โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รหัสคิวอาร์

ดัชนี รหัสคิวอาร์

รหัสคิวอาร์เก็บข้อมูลยูอาร์แอลของหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผนังอาคารแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น แสดงภาพรหัสคิวอาร์สำหรับการโฆษณา รหัสคิวอาร์ (QR Code ย่อจาก Quick Response Code) หรือ คิวอาร์โค้ด เป็นเครื่องหมายการค้าของบาร์โค้ดเมทริกซ์ (หรือบาร์โค้ดสองมิติ) เดิมออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในญี่ปุ่น บาร์โค้ดเป็นป้ายสำหรับให้เครื่องอ่านด้วยแสงที่บรรจุข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของที่ตัวรหัสติดอยู่ รหัสคิวอาร์มีมาตรฐานของหลักการเข้ารหัส 4 แบบ (ตัวเลข อักขระอักษรเลข ไบต์/เลขฐานสอง และคันจิ) สำหรับเก็บข้อมูลดิบ รหัสคิวอาร์ยังเป็นที่นิยมนอกเหนือจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากความสามารถในการอ่านเร็วและพื้นที่เก็บข้อมูลที่มากกว่าเมื่อเทียบกับบาร์โค้ดรหัสผลิตภัณฑ์สากล รหัสคิวอาร์นำมาใช้ในการตามรอยผลิตภัณฑ์ การระบุสิ่งของ การระบุเวลา การจัดการเอกสาร และการตลาดทั่วไป รหัสคิวอาร์ประกอบด้วยมอดูลสีดำ (จุดสี่เหลี่ยม) จัดวางในกริดบนพื้นหลังสีขาว ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องมืออ่านภาพ (เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องสแกน เป็นต้น) และประมวลผลด้วยกระบวนการแก้ไขข้อผิดพลาดรี้ด-โซโลมอน จนกระทั่งภาพถูกแปลความหมายอย่างเหมาะสม และถอดออกมาจากรหัสที่นำเสนอเป็นภาพในแนวตั้งและแนวนอนจนได้ข้อมูลที่ต้องการ.

5 ความสัมพันธ์: บาร์โค้ดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชวีแชท (โปรแกรมประยุกต์)สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยหนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้

บาร์โค้ด

ำว่า "''Wikipedia''" เข้ารหัสแบบ Code 128-B บาร์โค้ด หรือ รหัสแท่ง (barcode) เป็นเครื่องหมายแทนข้อมูลชนิดหนึ่งที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้ด้วยแสง (optical machine-readable) ซึ่งข้อมูลนั้นมักเกี่ยวข้องกับวัตถุที่มันติดอยู่ บาร์โค้ดโดยแรกเริ่มใช้รูปแบบ "บาร์" หรือ "แท่ง" คือเส้นขนานหลาย ๆ เส้นที่มีความหนาและช่องไฟต่าง ๆ วางเรียงกันอยู่อย่างมีกฎเกณฑ์ ซึ่งรูปแบบนี้อาจเรียกว่า เชิงเส้น หรือ หนึ่งมิติ (1D) ก็ได้ เวลาต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นจุด สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม และรูปแบบทางเรขาคณิตอื่น ๆ ใน สองมิติ (2D) ถึงแม้ระบบสองมิตินี้ใช้สัญลักษณ์ที่หลากหลาย โดยรวมก็ยังคงเรียกว่าบาร์โค้ดอยู่เช่นเดิม บาร์โค้ดดั้งเดิมอ่านด้วยเครื่องกราดภาพด้วยแสงชนิดพิเศษที่เรียกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด แต่ต่อมาเครื่องกราดภาพชนิดอื่นและซอฟต์แวร์แปลความหมายก็มีให้ใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะชนิดอยากที่ที่กราดภาพได้ และสมาร์ตโฟน บาร์โค้ดถูกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อติดป้ายกำกับรถรางแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงพาณิชย์ จนกระทั่งระบบ ณ จุดขายอัตโนมัติในซูเปอร์มาร์เก็ตได้นำบาร์โค้ดไปใช้ ซึ่งเป็นงานหนึ่งที่ทำให้บาร์โค้ดแพร่หลายไปเกือบทั่วโลก การใช้งานบาร์โค้ดก็แพร่กระจายไปยังงานอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับการระบุและการจับข้อมูลอัตโนมัติ (automatic identification and data capture: AIDC) บาร์โค้ดสมัยใหม่ในรูปแบบรหัสผลิตภัณฑ์สากล (Universal Product Code: UPC) อันแรกสุดที่ถูกอ่าน คือบาร์โค้ดที่ติดอยู่บนห่อหมากฝรั่งริกลีย์เมื่อเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: รหัสคิวอาร์และบาร์โค้ด · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม..

ใหม่!!: รหัสคิวอาร์และพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

วีแชท (โปรแกรมประยุกต์)

วีแชท (WeChat) หรือในจีนเรียก Weixin เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์ที่สามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการ Symbian,BlackBerry OS,ไอโอเอส, แอนดรอยด์, วินโดวส์โฟน และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ด้วยความที่มีลูกเล่นมากมาย สามารถแชท ส่งรูป ส่งไอคอน ไฟล์เสียง ได้อย่างรวดเร็ว และการคุยแบบเห็นหน้า หรือที่เรียกว่า วีดีโอคอล ทำให้มีผู้ใช้งานแอพนี้เป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: รหัสคิวอาร์และวีแชท (โปรแกรมประยุกต์) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

นีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: เอ็นบีที; อังกฤษ: The National Broadcasting Services of Thailand) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล มีสถานะเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ กอบศักดิ์ ภูตระกูล) และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ นางพัชราภรณ์ อินทรียงค์) เป็นผู้กำกับดูแล โดยมีการเปลี่ยนชื่อ พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานีฯ เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีฯ ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไปในวันที่ใช้ชื่อเอ็นบีที และได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯ ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: รหัสคิวอาร์และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้

ตัวอย่างหน้าหนังสือเดินทางแบบอ่านด้วยเครื่องได้ หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้ (Machine-readable passport) เป็นหนังสือเดินทางที่มีการพิมพ์แถบข้อมูลสรุปเกี่ยวกับตัวผู้ถือ เลขที่เอกสาร วันที่หมดอายุ สัญชาติ วันเกิด และรายละเอียดอื่นตามที่รัฐผู้ออกจะกำหนดไว้ มาตรฐานของหนังสือเดินทาง วิธีการพิมพ์ คุณสมบัติความปลอดภัยภาคบังคับ ตลอดจนข้อบังคับอื่นระบุไว้ในเอกสารหมายเลข 9303 ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตอนที่ 3 และ 4 รวมถึงมาตรฐาน ISO/IEC 7501-1:2008 ทั้งนี้ เพื่อให้การนำเข้าข้่อมูลเกี่ยวกับผู้เดินทางทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ตรวจสอบบุคคลห้ามเข้าเมืองและบุคคลผู้มีหมายจับหรือหมายเรียกได้สะดวก การอ่านแถบข้อมูลกระทำได้ด้วยตาเปล่าหรือจะใช้เครื่องอ่านได้ทั้งสองวิธี ในประเทศไทย หนังสือเดินทางชนิดนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 โดยให้โรงพิมพ์จันวาณิชย์เป็นผู้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน โดยก่อนปี..

ใหม่!!: รหัสคิวอาร์และหนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

QRQR CodeQR codeคิวอาร์โค้ด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »