพลฟิลิปป์ เดอ บริโต ทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสยกทัพไปช่วย แต่ไปไม่ทันเมืองตองอูก็แตกซะก่อน นะฉิ่นเหน่าง์จึงหนีไปที่เมืองสิเรียมกับนายพลฟิลิป เดอ บริโตและเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ พระเจ้าอังวะสั่งให้ฟิลิปป์ เดอบริโตส่งตัวนะฉิ่นเหน่าง์มาให้ตน แต่นายพลเดอบริโตไม่ยอมพระเจ้าอังวะจึงเข้าโจมตีเมืองสิเรียมในปี พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและนะฉิ่นเหน่าง์

แขวงจำปาศักดิ์

ำปาศักดิ์ (ຈໍາປາສັກ) เป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา มีเมืองปากเซเป็นเมืองหลักของแขวง และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของลาว (รองจากเวียงจันทน์และเมืองไกสอน พมวิหาน) ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางและเกิดเกาะแก่งเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า "ดินแดนสี่พันดอน" แขวงจำปาศักดิ์เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเป็นพื้นที่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ และเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างในเวลาต่อมา แขวงจำปาศักดิ์จึงมีมรดกทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่มากมาย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศลาว โดยเฉพาะมรดกโลกปราสาทหินวัดพู นอกจากนี้ แขวงจำปาศักดิ์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี น้ำตกผาส้วม เป็นต้น.

ดู ราชวงศ์ตองอูและแขวงจำปาศักดิ์

แคว้นล้านนา

แคว้นล้านนา เป็นอาณาจักรอันเป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอู และ อยุธยา ช่วงระหว่างปี..

ดู ราชวงศ์ตองอูและแคว้นล้านนา

แคว้นเชียงใหม่

แคว้นเชียงใหม่ เป็นอาณาจักรอันเป็นหัวเมืองประเทศราชของราชวงศ์ตองอู ตั้งแต..

ดู ราชวงศ์ตองอูและแคว้นเชียงใหม่

เมืองนาย

มืองนาย (Mong Nai) ตั้งอยู่ที่ละติจูด 20 องศา 30 ลิปดา เหนือ ลองติจูด 97 องศา 52 ลิปดาตะวันออก อยู่ในพื้นที่รัฐฉานใต้ ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน ใกล้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในอดีตเคยเป็นเมืองลูกของเชียงใหม่สมัยพญามังราย และอดีตเมืองหลวงของรัฐฉาน สมัยพระเจ้าสีหสุรมหาธรรมราชา เจ้าเมืองอังวะ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง ยกทัพมาตีเมืองนาย ซึ่งสมัยนั้นยังขึ้นตรงต่อเชียงใหม่ อันเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา เป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไพร่พล 100,000 นายไปเมืองนายและอังวะ ระหว่างเคลื่อนทัพผ่านเมืองเชียงใหม่ พระองค์ประชวรและสวรรคต ณ เมืองแหน แขวงเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระเอกาทศรถจึงเลิกทัพและทรงนำพระบรมศพกลับมายังอ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและเมืองนาย

เมืองแครง

มืองแครงเป็นชื่อเมืองที่ปรากฏอยู่เฉพาะในพงศาวดารไทยว่า เป็นเมืองของชาวมอญที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศเอกราชจากอาณาจักรตองอูเมื่อ พ.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและเมืองแครง

เมงเยสีหตู

เมงเยสีหตู (မင်းရဲ သီဟသူ); หรือ มินจีสเว่ (မင်းကြီးဆွေ); ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1490 – 1549) ขุนนางคนสำคัญของพม่าระหว่างรัชสมัย พระเจ้าเมงจีโย ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์ตองอู และ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ รวมถึงเป็นพระบิดาของ พระนางธัมมเทวี และ พระเจ้าบุเรงนอง เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้สถาปนา กรุงหงสาวดี เป็นเมืองหลวงของพม่าแทน เมืองตองอู พร้อมย้ายไปประทับที่กรุงหงสาวดีใน ค.ศ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและเมงเยสีหตู

เมงเยสีหตูที่ 2 แห่งตองอู

มงเยสีหตูที่ 2 แห่งตองอู (မင်းရဲ သီဟသူ,; ประมาณ 6 สิงหาคม 1550 – 11 สิงหาคม 1609) เป็นพระเจ้าตองอูในฐานะประเทศราชของหงสาวดีในรัชสมัยพระเจ้านันทบุเรงพระญาติของพระองค์ ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและเมงเยสีหตูที่ 2 แห่งตองอู

เมงเยสีตูแห่งเมาตะมะ

มงเยสีตูแห่งเมาะตะมะ (မင်းရဲစည်သူ,; ประมาณ 1520–1556) เจ้าเมืองเมาตะมะในช่วงรัชสมัย พระเจ้าบุเรงนอง ระหว่าง..

ดู ราชวงศ์ตองอูและเมงเยสีตูแห่งเมาตะมะ

เจ้าหญิงเมงอทเว

้าหญิงเมงอทเว หรือ เจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าบุเรงนองกับพระสุพรรณกัลยา ซึ่งพระสุพรรณกัลยาเป็นพระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ เนื่องจากพระสุพรรณกัลยาทรงเป็นองค์ประกันในพม่า พระสุพรรณกัลยาจึงมีพระนามภาษาพม่าว่า อเมี๊ยวโหย่ว และเชื่อว่าเป็นมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปราน ส่วนพระนามของพระราชธิดา โดยได้รับพระราชทานพระนามว่า เจ้าภุ้นชิ่ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีสติปัญญาและพระบารมี แต่โดยมากจะรู้จักกันในพระนาม เมงอทเว (เมง-อะ-ทเว) พระองค์นี้อันมีความหมายว่า "พระธิดาองค์สุดท้อง" (และเป็นพระธิดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าบุเรงนองด้วย).

ดู ราชวงศ์ตองอูและเจ้าหญิงเมงอทเว

เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา

ตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (อักษรธรรม: ᩈᩥ᩠ᨷᩈ᩠ᩋᨦᨻᩢ᩠ᨶᨶᩣ ไทลื้อใหม่: ᦈᦹᧈᦈᦹᧈᦋᦵᦲᧁᦘᦱᦉᦱᦑᦺ᧑᧒ᦗᧃᦓᦱ) หรือชื่อย่อว่า ซีไต่ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีเมืองเอก คือ เมืองเชียงรุ่ง.

ดู ราชวงศ์ตองอูและเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา

เตนจามินคอง

ตนจามินคอง (တိမ်ကြားမင်းခေါင် Teingya Minkhaung) เป็นแม่ทัพที่พระเจ้ามังระยกย่องให้เป็นผู้นำการรบแบบพิเศษ(รบแบบกองโจร) ที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งในยุคของพระองค์ โดยให้สมญานามว่า "ดุจดั่งเมฆ" ความหมายคือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไม่เป็นที่สังเกต ยากแก่การทำลาย และหายไปอย่างไร้ร่องลอ.

ดู ราชวงศ์ตองอูและเตนจามินคอง

เนเมียวสีหบดี

นเมียวสีหบดี (နေမျိုးသီဟပတေ့, Ne Myo Thihapate) เขาเป็นแม่ทัพของราชวงศ์คองบองที่โดดเด่นมีฝีมือการรบเป็นที่น่าเกรงขาม อีกทั้งเป็นทหารคู่บารมีของพระเจ้ามังระอีกคนหนึ่ง.

ดู ราชวงศ์ตองอูและเนเมียวสีหบดี

เนเมียวสีหตู

นเมียวสีหตู (နေမျိုးစည်သူ) นับเป็นผู้ชำนาญการรบแบบจรยุทธที่เก่งกาจที่สุดผู้หนึ่งของพม่า โดยพระเจ้ามังระเห็นถึงความสามารถในด้านนี้ของเขา และเลือกใช้งานเขาเพื่อก่อกวนแนวหลังของต้าชิง ซึ่งเนเมียวสีหตูก็สามารถทำผลงานได้เป็นอย่างดี จนทำให้กองทัพต้าชิงต้องลำบากทุกครั้งที่เจอเขา เนเมียวสีหตูนับเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังชัยชนะทุกครั้งของพม่า และทุกความพ่ายของต้าชิงจะต้องมีเขาอยู่ด้วยตลอด เนเมียวสีหตู และเตงจามินคองทำสงครามกองโจรกับต้าชิงได้อย่างมีประสิท.

ดู ราชวงศ์ตองอูและเนเมียวสีหตู

หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาณาจักรตองอู

พะโคกองทัพอาณาจักรพม่าการรบที่เมืองคังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งมหากาพย์กู้แผ่นดินมหาราชวงศ์มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้วมังกะยอชวามังมหานรธามังฆ้องที่ 2 แห่งตองอูมังฆ้องนรธามินเลตยาแห่งอังวะรัฐร่วมประมุขราชวงศ์ราชวงศ์โกนบองราชาธิราชรายชื่อเมืองหลวงของพม่ารายพระนามพระมหากษัตริย์พม่ารายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราชรายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าสมิงพยูสมิงสอตุตสมิงทอสมิงทอพุทธกิตติสอพินยาสิริสุธรรมราชาแห่งเมาะตะมะสงครามช้างเผือกสงครามพระเจ้าอลองพญาสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้สงครามยุทธหัตถีสงครามจีน–พม่าสงครามโกนบอง–หงสาวดีหงสาวดีมิบะยาหงส์อะแซหวุ่นกี้อังวะอังวะมิบะยาอาณาจักรพม่าอาณาจักรมอญอาณาจักรล้านช้างอาณาจักรล้านนาอาณาจักรหงสาวดีอาณาจักรหงสาวดีใหม่อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรแปรผู้ชนะสิบทิศตองอูตะโดธรรมราชาที่ 2ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสาตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสาตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพฉิ่นโยเมี๊ยะประวัติศาสตร์ไทยประเทศพม่าประเทศพม่าใน ค.ศ. 1757ประเทศไทยนภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์นรธาเมงสอนะฉิ่นเหน่าง์แขวงจำปาศักดิ์แคว้นล้านนาแคว้นเชียงใหม่เมืองนายเมืองแครงเมงเยสีหตูเมงเยสีหตูที่ 2 แห่งตองอูเมงเยสีตูแห่งเมาตะมะเจ้าหญิงเมงอทเวเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาเตนจามินคองเนเมียวสีหบดีเนเมียวสีหตู