สารบัญ
40 ความสัมพันธ์: ชางลั่งถิงฟ่านหลี่พระเจ้าอู๋ฟูไชมณฑลเหลียวหนิงยุครณรัฐรัฐอู๋รัฐจิ้นรัฐฉู่ราชวงศ์โจวราชวงศ์โจวตะวันออกรายพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โจวลัทธิขงจื๊อสวนโบราณแห่งซูโจวสี่ยอดพธูหมั่นโถวหลี กวั่งหลี่จี้ (พระสนม)หวงอี้ (นักเขียน)อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)อู๋ซีอ๋องจิ้นเหวินกงคลองใหญ่ (ประเทศจีน)ฉินมู่กงซุยเป๋งซนโนโจอิปฏิทินจีนประวัติศาสตร์จีนปักกิ่งปี่เซียะโกวเจี้ยนโป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)ไซซีไซซี จอมใจจอมราชันย์เย่ (เหอเป่ย)เลียดก๊กเล่าจื๊อเศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่นเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเทศกาลเช็งเม้ง
ชางลั่งถิง
งลั่งถิงหรือพลับพลาเกลียวคลื่น (อังกฤษ: Canglang Pavilion) มีชื่อที่แปลเป็นภาษาอังกฤษหลากหลายว่า the Great Wave Pavilion หรือ Surging Wave Pavilion หรือ Blue Wave Pavilion เป็นหนึ่งในสวนโบราณ เมืองซูโจวที่ได้รับการยกย่องโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง ชางลั่งถิงตั้งอยู่ที่เลขที่ 3 ถนนชางลั่งถิงในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน สวนแห่งนี้เป็นหนึ่งในสี่สวนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเมืองซูโจวและยังเป็นสวนที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากสามารถสืบค้นประวัติของสวนย้อนหลังได้ถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (Northern Song Dynasty) ในราวปี..
ฟ่านหลี่
thumb ฟ่านหลี่ บุคคลในประวัติศาสตร์จีน เป็นกุนซือของเยว่อ๋องโกวเจี้ยนแห่งรัฐเยว่ (越国) เกิดในช่วงปลายยุคชุนชิว ภายหลังรบชนะรัฐอู๋ (吴国) ได้ออกจากราชการและได้เปลี่ยนชื่อเป็น เถาจูกง และได้ทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น เทพเจ้าแห่งการค้า ในเวลาต่อม.
พระเจ้าอู๋ฟูไช
หอกของอู๋อ๋องฟูไช พระเจ้าอู๋ฟูไช (King Fuchai of Wu) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง แคว้นอู๋ ครองสิริราชสมบัติระหว่าง 495 ปีก่อนคริสตกาล — 473 ปีก่อนคริสตกาลโดยการสวรรคตของพระองค์เป็นการสิ้นสุด ยุควสันตสารท หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โจว.
ดู ยุควสันตสารทและพระเจ้าอู๋ฟูไช
มณฑลเหลียวหนิง
มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่ มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม.
ดู ยุควสันตสารทและมณฑลเหลียวหนิง
ยุครณรัฐ
รณรัฐ (Warring States) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ ถัดจากยุควสันตสารท และสิ้นสุดลงเมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้รวมแผ่นดินในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นผลให้รัฐต่าง ๆ ที่รบรากันได้รวมเป็นหนึ่ง คือ จักรวรรดิฉิน ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่ซือหม่า เชียน นักประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ฮั่น ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 475 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "พิชัยสงครามรณรัฐ" (Zhàn Guó Cè; Strategies of the Warring States) หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์จีน ราชวงศ์โจว.
รัฐอู๋
รัฐอู๋ เป็นรัฐหนึ่งในช่วงราชวงโจวตะวันตก (Western Zhou Dynasty) และยุควสันตสารท (ยุคชุนชิว) และเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า โกวอู๋ (Gouwu; 勾吳) หรือ กงอู๋ (Gongwu; 工吳) ตามลักษณะการออกเสียงในสำเนียงภาษาท้องถิ่น รัฐอู๋ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี ทางตะวันออกของแค้วนฉู่ (อังกฤิษ: State of Chu; จีน: 楚; พินอิน: Chǔ; หรือ จีนตัวเต็ม: 楚國; จีนตัวย่อ: 楚国; พินอิน: Chǔguó) มีเมืองหลวงแห่งแรกชื่อ เหมยหลี่ (อังกฤิษ: Meili; จีน:梅里; พินอิน: Méilǐ) (เมืองอู๋ซีในปัจจุบัน) และภายหลังย้ายไปที่เมืองกูซู (อังกฤษ: Gusu; จีนตัวย่อ: 姑苏; จีนตัวเต็ม: 姑蘇; พินอิน: Gūsū) (ในบริเวณเมืองใหม่ซูโจว) และเมืองเหอหลู (อังกฤิษ: Helü; จีนตัวเต็ม: 闔閭; จีนตัวย่อ: 阖闾) (บริเวณเมืองเก่าซูโจวในปัจจุบัน).
รัฐจิ้น
จิ้น เป็นแคว้นที่อยู่ในยุคชุนชิว ซึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่และมีอำนาจมากในสมัยนั้นพอๆ กับแคว้นฉู่, ฉี ในตอนแรกแคว้นจิ้นเป็นแคว้นที่ยังไม่พัฒนา แต่เมื่อจิ้นเหวินกงขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงทำให้แคว้นจิ้นกลายเป็นแคว้นที่มีอำนาจทางเหนืออย่างรวดเร็ว ในขณะนั้นแคว้นฉู่ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ก็อยากขึ้นเป็นผู้นำแคว้น(ปาอ๋อง) ในปี 632 ก่อนคริสต์ศักราช แคว้นจิ้นและแคว้นฉู่เปิดศึกรบครั้งใหญ่ กองทัพฉู่แพ้อย่างราบคาบ พระเจ้าจิ้นเหวินแห่งแคว้นจิ้น(晋国)จึงได้ทรงขึ้นเป็นมหาราชาแห่งที่ราบตอนกลางนับจากนั้นเป็นต้นมา การแย่งชิงอำนาจมหาราชาระหว่างแคว้นจิ้นและแคว้นฉู่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาร้อยกว่าปี สุดท้ายพระเจ้าฉู่จวงหวังก็ทรงสามารถรบชนะกองทัพจิ้นได้ และขึ้นเป็นมหาราชาแห่งที่ราบตอนกลาง ตอนหลังแคว้นจิ้นได้ล่มสลายลงและได้แบ่งเป็นแคว้น จ้าว เว่ย หาน หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศจีน.
รัฐฉู่
รัฐฉู่ (State of Chu, 1030 – 223 ปีก่อนคริสตกาล) รัฐศักดินาโบราณของจีนในช่วง ยุควสันตสารท – ยุครณรัฐ ทรงอำนาจและอิทธิพลอย่างมากทั้งทางด้านการทหารและการปกครองก่อนจะถูก รัฐฉิน พิชิตเมื่อ 223 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฉิน ราว 206 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีเชื้อพระวงศ์คนหนึ่งของอดีตรัฐฉู่นามว่า เซี่ยงอวี่ ได้ตั้งตนเองเป็นกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ตะวันตกและสามารถโค่นล้มราชวงศ์ฉินลงได้สำเร็จขณะเดียวกันมีชาวนาซึ่งมาจากอดีตรัฐฉู่เช่นกันนามว่า หลิวปัง ได้ตั้งตนเป็นใหญ่และต่อสู้กับเซี่ยงอวี่หรือ ฌ้อปาอ๋อง นานถึง 4 ปีก็ได้ชัยชนะเหนือเซี่ยงอวี่อย่างเด็ดขาดและตั้งตนเองเป็นปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก พระนามว่า จักรพรรดิฮั่นเก.
ราชวงศ์โจว
ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว (ภาษาอังกฤษ:Zhou Dynasty, ภาษาจีนกลาง:周朝, พินอิน: Zhōu Cháo) ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1123 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว.
ราชวงศ์โจวตะวันออก
ราชวงศ์โจวตะวันออก(771-256 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองสืบต่อจากราชวงศ์โจวตะวันตกโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วหยาง ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองซีอาน เมืองหลวงเก่าของราชวงศ์โจวตะวันตกปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์นี้คือพระเจ้าโจวผิงหวัง ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์แค่ในนามเพราะองค์กษัตริย์ทรงไร้พระราชอำนาจที่จะปกครองเหล่าอ๋องต่างๆ ได้ เนื่องจากอ๋องต่างๆ ได้แข็งเมืองและทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน ในสมัยราชวงศ์นี้การแย่งชิงอำนาจกันของเหล่าอ๋องแบ่งเป็น 2 ยุคโดยยุคแรกเรียกว่า ยุคชุนชิว หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.
ดู ยุควสันตสารทและราชวงศ์โจวตะวันออก
รายพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โจว
ราชวงศ์โจว ปกครองจีนระหว่าง กลางศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล ถึง 256 ปีก่อนคริสตกาล จ.
ดู ยุควสันตสารทและรายพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โจว
ลัทธิขงจื๊อ
หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.
สวนโบราณแห่งซูโจว
วนโบราณแห่งซูโจว เป็นสถานที่ที่มีสวน คลอง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมายแบบจีนในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน ซึ่งได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกโดยโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สวนโบราณแห่งซูโจวมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่า 2,000 ปี ตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ 6 ในยุคชุนชิว ชาวเมืองรู้จักการสร้างและจัดสวนมานานแล้ว ต่อมาช่วงกลางสมัยราชวงศ์หมิงการสร้างสวนของซูโจวเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น จนถึงต้นสมัยราชวงศ์ชิง (ศตวรรษที่ 11-19) มีสวนทั้งในและนอกเมืองซูโจวมากกว่า 200 สวน ซึ่งมักสร้างขึ้นโดยเหล่าเจ้านายชั้นสูง ขุนนาง เศรษฐี และมหาบัณฑิตต่าง ๆ สวนโบราณในเมืองซูโจว แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ สวนในที่พักอาศัย สวนในวัด และสวนชานเมือง โดยมีจำนวนสวนในที่พักอาศัยมากที่สุด ศิลปะในการสร้างสวนแห่งเมืองซูโจวนั้น เป็นผลงานสร้างสรรค์สวนที่มักจะจำลองมาจากธรรมชาติ เช่นหิน เนินเขา และแม่น้ำ โดยมีศาลาหรือเจดีย์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ตามข้อมูลขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สวนในเมืองซูโจว "ได้แสดงถึงพัฒนาการทางด้านการออกแบบภูมิสถาปัตย์มานานกว่า 2,000 ปี (represent the development of Chinese landscape garden design over more than two thousand years)" นอกจากนั้น สวนเหล่านี้ยัง “เป็นสวนที่ปราณีตสวยงามที่สุด (most refined form)” ในด้านศิลปะการจัดสวน สวนของจีนมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณ สิ่งที่ทำให้สวนซูโจวมีชื่อเสียงมากก็คือการรวมเอาลักษณะของศิลปะต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืนลงตัว ตั้งแต่สถาปัตยกรรม (เช่น ศาลา และสะพาน) สิ่งของตกแต่ง (เช่น ภาพเขียนพู่ำกันจีน ภาพปัก หรือการเขียนอักษรจีนด้วยพู่กัน) การจัดภูมิทัศน์ (เช่น การจัดวางตำแหน่งและรูปแบบของทะเลสาบ ลำธาร ที่สามารถสะท้อนแสงจากดวงจันทร์ได้ดี โดยสระน้ำในสวนจะไม่นิยมรูปแบบที่เป็นเรขาคณิต แต่จะออกแบบทำให้กลมกลืนไปกับส่วนอื่น ๆ โดยเน้นให้เกิดความรู้สึกอันสงบเงียบ) อีกทั้งในด้านการเลือกต้นไม้ที่มีชื่ออันเป็นมงคล (ไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ใบหลากสี รวมทั้งไม้กระถาง และไม้ดัด) โดยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สวนซูโจวเน้นเรื่องหินกับน้ำเพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิเหมือนกับสวนเซ็นของญี่ปุ่น มากกว่าจะเป็นการประดับประดาด้วยพันธุ์ไม้หลากสี ปัจจุบันมีสวนจำนวน 69 แห่งในซูโจวที่ได้รับการบูรณะใหม่ โดยสวนเหล่านี้ทุกแห่งได้รับการบันทึกให้เป็น "มรดกของชาติ (National Heritage Sites)" ในปี..
ดู ยุควสันตสารทและสวนโบราณแห่งซูโจว
สี่ยอดพธู
ี่ยอดพธู (Four Beauties) เป็นคำเรียกสตรีสี่คนที่ได้ชื่อว่างดงามที่สุดในประวัติศาสตร์จีนโบราณ โดยทั้งสี่คนนี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองพลิกผันถึงขั้นล่มสลายของอาณาจักรหรือเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ คำโคลงจีนที่ใช้เรียกสตรีทั้งสี่นี้ได้แก่ "沉鱼落雁,闭月羞花" ถาวร สิกขโกศล แปลเป็นไทยว่า รายชื่อนามสตรีทั้งสี่ เรียงตามช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ดังนี้.
หมั่นโถว
หมั่นโถวสีขาว หมั่นโถว เป็นซาลาเปาที่ไม่มีไส้.
หลี กวั่ง
การขยายอาณาเขตของราชวงศ์ฮั่นซึ่งเส้นทางการขยายอาณาเขตของหลี่กวงอยู่เส้นสีแดง หลี่กวง (Li Guang; เสียชีวิต 119 ปีก่อนคริสตกาล) ขุนศึกในสมัย ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ผู้ได้รับสมญานามจากพวก ซฺยงหนู ว่า แม่ทัพเหินหาว เขาฆ่าตัวตายไม่นานหลังจาก ยุทธการที่โม่เป่ย เมื่อ 119 ปีก่อนคริสตกาล หลี่กวงมาจากตระกูลหลี่แห่งหลงซีอันเป็นตระกูลที่เป็นสาขาย่อยของตระกูลหลี่โดยเขาเป็นทายาทของ เล่าจื๊อ นักปราชญ์คนสำคัญแห่ง ยุควสันตสารท ผู้แต่งหนังสือ เต้าเต๋อจิง และแม่ทัพแห่งรัฐฉิน หลี่ซิน และเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์เหลียงตะวันตก และจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์ถัง นอกจากนี้เขายังเป็นปู่ของแม่ทัพ หลี่หลิง ที่แปรพักตร์ไปเข้ากับพวก ซฺยงหนู หมวดหมู่:ขุนนางจีน หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก.
หลี่จี้ (พระสนม)
หลี่จี้ (สิ้นพระชนม์ 651 ปีก่อนคริสตกาล) พระสนมใน จิ้นเซี่ยนกง แห่ง รัฐจิ้น ใน ยุควสันตสารท และเป็นพระราชมารดาของ พระเจ้าจิ้นจื่อซี กษัตริย์องค์ต่อมา พระสนมหลี่จี้สิ้นพระชนม์พร้อมกับพระโอรสเมื่อ 651 ปีก่อนคริสตกาลโดยฝีมือแม่ทัพ หลี่เค่อ หลังจากพระเจ้าจิ้นจื่อซีสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาได้ไม่กี่เดือน หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โจว หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โจวตะวันออก.
ดู ยุควสันตสารทและหลี่จี้ (พระสนม)
หวงอี้ (นักเขียน)
หวงอี้ (อักษรจีน: 黄易 พินอิน: Huáng Yì; พ.ศ. 2495 – 5 เมษายน พ.ศ. 2560) เป็นนามปากกาของนักเขียนนิยายกำลังภายใน ชื่อภาษาอังกฤษคือ Huang Yi (ในปกหลังของหนังสือที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ใช้คำว่า Wong Yi อันเป็นสำเนียงกวางตุ้ง) ชื่อ หวงอี้ เป็นจีนกลาง ส่วนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า อึงเอี๊ยะ หวงอี้เป็นชาวฮ่องกง เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเมื่อ ค.ศ.
ดู ยุควสันตสารทและหวงอี้ (นักเขียน)
อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)
อัครมหาเสนาบดี เป็นชื่อตำแหน่งข้าราชการประจำชั้นสูงสุดในประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาจมีอายุย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์ฉินที่เริ่มกำหนดตำแหน่ง "นายกแห่งข้าราชการพลเรือนทั้งปวง" (head of all civil service officials) อำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งนี้แตกต่างกันไปในแต่ละสมั.
ดู ยุควสันตสารทและอัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)
อู๋ซี
อู๋ซี (อังกฤษ: Wuxi) เป็นเมืองอุตสาหกรรมเก่าในมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณที่ลุ่มปากแม่น้ำแยงซี มีทะเลสาบไท่หูพาดผ่านแบ่งเมืองออกเป็นสองส่วน ทางทิศจะวันตกมีอาณาเขตติดกับฉางโจว และทางทิศตะวันออกติดกับซูโจว เนื่องจากเป็นเมืองที่ได้รับการพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้ จึงถูกขนานนามว่า "เซี่ยงไฮ้น้อย" มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นหนึ่งในเมืองต้นกำเนิดอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสมัยใหม่ของจีน และยังเป็นบ้านเกิดของนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายคนในสมัยศตวรรษที่ 20 ที่มีส่วนสร้างเมืองเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองเศรษฐกิจสมัยใหม่อีกด้ว.
อ๋อง
อ๋อง (หวัง หรือ หวาง) แปลเป็นภาษาไทยคือกษัตริย์ เป็นตำแหน่งสูงสุดของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ยจนถึงราชวงศ์โจว ซึ่งสมัยนั้นจีนยังไม่รวมเป็นจักรวรรดิที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งแต่ละแคว้นก็จะมีอ๋องเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งต่อมาฉินอ๋องเจิ้งแห่งแคว้นฉินทรงรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น พระองค์ถือว่าพระองค์มีคุณงามความดีเหนืออ๋องในอดีตทั้งมวล ทรงเห็นว่าตำแหน่งอ๋องไม่ยิ่งใหญ่เพียงพอสำหรับพระองค์ ฉินอ๋องเจิ้นจึงทรงพระราชดำริคำเรียกขึ้นใหม่คือ ฮ่องเต้ ฉินอ๋องเจิ้นทรงใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ ในยุคชุนชิวและจ้านกว๋อ (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีอ๋องอยู่เพียง 5 พระองค์เท่านั้นที่ได้รับการยกย่องเป็น ปาอ๋อง หรือ ปาจู๋ (霸, Bà) แปลได้ว่า "อ๋องผู้ยิ่งใหญ่" ได้แก.
จิ้นเหวินกง
จิ้นเหวินกง (697 – 628 ปีก่อนคริสตกาล) กษัตริย์แห่ง รัฐจิ้น ใน ยุควสันตสารท ครองราชบัลลังก์ระหว่าง 636 – 628 ปีก่อนคริสตกาลซึ่งกษัตริย์พระองค์นี้เป็น 1 ใน 5 อ๋องผู้ยิ่งใหญ่เพราะพระองค์มีพระปรีชาสามารถอย่างสูงสามารถขยายดินแดนของรัฐจิ้นออกไปได้อย่างกว้างขวางและทำให้รัฐจิ้นที่เป็นรัฐเล็ก ๆ อ่อนแอสามารถขึ้นมาเทียบ รัฐฉู่ และ รัฐฉี ได้สำเร็จ หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โจว.
คลองใหญ่ (ประเทศจีน)
แผนที่คลองใหญ่ในสมัยราชวงศ์สุย คลองใหญ่ (Grand Canal) หรือ ต้า-ยฺวิ่นเหอ ขุดในสมัยราชวงศ์สุย เริ่มขุดตั้งแต่ปี..
ดู ยุควสันตสารทและคลองใหญ่ (ประเทศจีน)
ฉินมู่กง
ฉินมู่กง (สิ้นพระชนม์ 621 ปีก่อนคริสตกาล) กษัตริย์แห่ง รัฐฉิน ใน ยุควสันตสารท ครองราชบัลลังก์ระหว่าง 659 – 621 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งฉินมู่กงได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 อ๋องผู้ยิ่งใหญ่เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์สามารถขยายอาณาเขตของรัฐฉินออกไปได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้พระองค์ยังมีขุนนางที่ปรึกษาที่มีความสามารถอีกหลายคนรวมถึงพระองค์ยังอภิเษกกับพระราชธิดาของ จิ้นเซี่ยงกง แห่ง รัฐจิ้น อีก 2 พระองค์คือองค์หญิง มู่จี และองค์หญิง ฮวยอิง ทำให้เกิดการเรียกช่วงเวลานั้นว่า มิตรภาพแห่งฉินและจิ้น หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โจว.
ซุยเป๋ง
ซุยเป๋ง (Cui Zhouping) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ปราชญ์เต๋าอีกคนที่ปรากฏตัวในเรื่องสามก๊ก ซุยเป๋งเป็นศิษย์คนหนึ่งของสุมาเต็กโช คบหาสนิทสนมกับ ขงเบ้ง, ชีซี, โจ๊ะก๋งหงวน และ เบงคงอุย เป็น 1 ใน 2 คนที่เชื่อว่าที่ขงเบ้งกล่าวเทียบตัวเองเหมือนขวันต๋งและงักเย ปราชญ์ในยุคชุนชิวเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริง (อีกหนึ่งคนที่เชื่ออย่างนั้น คือ ชีซี) เมื่อเล่าปี่ไปหาขงเบ้งครั้งแรก เมื่อไม่เจอตัว ระหว่างกลับไปเจอกับ ซุยเป๋งที่กำลังเดินผ่านมา เห็นท่าทางเหมือนผู้มีความรู้ ไม่เหมือนคนทั่วไป จึงลงจากม้าไปคารวะ เมื่อรู้ว่าคือ ซุยเป๋ง เพื่อนของขงเบ้งที่สุมาเต็กโชเคยกล่าวถึง จึงชวนเสวนาด้วย เมื่อได้เสวนากันแล้ว เล่าปี่เล่าถึงปณิธานของตนที่จะกอบกู้บ้านเมือง ซุยเป๋งเมื่อได้ทราบแล้ว กล่าวชื่นชมปณิธานของเล่าปี่ แต่ก็กล่าวว่า สิ่งที่เล่าปี่พยายามจะทำนั้นคือการฝืนชะตาฟ้า ราชวงศ์แม้จะฟื้นฟูขึ้นมาแต่ก็ไม่วายต้องล่มสลายอีก การฝืนชะตาฟ้าแม้จะพยายามแค่ไหนก็ไม่สำเร็จ เล่าปี่ได้ฟังคำของซุยเป๋งก็เข้าใจอยู่ แต่ก็ยังยืนกรานความตั้งใจของตน และถามซุยเป๋งว่าจะไปที่ไหน ซุยเป๋งตอบว่ากำลังจะไปหาขงเบ้ง เล่าปี่ก็ตอบว่า ตนไปหาขงเบ้งแล้วแต่ไม่อยู่ จึงขอชวนท่านไปอยู่กับข้าพเจ้าที่เมืองซินเอี๋ยก่อน แล้วค่อยมาหาขงเบ้งด้วยกัน แต่ซุยเป๋งกล่าวว่า ตนเป็นเพียงคนป่าคนดอย ไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับเรื่องบ้านเมืองดีกว่า ว่าแล้วก็ขอตัวจากไป ต่อมา เมื่อเล่าปี่ไปหาขงเบ้งครั้งที่ 2 ขณะที่หิมะกำลังตกหนัก เล่าปี่ทราบจากจูกัดจิ๋น น้องชายของขงเบ้งว่า พี่ชายตนไม่อยู่ เพราะออกไปเที่ยวกับซุยเป๋ง ซึ่งบางครั้งก็ไปเล่นหมากรุกกันในถ้ำ ล่องเรือตกปลาด้วยกัน หรือไปเยี่ยมเยือนนักปราชญ์ตามภูเขาต่าง ๆ จากคำกล่าวเสมือนรู้อนาคตของซุยเป๋งนี้ ทำให้มีนักอ่านสามก๊กชาวไทยหลายคน วิเคราะห์กันว่า แท้จริงแล้ว บุคคลที่ฉลาดที่สุดในนิยายเรื่องนี้ คือ ซุยเป๋ง ไม่ใช่ขงเบ้ง เพราะเป็นผู้อ่านสถานการณ์ได้อย่างแตกฉาน ซึ่งต่อมาทุกอย่างก็เป็นจริงดังที่ซุยเป๋งกล่าวทุกประการ คือ ขงเบ้งแม้จะใช้สติปัญญาของตนช่วยเหลือเล่าปี่และเล่าเสี้ยนอย่างเต็มที่ แต่หลังจากตัวตายไปแล้ว ราชวงศ์ฮั่นก็ถึงกาลล่มสลายอยู่ดี เพราะความอ่อนแอ ไม่เอาไหนของเล่าเสี้ยน ตัวขงเบ้งเองก็ต้องรากเลือดตายในสนามรบด้วยวัยเพียง 52 ปี และมีผู้ตายในสงครามโดยแผนของขงเบ้งมากถึง 2 ล้านคน แต่ก็ยืดอายุราชวงศ์ฮั่นออกไปได้แค่ 40 ปี เท่านั้น.
ซนโนโจอิ
มพ์ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1861 แสดงออกถึงการต่อต้านคนต่างชาติ ("โจอิ" - 攘夷, "ขับคนป่าเถื่อน") ซนโนโจอิ เป็นชื่อของปรัชญาการเมืองและขบวนการทางสังคมของญี่ปุ่นที่มีรากฐานมาจากลัทธิขงจื้อใหม่ (Neo-Confucianism) ซึ่งได้กลายเป็นคำขวัญทางการเมืองในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1850 - 1860 ในความพยายามล้มล้างรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในช่วงยุคบะคุมะสึ.
ปฏิทินจีน
ปฏิธินจีนปี ค.ศ.2017 ปฏิทินจีน หมายถึง ปฏิทินสุริยคติหรือปฏิทินจันทรคติซึ่งชาวจีนหรือชาวต่างประเทศเชื้อสายจีนใช้ในทางราชการและการกำหนดวันสำคัญต่าง ๆ ในการติดต่อราชการ-ธุรกิจ ชาวจีนใช้ปฏิทินสุริยคติสากลเช่นเดียวกับชาวตะวันตกและอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่การกำหนดประเพณีสำคัญจะอาศัยปฏิทินจันทรคติเป็นหลักเสมอ ปฏิทินสุริยคติจีน กำหนดให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ดับที่ใกล้กับวันเหมายัน หรือวันที่ซีกโลกเหนือมีกลางวันสั้นที่สุด ส่วนปฏิทินจันทรคติจีน กำหนดให้เริ่มขึ้นปีนักษัตรใหม่ในวันลี่ชุน แต่เริ่มปีใหม่ในวันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันจันทร์ดับต้นฤดูใบไม้ผลิ มักอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์หรือปลายเดือนมกราคมของทุกปี.
ประวัติศาสตร์จีน
ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.
ดู ยุควสันตสารทและประวัติศาสตร์จีน
ปักกิ่ง
ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..
ปี่เซียะ
ปี่เซียะ ปี่เซียะ (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผีซิว (สำเนียงกลาง) หรือ เผยเหย้า (สำเนียงกวางตุ้ง) (Pixiu, Pi Yao; 貔貅; พินอิน: pí xiū) เป็นสัตว์ประหลาดตามความเชื่อของจีนมาแต่โบราณ เชื่อว่า ปี่เซียะ มีรูปร่างและเขาคล้ายกวาง แต่มีหน้า, หัว, ขาคล้ายสิงโต, มีปีกคล้ายนก, หลังคล้ายปลา และมีส่วนหางคล้ายแมวปนไปด้วยท้องและบางส่วนของหัวคล้ายมังกร เป็นสัตว์สี่ขา และเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ช่วยป้องกันและปัดเป่าภยันตรายและภูตผีปีศาจ สิ่งไม่ดีต่าง ๆ ได้ เชื่อว่าถูกแบ่งเป็นตัวผู้ชื่อ ปี่ (貔) และ ตัวเมียชื่อ เซียะ (貅) นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น เทียนลู่ (天祿) หรือ เทียนลก (樂祿) ตามแต่ละพื้นที่อีกด้วย ซึ่งความหมายของชื่อเหล่านี้ แปลได้ว่า กวางสวรรค์ หรือ ขจัดปัดเป่า เชื่อกันว่า ปี่เซียะ เป็นลูกตัวที่ 9 ของมังกร เป็นสัตว์ที่กินเก่งและไม่มีรูทวาร จึงไม่มีการขับถ่าย ในปลายยุคราชวงศ์โจว ตรงกับยุคชุนชิว มีการนำปี่เซียะมาใช้เป็นสัญลักษณ์โดยประดับเป็นรูปบนธงสำหรับการออกรบ โดยรวมในอดีตสันนิษฐานว่า ปีเซียะให้ความหมายในทางความกล้าหาญ การปกป้องคุ้มภัย และการต่อสู้เพื่อจะให้ได้มาซึ่งชัยชนะ นอกจากนี้แล้ว ปี่เซียะยังเป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์และคุ้มครองทรัพย์สมบัติอีกด้วย อันเนื่องจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอย่างเดียวไม่มีการขับถ่าย จึงมีการปั้นเป็นรูปปั้นเฝ้าหน้าท้องพระโรง ภายในพระราชวัง เช่น ฮ่องเต้ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงและประเทศจีน ปัจจุบัน มีการบูชาปี่เซียะ โดยมักทำเป็นรูปเคารพของสัตว์ที่มีลักษณะดังกล่าวในลักษณะหมอบ และมักทำเป็นคู่กัน โดยจะตั้งวางให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ยด้วย อีกทั้งยังเป็นที่บูชาของนักพนัน ผู้ที่นิยมเสี่ยงโชคในลักษณะวัตถุมงคล จากการที่เป็นสัตว์ที่กินอย่างเดียวไม่มีถ่าย จึงเป็นสัญลักษณ์ของการเก็บทรัพย์ ซึ่งกาสิโนบางแห่งในประเทศจีน, มาเก๊า และฮ่องกง จะมีรูปปั้นปี่เซียะนี้อยู่ด้านหน้าด้ว.
โกวเจี้ยน
กวเจี้ยน (ครองราชย์ 496–465 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นกษัตริย์ (王) แห่งรัฐเยว่ (越國) ทางตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียงปัจจุบัน ครองราชย์ช่วงปลายยุควสันตสารท เป็นพระโอรสของพระเจ้ายฺหวิ่นฉาง (允常) รัชกาลของพระเจ้าโกวเจี้ยนนั้นประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ขัดแย้งในยุควสันตสารท อันเป็นการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างรัฐเยว่กับรัฐอู๋ (吳國) สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของพระเจ้าโกวเจี้ยนซึ่งทรงผนวกรัฐอู๋เข้ากับรัฐเยว่เป็นผลสำเร็จ ฉะนั้น จึงมีผู้จัดพระเจ้าโกวเจี้ยนเข้าเป็นลำดับสุดท้ายในกลุ่มห้าอธิราช (五霸).
โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)
300px โป๊ยเซียน, ปาเซียน หรือ แปดเทพ (Eight Immortals หรือ Eight Genies) คือ เซียนแปดองค์ ตามความเชื่อในลัทธิเต๋าของจีน เป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนนับถือมาช้านาน นับเป็นหนึ่งในบรรดาเซียนนับร้อย ๆ องค์ของจีน แต่เซียนทั้งแปดนี้ นับว่าเป็นที่รู้จักดีและได้นับการนับถืออย่างกว้างขวางมาก ในศาลเจ้าตามของหมู่บ้านชาวจีน มักจะมีแท่นบูชาที่ปูด้วยผ้ามีภาพวาดเซียนทั้งแปดรวมเป็นกลุ่ม บ้างก็เป็นภาพเซียนนั่งเรือกลับจากการไปงานประชุมท้อสวรรค์ (Conference of the Magical Peach) สมาชิกทั้ง 8 ในกลุ่มของโป๊ยเซียนนั้นแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ปัจจุบันนี้โป๊ยเซียนมีด้วยกันดังนี้ เซียนแต่ละองค์ในบรรดา 8 องค์นี้ มีประวัติที่มา และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แตกต่างกันไป ในปัจจุบันทั้งชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน ยังนิยมนับถือบูชาโป๊ยเซียนอย่างสม่ำเสมอ หมวดหมู่:แปดเทพ.
ดู ยุควสันตสารทและโป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)
ไซซี
รูปวาดในจินตนาการ นางไซซี ขณะฟอกด้ายอยู่ริมลำธาร ไซซี ตามสำเนียงแต้จิ๋ว หรือ ซี ซือ ตามสำเนียงกลาง (Xi Shi) ชื่อเดิมคือ อี๋กวง (Yi Guang) เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เกิดประมาณ 506 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับยุคชุนชิว ที่มณฑลเจ้อเจียง ในแคว้นเยว่ (State of Yue) ไซซีได้รับฉายานามว่า "มัจฉาจมวารี" (จีน: 沉魚 พินอิน: chén yú) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ" (so beautiful as to make swimming fish sink) ในยุคเลียดก๊กที่แต่ละแคว้นรบกันนั้น แคว้นอู๋ (State of Wu) เป็นแคว้นที่มีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งจึงสามารถรบชนะแคว้นเยว่และจับตัวเยว่อ๋องโกวเจี้ยน และเสนาธิการฟ่านหลีไปเป็นตัวประกันที่แคว้นอู๋ด้วย เยว่อ๋องโกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้นเพื่อกู้ชาติแต่จำต้องยอมจงรักภักดีเพื่อให้อู๋อ๋องไว้ใจ ครั้งหนึ่งอู๋อ๋องเกิดมีอาการปวดท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายไม่สามารถให้การรักษาได้ เยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้ชิมอุจจาระของอู๋อ๋องต่อหน้าเสนาธิการทั้งปวง และบอกว่าอู๋อ๋องเพียงแค่มีพระวรกายที่เย็นเกินไป หากได้ดื่มสุราและทำร่างกายให้อบอุ่นขึ้นก็จะมีอาการดีขึ้นเอง และเมื่ออู๋อ๋องได้ทำตามก็หายประชวร อู๋อ๋องเห็นว่าเยว่อ๋องโกวเจี้ยนมีความจงรักภักดีจึงปล่อยตัวกลับคืนสู่แคว้นเยว่ เมื่อกลับสู่แคว้นเยว่ เยว่อ๋องโกวเจี๋ยนก็วางแผนที่จะกู้ชาติทันที โดยมีฟ่านหลีเป็นเสนาธิการคอยให้คำปรึกษา ฟ่านหลีได้เสนอแผนการสามอย่าง คือ ฝึกฝนกองกำลังทหาร พัฒนาด้านกสิกรรม และ ส่งสาวงามไปเป็นเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้ ไซซีเป็นหญิงสาวชาวบ้าน ลูกสาวคนตัดฟืนที่เขาจู้หลัวซาน (ภาษาแต้จิ๋ว กิวล่อซัว) นางถูกพบครั้งแรกขณะซักผ้าริมลำธาร นางมีหน้าตางดงามมาก พร้อมกับนางเจิ้งต้าน (แต้ตั๋น) ซึ่งมีความงามไม่แพ้กัน ฟ่านหลี (เถาจูกง) เสนาบดีแคว้นเยว่เป็นผู้ดูแลอบรมนางทั้ง 2 ให้มีอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง เป็นเวลานานถึง 3 ปี เพื่อที่จะไปเป็นบรรณาการให้กับแคว้นอู๋ เพื่อมอมเมาให้อู๋อ๋องฟูไช เจ้านครแคว้นอู๋ ลุ่มหลงอยู่กับเสน่ห์ของนาง จนไม่บริหารบ้านเมือง ซึ่งอู๋อ๋องฟูไชหลงใหลนางไซซีมากกว่านางเจิ้งต้าน ทำให้นางเจิ้งต้านน้อยใจจนผูกคอตาย ขณะที่มาอยู่ได้เพียงปีเศษเท่านั้น ผ่านไป 13 ปี เมื่อแคว้นอู่อ่อนแอลง แคว้นเยว่ก็สามารถเอาชนะได้สำเร็จในที่สุด ภายหลังจากที่อู่อ๋องฟูไชฆ่าตัวตายไปแล้ว นางกับฟ่านหลีที่ว่ากันว่า ได้ผูกสัมพันธ์ทางใจไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ก็ได้หายตัวไปพร้อมกันหลังเหตุการณ์นี้ บ้างก็ว่าทั้งคู่ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ทะเลสาบไซ้โอว (ทะเลสาบซีหู) เป็นต้น.
ไซซี จอมใจจอมราชันย์
ซซี จอมใจจอมราชันย์(卧薪尝胆,The Great Revival) เป็นละครโทรทัศน์จีนที่ออกฉายในปีค.ศ. 2007(ในจีน) และในประเทศไทยได้ออกอากาศทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี เริ่มฉายเมื่อวันที่20 เมษายน พ.ศ.
ดู ยุควสันตสารทและไซซี จอมใจจอมราชันย์
เย่ (เหอเป่ย)
เย่ หรือ เย่เฉิง หรือในวรรณกรรมเรื่องสามก๊กเรียก เงียบกุ๋น เมืองโบราณของประเทศจีนปัจจุบันคือ อำเภอหลินจาง เทศมณฑลหานตาน มณฑลเหอเป่ย และเมืองใกล้เคียง เทศมณฑลอันหยาง มณฑลเหอหนาน เมืองเย่ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกใน ยุควสันตสารท โดย ฉีหวน เจ้าผู้ครอง รัฐฉี และใน ยุครณรัฐ เมืองเย่ตั้งอยู่ใน รัฐเว่ย์ ซึ่งเมืองเย่เป็นศูนย์กลางทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจระหว่าง ยุคสามก๊ก และ ราชวงศ์เหนือ โดยเป็นศูนย์กลางทางทหารของขุนศึก อ้วนเสี้ยว หรือ ยฺเหวียนเซ่า และ โจโฉ หรือ เฉาเชา ช่วงปลายยุค ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หมวดหมู่:มณฑลเหอเป่ย์ หมวดหมู่:วุยก๊ก.
ดู ยุควสันตสารทและเย่ (เหอเป่ย)
เลียดก๊ก
ลียดก๊ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เลี่ยกั๋ว ตามสำเนียงกลาง แปลว่า กลุ่มเมือง หรือชื่อเต็มตามสำเนียงกลางว่า ตงโจวเลี่ยกั๋วจื้อ แปลว่า เรื่องกลุ่มเมืองโจวตะวันออก เป็นนิยายจีนซึ่ง เฝิง เมิ่งหลง (馮夢龍) ประพันธ์ขึ้นในราชวงศ์หมิง มีเนื้อหาเริ่มด้วยราชวงศ์โจวตะวันตกถึงแก่ความพินาศ ราชวงศ์โจวตะวันออกขึ้นแทนที่ แต่บ้านเมืองระส่ำระสายจนแตกแยกออกเป็นแว่นแคว้นน้อยใหญ่ต่าง ๆ ในยุควสันตสารทและยุครณรัฐ ไปจบที่จิ๋นซีฮ่องเต้รวมแผ่นดินเป็นผลสำเร็.
เล่าจื๊อ
ล่าจื๊อ, จาก ''ไมท์แอนด์ลีเจนส์ออฟไชน่า'', ค.ศ. 1922 โดย อี.ที.ซี. เวอร์เนอร์ เล่าจื๊อ (Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปรัชญาชาวจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดท่านหนึ่ง เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching) (道德經) ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ เล่าจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางเต๋า ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร.
เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น
ตะขอเข็มขัด ตอกและสลักด้วยการออกแบบตามหลักของสัตว์และนกในตำนาน ราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในยุคโบราณ ปรากฏช่วงเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองและถดถอยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ราชวงศ์ฮั่นเหนือ (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ.
ดู ยุควสันตสารทและเศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง
การแข่งเรือมังกรที่มาเก๊า เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง, เทศกาลตวนอู่ หรือ เทศกาลต่วนหงอ (端午节,端陽節) ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ "โหงวเหว่ยโจ่ว" เป็นการระลึกถึงวันที่ คุดก้วน หรือ ชีว์หยวน หรือ ชีหยวน (屈原, Qu Yuan (340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ กระโดดน้ำเสียชีวิต นอกจากนี้ ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง), ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่น แข่งเรือมังกร (Dragon Boat Festival 龙舟赛) จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย ทางรัฐบาลจีนยังกำหนดให้วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นี้เป็น วันกวีจีน (The Chinese Poet's Day) อีกด้วย เนื่องจากชีหยวน นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นกวีคนสำคัญของจีน.
ดู ยุควสันตสารทและเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง
เทศกาลเช็งเม้ง
ทศกาลเช็งเม้ง ในไต้หวัน ชิงหมิง (qing-ming, อักษรจีนตัวเต็ม: 清明節, อักษรจีนตัวย่อ: 清明节, พินอิน: Qīngmíngjié) หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว)หรือ "เฉ่งเบ๋ง" (ในสำเนียงฮกเกี้ยน) "เช็ง"หรือ"เฉ่ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง"หรือ"เบ๋ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ เช็งเม้งในประเทศจีน เริ่มต้นประมาณ 4-5 เมษายน ไปจนถึง 19-20 เมษายน เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง (เป็นที่มาของชื่อ เช็งเม้ง) สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลัก (บางปีจะเป็นวันที่ 4 เช่น เชงเม้งในปี 2559,2560) แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม - 8 เมษายน) แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ฮวงซุ้ย(แต้จิ๋ว) แต่คนฮกเกี้ยนเรียกว่า บ่องป้าย เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ.
ดู ยุควสันตสารทและเทศกาลเช็งเม้ง
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Spring and Autumn periodยุคชุนชิวชุนชิว