โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุคครีเทเชียส

ดัชนี ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

161 ความสัมพันธ์: บีเอลซิบูโฟพาราลิไททันพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงพืชบกพูคยองโกซอรัสกล้วยไม้กะละปังหาการสลับขั้วแม่เหล็กโลกการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่กินรีไมมัสกิ้งก่ามอนิเตอร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเนมหายุคมีโซโซอิกมหาเผ่าพันธุ์แห่งยิธยุคพาลีโอจีนยุคจูแรสซิกยูโอโพลเซอฟารัสราชสีมาซอรัสรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยวิลอซิแรปเตอร์วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวิวัฒนาการของมนุษย์วิวัฒนาการของคอเคลียวงศ์พวงแก้วกุดั่นวงศ์กบเล็บวงศ์กุหลาบวงศ์สาหร่ายบัววงศ์หญ้าข้าวก่ำวงศ์หอยหนามวงศ์หนอนตายหยากวงศ์จำปาวงศ์ขนุนวงศ์ปลากระโทงวงศ์ปลากระเบนธงวงศ์ปลากระเบนนกวงศ์ปลามังกรน้อยวงศ์ปลาตาเหลือกยาววงศ์ปลาฉลามปากเป็ดวงศ์ปลาปิรันยาวงศ์แอลลิเกเตอร์วงศ์เต่ามะเฟืองวงศ์เต่าสแนปปิ้งวงศ์เต่าแก้มแดงสมัยพาลีโอซีนสยามโมดอนสยามโมซอรัสสยามโมไทรันนัสสัตว์เลื้อยคลานทะเลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสติแรโคซอรัส...สไตกิโมล็อกหมึกกล้วยอมาร์กาซอรัสอลาโมซอรัสออร์นิทิสเกียอัลเบอร์โตโตซอรัสอันดับกลอยอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องอันดับจระเข้อันดับปลาหลังเขียวอันดับปลาหนังอันดับปลาคาราซินอันดับปลาตาเหลือกอันดับปลาฉลามขาวอันดับปลาฉลามครีบดำอันดับปลานวลจันทร์ทะเลอันดับปลาไหลอันดับนกกระทุงอันดับโนราอันดับเตยทะเลอาร์เจนติโนซอรัสอำพันอิกัวโนดอนอุทยานแห่งชาติออบหลวงอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาอุทยานแห่งชาติผาแต้มอูราโนซอรัสอีลาสโมซอรัสฮอร์นเวิร์ตฮาลิซอรัสฮาโดรซอร์ (วงศ์)ผีเสื้อ (แมลง)จากธรณีกาลทะเลเดดซีทาร์โบซอรัสทิแรโนดอนดราวิโดซอรัสความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกคอมมานด์ & คองเคอร์: ยูริ รีเวนจ์คาร์โนทอรัสงูตั๊กแตนตำข้าวซอโรพอดซอโรโพไซดอนซอโรโลฟัสซอโรเพลตาซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตซิจิลมาซาซอรัสซูโคไมมัสปลากระเบนจุดฟ้าปลากระเบนธงปลากระเบนค้างคาวปลาการ์ปลาสเกตปลาสเตอร์เจียนปลาอะโรวาน่าเอเชียปลาตกเบ็ดปลาฉลามมาโกปลาฉลามครุยปลาฉลามปากเป็ดปลาฉนากปลาซีลาแคนท์ปลาปอดออสเตรเลียปลาไบเคอร์ปลาเมือกปะการังปาล์ม (พืช)นกกาน้ำแบรีออนิกซ์แบรคิโอพอดแก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์แรมโฟริงคัสแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียงแหล่งแร่หาดส้มแป้นแอมโมนอยด์แอมโมไนต์แองคิโลซอรัสแอ่งสินปุนโมซาซอร์โมโนทรีมโอพอสซัมโอวิแรปเตอร์โดราเอมอนโดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะโคเพตดากไมอาซอราไฮดราลโมซอรัสไฮโนซอรัสไจกาโนโทซอรัสไททันโนซอรัสไทแรนโนซอรัสไดโนเสาร์ไดโนเสาร์ในประเทศไทยไซคาเนียไซโฟซูราเบเลมไนต์เฟิร์นเพลสิโอซอร์เมก้าแร็ปเตอร์เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีนเอบิลิซอรัสเอ็ดมอนโตซอรัสเฮสเปอร์รอร์นิสเทอริสิโนซอรัสเทอโรซอร์เทโรพอดเดสเพลโตซอรัสเต่าหัวค้อนเต่าอาร์คีลอนเซกโนซอรัส ขยายดัชนี (111 มากกว่า) »

บีเอลซิบูโฟ

ีเอลซิบูโฟ หรือ กบปีศาจ หรือ คางคกปีศาจ หรือ กบจากนรก (Beelzebufo) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่จำพวกกบที่สูญพันธุ์ไปแล้วในยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อกว่า 65-70 ล้านปีก่อน ในยุคครีเตเชียสตอนปลาย โดยคำว่า Beelzebufo นั้น มาจากคำว่า "บีเอลซิบับ" ซึ่งเป็นปีศาจตนหนึ่งในความเชื่อทางคริสต์ศาสนา เป็นปีศาจแมลงวัน และ bufo เป็นภาษาละตินแปลว่า "คางคก" ส่วนชื่อชนิดนั้น ampinga หมายถึง "โล่" ในภาษามาลากาซี บีเอลซีบูโฟ ถูกค้นพบครั้งแรกเป็นฟอสซิลในมาดากัสการ์เมื่อปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและบีเอลซิบูโฟ · ดูเพิ่มเติม »

พาราลิไททัน

ราไลไททัน (แปลว่า “ยักษ์ใหญ่แห่งลุ่มน้ำ”) เป็นซอโรพอด สกุลไททันโนซอร์ พบในประเทศอียิปต์ อาศัยอยู่ในปลายยุคครีเตเชียส ประมาณ 99.6 – 93.5 ล้านปีก่อนมันมีขนาดใหญ่ที่สุดในซอร์โรพอดแอฟริกาจนสตรูตามธรรมชาติน้อยมากเห็นคงจะมีแค่ คาร์ชาโรดอนโทซอรัส หรือซาร์โคซูคัส ความสูงของมันมีขนาดพอๆกับตึก 15 ชั้นมันยังปรากฏใน Planet Dinosaur ตอน Giant Dinosaur.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและพาราลิไททัน · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง

ัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง (Phu Wiang Dinosaur Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาแห่งหนึ่ง โดยเน้นที่การจัดแสดงเรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์ สังกัดกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์โคกสนามบินเนื้อที่ 100 ไร่ ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ก่อสร้างด้วยเงินงบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และอยู่ในความกำกับดูแลของกรมทรัพยากรธรณี เริ่มเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง · ดูเพิ่มเติม »

พืชบก

ืชบก (Embryophyte) หมายถึงกลุ่มพืชที่เติบโตบนพื้นแผ่นดิน (ซึ่งมีความหมายต่างจากพืชน้ำ) ประกอบไปด้วยต้นไม้, ไม้ดอก, เฟิร์น, มอสส์ และพืชบกสีเขียวอื่นๆ ทั้งหมดเป็นยูแคริโอตหลายเซลล์ที่สลับซับซ้อนที่มีอวัยวะสำหรับสืบพันธุ์เป็นแบบพิเศษ พืชบกได้รับพลังงานจากการสังเคราะห์ด้วยแสงและสังเคราะห์อาหารจากคาร์บอนไดออกไซด์ พืชบกอาจต่างจากสาหร่ายหลายเซลล์ที่ใช้คลอโรฟิลล์โดยสาหร่ายมีอวัยวะสืบพันธุ์นั้นเป็นหมัน พืชบกส่วนมากปรับตัวอาศัยอยู่บนบกแต่ก็มีบางส่วนอาศัยอยู่ในน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและพืชบก · ดูเพิ่มเติม »

พูคยองโกซอรัส

ูคยองโกซอรัส (천년부경용; Pukyongosaurus) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ ซึ่งอาศัยอยู่ในเกาหลีในยุคครีเทเชียสตอนต้น มันมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับยูเฮโลปัส และเป็นที่รู้จักกันจากชุดกระดูกสันหลังในส่วนของลำคอและหลัง และเคยอาศัยอยู่ในสมัยหนึ่งร้อยสี่สิบล้านปีที่ผ่านม.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและพูคยองโกซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้วยไม้

กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 899 สกุล และมีประมาณ 27,000 ชนิดที่มีการยอมรับ คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) สามารถแบ่งตามลักษณะการเติบโตได้ดังนี้.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและกล้วยไม้ · ดูเพิ่มเติม »

กะละปังหา

กะละปังหา หรือ กัลปังหา (ยืมมาจากภาษามลายูคำว่า "kalam pangha") เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวมีขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายทรงกระบอกหรือรูปถ้วย จัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการัง กะละปังหาประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวกะละปังหา (โพลิป) ตัวของกะละปังหานี้มีลักษณะคล้ายดอกไม้ทะเลขนาดเล็ก มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม และมีหนวดรอบปากจำนวนแปดเส้น ฝังและกระจายตัวอยู่ตามโครงสร้างกะละปังหา และอีกส่วนเป็นส่วนโครงสร้างที่เป็นกิ่งแตกกิ่งก้านคล้ายพัดและซี่หวี แล้วแต่ชนิดกิ่งโครงสร้างนี้ตัวกะละปังหาสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตัวเองและเป็นสารเขาจำพวกสัตว.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและกะละปังหา · ดูเพิ่มเติม »

การสลับขั้วแม่เหล็กโลก

การสลับขั้วแม่เหล็กโลกในปัจจุบัน การสลับขั้วแม่เหล็กโลก (geomagnetic reversal) เป็นการเปลี่ยนแปลงทิศทางของสนามแม่เหล็กโลกโดยที่มีการสลับขั้วกันระหว่างขั้วแม่เหล็กเหนือกับขั้วแม่เหล็กใต้ ปรกติเหตุการณ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการที่สนามแม่เหล็กโลกมีความเข้มข้นลดลง ตามด้วยการกลับคืนมาอย่างรวดเร็วหลังจากการสลับขั้วเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นช่วงระยะเวลาตั้งแต่หลายหมื่นปีไปจนหลายล้านปี.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและการสลับขั้วแม่เหล็กโลก · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ำลองเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (mass extinction) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นข้อสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อมๆกันหรือไล่เลี่ยกัน เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ในช่วง ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากแต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การประเมินระยะเวลาการเกิดเหตุการณ์ ทำโดยการวินิจฉัยจากซากฟอสซิลจากทะเลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากว่าสามารถ ค้นพบได้ง่ายกว่าฟอสซิลที่อยู่บนบก เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

กินรีไมมัส

กินรีไมมัส (Kinnareemimus) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการของไดโนเสาร์สกุลหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการบรรยายลักษณะ (โนเมน นูดัม) ของไดโนเสาร์เทอร์โรพอดพบในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียส จากหลุมขุดค้นที่ 5 อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ลักษณะกระดูกที่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์พวกออร์นิโธมิโมซอเรียน หลักฐานที่พบเป็นเพียงกระดูกอุ้งตีนข้อที่สามที่มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์แต่มีลักษณะของพินชิ่งด้านข้างที่เด่นชัดซึ่งพบได้ใน ออร์นิโถมิโมซอร์ ไทรันโนซอรอยด์ ทรูดอนติดส์ และ ครีแนกนาธิดส์ หากมีอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นจริง จะถือว่าเป็นออร์นิโถมิโมซอร์รุ่นแรกๆที่มีความเก่าแก่กว่าที่เคยพบเห็นมา ชื่อกินรีไมมัส ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดย ริวอิชิ คาเนโกะ (Ryuichi Kaneko) ด้วยชื่อว่า "Ginnareemimus" ในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและกินรีไมมัส · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่ามอนิเตอร์

กิ้งก่ามอนิเตอร์ (Monitor lizard) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าและงู (Squamata) สกุลหนึ่ง ในวงศ์เหี้ย (Varanidae) ในวงศ์ย่อย Varaninae โดยใช้ชื่อสกุลว่า Varanus (/วา-รา-นัส/) ซึ่งคำ ๆ นี้มีที่มาจากภาษาอาหรับคำว่า "วารัล" (ورل) ซึ่งแปลงเป็นภาษาอังกฤษได้หมายถึง "เหี้ย" หรือ "ตะกวด" จัดเป็นเพียงสกุลเดียวในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสกุลอื่น ๆ ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่อย่างโมซาซอร์และงู มีลักษณะโดยรวมคือ กระดูกพอเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน มีกระดูกอยู่ในถุงอัณฑะ และมีตาที่สาม มีขนาดความยาวแตกต่างหลากหลายกันไป ตั้งแต่มีความยาวเพียง 12 เซนติเมตร คือ ตะกวดหางสั้น (V. brevicauda) ที่พบในพื้นที่ทะเลทรายของประเทศออสเตรเลีย และใหญ่ที่สุด คือ มังกรโคโมโด (V. komodoensis) ที่พบได้เฉพาะหมู่เกาะโคโมโด ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ที่มีความยาวได้ถึง 3.1 เมตร และจัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดของวงศ์นี้และอันดับกิ้งก่าและงู โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เมกะลาเนีย (V. priscus) ที่มีความยาวถึง 6 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ปัจจุบันพบได้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ออสเตรเลีย มีส่วนหัวเรียวยาว คอยาว ลำตัวยาวและหางเรียวยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนพื้นดิน แต่มีบางชนิดมีพฤติกรรมที่อาศัยอยู่บนต้นไม้มากกว่า หลายชนิดดำรงชีวิตแบบสะเทินน้ำสะเทินบกและมีหางแบนข้างมากสำหรับใช้ในการว่ายน้ำ ส่วนมากเป็นสัตว์หากินในเวลากลางวัน เป็นสัตว์กินเนื้อที่ล่าเหยื่อด้วยฟันที่ยาวโค้งแหลมคมและมีขากรรไกรแข็งแรง กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงซากสัตว์ด้วย โดยในทางชีววิทยาจัดเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเนื่องเป็นผู้สิ่งปฏิกูล กำจัดซากสิ่งแวดล้อม ทุกชนิดสืบพันธุ์ด้วยการวางไข่ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ทั้งซับสะฮารา, จีน, เอเชีย และคาบสมุทรอินโดออสเตรเลียนไปจนถึงออสเตรเลี.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและกิ้งก่ามอนิเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน

ูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน หมายความว่า "สัตว์เลื้อยคลานยักษ์แห่งภูเวียง" เป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในหมวดหินเสาขัว อายุราวยุคครีเตเชียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด (sauropod - ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว) ชนิดแรกที่บรรยายลักษณะจากประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่ม Titanosaur ซึ่งเป็นซอโรพอดขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15-20 เมตร โดยตัวอย่างต้นแบบ (type specimens) พบที่ภูเวียง อำเภอภูเวียง (อำเภอเวียงเก่า ในปัจจุบัน) จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2525 และได้รับการบรรยายลักษณะเมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) พบกระดูกภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน จากหลายแหล่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะแหล่ง วัดสักกะวัน ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว) ซึ่งพบโครงกระดูกอย่างน้อย 6 ตัว จำนวนมากกว่า 800 ชิ้น และแหล่งภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น สถานที่พบเป็นครั้งแรก (type locality) พบกระดูกของพวกวัยเยาว์ ขนาดประมาณ 2 เมตร สูง 0.5 เมตรรวมอยู่ด้วย กรมทรัพยากรธรณีขอพระราชทานชื่อชนิดจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านที่สนพระทัยงานในด้านธรณีวิทยา และบรรพชีวินวิทยาในประเทศไท.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคมีโซโซอิก

มหายุคมีโซโซอิก (อังกฤษ: Mesozoic Era) เป็นมหายุคที่สองจาก 3 มหายุคทางธรณีกาลของโลกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก โดยอยู่ถัดจากมหายุคพาลีโอโซอิกและอยู่ก่อนหน้ามหายุคซีโนโซอิก มหายุคมีโซโซอิกมีช่วงอายุตั้งแต่ 251-65 ล้านปีมาแล้ว อยู่ในช่วงเวลาที่มีการแยกตัวออกจากกันของแผ่นดินพันเจีย ทำให้เกิดผืนแผ่นดินลอเรเซียและผืนแผ่นดินกอนด์วานา คั่นกลางด้วยมหาสมุทรเททิส จากนั้นจึงเกิดการแยกตัวขึ้นอีกภายในผืนแผ่นดินทั้งสองทำให้เกิดทวีปต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มหายุคมีโซโซอิกเป็นมหายุคที่เรียกได้ว่าสัตว์เลื้อยคลานครองโลก.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและมหายุคมีโซโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาเผ่าพันธุ์แห่งยิธ

มหาเผ่าพันธุ์แห่งยิธ (Great Race of Yith) หรือ ยิธเธียน เป็นมนุษย์ต่างดาวซึ่งมีบทบาทในเรื่องชุดตำนานคธูลู ยิธเธียนปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น The Shadow Out of Time ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ซึ่งเผยแพร่ในปีพ.ศ. 2482 ยิธเธียนได้รับการเรียกว่า มหาเผ่าพันธุ์ เนื่องจากเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีความชำนาญในการเดินทางข้ามกาลเวล.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและมหาเผ่าพันธุ์แห่งยิธ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคพาลีโอจีน

รีเทเชียส←ยุคพาลีโอจีน→ยุคนีโอจีน ยุคพาลีโอจีนแบ่งเป็น 3 สมัย คือ สมัยพาลีโอซีน,สมัยอีโอซีน,สมัยโอลิโกซีน ยุคพาลีโอจีน (Paleogene) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 65.5 ± 0.3 ถึง 23.03 ± 0.05 ล้านปีมาแล้ว และเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก ยุคนี้กินเวลาประมาณ 42 ล้านปี เป็นยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก มีรูปแบบเรียบง่ายได้วิวัฒนาการเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน หลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ในยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรีในปลายยุคครีเทเชียส นกมีการวิวัฒนาการสู่รูปแบบในปัจจุบันในยุคนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและยุคพาลีโอจีน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ยูโอโพลเซอฟารัส

ูโอโพลเซอฟารัส (Euoplocephalus) เป็นไดโนเสาร์แองคีลอซอร์หรือไดโนเสาร์ฟุ้มเกราะชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ร่างกายของมันหุ้มเกราะ ขนาดของมันประมาณ 6 เมตร มีลูกตุ้มอยู่ที่หาง ลูกตุ้มนั้นหนักถึง 29 กิโลกรัม ดังนั้นยูโอโพลเซอฟาลัสจึงกลายเป็นรถถังแห่งยุคครีเทเชี.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและยูโอโพลเซอฟารัส · ดูเพิ่มเติม »

ราชสีมาซอรัส

ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ (Ratchasimasaurus suranareae) เป็นไดโนเสาร์ประเภทกินพืช จัดอยู่ในกลุ่มที่มีสะโพกแบบนก (ออร์นิโธพอด) กลุ่มเดียวกับอิกัวโนดอน พบกรามล่างซ้าย ในชั้นหินกรวดมนปนปูน หมวดหินโคกกรวด ซึ่งอยู่ในสมัยแอปเทียน (Aptian) ยุคครีเทเชียสตอนต้น หรืออายุประมาณ 100 ล้านปีก่อน แหล่งที่พบคือบริเวณสระน้ำของหมู่บ้านโป่งแมลงวัน ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การค้นพบนี้ เป็นผลงานวิจัยร่วมกันของนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ฟูกูอิ ประเทศญี่ปุ่น คณะผู้วิจัยได้ให้ชื่อสกุลของไดโนเสาร์นี้ว่า "ราชสีมาซอรัส" ตามชื่อแบบสั้นของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งค้นพบ และให้ชื่อเฉพาะชนิดพันธุ์ว่า "สุรนารีเอ" ตามชื่อของท้าวสุรนารี วีรสตรีของจังหวัดนครราชสีมา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ไดโนเสาร์นี้ ไม่ได้วิจัยโดย นักไดโนเสาร์ (Dinosaurologist) โดยตรง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและราชสีมาซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

วิลอซิแรปเตอร์

วิลอซิแรปเตอร์ (velociraptor) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไว อยู่ในวงศ์โดรเมโอซอร์ (Dromaeosauridae) มีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า อาวุธคือเล็บเท้าแหลมคมเหมือนใบมีดที่พับเก็บได้และฟันที่คมกริบ เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกช่วงประมาณ 83-70 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียสตอนปลาย มีหลักฐานพบเป็นฟอสซิลในบริเวณเอเชียกลาง (เคยมีการค้นพบฟอสซิลว่าต่อสู้กับโปรโตเซอราทอปส์ด้วย)มันยังถูกเข้าใจว่าคือ ไดโนนีคัส ของเอเชีย จึงแยกประเภทใหม่เพราะมันมีรูปร่างคล้ายกันและไดโนนีคัส ยังถูกเข้าใจผิดว่าคือ วิลอซิแรปเตอร์ ของอเมริกา วิลอซิแรปเตอร์มีไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ ยูทาห์แรปเตอร์, ไดโนนีคัส และโดรมีโอซอรัส ขนาดของวิลอซิแรปเตอร์เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ หุ่นจำลองวิลอซิแรปเตอร์ วิลอซิแรปเตอร์ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในภาพยนตร์ไซไฟฮอลลีวุดเรื่อง Jurassic Park ในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวิลอซิแรปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (evolution of mammalian auditory ossicles) เป็นเหตุการณ์ทางวิวัฒนาการที่มีหลักฐานยืนยันดีที่สุด และสำคัญที่สุด เหตุการณ์หนึ่ง โดยมีทั้งซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) จำนวนมากและตัวอย่างที่เยี่ยมของกระบวนการ exaptation คือการเปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงสร้างที่มีอยู่แล้วในระหว่างวิวัฒนาการ ในสัตว์เลื้อยคลาน แก้วหูจะเชื่อมกับหูชั้นในผ่านกระดูกท่อนเดียว คือ columella ในขณะที่ขากรรไกรล่างและบนจะมีกระดูกหลายท่อนที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ในช่วงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกชิ้นหนึ่งของขากรรไกรล่างและบน (articular และ quadrate) หมดประโยชน์โดยเป็นข้อต่อ และเกิดนำไปใช้ใหม่ในหูชั้นกลาง ไปเป็นตัวเชื่อมกับกระดูกโกลนที่มีอยู่แล้ว รวมกันกลายเป็นโซ่กระดูกสามท่อน (โดยเรียกรวมกันว่ากระดูกหู) ซึ่งถ่ายทอดเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และดังนั้นช่วยให้ได้ยินได้ดีกว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกหูสามท่อนนี้เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ตามลำดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกยังต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เพราะมีคอเคลียที่วิวัฒนาการเกิดขึ้น หลักฐานว่า กระดูกค้อนและกระดูกทั่งมีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับกระดูก articular และ quadrate ของสัตว์เลื้อยคลานเบื้องต้นมาจากคัพภวิทยา แล้วต่อมา การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพมากมายก็ได้ยืนยันข้อสรุปนี้ โดยให้ประวัติการเปลี่ยนสภาพอย่างละเอียด ส่วนวิวัฒนาการของกระดูกโกลนจาก hyomandibula เป็นเหตุการณ์ต่างหากที่เกิดขึ้นก่อน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของคอเคลีย

ำว่า คอเคลีย มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า "หอยโข่ง/หอยทาก, เปลือก, หรือเกลียว" ซึ่งก็มาจากคำกรีก คือ kohlias ส่วนคำปัจจุบันที่หมายถึง หูชั้นในรูปหอยโข่ง พึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 คอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งมีเซลล์ขนที่แปลแรงสั่นที่วิ่งไปในน้ำที่ล้อมรอบ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าที่ส่งไปยังสมองเพื่อประมวลเสียง ส่วนอวัยวะที่มีรูปเป็นหอยโข่งประมาณว่าเกิดในต้นยุคครีเทเชียสราว ๆ 120 ล้านปีก่อน นอกจากนั้นแล้ว เส้นประสาทที่วิ่งไปยังคอเคลียก็เกิดในยุคครีเทเชียสเหมือนกัน วิวัฒนาการของคอเคลียในมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญทางวิทยาศาสตร์เพราะว่าดำรงเป็นหลักฐานได้ดีในซากดึกดำบรรพ์ ในศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการ และนักบรรพชีวินวิทยา ได้พยายามพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อข้ามอุปสรรคในการทำงานกับวัตถุโบราณที่บอบบาง ในอดีต นักวิทยาศาสตร์จำกัดมากในการตรวจดูตัวอย่างโดยไม่ทำให้เสียหาย แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ระดับไมโคร (micro-CT scanning) ช่วยให้สามารถแยกแยะซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์จากซากตกตะกอนอื่น ๆ และเทคโนโลยีรังสีเอกซ์ ก็ช่วยให้ตรวจสมรรถภาพการได้ยินของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้ และช่วยสร้างความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับทั้งบรรพบุรุษมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวิวัฒนาการของคอเคลีย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พวงแก้วกุดั่น

วงศ์พวงแก้วกุดั่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ranunculaceae) เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิกราว 1,700 สปีชีส์ ชื่อของวงศ์นี้มาจากภาษาละติน rānunculus หมายความว่า "กบน้อย" วงศ์พวงแก้วกุดั่นประกอบด้วยพืช 60 สกุล โดยสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือ Ranunculus (มีพืชจำนวน 600 สปีชีส์), Delphinium (365 สปีชีส์), Thalictrum (330 สปีชีส์), Clematis (325 สปีชีส์), และ Aconitum (300 สปีชีส์).

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์พวงแก้วกุดั่น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบเล็บ

วงศ์กบเล็บ หรือ วงศ์กบไม่มีลิ้น (Clawed frog, Tongueless frog, Aquatic frog) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำวงศ์หนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Papidae (/ปา-ปิ-ดี/) มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วไม่มีลิ้น กระดูกสันหลังปล้องที่ 2-4 ของตัวเต็มวัยมีกระดูกซี่โครงและเชื่อมรวมกัน บางสกุลและบางชนิดไม่มีฟันที่กระดูกพรีแมคซิลลาและที่กระดูกแมคซิลลา มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 6-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโอพิสโธซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิเฟอรัลหรือแบบอย่างดัดแปรของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลลาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ลูกอ๊อดมีช่องปากยาวและแคบ ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันบริเวณปาก ช่องเปิดห้องเหงือกมี 2 ช่องอยู่ทางด้านข้างของลำตัว กินอาหารด้วยการกรองเข้าปาก มีความยาวลำตัวประมาณ 4-17 เซนติเมตร มีลำตัวแบนราบมาก และมีขายื่นไปทางด้านข้างลำตัว อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำได้หลากหลายประเภท รวมทั้งแหล่งน้ำขังชั่วคราวบนท้องถนน เนื่องจากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เส้นข้างลำตัวจึงเจริญ ยกเว้นบางสกุลที่ไม่มี ขาหลังใหญ่และมีแผ่นหนังระหว่างนิ้วตีนใหญ่มาก ขาหน้ามีนิ้วตีนยาวแต่ไม่มีแผ่นหนังระหว่างนิ้ว ยกเว้นบางสกุลเท่านั้นที่มี นิ้วตีนมีเล็บยาว แบ่งออกได้เป็น 5 สกุล 32 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ บางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ขณะที่ในบางสกุลนิยมใช้เพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยาการเจริญ, ชีววิทยาโมเลกุล, ชีววิทยาประสาท, พันธุกรรมศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์กบเล็บ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กุหลาบ

Rosaceae หรือ วงศ์กุหลาบ เป็นวงศ์ของพืช มีประมาณ 3000 ชนิด ใน 100 สกุล ชื่อวงศ์มาจากสกุล Rosa สกุลใหญ่สุดคือ Sorbus, Crataegus และ Cotoneaster.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์กุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์สาหร่ายบัว

วงศ์สาหร่ายบัว หรือ Cabombaceae เป็นวงศ์ของพืชดอกที่เป็นไม้น้ำ ประกอบด้วยไม้น้ำสองสกุลคือ Brasenia และ Cabomba ระบบ APG I รวมวงศ์นี้ในวงศ์ Nymphaeaceae และแยกออกมาในระบบ APG III.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์สาหร่ายบัว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หญ้าข้าวก่ำ

วงศ์หญ้าข้าวก่ำ หรือ Burmanniaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิกประมาณ 100 ชนิด มีสมาชิกของวงศ์นี้ที่เป็นพืชอาศัยซาก ในระบบ APG II จัดให้อยู่ในอันดับ Dioscoreales ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และได้รวมวงศ์ Thismiaceae เข้ามาด้วย ภายในวงศ์แบ่งเป็นเคลดดังนี้: Burmanniaceae อย่างแ.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์หญ้าข้าวก่ำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หอยหนาม

วงศ์หอยหนาม(Muricidae) เป็นหอยที่มีหลายขนาดตั้งแต่เล็กถึงใหญ่กินหอยด้วยกันเป็นอาหาร โดยทั่วไปอาศัยอยู่ในทะเล และอยู่ในชั้นแกสโทรโพดามีสปีชีส์มากกว่า 1,600สปีชีส์ และยังมีฟอสซิลอีก 1,200ชนิดหอยในวงศ์นี้มีรูปร่างลักษณะเปลือกที่แปลกตาและสวยงามทำให้เป็นที่ชืนชอบในการนำมาเก็บสะสม.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์หอยหนาม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หนอนตายหยาก

วงศ์หนอนตายหยาก หรือ Stemonaceae เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในอันดับ Pandanales ประกอบด้วยสกุล 4 สกุล มีสมาชิกประมาณ 25-35 สปีชีส์กระจายในพื้นที่ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเขตร้อนของออสเตรเลีย มีบางสปีชีส์เป็นพืชพื้นเมืองในสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์หนอนตายหยาก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์จำปา

วงศ์จำปี หรือ วงศ์จำปา (Magnoliaceae) ลักษณะที่เด่นชัดของวงศ์นี้คือ มีหูใบที่เด่นชัด และจะมีรอยแผลของหูใบตามโคนของใบ (เกิดจากการหลุดร่วงของหูใบ) ชัดเจน พืชในวงศ์นี้แบ่งได้เป็น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์จำปา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ขนุน

วงศ์ขนุน หรือ Moraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิก 40 สกุลและมีมากกว่า 1000 สปีชีส์ แพร่กระจายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอกเป็นดอกช่อและผลเป็นผลรวม พืชในวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีได้แก่ มะเดื่อ, บันยัน, สาเก, หม่อน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์ขนุน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระโทง

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก วงศ์ปลากระโทง, วงศ์ปลากระโทงแทง หรือ วงศ์ปลาปากนก ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่จำพวกหนึ่งอาศัยอยู่ในทะเล อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Istiophoridae โดยคำว่า Istiophoridae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ιστίων" (Istion) หมายถึง "ใบเรือ" รวมกับคำว่า "φέρειν" (pherein) หมายถึง "แบกไว้" ปลากระโทง เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ที่มีความปราดเปรียวและว่องไวมาก จัดเป็นปลาที่สามารถว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกด้วยมีกล้ามเนื้อที่ทรงพลัง และกระดูกหลังที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถพุ่งจากน้ำได้เร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และในฤดูอพยพอาจทำความเร็วได้ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีลำตัวค่อนข้างกลม ปากกว้าง มีฟันแบบวิลลิฟอร์ม ครีบหลังและครีบก้นมีอย่างละ 2 ครีบ ไม่มีครีบฝอย ครีบท้องมีก้านครีบ 1-3 ก้าน มีสันที่คอดหาง ครีบหางเว้าลึก มีจุดเด่นคือปลายปากด้านบนมีกระดูกยื่นยาวแหลมออกมา ใช้ในการนำทาง ล่าเหยื่อ และป้องกันตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งที่เหลืออยู่จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อป้องกันตัวจากบรรดาปลานักล่าต่าง ๆ ที่มีอยู่ดาษดื่นSuper Fish: fastest predator in the sea, สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต.ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2556 มีครีบกระโดงหลังมีสูงแหลม ในบางชนิด จะมีกระโดงสูงมากและครอบคลุมเกือบเต็มบริเวณหลัง ดูแลคล้ายใบเรือ มีสีและลวดลายข้างลำตัวแตกต่างออกไปตามแต่ชนิด ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามสภาพอารมณ์ หากตกใจหรือเครียด สีจะซีด และใช้เป็นสิ่งที่แยกของปลาแต่ละตัว โดยมากแล้วมักจะอาศัยหากินอยู่บริเวณผิวน้ำ พบได้ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ออกล่าเหยื่อเป็นปลาขนาดเล็กกว่า บางครั้งอาจอยู่รวมเป็นฝูงนับร้อยตัว มักล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เนื่องจากเป็นปลาที่ล่าด้วยประสาทสัมผัสทางตาเป็นหลัก สามารถโดดพ้นน้ำได้สูงและมีความสง่างามมาก จึงนิยมตกเป็นเกมกีฬา ได้รับฉายาจากนักตกปลาว่าเป็น "ราชินีแห่งท้องทะล" โดยมักจะออกตกด้วยการล่องเรือไปกลางทะเลและตกด้วยอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ด้วยกันเวลาหลายชั่วโมง ด้วยการให้ปลายื้อเบ็ดจนหมดแรงเอง โดยปลากระโทงชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลากระโทงสีน้ำเงิน (Makaira nigricans) เป็นชนิดที่พบที่มหาสมุทรแอตแลนติก ที่สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 636 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์ปลากระโทง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนธง

วงศ์ปลากระเบนธง (Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/) พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาว.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนนก

วงศ์ปลากระเบนนก (วงศ์: Myliobatidae, Eagle ray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Myliobatidae จัดเป็นวงศ์ใหญ่มีวงศ์ย่อยแยกออกไปจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่ในทะเล โดยมักจะพบรวมตัวกันเป็นฝูง ในบางครั้งอาจเป็นถึงร้อยตัว มีจุดเด่นคือ มีหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของสัตว์ปีก ปลายแหลม มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 ซี่ อยู่ด้านล่างของลำตัว ด้านท้องสีขาว มีส่วนหางเรียวกว่าและเล็กกว่าปลากระเบนในวงศ์ Dasyatidae ด้วยความที่มีครีบแยกออกจากส่วนหัวชัดเจน ทำให้ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนการบินของนก จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งในบางชนิดอาจกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย โดยมากแล้วมักจะว่ายในระดับผิวน้ำหรือตามแนวปะการัง มีฟันที่หยาบในปาก หากินอาหารได้แก่ ครัสเตเชียน, หอย, หมึก, ปลาขนาดเล็ก รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วยในบางสกุล ซึ่งเวลาหากินสัตว์ที่อยู่ตามหน้าดิน จะใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายเอา บางชนิดอาจว่ายเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำหรือท่าเรือต่าง ๆ ได้ด้วย พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ซึ่ง ปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็อยู่ในวงศ์นี้ด้ว.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์ปลากระเบนนก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลามังกรน้อย

วงศ์ปลามังกรน้อย (Dragonet, Scotter blenny, ชื่อวิทยาศาสตร์: Callionymidae) เป็นวงศ์ปลาทะเลขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกัน แต่วงศ์ปลามังกรน้อยไม่จัดอยู่ในวงศ์ปลาบู่ แต่กลับมีความใกล้เคียงกับปลาในวงศ์ปลามังกรน้อยลาด (Draconettidae) มากกว่า โดยคำว่า "Callionymidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "Kallis" ซึ่งแปลว่า "สวย" และ "onyma" แปลว่า "ชื่อ" เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ราว 10 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด 17 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของอินโด-แปซิฟิก หากินโดยใช้ปากที่มีขนาดเล็กคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยจะหากินในเวลากลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีส่วนหัวขนาดโต ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ มีครีบต่าง ๆ ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางและครีบท้อง ซึ่งแข็งแรงมาก มีพฤติกรรมใช้ครีบท้องนี้คืบคลานหาอาหารตามพื้นทรายมากกว่าจะว่ายน้ำ โดยมีครีบหางเป็นเครื่องบังคับทิศทาง มีเงี่ยงครีบหลัง 4 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 6-11 ก้าน ก้านครีบก้น 4-10 ก้าน มีเส้นข้างลำตัว มีกระดูกเรเดียส 3 ชิ้น ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้มีกระโดงครีบหลังชี้ยาวออกมาเห็นเป็นจุดเด่น ขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยมากแล้วมีสีสันและลวดลายสดใสสวยงามมาก มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปรอบ ๆ ตัวเมีย พร้อมเบ่งสีและครีบต่าง ๆ เพื่อเกี้ยวพา เมื่อตัวเมียปล่อยไข่ออกมาแล้ว ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่จะลอยไปตามกระแสน้ำ ตัวอ่อนใช้ชีวิตเบื้องต้นเป็นเหมือนแพลงก์ตอน ในบางชนิดมีรายงานว่ามีพิษด้วย ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้ว 18 สกุล (ดูในตาราง) ราว 130 ชนิด และเนื่องจากเป็นปลาสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้ปะการัง ซึ่งบางชนิดสามารถเพาะเลี้ยงในที่เลี้ยงได้แล้ว อาทิ ปลาแมนดาริน (Synchiropus splendidus), ปลาแมนดารินจุด (S. picturatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์ปลามังกรน้อย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตาเหลือกยาว

วงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Ladyfish, Tenpounder, Bigeyed herring, Tarpon, วงศ์: Elopidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลาตาเหลือก (Elopiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elopidae เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในอันดับเดียวกัน กล่าวคือ มีรูปร่างเพรียวยาว ปลายหางแฉกเป็นสองแฉกเว้าลึก แบนข้าง เกล็ดมีสีเงินแวววาว ตามีความกลมโต ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น เหมือนกัน แต่มีลำยาวยาวกว่า และที่ก้านครีบหลังก้านสุดท้ายไม่มีเส้นครีบยื่นยาวออกมา เป็นปลาขนาดใหญ่ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 10 กิโลกรัม มีความปราดเปรียวว่องไว หากินโดยกินปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเขตร้อนและเขตอบอุ่น และสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ มีทั้งหมด 1 สกุล 7 ชน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์ปลาตาเหลือกยาว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด

วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด (Paddle fish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polyodontidae (มาจากภาษากรีกคำว่า "poly" หมายถึง "มาก" และ "odous" หมายถึง "ฟัน") ในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes) เป็นปลาขนาดใหญ่ ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสตอนปลายจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากแบนยาวคล้ายปากของเป็ด หรือใบพายเรือ เป็นที่มาของชื่อสามัญ ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 ชนิด ใน 2 สกุลเท่านั้น พบในสหรัฐอเมริกา และแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ซึ่งเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์ปลาฉลามปากเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปิรันยา

วงศ์ปลาปิรันยา เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Serrasalmidae (มีความหมายว่า "วงศ์ปลาแซลมอนที่มีฟันเลื่อย") ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) พบทั้งหมดในปัจจุบัน 16 สกุล (ดูในตาราง) 92 ชนิด ปลาในวงศ์นี้มีชื่อเรียกโดยรวม ๆ กัน เช่น ปลาปิรันยา, ปลาเปคู หรือปลาคู้ และปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ เดิมทีเคยเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ใช้ชื่อว่า Serrasalminae (ในปัจจุบันบางข้อมูลหรือข้อมูลเก่ายังใช้ชื่อเดิมอยู่).

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์ปลาปิรันยา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แอลลิเกเตอร์

วงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligator, Caiman; ชื่อวิทยาศาสตร์: Alligatoridae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodylia) ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ที่แยกออกจากวงศ์ Crocodylidae หรือวงศ์ของจระเข้ทั่วไป โดยวงศ์แอลลิเกเตอร์ปรากฏขึ้นมายุคครีเตเชียสเป็นครั้งแรก และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากเดิมมากนักจนถึงปัจจุบันจนอาจเรียกว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้ รูปร่างและลักษณะของวงศ์แอลลิเกเตอร์ จะแตกต่างจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae คือ ปลายปากมีลักษณะคล้ายตัวอักษรยู (U) เมื่อหุบปากแล้วฟันที่ขากรรไกรล่างจะสวมเข้าไปในร่องของขากรรไกรบนจึงมองไม่เห็นฟันของขากรรไกรล่าง ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Alligatorinae คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด พบได้ในสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวาง และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก พบได้เฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีในภาคตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น และ Caimaninae ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญว่า "จระเข้เคแมน" ซึ่งพบได้ตั้งแต่อเมริกากลางจนถึงทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะมีขนาดเล็ก โดยแต่เดิมนั้น แอลลิเกเตอร์มีจำนวนสมาชิกของวงศ์มากกว่านี้ แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันในสองวงศ์ย่อยนี้รวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 8 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์แอลลิเกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เต่ามะเฟือง

วงศ์เต่ามะเฟือง (วงศ์: Dermochelyidae; Leatherback turtle) เป็นวงศ์ของเต่าทะเลวงศ์หนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Dermochelyidae มีรูปร่างโดยรวมคือ มีลำตัวเพรียวยาว กระดองไม่มีแผ่นแข็งปกคลุมแต่มีลักษณะจำเพาะ คือ มีกระดูกรูปร่างหลายเหลี่ยมขนาดเล็กจำนวนมากกระจายอยู่ในชั้นหนังอ่อนนุ่ม กระดูกอ่อนเหล่านี้เรียงตัวเป็นแถวตามความยาวลำตัวและนูนขึ้นมาคล้ายกลีบของผลมะเฟืองอันเป็นที่มาของชื่อสามัญทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบนหลังมีจำนวน 7 แถว และด้านท้องมี 4 แถว การหุบขากรรไกรล่างเกิดการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปบนก้านกระดูกโพรไอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกไพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอนและไม่มีกระดูกพบาสทรอน กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ มีขากรรไกรที่ไม่แข็งแรงไม่สามารถขบกัดสัตว์มีกระดองให้แตกได้เหมือนเต่าทะเล ในวงศ์ Cheloniidae หรือเต่าทะเลในปัจจุบัน จึงกินได้แต่เพียงสิ่งมีชีวิตที่มีร่างกายอ่อนหยุ่นอย่าง แมงกะพรุนเท่านั้น อีกทั้งเป็นเต่าที่ดำรงชีวิตอยู่ในระดับน้ำที่ลึกและเย็นกว่า จึงมีการปรับปรุงร่างกายรวมทั้งใช้ความร้อนจากร่างกายที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อครีบใบพายเพื่อยกระดับอุณหภูมิลำตัวให้สูงกว่าอุณหภูมิของน้ำทะเล จึงมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปได้กว้างไกลกว่าเต่าทะเลทั่วไป จัดเป็นวงศ์ที่มีความใหญ่ จึงสามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 3 วงศ์ แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์หมดแล้ว เหลือเพียงแค่ชนิดเดรียวเท่านั้น คือ เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) ซึ่งเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่พบได้ในปัจจุบัน และถือเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Dermochelys.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์เต่ามะเฟือง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เต่าสแนปปิ้ง

วงศ์เต่าสแนปปิ้ง (Snapping turtle) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าขนาดใหญ่ วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelydridae ลักษณะสำคัญของเต่าในวงศ์นี้ คือ เป็นเต่าน้ำจืดขนาดใหญ่ มีส่วนหัวและขาที่ใหญ่จนไม่สามารถหดเข้าในกระดองได้ กระดองหลังแบนและกว้าง ส่วนกระท้องท้องเล็กมาก ก้านกระดูกไปเชื่อมต่อกับขอบกระดองหลังตรึงแน่น ด้านท้ายของกะโหลกเว้ามาก หางยาว จึงเป็นเต่าที่ว่ายน้ำไม่ได้ดีนัก จึงใช้การเคลื่อนไหวด้วยการเดินใต้น้ำแทน การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปบนก้านกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล ขอบนอกของกระดองหลังมีร่องที่แบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะยืดหยุ่นได้ ซึ่งเต่าในวงศ์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับเต่าในวงศ์ Platysternidae หรือ เต่าปูลู ที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งในบางข้อมูลได้จัดรวมทั้ง 2 วงศ์นี้ให้อยู่ด้วยกัน แต่เป็นวงศ์ย่อยของกันและกัน เต่าสแนปปิ้ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล (ดูในตาราง) เป็นเต่าที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก ด้วยวิธีการฉกเหยื่อด้วยกรามที่ทรงพลังด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ถือเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะได้ปรากฏขึ้นมาเป็นโลกเป็นเวลานานถึง 90 ล้านปีแล้ว และเหลือสมาชิกที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่แค่ไม่กี่ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์เต่าสแนปปิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เต่าแก้มแดง

วงศ์เต่าแก้มแดง (Terrapin, Pond turtle, Marsh turtle) เป็นวงศ์ของเต่าวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Emydidae เป็นเต่าที่มีลักษณะคล้ายกับเต่าในวงศ์เต่านา (Bataguridae) คือ มีกระดองที่โค้งกลมเหมือนกัน กระดองท้องใหญ่เหมือนกัน ในบางสกุลจะมีบานพับที่กระดองท้อง เช่น Terrapene แต่กระดูกแอนกูลาร์ของขากรรไกรล่างไม่เชื่อมติดกับกระดูกอ่อนเมคเคล กระดูกออคซิพิทัลเป็นชิ้นแคบ การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน มีกระดูกพลาสทรอนไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ เป็นเต่าที่มีวงศ์ขนาดใหญ่ จึงแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย ๆ (ดูในตาราง) มีทั้งหมด 10 สกุล ราว 50 ชนิด พบแพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ทั้งในทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ และบางส่วนของอเมริกาใต้ เต่าตัวผู้โดยมากจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมาก และมีความแตกต่างระหว่างเพศมาก จนเห็นได้ชัดเจน กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ หรือบางสกุลหรือบางชนิดก็กินได้ทั้ง 2 อย่าง โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เต่าญี่ปุ่น" ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงจนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร และขนาดเล็กที่สุด คือ เต่าจุด (Clemmys guttata) ที่โตเต็มที่มีความยาวกระดองเพียง 10-12 เซนติเมตร เท่านั้น ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยฝังไข่ไว้ในหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ โดยเต่าเพศเมียจะวางไข่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และลูกเต่าจะฟักเป็นตัวในช่วงปลายฤดูร้อน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและวงศ์เต่าแก้มแดง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยพาลีโอซีน

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสมัยพาลีโอซีน สมัยพาลีโอซีน (Paleocene)พาลีโอซีนเป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 66 ถึง 56 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยแรกสุดของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยพาลีโอซีนต่อมาจากยุคครีเทเชียสและตามด้วยสมัยอีโอซีน ชื่อสมัยไพลโอซีนมาจากรีกโบราณซึ่งหมายถึง เก่า(παλαιός, palaios) "ใหม่" (καινός, kainos).

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและสมัยพาลีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สยามโมดอน

มโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami) เป็นไดโนเสาร์ ออร์นิโธพอด กลุ่มที่เรียกว่า อิกัวโนดอนเทีย (Iguanodontia) พบชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรบนด้านซ้าย (PRC-4), ฟันจากขากรรไกรบนเดี่ยวๆ 1 ซี่ (PRC-5), และกระดูกส่วนสมองด้านท้ายทอย (PRC-6) จากแหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยผู้ที่พบคือ นายวิทยา นิ่มงาม พบฟันและกระดูกไดโนเสาร์ ในหินกรวดมนปนปูน หมวดหินโคกกรวด ยุคครีตาเชียสตอนต้น มีอายุประมาณ 125 - 113 ล้านปีมาแล้ว สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ที่มียอดสามเหลี่ยมไม่สูงนัก ซึ่งมีความยาวทางด้านหน้าสามเหลี่ยม กับด้านหลังสามเหลี่ยมเกือบเท่าๆ กัน คือมีความยาวของขากรรไกรบน 230 มิลลิเมตร และมีความสูง 100 มิลลิเมตร, มีส่วนโป่งของพื้นผิวด้านในของขากรรไกรบน เป็นแนวยาวที่เด่นชัด, มีฟันของขากรรไกรบน ประมาณ 25 ซี่ ซึ่งมีสันอยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟันจำนวน 1 สันที่เด่นชัดมาก และบางทีอาจมีสันเล็กๆ บางๆ อยู่ด้านข้างของสันใหญ่ อีก 1 สัน หรืออาจไม่มีเลยก็ได้, ความยาวของฟันประมาณ 25 - 28 มิลลิเมตร และความกว้างของฟันประมาณ 14 - 17 มิลลิเมตร สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์พวกอิกัวโนดอนเทียแรกเริ่ม (basal iguanodontia) เช่น ไดโนเสาร์วงศ์ อิกัวโนดอน (Iguanodontids) ตรงที่มีลักษณะของ "ฟัน" ของขากรรไกรบน ที่ไม่เหมือนกัน โดยไดโนเสาร์วงศ์อิกัวโนดอน จะมีสันฟันไม่ได้อยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟัน และยังมีสันฟันเล็กๆ อยู่ด้านข้างอยู่อีกหลายๆ สัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของส่วนยอดของขากรรไกรบน จะอยู่ในตำแหน่งที่คล้อยไปทางด้านหลังอีกด้วย สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์ วงศ์ฮาโดรซอร์ (Hadrosaurids) ตรงที่บริเวณการประสานต่อกัน ของกระดูกโหนกแก้ม (jugal) กับกระดูกขากรรไกรบน โดยมีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม (jugal process) มีลักษณะเป็น "แถบแบน" ในขณะที่ไดโนเสาร์วงศ์ฮาโดรซอร์ จะมีลักษณะการขยายทางส่วนหน้าของกระดูกโหนกแก้ม และ อยู่เหลื่อมกันบริเวณรอยต่อของกระดูกขากรรไกรบน สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ โปรแบคโตรซอรัส (Probactrosaurus) จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพิจารณาจากลักษณะที่มีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม ที่เป็นแถบแบน เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันครงที่ มีจำนวนฟันของกระดูกขากรรไกรบน ที่น้อยกว่า Probactrosaurus.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและสยามโมดอน · ดูเพิ่มเติม »

สยามโมซอรัส

มโมซอรัส สุธีธรนี (Siamosaurus suteethorni) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ขนาดกลาง พบครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ชิ้นส่วนตัวอย่างต้นแบบเป็นฟัน 9 ซี่ มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ เป็นรูปกรวยยาวเรียว ค่อนข้างตรง และโค้งเล็กน้อยในแนวด้านหลังของฟัน บนผิวของฟันมีร่องและสันนูนเล็กๆตามแนวความยาวของตัวฟันด้านละ 15 ลายเส้นโยงจากฐานของตัวฟันไปยังส่วนของยอดฟันห่างจากส่วนปลายสุดประมาณ 5 มิลลิเมตร แต่ไม่มีลักษณะเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ความยาวของตัวฟันทั้งหมด 62.5 มิลลิเมตร ลักษณะฟันดังกล่าวไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ "สยามโมซอรัส สุธีธรนี".

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและสยามโมซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

สยามโมไทรันนัส

มโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ลำตัวยาวประมาณ 6.5 เมตร ชื่อของมันหมายถึง"ทรราชแห่งสยามจากภาคอีสาน" พบกระดูกเป็นครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 9 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและสยามโมไทรันนัส · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลานทะเล

อีลาสโมซอรัสหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัตว์เลื้อยคลานทะเล เป็นสัตว์เลื้อยคลานซึ่งได้ปรับตัวเป็นลำดับที่สองเข้ากับการดำเนินชีวิตแบบอยู่ในน้ำหรือกึ่งใต้น้ำในสิ่งแวดล้อมทางทะเล สัตว์เลื้อยคลานทะเลยุคแรกเริ่มพบตั้งแต่ยุคเพอร์เมียนระหว่างมหายุคพาลีโอโซอิก ระหว่างมหายุคมีโซโซอิก สัตว์เลื้อยคลานหลายกลุ่มได้ปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในทะเลได้ รวมไปถึงเครือบรรพบุรุษที่คล้ายคลึงกัน อย่างเช่น อิกธิโอซอร์ พลีซีโอซอร์ (อันดับทั้งสองนี้ครั้งหนึ่งคาดกันว่าเคยอยู่ร่วมกันในกลุ่ม "อีนาลิโอซอเรีย" การจัดลำดับซึ่งปัจจุบันล้าสมัยไปแล้ว) เป็นต้น หลังจากเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อปลายยุคครีเตเชียส สัตว์เลื้อยคลานทะเลได้ลดจำนวนลงอย่างมาก สัตว์เลื้อยคลานทะเลที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน อย่างเช่น อีกัวนาทะเล งูทะเล เต่าทะเล และจระเข้น้ำเค็ม สัตว์เลื้อยคลานทะเลบางชนิด อย่างเช่น อิกธิโอซอร์และโมซาซอร์ น้อยครั้งที่จะเสี่ยงภัยขึ้นมาบนบกและออกลูกในน้ำ สำหรับสิ่งมีชีวิตอื่น อย่างเช่น เต่าทะเลและจระเข้น้ำเค็ม จะกลับคืนสู่ชายฝั่งเพื่อวางไข่ สัตว์เลื้อยคลานทะเลบางชนิดยังขึ้นมาพักผ่อนและอาบแดดบนพื้นดินอีกด้ว.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและสัตว์เลื้อยคลานทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สติแรโคซอรัส

ติแรโคซอรัส (Styracosaurus, หมายถึง "กิ้งก่าหัวแหลม" มาจากภาษากรีกโบราณ สไทรักซ์/στύραξ "หัวหอก" และ ซอรัส/σαῦρος "กิ้งก่า") เป็นสกุลของไดโนเสาร์กินพืชในอันดับเซราทอปเซีย มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียส (ช่วงแคมปาเนียน) เมื่อประมาณ 76.5 ถึง 75.0 ล้านปีมาแล้ว มันมีเขา 4-6 อัน ยื่นออกมาจากแผงคอ และยังมีเขาที่มีขนาดเล็กยื่นออกมาบริเวณแก้มแต่ละข้าง และมีเขาเดี่ยวยื่นออกมาบริเวณเหนือจมูก ซึ่งน่าจะมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) และกว้าง 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) ส่วนหน้าที่ของเขาและแผงคอยังไม่มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนมาจนถึงปัจจุบัน สติแรโคซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะค่อนข้างใหญ่ โดยมีความยาวถึง 5.5 เมตร (18 ฟุต) และหนักเกือบ 3 ตัน เมื่อมันยืนจะมีความสูงประมาณ 1.8 เมตร (6 ฟุต) สติแรโคซอรัสมีขาที่สั้น 4 ขาและมีลำตัวที่ใหญ่ มีหางค่อนข้างสั้น มันมีจะงอยปากและแก้มแบน บ่งชี้ว่าอาหารของมันคือพืชซึ่งเหมือนกันกับไดโนเสาร์จำพวกเซราทอปเซียสกุลอื่น ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง และเดินทางกันเป็นกลุ่มใหญ่ ชื่อของไดโนเสาร์ถูกตั้งโดย ลอว์เรนซ์ แลมเบอ ในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและสติแรโคซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

สไตกิโมล็อก

ตกิโมล็อก (Stygimoloch) เป็นสกุลหนึ่งในตระกูล pachycephalosaurid ในยุคครีเทเชียส ประมาณ 66 ล้านปีก่อน มันเป็นที่รู้จักจาก Hell Creek Formation, Ferris Formation, และ Lance Formation โดยมีชีวิตอยู่ร่วมกับที-เร็กซ์ และไทรเซอราทอป.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและสไตกิโมล็อก · ดูเพิ่มเติม »

หมึกกล้วย

ลื่อนไหวของหมึกหอม หมึกกล้วย เป็นมอลลัสคาประเภทหมึกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Teuthida.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและหมึกกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

อมาร์กาซอรัส

อมาร์กาซอรัส (อังกฤษ: Amargasaurus ; "La Amarga lizard") เป็นสกุลของไดโนเสาร์ประเภทซอโรพอดในยุคครีเทเชียสตอนต้น (129.4–122.46 ล้านปีก่อน) ที่อาร์เจนตินา โครงกระดูกที่มีสภาพสมบูรณ์ถูกค้นพบเมื่อปี1984 มีสปีชีส์เดียวคือ Amargasaurus cazaui.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอมาร์กาซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

อลาโมซอรัส

อลาโมซอรัส (Alamosaurus) เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดสุดท้าย ค้นพบฟอสซิลที่อเมริกาเหนือ ยาวประมาณ 25 เมตร อาศัยอยู่ในปลายยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 66 ล้านปีก่อน กินพืชเป็นอาหาร รักสงบ หนัก 30 ตัน มีหัวคล้ายกับคามาราซอรัส หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอลาโมซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ออร์นิทิสเกีย

ออร์นิทิสเกีย (Ornithischia) เป็นการจัดอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธุ์ไปแล้วในยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ไดโนเสาร์กินพืชที่มีโครงสร้างของโครงกระดูกคล้ายนก อันเป็นหนึ่งในการจัดอันดับของไดโนเสาร์อย่างใหญ่ โดยถูกจัดมาตั้งแต..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและออร์นิทิสเกีย · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบอร์โตโตซอรัส

อัลเบอร์โตโตซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่ค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ มีความยาว 9 เมตร ความสูง 5 เมตร หนัก 1500 กิโลกรัม เดิน 2 ขา ฟันเหมือนเลื่อยเป็นซี่เล็กๆ ใช้กินเนื้อโดยเฉพาะเป็นสัตว์กินเนื้อไดโนเสาร์และกินพืชต่าง ๆ อาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียส เมื่อประมาณ 76-74 ล้านปีที่แล้ว หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอัลเบอร์โตโตซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกลอย

อันดับกลอย หรือ Dioscoreales iเป็นอันดับในพืชมีดอก ประกอบด้วยวงศ์ Dioscoreaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของมันและกลอย ซึ่งเป็นอาหารสำคัญในหลายพื้นที่ ในระบบ APG II อันดับนี้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ประกอบด้วยวงส์ Burmanniaceae Dioscoreaceae และ Nartheciaceae.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับกลอย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง

ัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง หรือ สัตว์มีถุงหน้าท้อง (อันดับ: Marsupialia; Marsupial) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ได้อีกจำนวนหนึ่ง (ดูในตาราง) สัตว์ในอันดับนี้ มีความแตกต่างและหลากหลายในแง่ของรูปร่าง ลักษณะ และขนาดเป็นอย่างมาก แต่มีลักษณะเด่นที่มีความเหมือนกันประการหนึ่ง คือ จะออกลูกเป็นตัว โดยตัวเมียมีถุงหน้าท้อง ตัวอ่อนของสัตว์ในอันดับนี้เจริญเติบโตในมดลูกในช่วงระยะเวลาสั้น มีสะดือและสายรกด้วย แล้วจะคลานย้ายมาอยู่ในถุงหน้าท้องดูดกินนมจากแม่ ก่อนจะเจริญเติบโตในถุงหน้าท้องหรือกระเป๋าหน้าท้องนี้จนโต บางครั้งเมื่อยังโตไม่เต็มที่ จะเข้า-ออกระหว่างข้างออกกับกระเป๋าหน้าท้องเป็นปกติ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ จิงโจ้, โคอาลา, โอพอสซัม, ชูการ์ไกลเดอร์, วอมแบต, แทสเมเนียนเดวิล เป็นต้น ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ล้วนแต่จะพบเฉพาะในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของนิวกินี และพบในบางส่วนของทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น หมาป่าแทสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus) หรือไดโปรโตดอน (Diprotodon spp.) เป็นต้น โดยคำว่า Marsupialia นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า "กระเป๋า หรือ ถุง".

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหลังเขียว

อันดับปลาหลังเขียว (อันดับ: Clupeiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Clupeiformes เป็นปลาที่มีถุงลมมีท่อนิวเมติกเชื่อมต่อไปยังลำไส้ เส้นข้างลำตัวมักขาด แต่มีเกล็ดและครีบเช่นปลาในอันดับอื่น ๆ โดยมากแล้วมักจะมีลำตัวสีเงิน และมีส่วนหลังสีเขียว อันเป็นที่มาของชื่อ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยมากแล้วจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยผ่านซี่กรองเหงือก และไม่มีฟัน แต่ก็มีบางชนิดหรือบางวงศ์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีฟัน เช่นกัน พบทั้งหมด 6 วงศ์ ประมาณ 300 ชนิด ซึ่งปลาในอันดับนี้จะมีชื่อที่เป็นที่รู้จักกันในภาษาไทยเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาหลังเขียว", "ปลาตะลุมพุก", "ปลามงโกรย", "ปลากะตัก", "ปลาไส้ตัน", "ปลาทราย", "ปลากล้วย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "Herring", "Sardine", "Anchovy" หรือ " Shad" เป็นต้น พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะถูกจับนำมาบริโภคในฐานะปลาเศรษฐกิจและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ปลากระป๋องหรือน้ำปลา เป็นต้น โดยคำว่า Clupeiformes นั้นมาจากภาษาละติน "clupea" หมายถึง "ปลาซาร์ดีน" กับคำว่า "forma" หมายถึง "แหลมคม".

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับปลาหลังเขียว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาคาราซิน

อันดับปลาคาราซิน (Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra) จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับปลาคาราซิน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตาเหลือก

อันดับปลาตาเหลือก (Tarpon, Ladyfish; อันดับ: Elopiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Elopiformes มีรูปร่างโดยรวม คือ มีปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น เกล็ดมีสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต และมีเยื่อไขมันคลุมตาในบางชนิด เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ในเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน จะมีรูปร่างคล้ายกับปลาไหล ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 วงศ์ 2 สกุล 9 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับปลาตาเหลือก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามขาว

อันดับปลาฉลามขาว (Mackerel shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Lamniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดเหงือกด้านละ 5 ช่อง ช่องเปิดเหงือกช่องที่ 4 และช่องที่ 5 อยู่เหนือฐานของครีบอก ไม่มีช่องรับน้ำบริเวณด้านหลังของตาหรือถ้ามีจะมีขนาดเล็ก จมูกไม่มีหนวด และไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูก และปาก nตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัวเยื้องขึ้นมาทางด้านบนเล็กน้อย ครีบหลังทั้งสองครีบไม่มีหนามแข็งอยู่ทางด้านหน้า มีครีบหลัง 2 ครีบ มีครีบก้น ปากกว้างเป็นแบบพระจันทร์เสี้ยวมุมปากอยู่ทางด้านหลังของตา จะงอยปากแหลมเป็นรูปกรวย มีทั้งหมดทั้งสิ้น 7 วงศ์ 60 ชนิดที่ยังคงมีชีวิตมาจนถึงปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามครีบดำ

อันดับปลาฉลามครีบดำ (Ground shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่ออันดับว่า Carcharhiniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีครีบหลังสองตอน ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา หรือบางชนิดไม่มี ไม่มีหนวดที่จมูก ไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกและปาก ไม่มีแผ่นหนังบริเวณมุมปาก ปากมีขนาดใหญ่ กว้าง โค้งแบบพระจันทร์เสี้ยว ฟันมีหลายรูปแบบด้านหน้าเป็นแบบฟันเขี้ยวแหลมคมทางตอนท้ายมักเป็นฟันบด ช่องที่ 3-5 มักอยู่เหนือฐานครีบอก ไม่มีซี่กรองเหงือก ตามีหนังหุ้ม ลำไส้เป็นแบบบันไดวน หรือ แบบม้วน สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลานวลจันทร์ทะเล

อันดับปลานวลจันทร์ทะเล (Milkfish) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gonorynchiformes ลักษณะสำคัญของปลาในอันดับนี้ คือ มีช่องปากเล็ก ไม่มีฟันบนกระดูกขากรรไกร ตามีเยื่อไขมันใสคลุม ครีบอกอยู่ในตำแหน่งทางด้านล่างของลำตัว ครีบท้องอยู่ในตำแหน่งท้อง มีเกล็ดแบบอซิลลารี่ ขนาดใหญ่ที่ฐานของครีบท้องและครีบอก ไม่มีก้านครีบแข็งที่ครีบ มีกระดูกค้ำจุนกระพุ้งแก้ม 4 อัน มีกระเพาะลม ไม่มีกระดูกออร์บิทอสเฟนอย กระดูกพาร์ไรทัลมีขนาดเล็ก ไม่มีฟันบนกระดูกเซอราโทแบรนชิล คู่ที่ 5 กระดูกสันหลังสามข้อแรกเชื่อมติดต่อกัน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับปลานวลจันทร์ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกกระทุง

อันดับนกกระทุง (Pelican, Cormorant, Ibis, Spoonbill) เป็นอันดับของนกขากรรไกรแบบใหม่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Pelecaniformes ลักษณะร่วมกันหลายอย่างของนกในอันดับนี้ คือ นิ้วตีนทั้ง 4 มีแผ่นพังผืดขึงติดต่อกัน เรียกว่า "Totipalmate foot" และลำคอเปลือยเปล่าหย่อนยานเป็นถุงหนัง ซึ่งเรียกว่า "Gular pouch" มีไว้สำหรับล่าหาอาหารและเก็บอาหาร เป็นนกที่พบกระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาค ทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นเฉพาะทางเหนือของประเทศแคนาดาและทางเหนือของทวีปเอเชียซึ่งมีอากาศหนาวเย็น, เกาะต่าง ๆ บางแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง และทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งมีอากาศหนาวเย็น เป็นนกที่หากินและอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำเนื่องจากหากินสัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปลา, กุ้ง, ปู หรือสัตว์อื่น ๆ ขนาดเล็ก กินเป็นอาหาร เช่น บึง, หนอง, คลอง, ชายทะเล หรือเกาะกลางทะเล ว่ายน้ำได้เก่งและดำนำได้ดี แบ่งออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 5 วงศ์ (ข้อมูลบางแห่งจัดให้มี 6 วงศ์) ซึ่งวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกที่สุดคือ Phalacrocoracidae หรือนกกาน้ำ ที่มีจำนวนชนิดมากถึง 38-39 ชนิด นับว่ามีมากกว่าครึ่งของสมาชิกในอันดับนี้ รองลงไปคือ Sulidae หรือนกบูบบี ที่มี 9 ชนิด แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลบางแหล่งจะจัดให้วงศ์ในอันดับนี้ มีอันดับของตัวเองแตกต่างกันออกไป A Phylogenomic Study of Birds Reveals Their Evolutionary History.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับนกกระทุง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับโนรา

''Aspidopterys cordata'' (Malpighiaceae) อันดับโนรา หรือ Malpighiales เป็นอันดับขนาดใหญ่ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 16000 สปีชีส์ คิดเป็น 7.8% ของ พืชใบเลี้ยงคู่แท้Peter F. Stevens (2001 onwards).

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับโนรา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเตยทะเล

อันดับเตยทะเล หรือ Pandanales เป็นอันดับหนึ่งของพืชมีดอกในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อันดับนี้มีความสัมพันธ์ในระดับพี่น้องกับอันดับกลอ.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอันดับเตยทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เจนติโนซอรัส

อาร์เจนติโนซอรัส (Argentinosaurus) เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด กลุ่มไททันโนซอร์ที่ใหญ่ที่สุด ยาวถึง 35 เมตร เป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่รองลงมาจาก พาตาโกไททันที่ยาวถึง 37-40 เมตร อาร์เจนติโนซอรัส หนักถึง 75-80 ตัน ถูกค้นพบโดย กัลลิเมอร์ เฮเลเดีย ที่ประเทศ อาร์เจนตินา ชื่อมีความหมายว่ากิ้งก่าแห่งอาร์เจนตินา เป็นเหยื่อที่ใหญ่ที่สุดของกิก้าโนโตซอรัส ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศอาร์เจนตินา อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ 97-94 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอาร์เจนติโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

อำพัน

อำพันตกแต่งเป็นเหรียญประดับรูปไข่ขนาด 2x1.3 นิ้ว อำพัน เป็นซากดึกดำบรรพ์ของยางไม้ เป็นสิ่งมีค่าด้วยสีสันและความสวยงามของมัน อำพันที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับและอัญมณี แม้ว่าอำพันจะไม่จัดเป็นแร่แต่ก็ถูกจัดให้เป็นพลอย โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจผิดกันว่าอำพันเกิดจากน้ำเลี้ยงของต้นไม้ แต่แท้ที่จริงแล้ว น้ำเลี้ยงเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในระบบท่อลำเลียงของพืช ขณะที่ยางไม้เป็นอินทรียวัตถุเนื้ออสัณฐานกึ่งแข็งที่ถูกขับออกมาผ่านเซลล์เอพิทีเลียมของพืช เพราะว่าอำพันเคยเป็นยางไม้ที่เหนียวนิ่มเราจึงพบว่าอาจมีแมลงหรือแม้แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอยู่ในเนื้อของมันได้ ยางไม้ที่มีสภาพเป็นกึ่งซากดึกดำบรรพ์รู้จักกันในนามของโคปอล สีของอำพันมีได้หลากหลายสีสัน ปรกติแล้วจะมีสีน้ำตาล เหลือง หรือส้ม เนื้อของอำพันเองอาจมีสีได้ตั้งแต่ขาวไปจนถึงเป็นสีเหลืองมะนาวอ่อนๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลจนถึงเกือบสีดำ สีที่พบน้อยได้แก่สีแดงที่บางทีก็เรียกว่าอำพันเชอรี่ อำพันสีเขียวและสีฟ้าหายากที่มีการขุดค้นหากันมาก อำพันที่มีค่าสูงมากๆจะมีเนื้อโปร่งใส ในทางตรงกันข้ามอำพันที่พบกันมากทั่วไปจะมีสีขุ่นหรือมีเนื้อทึบแสง อำพันเนื้อทึบแสงมักมีฟองอากาศเล็กๆเป็นจำนวนมากที่รู้จักกันในนามของอำพันบาสตาร์ดหมายถึงอำพันปลอม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็เป็นอำพันของแท้ๆนั่นเอง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

อิกัวโนดอน

อิกัวโนดอน (Iguanodon) เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลหนึ่งในกลุ่มของไดโนเสาร์กินพืช มีขาหลังใหญ่และแข็งแรง ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปลายยุคจูแรสซิกและต้นยุคครีเทเชียส (ประมาณ 135 ถึง 110 ล้านปีมาแล้ว) ในพื้นที่กว้างใหญ่ตั้งแต่ทวีปยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออก กิเดียน แมนเทล แพทย์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ค้นพบอิกัวโนดอนเมื่อ พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) นับเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรก ๆ ที่พบ และมีรายงานทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่ในสามปีต่อมา ที่ตั้งชื่อว่าอิกัวโนดอนเพราะฟันของมันคล้ายกับฟันของอิกัวนา และเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงว่าไดโนเสาร์พัฒนามาจากสัตว์เลื้อยคลาน อิกัวโนดอนเป็นสิ่งมีชีวิตสกุลที่มีขนาดใหญ่และพบกระจัดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตวงศ์เดียวกัน ลำตัวของมันยาวกว่า 10 เมตร เมื่อยืดตัวขึ้นจะมีความสูง 5 เมตร หนัก 4-5 ตัน สันนิษฐานว่าอิกัวโนดอนเคลื่อนที่โดยใช้ขาทั้ง 4 ขา แต่ก็อาจเดินได้โดยใช้เพียงสองขา มือที่ขาหน้าของอิกัวโนดอนมี 5 นิ้ว หัวแม่มือแข็งแรงและชี้ขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือ ซากดึกดำบรรพ์และรอยเท้าที่พบทำให้เชื่อว่าอิกัวโนดอนมักอยู่เป็นฝูง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอิกัวโนดอน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติออบหลวง

อุทยานแห่งชาติออบหลวง เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 553 ตารางกิโลเมตร (345,625 ไร่) พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ แหล่งน้ำหลักคือลำน้ำแม่แจ่ม ซึ่งมีลักษณะเป็นเกาะแก่งเมื่อไหลผ่านหุบเขา ในอุทยานมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จำแนกได้หลายประเภท สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เลียงผา เสือ หมี เป็นต้น นอกจากนี้ภายในอุทยานแห่งชาติยังมีน้ำพุร้อน น้ำตก ถ้ำ และแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอุทยานแห่งชาติออบหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่มาก เป็นป่าชายเลนกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีเนื้อที่ป่าโดยรวมทั้งจังหวัด 190,265 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.17 ของเนื้อที่ป่าชายเลนทั้งประเทศ (พ.ศ. 2539) เขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงานับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่งจนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และบริเวณพื้นน้ำในทะเลอันดามัน ซึ่งมีพื้นที่ร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า เกาะโบยน้อย เกาะโบยใหญ่ เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เกาะปันหยี เขาพิงกัน เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

แผ่นศิลาจารึกพระนาม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติผาแต้ม วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยูทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จุดที่น่าสนใจคือภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ผาหมอน ผาลาย ประติมากรรมธรรมชาติเสาเฉลียง และจุดชมพระอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีพื้นที่ราว 340 ตารางกิโลเมตร (212,500 ไร่).

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอุทยานแห่งชาติผาแต้ม · ดูเพิ่มเติม »

อูราโนซอรัส

อูราโนซอรัส (Ouranosaurus) ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าผู้กล้าหาญ ตรงกลางที่หลังมีกระดูกที่เหมือนกับหนามโผล่ขึ้นมาเรียงเป็นแถวและมีหนังห่อหุ้มอยู่ เหมือนพวกสไปโนซอริดซ์ แต่กลับเป็นพวกอิกัวโนดอน ครีบนี้มีหน้าที่ปรับอุณภูมิของร่างกาย ขนาด 7 เมตร อยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 110 ล้านปีก่อน พบที่ทวีปแอฟริกาเป็นเหยื่อที่ล่าง่ายๆของสไปโนซอรัสที่ยาว 17 เมตร หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอูราโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

อีลาสโมซอรัส

อีลาสโมซอรัส ((จากภาษากรีก ελασμος elasmos 'แผ่นบาง' (หมายถึง แผ่นบาง ๆ ในกระดูกเชิงกราน) + σαυρος sauros 'กิ้งก่า') เป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเลในสกุล Elasmosaurus ในตระกูลเพลสิโอซอร์ เป็นสัตว์ประเภทคอยาว โดยมีคอยาวกว่าครึ่งหนึ่งของลำตัวเสียอีกอาศัยอยู่ยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อราว 80.5 ล้านปีก่อน ในสถานที่ ๆ ปัจจุบัน คือ ทวีปอเมริกาเหนือ โครงกระดูก อีลาสโมซอรัส มีลำตัวยาวประมาณ 10.3 เมตร (37 ฟุต) มีลักษณะเด่น คือ มีคอยาวถึง 5 เมตร (ประมาณ 16 ฟุต) ส่วนขาเป็นครีบ 4 ข้าง ความยาวของลำตัวมากกว่าครึ่งเป็นส่วนคอ ประกอบด้วยกระดูกมากกว่า 70 ชิ้น ซึ่งมีจำนวนกระดูกคอมากกว่าสัตว์ทุกชนิด ส่วนหัวค่อนข้างเล็ก และฟันคมกร.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและอีลาสโมซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์นเวิร์ต

อร์นเวิร์ต เป็นพืชที่อยู่ในกลุ่ม ไบรโอไฟต์ หรือ พืชไม่มีท่อลำเลียง ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในดิวิชัน Anthocerotophyta ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษอ้างถึงรูปร่างของต้นสปอโรไฟต์ที่คล้ายเขา ต้นแกมีโทไฟต์อยู่ข้างล่าง รูปร่างแบน พบได้ทั่วโลก เจริญได้เฉพาะในที่ชุ่มชื้น บางชนิดมีขนาดใหญ่มาก ฮอร์นเวิร์ตในสกุล Dendroceros พบได้ตามเปลือกไม้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและฮอร์นเวิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ฮาลิซอรัส

ลิซอรัส (Halisaurus) เป็นสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์แล้ว ของตระกูลโมซาซอร์ มันมีความยาวประมาณ 3-4 เมตร (10 -13 ฟุต) มันอาจจะเป็นโมซาซอร์ที่เล็กที่สุด เมื่อเทียบกับโมซาซอร์ชนิดอื่น ฮาลิซอรัสอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 85-65 ล้านปีก่อน ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าทะเล เหยื่อของมันอาจจะเป็นนกทะเลดึกดำบรรพ์ที่ชื่อ เฮสเปอร์รอร์น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและฮาลิซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ฮาโดรซอร์ (วงศ์)

รซอร์ (hadrós, "stout, thick"), หรือไดโนเสาร์ปากเป็ด เป็นวงศ์ของไดโนเสาร์ประเภทออร์นิทิสเกี.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและฮาโดรซอร์ (วงศ์) · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อ (แมลง)

ผีเสื้อ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงก่ำเบ้อ) เป็นแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและผีเสื้อ (แมลง) · ดูเพิ่มเติม »

จาก

ลำต้นของจากอยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่ขึ้นคือใบ ช่อดอกของจาก เกาะเป็นก้อนกลม จาก เป็นพืชจำพวกปาล์ม โดยมีการจัดอยู่ที่ในวงศ์ย่อย Nypoideae ซึ่งมีสกุลเดียว และเป็นปาล์มเพียงชนิดเดียวที่เป็นพืชในป่าชายเลน และมีลำต้นอยู่ใต้ดิน นับเป็นพืชเก่าแก่มากชนิดหนึ่ง ที่มีซากดึกดำบรรพ์อายุถึง 70 ล้านปี จากพบได้ทั่วไปในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในบริเวณน้ำจืด และน้ำกร่อย ที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง มักจะขึ้นเป็นดงขนาดใหญ่ เรียกว่า ป่าจาก หรือดงจาก จากสามารถเติบโตได้ดีในดินโคลน ตามป่าชายเลน หรือบริเวณริมคลองที่มีไม้ให้ร่มเงาปะปนอยู่ด้วย มักอยู่ในช่วงที่มีน้ำจืดและน้ำกร่อยปนกัน แต่บนบกที่น้ำท่วมถึงก็พบจากได้บ้างเช่นกัน หากดินไม่แห้งแล้งนานจนเกินไป มีคุณสมบัติกันยุงได้.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและจาก · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีกาล

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและธรณีกาล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเดดซี

ทะเลเดดซีมุมมองจากฝั่งอิสราเอลมองข้ามไปยังจอร์แดน นักท่องเที่ยวสามารถลอยตัวในทะเลเดดซีเนื่องจากความเข้มข้นของเกลือสูง ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ (Dead Sea; البَحْر المَيّت‎, อัลบะฮฺรุ อัลมัยยิต; יָם הַ‏‏מֶ‏ּ‏לַ‏ח‎, ยัม ฮาเมลาห์ (ทะเลเกลือ)) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก อยู่ตรงเขตแดนประเทศจอร์แดน รัฐปาเลสไตน์ และอิสราเอล ระดับน้ำอยู่ต่ำที่สุด ทะเลเดดซีอยู่ระหว่างเทือกเขายูเดียที่ด้านเหนือ และที่ราบสูงทรานสจอร์แดนที่ด้านตะวันออก แม่น้ำจอร์แดนจะไหลจากทางเหนือมายังทะเลเดดซีนี้ ซึ่งมีความยาว 80 กิโลเมตร และมีความกว้างถึง 18 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่นั้น 1,020 ตารางกิโลเมตร แหลมอัลลิซาน (แปลว่า ลิ้น) แบ่งทะเลสาบด้านตะวันออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือใหญ่กว่า ล้อมรอบพื้นที่ 3/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนความลึกนั้นประมาณ 400 เมตร แอ่งตอนเหนือนั้นเล็ก และตื้น (ลึกประมาณ 3 เมตร) ในสมัยที่เขียนคัมภีร์ไบเบิล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พื้นที่บริเวณตอนเหนือเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย และระดับน้ำต่ำกว่าในปัจจุบัน 35 เมตร คนชาวอาหรับจะเรียกทะเลสาบเดดซีกันว่า "อัลบาห์รัลไมยิต” หมายความว่า ทะเลมรณะ เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ ขณะที่ภาษาฮีบรูเรียกทะเลสาบนี้ว่า "ยัมฮาเมละฮ์" ซึ่งหมายความว่า "ทะเลเกลือ" เป็นทะเลที่เค็มที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เค็มกว่าทะเลอื่นถึง 4 เท่า มีความยาว 76 กิโลเมตร กว้างถึง 18 กิโลเมตร มีจุดที่ลึกที่สุดคือ 400 เมตร และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 417.5 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกอีกแห่งด้วย สำหรับทะเลสาบเดดซี เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ชื่นชอบในการเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นทะเลที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลย ยกเว้นแต่แบคทีเรียและเห็ดราบางชน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและทะเลเดดซี · ดูเพิ่มเติม »

ทาร์โบซอรัส

ทาร์โบซอรัส บาร์ทา เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อดุร้ายมากเหมือนไทรันโนซอรัส เป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส พบได้ในเอเชีย มองโกเลีย และจีน ความยาวประมาณ 10-12 เมตร หนัก 5 - 7 ตัน สูงจากหัวถึงพื้น 3.3 เมตร อยู่ยุคครีเทเชียส 85 - 65 ล้านปีก่อน มันมีลักษณะไม่แตกต่างกับไทรันโนซอรัส เร็กซ์ เลย บางคนจึงเรียกมันว่าไทรันโนซอรัส บาร์ทา โดยทาร์โบซอรัส เป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของไทรันโนซอรัส โดยเหยื่อของมันก็ไม่ต่างอะไรกับเหยื่อที่ไทแรนโนซอรัส ล่าเป็นอาหารแต่ต่างกันตรงที่ ทาร์โบซอรัส จะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ซึ่งต่างจากทีเร็กซ์ที่จะล่าเหยื่อขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งความแตกต่างของ2นักล่าขนาดใหญ่นี้อยู่กะโหลก เพราะ กะโหลกของทาร์โบซอรัสนั้นบางกกว่ากะโหลกของทีเร็กซ์ ในทวีปเอเชียช่วงที่ทาร์โบซอรัสมีชีวิตอยู่ มันคือนักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่วงที่มันมีชีวิตอยู่ ภาพเปรียบเทียบระหว่าง กะโหลกของ ทาร์โบซอรัส(A) กับ กะโหลกของทีเร็กซ์(B) หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและทาร์โบซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ทิแรโนดอน

ทิแรโนดอน (อังกฤษ: Pteranodon, มาจากภาษากรีก πτερόν pteron "ปีก" และ ἀνόδων anodon ว่า "เขี้ยวกุด") เป็นสกุลหนึ่งของเทอโรซอร์ ซึ่งรวมถึงสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ที่รู้จักกันส่วนใหญ่ ขนาดของปีกยาวมากกว่า 6 เมตร (20 ฟุต).

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและทิแรโนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ดราวิโดซอรัส

ราวิโดซอรัส (Dravidosaurus) เป็นไดโนเสาร์สเตโกซอร์ชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในอินเดีย และยังเป็นสเตโกซอร์ชนิดเดียวที่อยู่ในยุคครีเทเซียสเมื่อ 75 ล้านปีก่อน ชื่อของมันมีความว่า"กิ้งก่าแห่งดราวิดานาดู"ตามชื่อสถานที่ค้นพบของมัน ดราวิโดซอรัสมีขนาดเพียง 6 เมตร มันกินพืชและรักสง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและดราวิโดซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก · ดูเพิ่มเติม »

คอมมานด์ & คองเคอร์: ยูริ รีเวนจ์

อมมานด์ & คองเคอร์: ยูริ รีเวนจ์ (Command & Conquer: Yuri's Revenge) เป็นเกมแนววางแผนการรบเรียลไทม์ ในซีรีส์ คอมมานด์ & คองเคอร์ พัฒนาโดยบริษัท เวสท์วูด สตูดิโอ เป็นซอฟต์แวร์เสริมของ คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ต 2.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและคอมมานด์ & คองเคอร์: ยูริ รีเวนจ์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์โนทอรัส

ร์โนทอรัส (Carnotaurus) ค้นพบที่ทุ่งราบปาตาโกเนียของอาร์เจนตินา มีเขาอยู่บนหัว 2 เขา เป็นลักษณะที่พิเศษของคาร์โนทอรัส และมีขาหน้าที่สั้นมากเมื่อเทียบกับเทอโรพอดชนิดอื่นๆ ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ากระทิง ขนาดประมาณ 7.5 เมตร หนักประมาณ 2 ตัน ซึ่งถือว่าเบาเมื่อเทียบกับขนาดตัว ซึ่งทำให้มันเป็นไดโนเสาร์ที่ปราดเปรียวและว่องไวอีกชนิด อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 75-80 ล้านปีก่อน หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและคาร์โนทอรัส · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและงู · ดูเพิ่มเติม »

ตั๊กแตนตำข้าว

ตั๊กแตนตำข้าว หรือ ตั๊กแตนต่อยมวย (Mantis; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงม้า) เป็นอันดับของแมลงที่ประกอบไปด้วยแมลงมากกว่า 2,400 ชนิด 430 สกุล ใน 15 วงศ์ พบทั่วไปในภูมิอากาศเขตอบอุ่นและเขตร้อน ส่วนมากอยู่ในวงศ์ Mantidae.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและตั๊กแตนตำข้าว · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรพอด

ซอโรพอด (sauropod Diermibot) คือ ไดโนเสาร์คอยาวชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีคอยาวอย่างน้อย 5 เมตร มีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือแอมพิโคเลียส และเล็กที่สุดคือพลาทีโอซอรัส ซอโรพอดชนิดเรกอาศัยอยู่ในยุคไตรแอสสิคตอนปลาย และชนิดสุดท้ายอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและซอโรพอด · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรโพไซดอน

ซอโรโพไซดอน (Sauroposeidon) มีชื่อมาจาก "เทพโพไซดอน" ของกรีก เป็นไดโนเสาร์ในสกุล ซอโรพอด ขนาดใหญ่ ถูกขุดพบในทวีปอเมริกาเหนือในทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐโอคลาโฮมาของสหรัฐอเมริกา ถูกค้นพบครั้งแรกในปี..1994 อาศัยอยู่ในยุค ครีเตเชียสเมื่อประมาณ 110 ล้านปีที่แล้ว การวิเคราะห์ของนักนิเวศวิทยาบรรพกาล (Paleoecological) ระบุว่า ซอโรโพไซดอน อาศัยอยู่บนชายฝั่งของอ่าวเม็กซิโกในปากแม่น้ำ เช่น เดียวกับ ซอโรพอดอื่นอย่าง แบรกคิโอซอรัส เป็นสัตว์ซึ่งกินพืชเป็นอาหาร คอมีลักษณะคล้ายกับสัตว์กินพืชในยุคปัจจุบันอย่างยีราฟ.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและซอโรโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรโลฟัส

ซอโรโลฟัส (Saurolophus) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดมีหงอนเช่นเดียวกับพาราซอโรโลฟัสหรือคอริโธซอรัส มีความยาวประมาณ 10-13 เมตร ค้นพบที่อเมริกาเหนือ และมองโกเลีย จีน มีความหมายของชื่อว่ากิ้งก่าหงอนใหญ่ อาศัยอยู่ใน ยุคครีเทเชียสตอนต้นปลายประมาณ 80-75 ล้านปี ว่ายน้ำได้ดี หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและซอโรโลฟัส · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรเพลตา

ซอโรเพลตา (Sauropelta) ค้นพบในปี..1970 เป็นไดโนเสาร์ที่มีเกราะกำบังชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ 5 เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น กินพืชเป็นอาหาร รักสงบ ค้นพบฟอสซิลที่ทวีปอเมริกาเหนือ ลักษณะคล้ายกับเอ็ดมันโทเนีย หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและซอโรเพลตา · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต หรือ ฟอสซิลที่มีชีวิต (Living fossil) หมายถึงสิ่งมีชีวิตใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ ฟังไจ หรือสาหร่าย ที่ยังคงโครงสร้างร่างกายหรือสรีระแบบบรรพบุรุษดั้งเดิมที่เคยมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งตรวจสอบได้จากการนำไปเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ (fossil) หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก จะถูกจัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต โดยบุคคลแรกที่ใช้ศัพท์คำนี้ คือ ชาลส์ ดาร์วิน ที่กล่าวไว้ในหนังสือ The Origin of Species ที่ว่าถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของตนเอง ตอนหนึ่งได้พูดถึงตุ่นปากเป็ด และปลาปอดเอาไว้ว่า โดยชนิดของซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และมีความฮือฮามากเมื่อถูกค้นพบ คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ถูกค้นพบเมื่อปลายปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ซิจิลมาซาซอรัส

ซิจิลมาซาซอรัส (อังกฤษ; Sigilmassaurus) ถูกค้นพบที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศโมร๊อคโค ในปี 1996, เบื้องต้น เนื่องจากค้นพบกระดูกคอและกระดูกสันหลังรวมกันเพียง 6 ชิ้น ทำให้มันถูกจัดไปเป็นสไปโนซอรัสวัยเยาว์แทนหลังการค้นพบไม่นาน แต่แล้วในปี 2016 นี้เอง ซิจิลมาซาซอรัสก็อาจกลับมาเป็นสปีซีย์แยกได้อีกครั้ง เพราะเมื่อเทียบอัตราส่วนกระดูกคอชิ้นแรกที่ติดกับกะโหลกกับกระดูกคอของญาติๆของมัน(บาริโอนิกส์และสไปโนซอรัส) เจ้าของกระดูกคอนี้จะมีกะโหลกยาวไม่เกิน 1.2 เมตร และคอของมันยังสั้นผิดปกติ ต่างไปจากคอของสไปโนซอร์ทั่วๆไปอีกด้วย หมวดหมู่:เทอโรพอด.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและซิจิลมาซาซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ซูโคไมมัส

ซูโคไมมัส เป็นไดโนเสาร์ที่อยู่ในสกุล สไปโนซอร์ ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา ประเทศอียิปต์,ไนเจอร์ Suchomimus มีปากที่มีความยาวต่ำและแคบเป็นจะงอย ฟันคมมาก และโค้งย้อนหลัง ออกหาอาหารบริเวณริมแม่น้ำ อาหารหลักของมันคือปลา และสัตว์น้ำในยุคดึกดำบรรณ์ Suchomimus มีความยาว 11 เมตร หนักประมาณ 2.9-4.8 ตัน อาศัยอยู่ในยุคครีเทเซียสตอนต้นเมื่อประมาณ 112 ล้านปีก่อน มันมีศัตรูขู้แข่งตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกันอย่าง จระเข้ยักษ์ ซาร์โคซูคัส (Sarcosuchus) ที่อาศัยอยู่ริมน้ำและจะคอยดักซุ่มโจมตีเหยื่ออยู่ในน้ำ Suchomimus มีญาติไกล้ชิดอย่าง สไปโนซอรัส ที่มีความยาว 15 เมตร กับ อิริอาเตอร์ (อังกฤษ: Irritator) ยาว 8 เมตร (26ฟุต) ที่มีลักษณะรูปร่างและการดำรงชีวิตคล้ายกันแต่มีขนาดเล็กกว่า หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและซูโคไมมัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนจุดฟ้า

ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนทอง ปลากระเบนจุดฟ้า (Bluespotted stingray, Bluespotted maskray) ปลากระดูกอ่อนน้ำเค็มชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระเบน อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีจะงอยปากและปลายครีบอกเป็นมุมกว้าง ด้านหลังลำตัวเรียบ หางเรียวยาวกว่าลำตัวเล็กน้อย ตาโตอยู่ชิดกันและมีแถบสีคล้ำระหว่างดวงตา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนอมเทาหรือเหลือง มีจุดประสีฟ้าอ่อนและดำกระจาย ด้านท้องสีจาง ปลายหางมีสีดำ มีปล้องสีขาวอยู่ 1-2 ปล้อง มีขนาดความกว้างของลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่ง ตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงที่ลึกอย่างไหล่ทวีป ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย โดยพบได้ประปรายในทวีปแอฟริกา มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายในที่ตื้น ๆ โดยกินสัตว์น้ำเช่น กุ้ง, ปู และหอย เป็นอาหาร ในเขตน่านน้ำไทยพบได้ชุกชุมในบางพื้นที่ และพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันหน้า 101, คู่มือปลาทะเล โดย ชวลิต วิทยานนท์ ดร.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลากระเบนจุดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนธง

ปลากระเบนธง (Stingray) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกปลากระเบนจำพวกหนึ่ง อยู่ในอันดับย่อย Myliobatoidei ในอันดับ Myliobatiformes ประกอบไปด้วย 8 วงศ์ ได้แก่ Hexatrygonidae (ปลากระเบนหกเหงือก), Plesiobatidae (ปลากระเบนน้ำลึก), Urolophidae (ปลากระเบนกลม), Urotrygonidae (ปลากระเบนกลมอเมริกัน), Dasyatidae (ปลากระเบนธง), Potamotrygonidae (ปลากระเบนแม่น้ำ หรือ ปลากระเบนหางสั้น), Gymnuridae (ปลากระเบนผีเสื้อ) และ Myliobatidae (ปลากระเบนนก หรือ ปลากระเบนยี่สน) ลักษณะเด่นของปลากระเบนในกลุ่มนี้ คือ ที่บริเวณโคนหรือกึ่งกลางหางจะมีเงี่ยงแหลมยาว 1-2 ชิ้น ที่ใช้เป็นอาวุธทิ่มแทงศัตรูที่มารังควาญได้ โดยอาจมีความยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร (14 นิ้ว) และมีสารเคมีที่มีความเป็นพิษเคลือบอยู่ ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารโปรตีน ที่มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ผู้ที่โดนแทงเกิดความเจ็บปวด ในปลากระเบนขนาดใหญ่จะออกฤทธิ์คล้ายพิษของงูกะปะ ซึ่งหากโดนแทงเข้าอย่างจังหรือโดนจุดสำคัญ อาจทำให้เสียชีวิตได้ เงี่ยงแหลมดังกล่าวจะมีในปลากระเบนทุกสกุล ทุกชนิด ยกเว้นปลากระเบนแมนตา และปลากระเบนขนุน เท่านั้นที่ไม่มีเงี่ยงแหลมดังกล่าว ซึ่งเงี่ยงอันนี้สามารถที่จะหลุดไปได้ เมื่อปลามีอายุเพิ่มมากขึ้นหรือจากสาเหตุอื่น ๆ แต่ก็สามารถงอกใหม่ทดแทนได้ เงี่ยงของปลากระเบนธง ปลากระเบนธงพบกระจายพันธุ์อยู่ในน่านน้ำในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก พบได้ทั้งในทะเล, มหาสมุทร, น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยกินปลาขนาดเล็ก, หอย ทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา รวมถึงกุ้งเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนค้างคาว

ปลากระเบนค้างค้าวหรือ ปลากระเบนเนื้อดำ หรือ ปลากระเบนนกจุดขาวหรือปลากระเบนยี่สน (Spotted eagle ray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง 1–4 เงี่ยง พบมากที่สุด 6 เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว หางเรียวยาวมาก มีส่วนหัวที่แยกออกจากครีบเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน มีขนาดกว้างได้ถึง 1.5 เมตร เคยพบสูงสุดถึง 3 เมตร น้ำหนัก 230 กิโลกรัม หากินจำพวกสัตว์น้ำหน้าดิน เช่น หอย, กุ้ง, กั้ง, ปู บริเวณใต้พื้นน้ำเป็นอาหาร โดยใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหา บางครั้งอาจเข้ามาหากินถึงบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้ บางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงหลายตัว และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 80 เมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ฮาวาย, อ่าวเม็กซิโก, ชายฝั่งทะเลของแอฟริกาตะวันตก, ชายฝั่งทะเลของสหรัฐอเมริกา และโอเชียเนีย ปลากระเบนค้างคาวออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่ได้พัฒนาเป็นตัวในช่องท้องของปลาตัวเมีย เมื่อแรกเกิดลูกปลาจะมีถุงไข่แดงติดตัวมาด้วย ปลากระเบนค้างคาวสนนั้น มักถูกล่าเป็นอาหารจากปลาฉลาม โดยเฉพาะปลาฉลามหัวค้อน สำหรับความสัมพันธ์ต่อมนุษย์แล้ว นิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ เพราะความสวยงามในสีสันและการว่ายน้ำ และยังนิยมใช้เนื้อเพื่อการบริโภคด้วยทั้งการบริโภคสดและเก็บรักษาเป็นปลาแห้ง และทำเป็นปลาหย็อง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลากระเบนค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์

ปลาการ์ หรือ ปลาการ์ไพค์ (Gar, Garpike) เป็นปลาน้ำจืดกระดูกแข็งที่มีก้านครีบวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Lepisosteidae (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ดี้/) และอยู่ในอันดับ Lepisosteiformes (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ฟอร์-เมส/) ปลาการ์มีรูปร่างคล้ายกับปลากระทุงเหว หรือปลาเข็ม ที่อยู่ในอันดับ Beloniformes คือ มีรูปร่างเรียวยาว มีลักษณะเด่นคือ มีจะงอยปากที่แหลมยาวยื่นออกมาคล้ายเข็มเห็นได้ชัดเจน ซึ่งภาษาอังกฤษเก่าคำว่า "Gar" หมายถึง "หอก" ขณะที่ชื่อสกุลในทางวิทยาศาสตร์คำว่า Lepisosteus มาจากภาษากรีกคำว่า lepis หมายถึง "เกล็ด" หรือหมายถึง "กระดูก" และ Atractosteus ดัดแปลงมาจากภาษากรีกคำว่า atraktos หมายถึง "ธนู" ทั้งนี้เนื่องจากปลาการ์มีเกล็ดแบบกานอยด์ซึ่งเรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ียมแบบเพชร มีความหนา่และแข็งแรงห่อหุ้มลำตัวเสมือนเกราะ โดยมีลักษณะเช่นนี้มา่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว โดยปลาการ์ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายยุคครีเตเชียส โดยพบเป็นซากฟอสซิลตามทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงในภาคอีสานของประเทศไทยด้วย ที่มีการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ปลาการ์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 สกุล เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ในขณะที่บางชนิดอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือตามชายฝั่งบ้าง พบกระจายพันธุ์ฺเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และแคริบเบียน มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนแท่งดินสอ มีจะงอยปากยื่นแหลมที่ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมอยู่เป็นจำนวนมาก ใช้สำหรับล่าเหยื่อและกินอาหาร มีเส้นข้างลำตัวที่ไวต่อความรู้สึก ใช้เป็นประสาทในการสัมผัสและนำทาง ปลายกระดูกสันหลังข้อสุดท้ายยกเชิดขึ้น และโค้งไปตามขอบบนของหางจนถึงปลายครีบหาง ทำให้มีครีบหางกลมมนเป็นรูปพัด มีรูจมูกอยู่ที่ปลายจะงอยปาก นอกจากนี้แล้วยังมีถุงลมที่ทำหน้าที่เสมือนปอด จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำที่ีมีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ โดยการขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำ ปลาการ์ทั้งหมดวางไข่ในน้ำจืด มีรายงานระบุว่าไข่ของปลาวงศ์นี้มีพิษ โดยพฤติกรรมจะอาศัยรวมฝูงกันอยู่ระดับในผิวน้ำในฤดูร้อน และจะดำดิ่งลงสู่เบื้องล่างในฤดูหนาว อาหารส่วนใหญ่จะมักจะเป็น นกน้ำ เช่น นกเป็ดน้ำ และ ปู ซึ่งง่ายต่อการล่า ในหลายพื้นที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและนำชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น เกล็ดมาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน รวมถึงเนื้อด้วยในบางชนิดรับประทานเป็นอาหาร มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 10-14 ฟุต ในปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย และนับเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มีการเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามหรือแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งในหลายพื้นที่ได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำพื้นเมืองได้.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเกต

ปลาสเกต (Skate) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในกลุ่มปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ Rajidae จัดเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก แต่มีความแตกต่างไปจากปลากระเบนรวมถึงปลากระดูกอ่อนจำพวกอื่น ๆ ปัจจุบันพบมากกว่า 200 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Rajinae และ Arhynchobatinae ปลาสเกตนับว่าเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก จึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศทางตะวันตก เพราะมีขนาดเล็กและเนื้อไม่มีกลิ่นแอมโมเนียฉุนเหมือนกับปลากระเบนจำพวกอื่น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาสเกต · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเตอร์เจียน

ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon, Oсетр, 鱘) ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่ในวงศ์ Acipenseridae ในอันดับ Acipenseriformes อาศัยได้อยู่ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เมื่อยังเล็กจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบหรือตามปากแม่น้ำ แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายอพยพสลงสู่ทะเลใหญ่ และเมื่อถึงฤดูวางไข่ก็จะว่ายกลับมาวางไข่ในแหล่งน้ำจืด ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ปลาสเตอร์เจียน มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีหนามแหลมสั้น ๆ บริเวณหลัง หัว และเส้นข้างลำตัวไว้เพื่อป้องกันตัว มีหนวดทั้งหมด 2 คู่อยู่บริเวณปลายจมูก ปลายหัวแหลม ปากอยู่ใต้ลำตัว ลำตัวไม่มีเกล็ด ภายในปากไม่มีฟัน ตามีขนาดเล็ก ซึ่งหนวดของปลาสเตอร์เจียนนี้มีหน้าที่สัมผัสและรับคลื่นกระแสไฟฟ้าขณะที่ว่ายน้ำ เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านใต้ของลำตัว เพราะฉะนั้นหนวดเหล่านี้มีหน้าที่เหมือนมือที่คอยสัมผัสกับสิ่งของที่อยู่ข้างใต้ของตัวเอง หากินตามพื้นน้ำโดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ สเตอร์เจียนจะพบแต่เฉพาะซีกโลกทางเหนือซึ่งเป็นเขตหนาวเท่านั้น ได้แก่ ทวีปเอเชียตอนเหนือและตะวันออก, ทวีปยุโรปตอนเหนือ และทวีปอเมริกาเหนือตอนบน เช่น อะแลสกา, แคนาดา และบางส่วนในสหรัฐอเมริกา สถานะปัจจุบันของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์เต็มที แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด ปลาสเตอร์เจียน มีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 3 สกุล โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาฮูโซ่ (Huso huso) พบในรัสเซีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 900 กิโลกรัม และมีอายุยืนยาวถึง 210 ปี นับเป็นปลาที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก เท่าที่มีการบันทึกมา และเป็นชนิดที่ให้ไข่รสชาติดีที่สุดและแพงที่สุดด้วย ส่วนชนิดที่เล็กที่สุดคือ ปลาสเตอร์เจียนแคระ (Pseudoscaphirhynchus hermanni) ที่โตเต็มที่มีขนาดไม่ถึง 1 ฟุตเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้แล้ว ปลาสเตอร์เจียนยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ในประเทศไทย ปลาสเตอร์เจียนชนิด ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย (Acipenser baerii) ได้มีการทดลองเลี้ยงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ อันเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อำเภอเวียงแหง ที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการทดลองเป็นไปได้อย่างดี.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาสเตอร์เจียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอะโรวาน่าเอเชีย

ปลาอะโรวาน่าเอเชีย หรือ ปลาตะพัดเอเชีย (Asian arowana) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในสกุล Scleropages (/สะ-เคอ-โอ-พา-กิส/) ในวงศ์ Osteoglossidae ถือเป็นปลาโบราณที่สืบเผ่าพันธุ์มาจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีลักษณะรูปร่างไม่ต่างจากบรรพบุรุษในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการแยกออกจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน เมื่อกว่า 140 ล้านปีก่อน ในยุคครีเตเชียสตอนต้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาอะโรวาน่าเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตกเบ็ด

ปลาตกเบ็ด (anglerfish) หรือ ปลาแองเกลอร์ คือปลาทะเลลึกอยู่ในชั้นปลากระดูกแข็งซึ่งชื่อของมันตั้งมาจากวิธีการล่าเหยื่อของมันซึ่งคำว่า แองเกลอร์ (Angler) นั้นมีความหมายว่า ผู้ตกปลา พวกมันมีสายพันธุ์มากกว่า 200 ชนิดซึ่ง พวกมันสามารถพบได้ทั่วโลกตรงบริเวณที่เป็นไหล่ทวีปจนถึงทะเลลึกส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกและแอนตาร์กติกและยังอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำเขตร้อนตื้นๆด้วย พวกมันมีจุดเด่นตรงที่พวกมันมีติ่งเนื่อเรืองแสงที่คล้ายเบ็ดตกปลาซึ่งเอาไว้ใช่ในการล่อเหยือและมันยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือกรณีเพศสัณฐานของปรสิตเพศชายที่จะรวมตัวกันกับตัวเมี.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาตกเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามมาโก

ปลาฉลามมาโก (Mako shark) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามในสกุล Isurus (/อิ-ซัว-รัส/) ในวงศ์ Lamnidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาฉลามขาว ซึ่งเป็นปลากินเนื้อและสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ปลาฉลามมาโก จัดเป็นปลาฉลามที่มีความปราดเปรียวว่องไว เป็นปลาฉลามที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลก โดยทำความเร็วได้ถึง 50-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขยับหางที่เว้าเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเพิ่มความเร็วได้ในช่วงระยะเวลาเสี้ยววินาที เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อประเภทต่าง ๆ เช่น โลมา, แมวน้ำ หรือเต่าทะล จากการจู่โจมจากด้านล่าง อีกทั้งยังสามารถกระโดดได้พ้นน้ำได้สูงถึง 9 เมตรอีกด้วย เป็นปลาที่มีดวงตากลมโตสีดำสนิท ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวนมากจนล้นออกนอกปาก จัดเป็นปลาฉลามอีกจำพวกหนึ่งที่ทำอันตรายมนุษย์ได้ เป็นปลาที่ถือกำเนิดมาจากตั้งแต่ยุคครีเตเชียสจนถึงควอเทอนารี (ประมาณ: 99.7 ถึง 0.781 ล้านปีก่อน) จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน มีความยาวประมาณ 2.5 ถึง 4.5 เมตร (8.2 ถึง 14.8 ฟุต) และน้ำหนักมากที่สุดถึง 800 กิโลกรัม (1,800 ปอนด์) โดยคำว่า "มาโก" มาจากภาษามาวรี หมายถึง ปลาฉลามหรือฟันปลาฉลาม.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาฉลามมาโก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครุย

ปลาฉลามครุย (Frilled shark; ラブカ) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างประหลาดมากคล้ายปลาไหล อาศัยอยู่ในน้ำลึก 1,968 – 3,280 ฟุต มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus ในอยู่ในวงศ์ Chlamydoselachidae เดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มีรายงานพบในหลายพื้นที่ รวมถึงในเขตน่านน้ำของญี่ปุ่น ทำให้ปลาฉลามครุยกลายเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" อีกชนิดหนึ่งของโลก เพราะเชื่อว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเลยมาตั้งแต่ยุคครีเทเชียส จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บริเวณส่วนหัว ลักษณะฟันและปาก ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ปลาฉลามชนิดนี้ได้สร้างความฮือฮากลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั้งโลก เมื่อชาวประมงชาวญี่ปุ่นสามารถจับตัวอย่างที่ยังมีชีวิตได้ตัวหนึ่งในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมา ในเมืองชิซุโอะกะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว ซึ่งเชื่อว่าปลาตัวนี้ลอยขึ้นมาเพราะร่างกายอ่อนแอเนื่องจากความร้อนที่ขึ้นสูงของอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็ตายไป เชื่อว่าปลาฉลามชนิดนี้ กระจายพันธุ์อยู่ในเขตน้ำลึกใกล้นอร์เวย์, แอฟริกาใต้, นิวซีแลนด์, ชิลี และญี่ปุ่น มีรูปร่างเรียวยาวคลายปลาไหลหรืองูทะเล เป็นไปได้ว่าตำนานงูทะเลขนาดใหญ่ที่เป็นเรื่องเล่าขานของนักเดินเรือในสมัยอดีตอาจมีที่มาจากปลาฉลามชนิดนี้ มีผิวสีน้ำตาลหรือเทาเข้ม มีซี่กรองเหงือก 6 คู่ สีแดงสด และฟูกางออกเหมือนซาลาแมนเดอร์บางชนิด ทำให้ดูแลเหมือนครุย ซึ่งมีไว้สำหรับดูดซับออกซิเจนโดยเฉพาะ เนื่องจากในทะเลลึกมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าด้านบนถึงกว่าครึ่ง ปากกว้างเลยตำแหน่งของตา ภายในปากมีฟันที่แตกเป็นดอกแหลม ๆ 3 แฉก ทำให้สันนิษฐานว่าเป็นปลาที่ล่าปลาเล็กเป็นอาหารที่เก่งฉกาจชนิดหนึ่ง ความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6.5 ฟุต.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาฉลามครุย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามปากเป็ด

ปลาฉลามปากเป็ด (American paddlefish, Mississippi paddlefish) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes).

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาฉลามปากเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉนาก

ปลาฉนาก (Sawfishes) เป็นปลาจำพวกหนึ่งของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ใช้ชื่ออันดับว่า Pristiformes และวงศ์ Pristidae (โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า πρίστης, prístēs หมายถึง "เลื่อย" หรือ "ใบเลื่อย").

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาฉนาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซีลาแคนท์

ซีลาแคนท์ (Coelacanth, ดัดแปลงมาจากคำละตินสมัยใหม่ Cœlacanthus เมื่อ cœl-us + acanth-us จากภาษากรีกโบราณ κοῖλ-ος + ἄκανθ-α) เป็นชื่อสามัญของปลาออร์เดอร์หนึ่งที่รวมถึงสายพันธุ์ของปลาในปัจจุบันที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักในปัจจุบันพวก gnathostomata นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่าปลาซีลาแคนท์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปลาปอดและเตตราพอดที่เคยเชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งสิ้นสุดยุคครีเทเชียส จนกระทั่งมีการพบปลา แลติเมอเรีย ครั้งแรกที่นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของแอฟริกาใต้เลยแม่น้ำชาลัมนาออกมาในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาซีลาแคนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปอดออสเตรเลีย

ปลาปอดออสเตรเลีย หรือ ปลาปอดควีนส์แลนด์ (Australian lungfish, Queensland lungfish) เป็นปลากระดูกแข็งในชั้นปลาปอด (Dipnoi) ที่อยู่ในวงศ์ Ceratodontidae และในอันดับ Ceratodontiformes เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงสืบสายพันธุ์มาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งปลาปอดที่อยู่ในวงศ์นี้และอันดับนี้ มีความแตกต่างไปจากปลาปอดชนิดที่พบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ที่อยู่ในอันดับ Lepidosireniformes พอสมควร เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาปอดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ราว 100 ล้านปีก่อน มากกว่า ซึ่งในอดีตมีปลาปอดที่อยู่ในวงศ์นี้มากถึง 7 ชนิด แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งปลาปอดออสเตรเลียมีความแตกต่างจากปลาปอดในอันดับ Lepidosireniformes กล่าวคือ มีครีบอกและครีบบริเวณท้อง มีรูปทรงคล้ายใบพาย มีถุงลมที่ใช้ช่วยในว่ายน้ำและพยุงตัว 1 ถุง ซึ่งถุงลมนี้มีความสามารถที่จะแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนได้ แต่ไม่มีความสามารถที่จะสร้างเมือกมาปกคลุมลำตัวเพื่อช่วยในการจำศีลในฤดูแล้งได้ และอวัยวะที่ช่วยในการหายใจที่ทำหน้าที่คล้ายกับปอดของสัตว์บกก็มีเพียงชิ้นเดียว อีกทั้งยังมีรูปร่างที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ มีดวงตาที่กลมโตเห็นได้ชัดเจน เกล็ดมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน เป็นแบบ Cosmoid คือ เกล็ดลื่น ลักษณะเรียบ และมีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ปรากฏแล้วในปลาชนิดอื่นในปัจจุบัน ปลาปอดออสเตรเลีย ไม่สามารถที่อาศัยอยู่ใต้น้ำได้เป็นระยะเวลานานเท่าปลาปอดจำพวกอื่น โดยจะขึ้นมาฮุบอากาศหายใจเป็นระยะ ๆ ในช่วงฤดูแล้งที่แหล่งน้ำที่อาศัยแห้งขอด ปลาปอดออสเตรเลียจะอยู่นิ่ง ๆ ขึ้นมาฮุบอากาศหายใจเพียงครั้งละ 1-2 ครั้งต่อชั่วโมงเท่านั้น พบกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นพื้นที่ ๆ มีคุณภาพน้ำในเกณฑ์ดี มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง สภาพกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ พบในรัฐควีนส์แลนด์และนิวเซาท์เวลส์ในประเทศออสเตรเลียเพียงที่เดียวในโลกเท่านั้น กินอาหารจำพวกกบ, ลูกอ๊อด, ปลา, กุ้ง, ไส้เดือน, หอย, พืชน้ำ รวมถึงผลไม้ที่ตกลงมาจากต้นด้วย อีกทั้งยังสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อค้นหาอาหารที่ซุกซ่อนอยู่ตามซอกหินได้อีกด้วย ขนาดลำตัวเมื่อโตเต็มที่ยาวได้มากกว่า 1.2 เมตร น้ำหนักกว่า 20 กิโลกรัม และเชื่อว่ามีอายุได้มากกว่า 70 ปี สถานะปัจจุบันของปลาปอดออสเตรเลีย นับว่าใกล้สูญพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติมากแล้ว ได้รับการอนุรักษ์ตามกฎหมายของออสเตรเลีย อีกทั้งยังบมีชื่อติดอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ที่จะมีการค้าขายหรือครอบครองต้องได้รับการอนุญาตจากทางการเสียก่อน โดยได้รับการขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1975 แต่ปัจจุบัน ได้มีการเพาะขยายพันธุ์ปลาปอดออสเตรเลียในบ่อเพาะเลี้ยงได้แล้ว ทำให้ปลาปอดออสเตรเลียกลายเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่งของผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลาตู้ แต่ทว่ามีราคาซื้อขายที่แพงมาก อีกทั้งลูกปลาเมื่อเกิดขึ้นมาใหม่ได้ระยะหนึ่ง จะทำการฝังชิพเพื่อระบุถึงตัวปลาด้วย และเมื่อมีการซื้อขายกันก็ต้องมีหนังสืออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปลาปอดออสเตรเลียมีนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าวเหมือนเช่นปลาปอดที่พบในทวีปแอฟริกา ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ โดยลูกปลาปอดออสเตรเลียที่เกิดใหม่จะไม่มีพู่เหงือกพิเศษเหมือนปลาปอดจำพวกอื่น และมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมากในขวบปีแรก จากนั้นจะค่อย ๆ โตช้าลง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาปอดออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไบเคอร์

ปลาไบเคอร์ หรือ ปลาบิเชียร์ (Bichir) ซึ่งเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในประเทศไทย เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับ Polypteriformes จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีโครงร่างแตกต่างไปจากปลากระดูกแข็งและปลากระดูกอ่อนทั่วไป โดยเป็นปลาที่มีพัฒนาการมาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ในส่วนของกระดูกแข็งนั้นพบว่ามีกระดูกอ่อนเป็นจำนวนมาก มีช่องน้ำออก 1 คู่ และภายในลำไส้มีลักษณะขดเป็นเกลียว ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในกลุ่มฉลามและกระเบน ทั้งยังมีเหงือกแบบพิเศษอยู่หลังตาแต่ละข้าง เกล็ดเป็นแบบกานอยด์ ซึ่งเป็นเกล็ดที่พบในปลามีกระดูกสันหลังในยุคแรก มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าวและมีส่วนยื่นรับกับข้อต่อ ระหว่างเกล็ดแต่ละชิ้น ซึ่งปัจจุบันจะพบปลาที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ ปลาในอันดับปลาเข็ม, ปลาฉลามปากเป็ดและปลาสเตอร์เจียน เป็นต้น หัวมีขนาดเล็กแต่กว้าง ช่วงลำตัวรวมกับส่วนอก ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวคล้ายกับงูมากกว่าจะเหมือนปลาทั่วไป ส่วนอกนั้น มีครีบที่ค่อนข้างแข็งแรง มีลักษณะเป็นฐานพูเนื้อคลุมด้วยเกล็ด คอยช่วยยึดเส้นครีบทั้งหลายที่แผ่ออกมาเป็นแฉก ๆ เหมือนจานพังผืด ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวในพื้นน้ำเหมือนกับการเดินคล้ายกับปลาซีลาแคนท์ ในส่วนท้องจะมีถุงลม 2 ถุง ช่วยในการหายใจทำหน้าที่คล้ายกับปอด ถุงลมด้านซ้ายมีการพัฒนาน้อยกว่าด้านขวา เช่นเดียวกับปลาปอด ตั้งอยู่บริเวณช่องท้องโดยยึดติดกับหลอดอาหาร โดยที่ทำงานร่วมกับเหงือก ทำให้สามารถอยู่โดยปราศจากน้ำได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงมีท่อจมูก สำหรับดมกลิ่น 2 ท่อ เนื่องจากเป็นปลาที่สายตาไม่ดี ต้องใช้การดมกลิ่นในการหาอาหาร ส่วนหลังจะมีชุดครีบ ประกอบไปด้วย 5-18 ครีบ ซึ่งรวมกันเป็นครีบหลัง แต่ละครีบนั้นจะมีแกนครีบเดี่ยว 1 แกน รองรับด้วยพังผืดเล็ก ๆ ในแต่ละครีบ ครีบหางมีลักษณะกลมใหญ่ปลายแหลม นับได้ว่าปลาไบเคอร์เป็นรอยต่อที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการจากปลาขึ้นมาจากน้ำมาใช้ชีวิตอยู่บกอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูร้อน ที่แหล่งน้ำที่อยู่อาศัยเหือดแห้ง ปลาไบเคอร์สามารถที่จะขุดรูเข้าไปจำศีลในใต้พื้นดินเพื่อรอให้ถึงฤดูฝน เช่นเดียวกับปลาปอ.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาไบเคอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเมือก

ปลาเมือก ปลาเมือก (Leptocephalus) หมายถึงตัวอ่อนที่มีลักษณะโปร่งแสงของปลาจำพวกปลาไหลในช่วงอายุสามเดือนแรก ครอบคลุมกว่า 801 สายพันธุ์ใน 24 วงศ์Inuoe, Jun, M. Miya, et al.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปลาเมือก · ดูเพิ่มเติม »

ปะการัง

ปะการัง หรือ กะรัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ หัวของปะการังหนึ่ง ๆ โดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพัน ๆ โพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อม ๆ กันตลอดหนึ่งคืนหรือหลาย ๆ คืนในช่วงเดือนเพ็ญ แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้น ๆ โดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่หมู่เกาะอะลูเชียนของอะแลสก.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์ม (พืช)

ปาล์ม (Palm) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในวงศ์ Arecacae (ชื่อเดิมคือ Palmae) นับเป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่สุด (รองจากหญ้า) ทั้งในแง่จำนวนของชนิด และปริมาณที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จำแนกได้กว่า 210 สกุล ราว 3,800 ชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่แยกกิ่งก้านสาขา พืชจำพวกปาล์มนี้มีร่องรอยในซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ถึงประมาณ 80 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันนี้เราพบปาล์มได้ในหลากหลายพื้นทั่วโลก อันเนื่องจากปาล์มสามารถเติบโตในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนก็ตาม แต่ปาล์มสามารถเติบโตได้ตั้งแต่ละติจูด 30 องศาเหนือ ลงมาจนถึงละติจูด 30 องศาใต้ ปาล์มที่พบในเขตเหนือสุด คือ ปาล์มพัดยุโรป (Chamaerops humilis) ซึ่งเติบโตในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาตอนเหนือ ส่วนปาล์มที่พบตอนใต้สุด คือปาล์มนิเกา (Rhopalostylis sapida) ที่พบในนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแชแธม ปาล์มก็ยังเติบโตบนพื้นที่สูงถึง 3,000 เมตร (บนเทือกเขาแอนดีส) ส่วนที่แห้งแล้งอย่างทะเลทราย (อินทผลัม) และที่ชื้นแฉะ ก็ยังเป็นที่อาศัยส่วนใหญ่ของปาล์มหลากหลายชนิด (เช่น จาก ชิด สาคู).

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและปาล์ม (พืช) · ดูเพิ่มเติม »

นกกาน้ำ

นกกาน้ำ (Cormorant, Shag) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Phalacrocoracidae ซึ่งมีเพียงสกุลเดียว คือ Phalacrocorax.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและนกกาน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แบรีออนิกซ์

รีออนิกซ์ (Baryonyx) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์สไปโนซอร์ มีถิ่นกำเนิดที่อังกฤษ แบรีออนิกซ์มีฟันรูปกรวย มันมีเล็บหัวแม่มือที่ใหญ่กว่าเล็บอื่น ยังมีการพบเกล็ดปลาดึกดำบรรพ์ เลปิโดเทส ที่กระเพาะอาหารของมันอีกด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่า มันคงจะกินปลาเป็นอาหาร โดยใช้เล็บจิกปลาขึ้นมากิน อย่างไรก็ตาม มันก็กินไดโนเสาร์อื่น ๆ และกระทั่งลูกของมันเอง มันมีความยาวประมาณ10.5เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ120ล้านปีก่อน หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส หมวดหมู่:สไปโนซอริเด.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแบรีออนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แบรคิโอพอด

''Spiriferina rostrata'' แบรคิโอพอด เป็นคำจากภาษาลาติน brachium หมายถึงแขน + ภาษาลาตินใหม่ -poda หมายถึงตีน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่บนท้องน้ำรู้จักกันอีกชื่อหนึงว่า หอยตะเกียง เป็นสัตว์ทะเลมีสองฝาด้วยลักษณะภายนอกมีความละม้ายกับหอยกาบคู่ซึ่งที่แท้จริงแล้วไม่ได้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างใดเลย นักบรรพชีวินวิทยาได้ประมาณว่าหลักฐานของแบรคิโอพอดที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วถึงร้อยละ 99 แม้ว่าหอยกาบคู่และแบรคิโอพอดจะมีลักษณะภายนอกละม้ายคล้ายคลึงกัน แต่ที่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยปรกติแล้วหอยกาบคู่จะมีระนาบสมมาตรอยู่ระหว่างเปลือกฝาทั้งสอง ขณะที่แบรคิโอพอดจะมีระนาบสมมาตรแบบสมมาตรด้านข้าง คือระนาบสมมาตรจะตั้งฉากกับแนวหับเผย (hinge) เปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดแตกต่างกันทั้งขนาดและรูปร่าง หอยกาบคู่ใช้กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ในการทำให้เปลือกฝาทั้งสองมาปะกบกันและจะเปิดอ้าออกโดยใช้ลิกาเมนต์ด้านนอกหรือด้านในทันทีที่กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์คลายตัว ขณะที่แบรคิโอพอดใช้กล้ามเนื้อดิดักเตอร์ด้านในดึงให้ฝาทั้งสองเปิดออก และจะปิดปะกบเข้าหากันด้วยกล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ ความแตกต่างที่ชัดเจนอีกลักษณะหนึ่งคือ แบรคิโอพอดทั้งหลายจะอาศัยอยู่ด้วยการยึดเกาะกับพื้นท้องทะเลโดยอาศัยอวัยวะที่มีลักษณะเป็นก้านเนื้อเยื่อยื่นออกไป ในทางตรงกันข้ามหอยกาบคู่ทั้งหลายจะเคลื่อนที่ไปอย่างอิสระด้วยอวัยวะเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เป็นเท้า ทั้งนี้ยกเว้นหอยพวกหอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยรูดิสต์ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วที่ยึดเกาะกับพื้นท้องทะเล นอกจากนี้ เปลือกฝาของแบรคิโอพอดถ้าไม่ประกอบด้วยสารแคลเซี่ยมฟอสเฟตก็เป็นสารแคลเซียมคาร์บอเนต ขณะที่เปลือกฝาของหอยกาบคู่ทั่วไปจะประกอบด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต และท้ายสุดที่แบรคิโอพอดไม่เหมือนกับหอยกาบคู่ก็คือ แบรคิโอพอดบางกลุ่มมีเปลือกฝาเป็นปีกคล้ายครีบยื่นออกไปและรวมถึงมีหนามบนพื้นเปลือกฝ.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแบรคิโอพอด · ดูเพิ่มเติม »

แก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์

แก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์ (Dinosaur train) เป็นการ์ตูนสำหรับเด็กจากประเทศสหรัฐอเมริกา จัดทำโดย เคร็ก บาร์ทเล็ตต์ คนเดียวกันที่ผลิตเรื่อง เฮ้ อาร์โนล! ในเรื่องนี้ได้มีการเล่าเรื่องถึงที-เร็กซ์ที่ชื่อว่า บัดดี้ ที่เลี้ยงโดยครอบครัวเทอราโนดอน แล้วผจญภัยทุกยุคที่เขาอยากจะไป และเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เรื่องนี้จัดจำหน่ายโดย The Jim Henson Company ร่วมกับ Media Development Authority, Sparky Animation, FableVision และ Snee-Oosh, Inc.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

แรมโฟริงคัส

แรมโฟริงคัส (Rhamphorhynchus) เป็นเทอโรซอร์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก มีฟันแหลมคมไว้ใช้สำหรับจับปลา และมีหางยาว ซึ่งปลายหางมีหางเสือรูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งใช้ในการรักษาสมดุล อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนต้น-ยุคจูแรสซิกตอนปลาย ค้นพบฟอสซิลที่เยอรมนี ในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแรมโฟริงคัส · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง

นับตั้งแต่ที่มีการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทย ที่ห้วยประตูตีหมา เชิงภูประตูตีหมา อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งแร่หาดส้มแป้น

แหล่งแร่ดินขาวและดีบุก แหล่งแร่หาดส้มแป้น (Hadsompaen Mineral deposit) เป็นแหล่งแร่ที่มีความสำคัญ มีการทำเหมืองแร่กันมานานนมแล้ว ซึ่งชื่อหาดส้มแป้นเพี้ยนมาจาก คำว่า "ห้วยซัมเปียน" ซึ่งมีความหมายว่า ลึกเข้าไปในหุบเขา ชาวบ้านจึงเรียกกันต่อ ๆ มาว่า "ห้วยซัมเปียน" และคำนี้ได้เพี้ยนมาเป็นหาดส้มแป้นในปัจจุบัน แหล่งแร่หาดส้มแป้นมีพื้นที่โดยประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันเป็นแหล่งแร่ที่ผลิตแร่ดีบุกและแร่ดินขาวที่สำคัญของประเทศ ตั้งอยู่บริเวณตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแหล่งแร่หาดส้มแป้น · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมนอยด์

แอมโมนอยด์ เป็นกลุ่มของสัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ในทางชีววิทยาได้จัดให้อยู่ในชั้นย่อย แอมโมนอยดี ของชั้นเซฟาโลพอด ในไฟลั่มหอยหรือมอลลัสกา แอมโมไนต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีสามารถใช้กำหนดอายุของชั้นหินในทางธรณีวิทยาได้ ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของแอมโมไนต์อาจจะไม่ใช่หอยวงช้าง (''Nautilus'' spp.) แม้จากลักษณะภายนอกแล้วจะมีความใกล้เคียงกันมาก แต่แท้จริงแล้วอาจมีความใกล้ชิดกับพวกในชั้นย่อยโคโลอิดี คือพวกหมึกและออคโตปุส ปรกติแล้วเปลือกกระดองจะขดม้วนในแนวระนาบ แม้ว่าจะพบบ้างว่ามีการขดม้วนเป็นรูปเกลียวและแบบไม่มีการขดม้วนเลยก็มี (เฮตเทอโรมอร์พ) ชื่อ “แอมโมไนต์” มาจากลักษณะของเปลือกกระดองที่มีการขดม้วนเป็นรูปเกลียวดังที่พบเปลือกกระดองเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ขดม้วนกันแน่นแบบเขาแกะ Pliny the Elder (d. 79 A.D. near Pompeii) เรียกซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ชนิดนี้ว่า “ammonis cornua” (เขาของแอมมอน) เพราะว่า แอมมอน แอมุน เทพเจ้าของชาวอียิปต์จะสวมเขาแกะ ชื่อสกุลของแอมโมไนต์จะพบว่าลงท้ายด้วยว่า -“ceras” บ่อยๆซึ่งหมายถึงเขาสัตว์นั่นเอง เช่น Pleuroceras เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแอมโมนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมไนต์

แอมโมไนต์ แบบต่างๆ แอมโมไนต์ (Ammonite) เป็นสัตว์ประเภทนอติลอยด์ชนิดหนึ่ง มนุษย์ในอดีตพบมันมานานแล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร มนุษย์ในยุคนั้นคิดว่ามันเป็นซากของงู ที่ตายและคดตัวเป็นวงกลม แอมโมไนต์พบได้หลายที่บนโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย มันมีอยู่หลากหลายชนิด และพบได้ทั่วไปในทะเลดึกดำบรรพ์ จนกระทั่งมันสูญพันธุ์ไปพร้อมกับไดโนเสาร์ เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส แอมโมไนต์วิวัฒนาการไปเป็น ปลาหมึก หอย และ หอยงวงช้าง แอมโมไนต์มีขนาดตั้งแต่ 23 เซนติเมตร (9 นิ้ว) ไปจนถึง 2 เมตร แอมโมไนต์เป็นสัตว์พวกหอยโบราณ ที่เกิดในมหายุคพาลีโอโซอิกจนถึงมหายุคมีโสโซอิกอาศัยในทะเล ปัจจุบันพวกที่สืบทอดมาได้แก่ ปลาหมึกกล้วย ปลาหมึกยักษ์ และหอยงวงช้าง หมวดหมู่:ซากดึกดำบรรพ์.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแอมโมไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

แองคิโลซอรัส

แองคิโลซอรัส (Ankylosaurus) เป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสกุล แองคิโลซอร์ (ankylosaurid) อาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียส ในทวีปอเมริกาเหนือ โครงกระดูกของ แองคิโลซอรัส ยังไม่สมบูรณ์ แองคิโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะในแบบสกุล แองคิโลซอร์ที่มีน้ำหนักตัวหนักมีเกราะแข็งหุ้มทั่วทั้งตัว และมีลูกตุ้มขนาดใหญ่(ลักษณะคล้ายกับรังผึ้ง)สำหรับไว้ป้องกันตัวจากนักล่าในยุคนั้นอย่าง ไทรันโนซอรัส และ ทาร์โบซอรัส ที่บริเวณหาง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแองคิโลซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งสินปุน

แสดงแผนที่ของแอ่งสินปุนในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแอ่งสินปุน เป็นแอ่งในยุคปลายยุคครีเตเชียส(Cretaceous)ต่อยุคเทอร์เชียรี(Tertiary period) (100-15 ล้านปี) โดยอยู่ในอาณาเขต ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ โดยภายในแอ่งมีถ่านหินคุณภาพ ลิกไนส์ โดยมีปริมาณสำรองประมาณ 50 ล้านเมกตริกตัน แต่ในบางที่รายงานว่ามีมากถึง 91 ล้านเมกตริกตัน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและแอ่งสินปุน · ดูเพิ่มเติม »

โมซาซอร์

มซาซอร์ (Mosasaur) ความหมายชื่อคือ "ราชากิ้งก่าแม่น้ำมิวส์"เป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลคล้ายงูในวงศ์ Mosasauridae ที่เคยมีชีวิตอยู่ปลายยุคครีเทเชียส เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มกิ้งก่าและงู (Squamata) ที่รู้จักกันว่า aigialosaurs ช่วงต้นยุค และหลังจากที่มีการวิเคราะห์วิวัฒนาการของมัน โดยดูโครงสร้างขากรรไกรและกะโหลกศีรษะที่ยืดหยุ่นได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากิ้งก่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับงู โมซาซอร์เป็นญาติห่างจากไลโอพลัวเรอดอนแต่โมซาซอร์ยาวกว่ามากและโมซาซอร์อาศัยกระจายไปหลายส่วนของโลก เพราะในยุคนี้มีระดับน้ำทะเลสูง เรียกว่าน้ำทะเลไปถึงไหนเจ้าสัตว์กลุ่มนี้ก็ไปถึงนั่น ดังจะเห็นได้จากมีการค้นพบฟอสซิลในหลายพื้นที่ ทั้งในอเมริกาเหนือ ได้แก่ แคนาดาและสหรัฐ ที่พบในหลายรัฐซึ่งเคยเป็นเส้นทางทะเล นอกจากนี้ยังพบในเนเธอร์แลนด์ สวีเดน แอฟริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาะเวกานอกชายฝั่งขั้วโลกใต้ โดยพบฟอสซิลครั้งแรกในเขตเหมืองหินปูนในเมืองมาสตริกช์ของเนเธอร์แลนด์ ปี 1764 และจากฟอสซิลที่ค้นพบทำให้แบ่งสัตว์กลุ่มนี้ได้ 4 วงศ์ย่อยคือ Halisaurinae,Mosasaurinae, Plioplatecarpinae และTylosaurinae สกุลที่ใหญ่ที่คือไทโลซอรัส ฮอฟมานี โมซาซอร์เป็นกิ้งก่าทะเลที่ว่ายน้ำเก่งและสามารถปรับตัวได้ดีเพื่ออยู่ในเขต ทะเลน้ำตื้นและอบอุ่น และแม้แต่ออกลูกในน้ำ ซึ่งออกลูกเป็นตัว ไม่ต้องขึ้นฝั่งเพื่อไปวางไข่เหมือนเต่าทะเลทั่วไป ส่วนอาหารกินได้ทุกอย่าง รวมถึงพวกทากทะเล หอยและสัตว์ทะเลอื่น ๆ เพราะมีฟันแข็งแรง ตัวเล็กสุดมีขนาดยาวประมาณ 5-9 เมตร ในวงศ์ย่อย ฮาลิซอร์ ส่วนตัวใหญ่สุดยาวระหว่าง 16.8-20 เมตรคือ "ไทโลซอร์รัส" แต่นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายคนและข้อมูลบีบีซีเชื่อว่ามันไม่ได้ยาวแค่นั้นและเป็นไปได้ที่อาจยาวถึง30เมตรหรือหนักราว58-74ตันและอาจเคยกินวาฬหัวทุยแล้วก็ได้ด้วยกรามที่แข็งแรงมันจึงสามารถกัดเหล็กชั้นหนาจนขาดได้และบางทีมันอาจว่ายน้ำได้ถึง 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ได้ซึ่งเหยื่อที่โมซาซอร์ก็คือฉลามขาว หมึกยักษ์หรือแม้แต่โมซาซอร์ด้วยกันเองโดยมีชีวิตอยู่ช่วง 65-89 ล้านปีก่อนและบางทีอาจจะกินวาฬได้ด้วย หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในยุคไดโนเสาร์ หมวดหมู่:โมซาซอร์ หมวดหมู่:กิ้งก่าในยุคครีเทเชียส หมวดหมู่:กิ้งก่า.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและโมซาซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โมโนทรีม

มโนทรีม หรือ โมโนทรีมาทา (Monotremata) เป็นอันดับในการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์อันดับหนึ่ง อยู่ในชั้น Mammalia หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และอยู่ในชั้นย่อยโมโนทรีม (บางครั้งเรียกชั้นย่อยนี้ว่า Prototheria) สัตว์ในอันดับโมโนทรีมภาษาอังกฤษเรียกว่าโมโนทรีม (monotreme) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก mono (หนึ่ง) + trema (รู) เนื่องจากสัตว์ในอันดับนี้มีช่องขับถ่ายและช่องสืบพันธุ์เป็นช่องเดียวกัน โมโนทรีมเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงอันดับเดียวที่ออกลูกเป็นไข่ แทนที่จะออกลูกเป็นตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและโมโนทรีม · ดูเพิ่มเติม »

โอพอสซัม

อพอสซัม (opossum) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า พอสซัม (possum) มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์คือ อันดับโอพอสซัม (Didelphimorphia; อ่านว่า ไดเดลฟิมอร์เฟีย) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายหนู แต่มีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ ในซีกโลกตะวันตก อันดับนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องทั้งหลาย ซึ่งประกอบด้วย 109 สปีชีส์หรือมากกว่าใน 19 สกุล โอพอสซัมเป็นหนึ่งในสัตว์ทดลองทางการแพทย์ที่มักใช้ศึกษาหาสาเหตุการเกิดโรคในคน เช่น โรคมะเร็ง ความผิดปกติของระบบประสาท ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสดีเอ็นเอของโอพอสซัมได้ทั้งหมด ถือเป็นครั้งแรกของการถอดรหัสพันธุกรรมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดที่มีกระเป๋าหน้าท้องเช่นเดียวกับจิงโจ้และโคอาล่าได้.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและโอพอสซัม · ดูเพิ่มเติม »

โอวิแรปเตอร์

โอวิแรปเตอร์(Oviraptor)มีหงอนเป็นเอกลักษณ์ ยาว 2 เมตร ส่วนสูงประมาณหัวเข่าของผู้ใหญ่ที่โตเต็มไวแล้ว พบที่มองโกเลีย มีการค้นพบฟอสซิลของมันอยู่กับลูกในรังของมัน ในท่ากกไข่ หลายชุด เป็นหลักฐานที่ระบุว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่เลี้ยงลูกของมันอย่างดี ฟอสซิลในท่ากกไข่ของโอวิแรปเตอร์ ตัวนั้นอาจตายตอนมีพายุทรายพัดมา พบในชั้นหินของยุคครีเทเซียส ช่วงเวลา 90-85 ล้านปี หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและโอวิแรปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โดราเอมอน

ราเอมอน หรือ โดเรมอน (ドラえもん) (Doraemon) เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวชื่อโดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือ โนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วย ของวิเศษ จากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อ เดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดย สำนักพิมพ์โชงะกุกัง โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น อีกทั้งยังได้รับเลือกจาก นิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของ ทวีปเอเชีย จาก ประเทศญี่ปุ่น จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของ ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้บริษัท บันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิต หุ่นยนต์ โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My Doraemon" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552 ใน ประเทศไทย โดราเอมอนฉบับ หนังสือการ์ตูน มีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศครั้งแรก วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2525 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัท โรส วิดีโอ .

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและโดราเอมอน · ดูเพิ่มเติม »

โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ

ราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ เป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว ผลงานของ ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ มีความยาวทั้งสิ้น 92 นาที ภาพยนตร์ชุดนี้ถือเป็นตอนแรกของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1980 และเข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) โดยใช้ชื่อตอนว่า "โดเรม่อนผจญไดโนเสา" (สะกดตามต้นฉบับ) โดยผู้นำเข้ามาฉาย คือ สมโพธิ แสงเดือนฉาย โดยเข้าฉายใน 2 โรงภาพยนตร์ คือ เมโทร และ สามย่าน นับเป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์เรื่องยาวที่เข้ามาฉายในประเทศไทยเป็นเรื่องแรก ได้รับความนิยมมากเมื่อเข้าฉาย ด้วยการทำรายได้มากถึง 2 ล้านบาท และในส่วนฉบับหนังสือการ์ตูน ได้ลิขสิทธิ์จัดพิมพ์โดยเนชั่นเอ็ดดูเทนเมนท.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและโดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ · ดูเพิ่มเติม »

โคเพตดาก

ตดาก (Kopet Dag, Kopet Dagh, Koppeh Dagh; کپه‌داغ, Koppeh Dagh; Köpetdag) หรือ เทือกเขาเติร์กเมน-โคราซาน (Turkmen-Khorasan Mountain Range) เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนอิหร่าน–เติร์กเมนิสถาน มีความยาวประมาณ 650 กิโลเมตร (400 ไมล์) วางตัวอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลแคสเปียนเรื่อยไปจนถึงแม่น้ำฮารีในอัฟกานิสถาน ยอดเขาที่สูงที่สุดฝั่งเติร์กเมนิสถานอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงอาชกาบัต มีความสูง 2,940 เมตร (9,646 ฟุต) ส่วนฝั่งอิหร่านคือภูเขาคูชาน (Mount Quchan) มีความสูง 3,191 เมตร (10,469 ฟุต) คำว่า "kopet" หรือ "koppeh" ในภาษาเปอร์เซีย แปลว่า "กอง" ส่วนคำว่า "dag" หรือ "dagh" ในภาษาตุรกี แปลว่า "ภูเขา" "Kopet Dagh" หรือ "Koppeh Dagh" จึงมีความหมายว่า "ภูเขาที่เป็นกอง" ในทางธรณีวิทยา โคเพตดากก่อตัวขึ้นในสมัยไพลโอซีนกับสมัยไมโอซีน เกิดจากการชนกันของแผ่นอาระเบียกับแผ่นอิหร่าน ก่อนจะชนกับแผ่นยูเรเชียอีกที หินของเทือกเขาส่วนใหญ่เป็นหินตะกอนยุคครีเทเชียสตอนต้น มีส่วนน้อยมาจากยุคจูแรสซิก เทือกเขาแห่งนี้ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งที่มีขนาด 7.0 พื้นที่ป่าของเทือกเขาโคเพตดากมีพืชพรรณหลายชนิดที่สำคัญกับมนุษย์ เช่น ทับทิม องุ่น มะเดื่อ แอปเปิล ลูกแพร์ เชอร์รี ลูกพรุน และอัลมอนด์ มีการขุดค้นเมืองนิซา (Nisa) ซึ่งเป็นเมืองโบราณของชาวพาร์เธียใกล้กับกรุงอาชกาบัต ในปัจจุบันมีการเปิดรีสอร์ตสกีที่ฝั่งประเทศเติร์กเมนิสถาน โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยซาปาร์มูรัต นียาซอฟ (Saparmurat Niyazov) อดีตประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและโคเพตดาก · ดูเพิ่มเติม »

ไมอาซอรา

มอาซอรา (Maiasaura) เป็นไดโนเสาร์ปากเป็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อเสียงในการเลี้ยงลูก จัดอยู่ในพวกออร์นิทิสเชียน ในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไมอาซอรา · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดราลโมซอรัส

ราลโมซอรัส (Hydralmosaurus; ความหมาย"salt water lizard กิ้งก่าน้ำเกลือ") เป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเล ที่มีคอยาวกลุ่ม เพลซิโอซอร์ ในยุคครีเทเชียส ชื่อเดิมของมันคือ อีลาสโมซอรัสสัตว์เลื้อยคลานทะเลที่มีคอยาว อีกชนิดหนึ่งในยุคครีเทเชียส มีชีวิตอยู่เมื่อ 84-80.5 ล้านปีที่แล้ว.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไฮดราลโมซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโนซอรัส

นซอรัส (Hainosaurus) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานทะเลในวงศ์ โมซาซอร์ เคยได้รับการขนานว่าเป็น โมซาซอร์ ที่ใหญ่ที่สุด โดยได้รับฉายาว่า “ที.เร็กซ์แห่งมหาสมุทร” ตอนแรกประมาณการความยาวไว้ที่ 17เมตร(54 ฟุต) ต่อมาในปี 1990 มีการปรับขนาดลดลงมาที่15 เมตร(49 ฟุต) แต่ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ จอห์น ลินเกรน ได้ลดขนาดลงมาที่ 12.2เมตร (40 ฟุต) (ปัจจุบัน โมซาซอร์ที่ใหญ่ที่สุดคือไทโลซอรัส ฮอฟมานี โดยมีความยาว 19 เมตร) มันเป็นหนึ่งในนักล่าในทะเลที่อยู่บนสุดใน ยุคครีเทเซียส มันมีคู่แข่งร่วมยุคอย่าง อีลาสโมซอรัส โดยมีการพบหลักฐานฟอสซิลรอยกัดของ ไฮโนซอรัส ที่บริเวณหาง และครีบ ของ อีลาสโมซอรัส ไฮโนซอรัส เป็นกิ้งก่าทะเลในวงศ์ย่อย ไทโลซอร์ (อังกฤษ:Tylosaurinae) ซึ่งเป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลตัวใหญ่ที่อยู่ในทุกทวีปของโลกยกเว้นในออสเตรเลียและอเมริกาใต้ แม้ว่าไฮโนซอรัสจะเป็นนักล่าในลำดับต้นๆเหมือนกัน แต่ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก โดยชอบว่ายน้ำช้าๆ อาศัยครีบช่วยผลักดัน และมีโครงสร้างร่างกายที่ช่วยให้ลอยตัวได้ดีในน้ำ มีการลดน้ำหนักตัวโดยมีขาหน้าและหลังที่มีขนาดเล็ก กระดูกเชิงกรานและกล้ามเนื้ออกเล็ก มีเนื้อกระดูกบางและอาจเต็มไปด้วยเซลล์ไขมันระหว่างที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งช่วยในการลอยตัวเหมือนทุ่นลอยในน้ำ ในเรื่องการกินก็ไม่ได้มีปัญหาโดยอาศัยขากรรไกรที่แข็งแรงพร้อมฟัน แหลมคม กินแม้กระทั่งโมซาซอร์ด้วยกันเอง เต่า ฉลาม และปลาอื่นๆ และอาจรู้จักใช้วิธีแอบซุ่มในหินหรือสาหร่ายในยามล่าเหยื่อ ซึ่งอะไรก็ตามที่หากเข้าไปในปากของมันแล้วก็ยากที่จะรอด แต่มีบ้างเหมือนกันที่เจ้าโมซาซอร์เพลี่ยงพล้ำถูกฉลามกัด หรือลูกๆของมันต้องกลายเป็นเหยื่อของฉลามไปบ้างก็มี ตัวทารกของมันมีขนาดเท่ากับ จระเข้ ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไฮโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไจกาโนโทซอรัส

ขนาดของไจแกนโนโทซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีส้ม) ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ คือภาพที่ไจกาโนโทซอรัสเห็นไม่ทับซ้อนกัน ทำให้มองลำบากเพราะกะระยะไม่ถูกนัก จากการสำรวจพบว่าไจกาโนโทซอรัสเป็นสัตว์เลือดอุ่น หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส ไดโนเสาร์ โครงบรรพชีวินวิทยา.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไจกาโนโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไททันโนซอรัส

ททันโนซอรัส (Titanosaurus) จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืชในกลุ่มซอโรพอด ลำตัวยาว 9-12 เมตร นำหนัก 13 ตัน เกิดในยุคครีเทเชียสตอนปลาย พบทางตอนใต้ของทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาใต้ ไททันโนซอรัส มีลำตัวขนาดใหญ่ คอยาวหนา หางยาว เดิน 4 ขา เชื่องช้า มักอาศัยอยู่รวม - กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร สมองขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไททันโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไทแรนโนซอรัส

กะโหลกของ ไทแรนโนซอรัส นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดา ไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมด ซึ่งความใหญ่ของกะโหลกวัดกันที่ความกว้าง หลังมีการค้นพบญาติร่วมวงศ์ตระกูลของทีเร็กซ์ ว่ามีขนปกคลุม ทำให้นักวิทยาศาตร์ ได้สันนิฐานว่า ทีเร็กซ์และญาติของมัน น่าจะมีขนปกคลุมตามตัว ไทแรนโนซอรัส หรือ ไทรันโนซอรัส (แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไทแรนโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์ในประเทศไทย

นื่องจากไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์จึงอยู่ในชั้นของหินตะกอนที่สะสมตัวกันในช่วงนี้ ซึ่งในประเทศไทย หินที่มีอายุดังกล่าวพบอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบสูงโคราช และพบอยู่เป็นแห่งๆ ในภาคเหนือและภาคใต้ หินบริเวณที่ราบสูงโคราชนั้น เรียกว่า กลุ่มหินโคราช ซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดหินย่อยๆ ได้อีก 6 หมวด คือ.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไดโนเสาร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ไซคาเนีย

ซคาเนีย (Saichania) เป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่าสวยงาม อาศัยอยู่ใน ยุคครีเทเชียสตอนปลายประมาณ 70 ล้านปีมาแล้ว มันเป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะชนิดหนึ่ง ตรงที่หางคล้ายมีกระบองติดอยู่ กระบองใช้เป็นอาวุธฟาดศัตรู สาเหตุที่มันได้ชื่อว่างดงามเป็นเพราะฟอสซิลของมันอยูในสภาพสมบูรณ์มาก ยาวประมาณ 7 เมตร กินพืชเป็นอาหาร ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไซคาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ไซโฟซูรา

แมงดาทะเลโบราณในสกุล ''Mesolimulus'' ไซโฟซูรา เป็นอันดับของสัตว์ทะเลขาปล้องในชั้นเมอโรสโทมาทา (Merostomata) ที่นอกเหนือไปจากแมงป่องทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiphosura ลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีรูปร่างคล้ายจานหรือถ้วยคว่ำ หรือครึ่งวงกลมแบบเกือกม้า ด้านบนมีตาข้าง 1 คู่เป็นตาประกอบ มีแอมมาทิเดียหลายร้อยหน่วยที่ไม่สามารถรับภาพได้ แต่สามารถจับการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ ได้ มีตากลาง ขนาดเล็กหลายอันทำหน้าที่รับแสง มีส่วนหางยาวเป็นแท่งใช้สำหรับจิ้มกับพื้นทรายให้พลิกตัวกลับมา เมื่อยามหงายท้องขึ้น เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน แต่สูญพันธุ์ไปเกือบหมด คงเหลือเพียง 4 ชนิดเท่านั้นในโลก คือ แมงดาทะเล จึงจัดเป็นฟอสซิลที่มีชีวิตอย่างหนึ่ง พบในทะเลและน้ำกร่อยของบริเวณภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น สำหรับชนิดที่พบในไทยจะมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ แมงดาจาน หรือ แมงดาหางเหลี่ยม (Tachypleus gigas) เป็นแมงดาขนาดใหญ่ หางเป็นสันแหลม รูปหน้าตัดของหางเป็นสามเหลี่ยม คาราแพดค่อนข้างเรียบและแทบจะไม่พบขนแข็ง ๆ บนคาราแพด สามารถกินได้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ แมงดาถ้วย หรือ แมงดาหางกลม หรือ เหรา (Carcinoscorpius rotundicauda) มีขนาดเล็กกว่าแมงดาหางเหลี่ยม หางโค้งมน รูปหน้าตัดของหางจะค่อนข้างกลม คาราแพดมีขนแข็งจำนวนมากและมีสีส้มหรือน้ำตาลเข้ม มีรายงานอยู่เสมอว่าผู้ที่กินไข่ของแมงดาชนิดนี้มักเป็นอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากว่าแมงดาชนิดนี้ในบางฤดูกาลจะกินสาหร่ายและแพลงค์ตอนที่สร้างสารพิษได้ จึงมีพิษสะสมอยู่ในตัวแมงดาทะเล พิษที่ว่าจะมีผลต่อระบบประสาทต่อผู้ที่กินเข้าไป แมงดาทะเลจะขึ้นมาวางไข่บนพื้นหาดทรายชายทะเลพร้อม ๆ กัน โดยตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 200–3,300 ฟอง โดยมีตัวผู้เกาะเกี่ยวอยู่ที่หลัง โดยใช้ปล้องสุดท้ายของเพลดิพาลติเกาะกับโพรโซมาของตัวเมียเอาไว้และคลานตามกันไป โดยอาจมีตัวผู้ตัวอื่นมาเกาะท้ายร่วมด้วยเป็นขบวนยาวก็ได้ ตัวเมียจะขุดหลุมปล่อยไข่ออกมาแล้วตัวผู้ก็จะปล่อยสเปิร์มออกมาผสมกับไข่ หลังจากนั้นก็จะกลบไข่โดยไม่มีการดูแลไข่ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่าไตรโลไบต์ ลาวา ลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยเพียงแต่มีหางสั้นมาก แมงดาทะเลในยุคปัจจุบันมีความยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร (24 นิ้ว) iแต่ในยุคเพลลีโอโซอิก จะมีขนาดเล็กกว่านี้ โดยมีความยาวเพียง 1–3 เซนติเมตร (0.39–1.2 นิ้ว) เท่านั้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและไซโฟซูรา · ดูเพิ่มเติม »

เบเลมไนต์

ลมไนต์ (หรือเบเลมนอยด์) เป็นกลุ่มของสัตว์ทะเลพวกเซฟาโลพอดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีลักษณะคล้ายกับหมึกกระดอง (cuttlefish) และหมึกกล้วย (squid) ในปัจจุบันมาก เบเลมไนต์เหมือนกับหมึกทั้งสองคือมีถุงหมึก แต่ไม่เหมือนหมึกกล้วยที่เบเลมไนต์มีแขน 10 แขนที่มีความยาวเกือบเท่ากันทั้งหมดแต่ไม่มีหนวด (tentacle) เบเลมไนต์พบมากในช่วงยุคจูแรสซิกและยุคครีเทเชียสโดยพบเป็นซากดึกดำบรรพ์พบมากทั้งมหายุคมีโซโซอิกโดยมักพบร่วมกับญาติๆใกล้ชิดของมันอย่างแอมโมไนต์ เบเลมไนต์ได้สูญพันธุ์ไปเมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเชียสไปพร้อมๆกับแอมโมไนต์ ต้นกำเนิดของเบเลมไนต์อยู่ระหว่างนอติลอยด์อันดับแบคทรีติดาในยุคดีโวเนียน ส่วนของการ์ดของเบเลมไนต์สามารถพบได้ในชั้นหินตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนต้นเรื่อยมาจนถึงยุคครีเทเชียสร่วมกับซากดึกดำบรรพ์ของเซฟาโลพอดอื่นๆได้แก่บาคูไลต์ นอติลอยด์ และโกนิเอไทต์ ซากดึกดำบรรพ์เบเลมไนต์จากฟรังโคเนียน จูรา ปกติแล้วซากดึกดำบรรพ์ของเบเลมไนต์จะพบเฉพาะส่วนหลังของเปลือกกระดองที่เรียกกันว่า “การ์ด” หรือ “รอสตรัม” การ์ดนี้มีรูปร่างคล้ายกระสุนยาว มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกโดยปลายด้านหนึ่งจะแหลมหรือโค้งมน ที่ด้านหน้าของการ์ดจะเป็นรูกลวงเรียกว่า “อัลวีโอลัส” ซึ่งเป็นส่วนของเปลือกกระดองที่เป็นห้องรูปกรวยเรียกว่า “แฟรกโมโคน” ส่วนของแฟรกโมโคนนี้ปรกติจะพบเป็นชิ้นตัวอย่างในสภาพที่ดี ส่วนปลายด้านตรงข้ามกับแฟรกโมโคนจะเป็น “โปร-ออสทราคัม” บางๆ แฟรกโมโคนของเบเลมไนต์ก็เหมือนกับเปลือกกระดองของเซฟาโลพอดทั้งหลายที่ประกอบด้วยแร่อะราโกไนต์ การ์ดของเบเลมไนต์ประกอบขึ้นด้วยแร่แคลไซต์ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ในสภาพที่สมบูรณ์ได้ การ์ดที่แตกหักได้แสดงโครงสร้างของเส้นใยแร่แคลไซต์เรียงตัวในแนวรัศมีและอาจแสดงเส้นเติบโตเป็นเส้นวงกลมซ้อนกันหลายๆวง ในเนื้อของการ์ดเป็นสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะทางธรณีเคมีไอโซโทป ซึ่งการ์ดของเบเลมไนต์จากหมวดหินปีดียุคครีเทเชียส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกานั้นได้ถูกใช้เป็นมาตรฐานโลก (*PDB*) ในการเทียบเคียงกับตัวอย่างที่จะทำการวัดค่าทางธรณีเคมีไอโซโทปทั้งของไอโซโทปของคาร์บอนและไอโซโทปของออกซิเจน การ์ด แฟรกโมโคน และโปร-ออสทราคัม เป็นสิ่งที่อยู่ภายในของตัวเบเลมไนต์ที่มีชีวิตเหมือนดังเป็นโครงกระดูกที่ถูกห่อหุ้มด้วยกล้ามเนื้อโดยรอบทั้งหมด ตัวมีชีวิตจริงๆจึงมีขนาดใหญ่กว่าเปลือกกระดองที่กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์และมีรูปร่างยาวที่ลู่ไปตามน้ำพร้อมด้วยดวงตาที่โดดเด่น การ์ดจะอยู่ต่อจากส่วนท้ายของตัวเบเลมไนต์โดยมีแฟรกโมโคนอยู่ด้านหลังของส่วนหัวที่ชี้ปลายไปทางด้านหลัง เบเลมไนต์ การ์ดของเบเลมไนต์ “เมกะทิวธิส จิแจนตี” ที่พบในยุโรปและเอเชียวัดความยาวได้ถึง 46 ซม.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเบเลมไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟิร์น

ฟิร์น หรือ เฟิน (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology).

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเฟิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เพลสิโอซอร์

ลสิโอซอร์ (Plesiosaurs;; กรีกโบราณ: πλησίος, plesios, หมายถึง "ใกล้ถึง" และ Sauria หมายถึง กิ้งก่า) เป็นกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานทะเลขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคครีเตเชียสเมื่อราว 65 ล้านปีก่อน ที่อยู่ในอันดับ Plesiosauria เพลสิโอซอร์ ปรากฏตัวตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (ประมาณ 230 ล้านปีก่อน) มีคอยาว แต่หัวเล็ก ในปากมีฟันแหลมคม สามารถว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็วคล่องแคล่ว และสามารถลอยตัวผ่านน้ำได้ ฟันมีลักษณะรูปกรวยมีความแหลมคมแข็งแรงมากพอที่จะฆ่าสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหารได้ และด้วยความยาวลำตัวที่มากถึง 15 เมตรเป็นอย่างน้อย จึงทำให้เพลสิโอซอร์ได้ชื่อว่าเป็นอสุรกายแห่งท้องทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วยความที่เป็นสัตว์นักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ทั้งนี้ เพลสิโอซอร์มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น อีลาสโมซอรัส (Elasmosaurus platyurus), เพลสิโอซอรัส (Plesiosaurus dolichodeirus) หรือฟุตาบะซอรัส (Futabasaurus suzukii) พบกระจายพันธุ์ในท้องทะเลต่าง ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกจนถึงขั้วโลกใต้ในปัจจุบัน เชื่อกันว่าเพลสิโอซอร์ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา, หมึก กินเป็นอาหาร แต่ก็มีบางทฤษฎีที่เชื่อว่าเพลสิโอซอร์ไม่สามารถยกส่วนหัวหรือคอขึ้นพ้นผิวน้ำได้ และจากการศึกษาล่าสุดของนักบรรพชีวินวิทยากลุ่มหนึ่ง โดยการใช้แบบจำลองส่วนหัวและฟันของเพลสิโอซอร์พบว่า การสบกันของฟันอาจเป็นไปได้ว่าใช้ชีวิตด้วยการกรองกินเหมือนกับวาฬบาลีนหรือวาฬไม่มีฟัน ซึ่งไม่เคยพบพฤติกรรมเช่นนี้ในสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลชนิดอื่น ๆ มาก่อน โดยอาจเป็นวิวัฒนาการเบนเข้า เนื่องจากทั้งวาฬและเพลสิโอซอร์นั้นมิได้มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันเลยแต่ประการใด แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป โดยเพลสิโอซอร์ มักถูกอธิบายว่าเป็นสัตว์ที่ยังหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นที่มาของสัตว์ประหลาดทะเลสาบตลอดจนสัตว์ประหลาดทะเลหรือมังกรทะเล ที่พบตามแหล่งน้ำต่าง ๆ จนถึงทะเลหรือมหาสมุทรทั่วโลก เช่น เนสซี หรือสัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ในสก๊อตแลนด์, มอแรก ในสก๊อตแลนด์, แชมป์ ในพรมแดนสหรัฐอเมริกาและแคนาดา, โอโกโปโก ในแคนาดา เป็นต้น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเพลสิโอซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมก้าแร็ปเตอร์

มก้าแร็ปเตอร์ (Megaraptor) ฟอสซิลของมันค้นพบครั้งแรกที่อาร์เจนตินา โดยนายโนวาส เมื่อปี..1998 มีชื่อเต็มว่า เมก้าแร็ปเตอร์ นามันฮัวอิคิวอิ (Megaraptor namunhuaiquii) ซึ่งมีความหมายว่าหัวขโมยขนาดยักษ์ อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย เมื่อประมาณ 98 ล้านปีก่อน เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ประมาณรถเมล์ มีความยาวระหว่าง 6-8 เมตร สูงจากพื้นถึงหัว 4 เมตร แต่ก็เคยพบขนาดใหญ่ที่สุดยาว 9 เมตร มีเล็บที่มือยาวถึง 15 นิ้ว ซึ่งอาจจะยาวที่สุดในไดโนเสาร์ทั้งหมด คาดว่ามีไว้ล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างอมาร์กาซอรัส หรืออาร์เจนติโนซอรัส ในช่วงแรกมันถูกจัดอยู่ในพวกแร็พเตอร์โดรเมโอซอร์ เนื่องจากค้นพบฟอสซิลเพียงชิ้นเดียวคือกรงเล็บรูปร่างโค้งคล้ายเคียวขนาดใหญ่ของมัน แต่ทว่าเรื่องจริงก็ถูกเปิดเผย จากการค้นพบฟอสซิลเพิ่มเติม นักบรรพชีวินพบว่าแท้จริงแล้วกรงเล็บนั้นไม่ได้อยู่บนนิ้วเท้าแบบของพวกโดรมีโอซอร์ แต่กลับอยู่บนมือ ทำให้เมก้าแรพเตอร์เปลี่ยนสถานะไปในทันที ปัจจุบัน เมก้าแรพเตอร์มีวงศ์ย่อยเป็นของมันเองคือ Megaraptora ซึ่งจะประกอบไปด้วยเทอโรพอดแปลกประหลาดอีกหลายตัว เช่น อีโอไทแรนนัส ออสตราโลเวเนเทอร์ ฯ ส่วนวงศ์ใหญ่ที่คลุม Megaraptora อีกทีนั้นยังไม่แน่ชัด บ้างก็ว่าเป็น Tyrannosauroid บ้างก็ว่าเป็น Allosauroid หรือ Spinosauroid ไปเลยก็มี เพราะฉะนั้นในตอนนี้รูปร่างของเมก้าแรพเตอร์ก็ยังคงเป็นปริศนาต่อไป.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเมก้าแร็ปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

ำลองเหตุการณ์อุกบาตพุ่งเข้าชนโลก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งนี้ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส-พาลิโอจีน เกิดขึ้นเมื่อราว 66 ล้านปีก่อน เป็นหนึ่งในการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก การสูญพันธุ์ครั้งนี้เกิดหลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคไทรแอสสิก-จูแรสสิก ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งกวาดล้างสิ่งมีชีวิตไปกว่า 70% หรือประมาณ 3 ใน 4 ของสายพันธุ์ทั้งหมดบนโลกรวมถึงพวกไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ และสัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล สาเหตุการสูญพันธุ์ในครั้งนี้นั้นได้มีการสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากอุกกาบาตที่พุ่งชนโลกบริเวณคาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน · ดูเพิ่มเติม »

เอบิลิซอรัส

วาดของเอบิลิซอรัส เอบิลิซอรัส (Abelisaurus) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดในกลุ่มย่อยเอบิซอร์อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ในยุคครีเตเชียส เป็นสัตว์กินเนื้อสองเท้า มีความยาวประมาณ 7-9 เมตร (25-30 ฟุต) ถูกค้นพบในปีในปี ค.ศ.1995 โดยโรเบอร์โต้ อาเบล อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์Cipolletti ในประเทศอาร์เจนตินาในแคว้นปาตาโกเนี.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเอบิลิซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดมอนโตซอรัส

อ็ดมอนโตซอรัส (Edmontosaurus) เป็นพวกไดโนเสาร์ปากเป็ดชนิดหนึ่ง ฟอสซิลของมันพบในทวีปอเมริกาเหนือ อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย เมื่อประมาณ 73 ล้านปี ถึง 65 ล้านปีก่อน มันเป็นเหยื่อของนักล่าอย่างไทรันโนซอรัสและอยู่ร่วมยุคกับไทรเซอราทอปส์ เอ็ดมอนโตซอรัส เป็นหนึ่งในพวกแฮดโดรซอร์ริเด (ไดโนเสาร์ปากเป็ด) ที่ใหญ่ที่สุด ความยาวของมันวัดได้ถึง 13 เมตร (43 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 4.0 ตันมันเป็นที่รู้จักกันจากตัวอย่างฟอสซิล ที่มีสภาพสมบูรณ์ มันมีญาติอย่างอนาโตไททัน (Anatotitan) ซึ่งอาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ฟอสซิลชิ้นแรกของมัน ถูกค้นพบในภาคใต้ ของรัฐอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ในปี 1917 เอ็ดมอนโตซอรัส มีชื่อก่อนหน้านี้ว่า annectens ซึ่งตั้งโดย โอลเนียท ชาล มาร์ชในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเอ็ดมอนโตซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เฮสเปอร์รอร์นิส

ปอร์รอร์นิส (Hesperornis) เป็นนกที่ปรับตัวลงไปอาศัยอยู่ในน้ำ พวกมันอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียส สัตว์ในสกุลเฮสเปอร์รอร์นิส ได้แก.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเฮสเปอร์รอร์นิส · ดูเพิ่มเติม »

เทอริสิโนซอรัส

ทอริสิโนซอรัส (Therizinosaurus) เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดชนิดหนึ่ง โดยสายพันธุ์นี้จะไม่กินเนื้อ แต่จะกินพืช มันกินพืชเพราะลักษณะของฟันมัน ทำให้เทอริสิโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่กินพืช เทอริสิโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อ 72-68 ล้านปีก่อน ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศจีน มองโกเลีย และตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเทอริสิโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เทอโรซอร์

ทอโรซอร์ (Pterosaur; จากภาษากรีก "πτερόσαυρος", "pterosauros", หมายถึง "กิ้งก่ามีปีก") เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่ง ที่ชีวิตและอาศัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ มีลักษณะพิเศษคือ สามารถบินได้ โดยใช้ปีกขนาดใหญ่ที่มีพังผืดเหมือนค้างคาวเป็นอวัยวะสำคัญ ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วพร้อมกับไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ จัดอยู่ในอันดับ Pterosauria โดยมักจะถูกเรียกว่า "ไดโนเสาร์บินได้" แต่ทั้งนี้เทอโรซอร์มิได้จัดว่าเป็นไดโนเสาร์แต่อย่างใด เหมือนกับ เพลสิโอซอร์, โมซาซอร์ หรืออิกทิโอซอรัส ที่พบในทะเลและมหาสมุทร นอกจากนี้แล้วเทอโรซอร์ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง คือ เทอโรแดกทิล โดยคำว่าเทอโรแดกทิลนั้นหมายถึงเทอโรซอร์ในระยะหลังที่มีขนาดใหญ่ และไม่มีฟัน และในทางเทคนิคจะหมายถึงเทอโรซอร์ในสกุล เทอโรแดกทิลัส เทอโรซอร์มีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก สืบทอดเผ่าพันธุ์และครองโลกมาอย่างยาวนานถึง 162 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปทั้งหมดในช่วงยุคครีเตเชียสตอนปลายเช่นเดียวกับไดโนเสาร์ ปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาได้จำแนกความหลากหลายของเทอโรซอร์ออกได้มากกว่า 200 ชนิด มีความแตกต่างหลากหลายกันออกไปในแต่ละชนิดหรือแต่ละวงศ์ เทอโรซอร์ถูกค้นพบครั้งแรกในรูปแบบซากดึกดำบรรพ์ในยุคศตวรรษที่ 19 ซากดึกดำบรรพ์ของเทอโรซอร์พบได้ในทั่วทุกภูมิภาคของโลก เทอโรซอร์ที่เก่าแก่ที่สุดถือกำเนิดในยุคไทรแอสซิกเมื่อ 228 ล้านปีก่อน โดยบรรพบุรุษของเทอโรซอร์นั้นมีรูปร่างเล็กมาก โดยมีขนาดพอ ๆ กับนกกระจอกในยุคปัจจุบัน เช่น พรีออยแดกกิลุส บัฟฟารีนีโอ ที่มีความกว้างของปีกแค่ 0.5 เมตร เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในป่าทึบกินแมลง เช่น แมลงปอ เป็นอาหาร หรือแครีเรมัส เซซาพลาเนนซิส ที่มีความกว้างของปีก 1 เมตร เทอโรซอร์ในยุคแรกจะมีขนาดลำตัวเล็ก บางจำพวกมีหางยาว เช่น ดิมอร์โฟดอน แมโครนิกซ์ ที่มีความกว้างของปีก 1.2 เมตร น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม มีหางยาวที่แข็ง คอสั้น หัวมีขนาดใหญ่ มีฟันแหลมคม และกระดูกกลวงบางส่วน ทั้งนี่้เชื่อว่าเทอโรซอร์วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ๆ ที่กระโดดหรือใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้เป็นหลักด้วยการหากินและหลบหลีกศัตรู เทอโรซอร์ ได้วิวัฒนาการมาเป็นลำดับขั้นตามยุคสมัยไปเรื่อย ๆ เช่น ยุคจูแรสซิก จนกระทั่งถึงยุคครีเตเชียส เทอโรซอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เคตซัลโคแอตลัส นอร์โทรพี มีความสูงเท่า ๆ กับยีราฟ มีความกว้างของปีก 10.5 เมตร พอ ๆ กับเครื่องบินรบเอฟ-16 น้ำหนักตัวถึง 200 กิโลกรัม เฉพาะส่วนหัวรวมถึงจะงอยปากด้วยก็ยาวถึง 3 เมตรแล้ว จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่บินได้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา และเชื่อว่าชอบที่จะกินลูกโดโนเสาร์เป็นอาหาร ตามหลักฐานจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์ในยุคหลังนั้นมีขนปกคลุมลำตัวบาง ๆ ด้วย จึงเชื่อกันว่าน่าจะเป็นสัตว์เลือดอุ่น ทั้งนี้มีไว้เพื่อเป็นเสมือนฉนวนกักความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น เจโฮลอปเทอรัส ที่พบในจีน ซึ่งมีลักษณะปากกว้างคล้ายกบ เป็นต้น เทอโรซอร์ใช้ลักษณะการบินแบบเดียวกับค้างคาว เมื่ออยู่กับพื้นจะใช้วิธีการทะยานตัวออกไปจากท่ายืนสี่เท้าโดยรยางค์ของร่างกาย มีตีนขนาดเล็กเพื่อช่วยลดแรงต้าน เมื่อบินสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางการบินได้เล็กน้อย เช่น การหดกล้ามเนื้อปีก หรือขยับข้อเท้าเข้าและออก การเปลี่ยนมุมกระดูกข้อปีก เป็นต้น เมื่อเทียบกับนกแล้ว เทอโรซอร์ยังมีกล้ามเนื้อสำหรับการบินมากกว่า และมีสัดส่วนของน้ำหนักร่างกายมากกว่า แม้แต่สมองก็ดูเหมือนจะวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อการบิน โดยมีกลีบสมองขยายใหญ่ขึ้นเพื่อประมวลผลข้อมูลประสาทรับความรู้สึกที่ซับซ้อนจากเยื่อปีก เทอโรซอร์มีไหล่ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และลักษณะปีกของเทอโรซอร์ประกอบด้วยเยื่อที่ยึดติดกับสีข้างจากไหล่ไล่ลงไปจนถึงข้อเท้าแต่ละข้าง และเหยียดออกโดยนิ้วที่สี่ที่ยืดยาวไปอย่างน่าทึ่งไปตามขอบหน้าของปีก เยื่อปีกร้อยรัดไปด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเลือด และเสริมความแข็งแกร่งด้วยพังผืด ลักษณะของเทอโรซอร์นั้นมีความแตกต่างหลากหลายกันมาก บางจำพวกมีหงอนด้วย สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับดึงดูดเพศตรงข้าม โดยว่ามีลักษณะที่แตกต่างหลากหลายกันออกไป เช่น ทูนแพนแดกทิอุส แนวีแกนส์ ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในยุคแรก ๆ และ ทาเลสไซโครมีอุส เซที ที่มีช่วงปีกกว้าง 4 เมตร เชื่อว่ามีหงอนที่มีสีสันที่สดใส จะงอยปากก็มีความหลากหลายแตกต่างออกไปตามแต่ลักษณะการใช้หาอาหาร เช่น บางชนิดมีฟันแหลมคมเต็มปากเห็นได้ชัดเจนใช้สำหรับการจับปลาในน้ำ เช่น แอนเฮงรา พิสเคเตอร์ หรือ ซันแกริปเทอรัส ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่มีจะงอยปากยาวและงอนขึ้นใช้สำหรับสำรวจและช้อนเอาสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่มีกระดูกสันหลังหรือครัสเตเชียนกินเป็นอาหาร หรือบางจำพวก หากินโดยการใช้วิธีการยืนในแหล่งน้ำเค็มตื้น ๆ แล้วใช้การกรองกินสัตว์ขนาดเล็ก ๆ จำพวกครัสเตเชียน เหมือนกับวิธีการกินของนกฟลามิงโกในยุคปัจจุบัน หรือบางสกุล เช่น นิกโตซอรัส ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในทะเลลักษณะคล้ายนกอัลบาทรอสที่มีระยะระหว่างปลายปีกสองข้างกว้างเกือบ 3 เมตร มีอัตราส่วนการร่อน หรือระยะทางที่เคลื่อนไปข้างหน้าได้ต่อการลดระดับลงทุกหนึ่งเมตร จัดเป็นนักร่อนชั้นดี และจากการพบลักษณะของซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์บางกลุ่มก็อาศัยอยู่รวมกันเป็นนิคมหรือคอโลนีเหมือนกับนกทะเลหลายชนิดในปัจจุบัน คือ ไคยัวฮารา โครบรัสกิอี โดยพบหลักฐานว่า ตายพร้อมกันถึง 47 ตัว หน้า 26-45, เทอโรซอร์ ปีกพิศวงสุดแสนพิศดาร โดย ริชาร์ด คอนนิฟฟ.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเทอโรซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทโรพอด

ทโรพอด (Theropods) เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเซียน(สะโพกกิ้งก่า) เทโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือสไปโนซอรัส ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา และเล็กที่สุดคือไมโครแรปเตอร์ ที่พบในประเทศจีน นอกจากนี้เทโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย โดยพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดคืออีโอแร็พเตอร์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อ 229 ล้านปีก่อน เทโรพอดชนิดแรกที่ค้นพบคือเมกะโลซอรัส โดยพวกเทอราพอดนี้มีญาติคือซอโรพอด เทโรพอดส่วนใหญ่จะเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่ก็มีพันธุ์ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชอย่างเทอริสิโนซอรัส เทโรพอดมีชีวิตอยู่เมื่อ 229-65 ล้านปีก่อน มีพันธุ์ที่มีชื่อเสียงหลายพันธุ์เช่นไทรันโนซอรัส อัลโลซอรัส ไจกันโนโทซอรัส คาร์โนทอรัส หรือสไปโนซอรั.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเทโรพอด · ดูเพิ่มเติม »

เดสเพลโตซอรัส

ลโตซอรัส (Daspletosaurus) เป็นเทอโรพอดในวงศ์ไทรันโนซอรอยเดีย (Tyrannosauroidea) ที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ เมื่อประมาณ 77 ถึง 74 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียส ซากฟอสซิลพบในรัฐอัลเบอร์ต้า และรัฐมอนแทนาเป็นส่วนใหญ่ เดสเพลโตซอรัส เป็นไดโนเสาร์ในวงส์เดียวกับไทรันโนซอรัส ที่มีคุณสมบัติกะโหลกใหญ่พันคม เช่นเดียวกับเทอโรพอดในวงศ์ไทรันโนซอรอยเดียอื่น.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเดสเพลโตซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหัวค้อน

ต่าหัวค้อน หรือ เต่าล็อกเกอร์เฮด หรือ เต่าจะละเม็ด (Loggerhead) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caretta caretta จัดเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Caretta ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายเต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) และเต่าตนุ (Chelonia mydas) มาก ต่างกันที่เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้ามี จำนวน 2 คู่ เท่ากับเต่าหญ้า แต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้างมีจำนวน 5 แผ่นซึ่งต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่น ๆ และรูปทรงของกระดองจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้ายและเป็นสันแข็งเห็นชัดเจน กระดองมีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลส้ม ขอบชายโครงมีสันแข็ง ขณะที่ยังเป็นลูกเต่ากระดองจะยกสูง ที่สำคัญเป็นจุดเด่น คือ มีหัวขนาดใหญ่โตอย่างเห็นได้ชัด อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ขาซึ่งเป็นใบพายทั้งคู่หน้าและคู่หลังมีเล็บหนึ่งเล็บในแต่ละข้าง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดกระดองหลังยาวประมาณ 85 เซนติเมตร กระดองท้อง 60 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำมีเปลือกและหอย เป็นอาหารหลัก พบน้อยมากที่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบน้อยมาก และไม่พบรายงานว่ามีการขึ้นมาวางไข่เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว แต่ยังพบได้บ้างที่เขตอบอุ่นทางตอนเหนือของออสเตรเลียและทะเลญี่ปุ่น หรืออินโดนีเซีย ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเต่าหัวค้อน · ดูเพิ่มเติม »

เต่าอาร์คีลอน

อาร์คีลอน (Archelon) เป็นสกุลของเต่าทะเลสูญพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด ฟอสซิลของมันพบในปี..1895 ที่รัฐเซาท์ ดาโคตา ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับการบรรยายในปี..

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเต่าอาร์คีลอน · ดูเพิ่มเติม »

เซกโนซอรัส

เซกโนซอรัส (Segnosaurus) ชื่อมีความหมายว่ากิ้งก่าวิ่งช้า ยาวประมาณ 6 เมตรอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 90 ล้านปีก่อน ค้นพบฟอสซิลที่ทวีปเอเชีย เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่เชื่องช้า และรักสงบ ปากเป็นจะงอย มีหางยาวและว่ายน้ำเก่ง หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: ยุคครีเทเชียสและเซกโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cretaceousยุคครีเทเซียสยุคครีเตเชียสครีเทเชียสครีเตเชียส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »