เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ดัชนี รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Gouvernement provisoire de la République française) เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่บริหารประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ.

สารบัญ

  1. 15 ความสัมพันธ์: ชาร์ล เดอ โกลฟิลิป เปแตงพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสกฎบัตรเนือร์นแบร์กการบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตกการรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สองการปลดปล่อยกรุงปารีสฝรั่งเศสเขตวีชียุทธการตอกลิ่มรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสรัฐเวียดนามรายนามนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสความตกลงสมบูรณ์แบบแว็งซ็อง โอรียอล

ชาร์ล เดอ โกล

ร์ล อ็องเดร โฌแซ็ฟ มารี เดอ โกล (Charles André Joseph Marie de Gaulle) หรือ ชาร์ล เดอ โกล (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นที่รู้จักในนาม นายพลเดอ โกล ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธวิธีการรบด้วยรถถัง และผู้นิยมการรบด้วยการใช้ยานเกราะและกองกำลังทางอากาศ เขาเป็นผู้นำการปลดปล่อยฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้นำรัฐบาลชั่วคราวในช่วงปี พ.ศ.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและชาร์ล เดอ โกล

ฟิลิป เปแตง

อองรี ฟิลิป เบนโอนี โอแมร์ โจเซฟ เปแตง (24 April 1856 – 23 July 1951),ได้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อว่า ฟิลิป เปแตง หรือ จอมพล เปแตง (Maréchal Pétain),เป็นนายพลฝรั่งเศสที่แตกต่างจากจอมพลแห่งฝรั่งเศส,และต่อมาในภายหลังได้ทำหน้าที่เป็นประมุขรัฐของวิชีฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันคือชาตินิยมฝรั่งเศสหรือรัฐฝรั่งเศส (Chef de l'État Français),ตั้งแต่ปี..

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและฟิลิป เปแตง

พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส

รรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (Parti communiste français, PCF) เป็นพรรคการเมืองและพรรคคอมมิวนิสต์ของฝรั่งเศสในปี 2012 พรรคนี้มีสมาชิกพรรคจำนวน 138,000 คน พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสก่อตั้งในปี 1920 และเคยเข้ารวมรัฐบาลดังต่อไปนี.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส

กฎบัตรเนือร์นแบร์ก

250px กฎบัตรคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการดำเนินคดีและลงโทษอาชญากรสงครามรายใหญ่ในอักษะยุโรป (Charter of the International Military Tribunal – Annex to the Agreement for the prosecution and punishment of the major war criminals of the European Axis) หรือ กฎบัตรลอนดอนว่าด้วยคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ (London Charter of the International Military Tribunal) หรือ ธรรมนูญคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ (Constitution of the International Military Tribunal) มักเรียก กฎบัตรลอนดอน (London Charter) หรือ กฎบัตรเนือร์นแบร์ก (Nuremberg Charter) เป็นกฤษฎีกาที่คณะกรรมการที่ปรึกษาแห่งยุโรป (European Advisory Commission) ออกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม..

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและกฎบัตรเนือร์นแบร์ก

การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก

การบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้ข้าม แม่น้ำไรน์ ในเดือน มีนาคม 1945 โดยเข้าโจมตีทางตะวันตกของเยอรมนี จาก ทะเลบอลติก จนถึงทางตอนเหนือของ ออสเตรีย และตอนใต้ ก่อนที่เยอรมนีจะยอมแพ้ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 การบุกครองยังมีอีกชื่อว่า "การทัพยุโรปกลาง" โดยนักประวัติศาสตร์ทางการทหารของสหรัฐอเมริก.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและการบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก

การรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์

การรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์ของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นยุทธวีธีหนึ่งในแนวรบตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้นอยู่ในช่วงท้ายของการรบในนอร์มังดีหรือปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (25 สิงหาคม 1944),เยอรมันได้รวบรวมกองกำลังในการรุกโต้ตอบในช่วงฤดูหนาวผ่านป่าอาร์แดน (เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ ยุทธการตอกลิ่ม) และปฏิบัติการ Nordwind (ใน Alsace และ Lorraine).ถึงสัมพันธมิตรได้เตรียมความพร้อมที่จะข้ามแม่น้ำไรน์ในช่วงต้นเดือน ปี 1945.ประมาณตรงคร่าวๆด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทหาร หน่วยปฏิบัติการยุโรปของกองทัพสหรัฐอเมริกา (ETOUSA) ของการทัพไรน์และอาร์แดน-Alsace.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและการรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์

การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง

การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง หรือรู้จักกันในชื่อ รัฐประหารของญี่ปุ่นเดือนมีนาคม..

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและการทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง

การปลดปล่อยกรุงปารีส

การปลดปล่อยกรุงปารีส เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพสัมพันธมิตรทางตะวันตก อันได้แก่ สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ สหรัฐอเมริกา และกองทัพเสรีฝรั่งเศสได้ทำการปลดปล่อยกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศลให้พ้นจากการปกครองของนาซีเยอรมันซึ่งถูกยึดครองมา 4 ปี จุดเริ่มต้นนั้นมาจากหลังการยึดครองหาดนอร์มังดีของกองทัพสัมพันธมิตรในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด กองทัพสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพและกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ทำการขับไล่กองทัพเยอรมันโดยกองทัพสหรัฐจะทำการรุกเข้ายึดดินแดนส่วนทางด้านตะวันตกและทางใต้ของฝรั่งเศล ส่วนกองทัพอังกฤษและแคนนาดาจะรุกเข้าตีจากทางเหนือ แม้กองทัพเยอรมันได้พยายามจะขับไล่กองทัพสัมพันธมิตรออกไปจากนอร์มังดีแต่ต้องประสบกับความล้มเหลวและต้องตั้งรับอย่างยากลำบาก กองทัพสหรัฐและอังกฤษได้ร่วมมือกันทำการโอบล้อมกองทัพเยอรมันสองกองพลโดยทั้งสองกองทัพได้นัดหมายไปที่เมือง chambois เมื่อโอบล้อมได้สำเร็จ กองทัพเยอรมันสองกองพลก็ถูกบดขยี้อย่างหนักทำให้บางส่วนถูกทำลาย บางส่วนถูกจับกุมเป็นเชลย และบางส่วนหนีรอดออกจากวงโอบล้อมไว้ได้ ทางด้านกรุงปารีส ประชาชนชาวฝรั่งเศลได้ทราบข่าวการรุกของกองทัพสัมพันธมิตรและเชื่อว่านครปารีสกำลังจะเป็นอิสระจากนาซีเยอรมันจึงทำการลุกขึ้นต่อต้านกองทัพเยอรมันที่ประจำการในกรุงปารีสจนเกิดการปะทะกันทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก หลังจากนั้นภายในสี่วัน กองทัพสหรัฐและกองทัพเสรีฝรั่งเศสได้เคลื่อนพลจากเมือง chambois เข้าสู่กรุงปารีส จนกระทั่งกองทัพเยอรมันในกรุงปารีสได้ยอมจำนนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม..1944 ประชาชนชาวฝรั่งเศลได้ทำการจัดงานเฉลิมฉลองในกรุงปารีสหลังจากได้รับอิสรภาพและคอยต้อนรับเหล่าทหารสัมพันธมิตรอย่างอบอุ่น รวมทั้งฝรั่งเศลได้มีการจัดตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศลใหม่ การปลดปล่อยในกรุงปารีสนั้นทำให้กองทัพเยอรมันทั้งหมดในฝรั่งเศลต้องถอนกำลังออกจากฝรั่งเศลไปตั้งรับที่แนวป้องกันซิกฟรีดในชายแดนระหว่างฝรั่งเศลและเยอรมัน รวมทั้งดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีที่เหลืออยู่ได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก หลังการปลดปล่อยกรุงปารีสนั้นได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กองทัพสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะสงคราม เพราะนาซีเยอรมันต้องตั้งรับทั้งสองด้านคือแนวรบตะวันตกและแนวรบตะวันออก แม้กองทัพเยอรมันจะมีสภาพยำแย่จากการพ่ายแพ้สงครามหลายครั้งแต่กลับยืดหยัดจะสู้จนตัวตาย ดังนั้นกองทัพสัมพันธมิตรจะต้องรุกเข้าสู่เยอรมนีเพื่อยุติสงครามให้ได้.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและการปลดปล่อยกรุงปารีส

ฝรั่งเศสเขตวีชี

ฝรั่งเศสเขตวีชี (La France de Vichy; Vichy France) คือรัฐเฉพาะกาลที่ปกครองประชาชนชาวฝรั่งเศส โดยเป็นรัฐที่สนับสนุนนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและฝรั่งเศสเขตวีชี

ยุทธการตอกลิ่ม

German movements ยุทธการตอกลิ่ม (Battle of the Bulge) (16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945) เป็นการบุกใหญ่ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีบนแนวรบด้านตะวันตกช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านเขตอาร์แดนที่มีป่าทึบแห่งวาโลเนียในทางตะวันออกของประเทศเบลเยียม ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสและประเทศลักเซมเบิร์ก การเข้าตีอย่างจู่โจมนี้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ทันตั้งตัวย่างสิ้นเชิง กำลังอเมริกันรับแรงกระทบของการเข้าตีและเป็นปฏิบัติการมีกำลังพลสูญเสียมากที่สุดในสงคราม ยุทธการดังกล่าวทำให้กำลังยานเกราะของเยอรมนีหมดลงอย่างรุนแรง และสามารถทดแทนได้เพียงเล็กน้อย กำลังพลของเยอรมันและอากาศยานของลุฟท์วัฟเฟอในเวลาต่อมาก็ประสบความสูญเสียอย่างหนักเช่นกัน ฝ่ายเยอรมันเรียกการบุกนี้ว่า ปฏิบัติการเฝ้าดูไรน์ (Unternehmen Wacht am Rhein) ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งชื่อว่า การรุกโต้ตอบอาร์เดน วลี "ยุทธการตอกลิ่ม" นั้นสื่อร่วมสมัยตั้งให้เพื่ออธิบายส่วนยื่นเด่นในแนวรบของเยอรมนีในแผนที่ข่าวยามสงคราม และกลายเป็นชื่อที่แพร่หลายที่สุดสำหรับการยุทธ์นี้ การรุกของเยอรมนีตั้งใจหยุดฝ่ายสัมพันธมิตรมิใช้ท่าแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม และเพื่อแบ่งแนวของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้ฝ่ายเยอรมันตีวงล้อมและทำลายกองทัพสัมพันธมิตรสี่กองทัพ และบังคับให้สัมพันธมิตรตะวันตกเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพโดยฝ่ายอักษะได้เปรียบ เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ผู้เผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เชื่อว่าตนสามารถทุ่มความสนใจต่อโซเวียตบนแนวรบด้านตะวันออกได้ มีการวางแผนการรุกดังกล่าวโดยปิดเป็นความลับที่สุด มีการติดต่อวิทยุและการเคลื่อนย้ายกำลังและยุทโธปกรณ์ภายใต้กำบังของความมืด ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรมิได้ตอบโต้การสื่อสารของเยอรมันที่ถูกดักได้ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการตระเตรียมการบุกของเยอรมันครั้งสำคัญ ฝ่ายเยอรมันบรรลุการจู่โจมอย่างสมบูรณ์ในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 1944 เนื่องจากความผยองของฝ่ายสัมพันธมิตร การหมกมุ่นกับแผนการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร และการลาดตระเวนทางอากาศที่เลว ฝ่ายเยอรมันเข้าตีส่วนที่มีการป้องกันเบาบางของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตร โดยฉวยประโยชน์จากสภาพอากาศที่มีเมฆมากซึ่งทำให้กองทัพอากาศที่เหนือกว่ามากไม่สามารถใช้การได้ มีการต่อต้านอย่างดุเดือด ณ ไหล่ทิศเหนือของการบุก รอบสันเขาเอลเซ็นบอร์น (Elsenborn) และในทางใต้ รอบบาสตอง (Bastogne) สกัดฝ่ายเยอรมันมิให้เข้าถึงถนนสำคัญสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกซึ่งเยอรมันต้องอาศัยจึงจะสำเร็จ แถวยานเกราะและทหารราบซึ่งควรบุกไปตามเส้นทางขนานกลับพบว่าอยู่บนถนนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ และภูมิประเทศซึ่งเอื้อต่อฝ่ายตั้งรับ ทำให้การบุกของเยอรมันล่าช้ากว่ากำหนด และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเสริมกำลังพลที่จัดวางอย่างเบาบางได้ สภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้การโจมตีทางอากาศต่อกำลังและแนวกำลังบำรุงของเยอรมัน ซึ่งตอกย้ำความล้มเหลวของการบุก ในห้วงของความปราชัย หน่วยของเยอรมันที่มีประสบการณ์สูงขาดแคลนกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างมาก ส่วนผู้รอดชีวิตล่าถอยไปยังการป้องกันของแนวซีกฟรีด ความปราชัยนี้ทำให้หน่วยที่มีประสบการณ์หลายหน่วยของเยอรมนีขาดแคลนกำลังคนและยุทโธปกรณ์ เนื่องจากผู้รอดชีวิตได้ถอยไปยังแนวซีกฟรีด สำหรับอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรบประมาณ 610,000 นาย และมีกำลังพลสูญเสีย 89,000 นาย โดยในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 19,000 นาย ทำให้ยุทธการตอกลิ่มเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดที่สู้รบกันในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและยุทธการตอกลิ่ม

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1958 (ฉบับที่ 15 ของประเทศฝรั่งเศส) วางกฎเกณฑ์สำหรับสถาบันต่างๆ ของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ซึ่งถือคติการปกครองว่า "รัฐบาลจากประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" ชาวฝรั่งเศสได้รับรองรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วยประชามติเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

รัฐเวียดนาม

รัฐเวียดนาม (Quốc gia Việt Nam) เป็นรัฐที่อ้างอำนาจเหนือประเทศเวียดนามทั้งหมดในช่วงระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และแทนที่รัฐบาลกลางชั่วคราวแห่งเวียดนาม (ปี พ.ศ.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและรัฐเวียดนาม

รายนามนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส

ก่อนปี พ.ศ. 2502 ประเทศฝรั่งเศสไม่ปรากฏว่ามีการเรียกตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาลอย่างเป็นทางการว่า นายกรัฐมนตรี (Premier Ministre) เนื่องจากในอดีตภายใต้การปกครองของกษัตริย์ หลายครั้งที่คำนี้ใช้เรียกแทนประธานรัฐมนตรีของกษัตริย์ แม้ต่อมาในช่วงรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 รัฐมนตรีท่านหนึ่งในรัฐมนตรีสภาได้ดำรงตำแหน่งเป็นทั้ง ประธานรัฐมนตรีสภา (Président du Conseil des Ministres) และยังเป็นที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการในนาม "หัวหน้ารัฐมนตรีสภา" ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า นายกรัฐมนตรี (Premier Ministre) อีกด้วย ซึ่งเป็นการไม่เหมาะสม เป็นการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในบุคคลเดียว โดยเป็นทั้งประธานาธิบดีเอง และเป็นหัวหน้ารัฐมนตรีสภา (นายกรัฐมนตรี) ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมสภา และหัวหน้าฝ่ายบริหารคณะรัฐมนตรี เวลาต่อมา ในการทำให้ชื่อตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" มีผลบังคับทางกฎหมาย แทนที่ตำแหน่ง หัวหน้ารัฐมนตรีสภา นั้นก็ได้กลายเป็นตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและรายนามนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส

ความตกลงสมบูรณ์แบบ

วามตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติสถานะสงครามระหว่างสยามและฝ่ายสัมพันธมิตร (Formal Agreement for The Termination of The State of War Between Siam and Allies ("United Nations")) หรือ ความตกลงสมบูรณ์แบบ เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและความตกลงสมบูรณ์แบบ

แว็งซ็อง โอรียอล

ฌูล-แว็งซ็อง โอรียอล (Jules-Vincent Auriol, 27 สิงหาคม พ.ศ. 2427 - 1 มกราคม พ.ศ. 2509) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรี และประธานสภาผู้แทนราษฎร หมวดหมู่:ประธานาธิบดีฝรั่งเศส หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส.

ดู รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและแว็งซ็อง โอรียอล

หรือที่รู้จักกันในชื่อ คณะรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส