เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รอเยาะ

ดัชนี รอเยาะ

รอเยาะ หรือ เต้าขั้ว ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เรียกว่า โรจะก์ (rojak) อินโดนีเซียเรียกว่า รูจะก์ (rujak) เป็นยำประเภทหนึ่งในอาหารมลายูและอินโดนีเซีย น้ำยำทำจากกะปิเคี่ยวกับน้ำตาลโตนด น้ำมะขามเปียก พริก มีรสหวาน โรยถั่วลิสงคั่ว ในปีนังจะเพิ่มน้ำผึ้ง นิยมกินกับผลไม้ เช่น ชมพู่ มะม่วงดิบ ฝรั่ง มันแกว สับปะรด ผักลวกเช่น ถั่วงอก ผักบุ้ง มันเทศต้ม เต้าหู้ทอด ในพิธีครรภ์เจ็ดเดือนในเกาะชวา จะมีรอเยาะเป็นอาหารสำคัญในพิธีและใช้เสี่ยงทายเพศทารก ถ้าหญิงมีครรภ์ชอบรอเยาะหวาน ทารกจะเป็นผู้หญิง ถ้าชอบรสเผ็ดจะเป็นผู้ชาย ในภาคใต้ของประเทศไทยมีอาหารชนิดเช่นกัน ในจังหวัดปัตตานีเรียกว่า รอเยาะ, สงขลาเรียกว่า เต้าขั้ว หรือ สลัดทะเลสาบ, สุราษฎร์ธานีเรียกว่า ผักบุ้งไต่ราว, ภูเก็ตเรียกว่า อูแช่, และสตูลเรียกว่า ปัสมอ.

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: ชมพู่แก้มแหม่มมะกอกฝรั่งอาหารมาเลเซียอาหารสิงคโปร์อาหารอินโดนีเซียอาหารไทยภาคใต้อาซีนันตะขบไทย

ชมพู่แก้มแหม่ม

'ผลชมพู่แก้มแหม่มผ่าครึ่ง ชมพู่แก้มแหม่ม เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae กิ่งก้านโค้งงอ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบเหนียวคล้ายหนัง มีจุดใสบนใบ ก้านใบใหญ่ ดอกดอกตามยอดและซอกใบของใบที่ร่วงไปแล้ว ดอกช่อ กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาว กลีบดอกสีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ผลคล้ายลูกแพร์ มีปลายของกลีบเลี้ยงที่โค้งเข้าข้างในติดที่ปลายผล ผลสีแดงอ่อนจนถึงขาว เนื้อสีขาวคล้ายฟองน้ำ ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแบนหรือกลม มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิยมปลูกไปทั้งภูมิภาค ในอินโดนีเซียนิยมนำไปทำโรยักหรือนำไปดองที่เรียกอาซีนัน เปลือกผลมีลักษณะคล้ายไขเคลือบ เนื้อค่อนข้างแห้ง มีกลิ่นหอม ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้ใบรักษาโรคผิวหนัง.

ดู รอเยาะและชมพู่แก้มแหม่ม

มะกอกฝรั่ง

มะกอกฝรั่ง, มะกอกหวาน หรือ มะกอกดง เป็นไม้ยืนต้นเขตร้อนขนาดกลาง ใบประกอบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน มีขนาดเล็ก ผลกลมรี สีเขียวเข้ม พอแก่สีจะอ่อนลง เนื้อมีรสมัน เปรียวอมหวาน ติดผลตลอดปี มีชื่อเรียกแตกต่างกันมากมาย เช่น พอมซิเทย์ (pomsitay) ในตรินิแดดและโตเบโก,Davidson, Alan, and Tom Jaine.

ดู รอเยาะและมะกอกฝรั่ง

อาหารมาเลเซีย

มะตะบะที่ขายริมถนนในมาเลเซีย อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก อิทธิพลหลักมาจากชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลจากชาวเปอรานากันและยูเรเซีย ชาวโอรังอัสลี และชนเผ่าต่าง ๆ ในซาราวะก์และซาบะฮ์ อาหารมาเลเซียจึงมีความหลากหลายมากโดยรวมทั้งการปรุงอาหารของมลายู จีน อินเดีย อินโดนีเซียโดยเฉพาะในเกาะบอร์เนียว และได้รับอิทธิพลในส่วนน้อยมาจากไทย โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ ทำให้อาหารมาเลเซียมีความหลากหลายทั้งรสชาติ วิธีการ และมีความซับซ้อนมาก.

ดู รอเยาะและอาหารมาเลเซีย

อาหารสิงคโปร์

้าวมันไก่แบบสิงคโปร์เป็นอาหารสิงคโปรที่ได้รับความนิยมมากและเป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติของสิงคโปร์ อาหารสิงคโปร์ เป็นตัวบ่งชี้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสิงคโปร์ ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย และได้มีปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมมานานนับศตวรรษ อาหารได้รับอิทธิพลจากชาวพื้นเมืองมลายู ชาวจีน อินโดนีเซีย เปอรานากัน วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งมาจากอังกฤษ และกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลโปรตุเกสซึ่งเรียกชาวคริสตัง อิทธิพลจากพื้นที่อื่นๆ เช่น ศรีลังกา ไทย ฟิลิปปินส์ และตะวันออกกลาง พบในอาหารพื้นเมืองเช่นกัน ในสิงคโปร์ อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการกำหนดเอกลักษณ์ของชาติและความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในสิงคโปร์ การพบปะและรับประทานอาหารระหว่างวัฒนธรรมเป็นเรื่องปกติ อาหารสิงคโปร์ได้รับการส่งเสริมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดเทศกาลอาหารสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคมเพื่อส่งเสริมอาหารสิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กที่มีประชากรหนาแน่นมาก ที่ดินเป็นทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงส่วนใหญ่นำเข้ามา แม้ว่าจะมีกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็กที่ปลูกผัก ผลไม้ หรือสัตว์ปีกและปลา เนื่องจากสิงคโปร์ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่สำคัญ จึงสามารถพบผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงทั่วโลกได้ที่นี.

ดู รอเยาะและอาหารสิงคโปร์

อาหารอินโดนีเซีย

ตัวอย่างของอาหารซุนดาหนึ่งมื้อ; ''อีกันบาการ์'' (ปลาย่าง), ''นาซีติมเบ็ล'' (ข้าวห่อใบตอง), ''อายัมโกเร็ง'' (ไก่ทอด), ''ซัมบัล'', ''เต็มเปทอด'' และเต้าหู้, และ ''ซายูร์อาเซ็ม''; ชามใส่น้ำและมะนาวคือโกโบกันใช้ล้างมือ สะเต๊ะในอินโดนีเซีย อาหารอินโดนีเซีย (Masakan Indonesia) เป็นอาหารทีมีความหลากหลายทางด้านรูปลักษณ์และสีสันเพราะประกอบด้วยประชากรจากเกาะต่าง ๆ ที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ 6,000 เกาะจากทั้งหมด 18,000 เก.

ดู รอเยาะและอาหารอินโดนีเซีย

อาหารไทยภาคใต้

อาหารไทยภาคใต้ เป็นอาหารไทยที่นิยมรับประทานในภาคใต้ของประเทศ โดยมีลักษณะเฉพาะตัวที่มีเครื่องเทศเป็นหลัก ซึ่งอาหารไทยในภาคใต้มีความหลากหลายไปตามกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ที่โดดเด่นคืออาหารของชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเชื้อสายมลายู และกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ต นอกจากนั้น อาหารในแถบทะเลอันดามัน อ่าวไทย และทะเลสาบสงขลาก็มีลักษณะเด่นเฉพาะกลุ่มเช่นกัน.

ดู รอเยาะและอาหารไทยภาคใต้

อาซีนัน

อาซีนัน โบฆอร์ อาซีนัน (Asinan) เป็นผักดองในน้ำเกลือหรือน้ำส้มสายชู ทำจากผักหรือผลไม้ ที่เป็นที่นิยมทั่วอินโดนีเซีย คำว่าอาซีนันในภาษาอินโดนีเซียหมายถึงเค็ม ซึ่งหมายถึงกระบวนการทำที่นำผักลงแช่ในน้ำเกลือ อาซีนันมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรยัก เพียงแต่โรยักนั้นรับประทานสด ส่วนอาซีนันเป็นการถนอมอาหาร ในอินโดนีเซียมีอาซีนันหลายแบบที่เป็นที่นิยมได้แก.

ดู รอเยาะและอาซีนัน

ตะขบไทย

ตะขบไทย เป็นพืชในวงศ์ Flacourtiaceae เป็นไม้ยืนต้นนาดเล็ก ลำต้นอ่อนมีหนามแข็ง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบอ่อนสีแดงแกมน้ำตาล ใบห้อยลง ขอบใบมีรอยหยักหยาบๆ ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผลสดมีเนื้อนุ่ม สีเขียวอ่อน สีชมพู หรือสีเขียวอมม่วง เนื้อสีขาว ฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว เมล็ดแบน กระจายพันธุ์ทางตอนล่างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็ยไม้หายากในหมู่เกาะโมลุกกะและเกาะนิวกินี มีปลูกในไทย อินโดจีน และอินเดีย ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้สด ใช้ทำโรยัก ดอง หรือทำแยม ใบอ่อนรับประทานเป็นผักสด ผลดิบใช้แก้ท้องเสีย น้ำคั้นจากใบใช้รักษาอาการอักเสบของเปลือกตา เนื้อไม้แข็งใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้าน ผลตะขบไท.

ดู รอเยาะและตะขบไทย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรยัก