โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุคเฮอัง

ดัชนี ยุคเฮอัง

อัง อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว (平安京 Heian-kyou) หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัง (平安,Heian) แปลว่า ความสงบสันต.

104 ความสัมพันธ์: ฟุกุฮะระเกียวฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะฟุจิวะระ โนะ มิชิโนะริฟุจิวะระ โนะ อะกิมิซุฟุจิวะระ โนะ อะกิซุเอะฟุจิวะระ โนะ ทะดะมิชิฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะฟุจิวะระ โนะ โมะโระซะเนะฟุจิวะระ โนะ โมะโตะสึเนะฟุจิวะระ โนะ โยะชิฟุซะฟุจิวะระ โนะ โยะชิมิฟุจิวะระ โนะ โยะริมิชิฟุจิวะระ โนะ โยะรินะงะฟุจิวะระ โนะ โคะเระชิกะพระราชวังหลวงเฮอังพระตำหนักคะสึระกบฏปีโฮเง็งกบฏปีเฮจิการล้อมพระตำหนักชิระกะวะการว่าราชการในวัดการสอบขุนนางกิโมโนภาษาญี่ปุ่นโบราณมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายมันโยงะนะมินะโมะโตะ โนะ คิโยะฮิเมะมินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะมินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะยุมิยุคคะมะกุระยูงะโอะราชสำนักเกียวโตรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรในปี พ.ศ. 1543รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่นรายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่นวัดนันเซ็นวัดโจรุริวัดไดโงะวัดเอ็นเรียะกุวัดเท็นรีววากิ ยามาโตะศาลเจ้าฟุชิมิอินะริศาลเจ้ายะซะกะศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นสมเด็จพระจักรพรรดิเฮเซสวนเซ็นญี่ปุ่นสาวปากฉีกสงครามโกซะเนะสงครามโอนิน...สงครามเก็มเปอาราเระอิมปุมงอิง โนะ ทะยูอุจิจูโจฮะนะโนะเอ็งฮิคารุเซียนโกะฮินะมะสึริจักรพรรดิมุระกะมิจักรพรรดิอันโตะกุจังหวัดชิงะทรงเจ้าหญิงทะกะชินะ โนะ ทะกะโกะคะตะกะนะคันจิคิมิงะโยะคนจะกุโมะโนะงะตะริชูตระกูลฟูจิวาระตระกูลมินะโมะโตะตระกูลอาชิกางะตระกูลทะเกะดะตำนานเก็นจิซามูไรซุมะประวัติศาสตร์ชาในญี่ปุ่นประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 794นะกะสึกะซะนิตตะ โยะชิซะดะนินจาแคว้นอิซุโชกุนโมะมิจิโนะกะโรนิงโอะนิงะวะระโอดะ โนบูนางะโอนิงิริโอเซจิโทะริอิโคเบะไทระ โนะ ชิเงะโมะริไทระ โนะ คิโยะโมะริไทระ โนะ โทะกิโกะไทระ โนะ โทะกุโกะไดโจไดจิงไดโจเท็นโนเพลงสรรเสริญพระบารมีเกียวโต (นคร)เจ้าชายชูกะกุเจ้าหญิงชิกิชิเจ้าหญิงคิชิเณรน้อยเจ้าปัญญาเซ โชนะงนเซ็สโซและคัมปะกุ ขยายดัชนี (54 มากกว่า) »

ฟุกุฮะระเกียว

ก้อนหินที่แสดงถึงที่ตั้งของฟุกุฮะระเกียว ฟุกุฮะระเกียว อดีตเมืองหลวงโบราณของญี่ปุ่นใน ยุคเฮอัง สร้างขึ้นโดย ไทระ โนะ คิโยะโมะริ ขุนนางที่กำลังเรืองอำนาจในราชสำนักขณะนั้นที่ จังหวัดเฮียวโงะ ในปัจจุบันเมื่อเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุกุฮะระเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ

ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ (พ.ศ. 1496 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 1538) ขุนนางผู้ใหญ่ใน ยุคเฮอัง ซึ่งดำรงตำแหน่ง เซ็สโซและคัมปะกุ ในรัชสมัย จักรพรรดิอิชิโจ นอกจากนี้เขายังเป็นพระสัสสุระ (พ่อตา) ของจักรพรรดิอิชิโจอีกด้วยเนื่องจากมิชิตะกะได้ถวายตัว ฟุจิวะระ โนะ เทชิ ผู้เป็นธิดาคนโตให้เข้ามาเป็นจักรพรรดินีทำให้ความสัมพันธ์ของราชวงศ์และ ตระกูลฟุจิวะระ แน่นแฟ้นขึ้น แต่การกระทำครั้งนี้สร้างความไม่พอใจให้กับ ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ ผู้เป็นน้องชายที่ต้องการส่งบุตรสาวให้มาเป็นจักรพรรดินีและชายาขององค์จักรพรรดิเช่นกัน หมวดหมู่:ขุนนางญี่ปุ่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ

ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ (ค.ศ. 966 - ค.ศ. 1028) หรือ มิชินะงะแห่งฟุชิวะระ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระจักรพรรดิ (เซ็สโซ และ คัมปะกุ) ในยุคเฮอัง ถือว่าเป็นผู้สำเร็จราชการที่มีอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เป็นบิดาของจักรพรรดินีถึงสามพระองค์และเป็นพระอัยกา (ตา) ของจักรพรรดิสามพระองค์เช่นกัน.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ มิชิโนะริ

ฟุจิวะระ โนะ มิชิโนะริ (1106 – 23 มกราคม 1160) รู้จักกันในชื่อ ชินเซ นักปราชญ์ ลัทธิขงจื๊อ และ พระภิกษุ ในช่วงปลาย ยุคเฮอัง เขาเป็นหัวหน้าคณะที่ปรึกษาของ จักรพรรดินิโจ และเป็นหนึ่งในพันธมิตรของ ไทระ โนะ คิโยะโมะริ มิชิโนะริหรือพระภิกษุชินเซถูกสังหารโดย ฟุจิวะระ โนะ โนะบุโยะริ และ มินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะ ในเหตุการณ์ การล้อมพระตำหนักซังโจ เมื่อวันที่ 23 มกราคม..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ มิชิโนะริ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ อะกิมิซุ

ฟุจิวะระ โนะ อะกิมิซุ (藤原顕光) (ค.ศ. 944- ค.ศ. 1021) เป็นสมาชิกของตระกูลฟุจิวะระ และเป็นขุนนางของญี่ปุ่นในยุคเฮอัง โดยดำรงตำแหน่ง เสนาบดีฝ่ายซ้าย บิดาของเขาคือ ฟุจิวะระ โนะ คะเนะมิชิ อะกิมิซุ เป็นที่รู้จักในฐานะบิดา ของเจ้าหญิงอินชิ พระชายาใน เจ้าชายอะซุกิระ (敦明親王) ภายหลังขึ้นเป็น จักรพรรดิโคะอิชิโระ หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ หมวดหมู่:ขุนนางญี่ปุ่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ อะกิมิซุ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ อะกิซุเอะ

ฟุจิวะระ โนะ อาคิสุอิ (ญ๊ปุ่น:藤原顕季) (ค.ศ. 1055 – 27 กันยายน ค.ศ. 1123) เป็นสมาชิกของตระกูลฟุจิวะระ และเป็นขุนนางในยุคเฮอัง เขาเป็นบุตรชายของ ฟุจิวะระ โนะ ทาคาชิ เคอิ (藤原隆経) อาคิอิสุ เป็นคนสนิทใน สมเด็จพระจักรพรรดิชิรากาวะ เพราะมารดาของเขาเป็น พระพี่เลี้ยงในพระจักรพรรดิ เขามีบุตรชายหนึ่งคนชื่อ ฟุจิวะระ โนะ อาคิสุเนะ ในสมัยของอาคิสุอิ อำนาจของตระกูลฟุจิวะระเริ่มอ่อนแอ อันเนื่องจากเกิดปัญหาในทางการเมือง หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง หมวดหมู่:ขุนนางญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ อะกิซุเอะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ ทะดะมิชิ

ฟุจิวะระ โนะ ทะดะมิชิ (15 มีนาคม 1640 - 13 มีนาคม 1707) ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในช่วงปลาย ยุคเฮอัง เป็นบุตรชายคนโตของ คัมปะกุ ฟุจิวะระ โนะ ทะดะซะเนะ และเป็นหนึ่งในสมาชิกของ ตระกูลฟุจิวะระ ตระกูลที่ทรงอำนาจมากที่สุดในราชสำนักขณะนั้น ในสงคราม กบฏปีโฮเง็ง เมื่อ..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ ทะดะมิชิ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะ

ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะ (Fujiwara no Kaneie; 1472–26 กรกฎาคม 1533) ขุนนางผู้ใหญ่แห่ง ยุคเฮอัง และเป็นบิดาของ ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ และ ฟุจิวะระ โนะ มิชินะง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ โมะโระซะเนะ

ฟุจิวะระ โนะ โมะโระซะเนะ (1042 – 14 มีนาคม 1101) ผู้สำเร็จราชการของญี่ปุ่นและผู้นำ ตระกูลฟุจิวะระ ระหว่างปลาย ยุคเฮอัง เขาเป็นที่รู้จักในชื่อ เคียวโงกุ โดะโนะ หรือ โกะ-อุจิ โดะโนะ เขาดำรงตำแหน่ง เซ็สโซและคัมปะกุ เป็นเวลา 20 ปีโดยดำรงตำแหน่ง เซ็สโซ จาก..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ โมะโระซะเนะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ โมะโตะสึเนะ

ฟุจิวะระ โนะ โมะโตะสึเนะ (Fujiwara no Mototsune, 836 – 24 กุมภาพันธ์ 891) รู้จักกันในชื่อ โฮะริกะวะ ไดจิง รัฐบุรุษ ข้าราชสำนักและขุนนางชาวญี่ปุ่นในช่วงต้น ยุคเฮอัง เมื่อตอนที่เกิดเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ ฟุจิวะระ โนะ นะงะระ แต่ได้ถูกยกเป็นบุตรบุญธรรมของอาผู้ทรงอำนาจทางการเมืองอย่าง ฟุจิวะระ โนะ โยะชิฟุซะ ที่ไร้ทายาทซึ่งโมะโตะสึเนะได้เดินตามรอยโยะชิฟุซะในการเข้ามามีอำนาจในราชสำนักและได้เป็นผู้สำเร็จราชการในจักรพรรดิถึง 3 พระองค์ หมวดหมู่:ขุนนางญี่ปุ่น หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ โมะโตะสึเนะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ โยะชิฟุซะ

ฟุจิวะระ โนะ โยะชิฟุซะ (Fujiwara no Yoshifusa, 804 – 7 ตุลาคม 872) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โซะเมะโดะโนะ โนะ ไดจิง รัฐบุรุษ ข้าราชสำนัก และนักการเมืองชาวญี่ปุ่นในระหว่าง ยุคเฮอัง เมื่อหลานชายของเขาได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิเซวะ พระองค์ก็ได้แต่งตั้งโยะชิฟุซะซึ่งเป็นพระอัยกา (ตา) เป็น เซ็สโซ ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ยังเยาว์อยู่ซึ่งเขานับเป็นเซ็สโซคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์และนับเป็นผู้สำเร็จราชการคนแรกที่มาจาก ตระกูลฟุจิวะระ หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง หมวดหมู่:ขุนนางญี่ปุ่น หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ โยะชิฟุซะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ โยะชิมิ

ฟุจิวะระ โนะ โยะชิมิ (813 – 9 พฤศจิกายน 867) ชนชั้นสูงและขุนนางชาวญี่ปุ่นในช่วงต้น ยุคเฮอัง เขาเป็นบุตรชายคนที่ 5 ของ ซะไดจิง ฟุจิวะระ โนะ ฟุยุสึงุ แห่งตระกูล ฮกเกะ (ฟุจิวะระ) และเป็นพระมาตุลา (น้า) ของ จักรพรรดิมนโตะกุ จักรพรรดิองค์ที่ 55 หมวดหมู่:ขุนนางญี่ปุ่น หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ โยะชิมิ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ โยะริมิชิ

ลาหงส์ในวัดเบียวโด ฟุจิวะระ โนะ โยะริมิชิ (1535 – 2 มีนาคม 1617) ขุนนางที่เรืองอำนาจใน ยุคเฮอัง เป็นบุตรชายของ ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ ที่เกิดแต่ มินะโมะโตะ โนะ ริงชิ ได้สืบทอดตำแหน่ง เซ็สโซ ต่อจากบิดาเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ โยะริมิชิ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ โยะรินะงะ

ฟุจิวะระ โนะ โยะรินะงะ (พฤษภาคม 1663 – 1 สิงหาคม 1699) ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในช่วงปลาย ยุคเฮอัง ในตำแหน่ง อุไดจิง หรือ มหาเสนาบดีฝ่ายขวา และเป็นหนึ่งในสมาชิกของ ตระกูลฟุจิวะระ ตระกูลที่ทรงอำนาจมากที่สุดในราชสำนักขณะนั้น โยะรินะงะเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ โยะรินะงะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ โคะเระชิกะ

ฟุจิวะระ โนะ โคะเระชิกะ (974 – 14 กุมภาพันธ์ 1010) บุตรชายคนที่ 2 ของ เซ็สโซ ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ เป็น คุเงียว หรือชนชั้นสูงและขุนนางในช่วง ยุคเฮอัง มารดาของเขาคือ ทะกะชินะ โนะ ทะกะโกะ หมวดหมู่:ขุนนางญี่ปุ่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฟุจิวะระ โนะ โคะเระชิกะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังหลวงเฮอัง

ระที่นั่งไดโงะกุที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว พระราชวังหลวงเฮอัง (Heian Palace) เคยเป็นที่ประทับของจักรพรรดิญี่ปุ่นช่วงปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและพระราชวังหลวงเฮอัง · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักคะสึระ

right พระตำหนักคะสึระ (Katsura Imperial Villa; 桂離宮; โรมะจิ: Katsura Rikyū; คะสึระ ริเคียว) เป็นที่ประทับพร้อมสวนและสิ่งปลูกสร้างภายนอกอาคาร ในบริเวณชานเมืองของเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น (อยู่ในเขต นิชิเกียว) อีกทั้งพระตำหนักคะสึระเป็นหนึ่งในสมบัติวัฒนธรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีความสำคัญอย่างมาก สวนในพื้นที่นี้จัดเป็นผลงานชิ้นเอกของการจัดสวนแบบญี่ปุ่น และเรือนอาคารที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จอย่างสูงของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ตัววังนั้นประกอบด้วยโชะอิน (ห้องเขียน), เรือนชงชา และสวนสำหรับการเดินเล่น ทั้งนี้ยังมีหน้าต่างอันล้ำค่าในเรือนพักของเจ้าชายในยุค เอโดะโดยดั้งเดิมตัววังนั้นเคยเป็นของเจ้าชายแห่งตระกูล ฮะจิโจ โนะ มิยะ ปัจจุบันนั้นอยู่ภายใต้การดำเนินการของกรม Imperial Household Agency ซึ่งรับผู้เยี่ยมเยียนผ่านการนัดล่วงหน้.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและพระตำหนักคะสึระ · ดูเพิ่มเติม »

กบฏปีโฮเง็ง

กบฏปีโฮเง็ง (Hōgen Rebellion;; 28 กรกฎาคม – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1156) เป็นสงครามกลางเมือง ช่วงสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งเรื่องสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะกับอดีตจักรพรรดิซุโตะกุ หลังจากเสร็จสิ้นสงครามที่ยาวนานถึง 20 วันปรากฎว่าฝ่ายอดีตจักรพรรดิซุโตะกุเป็นฝ่ายพ่ายแพ้โยะรินะงะตายในที่รบส่วนทะเมะโยะชิและทะดะมะซะถูกประหารชีวิตทางด้านทะเมะโตะโมะบุตรชายของทะเมะโยะชิและน้องชายของโยะชิโตะโมะหนีรอดไปได้ส่วนอดีตจักรพรรดิและเชื้อพระวงศ์ถูกเนรเทศไปจังหวัดคะงะวะ และสวรรคตที่นั่น และจากสงครามครั้งนี้ทำให้โยะชิโตะโมะได้ก้าวขึ้นมาเป็นประมุขคนใหม่ของตระกูลมินะโมะโตะสายเซวะเก็นจิและทำให้ตระกูลไทระและมินะโมะโตะก้าวขึ้นมาเป็นตระกูลที่มีอำนาจในเฮอัง หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและกบฏปีโฮเง็ง · ดูเพิ่มเติม »

กบฏปีเฮจิ

กบฏปีเฮจิ (Heiji Rebellion) เป็นสงครามกลางเมือง ช่วงสั้น ๆ ในยุคเฮอัง เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างสองตระกูลใหญ่ในเฮอัง ระหว่างไทระและมินะโมะโตะ หลังจากเสร็จสิ้นสงครามตระกูลมินะโมะโตะพ่ายแพ้ต่อตระกูลไทระโยะชิโตะโมะถูกสังหารโดยข้ารับใช้ที่จงรักภักดีส่วนบุตรชายอีก 2 คนของโยะชิโตะโมะถูกสังหารและโยะริโตะโมะถูกเนรเทศไปจังหวัดอิซุทำให้ตระกูลไทระได้เข้ามามีอำนาจในราชสำนักแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและกบฏปีเฮจิ · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมพระตำหนักชิระกะวะ

การล้อมพระตำหนักชิระกะวะ (Siege of Shirakawa-den) การต่อสู้ครั้งสำคัญในช่วง กบฏปีโฮเง็ง ราวเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและการล้อมพระตำหนักชิระกะวะ · ดูเพิ่มเติม »

การว่าราชการในวัด

การว่าราชการในวัด (院政 insei; cloistered rule) เป็นการปกครองแผ่นดินญี่ปุ่นรูปแบบหนึ่งในยุคเฮอัง ซึ่งจักรพรรดิญี่ปุ่นสละราชบัลลังก์แล้วแต่ยังคงพระราชอำนาจและอิทธิพลไว้อยู่ จักรพรรดิที่สละราชย์เหล่านี้มักเสด็จไปประทับในวัด แต่ยังคงควบคุมราชการต่อไปเพื่อคานอำนาจกับผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิพระองค์ใหม่และเหล่าแม่ทัพนายกอง ส่วนจักรพรรดิพระองค์ใหม่ก็ทำหน้าที่แต่ในทางประเพณีหรือทางการNussbaum, Louis-Frédéric.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและการว่าราชการในวัด · ดูเพิ่มเติม »

การสอบขุนนาง

การสอบขุนนาง (imperial examination) เป็นระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการพลเรือนในประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อสอบบรรจุข้าราชการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับระบบราชการของรัฐ ในการสอบใช้ข้อสอบแบบวัตถุวิสัย (objective) เพื่อประเมินการได้รับความรู้และคุณธรรมของผู้เข้าสอบ ผู้สอบได้จะได้รับวุฒิ จิ้นชื่อ แปลว่า "บัณฑิตชั้นสูง" (advanced scholar) (ซึ่งอาจเทียบได้กับปริญญา ดุษฎีบัณฑิต หรือปริญญาเอกในระบบการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งถือเป็นชั้นสูงสุด) รวมถึงปริญญาชั้นอื่น ๆ แล้วจะได้รับการประเมินเพื่อบรรจุเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ได้รับวุฒิจิ้นซี่อในการสอบขุนนางนั้นจะได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการระดับสูงแห่งราชสำนัก ตำแหน่งที่ได้รับจะเรียงตามลำดับผลคะแนนที่สอบได้ ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงกว่าจะได้รับตำแหน่งที่ดีกว่า นอกจากนั้นองค์จักรพรรดิหรือจักรพรรดินีจะทรงให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้เข้าสอบที่ได้คะแนนสูงสุด ด้วยพื้นฐานจากปรัชญาลัทธิขงจื้อ การสอบขุนนางนี้โดยทฤษฎีแล้วมุ่งทดสอบและคัดเลือกบุคคลด้วยคุณธรรม จึงมีอิทธิพลต่อประเทศจีนทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีส่วนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการคานอำนาจในช่วงราชวงศ์ถัง ราชวงศ์โจวของพระนางบูเช็กเทียน (Wu Zetian) และราชวงศ์ซ่ง ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังส่งผลเป็นการหลอมรวมโครงสร้างทางสังคมไว้เป็นเวลานาน อนึ่ง มีหลายครั้งที่การสอบทำให้อภิชนบางกลุ่มถูกแทนที่ด้วยบุคคลจากชั้นรากหญ้า หลายดินแดนในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศเวียดนาม ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และรีวกีว (Ryūkyū) รับระบบการสอบนี้มาใช้เพื่อคัดเลือกบุคคลระดับหัวกะทิ เพื่อรักษาเป้าหมายทางอุดมคติและทรัพยากร กับทั้งเพื่อส่งเสริมวรรณกรรมและการเล่าเรียน เนื่องจากการจัดการสอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบทะเบียนหลวง วันที่ได้รับการประสาทวุฒิจิ้นชื่อ จึงมักเป็นข้อมูลที่ชัดเจนส่วนหนึ่งที่ระบุไว้ในชีวประวัติบุคคลสำคัญสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ต่อ ๆ มา ในประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและการสอบขุนนาง · ดูเพิ่มเติม »

กิโมโน

วาดกิโมโน กิโมโน เป็นชุดแต่งกายโบราณของประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและกิโมโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่นโบราณ

ษาญี่ปุ่นโบราณ เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1337 - 1728 (ค.ศ. 794 - 1185) หรือที่เรียกว่ายุคเฮอัง โดยรับสืบทอดมาจากภาษาญี่ปุ่นยุคเริ่มแรกในยุคนาร.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและภาษาญี่ปุ่นโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย

มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย หรือ ซะไดจิง เป็นตำแหน่งขุนนางบริหารในราชสำนักของญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคนะระและยุคเฮอัง ตำแหน่งซะไดจิงตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายไทโฮเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและมหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย · ดูเพิ่มเติม »

มันโยงะนะ

มันโยงะนะ เป็นระบบการเขียนในสมัยโบราณของภาษาญี่ปุ่นโดยอักษรจีนหรือคันจิ ช่วงเวลาที่เริ่มใช้ระบบการเขียนนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชื่อ "มันโยงะนะ" นี้ ได้จากชื่อหนังสือ “มันโยชู” อันเป็นวรรณกรรมรวมบทกวีในยุคนาระที่เขียนด้วยระบบมันโยงะน.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและมันโยงะนะ · ดูเพิ่มเติม »

มินะโมะโตะ โนะ คิโยะฮิเมะ

มินะโมะโตะ โนะ คิโยะฮิเมะ (810 – 25 เดือน 6 ไซโก ที่ 3 (29 กรกฎาคม ค.ศ. 856) พระราชธิดาใน จักรพรรดิซะงะ ภรรยาเอกของ ฟุจิวะระ โนะ โยะชิฟุซะ ขุนนางผู้ใหญ่ใน ยุคเฮอัง และพระอัยยิกาของ จักรพรรดิเซวะ หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและมินะโมะโตะ โนะ คิโยะฮิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

มินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ

"โยะชิสึเนะและเบ็งเกใต้ต้นซากุระ" โดย โยะชิโตะชิ สึคิโอะกะ ค.ศ. 1885 มินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ (みなもとの よしつね Minamoto no Yoshitsune หรือ 源義経 Minamoto Yoshitsune ค.ศ. 1159 - 15 มิถุนายน ค.ศ. 1189) หรือ โยะชิสึเนะแห่งมินะโมะโตะ ผู้พันของกลุ่มนักรบมินะโมะโตะในญี่ปุ่น ในช่วงระหว่างปลายยุคเฮอังถึงต้นยุคคะมะกุระ เขาเป็นหนึ่งในตำนานของผู้กล้าของญี่ปุ่น ซึ่งมักจะมีการกล่าวถึงในทางวรรณกรรม และทางภาพยนตร.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและมินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ · ดูเพิ่มเติม »

มินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะ

มินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะ (1123-11 กุมภาพันธ์ 1160) เป็นซะมุไรคนสำคัญในช่วงปลายยุค เฮอัง และเป็นบิดาของ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ โชกุนคนแรกของญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและมินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุมิ

มิ เป็นธนูชนิดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยปีกธนูที่ยาวกว่าเรียกว่า ไดกีว (daikyū, 大弓) และปีกธนูที่สั้นกว่า ฮังกีว (hankyū, 半弓) ยุมิเป็นอาวุธที่สำคัญมากของซามูไรในช่วงสงครามระหว่างไดเมียวของแต่ละแคว้นของญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและยุมิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคคะมะกุระ

มะกุระ หรือ อ่านแบบไทย คะมะกุระ ตรงกับปีค.ศ. 1185-ค.ศ. 1333 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มต้นการปกครองระบบศักดินาโดยจักรพรรดิเป็นผู้มีอำนาจการปกครอง แต่เพียงในนามรัฐบาลทหารที่เรียกว่า คะมะกุระ บะกุฟุ ซึ่งมีโชกุนเป็นหัวหน้าปกครองประเทศในนามจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหาร มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนแรกจัดตั้งรัฐบาลทหารมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองคะมะกุระ ส่วนจักรพรรดิประทับที่เมืองเฮอัง ในยุคคะมะกุระญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากกองทัพมองโกลภายใต้การนำของ กุบไลข่าน ในสมัย ราชวงศ์หยวน ซึ่งโดนโจมตีครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและยุคคะมะกุระ · ดูเพิ่มเติม »

ยูงะโอะ

มพ์ ''วิญญาณยูงะโอะ''ผลงานของ ซึคิโอะกะ โยชิโทชิ, 1886. จากภาพพิมพ์ชุด the 100 Phases of the Moon series ดอกยูงะโอะ ยูงะโอะ - พักตราแห่งสนธยา (夕顔, Yūgao) "Evening Faces" "Twilight Beauty" เป็นบทที่ 4 ของ ตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและยูงะโอะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชสำนักเกียวโต

หน้า พระราชวังหลวงเคียวโตะ ราชสำนักเคียวโตะ (Imperial Court in Kyoto) ราชสำนักที่ปกครอง ประเทศญี่ปุ่น มาตั้งแต่ ค.ศ. 794 หรือใน ยุคเฮอัง จนกระทั่งถึง ยุคเมจิ ที่ จักรพรรดิเมจิ ทรงได้ย้ายเมืองหลวงและราชสำนักไปยัง เอะโดะ หรือ โตเกียว ในปัจจุบันเมื่อปี ค.ศ. 1868 ในช่วงปลาย ยุคเฮอัง ราวปี ค.ศ. 1192 มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ จากตระกูล มินะโมะโตะ สามารถสถาปนาตนเองขึ้นเป็นโชกุนคนแรกของญี่ปุ่นพร้อมกับย้ายศูนย์กลางอำนาจจาก เฮอัง หรือ เคียวโตะ ในปัจจุบันไปยัง คะมะกุระ ทำให้ยุคสมัยนั้นเรียกกันว่า ยุคคะมะกุระ ทำให้อำนาจทั้งหมดได้ย้ายไปอยู่ในมือของโชกุนส่วนองค์จักรพรรดิจึงมีพระราชสถานะเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ของประเทศเท่านั้น จนกระทั่ง โทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ โชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่นได้ตัดสินใจถวายคืนพระราชอำนาจแก่จักรพรรดิเมจิเมื่อปี ค.ศ. 1868 ทำให้องค์จักรพรรดิทรงกลับมามีพระราชอำนาจอีกครั้งหลังจากนั้นไม่กี่เดือนจักรพรรดิเมจิก็โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองหลวงไปยัง เอะโดะ หรือโตเกียวในปัจจุบันทำให้การปกครองที่เฮอังหรือเคียวโตะที่มีมานานถึง 1074 ปีต้องสิ้นสุดลง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและราชสำนักเกียวโต · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรในปี พ.ศ. 1543

นี้คือรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรในปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรในปี พ.ศ. 1543 · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่น

ักรพรรดินีญี่ปุ่น คือพระอิสริยยศของอิสตรีผู้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น และอาจหมายถึงจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิญี่ปุ่น โดยจักรพรรดินีอัครมเหสีในรัชกาลปัจจุบันคือจักรพรรดินีมิชิโกะในจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและรายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

วัดนันเซ็น

วัดนันเซ็น หรือ วัดเซ็นริน เป็นวัดพุทธลัทธิเซน ตั้งอยู่ในนครเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น สร้างขึ้นในช่วงกลางยุคเฮอังตามบัญชาของอดีตจักรพรรดิคะเมะยะมะ แล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและวัดนันเซ็น · ดูเพิ่มเติม »

วัดโจรุริ

วัดโจรุริ เป็นวัดของพุทธศาสนา ตั้งอยู่ระหว่างนครเคียวโตะและนะระ สร้างขึ้นเมื่อปี 1047 โดยพระเอ็นชิน ภิกษุผู้ทรงอิทธิพลในยุคเฮอัง วัดนี้มีชื่อเสียงไปทั่วโลกเนื่องจากเป็นที่ตั้งของสวนญี่ปุ่นแบบโบราณ ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบพุทธเกษตรแดนสุขาวดี ด้านทิศตะวันตก ของพระอมิตาภะพุทธเจ้าตามความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน ปัจจุบันวัดโจรุริจิ เป็นวัดในนิกายชินงง-ริสึ หรือนิกายมนตรยานสายวินัย แต่ด้วยเหตุที่วัดมีชื่อเสียงในด้านอุทยานสุขาวดี ผู้คนจึงเข้าใจว่าเป็นวัดในนิกายโจโด หรือนิกายสุขาวดี วิหารพุทธเกษตร สร้างขึ้นเมื่อปี 1107.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและวัดโจรุริ · ดูเพิ่มเติม »

วัดไดโงะ

วัดไดโงะ เป็นวัดพุทธชิงงง ในเขตฟุชิมิ ของนครเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาแก่ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต พระพุทธเจ้าของนิกายมหายาน พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ วัดไดโงะสร้างในตอนต้นของยุคเฮอัง ในปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและวัดไดโงะ · ดูเพิ่มเติม »

วัดเอ็นเรียะกุ

วัดเอ็นเรียะกุ เป็นวัดพุทธนิกายเท็นได ตั้งอยู่บนเขาเฮเอในเมืองโอสึ ไม่ไกลจากนครเกียวโต ก่อตั้งในต้นยุคเฮอังโดยภิกษุไซโช ซึ่งนำศาสนาพุทธมหายานนิกายเทียนไถจากจีนมาเผยแพร่ในญี่ปุ่นโดยได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิคัมมุ และกลายเป็นวัดต้นสังกัดของวัดนิกายเท็นไดในญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในวัดสำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ยุคมุโระมะชิถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของนิกายเท็นได โดยวัดเอ็นเรียะกุมีวัดสาขาอยู่มากกว่า 3,000 แห่งทั่วญี่ปุ่นและมีกองทัพภิกษุ (僧兵 โซเฮ) ที่ทรงอิทธิพลเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ ขุนพล โอะดะ โนะบุนะงะ ผู้ต้องการพิชิตศัตรูและผนวกญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่น ได้โจมตีและทำลายวัดเอ็นเรียะกุอย่างสิ้นซากและสังหารภิกษุจำนวนมากในปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและวัดเอ็นเรียะกุ · ดูเพิ่มเติม »

วัดเท็นรีว

วัดเท็นรีว หรือ วัดมังกรสวรรค์ เป็นวัดเอกของนิกายเซน สำนักรินไซ สาขาเท็นรีว ตั้งอยู่ในเขตอุเกียว ในนครเคียวโตะ วัดนี้ถูกสร้างขึ้นโดยอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ปฐมโชกุนแห่งอะชิกะงะ เริ่มก่อสร้างในปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและวัดเท็นรีว · ดูเพิ่มเติม »

วากิ ยามาโตะ

มาโตะกับผลงานของเธอ วากิ ยามาโตะ (เกิด 13 มีนาคม ค.ศ. 1948) เป็นนามปากกาของนักวาดการ์ตูนหญิงชาวญี่ปุ่น จบการศึกษาระดับอนุปริญญาจากมหาวิทยาลัยโฮะกุเซ กะกุเอ็ง (Hokusei Gakuen University)ปัจจุบันเป็นนักเขียนการ์ตูนแนวโชโจะ ชั้นแนวหน้าคนหนึงของญี่ปุ่น ผลงานเปิดตัวครั้งแรกของเธอคือ นางฟ้าจอมโจร (Dorobou Tenshi) จากนั้นก็สร้างสรรผลงานการ์ตูนแนวโชโจะหลากหลายเนื้อหาและอารมณ์ ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งปัจจุบัน สามีเป็นบรรณาธิการคนหนึ่งของสำนักพิมพ์โคดันฉ.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและวากิ ยามาโตะ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้าฟุชิมิอินะริ

ลเจ้าฟุชิมิอินะริ เป็นศาลเจ้าชินโตของเทพอินะริ อันเป็นเทพแห่งกสิกรรม ตั้งอยู่ในเขตฟุชิมิ นครเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น ศาลเจ้านี้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ตัวศาลเจ้าตั้งอยู่บนพื้นที่เชิงเขาที่ระดับความสูง 233 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งภูเขาก็มีนามเดียวกันคือภูเขาอินะริ ซึ่งรอบๆเชิงเขานี้ยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าเล็กๆอีกมากมายตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเดินเท้าและเยี่ยมชมได้โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ตั้งแต่ยุคโบราณ ชาวญี่ปุ่นนับถือเทพอินะริในด้านการอุปถัมภ์ค้ำชูและส่งเสริมความเจริญในการงานและกิจการ ซึ่งความศรัทธานี้ยังคงอยู่จนตราบจนปัจจุบัน บรรดาเสาโทะริอิที่มากมายของศาลเจ้าแห่งนี้นั้น ล้วนเป็นศรัทธาจากบริษัท, ห้างร้าน, โรงงานในญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละต้นจะมีการจารึกผู้บริจาคไว้ ศาลเจ้าแห่งนี้ถือเป็นศาลใหญ่ (大社 ไทฉะ) อันเป็นต้นสังกัดของบรรดาศาลเจ้าลูก (分社 บุนฉะ) ที่บูชาเทพอินะริ ซึ่งทั่วประเทศญี่ปุ่นมีอยู่กว่า 32,000 แห่ง ศาลาใหญ่ (''ไฮเด็ง'') จุดเริ่มต้นของทางวงกตโทะริอ.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและศาลเจ้าฟุชิมิอินะริ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้ายะซะกะ

right ศาลเจ้ายะซะกะ หรือ ศาลเจ้ากิอง เป็นศาลเจ้าชินโตในเขตกิองของนครเคียวโตะ, ประเทศญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น การก่อสร้างมีขึ้นในปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและศาลเจ้ายะซะกะ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 1095 (ในยุคอาซึกะ) เป็นปีที่ 13 ของรัชกาลจักรพรรดิคินเม จักรพรรดิองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าซองกษัตริย์อาณาจักรแพคเจส่งราชทูตมายังราชสำนักจักรพรรดิคินเม พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม และพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้จักรพรรดิคินเมรับนับถือพระพุทธศาสนา จักรพรรดิคินเมทรงรับด้วยความพอพระทัย แม้จักมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์ พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาร่วมสหัสวรรษ และในพันปีกว่านี้ชาวญี่ปุ่นยังได้เชื่อมโยงความเชื่อของพุทธศาสนาบางส่วนเข้าผสมผสานกับปรัชญาหลักคำสอนของศาสนาชินโตพื้นบ้าน เช่น ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์และทวยเทพในศาสนาพุทธ ซึ่งได้ผนวกเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพนับถือในศาสนาชินโต ความเชื่อมโยงนี้ซึมซับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแกนรากทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระจักรพรรดิเฮเซ

มเด็จพระจักรพรรดิเฮเซ สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและสมเด็จพระจักรพรรดิเฮเซ · ดูเพิ่มเติม »

สวนเซ็นญี่ปุ่น

right สวนหินญี่ปุ่น (枯山水; คะเระซันซุย หรือรู้จักกันทั่วไปในนาม เซนการ์เดน) คือสวนพื้นภูมิแห้งแล้งนั้นจัดเป็นชนิดของสวนเซนญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิผลจากนิกายเซนในพุทธศาสนาของญี่ปุ่น และสามารถหาชมได้ตามวัดเซนแห่งการฝึกสมาธิ สวนในรูปแบบของญี่ปุ่นนั้นถือเป็นศิลปะที่มีชีวิต เพราะต้นไม้และพืชต่างๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลงให้เห็นในฤดูที่แตกต่างกันไป ระหว่างที่ต้นไม้เจริญเติบโตจะได้รับการตกแต่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อความสวยงาม และเพราะฉะนั้นสวนญี่ปุ่นไม่มีลักษณะที่เหมือนเดิมเสมอไปและไม่มีการสิ้นสุดหรือเสร็จสมบูรณ์ โครงสร้างพื้นฐานของสวนญี่ปุ่นจะพิจารณาจากสถาปัตยกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบเช่น อาคาร, ระเบียง, เส้นทาง, สึกิยะมะ (เนินเทียม) และการจัดวางของหิน เมื่อเวลาผ่านไปความงดงามของสวนก็จะขึ้นอยู่กับการดูแลและการบำรุงรักษาที่ได้รับโดยผู้มีฝีมือในศิลปะแห่งการตัดและตกแต่งสวนเช่นนี้ ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของศิลปะเซ็นคือการดูแลรักษาสวนให้คงที่ในลักษณะเสมือนภาพวาดและจิตรกรรม สวนคะเระซันซุยสามารถจัดเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมและเป็นสัญลักษณ์ของพื้นภูมิที่เรียกได้ว่าเป็น “mind-scape” ทั้งนี้มันคือปรัชญาพุทธศาสนาซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความงามแห่งจักรวาลในสิ่งแวดล้อมที่เป็นหลักสำคัญในพุทธศาสนานิกายเซนของญี่ปุ่น ความหมายย่อของคำว่า คะเระซันซุย จากบทสวนญี่ปุ่นของพจนานุกรมฉบับบิลิงเกลให้ความหมายไว้ว่า ต่างออกไปจากสวนตามประเพณี สวนคะเระซันซุยจะไม่มีธาติน้ำใดๆ เพียงแต่จะมีการปูกรวดหรือทราย ซึ่งอาจโดนกวาดลวดลายหรือไม่ก็สามารถเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ของทะเล, มหาสมุทร, แม่น้ำ หรือ ทะเลสาบได้ การจัดกวาดของกรวดหรือทรายเพื่อให้เป็นลวดลายที่บ่งบอกถึงคลื่นน้ำนั้นมีบทบาทของความสวยงามอยู่เช่นกัน อีกทั้งพระของพุทธศาสนานิกายเซนนั้นฝึกฝนและปฏิบัติการกวาดลวดลายเพื่อการฝึกสมาธิ การที่จะกวาดเส้นและลวดลายอย่างสมบูรณ์แบบนั้นไม่ใช้เรื่องง่าย การกวาดลวดลายนั้นขึ้นอยู่กับแบบของแนววัตถุหินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณกรวด อย่างไรก็ตามแบบของลวดลายนั้นส่วนใหญ่จะไม่อยู่คงที่ เพราะการพัฒนาแบบลวดลายใหม่ๆ เป็นการฝึกทักษะของความสร้างสรรค์และการประลองฝีมืออันก่อเกิดดลบันดาล การขัดวางของหินและวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ นั้นเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงภูเขาและธาติน้ำธรรมชาติและทัศนียภาพ, เกาะ, แม่น้ำและน้ำตก หินก้อนใหญ่และพุ่มไม้ที่ผ่านการตัดแต่งกะริโกะมิหรือฮะโกะ-ซุกุริ (ศิลปะการตัดแต่งต้นไม้) นั้นเป็นขั้นตอนที่แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ในสวนส่วนใหญ่จะมีการนำพืชมอสมาปลกคลุมพื้นผิวเพื่อที่จะสร้างสัญลักษณ์ซึ่งบ่งบอกถึงพื้นดินที่ปกคุลมไปด้วยป่าไม้ ในหนังสือ "ซะกุเทกิ" (การสร้างสวน) นั้นแสดงความหมายถึง "อิชิ โอะ ทะเทะอึน โกะโตะ" (การจัดวางก้อนหิน) ซึ่งแปลตามตัวอักษรนั้นหมายถึงการจัดตั้งก้อนหิน ในยุคที่ ซะกุเทกิ นั้นได้ปรากฏเป็นหนังสือ การจัดวางตำแหน่งของก้อนหินนั้นเป็นขั้นตอนหลักของการจัดสวน อีกทั้งยังมีถ้อยคำอักษรที่คล้ายกันในหนังสือหากแต่มันมีความหมายว่า “การจัดวางก้อนหินของสวน” มากกว่า “การสร้างสวน” การจัดวางก้อนหินนั้นควรจะต้องมีการคำนึงถึงการวางหิน ซึ่งรวมถึงผิวพื้นด้านที่ดีที่สุดควรจะหันมาถูกทิศทาง ในกรณีที่ก้อนหินนั้นมียอดที่ไม่สวยงาม ควรจะวางให้ส่วนนั้นเป็นจุดที่เด่นน้อยสุด ถึงแม้ก้อนหินนั้นจะต้องโดนวางในลักษณะที่แปลกก็คิดได้ว่าจะไม่มีใครสังเกต อีกทั้งโดยปกติควรจะเลือกหินที่มีแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ในกรณีที่มี “หินหนี” ก็จะต้องมี “หินไล่” และถ้ามี “หินเอียง” ก็จะต้องมี “หินหนุน” และควรจดจำไว้ว่า ในหลายกรณีนั้น ก้อนหินและพุ่มไม้ที่ผ่านการตัดแต่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซนที่มีต่อการออกแบบสวนนั้นได้ถูกนำมาบรรยายโดย Kuck ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และทักท้วงโดย Kuitert ในช่วงท้ายของศตวรรษนั้น หากแต่เรื่องที่ไม่ได้ถูกทักท้วงคือเรื่องที่สวนคะเระซันซุยนั้นดลบันดาลมาจากภาพวาดทิวทัศน์ของจีนและญี่ปุ่นจากอดีต ถึงแม้สวนทั่วไปต่างก็มีการจัดวางไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่ก็จะนำก้อนหินและพุ่มไม้ที่ผ่านการตัดแต่งมาเป็นสัญลักษณ์ของภูเขา, หุบเขาและน้ำตกที่ได้ถูกจารึกเป็นจิตกรรมในภาพวาดทิวทัศน์ของจีน ในบางภาพ ทิวทัศน์นั้นดลบันดาลมาจากทัศนียภาพสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่จริง เช่น เนินเขาที่อยู่ข้างหลังเป็น “ทิวทัศน์ที่ยืมมา” โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า "ชักเคอิ" (shakkei) ในปัจจุบันภาพวาดหมึกโมโนโครมยังถือว่าเป็นศิลปะที่ใกล้เคียงที่สุดกับพุทธศาสนานิกายเซน หลักการออกแบบของการสร้างพื้นภูมินั้นได้อิทธิพลมาจากภาพวาดทิวทัศน์หมึกโมโนโครมสามมิติ ที่เรียกว่า ซูมิเอะ หรือ ซุยโบคุกะ สวนญี่ปุ่นนั้นถือว่ามีค่าระดับเดียวกับงานศิลปะในประเทศ สวนหินที่มีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ เรียวอันจิ ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือในเมืองเกียวโต สวนที่เรียวอันจิมีความยาว 30 เมตรจากฝั่งตะวันออกถึงตะวันตกและ 10 เมตรจากเหนือถึงใต้ ในสวนนั้นไม่มีต้นไม้มีเพียงแต่ก้อนหินที่มีหลายขนาด บางก้อนปกคลุมไปด้วยพืชมอส และถูกจัดวางอยู่บนพื้นภูมิที่โรยไว้ด้วยกรวดและทรายขาวซึ่งมีการกวาดวาดลวดลายในแต่ละวัน right หมวดหมู่:พืชกรรมสวนและการทำสวน หมวดหมู่:สวนญี่ปุ่น หมวดหมู่:ประเภทของสวน.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและสวนเซ็นญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สาวปากฉีก

วปากฉีก (Slit-Mouthed Woman) เป็นหญิงสาวในปกรณัมญี่ปุ่นซึ่งถูกสามีผู้หึงหวงทำร้ายจนเสียอวัยวะ และต่อมากลายเป็นผีร้าย (onryō) เรื่องสาวปากฉีกนั้นเริ่มโจษจันกันในปี 2522 จนแพร่ไปทั่วประเทศในเวลาอันเร็วและยังให้เกิดความตื่นตระหนกในหลายหัวเมือง ถึงขนาดที่มีรายงานข่าวว่าโรงเรียนต้องจัดครูคุ้มกันนักเรียนจนถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ และเจ้าพนักงานตำรวจต้องเพิ่มเวรยาม.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและสาวปากฉีก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโกซะเนะ

งครามโกซะเนะ (後三年合戦, gosannen kassen) หรือที่รู้จักในชื่อว่า สงคราสามปีช่วงหลัง เกิดสงครามในช่วงปลายยุคค.ศ. 1080 ในประเทศญี่ปุ่น จังหวัดมัสซึบนเกาะฮนชู.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและสงครามโกซะเนะ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโอนิน

สงครามโอนิน (Ōnin War) สงครามกลางเมือง ระหว่าง ค.ศ. 1467 - ค.ศ. 1477 ในช่วง ยุคมุโระมะชิ อันเป็นต้นกำเนิดของ ยุคเซ็งโงะกุ สาเหตุของสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากความขัดแย้งเรื่องทายาททางการเมืองของโชกุน อะชิกะงะ โยะชิมะซะ ระหว่าง โฮะโซะกะวะ คะสึโมะโตะ ผู้ดำรงตำแหน่ง คันเร หรือผู้แทนโชกุนที่สนับสนุน อะชิกะงะ โยะชิมิ น้องชายของโชกุนโยะชิมะซะและ ยะมะนะ โซเซ็น พ่อตาของคะสึโมะโตะที่สนับสนุนบุตรชายคนเดียวของโชกุนโยะชิมะซะคือ อะชิกะงะ โยะชิฮิซะ ทำให้ทั้งสองฝ่ายรวบรวมกองทัพจากแคว้นต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรเข้าสู้รบจนทำให้ นครหลวงเฮอัง หรือ นครหลวงเคียวโตะ ในปัจจุบันได้รับความเสียหายอย่างหนักประชาชนหลบหนีจากเมืองหลวงทำให้เฮอังกลายสภาพเป็นเมืองร้าง ในปี ค.ศ. 1469 โชกุนโยะชิมะซะตัดสินใจตั้งโยะชิฮิซะบุตรชายเป็นทายาททางการเมือง ถึงแม้โซเซ็นและคะสึโมะโตะจะเสียชีวิตทั้งคู่ในปี ค.ศ. 1473 แต่สงครามก็ยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายยอมสงบศึกเมื่อปี ค.ศ. 1477 หมวดหมู่:ยุคเซงโงะกุ.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและสงครามโอนิน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเก็มเป

งครามเก็มเป เป็นสงครามอันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่าง 2 ตระกูลใหญ่ปลายยุคเฮอัง ของญี่ปุ่น จากสงครามครั้งนี้ทำให้ตระกูลไทระพ่ายแพ้และต้องสูญสิ้นอำนาจ ในขณะที่ตระกูลมินะโมะโตะก็เข้าครองอำนาจ และสถาปนารัฐบาลโชกุนคะมะกุระ อาจกล่าวได้ว่า สงครามครั้งนี้เป็นเส้นแบ่งระหว่างยุคเฮอังและยุคคะมะกุร.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและสงครามเก็มเป · ดูเพิ่มเติม »

อาราเระ

อาราเระโมจิ หรือ อาราเระ ("ลูกปรายหิมะ") เป็นขนมขบเคี้ยวญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ซึ่งทำจากข้าวเหนียวปรุงรสด้วยโชยุคล้ายเซ็มเบ แต่ผิดกันตรงที่เซ็มเบทำจากข้าวเจ้าทั้งมีขนาดและรูปทรงต่างออกไป ส่วนในรัฐฮาวายจะเรียกขนมนี้ว่า คากิโมจิ (かきもち) หรือ โมจิครันช์ (Mochi Crunch) แปลว่า "โมจิกรอบ".

ใหม่!!: ยุคเฮอังและอาราเระ · ดูเพิ่มเติม »

อิมปุมงอิง โนะ ทะยู

Ogura Hyakunin Isshu) อิมปุมงอิง โนะ ทะยู (พ.ศ. 1673 — พ.ศ. 1743) เป็นกวีหญิงชาวญี่ปุ่นที่มีผลงานช่วงยุคเฮอัง บทกวีของเธอถูกรวบรวมบทกวีไว้จำนวนมาก อาทิ ร้อยคนร้อยบทกลอน และใน ชุดสะสมหนึ่งพันปี เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและอิมปุมงอิง โนะ ทะยู · ดูเพิ่มเติม »

อุจิจูโจ

ตำนานเก็นจิภาค อุจิจูโจ (宇治十帖: Uji JuuJou: The Ten Books of Uji) รูปปั้นมุราซากิ ชิคิบุ ริมแม่น้ำอุจิ เป็นเหตุการณ์ภาคหลังในเรื่องตำนานเก็นจิ ซึ่งประพันธ์โดย มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยเฮอัน กล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากที่เก็นจิตายไปแล้ว ตัวเอกของเรื่องในภาค อุจิ นี้คือ คาโอรุ ผู้เป็นบุตรชายที่เกิดจากความสัมพันธ์ต้องห้ามระหว่าง คะชิวะงิ (บุตรชายคนโตของ โทโนะจูโจ และเพื่อนสนิทของ ยูงิริ) กับ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ (พระธิดาองค์ที่ 3 ของอดีตจักรพรรดสุซาคุ และเป็นภรรยาเอกของเก็นจิ) ได้รับการเลี้ยงดูและใช้ชีวิตในฐานะลูกชายคนสุดท้องของเก็นจิ ตัวคาโอรุเองไม่ล่วงรู้ความลับนี้ แต่ก็สงสัยในชาติกำเนิดตัวเอง เพราะมารดา (พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ) ออกบวชชีตั้งแต่ยังสาว และที่เขาได้รับการขนานนามว่า คาโอรุ เป็นเพราะเขามีกลิ่นกายหอมติดตัวมาแต่กำเนิดนั่นเอง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและอุจิจูโจ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะนะโนะเอ็ง

''ซะกง โนะ ซะกุระ '' หน้าตำหนัก ชิชินเด็ง พระราชวังเกียวโต ตำหนัก ''ชิชินเด็ง'' พระราชวังเกียวโต ฮะนะโนะเอ็ง (花宴; Hana no En; วสันต์สังสรรค์; Festival of the Cherry Blossoms หรือ Under the Cherry bossoms) เป็นบทที่ 8 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฮะนะโนะเอ็ง · ดูเพิ่มเติม »

ฮิคารุเซียนโกะ

รุเซียนโกะ หรือ ฮิคารุ: เซียนโกะ เกมอัจฉริยะ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงเรื่องหนึ่ง มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกมหมากกระดานที่ในญี่ปุ่นเรียกว่า โกะ แต่งเรื่องโดยยุมิ ฮตตะ และวาดภาพโดยทะเกะชิ โอะบะตะ และการ์ตูนชุดดังกล่าวได้รับรางวัลโชกาคุคังมังงะอะวอร์ด (Shogakukan Manga Award) สาขา โชเน็น (Shōnen) ใน..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฮิคารุเซียนโกะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮินะมะสึริ

นะนิงเงียว หรือ ตุ๊กตาฮินะ เทศกาลฮินะมะสึริ (ญี่ปุ่น: 雛祭り) หรือ วันเด็กผู้หญิง เป็นเทศกาลของชาวญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่โบราณ จัดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี เป็นเทศกาลที่รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน ตามความเชื่อที่ว่าการปล่อยตุ๊กตาลงน้ำสามารถขจัดเคราะห์ร้ายให้ไปกับตุ๊กตาได้ แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้น จะถือว่าเป็นเทศกาลของการอธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข พร้อมกับประสบความสำเร็จในชีวิต เด็กผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลฮินะครั้งแรก จะถูกเรียกว่า "ฮัตสึ เซ็กกุ" (hatzu-zekku) โดยจะเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ผู้อาวุโสเช่นย่าหรือยาย เพราะพวกเธอจะซื้อตุ๊กตามาจัดโชว์ให้กับหลานสาว สิ่งที่มักพบเห็นได้ในช่วงเทศกาลนี้คือการประดับด้วยชุด ตุ๊กตาฮินะ หรือในชื่อญี่ปุ่นที่ว่า ฮินะนิงเงียว ตามบ้าน ซึ่งตุ๊กตาดังกล่าวเป็นแบบดั้งเดิมทำด้วยมือ แต่งกายตามราชสำนักญี่ปุ่นโบราณ สมัยยุคเฮอัง วางไว้บนชั้นปกติจะมีทั้งหมด 7 ชั้น รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้กที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมจิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และจิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตาเจ้าชายโอไดริซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและฮินะมะสึริ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมุระกะมิ

ักรพรรดิมุระกะมิ (Emperor Murakami) จักรพรรดิองค์ที่ 62 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นตามที่ได้บันทึกไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิมุระกะมิทรงครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 946 - ค.ศ. 967 ต่อมาพระนามของพระองค์ได้ถูกนำไปใช้เป็นพระนามของ จักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ จักรพรรดิในช่วง ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ สมัย คริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและจักรพรรดิมุระกะมิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอันโตะกุ

ักรพรรดิอันโตะกุ มีพระนามเดิมว่า โทะโกะฮิโตะ ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นช่วงปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและจักรพรรดิอันโตะกุ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชิงะ

ังหวัดชิงะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคคันไซ มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโอสึ มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 4,017.36 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและจังหวัดชิงะ · ดูเพิ่มเติม »

ทรงเจ้าหญิง

ทรงเจ้าหญิง หรือ ฮิเมะคัต (Hime cut) เป็นทรงผมซึ่งทำเป็นปอยข้างแก้ม (sidelock) หรือข้างหู (earlock) ประกอบหน้าม้า (fringe) ส่วนที่เหลือไว้ยาว แล้วยืดหรือรีดให้ตรงทั้งหมด ผมทรงนี้ได้ชื่อว่า "ทรงเจ้าหญิง" ด้วยเชื่อกันว่า มีทรงผมของกุลสตรีญี่ปุ่นสมัยเฮอังเป็นต้นแบบ ทุกวันนี้ ทรงเจ้าหญิงได้รับความนิยมเป็นอันมากทั้งในโลกจริงและในโลกอะนิเม.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและทรงเจ้าหญิง · ดูเพิ่มเติม »

ทะกะชินะ โนะ ทะกะโกะ

วาดของทะกะชินะ โนะ ทะกะโกะ ทะกะชินะ โนะ ทะกะโกะ; ถึงแก่กรรม..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและทะกะชินะ โนะ ทะกะโกะ · ดูเพิ่มเติม »

คะตะกะนะ

ตากานะ เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง คาตากานะได้รับการนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮกไก.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและคะตะกะนะ · ดูเพิ่มเติม »

คันจิ

ันจิ เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทอักษรคำ (Logograms) ใช้ร่วมกับตัวอักษร อีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがな, 平仮名 Hiragana) คะตาคานะ (カタカナ, 片仮名 Katakana) โรมะจิ (ローマ字 Rōmaji) และตัวเลขอารบิก คำว่า "คันจิ" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า "ฮั่นจื้อ" มีความหมายว่า ตัวอักษรของชาวฮั่น อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน คำว่าภาษาจีนในภาษาจีนเอง ก็เรียกว่า ภาษาฮั่น (ภาษาจีนกลาง: 漢語, hànyǔ) เช่นกัน.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและคันจิ · ดูเพิ่มเติม »

คิมิงะโยะ

มิงะโยะ เป็นเพลงชาติของประเทศญี่ปุ่น และนับได้ว่าเป็นเพลงชาติที่สั้นที่สุดในโลก โดยมีความยาวเพียง 11 ห้องเพลง มีตัวโน้ตเพียง 40 ตัว เนื้อเพลงนั้นมาจากบทกลอนประเภทวะกะในยุคเฮอังของญี่ปุ่น (ระหว่าง ค.ศ. 794-1185) ส่วนทำนองเพลงนั้น ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่ในยุคเมจิ โดยทำนองแรกสุดนั้นประพันธ์โดยนักดนตรีชาวไอริชเมื่อ ค.ศ. 1869 ภายหลังราชสำนักญี่ปุ่นจึงเลือกใช้ทำนองเพลงใหม่ ซึ่งเรียบเรียงโดยนักดนตรีชาวญี่ปุ่น เป็นทำนองของเพลงคิมิงะโยะในปัจจุบัน เมื่อ ค.ศ. 1880 แม้ว่าเพลงคิมิงะโยะจะเป็นเพลงชาติของญี่ปุ่นโดยพฤตินัยมานานแล้วก็ตาม แต่การรับรองฐานะทางกฎหมายเพิ่งจะมีขึ้นในปี ค.ศ. 1999 จากการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยธงชาติและเพลงชาติของญี่ปุ่นในปีนั้น ซึ่งหลังจากการผ่านกฎหมายดังกล่าว ก็ได้มีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการขับร้องและบรรเลงเพลงชาติในโรเรียนต่าง ๆ ของญี่ปุ่นขึ้น ด้วยเหตุผลเดียวกับธงฮิโนะมารูอันเป็นธงชาติของญี่ปุ่น กล่าวคือ เพลงคิมิงะโยะอ้างถึงในฐานะสัญลักษณ์ของลัทธิจักรวรรดินิยมและลัทธิทหารของญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและคิมิงะโยะ · ดูเพิ่มเติม »

คนจะกุโมะโนะงะตะริชู

คอนจาคุโมโนกาตาริ เป็นหนังสือที่รวบรวมผลงานเรื่องเล่ามุขปาฐะที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่นมากมายกว่าพันเรื่อง ที่เขียนในยุคเฮอัน (พ.ศ. 1337- 1735) โดยมีทั้งหมด 31 เล่ม ซึ่งในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 28 เล่ม เนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับศาสนา และ นิยายจาก อินเดีย จีน และญี่ปุ่น ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ว่าใครเป็นผู้แต่งหนังสือชุดนี้ แต่มีหลายบุคคลเชื่อว่าแต่งโดยมินาโมโตะ โนะ ทาคาคุนิ (Minamoto no Takakuni) หรืออาจจะเป็นนักบวชพุทธที่ชื่อว่า โทะบะเนะ โซโจ (Tobane Sōjō) ที่อาศัยระหว่างเมืองเกียวโตและเมืองนาราในช่วงปลายยุคเฮอัน อะคุตากาวา ริวโนะสุเกะ นักเขียนในยุคปัจจุบันได้ดัดแปลงเนื้อเรื่องจากหนังสือมา แต่งเรื่องราโชมอน ในปี พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) ชื่อเต็มของชุดหนังสือนี้ "คอนจาคุโมโนกาตาริชู" ซึ่งรู้จักกันในชื่อ คอนจาคุโมโนกาตาริ โดยคำว่า "ชู" หมายถึง ชุดหนังสือ หมวดหมู่:วรรณกรรมทั่วไป หมวดหมู่:ประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและคนจะกุโมะโนะงะตะริชู · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลฟูจิวาระ

ฟูจิวาระ คามาตาริ ต้นตระกูลฟูจิวาระ ฟูจิวาระ เป็นกลุ่มขุนนางที่เคยมีอำนาจและอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อราชสำนักญี่ปุ่น ในยุคเฮอัง โดย ฟูจิวาระ โนะ โมโตสึเนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคัมปากุ ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด และคนของฟุจิวาระก็เข้ายึดครองอำนาจในราชสำนัก ทำให้กลายเป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจสูงสุด ยาวนานกว่า 500 ปี โดยฟูจิวาระ ได้ผูกขาดตำแหน่งคัมปากุ เซ็สโช และไดโจไดจิงตลอด 500 ปี และยังให้บุตรสาวของตระกูลอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิ เพื่อให้เชื้อสายของตนเองเป็นจักรพรรดิอีกด้วย อย่างไรก็ตามจักรพรรดิเชื้อสายฟูจิวาระได้หมดไปในภายหลัง พร้อม ๆ กับการล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระที่ครองอำนาจกว่า 500 ปี ตระกูลฟูจิวาระล่มสลายลงไปปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและตระกูลฟูจิวาระ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลมินะโมะโตะ

ตระกูลมินะโมะโตะ เป็นตระกูลซะมุไรที่ทรงอำนาจและอิทธิพลที่สุดตระกูลหนึ่งในญี่ปุ่นยุคเฮอัง เนื่องจากตระกูลนี้ได้ครองตำแหน่งโชกุน เป็นตระกูลแรกของญี่ปุ่น ตระกูลมินะโมะโตะสืบเชื้อสายจากจักรพรรดิซะงะ ซึ่งครองราชย์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและตระกูลมินะโมะโตะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลอาชิกางะ

ตราประจำตระกูลอาชิกางะ ตระกูลอาชิกางะ หรือ อาชิกากะ เป็นตระกูลของซามูไรญี่ปุ่น ซึ่งดำรงตำแหน่งโชกุนของรัฐบาลโชกุนอาชิกางะในยุคมูโรมาจิ เป็นผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นในทางพฤตินัย ตระกูลอาชิกางะสืบเชื้อสายมาจากตระกูลมินาโมโตะซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระจักรพรรดิเซวะ เรียกว่า ตระกูลเซวะเก็นจิ สาขาซึ่งตั้งรกรากอยู่ที่แคว้นคาวาจิ (จังหวัดโอซากะในปัจจุบัน) เรียกว่า ตระกูลคาวาจิเก็นจิ หนึ่งในสมาชิกของตระกูลคาวาจิเก็นจิ คือ มินาโมโตะ โนะ โยชิอิเอะ เป็นซามูไรที่มีชื่อเสียงในยุคเฮอัง มินาโมโตะ โนะ โยชิอิเอะ มีบุตรชายชื่อว่า มินาโมโตะ โนะ โยชิจิกะ เป็นปู่ทวดของโชกุนคนแรก มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ นอกจากนี้ มินาโมโตะ โนะ โยชิอิเอะ ยังมีบุตรชายอีกคนชื่อว่า มินาโมโตะ โนะ โยชิกูนิ ซึ่งมินาโมโตะ โนะ โยชิกูนิ มีบุตรชายคนโตชื่อว่า มินาโมโตะ โนะ โยชิชิเงะ โยชิชิเงะเดินทางไปตั้งรกรากที่เมืองนิตตะ ในแคว้นโคซูเกะ ปัจจุบันคือเมืองโอตะจังหวัดกุมมะ เป็นบรรพบุรุษของตระกูลนิตตะ ตระกูลยามานะ และตระกูลโทกูงาวะ มินาโมโตะ โนะ โยชิกูนิ มีบุตรชายคนที่สอง ชื่อว่า มินาโมโตะ โนะ โยชิยาซุ โยชิยาซุเดินทางไปตั้งรกรากที่เมืองอาชิกางะ ในแคว้นชิมตสึเกะ (ปัจจุบันคือจังหวัดโทจิงิ) เป็นบรรพบุรุษของตระกูลอาชิกางะ มินาโมโตะ โนะ โยชิยาซุ มีบุตรชายชื่อว่า อาชิกางะ โยชิกาเนะ อาชิกางะ โยชิกาเนะ มีบทบาทและมีความดีความชอบต่อโชกุนคนแรก มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ ในสงครามเก็มเป อาชิกางะ โยชิกาเนะ สมรสกับ โฮโจ โทกิโกะ ซึ่งเป็นบุตรสาวของโฮโจ โทกิมาซะ และเป็นน้องสาวของนางโฮโจ มาซาโกะ เท่ากับว่าอาชิกางะ โยชิกาเนะ เป็นน้องเขยของโชกุนมินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ แม้ว่าต้นตระกูลอาชิกางะจะมีผลงานโดดเด่นในสงครามเก็มเป แต่ตลอดยุคคามากูระ ตระกูลอาชิกางะมีบทบาททางการเมืองเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนคามากูระและตระกูลโฮโจยังคงให้เกียรติตระกูลอาชิกางะด้วยการส่งสตรีจากตระกูลโฮโจมาสมรสกับตระกูลอาชิกางะอย่างต่อเนื่อง ในยุคคามากูระ ผู้นำตระกูลอาชิกางะทุกคนมีภรรยาเอกมาจากตระกูลโฮโจ พงศาวลี ตระกูลอาชิกางะ และตระกูลสาขาย่อยต่าง ๆ นอกจากนี้ตระกูลอาชิกางะยังแตกสาขาย่อยออกไปเป็นตระกูลต่าง ๆ อีกมากมาย ได้แก.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและตระกูลอาชิกางะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลทะเกะดะ

ตระกูลทะเกะดะ ตระกูลซะมุไรที่มีบทบาทตั้งแต่ช่วงปลายของ ยุคเฮอัง จนถึงช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 16 ตามประวัติศาสตร์ตระกูลทะเกะดะมีฐานที่มั่นอยู่ที่ แคว้นคะอิ ซึ่งปัจจุบันคือ จังหวัดยะมะนะชิ โดยมี มินะโมะโตะ โนะ โยะชิกิโยะ ซึ่งแยกตัวออกมาจาก ตระกูลมินะโมะโตะ เป็นผู้นำตระกูลคนแรกและสมาชิกของตระกูลทะเกะดะที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ทะเกะดะ ชิงเง็น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและตระกูลทะเกะดะ · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานเก็นจิ

มุราซากิ ชิคิบุ ตำนานเก็นจิ (源氏物語; Genji Monogatari) เป็นงานเขียนของ มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยเฮอัน หรือ เฮอันเคียว ซึ่งมีชิวิตอยู่ราวต้นศตวรรษที่ 11 ว่ากันว่า นี่คือนวนิยายที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก และมีการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 1000 ปี ในปี 2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีหลักฐานสนับสนุนจากเนิ้อความใน มุราซากิ ชิคิบุ นิกกิ (Murasaki Shikibu Nikki บันทึกของมุราซากิ ชิคิบุ) ซึ่งเธอได้เขียนบันทึกนั้นในวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน.1008 ว่า ฟุจิวะระ โนะ คินโตะ (Fujiwara no Kinto) นักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นแนวหน้าในยุคนั้น ชื่นชมในงานเขียนของเธอเป็นอันมาก และบันทึกนี้ยืนยันกับเราให้ทราบว่า เธอเขียน บท วะกะมุราซากิ จบในเวลานั้นเอง (1 พฤศจิกายน ค ศ.1008) บางข้อมูลอ้างว่า มุราซากิ ชิคิบุ เริ่มเขียน ตำนานเก็นจิที่วัดอิชิยะมะเดระ ในคืนวันจันทร์เต็มดวงของวันที่ 15 เดือนสิงหาคม ปี.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและตำนานเก็นจิ · ดูเพิ่มเติม »

ซามูไร

ซามูไรในชุดเกราะ ถ่ายในช่วงทศวรรษที่ 1860 โดย เฟรีเช บีอาโต ซามูไร แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและซามูไร · ดูเพิ่มเติม »

ซุมะ

หาด สุมะ ถ่ายจาก สวนริมชายหาด สุมะ - สู่สุมะ (須磨, Suma) "Suma" เป็นบทที่ 12 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและซุมะ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ชาในญี่ปุ่น

ีการดื่มชาญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์ของชาในประเทศญี่ปุ่น ถูกบันทึกครั้งแรกสุดโดยพระชาวญี่ปุ่นในยุคคริตศตวรรคที่ 9 ชาที่ได้มาเป็นเครื่องดืมของพระในญี่ปุ่น เริ่มต้นเมื่อพระชาวญี่ปุ่นได้เดินทางไปยังจีนเพื่อศึกษาวัฒณธรรมต่างๆ และได้นำชากลับมายังญี่ปุ่น ชาชนิดแรกที่นำกลับมาจากจีนเป็นชาขนมปัง ในบันทึกเก่าแก่ของญี่ปุ่นบันทึกชื่อของพระรูปหนึ่ง ชื่อว่าไซโจ ที่ได้นำเมล็ดชาชุดแรกกลับมายังญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 1348 (ค.ศ. 805) และอีกชุดหนึ่งจากพระอีกรูปหนึ่งชื่อคุไค ในปีพ.ศ. 1349 (ค.ศ. 806) ต่อมา ชาได้กลายมาเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นสูงในสมัยราชวงษ์ซางะ ซึ่งดำริให้ปลูกต้นชา โดยนำเข้าเมล็ดพันธ์จากจีน และเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ในญี่ปุ่นนับแต่นั้นม.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและประวัติศาสตร์ชาในญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ประตูซุซะกุ ประตูเมืองหลวงเฮโจวเกียว สมัยนะระ (บูรณะขึ้นมาใหม่) คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ ในชุด ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ วาดเมื่อปี พ.ศ. 2369 โดยคะสึชิกะ โฮะกุไซ ประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น: 日本の歴史; นิฮงโนะเระกิชิ).

ใหม่!!: ยุคเฮอังและประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 794

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 794 ในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 794 · ดูเพิ่มเติม »

นะกะสึกะซะ

นะกะสึกะซะ (พ.ศ. 1455 — พ.ศ. 1534) เป็นกวีหญิงชาวญี่ปุ่นช่วงกลางยุคเฮอัง และเป็นบุตรสาวของท่านหญิงอิเซะ กวีหญิงผู้มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่ง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและนะกะสึกะซะ · ดูเพิ่มเติม »

นิตตะ โยะชิซะดะ

นิตตะ โยะชิซะดะ ( ค.ศ. 1300 ถึง ค.ศ. 1338) ซะมุไรซึ่งมีช่วงชีวิตอยู่ในปลายยุคคะมะกุระและต้นยุคมุโระมะชิ เป็นผู้ล้มล้างรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นิตตะ โยะชิซะดะ นิตตะ โยะชิซะดะ เป็นโกะเกะนิง ( ) หรือซะมุไรผู้ปกครองผืนดินอยู่ที่เมืองนิตตะ (ปัจจุบันอยู่ที่เมืองโอตะ จังหวัดกุมมะ) ในแคว้นโคซุเกะ ตระกูลนิตตะสืบเชื้อสายมาจากตระกูลเซวะเง็งจิ ( ) เฉกเช่นเดียวกับตระกูลอะชิกะงะ ในค.ศ. 1333 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงประกาศเชื้อเชิญให้บรรดาซะมุไรทั้งหลายที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลโชกุนเมืองคะมะกุระเข้าร่วมกับกองกำลังของพระองค์ในการล้มล้างรัฐบาลโชกุนฯ เรียกว่า สงครามปีเก็งโก ในขณะที่อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ( ) ยึดเมืองเคียวโตะถวายแด่พระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะนั้น นิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพจากแคว้นโคซุเกะทางไปทางใต้เพื่อเข้ายึดเมืองคะมะกุระ หลังจากที่มีชัยชนะเหนือทัพของรัฐบาลโชกุนในยุทธการที่บุบะอิงะวะระ (เขตฟุชู เมืองโตเกียวในปัจจุบัน) นิตตะ โยะชิซะดะจึงยกทัพเข้าประชิดเมืองคะมะกุระ แต่ทว่าชัยภูมิของเมืองคะมะกุระมีภูเขาล้อมรอบสามด้าน การโจมตีเมืองคะมะกุระนั้นต้องผ่านทางทะเลผ่านแหลมอินะมุระงะซะกิ นิตตะ โยะชิซะดะ จึงทำพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งทะเล โดยการโยนดาบลงไปในทะเล หลังจากเสร็จสิ้นพิธีคลื่นทะเลกลับเปลี่ยนทิศไปในทางที่ส่งเสริมทัพของโยะชิซะดะ โยะชิซะดะจึงสามารถยึดเมืองคะมะกุระได้ ผู้สำเร็จราชการคนสุดท้ายคือ โฮโจ ทะกะโตะกิ ทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปพร้อมกับขุนนางซะมุไรทั้งหลายในรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นิตตะ โยะชิซะดะ ทำพิธีบวงสรวงเทพเจ้าแห่งทะเล ที่แหลมอินะมุระงะซะกิ หลังจากการล่มสลายของรัฐบาลคะมะกุระ จักรพรรดิโกะ-ไดโงะทรงก่อตั้งการปกครองขึ้นมาใหม่โดยมีอำนาจและศูนย์กลางอยู่ที่ราชสำนักเมืองเกียวโต ดังที่เคยเป็นมาในยุคเฮอัง และลดอำนาจของชนชั้นซะมุไร เรียกว่า การฟื้นฟูปีเค็มมุ (Kemmu Restoration) สร้างความไม่พอใจให้แก่ชนชั้นซะมุไรโดยทั่วไป ในค.ศ. 1335 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ แยกตนออกไปเพื่อก่อตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่นิตตะ โยะชิซะดะ ยังคงจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ โดยที่นิตตะ โยะชิซะดะ เป็นคู่แข่งคนสำคัญของอะชิกะงะทะกะอุจิ นิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพไปปราบอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ที่เมืองคะมะกุระแต่พ่ายแพ้ ทำให้อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถยกทัพเข้าประชิดเมืองเกียวโตได้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ป้องกันเมืองเกียวโตได้สำเร็จทำให้ทะกะอุจิต้องถอยร่นไป ในค.ศ. 1336 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพมาอีกครั้งเป็นทัพขนาดใหญ่ทั้งทางบกและทางทะเลเข้ามายังเมืองเกียวโต คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เสนอว่าควรจะให้จักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จออกจากนครเกียวโตไปก่อนเพื่อไปทำการตั้งรับนอกเมือง เนื่องจากทัพของอะชิกะงะมีขนาดใหญ่ แต่นิตตะ โยะชิซะดะ ยืนกรานที่จะตั้งรับอยู่ภายในนครหลวงเกียวโต ในยุทธการที่มินะโตะงะวะ ทัพของนิตตะ โยะชิซะดะ ถูกโจมตีจนถอยร่นไป ส่งผลให้ทัพของฝ่ายพระจักรพรรดิพ่ายแพ้ต่อทัพของอะชิกะงะ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถเข้ายึดนครเกียวโตได้ นิตตะ โยะชิซะดะ จึงนำองค์จักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จหลบหนีไปยังวัดเขาฮิเอ ชานเมืองเกียวโต และเสด็จหนีต่อไปยังเมืองโยะชิโนะ (จังหวัดนะระในปัจจุบัน) เพื่อก่อตั้งราชสำนักขึ้นมาใหม่ที่นั่น กลายเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ ในขณะที่อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ก็ตั้งองค์จักรพรรดิขึ้นใหม่อีกองค์ที่เมืองเกียวโต ซึ่งต่อมากลายเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของ ยุคราชวงศ์เหนือใต้ ในค.ศ. 1337 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะมีพระราชโองการให้นิตตะ โยะชิซะดะ นำพระโอรสสองพระองค์คือ เจ้าชายทะกะนะกะ และเจ้าชายซึเนะนะกะ เสด็จไปยังแคว้นเอะชิเซ็ง (จังหวัดฟุกุอิในปัจจุบัน) ทางตะวันออกอันห่างไกลเพื่อสร้างกองกำลังขึ้นมาเพื่อยึดอำนาจคืนจากรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ แต่ทว่าทัพของรัฐบาลโชกุนใหม่ยกทัพติดตามมา ทำให้นิตตะ โยะชิซะดะ และเจ้าชายทั้งสองถูกทัพของรัฐบาลโชกุนฯห้อมล้อมอยู่ที่ป้อมคะเนะงะซะกิ ต่อมาป้อมคะเนะงะซะกิแตกทัพของรัฐบาลโชกุนฯสามารถเข้ายึดป้อมได้ นิตตะ โยะชิอะกิ บุตรชายคนโตของโยะชิซะดะ ทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต เจ้าชายทั้งสองพระองค์ถูกปลงพระชนม์ ส่วนนิตตะ โยะชิซะดะนั้น หลบหนีออกไปได้ ในค.ศ. 1338 โยะชิซะดะรวบรวมกำลังเข้าโจมตีป้อมคุโระมะรุ ซึ่งเป็นป้อมของรัฐบาลโชกุนฯ ในขณะการสู้รบที่ป้อมคุโระมะรุ ม้าของโยะชิซะดะต้องธนูและล้มทับร่างของโยะชิซะดะทำให้ไม่สามารถขยับได้ เมื่อเห็นว่าตนเองกำลังพ่ายแพ้ ตามวรรณกรรมเรื่อง "ไทเฮกิ" นิตตะ โยะชิซะดะ ได้ใช้ดาบตัดศีรษะของตนเอง จนถึงแก่ความตายในที่สุด หลังจากที่นิตตะ โยะชิซะดะ เสียชีวิตไปแล้ว บุตรหลานที่ยังคงมีชีวิตรอดของโยะชิซะดะ เปลี่ยนชื่อสกุลจากนิตตะเป็น อิวะมะซึ และกลับไปครองเมืองนิตตะที่แคว้นโคซุเกะตามเดิมไปตลอดจนถึงยุคเอ.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและนิตตะ โยะชิซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

นินจา

การวาดแม่แบบนินจาจากชุดสเก็ตช์ ("โฮะกุไซ มังงะ")โดย คะสึชิกะ โฮะกุไซ ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นบนกระดาษตอนที่ 6 ค.ศ. 1817 คุนะอิ '''คุนะอิ'''มีไว้ขุดหลุมหรือขว้างใส่ศัตรูเหมือนดาวกร.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและนินจา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอิซุ

แผนทีประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2411 แสดงแคว้นอิซุตรงจุดสีแดง แคว้นอิซุ แคว้นศักดินาโบราณของญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่ส่วนหนึ่งของ จังหวัดชิซุโอะกะ และ จังหวัดโตเกียว ใน ยุคเฮอัง และ ยุคคะมะกุระ แคว้นอิซุเป็นฐานอำนาจของ ตระกูลโฮโจ ตระกูลที่เป็น ชิกเก็ง หรือผู้สำเร็จราชการแทนโชกุนตลอดสมัย รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ จนกระทั่งตระกูลโฮโจหมดอำนาจพร้อมกับการล่มสลายของรัฐบาลโชกุนคะมะกุระเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและแคว้นอิซุ · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและโชกุน · ดูเพิ่มเติม »

โมะมิจิโนะกะ

ประกอบบท ''โมมิจิ โนะ กะ'' โมมิจิ 24 พันธุ์ในเขตจูบุ โมมิจิ โนะ กะ - ชมใบไม้แดง (紅葉賀, Momiji no Ga) "Autumn Excursion" "Beneath the Autumn Leaves" เป็นบทที่ 7 ของ ตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท บท โมมิจิ โนะ กะ ดำเนินเรื่องในฤดูใบไม้ร่วง ในขณะที่เก็นจิ อายุราว 18 ปี เนื้อหาเกี่ยวข้องทับซ้อนกับช่วงปลายของบท สุเอทสึมุฮานะ และ ช่วงปลายของบท วะกะมุราซากิ ดำเนินเรื่องต่อมาจนถึงฤดูใบไม้ร่วงปีต่อมา ที่เก็นจิอายุ 19 ปี.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและโมะมิจิโนะกะ · ดูเพิ่มเติม »

โรนิง

มิยาโมโตะ มุซาชิ (ในฐานะภาพตัวแทนของโรนิง) กำลังต่อสู้กับสัตว์ประหลาดนึเอะ โรนิน คือชื่อเรียกของซามูไร ที่ไร้สังกัดในช่วงสมัยการปกครองระบบขุนนางของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 1728 – พ.ศ. 2411) เหตุที่ทำให้ซามูไรเหล่านี้กลายเป็นโรนิง มาจากการที่เจ้านายของพวกเขาล่มสลาย หรือสูญเสียความนิยมหรือสิทธิพิเศษไป เมื่อซามูไรไร้ผู้ที่เป็นเจ้านายของตนแล้ว เขาก็จะมิใช่ซามูไรอีกต่อไป เพราะคำว่า ซามูไร มีที่มาจากคำกริยาที่ว่า "ซาบุเรา" ซึ่งแปลว่า รับใช้ ความหมายของซามูไรจึงแปลว่า ผู้รับใช้ เมื่อไม่มีเจ้านาย พวกเขาก็ไม่ใช่ผู้รับใช้อีก ความหมายตามตัวอักษรของคำว่า โรนิง คือ “คนคลื่น” ซึ่งหมายถึงคนที่ถูกเหวี่ยงไปมาโดยคลื่นในทะเล โดยช่วงเวลาของพวกเขาเริ่มต้นขึ้นในสมัยนาระและเฮอัง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กล่าวถึงข้าแผ่นดินหลาย ๆ คนที่หนีทัพออกมาจากเขตปกครองของเจ้านายตนเอง รวมไปถึงซามูไรที่สูญเสียเจ้านายของตนไปในสงครามด้ว.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและโรนิง · ดูเพิ่มเติม »

โอะนิงะวะระ

อะนิงะวะระ โอะนิงะวะระ หมายความว่า "กระเบื้องรูปยักษ์" เป็นเครื่องประดับหลังคา พบได้ในสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ทำเป็นรูปยักษ์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า "โอะนิ" มีลักษณะเป็นอสุรกายน่ากลัว ก่อนยุคเฮอัน มักใช้ ฮะนะงะวะระ หรือกระเบื้องรูปเถาไม้ ประดับหัวหลังคา"." JAANUS.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและโอะนิงะวะระ · ดูเพิ่มเติม »

โอดะ โนบูนางะ

อดะ โนบุนางะ เป็นไดเมียว และหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซงโงกุ เป็นหนึ่งในสามผู้รวบรวมญี่ปุ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงก.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและโอดะ โนบูนางะ · ดูเพิ่มเติม »

โอนิงิริ

้าวปั้นโอนิงิริแบบไม่ห่อสาหร่ายและแบบห่อสาหร่าย โอนิงิริ (おにぎり, 御握り) หรือ โอมูซูบิ (おむすび) คือข้าวปั้นของญี่ปุ่นที่มีลักษณะสามเหลี่ยมหรือวงรี โดยห่อด้วยสาหร่าย (โนริ) โดยในสมัยก่อนโอนิงิริจะมีไส้บ๊วยเค็ม (อูเมโบชิ) ปลาเค็ม (ชาเกะหรือคัตสึโอบูชิ) หรือไส้ที่มีรสชาติเค็มต่าง ๆ โอนิงิริแตกต่างกับซูชิตรงที่ข้าวในซูชิจะมีรสเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชูญี่ปุ่น (ซูชิเมชิ) เป็นส่วนผสม.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและโอนิงิริ · ดูเพิ่มเติม »

โอเซจิ

อเซจิ (御節/ お節) หรือ โอเซจิเรียวริ (御節料理/ お節料理) (เรียวริ แปลว่า การทำอาหาร) เป็นสำรับอาหารสำหรับเทศกาลปีใหม่ในญี่ปุ่น เป็นขนบประเพณีที่มีมาตั้งแต่ยุคเฮอัง โอเซจิ นั้นจะถูกจัดเรียงอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยม 3-4 กล่องที่เรียกว่า จูบาโกะ (重箱) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกล่องเบ็นโต จูบาโกะจะถูกซ้อนเก็บไว้ทั้งก่อนการใช้งานและหลังใช้งาน โอเซจินั้นมักรับประทานร่วมกับโทโซะ ชาวญี่ปุ่นจะรับประทานโอเซจิเรียวริกันในช่วงเวลา 3 วันหลังวันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) ซึ่งนิยมรับประทานโอเซจิเรียวริเป็นมื้อแรกของปีพร้อมกับครอบครัว.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและโอเซจิ · ดูเพิ่มเติม »

โทะริอิ

ทะริอิที่ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ เป็นโทะริอิรูปแบบ ''เรียวบุ'' นะงะซะกิ โทะริอิ (ความหมาย: ที่ของปักษา) คือซุ้มประตูแบบญี่ปุ่น ตั้งไว้เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ว่า อาณาเขตเบื้องหลังเสาโทะริอินี้เป็นอาณาเขตของเทพเจ้า เพื่อที่ผู้คนจะได้ไม่เผลอกระทำการอันจะเป็นการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โทะริอิสามารถพบได้ตามศาลเจ้าชินโตตลอดจนวัดพุทธบางแห่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในแผนที่ของญี่ปุ่น จะใช้สัญลักษณ์โทะริอิ เป็นเครื่องหมายบอกตำแหน่งศาลเจ้าต่างๆ นอกจากนี้ อาจพบโทะริอิได้ถามทางเดินและท้องถนนทั่วไปที่แถวนั้นอาจมีเจ้าที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ หรือแม้แต่ในป่าหรือภูเขาลึกบางแห่ง โทะริอิมีมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่อาจทราบได้ แต่บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนถึงโทะริอิ ถูกเขียนเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและโทะริอิ · ดูเพิ่มเติม »

โคเบะ

() เป็นเมืองเอกของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับที่ 5 และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของเกาะฮนชู ห่างจากเมืองโอซะกะไปทางตะวันตกประมาณ 30 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคนและเป็นส่วนหนึ่งของมหานครเคฮันชิง โคเบะปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในพงศาวดารนิฮงโชะกิที่กล่าวถึงการก่อตั้งศาลเจ้าอิกุตะโดยพระจักรพรรดิจิงกูเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและโคเบะ · ดูเพิ่มเติม »

ไทระ โนะ ชิเงะโมะริ

ไทระ โนะ ชิเงะโมะริ (1138 – 2 กันยายน 1179) บุตรชายของ ไทระ โนะ คิโยะโมะริ อัครมหาเสนาบดีผู้ทรงอิทธิพลช่วงปลาย ยุคเฮอัง ชิเงะโมะริเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1138 เป็นบุตรชายคนโตของ คิโยะโมะริที่เกิดกับภรรยาคนแรกคือ ทะกะชินะ โนะ อะกิโกะ หลังจากที่คิโยะโมะริได้สละตำแหน่งผู้นำตระกูลชิเงะโมะริ จึงได้สืบทอดตำแหน่งต่อมาแต่ชิเงะโมะริเป็นคนจิตใจดีจึง มักจะมีปัญหากับคิโยะโมะริอยู่เสมอ ไทระ โนะ ชิเงะโมะริ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1179 ด้วยอาการป่วยขณะอายุเพียง 41 ปี หมวดหมู่:ตระกูลไทระ หมวดหมู่:ซะมุไร หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและไทระ โนะ ชิเงะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

ไทระ โนะ คิโยะโมะริ

ทระ โนะ คิโยะโมะริ (ญี่ปุ่น: たいら の きよもり Taira no Kiyomori หรือ 平清盛 Taira Kiyomori ค.ศ. 1118 - ค.ศ. 1181) หรือ คิโยะโมะริแห่งไทระ ซะมุไรซึ่งเรืองอำนาจขึ้นปกครองญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคเฮอังในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถือเป็นชนชั้นซะมุไรคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ขึ้นปกครองประเท.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและไทระ โนะ คิโยะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

ไทระ โนะ โทะกิโกะ

นางไทระ โนะ โทะกิโกะ อุ้มพระจักรพรรดิอังโตะกุ เพื่อหลบหนีมังกร ไทระ โนะ โทะกิโกะ (ค.ศ. 1126 - ค.ศ. 1185) เป็นสตรีในช่วงปลายยุคเฮอัง หนึ่งในสมาชิกตระกูลไทระ เป็นภรรยาเอกของไทระ โนะ คิโยะโมะริ ขุนนางซะมุไรผู้มีอำนาจในราชสำนักญี่ปุ่นช่วงปลายสมัยเฮอัง ไทระ โนะ โทะกิโกะ เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและไทระ โนะ โทะกิโกะ · ดูเพิ่มเติม »

ไทระ โนะ โทะกุโกะ

ทระ โนะ โทะกุโกะ (ค.ศ. 1155 - ค.ศ. 1214) เป็นสตรีในช่วงปลายยุคเฮอัง หนึ่งในสมาชิกตระกูลไทระ พระจักรพรรดินีในพระ จักรพรรดิทะกะกุระ และเป็นหนึ่งในพระจักรพรรดินีเพียงสองพระองค์ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่มาจากชนชั้นซะมุไร (อีกองค์หนึ่งคือ โทะกุงะวะ มะซะโกะ) ไทระ โนะ โทะกุโกะ เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและไทระ โนะ โทะกุโกะ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโจไดจิง

ง (太政大臣) หรือ อัครมหาเสนาบดี เป็นตำแหน่งสูงสุดของขุนนางฝ่ายบริหารของญี่ปุ่น เริ่มปรากฏครั้งแรกในปี พ.ศ. 1246 โดยมีเจ้าชายโอะซะกะเบะเป็นผู้ประเดิมตำแหน่ง หลังจากนั้นในยุคเฮอัง คนในตระกูลฟุจิวะระได้เป็นผู้ผูกขาดตำแหน่งไดโจไดจิงเรื่อยมา โครงสร้างการบริหาร จะแบ่งออกไปสามส่วน คือ ส่วนแรก ไดโจไดจิง หรืออัครมหาเสนาบดี เป็นผู้กุมอำนาจส่วนกลาง และประกอบด้วย ซะไดจิง (左大臣) มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย และอุไดจิง (右大臣) มหาเสนาบดีฝ่ายขวา โดยอัครมหาเสนาบดี จะเป็นประธานของสภาอำมาตย์และหัวหน้าของบรรดาข้าราชการ โดยเฉพาะมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ตลอดจนสี่ขุนนางใหญ่และสามขุนนางเล็ก แต่ในสมัยเอะโดะ ซึ่งเป็นยุคที่รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะเรืองอำนาจ ตำแหน่งไดโจไดจิงเป็นตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจแต่ก็มีการสืบตำแหน่งเรื่อยมา พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ใน..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและไดโจไดจิง · ดูเพิ่มเติม »

ไดโจเท็นโน

ักรพรรดิองค์ล่าสุดที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นไดโจเท็นโน ไดโจเท็นโน หรือ ดาโจเท็นโน (太上天皇 Daijō Tennō, Dajō Tennō แปลตรงตัวว่า มหาจักรพรรดิ) เป็นพระอิสริยยศของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่สละราชสมบัติ (พระเจ้าหลวง) ตามประมวลกฎหมายไทโฮ ไดโจเท็นโนยังสามารถใช้พระราชอำนาจบางประการของกษัตริย์ได้ การใช้อำนาจเช่นนี้ปรากฏครั้งแรกในสมัยจักรพรรดินีจิโตเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ไดโจเท็นโนที่ผนวชจะได้รับสมัญญาว่า ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) การออกผนวชดังกล่าวประพฤติกันมากในยุคเฮอัง พระเจ้าแผ่นดินญี่ปุ่นที่เป็นไดโจเท็นโนแล้วยังใช้พระราชอำนาจกษัตริย์อยู่เป็นพระองค์ล่าสุด คือ จักรพรรดิโคกะก.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและไดโจเท็นโน · ดูเพิ่มเติม »

เพลงสรรเสริญพระบารมี

ำว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมี" (royal anthem) โดยการแปลเทียบเคียงจากชื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีของไทย (แปลตามตัวว่า เพลงยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์) เพลงชนิดนี้เป็นเพลงปลุกใจชนิดหนึ่ง โดยมากจะคล้ายคลึงกับเพลงชาติ แต่มักใช้กับบรรดาพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ เนื้อหาของเพลงมักเป็นไปในทางถวายพระพรแด่สถาบันพระมหากษัตริย์ เพลงประเภทนี้นิยมบรรเลงในยามที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เสด็จออกในที่สาธารณะ เช่น การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ การเสด็จออกมหาสมาคม และการเสด็จพระราชดำเนินในที่ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในวาระโอกาสสำคัญของพระราชวงศ์ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและเพลงสรรเสริญพระบารมี · ดูเพิ่มเติม »

เกียวโต (นคร)

แผนที่ ไดไดริ (แบบจำลอง) ของนครเฮอังเกียว เกียวโต, 1891 นักท่องเที่ยวที่วัดคิโยะมิซุ นครเกียวโต (ออกเสียง: เคียวโตะ) เป็นเมืองหลักของจังหวัดเกียวโต และเป็นอดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดว่าเป็นศูนย์กลางของเกาะฮนชู นอกจากนี้ นครเกียวโตยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ กลุ่มเมืองใหญ่ "เคฮันชิง" และนครเกียวโต ยังจัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 11 ของโลก ในปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและเกียวโต (นคร) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายชูกะกุ

พระสาทิสลักษณ์ของเจ้าชายชูกะกุในชุดนักบวช เจ้าชายชูกะกุ (3 เมษายน 1150 – 13 กันยายน 1202) เจ้าชายและพระภิกษุในช่วงปลาย ยุคเฮอัง พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของ จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ จักรพรรดิองค์ที่ 77 ที่ประสูติแต่ ฟุจิวะระ โนะ นะรุโกะ หมวดหมู่:เจ้าชายญี่ปุ่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและเจ้าชายชูกะกุ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงชิกิชิ

้าหญิงชิกิชิ (พ.ศ. 1692 — 1 มีนาคม พ.ศ. 1744) เป็นกวีหญิงชาวญี่ปุ่นช่วงยุคเฮอังจนถึงยุคคะมะกุระตอนต้น พระราชธิดาในจักรพรรดิโกะ-ชิระกะว.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและเจ้าหญิงชิกิชิ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคิชิ

้าหญิงคิชิ (พ.ศ. 1472 — พ.ศ. 1528) เป็นกวีหญิงชาวญี่ปุ่นช่วงกลางยุคเฮอัง และเป็นพระมเหสีในจักรพรรดิมุระกะม.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและเจ้าหญิงคิชิ · ดูเพิ่มเติม »

เณรน้อยเจ้าปัญญา

ณรน้อยเจ้าปัญญา เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องราวเกี่ยวกับ อิคคิว เณรในนิกายเซนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม ตัวละครอิคคิวมาจากพระนิกายเซนชื่อ อิกกีว โซจุง ที่มีชีวิตในช่วง..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและเณรน้อยเจ้าปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

เซ โชนะงน

''เซ โชนะงน'' ภาพประกอบจาก ''เฮียะคุนิงนิชชู'' เซ โชนะงน (清少納言,Sei Shōnagon), (ค.ศ. 966-1017)เป็นกวีหญิงชาวญี่ปุ่นผู้ประพันธ์รวมบทความชื่อ มะคุระโนะโซชิ (枕草子, makura no sōshi,The Pillow Book)- หนังสือข้างหมอน และเป็นนางในราชสำนักสมัยกลางยุคเฮอัน ถวายการรับใช้จักรพรรดินีเทชิ หรือ ซะดะโกะ และเป็นกวีหญิงร่วมสมัยเดียวกับ มุระซะกิ ชิคิบุ ยังไม่เป็นที่ปรากฏว่าชื่อจริงของ เซ โชนะงน ชื่ออะไร คำเรียกขานว่า เซ โชนะงน มาจากธรรมเนียมหลีกเลี่ยงการเรียกชื่อจริงของสตรีชั้นสูง โดยจะเรียกชื่อแทนตัวจาก ยศ ตำแหน่ง ส่วนหนึ่งของชื่อจริง หรือไม่ก็เรียกตามยศของญาติทางฝ่ายชาย สันนิษฐานกันว่า เซ(清,Sei) มาจากชื่อตระกูลคิโยะฮะระ (清原,Kiyohara) โชนะงน (少納言,Shōnagon) เป็นชื่อตำแหน่งหนึ่งของขุนนางในอำมาตยสภา (Daijoukan) ไม่มีหลักฐานว่าญาติคนใดของเธอได้ตำแหน่งโชนะงน บรรดานักวิชาการทั้งหลายสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นไปได้ที่ชื่อจริงของเธอคือ คิโยะฮะระ นะงิโกะ (清原 諾 子, Kiyohara Nagiko) หลักฐานรายละเอียดของชีวประวัติของเธอที่นอกเหนืองานเขียนของเธอเอง มีอยู่น้อยมาก กล่าวว่า เธอเป็นบุตรีของ คิโยะฮะระ โนะ โมะโตะสุเกะ (Kiyohara no Motosuke) นักปราชญ์และกวีแบบวะกะ ที่มีชื่อเสียง ปู่ของเธอคือ คิโยะฮะระ โนะ ฟุคุยะบุ (Kiyohara no Fukayabu) กวีชื่อชื่อดัง แต่พวกเขาก็เป็นเพียงขุนนางชั้นกลางเท่านั้น เมื่ออายุได้ 27 ปี เธอแต่งงานกับทะจิบะนะ โนะริมิตสึ (Tachibana Norimitsu)เมื่ออายุ 16 ปี และมีบุตรชายด้วยกัน 1 คน หลังจากนั้น เธอแต่งงานใหม่กับ ฟุจิวะระ มุเนะโยะ (Fujiwara Muneyo) และมีบุตรีให้เขา ราวปี.ศ 990 เธอเริ่มเข้าถวายการรับใช้จักรพรรดินีเทชิบุตรีของฟุจิวะระ มิจิทะกะ (Fujiwara Michitaka) จักรพรรดินีในพระจักรพรรดิอิจิโจ (Ichijō) และหย่าขาดกับสามี ตำหนักของจักรพรรดินีเทชิในเวลานั้น กลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางวัฒนธรรมในราชสำนักเฮอัน เซ โชนะงน มีชื่อเสียงจาก มะคุระโนะโซชิ งานเขียนที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องฤดูกาล เรื่องซุบซิบ บทร้อยกรอง การสังเกตการณ์ในเรื่องต่างๆ การบ่นเรื่องที่ไม่ชอบ และ เรื่องราวที่เธอคิดว่าสนุกสนานน่าสนใจ ระหว่างช่วงเวลาที่เธอทำงานในราชสำนัก ใน มะคุระโนะโซชิ ยังเขียนถึง เหตุการณ์วิกฤตของจักรพรรดินีเทชิ เมื่อขาดคนมีอำนาจหนุนหลัง หลังจากบิดาเสียชีวิตและพี่ชายถูกเนรเทศ โดยศัตรูทางการเมืองคนสำคัญ อาของเธอ ฟุจิวะระ มิจินะงะ รวบอำนาจการปกครองในราชสำนักไว้ในมือ ยังได้ส่งบุตรีของเขา โชชิ หรือ อะคิโกะ เข้ามาเป็นพระชายาของจักรพรรดิอิจิโจ ด้วยมีเหตุเพลิงใหม้พระราชวังเฮอันบ่อยครั้ง จักรพรรดิเทชิจึงถูกส่งไปพำนักชั่วคราวขณะก่อสร้างพระราชวังใหม่ที่ที่ประทับสำหรับจักรพรรดินีนอกพระราชฐาน เซ โชนะงน บันทึกไว้ว่า จักรพรรดินีเทชิ เจ้านายของเธอเสียชีวิตจาการคลอดบุตรในปี..1000 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตของเซ โชนะงน หลังปี..

ใหม่!!: ยุคเฮอังและเซ โชนะงน · ดูเพิ่มเติม »

เซ็สโซและคัมปะกุ

งราชวงศ์สำหรับผู้สำเร็จราชการ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เซ็สโซ เป็นยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองก่อนที่พระองค์จะเจริญพรรษาพอที่จะปกครองประเทศ เซ็สโซจะว่าราชการแทน และ คัมปะกุ เป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ทรงเจริญพระชนพรรษาแล้ว โดยอ้างว่าพระจักรพรรดิทรงไม่รู้เรื่องงานบริหารประเทศ จึงต้องให้คัมปะกุ คอยช่วยบริหารจัดการ ตลอดสมัยเฮอัง อำนาจการบริหารประเทศอยู่ในสองตำแหน่งนี้ คือ เซ็สโซ และคัมปะกุตลอด 500 ปี ผูกขาดโดยคนของตระกูลฟุจิวะระ และสายย่อยของตระกูลนี้ตลอด โดยเราจะเรียกตระกูลเหล่านี้ว่า เซ็สกัง หรือตระกูลผู้สำเร็จราชการนั่นเอง ภายหลังจากสมัยเฮอังอำนาจอยู่ในมือของรัฐบาลทหาร โดยโชกุนปกครองประเทศแทน โดยผู้สำเร็จราชการของโชกุนจะเรียกว่า ชิกเก็ง.

ใหม่!!: ยุคเฮอังและเซ็สโซและคัมปะกุ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุคเฮอันสมัยเฮอังเฮอัง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »