เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รันชู

ดัชนี รันชู

รันชู รันชู หรือ รันจู (ランチュウ; Ranchu) เป็นสายพันธุ์ของปลาทองสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม รันชู ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมา ในราวปี ค.ศ.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: ลักเล่ห์ลูกโป่ง (ปลาทอง)สิงห์ญี่ปุ่นสิงห์จีนปลาทองโทะซะกิน

ลักเล่ห์

ระวังสับสนกับ รักเร่ ซึ่งเป็นพืช ลักเล่ห์สีดำสนิท จัดเป็นลักเล่ห์แบบที่คุ้นเคยที่สุด ลักเล่ห์หางผีเสื้อ หรีอบัตเตอร์ฟลายเทล ลักเล่ห์ หรือที่นิยมสะกดว่า รักเล่ห์ (Telescope eye, Moor; デメキン; โรมะจิ: demekin) เป็นสายพันธุ์ของปลาทองสวยงามสายพันธุ์หนึ่ง ลักษณะเด่นของลักเล่ห์ คือ ดวงตาที่โปนยื่นออกมาจนดูคล้ายกับกล้องส่องทางไกล หรือกล้องดูดาว สอดคล้องกับชื่อในภาษาอังกฤษ มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนราวศตวรรษที่ 15-16 แต่มีการพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นที่รู้จักในปัจจุบันที่ประเทศญี่ปุ่น เดิมทีนั้นคำว่าลักเล่ห์ จะใช้เรียกเฉพาะปลาที่มีสีดำสนิทเท่านั้น ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า "Black moor" ส่วนปลาที่มีสีอื่น ๆ จะเรียกว่า "ตาโปนญี่ปุ่น" จะไม่ใช้คำว่าลักเล่ห์ แม้จะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่างก็ตาม แต่ต่างกันเพียงสีก็ตาม นอกจากนี้แล้วยังมียังมีปลาตาโปนที่มีสีส้ม, ส้ม-ขาว, ขาวแดง และยังมีตาโปนสามสี ที่มีสีส้ม, ดำ, ฟ้า หรือเท่ารวมกันอยู่บนตัว ต่อมาก็ถูกพัฒนาให้มีครบ 5 สี เรียกว่า "ตาโปนห้าสี" นอกจากนี้ยังมีลักเล่ห์ทับทิมที่มีลำตัวสีเหลืองนวล, ลักเล่ห์แพนด้าที่มีสีสลับดำ-ขาว ดูคล้ายกับหมีแพนด้า, ลักเล่ห์สีนากที่มีลำตัวสีน้ำตาลแกมเขียวหรือชื่อหนึ่ง ก็คือ ลักเล่ห์สีช็อกโกแล็ต หรือ ลักเล่ห์บัตเตอร์ฟลาย ที่มองจากด้านบนแล้วจะเห็นครีบหางที่กางแผ่ออกเหมือนปีกผีเสื้อ ลักษณะที่ดีของปลาทองลักเล่ห์ คือ ดวงตาทั้งสองข้างต้องโตเท่ากัน แก้วตากลมไม่แบน และอวัยวะส่วนอื่น ๆ อยู่ในสภาพปกติ ครีบต่าง ๆ ต้องไม่พับ หัก หรือโค้งงอ ลักเล่ห์เมื่อยังอายุน้อยอยู่ลูกตาจะไม่โปนออกมา โดยทั่วไปจะให้ปลามีอายุได้สัก 3-6 เดือน ลูกตาจึงค่อย ๆ ยื่นออกมาให้เห็น ลักเล่ห์เป็นปลาทองที่มีครีบหรือกระโดงหลัง แต่โดยรวมเป็นปลาทองที่มีขนาดไม่ใหญ่นนัก โดยส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ราว 3-4 นิ้ว การเลี้ยงที่ดีควรเลี้ยงในน้ำที่มีความลึกประมาณ 40 เซนติเมตร สามารถเลี้ยงในตู้ได้ แต่มุมมองที่สวยที่สุด คือ การมองจากด้านบน หรือท็อปวิว คือการเลี้ยงในอ่างเช่นเดียวกับรันชูหรือสิงห์ญี่ปุ่น ชื่อ "ลักเล่ห์" ในภาษาไทยนั้น มีที่มาจากร้านค้าที่ชื่อ "เล่ห์ประดิษฐ์" เป็นบริษัทผู้ผลิตไม้แบตมินตัน และจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาย่านสี่พระยา ซึ่งเจ้าของร้านได้เป็นผู้นำเอาปลาทองลักเล่ห์จำนวนมากเข้ามาเลี้ยงเป็นผู้แรกในประเทศไทย จนเป็นที่เผยแพร่และรู้จักกันในหมู่นักเลี้ยงปลาในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีชาวจีนนำเข้ามาแล้วบ้างแต่ไม่ได้รับความนิยมเท่า แต่เดิมเรียกสั้น ๆ ว่า "เล่ห์" หรือ "ร้านเล่ห์" แล้วเพี้ยนกลายเป็นคำว่า "ลักเล่ห์" เช่นในปัจจุบัน.

ดู รันชูและลักเล่ห์

ลูกโป่ง (ปลาทอง)

ลูกโป่ง ลูกโป่ง (Bubble eye; スイホウガン; โรมะจิ: Suihogan) เป็นสายพันธุ์ของปลาทองชนิดหนึ่ง ที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นปลาที่มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนคือ มีถุงใต้ตาขนาดใหญ่ที่มีเส้นเลือดอยู่ภายใน ปูดยื่นออกมาทั้งสองข้างแลดูคล้ายลูกโป่ง จึงเป็นที่มาของชื่อ มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ครีบทุกครีบสั้น ไม่มีครีบหลังซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้คล้ายกับปลาทองอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ สิงห์จีน, สิงห์ญี่ปุ่น และ รันชู ลูกโป่ง เป็นปลาทองที่มีสายพันธุ์กำเนิดมาจากประเทศจีน นับว่าเป็นปลาทองอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีความเปราะบาง เลี้ยงยาก ทั้งนี้เพราะผู้เลี้ยงต้องคอยระวังมิให้ถุงใต้ตานั้นแตก ซึ่งอาจจะทำให้ปลาพิการหรือตายได้เลย เพราะปลาจะเสียการทรงตัวและติดเชื้อโรค ลูกโป่งนับว่าเป็นปลาทองที่มีสีสันหลากหลายมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง เพราะมีทั้ง เหลือง, แดง, ขาว, เหลือง, ส้ม หรือหลากหลายสีสันในตัวเดียวหรือแม้กระทั่งน้ำตาลดำทั้งตัว เมื่อยังเล็ก ถุงใต้ตาจะยังเล็กอยู่และจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุขัยปลา จนกระทั่งเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 2 ขวบปี ลูกโป่งมีอายุขัยเต็มที่ราว 5 ปี.

ดู รันชูและลูกโป่ง (ปลาทอง)

สิงห์ญี่ปุ่น

งห์ญี่ปุ่น สิงห์ญี่ปุ่น (Ranchu) เป็นปลาทองสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาภายในประเทศไทย มีลำตัวที่อ้วนหนา ดูบึกบึน แข็งแรง ไม่มีครีบหลัง ดูแลคล้ายกับรันชูหรือสิงห์จีนมาก แต่ทว่าสิงห์ญี่ปุ่นจะมีส่วนหัวที่เล็กกว่า ไม่มีวุ้นบนหัวหรือมีแต่ก็น้อยกว่า ลำตัวสั้น หลังโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้น แลดูสง่า ปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นที่สวยงามนั้น ต้องมีส่วนหลังที่โค้งมนเป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนไข่ผ่าซีก ดูจากด้านข้างแล้วลำตัวปลาะต้องกว้าง หัวไม่ทิ่มหรือต่ำลงไป การว่ายน้ำต้องทำได้อย่างสมดุล มีสง่างาม ปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นนั้นมีความแตกต่างจากรันชู ตรงที่สิงห์ญี่ปุ่นนั้นมีลำตัวที่สมส่วน ดูกลมกลึงกว่า อีกทั้งมีข้อหางที่เล็กและลึกกว่า ดังนั้นจึงเหมาะแก่การเลี้ยงในตู้กระจก หรือ ไซด์วิว (Side View) ขณะที่รันชูนั้นจะสวยงามกว่าเมื่อได้มองจากด้านบน จึงเหมาะแก่การเลี้ยงในบ่อหรืออ่างมากกว่า จึงเรียกว่า ทอปวิว (Top View).

ดู รันชูและสิงห์ญี่ปุ่น

สิงห์จีน

งห์จีน สิงห์จีน (Lionhead, Chinese lionhead) เป็นปลาทองสวยงามสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม สิงห์จีนเป็นปลาทองที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นในประเทศจีน ในราวศตวรรษที่ 17 หรือ 18 โดยเรียกชื่อมาจาก ชีชี (石獅) หรือสิงโตหินรูปปั้นที่ทำหน้าที่ทวารบาลเฝ้าประตูต่าง ๆ ตามสถาปัตยกรรมแบบจีน สิงห์จีน เป็นปลาทองอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีลำตัวป้อม สั้น แลดูหนาบึกบึน ไม่มีครีบหลัง มีส่วนของวุ้นที่หัวมากกว่ารันชูหรือสิงห์ญี่ปุ่น ในบางตัวอาจมีวุ้นปกคลุมมิดทั้งดวงตาเลยก็ได้ มีส่วนคอที่สั้น ลักษณะของปลาทองสิงห์จีนที่ได้มาตรฐานว่า สวย คือ ส่วนหลังโค้ง หางบานออกพอประมาณต้องได้ฉาก ลำตัวไม่ว่าจะสั้นหรือยาวต้องได้สัดส่วน ถ้าเป็นปลาลำตัวยาวปลานั้นต้องอ้วนใหญ่ แกนสันหลัง หาง ครีบทวาร ครีบหน้า และบริเวณหัวต้องใหญ่ ได้สัดส่วนด้วย หากเป็นปลาลำตัวสั้นส่วนต่าง ๆไม่ว่าบริเวณสันหลัง ครีบต่าง ๆ และลำตัวต้องสั้นได้สัดส่วน.

ดู รันชูและสิงห์จีน

ปลาทอง

ปลาทอง หรือ ปลาเงินปลาทอง (goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น เดิมใช้บริโภค ต่อมาถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน.

ดู รันชูและปลาทอง

โทะซะกิน

ทะซะกิน โทะซะกิน (Tosakin; 土佐金 แปลว่า ปลาทอง หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า โทะซะ) เป็นสายพันธุ์ปลาทองสายพันธุ์หนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นมาโดยมนุษย์ ได้ชื่อว่าเป็น ราชินีแห่งปลาทอง ด้วยความที่มีครีบหางพริ้วไหว และเบ่งบานกางออกเวลาว่ายน้ำ เหมือนผู้หญิงใส่กระโปรงบาน โทะซะกินที่สวยนั้น ต้องมีลำตัวเป็นทรงหยดน้ำ โคนหางใหญ่ ครีบหางเบ่งบานและเป็นลอนสวยงาม โดยเฉพาะครีบหางที่อยู่กึ่งกลางลำตัวควรบานแผ่ออกและมีลักษณะโค้งได้รูป ส่วนครีบด้านข้างทั้งสองข้างควรกางแผ่ออกโดยทำมุมฉากกับลำตัว โทะซะกินนั้นเป็นปลาทองที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากริวกิ้น ราวปี ค.ศ.

ดู รันชูและโทะซะกิน