เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ราชคฤห์

ดัชนี ราชคฤห์

ราชคฤห์ (ราชคห; राजगिर ราชคริ; राजगीर ราชคีร; Rajgir; راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ไฟล์:Vulturepeak.jpg|พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ ไฟล์:Sattapanni.jpg|ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา ไฟล์:Tapodarama.jpg|ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ไฟล์:Vulturepeak1.jpg|พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 46 ความสัมพันธ์: ชีวกโกมารภัจจ์พรหมชาลสูตร (เถรวาท)พระมหากัสสปะพระราธเถระพระศิลาพระสารีบุตรพระอานนท์พระอุบาลีพระจูฬปันถกเถระพระคันธกุฎีพระปิณโฑลภารทวาชเถระพระโคตมพุทธเจ้าพระไตรปิฎกภาษาบาลีพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าอชาตศัตรูพระเจ้าปเสนทิโกศลการค้าประเวณีกุสินารามหายานรายชื่อสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาลวัดคุ้งตะเภาวัดไทยสิริราชคฤห์วัดเวฬุวันมหาวิหารวันมาฆบูชาวันวิสาขบูชาวันอัฏฐมีบูชาวันเข้าพรรษาสังคายนาในศาสนาพุทธสังเวชนียสถานสามเณรปัญหาสาวัตถีสิงคาลกสูตรสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพีอสัมปทานชาดกอาณาจักรในอินเดียโบราณจิตตคหบดีธงศาสนาพุทธท่าแขกประเพณีตักบาตรดอกไม้ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ปิตุฆาตนาลันทานครศักดิ์สิทธิ์แคว้นมคธเถรวาท

ชีวกโกมารภัจจ์

หมอ ชีวกโกมารภัจจ์ (อ่านว่า ชี-วะ-กะ-โก-มา-ระ-พัด) บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เรื่องราวขีวิตของท่านมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ตลอดชีวิตของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้บำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยไม่เลือกฐานะ จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งปวงในทาง "เป็นที่รักของปวงชน".

ดู ราชคฤห์และชีวกโกมารภัจจ์

พรหมชาลสูตร (เถรวาท)

รหมชาลสูตร มีทั้งของฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน (ดู พรหมชาลสูตร (มหายาน)) ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรแรกในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บรรดาพระสาวกที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา โดยสังเขปพระสูตรนี้ มีเนื้อหาว่าด้วยศีลทั้งหลาย คือจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล อันเป็นแนวทางการปฏิบัติตนของพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังทรงตรัสถึงทัศนะทางปรัชญาและแนวทางการปฏิบัติของลัทธิต่างๆ ในสมัยพุทธกาล ทั้งหมด 62 ลัทธิ หรือที่เรียกว่า ทิฏฐิ 62 ประการ.

ดู ราชคฤห์และพรหมชาลสูตร (เถรวาท)

พระมหากัสสปะ

ระมหากัสสปะ เป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้านผู้ทรงธุดงค์และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์, พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑.

ดู ราชคฤห์และพระมหากัสสปะ

พระราธเถระ

ระราธเถระ เป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญของพระพุทธศาสนา บวชเมื่อแก่ เป็นศิษย์ของพระสารีบุตร ท่านเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย และได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าท่านเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้มีปฏิภาณ คือมีญาณแจ่มแจ้งในพระธรรมเทศน.

ดู ราชคฤห์และพระราธเถระ

พระศิลา

ระศิลา หรือ พระศีลา เป็นพระพุทธรูปปางโปรดช้างนาราคีฬี แกะสลักด้วยหินชนวนดำ(บางตำนานว่าเป็นหินแดง) ฝีมือช่างปาละของอินเดียและสลักตามคติเดิมของอินเดีย พุทธลักษณะของพระศิลาคือ ประทับยืนเยื้องพระองค์บนฐานบัวภายใต้ซุ้ม พระหัตถ์ขวาทอดลงเหนือหัวช้างซึ่งหมอบอยู่ พระหัตถ์ซ้ายยกในท่าประทานอภัยหรือแสดงธรรม พระอานนท์ยืนถือบาตรอยู่ด้านซ้าย ปัจจุบันประดิษฐานคู่กับพระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) ภายในพระวิหารวัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม.

ดู ราชคฤห์และพระศิลา

พระสารีบุตร

ระสารีบุตร (ศฺริปุตฺร; สาริปุตฺต) เป็นพระภิกษุชาวอินเดีย ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวงในด้านสติปัญญา นอกจากนี้ พระสารีบุตรยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "ธรรมเสนาบดี" (แม่ทัพธรรม) คู่กับพระพุทธเจ้าที่เป็น "ธรรมราชา" พระสารีบุตรเกิดเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่นิพพานเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนกฤติกา (เดือนสิบสอง) ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน.

ดู ราชคฤห์และพระสารีบุตร

พระอานนท์

ระอานนท์ เป็นพระอรหันต์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระภิกษุสาวกทั้งหลาย 5 ประการ คือ เป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก.

ดู ราชคฤห์และพระอานนท์

พระอุบาลี

ระอุบาลีเถระ หรือ พระอุบาลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระอุบาลีเถระเดิมเป็นนายช่างภูษามาลาหลวงประจำราชสำนัก ออกบวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 6 พระองค์ ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ ทำให้เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ท่านจึงได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎกในคราวปฐมสังคายนาเพื่อรวบรวมพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และด้วยการที่ท่านเป็นผู้ทรงจำวินัยอย่างแม่นยำจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้ทรงพระวินัยทรงเป็นผู้ที่ดี.

ดู ราชคฤห์และพระอุบาลี

พระจูฬปันถกเถระ

ระจูฬปันถก หรือ พระจูฬปันถกเถระ, พระจุลลปันถกะ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็น 1 ในพระอสีติมหาสาวก ของพระพุทธเจ้า พระจูฬปันถก เป็นน้องชายของพระมหาปันถก ท่านบวชตามการสนับสนุนของพี่ชาย เมื่อแรกบวชท่านเป็นคนมีปัญญาทึบมาก ไม่สามารถท่องมนต์หรือเข้าใจอะไรได้เลย จึงทำให้ท่านถูกพระพี่ชายของท่านขับไล่ออกจากสำนัก เมื่อพระพุทธเจ้าทราบความจึงได้ให้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ท่านไปลูบ จนในที่สุดท่านพิจารณาเห็นว่าผ้าขาวเมื่อถูกลูบมีสีคล้ำลง จึงนำมาเปรียบกับชีวิตของคนเราที่ไม่มีความยั่งยืน ท่านจึงได้เจริญวิปัสสนาและบรรลุเป็นพระอรหันต์เพราะสิ่งที่ท่านพบจากการลูบผ้าขาวนั่นเอง เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เป็นเอตทัคคะในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ พระจูฬปันถก เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาในการตรัสรู้ไม่เกี่ยวกับปัญญาในการจำเรียนรู้ทั่วไป (สัญญา) ปัญญาในการตรัสรู้คือภาวนามยปัญญา กล่าวคือความสามารถที่จะใช้ปัญญาแยบคายที่เกิดจากใช้ปัญญาภายในพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงของโลกได้ด้วยตนเอง การท่องจำหรือเรียนหนังสือไม่เก่งจึงไม่ใช่อุปสรรคในการตรัสรู้ธรรม.

ดู ราชคฤห์และพระจูฬปันถกเถระ

พระคันธกุฎี

ระคันธกุฎี (บนเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์) คันธกุฎี หรือ พระมูลคันธกุฎี (Mulagandhakuti; แปลว่า กุฎีที่มีกลิ่นหอม) เป็นชื่อเรียกสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ เรียกเต็มว่า "พระมูลคันธกุฎี" ในพุทธประวัติ เล่าว่าสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าทุกแห่งจะมีผู้นำของหอมนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้หอม ดอกไม้หอม เป็นต้น มาบูชาพระพุทธเจ้ามิได้ขาด โดยประดับไว้ภายในที่ประทับบ้าง วางเรียงรายอยู่โดยรอบบ้าง โดยมุ่งบูชาพระพุทธเจ้าด้วยกลิ่นหอมจึงปรากฏว่าหลังวัดที่ประทับจะมีดอกไม้ที่แห้งแล้วถูกนำไปทิ้งไว้เป็นกองใหญ่ด้วยมีจำนวนมาก พระคันธกุฎีมิใช่จะมีกลิ่นหอมเท่านั้น ยังถูกสร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิสดารเท่าที่มนุษย์จะทำกันได้ด้วยแรงศรัท.

ดู ราชคฤห์และพระคันธกุฎี

พระปิณโฑลภารทวาชเถระ

ระปิณโฑลภารทวาชเถระ เป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล ชาวเมืองโกสัมพีต่อมาอาศัยในกรุงราชคฤห์ นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญของพระพุทธศาสนา ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าท่านเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้บันลือสีหนาท.

ดู ราชคฤห์และพระปิณโฑลภารทวาชเถระ

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ดู ราชคฤห์และพระโคตมพุทธเจ้า

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร.

ดู ราชคฤห์และพระไตรปิฎกภาษาบาลี

พระเจ้าพิมพิสาร

กหลวงเมืองราชคฤห์ สถานที่พระเจ้าพิมพิสารถูกจองจำจนเสด็จสวรรคตในช่วงบั้นปลายของชีวิต พระเจ้าพิมพิสาร (-pi; बिम्बिसार, 14 ปีก่อนพุทธศักราช—พ.ศ.

ดู ราชคฤห์และพระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าอชาตศัตรู

ูปพระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู (अजातशत्रु; ครองราชย์ 2 ปีก่อน พ.ศ.- พ.ศ. 83) พระราชาองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ พระธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศลและพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นอุบาสก และผู้อุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

ดู ราชคฤห์และพระเจ้าอชาตศัตรู

พระเจ้าปเสนทิโกศล

ปเสนทิ (ปะ-เส-นะ-ทิ; Pasenadi) หรือ ประเสนชิต (ปฺระ-เส-นะ-ชิด; Prasenajit) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโกศลจากราชวงศ์อิกษวากุ เสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสาวัตถี สืบต่อจากพระบิดา คือ พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล ถือเป็นอุบาสกที่สำคัญพระองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า และทรงสร้างวิหารอารามไว้หลายแห่ง.

ดู ราชคฤห์และพระเจ้าปเสนทิโกศล

การค้าประเวณี

ผู้หญิงขายบริการ ในสถานบริการแห่งหนึ่งในเยอรมนี การค้าประเวณี (prostitution) คือธุรกิจหรือวิธีปฏิบัติโดยการทำกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงิน ของ บริการ หรือประโยชน์แบบอื่นตามแต่ตกลง หญิงค้าประเวณีนั้นเรียก นครโสเภณี (prostitute) แปลว่า "หญิงงามเมือง" (โสเภณี แปลว่า หญิงงาม) และมักตัดไปเรียกว่า "โสเภณี" เฉย ๆ ส่วนภาษาถิ่นอีสานเรียก "หญิงแม่จ้าง" และภาษาปากเรียก "กะหรี่", "หญิงหากิน" หรือ "อีตัว" เป็นต้น สำนักของเหล่านครโสเภณีเรียก โรงนครโสเภณี, โรงหญิงนครโสเภณี หรือ ซ่องโสเภณี (bawdy house, brothel, disorderly house, house of ill fame หรือ house of prostitution).

ดู ราชคฤห์และการค้าประเวณี

กุสินารา

กุสินารา หรือ กุศินคร (कुशीनगर, کُشی نگر, Kusinaga, Kushinagar) เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์ ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากม.

ดู ราชคฤห์และกุสินารา

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ดู ราชคฤห์และมหายาน

รายชื่อสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาล

รายชื่อต่อไปนี้ เป็นรายชื่อสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาล เรียงตามลำดับเหตุการณ.

ดู ราชคฤห์และรายชื่อสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาล

วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็น 1 ใน 9 วัดศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รับสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี และประทับชำระคณะสงฆ์ จัดการหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งวัดคุ้งตะเภา เป็นเพียงวัดแห่งเดียวในปริมณฑลเมืองพิชัยและสวางคบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาวัดในปีนั้น ตำนานวัดเล่าสืบกันมานับร้อยปีว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนย้ายกลับมาตั้งครัวเรือน สร้างวัดและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ณ ริมคุ้งสำเภา พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดคุ้งตะเภา" ปัจจุบันทางราชการได้นำชื่อคุ้งตะเภาไปใช้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลคุ้งตะเภาสืบมาจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เคยเป็นวัดที่สถิตย์ของพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ คือ พระพุทธสุวรรณเภตรา และ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 (สำนักปฏิบัติธรรมภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม)หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ และเป็นวัดประจำตำบลที่มีสถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในตำบลคุ้งตะเภา เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนศึกษาของคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาโดยพฤตินัย โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักเลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ฝ่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สำนักศาสนศึกษาประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคุ้งตะเภา (อปต.) ซึ่งเป็นหน่วยอบรมฯ ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (จร.).

ดู ราชคฤห์และวัดคุ้งตะเภา

วัดไทยสิริราชคฤห์

วัดไทยสิริราชคฤห์ เป็นวัดไทยแห่งแรก ในเมืองราชคฤห์ เมืองในสมัยพุทธกาลที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุดแห่งหนึ่ง วัดแห่งนี้ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.

ดู ราชคฤห์และวัดไทยสิริราชคฤห์

วัดเวฬุวันมหาวิหาร

กลุ่มป่าไผ่ร่มรื่น ในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดเวฬุวันมหาวิหาร หรือ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) คำว่า เวฬุวัน แปลว่าสวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของพระสงฆ์ ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสาวกจำนวน 1,250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของวันมาฆบูชา วัดเวฬุวันมหาวิหาร ปัจจุบันยังคงอยู่ เป็นซากโบราณสถานในสวนไผ่ที่ร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ภายใน มีรั้วรอบด้าน อยู่ในความดูแลของทางราชการอินเดี.

ดู ราชคฤห์และวัดเวฬุวันมหาวิหาร

วันมาฆบูชา

ปุรณมี วันมาฆบูชา (มาฆปูชา; Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม..

ดู ราชคฤห์และวันมาฆบูชา

วันวิสาขบูชา

วันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า '''"วันพระพุทธเจ้า"''' วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา; Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติRequest for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999).

ดู ราชคฤห์และวันวิสาขบูชา

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้ว.

ดู ราชคฤห์และวันอัฏฐมีบูชา

วันเข้าพรรษา

ประกอบความดีในช่วงนี้อีกด้วย วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆို) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางศาสนพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา" นอกจากนี้ ในปี พ.ศ.

ดู ราชคฤห์และวันเข้าพรรษา

สังคายนาในศาสนาพุทธ

ในศาสนาพุทธ สังคายนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 487-8 (สํคายนา) คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามศัพท์ "สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังคีติ” แปลว่า สวดพร้อมกัน มาจากคำว่า คายนา หรือ คีติ แปลว่า การสวด สํ แปลว่า พร้อมกัน คำนี้มีมูลเหตุมาจากวิธีการสังคายนาพระธรรมวินัย ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัย หรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีวิธีการคือนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำไว้มาแสดงในที่ประชุมพระสงฆ์ จากนั้นให้มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดขึ้นพร้อมกัน การสวดพร้อมกันแสดงถึงการลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ และเป็นการทรงจำกันไว้เป็นแบบแผนต่อไป.

ดู ราชคฤห์และสังคายนาในศาสนาพุทธ

สังเวชนียสถาน

ังเวชนียสถาน (อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ.

ดู ราชคฤห์และสังเวชนียสถาน

สามเณรปัญหา

มเณรปัญหา หรือสามเณรปัญหาปาฐะ เป็นหนึ่งในบทสวดสำคัญที่รวบรวมอยู่ในภาณวาร เรียกอีกชื่อว่า กุมารปัญหา อยู่ในขุททกปาฐะ ของขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นการถามตอบระหว่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับท่านโสปากะ ผู้บรรพชาเป็นสามเณร และต่อมา สำเร็จพระอรหันต์ เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เป็นคำตอบและคำถามจำนาน 10 ข้อ ไล่ไปตามจำนวน 1 - 10 โดยจำนวนนั้นๆ แสดงข้อธรรมต่างๆ อย่างเฉียบคม ถือเป็นหลักจดจำ และนำไปปฏิบัติตามได้อย่างดียิ่ง จึงรวมไว้ในบทสวดมนต์หลวง หรือภาณวาร สำหรับพุทธบริษัทได้สวดสาธยาย เพื่อจดจำนำไปปฏิบัติเพื่อความหลุกพ้นต่อไป.

ดู ราชคฤห์และสามเณรปัญหา

สาวัตถี

วัตถี (Sāvatthī สาวัตถี; श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี; Sravasti) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ควบคู่กับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองสวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นต้น.

ดู ราชคฤห์และสาวัตถี

สิงคาลกสูตร

งคาลกสูตร เป็นพระสูตรหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก หมวดทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ว่าด้วยทิศ ๖ คือบุคคล ๖ ประเภทที่มีควารมสัมพันธ์ต่อบุคคลๆ หนึ่ง และวิธีการปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านั้น ว่าด้วยมิตรแท้และมิตรเทียม และยังว่าด้วยกรรมกิเลส ๔ อบายมุข ๖ และการไม่ทำความชั่วโดยฐานะ ๔ รวมทั้งหมด ๑๔ ประการ โดยผู้ที่ปราศจากความชั่ว ๑๔ ประการ ถือเป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกทั้งสอง คือโลกนี้และโลกหน้า เมื่อตายไปก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อรรถกถาสิงคาลกสูตรในสุมังคลวิลาสินี กล่าวไว้ว่า "กรรมใดที่คฤหัสถ์ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่ง กรรมนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ ย่อมไม่มี พระสูตรนี้ ชื่อว่าคิหิวินัย เพราะฉะนั้น เมื่อฟังพระสูตรนี้แล้วปฏิบัติตามที่ได้สอนไว้ ความเจริญเท่านั้นเป็นอันหวังได้ ไม่มีความเสื่อมฉะนี้" ฝ่าย ปราชญ์ด้านพุทธศาสนา แสดงความเห็นว่า "พระสูตรนี้ชาวยุโรปเลื่อมใสกันมากว่าจะแก้ปัญหาสังคมได้ เพราะเสนอหลักทิศ ๖ อันแสดงว่าบุคคลทุกประเภทในสังคมควรปฏิบัติต่อกันในทางที่ดีงาม ไม่มีการกดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลงไป".

ดู ราชคฤห์และสิงคาลกสูตร

สุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี

นางสุชาดา เป็นธิดาของเสนานีกุฏมพี (อรรถกถาว่าเสนียะ) ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนาง โดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ 2 ประการ คือ.

ดู ราชคฤห์และสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี

อสัมปทานชาดก

อสัมปทานชาดก เป็นชาดกที่ว่าด้วยการไม่รับของ ทำให้เกิดความแตกร้าว เป็นชาดกลำดับที่ 131.

ดู ราชคฤห์และอสัมปทานชาดก

อาณาจักรในอินเดียโบราณ

อาณาจักรในอินเดียโบราณ หรือ มหาชนบททั้งสิบหก เป็นอาณาจักรในอินเดียโบราณ 16 อาณาจักร.

ดู ราชคฤห์และอาณาจักรในอินเดียโบราณ

จิตตคหบดี

จิตตคหบดี เป็นมหาอุบาสกคนสำคัญในสมัย พุทธกาล ถือกำเนิดในตระกูลของเศรษฐีที่ นครมัจฉิกาสณฑ์ แคว้นมคธ โดยท่านมีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า จิตตกุมาร ที่แปลว่า กุมารผู้ทำให้เกิดความวิจิตร เพราะวันที่ท่านเกิดได้มีเหตุอัศจรรย์ คือมีฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงมาทั่วนคร วันหนึ่ง พระมหานามะ หนึ่งใน ปัญจวัคคีย์ ได้จาริกมายังนครมัจฉิกาสณฑ์ จิตตคหบดีได้พบพระมหานามะจึงเกิดความเลื่อมใส จึงได้นิมนต์มายังเรือนของตนพร้อมกับถวายภัตตาหาร เมื่อพระมหานามะฉันเสร็จจึงได้นิมนต์ท่านไปยัง สวนอัมพาฏกวัน หรือสวนมะกอก เพื่อถวายเป็นพระอาราม ต่อมาจิตตคหบดีได้บรรลุเป็นโสดาบัน พระมหานามะได้จาริกไปที่อื่นโดยมอบหมายให้พระสุธรรม เป็นผู้ดูแลอารามแห่งนี้แทน คราวหนึ่ง จิตตคหบดีได้ฟังพระธรรมเทศนาจาก พระสารีบุตร จนสำเร็จเป็นอนาคามีบุคคล แล้วท่านได้ชักชวนชาวเมือง 3,000 คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่ เชตวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ โดยจัดเตรียมทานไปมากมาย แต่แทบไม่ได้ใช้สอยเลย เพราะเหล่าเทวดาได้จัดเตรียมข้าวปลาอาหารจำนวนมากไว้ก่อนแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงมอบหมายให้ พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากจัดหาสถานที่เก็บสิ่งของเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นโรงครัวแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องจิตตคหบดีให้เป็นเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลายในทางเป็นธรรมกถิกะหรือนักบรรยายธรรม หมวดหมู่:เอตทัคคะ หมวดหมู่:บุคคลในพุทธประวัติ.

ดู ราชคฤห์และจิตตคหบดี

ธงศาสนาพุทธ

งศาสนาพุทธที่ใช้ทั่วไปเป็นสากลมีชื่อเรียกว่า ธงฉัพพรรณรังสี เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (เทียบแบบสากลคือราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19).

ดู ราชคฤห์และธงศาสนาพุทธ

ท่าแขก

ท่าแขก (ທ່າແຂກ) เป็นเมืองเอกในแขวงคำม่วน ประเทศลาว ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตรงข้ามอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนมImage.

ดู ราชคฤห์และท่าแขก

ประเพณีตักบาตรดอกไม้

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ เป็นประเพณีของชาวพุทธโดยมีความเชื่อเรื่องของการทำบุญ พบบางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น เป็นประเพณีประจำปีของจังหวัดสระบุรีโดยจัดที่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวรวิหาร.

ดู ราชคฤห์และประเพณีตักบาตรดอกไม้

ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์

มกปาฏิหาริย์สถูป เมืองสาวัตถี สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้งสองวางบนดอกบัวที่รองรับ พระชานุ (เข่า) ยกตั้งแบบประทับบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัต.

ดู ราชคฤห์และปางแสดงยมกปาฏิหาริย์

ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ไว้เสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาทรงประทานโอวาทปาติโมก.

ดู ราชคฤห์และปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

ปิตุฆาต

ปิตุฆาต (patricide) หมายถึง การฆ่าบิดาของตัวเอง คำว่า "ปิตุฆาต" มาจากการรวมกันของ 2 คำคือ ปิตุ (พ่อ) และ ฆาต (ฆ่า) สำหรับคำในภาษาอังกฤษ patricide มาจากการรวมกันของคำในภาษาละติน pater (พ่อ) และคำปัจจัย -cida (ฆ่า) ในทางกฎหมาย การทำปิตุฆาตมีโทษถึงประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และเป็น 1 ใน อนันตริยกรรม (กรรมที่หนักที่สุด) 5 อย่างของพระพุทธศาสน.

ดู ราชคฤห์และปิตุฆาต

นาลันทา

250px โบราณสถานในนาลันทา ด้านหน้า โบราณสถานในนาลันทา ด้านหลัง นาลันทา เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) ณ เมืองนี้มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งคัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของ พระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม "นาลันทามหาวิชชาลัยของพุทธศาสนานิกายมหายาน".

ดู ราชคฤห์และนาลันทา

นครศักดิ์สิทธิ์

นครศักดิ์สิทธิ์ (holy city) เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางที่มีประวัติศาสตร์ทางศาสนาและความเชื่อ ส่วนใหญ่จะมีที่สำคัญอยู่อย่างน้อยหนึ่งแห่ง (มักจะเป็นสิ่งที่สำคัญต่อศาสนา เช่น สิ่งปลูกสร้าง, รูปปั้น, ความเชื่อ ฯลฯ) ซึ่งทำให้เกิดการจาริกแสวงบุญ เมืองศักดิ์สิทธิ์เป็น เมืองที่มีสัญลักษณ์ ทีเกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อ.

ดู ราชคฤห์และนครศักดิ์สิทธิ์

แคว้นมคธ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพแคว้นอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นมคธ (บาลี/สันสกฤต: मगध มะคะธะ) เป็นชื่อแคว้นหนึ่งในจำนวน 16 แคว้นใหญ่ในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระราชาที่ปกครองแคว้นมคธสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นคือพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นพระราชโอรส แคว้นมคธเป็นแคว้นที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกเพราะเป็นแคว้นใหญ่ และทรงรับสวนเวฬุวันนอกเมืองราชคฤห์เป็นอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา มคธเป็นชื่อของภาษาด้วยคือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกใช้ในการประกาศพระศาสนา ซึ่งต่อมาเรียกว่าภาษาบาลี เพราะเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนาเข้าไว้.

ดู ราชคฤห์และแคว้นมคธ

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ดู ราชคฤห์และเถรวาท

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Rajgirกรุงราชคฤห์ราชคหะแคว้นราชคฤห์เมืองเก่าราชคฤห์