โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ

ดัชนี รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ

มส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต รัชทายาทที่ได้รับสมมุติแห่งอังกฤษและสกอตแลนด์ ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ (pretender) คือ ผู้อ้างการมีสิทธิ์ในตำแหน่งเกียรติหรือยศที่ไม่มีอยู่แล้ว ใช้กับอดีตพระมหากษัตริย์ หรือผู้สืบเชื้อสายอดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งราชบัลลังก์มีผู้ครองแล้วหรือมีคู่แข่งอ้าง หรือถูกเลิกไปแล้วมากที่สุด ภาษาอังกฤษคำว่า “Pretend” มาจากภาษาฝรั่งเศส “prétendre” ที่แปลว่า ยื่นเสนอ เสนอ หรืออ้าง นอกจากนั้นคำว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ” ยังใช้กับกลุ่มผู้ที่พยายามอ้างสิทธิในนามของผู้อื่นไม่ว่าผู้นั้นจะทราบหรือทำการอ้างเองหรือไม่ และเป็นคำที่ใช้ได้ทั้งสำหรับผู้อ้างที่มีสิทธิที่แท้จริงในราชบัลลังก์ เช่น กรณีผู้อ้างหลายคนระหว่างสงครามดอกกุหลาบ หรือผู้ประดิษฐ์ข้ออ้างขึ้นเองในกรณีของแลมเบิร์ต ซิมเนล (Lambert Simnel) ผู้อ้างว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์ของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ บุคคลในกลุ่มหลังนี้มักจะอ้างใช้ชื่อของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วหรือพระญาติพระวงศ์ที่หายสาบสูญไป ซึ่งบางที่ก็จะเรียกว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติเท็จ” (false pretender) รัชทายาทที่ได้รับสมมุติของพระสันตะปาปา เรียก “พระสันตะปาปาเท็จ” (antipope).

59 ความสัมพันธ์: ชาห์แห่งอิหร่านพระนางศุภยาลัตพระนางคำผูยพระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าธีบอพระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนียพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงการเลิกล้มราชาธิปไตยราชวงศ์ออร์เลอ็องราชวงศ์ฮาพส์บวร์คราชวงศ์ปาห์ลาวีราชวงศ์แฮโนเวอร์ราชวงศ์โบนาปาร์ตราชวงศ์โซกูรายชื่อสนธิสัญญารายพระนามพระมหากษัตริย์กรีซรายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซียรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศสรายพระนามพระมหากษัตริย์เยอรมนีรายพระนามผู้ปกครองรัสเซียลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์สมิงสอตุตสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระแห่งเนปาลสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวายสมเด็จพระราชินีโกมลแห่งเนปาลสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลีสงครามดอกกุหลาบอี แฮ-ว็อนจักรพรรดิออสเตรียจักรพรรดิผู่อี๋จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จาโคไบท์จิน โหย่วจือจู หรงจี้ดยุกแห่งออร์เลอ็องดอมีนิก-ฟร็องซ์ โลบ ปีการ์ต่อพะยาแซฟไฟร์สจวตโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสไพรเออรีออฟไซออนเพอร์คิน วอร์เบ็คเรกนันส์อินเอกเซลซิสเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตเจ้าชายฟิลิปแห่งเฮสส์เจ้าชายวงศ์สว่าง มกุฎราชกุมารแห่งลาวเจ้าชายฌ็อง-เบแดล บอกาซา มกุฎราชกุมารแห่งแอฟริกากลาง...เจ้าชายโวล์ฟกังแห่งเฮสส์เจ้าชายเฮนริชแห่งเฮสส์-คาสเซิลเจ้าวัฒนัน ณ ลำพูนเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่เจ้าสุริวงศ์ สว่างเจ้าหญิงมารี-หลุยส์แห่งมาดากัสการ์เจ้าหญิงมณีไลย มกุฎราชกุมารีแห่งลาวเจ้าหญิงเมียะพะยาละเจ้าจันทร์ศุกร์ สุขธารา ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

ชาห์แห่งอิหร่าน

มเด็จพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน หรือที่มักเรียกว่าพระเจ้าชาห์ เป็นตำแหน่งที่ปกครองราชวงศ์ซาฟาวิดจนถึงราชวงศ์ปาห์ลาวี โดยระบอบจักรวรรดินับตั้งแต่ ค.ศ. 1501 - ค.ศ. 1979 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายคือ พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี โดยนับตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามอิหร่านมีพระจักรพรรดิเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์กอญัร และ ราชวงศ์ปาห์ลาวี ที่สืบราชสกุล และ อ้างสิทธิในราชบัลลังก.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและชาห์แห่งอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

พระนางศุภยาลัต

ระนางศุภยาลัต (စုဖုရားလတ်; ซุพะยาละ) ประสูติ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระราชินีพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา ประสูติแด่พระเจ้ามินดง กับพระนางชินพยูมาชิน (Hsinbyumashin; นางพญาช้างขาว หรือที่รู้จักกันในนามพระนางอเลนันดอ) ด้วยความทะเยอทะยานของพระนางศุภยาลัต พระนางจึงได้เป็นพระราชินีในพระเจ้าธีบอพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งพม.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและพระนางศุภยาลัต · ดูเพิ่มเติม »

พระนางคำผูย

ระอัครมเหสีเจ้าหญิงคำผูย (ພຣະອັຄມະເຫສີເຈົ້າຍິງຄຳຜູຍ พระอัคมะเหสีเจ้ายิงคำผูย, Queen Kamabuyi, ประสูติ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 ณ หลวงพระบาง ประเทศลาว — 12 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ณ ค่ายสัมมนาใกล้บ้านสบฮาว เมืองเชียงค้อ แขวงหัวพัน ประเทศลาว) พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาว.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและพระนางคำผูย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส (Charles X de France, ชาร์ลดิสเดอฟร็องส์; 9 ตุลาคม พ.ศ. 2300 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2379), ได้รับพระสมัญญานามว่า ผู้ทรงเป็นที่รัก (le Bien-Aimé; เลอเบียงแนเม), ทรงดำรงตำแหน่งเคานต์แห่งอาร์ตัวก่อนจะขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ตั้งแต่ 16 กันยายน พ.ศ. 2367 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2373 เป็นพระปิตุลา (ลุง) ในเยาวกษัตริย์ผู้ทรงไม่ได้บรมราชาภิเษก พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 และพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ผู้ซึ่งหลังทรงถูกเนรเทศก็สนับสนุนพระอนุชาจนได้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ พระเจ้าชาร์ลที่ 10 ทรงครองราชสมบัติเป็นระยะเวลาเกือบ 6 ปี และสิ้นสุดลงด้วยการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ต้องทรงสละราชสมบัติแก่หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงถูกเนรเทศและสวรรคตที่กอริเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรี.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและพระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส

เจ้าชาย หลุยส์-ชาร์ล แห่งฝรั่งเศส (Louis-Charles de France) หรือที่กลุ่มกษัตริย์นิยมในฝรั่งเศสนับถือเป็น พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVII de France) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งนาวาร์ (Louis IV de Navarre) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์บูร์บง ประสูติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2328 ณ เมืองแวร์ซายส์ โดยเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี มารี อ็องตัวแน็ตแห่งออสเตรีย เมื่อแรกประสูตินั้น พระองค์มีพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งนอร์ม็องดี ต่อมาจึงได้ทรงดำรงพระยศเป็นโดแฟ็งแห่งเวียนนัวส์ (Dauphin de Viennois) ซึ่งเป็นตำแหน่งของรัชทายาทฝรั่งเศส และ "ปรินซ์รอแยลออฟฟรานซ์" (Prince Royal of France) ในปี พ.ศ. 2332 และ พ.ศ. 2334 ตามลำดับ พระองค์ได้ทรงรับสืบทอดพระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 หลังจากที่พระราชบิดาทรงถูกคณะปฏิวัติสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียรในวันนั้น ซึ่งพระองค์เองก็ทรงถูกคณะปฏิวัติคุมขังตราบจนเสด็จสวรรคตในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2338 โดยที่ไม่มีโอกาสจะได้ขึ้นครองราชสมบัติเยี่ยงกษัตริย์พระองค์อื่นแต่อย่างใด สิริรวมพระชนมายุได้ 10 พรรษาโดยโรควัณโรค แต่หลักฐานก็ยังไม่แน่ชัดเพราะว่า บางคน เล่ากันว่าพระองค์ได้มีสหายคนสนิทได้ลักลอบพาตัวพระองค์ออกนอกประเทศและไม่เปิดเผยนามที่แท้จริงของพระองค์โดยสมัยนั้นมีถึง 30 คนที่ปลอมตนเองว่าเป็นพระองค์ หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตขณะทรงพระเยาว์.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าธีบอ

ระเจ้าธีบอ หรือ พระเจ้าสีป่อ (ตี่บอมิง) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา ถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่เมืองรัตนคีรีในบริติชราช หลังสิ้นสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม และสวรรคตเมื่อ..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและพระเจ้าธีบอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย

มเด็จพระเจ้าซ็อกที่ 1 สคันเดอร์เบ็กที่ 3 แห่งแอลเบเนีย (Zog I, Skanderbeg III) พระนามเดิม อาเหม็ด มุห์ตา เบย์ โซโกลลี ภายหลังเปลี่ยนเป็น อาเหม็ด โซกู (8 ตุลาคม พ.ศ. 2438 - 9 เมษายน พ.ศ. 2504) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแอลเบเนียตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2482 ก่อนหน้านั้นพระองค์ทรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งแอลเบเนีย (พ.ศ. 2465 - 2467) และประธานาธิบดีแห่งแอลเบเนีย (พ.ศ. 2468 - 2471).

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและพระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง

การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง (La Restauration; ลาเรสโตราซียง) คือช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดินโปเลียนก้าวลงจากพระราชอำนาจในปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง · ดูเพิ่มเติม »

การเลิกล้มราชาธิปไตย

ในประวัติศาสตร์โลก มีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศทั่วโลก สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์อาจเป็นผลมาจากการปฏิวัติ, การตั้งสาธารณรัฐ, การลงประชามติของประชาชน, การรัฐประหาร หรือจากสงคราม.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและการเลิกล้มราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ออร์เลอ็อง

ตระกูลออร์เลอ็อง (House of Orléans) “ออร์เลอ็อง” เป็นชื่อที่ใช้เรียกสาขาของราชวงศ์ฝรั่งเศสหลายสาขาที่สืบเชื้อสายมาจากอูก กาเปต์ผู้ก่อตั้ง ระหว่างสมัย “การปกครองระบบโบราณในฝรั่งเศส” ก็จะมีการประเพณีมอบบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งออร์เลอ็องใหนแก่พระราชโอรสองค์รองของพระมหากษัตริย์ ฉะนั้นสาขาของตระกูลออร์เลอ็องจึงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมากที่สุดเพราะสืบเชื้อสายมาจากพระราชโอรส และบางครั้งก็เป็นผู้ได้ขึ้นครองพระราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเองถ้าพระราชโอรสองค์โตมาสิ้นพระชนม์เสียก่อน สาขาสุดท้ายของตระกูลออร์เลอ็องที่มีบรรดาศักดิ์เป็นดยุกสืบเชื้อสายมาจากอองรีเดอบูร์บอง ดยุกแห่งแวงโดม (พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส) ผู้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและราชวงศ์ออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (Haus de Habsburg) (House of Habsburg, บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รั.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ปาห์ลาวี

ราชวงศ์ปาห์ลาวี (دودمان پهلوی) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและราชวงศ์ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แฮโนเวอร์

ราชวงศ์แฮโนเวอร์ หรือ ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ เป็นราชวงศ์เยอรมันที่ครองบัลลังก์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ต่อจากราชวงศ์สจวตในปี พ.ศ. 2257 ราชวงศ์นี้ยังปกครองรัฐฮันโนเฟอร์ในประเทศเยอรมนีอันเป็นดินแดนที่ราชวงศ์นี้เป็นเจ้าของ ในบางครั้งอาจเรียกราชวงศ์นี้ว่าราชวงศ์เบราน์ชไวก์-ลือเนบูร์ก สายฮันโนเฟอร์ (House of Brunswick and Lüneburg, Hanover line).

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและราชวงศ์แฮโนเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โบนาปาร์ต

ราชวงศ์โบนาปาร์ต (Maison de Bonaparte, House of Bonaparte) เป็นราชวงศ์สุดท้าย ที่ปกครองฝรั่งเศส สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1804 โดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และราชวงศ์นี้ในรัชสมัยจักรพรรดินโปเลียนได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่หลังจากที่พ่ายแพ้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี ค.ศ. 1815 จักรพรรดินโปเลียนก็ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติ โดยก่อนหน้านั้นประเทศใกล้เคียงก็ได้มีสมาชิกราชสกุลโบนาปาร์ตไปปกครอง แต่หลังจากนโปเลียนลงจากราชบัลลังก์ กษัตริย์ในประเทศที่มีเชื้อพระวงศ์โบนาปาร์ตปกครองก็สละราชสมบัติและถูกเนรเทศไปจนหมดสิ้น หลังจากนโปเลียนถูกเนรเทศไปเกาะเอลบาได้ไม่นานก็ทรงรวบรวมกำลังทหารขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมกับหนีออกจากเกาะเอลบาและกลับมาปกครองฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ปกครองได้เพียง 100 วันก็ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติอีกครั้งและถูกส่งตัวไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา และสวรรคตที่เกาะนี้เมื่อปี ค.ศ. 1821 หลังจากนั้นราชสกุลโบนาปาร์ตก็เงียบหายไปจนถึงปี ค.ศ. 1848 หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต พระราชนัดดาในพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ก็ได้เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนแรก ต่อมาหลังจากดำรงตำแหน่ง ครบ 4 ปี ก็ประกาศสถาปนาตนเองขึ้นเป็น จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในปี ค.ศ. 1852และครองราชย์อยู่ 18 ปีก็สละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1870 เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์โบนาปาร์ตและสิ้นสุดระบอบกษัตริย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมายาวนาน.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและราชวงศ์โบนาปาร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โซกู

ราชวงศ์โซกู เป็นพระราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ที่ก่อตั้งโดยโซกู ปาชา ข้าราชการระดับสูงของออตโตมันที่อพยพเข้ามาปกครองเขตแคว้นมัท เขตดินแดนประเทศแอลเบเนียในปัจจุบันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยทำหน้าที่ปกครองแคว้นมัทในฐานะเมืองขึ้นของจักรวรรดิออตโตมัน การสืบทอดตำแหน่งผู้ปกครองแคว้นมัท จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลโซกูตลอดมา และมีพระราชวังประจำตระกูลคือ พระราชวังบูร์กาเยท (Castle Burgajet) บุคคลจากราชวงศ์โซกูที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย ที่เป็นพระมหากษัตริย์จากราชวงศ์โซกูพระองค์แรกที่ขึ้นมาปกครองราชอาณาจักรแอลเบเนีย ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลีที่จะเข้ามาบุกรุกประเทศแอลเบเนียในปี ค.ศ. 1939 และขึ้นมาปกครองแอลเบเนียแทน แม้ว่าปัจจุบันในประเทศแอลเบเนียเองได้ยกเลิกระบอบกษัตริย์ลงแล้ว และปกครองในระบอบสาธารณรัฐแล้ว แต่ก็ยังมีการสืบทอดอำนาจภายในราชวงศ์โซกูต่อไป โดยอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของประเทศแอลเบเนียจนถึงปัจจุบัน โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์องค์ปัจจุบันคือ เจ้าชายเลก้า มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย โดยพระองค์ก็เรียกตัวเองว่าพระองค์เป็นกษัตริย์และอ้างว่าพร้อมที่จะปกครองประเทศแอลเบเนียอยู่เสมอ.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและราชวงศ์โซกู · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์กรีซ

รายพระนามกษัตริย์กรีซ เป็นรายชื่อของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงปกครองราชอาณาจักรกรีซ ราชวงศ์วิทเทลส์บัคปกครองราชบัลลังก์กรีซระหว่าง ค.ศ. 1832 จนถึง ค.ศ. 1862 เมื่อผ่านไปยังราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและรายพระนามพระมหากษัตริย์กรีซ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย

ตราอาร์มของราชอาณาจักรปรัสเซีย รายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย (List of monarchs of Prussia) เป็นรายนามและรายพระนามของประมุขของอดีตรัฐเยอรมันแห่งปรัสเซีย ที่เดิมเป็นรัฐอัศวินทิวทอนิก บนฝั่งทะเลบอลติกที่อัศวินทิวทอนิกพิชิตได้มาจากโปแลนด์และลิทัวเนีย ต่อมาเป็นดัชชีภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรโปแลนด์ ดัชชีปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซียอิสระ ราชอาณาจักรภายในจักรวรรดิเยอรมัน และเสรีรัฐปรัสเซียของเยอรมนีในที่สุด ประวัติศาสตร์ของปรัสเซียตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและรายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส

ระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (Monarques de France) ทรงปกครองดินแดนฝรั่งเศสมาตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแฟรงก์ในปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เยอรมนี

รายพระนามกษัตริย์และจักรพรรดิเยอรมนี (List of German monarchs) รายพระนามข้างล่างเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิที่ปกครองเยอรมนีตั้งแต่การแยกตัวมาเป็นราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออก ในปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและรายพระนามพระมหากษัตริย์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย

ักรพรรดิแห่งรัสเซีย หรือที่มักเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าพระเจ้าซาร์ เป็นตำแหน่งที่ปกครองอาณาจักรซาร์รัสเซีย และจักรวรรดิรัสเซีย โดยนับตั้งแต่ ค.ศ. 1721 จะทรงใช้พระยศว่า "จักรพรรดิ" จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายคือ จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 โดยนับตั้งแต่การยกฐานะเป็นจักรวรรดิมีพระจักรพรรดิเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์โรมานอฟทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นแกรนด์ดยุคแห่งฟินแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1809 - ค.ศ. 1917, พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1916.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและรายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์

ลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ (royalism) เป็นลัทธิที่สนับสนุนราชอาณาจักร หรือการปกครองรูปแบบใดก็ได้เพียงแต่ให้มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ สนับสนุนผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ หรือสนับสนุนพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักใช้ในกลุ่มผู้สนับสนุนพระมหากษัตริย์ซึ่งถูกล้มล้างโดยสาธารณรัฐแล้ว แนวคิดดังกล่าวมีความแตกต่างจาก ลัทธินิยมราชาธิปไตย (monarchism) ที่สนับสนุนการปกครองแบบราชาธิปไตย แต่ต่างกันที่ไม่ได้ว่าด้วยเรื่องการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ในภาษาไทย บางทีเรียกลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า กษัตริยนิยม กษัตริย์นิยม ลัทธินิยมเจ้า กระแสนิยมเจ้าธงชัย วินิจจะกูล, 2548: ออนไลน.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและลัทธินิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมิงสอตุต

มิงสอตุด (သမိန်စောထွတ်,; สวรรคตสิงหาคม 1550) เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ราชอาณาจักรหงสาวดี และเป็นผู้ลอบสังหารพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ของราชวงศ์ตองอู เดิมเป็นขุนนางชาวมอญที่ได้รับราชการให้ไปปกครองเมืองสะโตงในรัชสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ผู้ที่พิชิตราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญได้ในปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและสมิงสอตุต · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระแห่งเนปาล

มเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ (ज्ञानेन्द्र वीर बिक्रम शाहदेव; Jñānendra Vīra Vikrama Śāhadeva; ชฺาเนนฺทฺร วีร พิกฺรม ศาหเทว) หรือ สมเด็จพระราชาธิบดีคยาเนนทรพีรพิกรมศาหเทว์ (Gyanendra Bir Bikram Shah Dev) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรเนปาลในราชวงศ์ศาห์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทระ ประสูติแต่เจ้าหญิงอินทระ มกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระแห่งเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ

มเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ (กรีก: Άννα-Μαρία Βασίλισσα των Ελλήνων อันนา มาเรีย, พระราชสมภพ: 30 สิงหาคม พ.ศ. 2489-) พระนามเมื่อแรกประสูติ เจ้าหญิงอันเนอ-มารี ดักมาร์ อิงกริดแห่งเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Princess Anne-Marie Dagmar Ingrid of Denmark) พระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (หรือ สมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์) ในช่วง 6 มีนาคม ค.ศ. 1964 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1973 ภายหลังได้มีการลงประชามติล้มเลิกการปกครองระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐในมาตราที่ 4, ข้อที่ 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งรัฐระบุไว้ว่า "Titles of nobility or distinction are neither conferred upon nor recognized in Greek citizens พระอิสริยยศนำหน้าพระนามจะไม่ได้รับเกียรติอย่างเป็นทางการของประชาชนกรีซ" ดูเพิ่มได้ที.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย

มเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย (Queen Liliuokalani of Hawaii) (2 กันยายน พ.ศ. 2381 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย มีพระนามเดิมว่า ลิเดีย ลิลิอู โลโลกู วาลาเนีย เวเวฮิ คามาคาเอฮา อา คาปาอาเคอา เมื่อทรงได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์มีพระนามว่า เจ้าหญิงลีลีโอกาลานี หลังจากทรงอภิเษกสมรสก็มีพระนามว่า ลิเดีย เค โดมิน.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีโกมลแห่งเนปาล

มเด็จพระราชินีโกมลราชยลักษมีเทวีศาหแห่งเนปาล (कोमल राज्य लक्ष्मी देवी - Komala Rājya Lakṣmī Devī, ประสูติ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 ณ เมืองพาคมตี ประเทศเนปาล —) พระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ พระองค์เป็นสมเด็จพระราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรเนปาล ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและสมเด็จพระราชินีโกมลแห่งเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา

มเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา มีพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าเชษฐาขัติยวงศา พระมหาศรีสว่างวัฒนา (ພຣະບາດສົມເດັດພຣະເຈົ້າເຊດຖາຂັດຕິຍະວົງສາ ພຣະມະຫາສີສະຫວ່າງວັດທະນາ) หรือ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา (ເຈົ້າມະຫາຊີວິດສີສະຫວ່າງວັດທະນາ)สะกดด้วยอักขรวิธีเก่าว่า ພຣະບາທສົມເດັຈພຣະເຈົ້າເຊສຖາຂັຕິຍວົງສາ ພຣະມຫາສຣີສວ່າງວັທນາ ปริวรรต: พระบาทสมเด็จพระเจ้าเชสถาขัติยวงสา พระมหาสรีสว่างวัทนา และ ເຈົ້າມຫາຊີວິຕສຣີສວ່າງວັທນາ ปริวรรต: เจ้ามหาชีวิตสรีสว่างวัทนา ตามลำดับ (ສົມຈິຕ ພັນລັກ. (2012) ພາສາລາວລ້ານຊ້າງ ກ່ອນປີ ພ.ສ 2478; ຄ.ສ 1935 ສະບັບຄົ້ນຄວ້າ. ສົມມະນາ ການພິມ ສປປ ລາວ.) เป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาว ก่อนที่จะถูกฝ่ายปะเทดลาวยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวใน..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี

ระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี หรือ พระเจ้าฮัมเบิร์ตที่ 2 แห่งอิตาลี (Umberto II; Umberto II of Italy) (15 กันยายน ค.ศ. 1904 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1983) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีแห่งราชวงศ์ซาวอย ผู้ทรงครองราชบัลลังก์อิตาลีระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1946 จนเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของอิตาลีถูกยุบเลิกเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1946 พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1904 ที่ราคโคนิจิในคูนิโอในประเทศอิตาลี พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 และ เอเลนาแห่งมอนเตเนโกร และทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1904 และมีพระราชโอรสธิดาด้วยกันสี่พระองค์ พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1983 ที่เจนีวาในประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อี แฮ-ว็อน

อี แฮ-ว็อน เป็นสตรีผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์โชซ็อนของจักรวรรดิเกาหลี ภายหลังทรงตั้งตนเป็นรัชทายาทที่ได้รับสมมุติของเกาหลีแย้งกับอี ว็อน (이원, 李源) พระภาติยะผู้ได้รับการยอมรับจากสมาคมราชสกุลอีในการเป็นผู้นำราชสกุลและได้รับการแต่งตั้งไปก่อนหน้.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและอี แฮ-ว็อน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิออสเตรีย

งประจำพระยศจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2358 จักรพรรดิแห่งออสเตรีย คือพระราชอิสริยยศที่ถูกสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2347 โดยจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นามว่า จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ซึ่งพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเป็น จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 และทรงปกครองจักรวรรดิออสเตรียก่อนที่จะเปลี่ยนจักวรรดิและระบอบการปกครองใหม่ พระราชอิสริยยศนี้ใช้จนกระทั่ง พ.ศ. 2461 เมื่อมีการล้มล้างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี การเผชิญหน้ากับนโปเลียน โบนาปาร์ต ที่เข้ามาก้าวก่ายบรรดาพระราชวงศ์ในยุโรป ทำให้จักรพรรดิฟรันซ์ทรงกังวลและห่วงถึงอนาคตของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และพระราชวงศ์อิมพีเรียล จักรวรรดิอาจถูกล้มล้างและเปลี่ยนระบอบการปกครองใหม่ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2349 ออสเตรียได้ส่งกองทัพไปทำสงครามกับฝรั่งเศสในสมรภูมิออสเตอร์ลิตส์ เนื่องจากออสเตรียไม่พอใจที่นโปเลียนเข้ามาก้าวก่ายระบอบการปกครองและพระราชสำนัก ผลของสงครามคือฝรั่งเศสนำโดยนโปเลียนเป็นฝ่ายชนะ นโปเลียนเห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะสมของตนจึงเปลี่ยนระบอบการปกครองและตำแหน่งองค์พระประมุขของบรรดาราชวงศ์ในยุโรป รวมทั้งพระราชวงศ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิฟรานซิสด้วย โดยนโปเลียนได้แยกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ออกจากกลุ่มสมาชิกสมาพันธรัฐแห่งไรน์ แล้วทำการยุบพระอิสริยยศจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ออก เหลือเพียงจักรพรรดิแห่งออสเตรียและกษัตริย์แห่งฮังการี พระอิสริยยศนี้ได้ถูกใช้สำหรับองค์พระประมุขออสเตรีย-ฮังการีจนถึงปี พ.ศ. 2461 จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ตลอดเวลาที่ผ่านมาไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่าชื่ออย่างเป็นทางการของออสเตรียคือ จักรวรรดิแห่งออสเตรีย (Empire of Austria, Kaisertum Österreich).

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและจักรพรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิผู่อี๋

มเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ พระราชสมภพ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449 มีพระนามเต็มว่า หรือ เฮนรี่ ผู่อี๋ (พระนามอังกฤษที่เรจินัล จอนสตันถวายให้) เป็นจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ชาวแมนจูแห่งราชวงศ์ชิง และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง (นับเริ่มแต่จักรพรรดิซุ่นจื้อ) และเป็นองค์สุดท้าย (末代皇帝) ของประเทศจีนมีพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง จากปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและจักรพรรดิผู่อี๋ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Henry IV, Holy Roman EmperorBritannica online encyclopedia article on Henry IV (Holy Roman emperor)) (11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1050 - 7 สิงหาคม ค.ศ. 1106) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเยอรมนีตั้งแต่ ค.ศ. 1056 และจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1084 จนกระทั่งทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1105 ไฮน์ริชทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ซาเลียนและเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจและมีความสำคัญที่สุดพระองค์หนึ่ง รัชสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่ทรงประสบข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์กับพระสันตปาปา และสงครามกลางเมืองกับผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อิตาลีและเยอรมนี.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จาโคไบท์

มเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษหรือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ กษัตริย์ผู้ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ ขบวนการจาโคไบท์ (Jacobitism) เป็นขบวนการทางการเมืองที่มีจุดประสงค์ในการฟื้นฟูราชวงศ์สจวตขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์ ชื่อของขบวนการมาจากคำว่า “Jacobus” ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ หรือ หรือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ ขบวนการจาโคไบท์ก่อตั้งขึ้นในการโต้ตอบการถูกโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ในปี ค.ศ. 1688 ที่มาแทนด้วยการขึ้นครองราชย์ของพระราชธิดาสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และพระสวามีวิลเลียมแห่งออเรนจ์ หลังจากนั้นสจวตก็ไปพำนักอยู่บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและพยายามกู้ราชบัลลังก์เป็นครั้งคราวด้วยความช่วยเหลือของฝรั่งเศสหรือสเปน ที่ตั้งสำคัญของขบวนการจาโคไบท์อยู่ในไอร์แลนด์และในสกอตแลนด์โดยเฉพาะในบริเวณสกอตติชไฮห์แลนด์ (Scottish highlands) หรือทางตอนเหนือของสกอตแลนด์ ในอังกฤษขบวนการจาโคไบท์มีความแข็งแกร่งในอังกฤษตอนเหนือและมีผู้สนับสนุนบ้างในเวลส์ ผู้ที่สนับสนุนขบวนการมีความเชื่อว่าการเข้ายุ่งเกี่ยวของรัฐสภาในกรณีการสืบราชบัลลังก์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และผู้เป็นโรมันคาทอลิกก็หวังว่าการมีพระมหากษัตริย์สจวตจะเป็นการช่วยผ่อนผันความกดดันทางกฎหมาย นอกจากนั้นผู้สนับสนุนก็ยังมีเหตุผลที่แตกต่างกันไปหลายประการ ในสกอตแลนด์ขบวนการจาโคไบท์มามีความเกี่ยวพันกับนักรบของระบบตระกูลของสกอตแลนด์ (Scottish clan) และกลายเป็นตำนานโรแมนติค ตราสัญลักษณ์ของขบวนการจาโคไบท์คือดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์ค ซึ่งฉลองกันในวันที่ 10 มิถุนายนในโอกาสวันประสูติของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1688.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและจาโคไบท์ · ดูเพิ่มเติม »

จิน โหย่วจือ

น โหย่วจือ (17 สิงหาคม พ.ศ. 2461 — 10 เมษายน พ.ศ. 2558) หรือ ผู่เริ่น เป็นบุตรคนที่ 4 ของไจ้เฟิง และเป็นน้องชายต่างมารดาของจักรพรรดิผู่อี๋ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนและแมนจูกัว จิน โหย่วจือ เกิดที่ พระราชวังของเจ้าชายชุนที่ 2 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและจิน โหย่วจือ · ดูเพิ่มเติม »

จู หรงจี้

ู หรงจี้ เกิดวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 เป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 9 ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2546 จูหรงจีเคยเป็นนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ระหว่าง พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2534 และได้รับการสนับสนุนจากเจียง เจ๋อหมินกับหลี่ เผิง ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้น จู หรงจี้มีเชื้อสายจากราชวงค์หมิง แต่ทว่าเองไม่เคยประกาศอ้างสิทธิในราชสมบัติ ซึ่งสืบเชื้อสายจากจักรพรรดิหงหวู่ (จูหยวนจาง).

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและจู หรงจี้ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งออร์เลอ็อง

ตราอาร์มของราชวงศ์ออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ (Duc d'Orléans, Duke of Orléans) เป็นตำแหน่งสูงสุดตำแหน่งหนึ่งในบรรดาตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลของฝรั่งเศสที่เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เรียกกันว่าเป็นตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” ตำแหน่งดยุคแห่งออร์เลอองส์เป็นตำแหน่งเฉพาะสำหรับเจ้าชายผู้มีเชื้อสายใกล้ที่สุดกับพระบรมวงศานุวงศ์ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นสายรองจากสายที่เป็นประมุขของราชอาณาจักรเป็นรองก็แต่เพียงผู้เป็นทายาทโดยตรงเท่านั้น ระหว่างสมัยอองเซียง เรฌีมผู้ถือตำแหน่งนี้มักจะมีบทบาททางการเมือง ผู้ได้เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสจากราชวงศ์ออร์เลอองส์องค์แรกคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ผู้เป็นดยุคแห่งออร์เลอองส์องค์ที่ 5 มีส่วนในการทำลายการปกครองยุคโบราณ ในฐานะหัวหน้าฝ่าย “ออร์เลอองนิสต์” (Orleanist) ที่พาเลส์รอยาลหลุยส์ ฟิลิปป์ท้าทายอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องที่ประทับอยู่ในลูฟร์ แต่ผู้ที่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสก็คือพระโอรสของหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ขึ้นครองราชย์ในปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและดยุกแห่งออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ดอมีนิก-ฟร็องซ์ โลบ ปีการ์

อมีนิก-ฟร็องซ์ โลบ ปีการ์ (Dominique-France Loeb Picard; 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948) หรือ เจ้าหญิงฟาดิลาแห่งอียิปต์ อดีตคู่สมรสของพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ อดีตกษัตริย์ซึ่งครองราชสมบัติขณะที่มีพระชันษาเพียง 5 เดือน และเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอียิปต์และซูดาน (ครองราชย์ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 — 18 มิถุนายน ค.ศ. 1953).

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและดอมีนิก-ฟร็องซ์ โลบ ปีการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อพะยา

้าต่อพะยา (ประสูติ 22 มีนาคม 1924) เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของเจ้าหญิงมยะพะยา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าธีบอพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งประเทศพม่า ทรงเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของพม่า พระเชษฐาของพระองค์ซึ่งก็คือพระราชโอรสองค์ที่หนึ่งเจ้าหญิงมยะ พะยา ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพวกคอมมิวนิสต์ก่อการร้ายในปี 1948 กับการสิ้นพระชนม์ของพระมาตุจฉาในปี 1956 พระองค์จึงทรงเป็นประมุขในราชวงศ์คองบอง.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและต่อพะยา · ดูเพิ่มเติม »

แซฟไฟร์สจวต

แซฟไฟร์สจวต (Stewart Sapphire, Stuart Sapphire) คือแซฟไฟร์ที่เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ได้ชื่อมาจากราชวงศ์สจวตแห่งสก็อตแลนด์ ตามเจ้าของพระองค์แรก ซึ่งคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ แซฟไฟร์เม็ดนี้ได้ถูกนำไปประดับบนมงกุฎราชาภิเษกของพระองค์ในปีค.ศ. 1214 และต่อมาในปีค.ศ. 1296 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษทรงอ้างสิทธิ์ครอบครองอัญมณีชิ้นนี้พร้อมกับหินแห่งสโคนในคราวที่ทรงยกทัพบุกสก็อตแลนด์ ในภายหลังจากได้ทรงครอบครองแล้ว ได้พระราชทานให้กับพระเทวัน(น้องเขย)ของพระองค์ คือ พระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ ซึ่งเพื่อเป็นการตอบแทน พระองค์จึงได้พระราชทานต่อให้กับพระขนิษฐาของพระองค์ คือ มาร์โจรี บรูซ และต่อมา มาร์โจรี ได้สมรสกับวอลเตอร์ สจวตซึ่งมีบุตรซึ่งในภายหลังได้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์สจวต คือ พระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ จึงเป็นที่มาของชื่ออัญมณีนี้ว่า "แซฟไฟร์สจวต" ในช่วงสมัยสาธารณรัฐของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ในฐานะของ "เจ้าผู้พิทักษ์" ได้ให้ขายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด และต่อมาภายหลังการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษขึ้นใหม่ แซฟไฟร์เม็ดนี้ได้กลับมาสู่ความครอบครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ซึ่งแซฟไฟร์นี้ได้ถูกบันทึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรลิกของราชวงศ์สจวตที่ทรงนำไปที่ฝรั่งเศสเพื่อลี้ภัยด้วย ภายหลังจากเสด็จสวรรคตแล้ว ได้ตกทอดถึงพระโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ เจมส์ สจวต หรือเรียกกันว่า ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ซึ่งต่อมาได้ตกทอดให้กับบุตรคนโต คือ เฮนรี เบเนดิกท์ สจวต พระคาร์ดินัล ดยุคแห่งยอร์ค หลังจากมรณภาพแล้วได้มอบให้กับพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในปีค.ศ. 1838 พระราชินีวิกตอเรีย ทรงให้ปรับปรุงมงกุฎอิมพีเรียลสเตตของเดิม โดยให้ประดับแซฟไฟร์เม็ดนี้ไว้บริเวณฐานของมงกุฎตรงกลาง ข้างใต้ทับทิบเจ้าชายดำ ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงให้สร้างมงกุฎอิมพีเรียลสเตตขึ้นใหม่ทั้งองค์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายของเดิมที่สุด โดยทรงให้ย้ายแซฟไฟร์เม็ดนี้ไว้ประดับบนมงกุฎองค์ใหม่ บริเวณฐานด้านหน้าของมงกุฎ และต่อมาเมื่อมีการค้นพบเพชรคูลลิแนน แซฟไฟร์สจวตได้ถูกย้ายไปอยู่ด้านหลังแทน เพื่อให้เพชรคูลลิแนน 2 ทรงเหลี่ยมขอบมนที่มีขนาดถึง 315 กะรัต แม้กระทั่งแซฟไฟร์นี้จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ แต่ความสำคัญของอัญมณีนี้มิได้อยู่ที่มูลค่า แต่มีความหมายอย่างยิ่งทางประวัติศาสตร์อันยาวนานในตัวของมันเอง.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและแซฟไฟร์สจวต · ดูเพิ่มเติม »

โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส

แฟ็งแห่งฝรั่งเศส (Dauphin de France) หรือ โดแฟ็งแห่งเวียนัว (Dauphin de Viennois) คืออิสริยยศที่มีไว้สำหรับทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ผู้ซึ่งจะขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ในประวัติศาสตร์มีผู้ดำรงอิสริยยศนี้ในช่วงปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ไพรเออรีออฟไซออน

ัญลักษณ์ของกลุ่มไพรเออรีออฟไซออนที่มีพื้นฐานมาจากเฟลอร์เดอลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ฝรั่งเศส ไพรเออรีออฟไซออน (Prieuré de Sion, Priory of Sion) เป็นชื่อที่ใช้กับหลายกลุ่มทั้งที่จริงและไม่จริง กลุ่มที่มีชื่อเสียงทางลบที่สุดคือองค์กรลับที่ก่อตั้งและถูกยุบในฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและไพรเออรีออฟไซออน · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์คิน วอร์เบ็ค

อร์คิน วอร์เบ็ค (Perkin Warbeck) (? - (23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1499) เพอร์คิน วอร์เบ็คเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 วอร์เบ็คอ้างตนว่าเป็นริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 (Richard of Shrewsbury, 1st Duke of York) พระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ วอร์เบ็คมาจากตระกูลเฟล็มมิงเกิดที่ตูร์เนราวปี ค.ศ. 1474 “เพอร์คิน วอร์เบ็ค” ของตำนานเดิมอ้างตนว่าเป็นลูกของข้าราชการฝรั่งเศส จอห์น เดอ แวร์เบ็คก์ และ แค็ทเธอริน เดอ ฟาโร เพราะการที่ไม่ทราบชะตากรรมของริชาร์ดแห่งชรูว์สบรีผู้ที่เป็นหนึ่งในเจ้าฟ้าสองพระองค์ทีถูกนำไปจำขังในหอคอยแห่งลอนดอน (นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าริชาร์ดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1483) การอ้างของวอร์เบ็คจึงมีผู้เชื่ออยู่บ้างแต่จะเชื่อจริงหรือมีความต้องการแอบแฝงที่จะโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าเฮนรีก็ไม่เป็นที่ทราบ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่ากรณีของวอร์เบ็คทำให้พระเจ้าเฮนรีหมดเงินไปกว่า 13,000 ปอนด์ (ราว 6.4 ล้านปอนด์ในปี ค.ศ. 2007) ซึ่งเป็นการดึงพระราชทรัพย์จากท้องพระคลังที่มีปัญหาอยู่แล้ว.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเพอร์คิน วอร์เบ็ค · ดูเพิ่มเติม »

เรกนันส์อินเอกเซลซิส

รกนันส์อินเอกเซลซิส (Regnans in Excelsis; "ปกครองจากเบื้องบน") เป็นสารตราพระสันตะปาปาที่ออกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพัน..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเรกนันส์อินเอกเซลซิส · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต

“เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต” มาเรีย คลีเม็นทินา โซบิเอสกา พระชายา หลุมศพของเจ้าชายเจมส์ เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต หรือ ผู้อ้างสิทธิ(ภาษาอังกฤษ: James Francis Edward Stuart หรือ The Old Pretender หรือ The Old Chevalier) (10 มิถุนายน ค.ศ. 1688 – 1 มกราคม ค.ศ. 1766) เจมส์ได้รับการขนานพระนามว่า The Old Pretender (ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษผู้ถูกปลดจากราชบัลลังก์อังกฤษ และ สมเด็จพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา ในฐานะที่เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เจมส์ ฟรานซิสจึงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชอาณาจักรอังกฤษ และราชอาณาจักรสกอตแลนด์ในนาม เจมส์ที่ 3 แห่งอังกฤษ และ เจมส์ที่ 8 แห่งสกอตแลนด์ เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1701 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงประกาศว่าเจมส์ ฟรานซิสเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ สกอตแลนด์และไอร์แลน.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายฟิลิปแห่งเฮสส์

้าชายฟิลิป รอบินแห่งเฮสส์-คาสเซิล (Prince Philip Robin of Hesse) (17 กันยายน ค.ศ. 1970) เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฟินแลนด์ ตั้งแต่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ถึงปัจจุบัน เจ้าชายฟิลลิป เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1970 เป็นโอรสของเจ้าชายมอริตซ์ แลนด์เกรฟแห่งเฮสส์กับเจ้าหญิงทาเทียน่า เจ้าชายฟิลิป เสกสมรสกับ ลาเอทิเทีย เบชทอล์ฟทั้งสองมีพระโอรส-ธิดา 2 พระองค์คือ เจ้าหญิงอเลนา มาเกอริตา ลอททิ คริสเตียน เอลิซาเบธ และเจ้าชายติโต ฟรีดิช แฮนซ์ แอนดรีส อัลนวิค เจ้าชายฟิลลิปได้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฟินแลนด์ต่อจากเจ้าชายเฮนริชแห่งเฮสส์-คาสเซิลซึ่งมีศักดิ์เป็นพระมาตุลา แต่การอ้างสิทธิ์ของพระองค์นั้นไม่ได้รัยการยอมรั.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าชายฟิลิปแห่งเฮสส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายวงศ์สว่าง มกุฎราชกุมารแห่งลาว

้าฟ้าชายมงกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง (ເຈົ້າຟ້າຊາຍມົງກຸດລາຊະກຸມານວົງສະຫວ່າງ เจ้าฟ้าชายมงกุดลาชะกุมานวงสะหว่างสะกดด้วยอักขรวิธีเก่าว่า ເຈົ້າຟ້າຊາຍມຸງກຸຕຣາຊກຸມາຣວົງສວ່າງ ปริวรรต: เจ้าฟ้าชายมุงกุตราชกุมารวงสว่าง (ສົມຈິຕ ພັນລັກ. (2012) ພາສາລາວລ້ານຊ້າງ ກ່ອນປີ ພ.ສ 2478; ຄ.ສ 1935 ສະບັບຄົ້ນຄວ້າ. ສົມມະນາ ການພິມ ສປປ ລາວ.); ประสูติ: 27 กันยายน พ.ศ. 2474 - สิ้นพระชนม์: เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2524) มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรลาวพระองค์สุดท้าย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา กับพระนางคำผูย เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลาวถัดจากพระราชบิดา แต่หลังจากฝ่ายประเทศลาวยึดอำนาจสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พระองค์ถูกจับไปเข้าค่ายสัมมนาที่เมืองเวียงไซ แขวงหัวพัน และคาดว่าพระองค์จะประชวรสิ้นพระชนม์ในศูนย์สัมมนาหมายเลข 5 ก่อนพระนางคำผุย และพระเจ้ามหาชีวิตที่ถูกกุมขังอยู่ที่เดียวกัน ทั้งนี้รัฐบาลลาวไม่เคยเปิดเผยเรื่องการสิ้นพระชนม์และสถานที่คุมขังเลยและถือว่าเป็นความลับของชาติด้ว.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าชายวงศ์สว่าง มกุฎราชกุมารแห่งลาว · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายฌ็อง-เบแดล บอกาซา มกุฎราชกุมารแห่งแอฟริกากลาง

้าชายฌ็อง-เบแดล บอกาซา มกุฎราชกุมารแห่งแอฟริกากลาง (Jean-Bédel Bokassa, Crown Prince of the Central African Empire) หรือ ฌ็อง-เบแดล บอกาซา จูเนียร์ (Jean-Bédel Bokassa, Jr) หรือ ฌ็อง-เบแดล บอกาซาที่ 2 (Jean-Bédel Bokassa II) (ประสูติ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1973) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิโบคัสซาที่ 1 แห่งแอฟริกากลางกับสมเด็จพระจักรพรรดินีแคทเธอรีนแห่งแอฟริกากลาง พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อพระบิดาของพระองค์ครองราชย์ ต่อมาพระบิดาของพระองค์ถูกปฏิวัติ และต้องกลายเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ เมื่อพระบิดาของพระองค์เสด็จสวรรคต พระองค์จึงเป็นประมุขราชวงศ์โบคัสซาและเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จักรวรรดิแอฟริกากลางพระองค์ต่อม.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าชายฌ็อง-เบแดล บอกาซา มกุฎราชกุมารแห่งแอฟริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโวล์ฟกังแห่งเฮสส์

้าชายโวล์ฟกังแห่งเฮสส์ (Prince Wolfgang of Hesse) เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฟินแลนด์ ตั้งแต่28 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ถึง 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 เจ้าชายโวล์ฟกัง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1896 เป็นพระโอรสองค์ที่ 4 ของเจ้าชายเฟรเดอริก ชาร์ลแห่งเฮสส์กับเจ้าหญิงมาร์กาเรเทแห่งปรัสเซีย พระบิดาของพระองค์ได้รับเลือกให้ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฟินแลนด์ ทำให้พระองค์จะดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร แต่พระบิดาของพระองค์สละสิทธิ์ไปเมื่อ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1918 พระบิดาของพระองค์เลือกพระองค์ให้เป็นผู้สืบทอดการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฟินแลนด์เป็นพระองค์ต่อมา แทนเจ้าชายฟิลิปพระเชษฐาของพระองค์ พระองค์เสกสมรสเมื่อ 17 กันยายน ค.ศ. 1924 กับเจ้าหญิงมาเรีย อเล็กซานดร้าแห่งบาเดินธิดาเจ้าชายแมกซีมีเลียนบาเดนกับเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งฮันโนเวอร์ ทั้งสองพระองค์ไม่มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน เจ้าชายโวล์ฟกัง สิ้นพระชนม์เมื่อ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 ขณะมีพระชนมายุได้ 92 พรรษา เจ้าชายเฮนริชแห่งเฮสส์-คาสเซิลพระภาติยะ จึงเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์พระองค์ต่อม.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าชายโวล์ฟกังแห่งเฮสส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเฮนริชแห่งเฮสส์-คาสเซิล

้าชายเฮนริชแห่งเฮสส์-คาสเซิล (Prince Heinrich of Hesse-Kassel) (30 ตุลาคม 1927 - 18 พฤศจิกายน 1999) เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฟินแลนด์ ตั้งแต่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 ถึง 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 เจ้าชายเฮนริช เสด็จพระราชสมภพในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นโอรสของเจ้าชายฟิลิป แลนด์เกรฟแห่งเฮสส์กับเจ้าหญิงมาฟัลดาแห่งซาวอย พระราชธิดาของพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พระบิดาของพระองค์ถูกจับตัวไปโดยพวกนาซีเยอรมัน พระมารดาของพระองค์ก็ถูกคุมขังและถูกปลงพระชนม์ในค่ายกักกันบูเคนวัลด์ ในปี 1944 เจ้าชายเฮนริชและพระพี่น้องได้หลบภัยอยู่ที่นครรํฐวาติกัน หลังจากที่สงครามสงบพระองค์และพระพี่น้องก็กลับมารวมตัวกับพระบิดาเขาในประเทศเยอรมนี เจ้าชายเฮนริช ได้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฟินแลนด์ต่อจากเจ้าชายโวล์ฟกังแห่งเฮสส์ซึ่งเป็นพระมาตุลา เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์เจ้าชายฟิลิปแห่งเฮสส์พระภาติยะ จึงได้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ต่อม.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าชายเฮนริชแห่งเฮสส์-คาสเซิล · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน

ลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน (พ.ศ. 2483 -) เจ้านายฝ่ายเหนือ ผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครลำพูน เป็นบุตรคนโตในเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน กับท่านหญิงจิตรจง ณ ลำพูน มีศักดิ์เป็นพระนัดดาในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย นอกจากหน้าที่ในการสืบราชสกุลแล้ว เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน ยังเป็นผู้ดูแลคุ้มหลวงของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่

้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (150px) ผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ ทายาทในเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ กับหม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม "ชนะนนท์") เป็นหลานปู่ ใน พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เกิดที่คุ้มรินแก้ว (เดิมชื่อคุ้มแจ่งหัวริน) เมื่อวันที่ สมรสกับ ชนิดา ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม "จุลละรัต") ในปี..

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าสุริวงศ์ สว่าง

้าสุลิวงศ์ สว่าง (ເຈົ້າສຸລິວົງ ສະຫວ່າງ) (ประสูติ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2506) เป็นพระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาว ทรงเป็นผู้อ้างสิทธิในพระราชบัลลังก์ลาว ปัจจุบันประทับในฐานะผู้ลี้ภัย ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่ง.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าสุริวงศ์ สว่าง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมารี-หลุยส์แห่งมาดากัสการ์

้าหญิงมารี-หลุยส์แห่งมาดากัสการ์ หรือ เจ้าหญิงมารี-หลุยส์ ราซาฟินเครีโฟ (Princess Marie-Louise of Madagascar หรือ Princess Marie Louise Razafinkeriefo) (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 - 18 มกราคม พ.ศ. 2491) เป็นเจ้าหญิงแห่งมาดากัสการ์ เป็นประมุขพระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เมรีนาและเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์มาดากัสการ์พระองค์สุดท้.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าหญิงมารี-หลุยส์แห่งมาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมณีไลย มกุฎราชกุมารีแห่งลาว

้าหญิงมณีไลย มกุฎราชกุมารีแห่งลาว (ເຈົ້າຟ້າຍິງມະນີໄລ) หรือ เจ้ามะนีไล สว่าง (ประสูติ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2484 —) หรือที่ชาวหลวงพระบางรู้จักในชื่อ "เจ้าป้า" พระวรชายาในสมเด็จเจ้าฟ้าชายวงศ์สว่าง องค์มกุฎราชกุมาร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาว.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าหญิงมณีไลย มกุฎราชกุมารีแห่งลาว · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงเมียะพะยาละ

้าหญิงมยะพะยาละ (မြတ်ဘုရားလတ်,; 4 ตุลาคม 1883 - 4 เมษายน 1956) เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าธีบอกับพระนางศุภยาลัต ก่อนหน้าที่จะมีการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยในพม่าโดยอังกฤษ เจ้าหญิงมยะพะยาละ ได้รับเลือกให้เป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์พม่า เมื่อพระเจ้าธีบอถูกโค่นล้มราชบัลลังก์ พระองค์จึงต้องไปพำนักที่อินเดียกับพระบิดาและพระมารดา ต่อมาเมื่อพระเจ้าธีบอสวรรคตลง พระองค์จึงเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์พม่าต่อจากพระบิดา พระองค์สื้นพระชนม์ที่เมืองกาลิมปง ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 1956 เจ้าตอ พญา ผู้เป็นพระราชภาคิไนย (เจ้าตอ พญาทรงเป็นพระโอรสในพระขนิษฐาของพระองค์) จึงเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์พม่าคนต่อไป พระราชธิดาทั้งสี่ของพระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัต จากซ้าย: พระราชธิดาองค์ที่สี่ เจ้าหญิงเมียะพยากเล, พระราชธิดาองค์ที่หนึ่ง เจ้าหญิงเมียะพยาจี, พระราชธิดาองค์ที่สาม เจ้าหญิงเมียะพยา และพระราชธิดาองค์ที่สอง เจ้าหญิงเมียะพยาลัต หรือ เจ้าหญิงมยะพะยาละ ภาพจาก Myanmar Historical Archive.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าหญิงเมียะพะยาละ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจันทร์ศุกร์ สุขธารา

้าจันทร์ศุกร์ สุขธารา หรือ เจ้าจันสุก สุขทาลา (ເຈົ້າຈັນສຸກ ສຸກທາລາ) (ประสูติ พ.ศ. 2505) เป็นผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งลาว พระองค์เป็นพระชายาในเจ้าสุริวงศ์ สว่าง พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาว ทรงเป็นผู้อ้างสิทธิในพระราชบัลลังก์ลาว ปัจจุบันประทับในฐานะผู้ลี้ภัย ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่ง.

ใหม่!!: รัชทายาทที่ได้รับสมมุติและเจ้าจันทร์ศุกร์ สุขธารา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pretenderผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »