โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยางไม้

ดัชนี ยางไม้

แมลงถูกขังในยางไม้ ''Protium Sp.” ยางไม้ (resin) เป็นไฮโดรคาร์บอนซึ่งคัดหลั่งจากไม้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงศ์สนเขา (Pinaceae) คุณค่าของยางไม้อยู่ที่คุณสมบัติทางเคมีและประโยชน์อย่างอื่น ๆ เช่น ใช้ทำน้ำมันชักเงา กาว และสารเคลือบอาหาร ยางไม้ยังเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญสำหรับการสังเคราะห์สารอินทรีย์ (organic synthesis) และส่วนประกอบของเครื่องหอมธูปเทียนต่าง ๆ ไม้ซึ่งให้ยางมีความเป็นมายาวนานดังที่ทีโอแฟรสตัส (Theophrastus) บันทึกไว้ในสมัยกรีกโบราณ และพลินิผู้อาวุโส (Pliny the Elder) บันทึกไว้ในสมัยโรมโบราณ นอกจากนี้ ยางไม้ประเภทกำยาน (frankincense) และมดยอบ (myrrh) ยังเป็นของล้ำค่าในสมัยอียิปต์โบราณด้ว.

24 ความสัมพันธ์: ชูการ์ไกลเดอร์ฟลายอิงฟาแลนเจอร์พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์พัดยศการสูญขี้ผึ้งการปรับภาวะให้เกิดความกลัวมดยอบยาทาเล็บรถถังลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)ลีเมอร์หนูวงศ์มังคุดหวายหวายขี้เป็ดอำพันอีพอกซีขบวนการสายลับ โกบัสเตอร์สด้วงกว่างด้วงกว่างญี่ปุ่นแมสติกแมงคีมยีราฟไพนีนเกาลัดไทยเมลามีน

ชูการ์ไกลเดอร์

ูการ์ไกลเดอร์ หรือที่บางครั้งเรียกกันว่า จิงโจ้ร่อน (Sugar glider, Australia sugar glider) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องจำพวกพอสซัม เนื่องจากในตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง ใช้สำหรับให้ลูกอ่อนอยู่อาศัยจนกว่าจะโตได้ที่ ชูการ์ไกลเดอร์มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับกระรอกบินมาก แต่เป็นสัตว์คนละอันดับกัน เนื่องจากกระรอกบินเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ ชูการ์ไกลเดอร์เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 6-10 ตัวขึ้นไป และแต่ละฝูงจะมีการกำหนดอาณาเขตของตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะมีการปล่อยกลิ่นเพื่อกำหนดอาณาเขตของตนเอง อายุโดยเฉลี่ย 10-15 ปี ตามธรรมชาติแล้ว ชูการ์ไกลเดอร์จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงมีเล็บที่แหลมคมใช้เกาะเพื่อกระโดดข้ามจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ขนมีลักษณะนุ่มมาก บริเวณข้างลำตัวของมันจะมีพังผืด ซึ่งสามารถกางได้จากขาหน้าไปถึงขาหลังเพื่อลู่ลมเวลาร่อน เหมือนเช่นกระรอกบิน หรือบ่าง เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารหลัก คือ แมลง ส่วนผลไม้จะถือเป็นอาหารรอง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวจากจมูกถึงปลายหางจะอยู่ที่ 11 นิ้ว แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลียทางซีกตะวันออก สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดย่อย ๆ (ดูในตาราง) ด้วยความน่ารัก ประกอบกับเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก และมีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว ทำให้ชูการ์ไกลเดอร์นิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ใหม่!!: ยางไม้และชูการ์ไกลเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟลายอิงฟาแลนเจอร์

ฟลายอิงฟาแลนเจอร์ (flying phalanger, wrist-winged glider) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกระเป๋าหน้าท้องจำพวกพอสซัมสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Petaurus ฟลายอิงฟาแลนเจอร์มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับกระรอกบิน ซึ่งเป็นกระรอกจำพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นสัตว์ฟันแทะมาก คือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก อาศัยหากินและทำรังบนต้นไม้ มีหางเป็นขนพวงฟู และมีแผ่นหนังที่เป็นพังผืดขึงจากขาหน้าไปยังขาหลัง ใช้สำหรับร่อนถลาไปบนอากาศ ระหว่างกระโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งด้วยการร่อน การร่อนของฟลายอิงฟาแลนเจอร์มีลักษณะคล้ายกับกระรอกบินมาก คือ จะกางขาทั้ง 4 ข้างออกเมื่อร่อนถลา เมื่อถึงจุดที่จะร่อนลงก็จะยกหางขึ้นมาด้านอากาศเสมือนเบรก จากนั้นจึงควงหางครั้งหนึ่งให้ลงเกาะบนเป้าหมายทั้ง 4 ขา โดยเอาหัวตั้งขึ้น สามารถร่อนได้ไกลถึง 50 หลา ขณะที่ลอยอยู่ในอากาศ จะใช้ส่วนหางเสมือนหางเสือบังคับทิศทาง ฟลายอิงฟาแลนเจอร์เป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน กินอาหารจำพวก ผลไม้และยางไม้จากต้นไม้ รวมถึงกินแมลงด้วย ด้วยความเป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง เมื่อคลอดออกมา ลูกอ่อนจะคลานเข้าสู่กระเป๋าของแม่ และเกาะติดกับหัวนมจนแน่น ไม่หล่นมาแม้ขณะร่อน เมื่อโตขึ้นมาก็จะเปลี่ยนมาเกาะอยู่หลังของแม่แทน ขนาดโดยเฉลี่ยของฟลายอิงฟาแลนเจอร์ คือ มีความยาวประมาณ 15 นิ้ว โดยครึ่งหนึ่งเป็นความยาวของหาง ชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุดยาวเพียง 6 นิ้วเท่านั้น เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วเมื่ออยู่บนต้นไม้ แต่เมื่อตกลงมาพื้นดินจะเคลื่อนไหวได้ลำบาก และอาจตกเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่กว่าได้กระรอกบิน หรือฟลายอิ้งฟาแลงเก้อ หน้า 25-26, "สัตว์สวยป่างาม" โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518).

ใหม่!!: ยางไม้และฟลายอิงฟาแลนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์

ระเทวฤทธิ์อินทรวรกร หรือ พระเจ้าใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดหงษ์ บ้านศีรษะแรต ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับเมืองพุทไธสง ราวปี..

ใหม่!!: ยางไม้และพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

พัดยศ

กหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไทยได้รับประเพณีมีพัดยศสำหรับพระสงฆ์มาจากลังกา โดยกษัตริย์แห่งศรีลังกาในอดีตเป็นผู้เริ่มถวายสมณศักดิ์และพัดยศเพื่อให้พระสงฆ์สำหรับใช้แสดงถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับถวาย พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) พัดยศพระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ พัดยศ คือพัดเกียรติยศอันเป็นเครื่องราชสักการะอย่างหนึ่งที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระภิกษุผู้มีฐานันดรในคณะสงฆ์ เป็นการประกาศเกียรติคุณเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามอย่างโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นพัดคู่กับพัดรอง ซึ่งแบ่งตามศํกดิ์ ได้แก.

ใหม่!!: ยางไม้และพัดยศ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญขี้ผึ้ง

การสูญขี้ผึ้ง (lost-wax casting) เป็นการหล่อโลหะโดยอาศัยแม่พิมพ์ที่เป็นวัตถุต้นแบบ หุ้มด้วยขี้ผึ้ง (หรือทำวัตถุต้นแบบด้วยขี้ผึ้งถ้าต้องการวัตถุเนื้อต้น) ปิดทับด้วยวัตถุแข็งเช่นปูนหรือเซรามิกด้านนอก นำไปเผาสำรอกขี้ผึ้งออก ก่อนหล่อโลหะลงไป ครั้นโลหะแข็งตัวช่างจะทุบทำลายแม่พิมพ์ด้านนอกและแม่พิมพ์ด้านใน (ถ้ามี) ออกให้ได้ชิ้นงานตามที่ต้องการ ในงานศิลปกรรมนั้น วัตถุต้นแบบนั้นโดยมากมักใช้วัสดุที่เปราะทำลายง่ายด้วยแรงสะเทือน อาทิ ดินเหนียวผสมมูลวัว ส่วนในทางอุตสาหกรรมมักจะทำแม่แบบด้วยขี้ผึ้งเป็นเนื้อเดียว นอกเหนือจากขี้ผึ้งแล้ว ช่างอาจจะใช้ไขวัว เรซิน น้ำมันดิน ผ้า กระดาษ หรือวัสดุอื่นที่ขึ้นรูปง่ายและสำรอกออกได้ง่ายด้วยความร้อน บางคนจึงเรียกการสูญขี้ผึ้งว่า การหล่อแบบลงทุน (investment casting) ปัจจุบันการสูญขี้ผึ้งยังพอมีใช้ในโรงงานบ้างแต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าการหล่อแม่พิมพ์ทราย (sand casting) การสูญขี้ผึ้งนั้นนิยมใช้ในการหล่อพระพุทธรูปหรือเทวรูป โดยใช้ดินเหนียมผสมมูลวัวปั้นหุ่น หุ้มขึ้ผึ้ง ตอกด้วยหลักยึดเรียกว่าทอยก่อนพอกด้วยดินเหนียวผสมทราย มีลวดรัดไว้อีกชั้นหนึ่ง ครั้นจะเทโลหะช่างจะเผาแม่พิมพ์ให้ขี้ผึ้งไหลออกหมด อุดรูรั่ว ก่อนเทโลหะลงไป.

ใหม่!!: ยางไม้และการสูญขี้ผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

การปรับภาวะให้เกิดความกลัว

การปรับภาวะให้เกิดความกลัว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ conditioning ว่า "การปรับภาวะ" (fear conditioning) เป็นรูปแบบทางพฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตเรียนรู้เพื่อพยากรณ์เหตุการณ์ที่ไม่น่าพึงใจ เป็นรูปแบบแห่งการเรียนรู้โดยจับคู่สิ่งแวดล้อมที่ปกติเป็นกลาง ๆ (เช่นสถานที่) หรือตัวกระตุ้นที่เป็นกลาง ๆ (เช่นเสียง) กับตัวกระตุ้นที่ไม่น่ายินดี (เช่นถูกไฟดูด เสียงดัง หรือกลิ่นเหม็น) ในที่สุด การจับคู่เช่นนั้นเป็นเหตุให้สิ่งมีชีวิตตอบสนองด้วยความกลัว ต่อตัวกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อมที่ในตอนแรกเป็นกลาง ๆ เพียงลำพังโดยปราศจากตัวกระตุ้นที่ไม่น่ายินดี ถ้าใช้ศัพท์ที่เกี่ยวกับการปรับสภาวะแบบคลาสสิก (classical conditioning) ตัวกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นกลาง ๆ เรียกว่า สิ่งเร้ามีเงื่อนไข (conditional stimulus) ส่วนตัวกระตุ้นที่ไม่น่ายินดีเรียกว่า สิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข (unconditional stimulus) และความกลัวที่เกิดขึ้นในที่สุดของการปรับสภาวะเรียกว่า การตอบสนองมีเงื่อนไข (conditional response) มีการศึกษาเรื่องการปรับภาวะให้เกิดความกลัวในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หอยทากจนกระทั่งถึงมนุษย์ ในมนุษย์ ความกลัวมีเงื่อนไขวัดได้โดยการรายงานของผู้รับการทดสอบและการตอบสนองทางผิวหนังโดยการนำกระแสไฟ (galvanic skin response) ในสัตวอื่น ความกลัวมีเงื่อนไขวัดได้โดยการมีตัวแข็งของสัตว์ (คือช่วงเวลาที่สัตว์ทำการสังเกตการณ์โดยไม่มีการเคลื่อนไหว) หรือโดย fear potentiated startle ซึ่งเป็นการตอบสนองโดยรีเฟล็กซ์ต่อตัวกระตุ้นที่น่ากลัว ความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และการตอบสนองในกล้ามเนื้อวัดโดยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (electromyography) ก็สามารถใช้ได้ในการวัดความกลัวมีเงื่อนไข การปรับภาวะให้เกิดความกลัวเชื่อกันว่า อาศัยเขตในสมองที่เรียกว่า อะมิกดะลา (amygdala) การตัดออกหรือการยับยั้งการทำงานของอะมิกดะลาสามารถยับยั้งทั้งการเรียนรู้และการแสดงออกของความกลัว การปรับภาวะให้เกิดความกลัวบางประเภท (แบบ contextual และ trace) ก็อาศัยเขตฮิปโปแคมปัสด้วย ซึ่งเป็นเขตสมองเชื่อกันว่ารับพลังประสาทนำเข้าจากอะมิกดะลาและประสานสัญญาณนั้นกับข้อมูลประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนที่ทำให้ตัวกระตุ้นนั้นมีความหมาย ทฤษฎีที่ใช้อธิบายประสบการณ์ที่ให้เกิดความบาดเจ็บหรือความเครียดทางจิตใจ บอกเป็นนัยว่า ความหวาดกลัวที่อาศัยอะมิกดะลาจะไม่อาศัยฮิปโปแคมปัสในช่วงเวลาที่กำลังประสบความเครียดอย่างรุนแรง และจะมีการบันทึกประสบการณ์นั้นไว้ทางกายภาพหรือโดยเป็นภาพ เป็นความรู้สึกที่สามารถจะกลับมาเกิดขึ้นอีกปรากฏเป็นอาการต่าง ๆ ทางกายภาพ หรือเป็นภาพย้อนหลัง (flashback) โดยที่ไม่มีความหมายเกี่ยวข้องเหตุการณ์ที่กำลังเกิดในปัจจุบัน นักทฤษฎีบางพวกเสนอว่า ความกลัวมีเงื่อนไขเป็นไปร่วมกับเหตุเกิดของโรควิตกกังวลประเภทต่าง ๆ ทั้งโดยกิจและโดยระบบประสาท งานวิจัยเกี่ยวกับการได้มา (acquisition) การทำให้มั่นคง (consolidation) และความสูญไป (extinction) ของความกลัวมีเงื่อนไข อาจจะนำไปสู่การบำบัดรักษาทางเวชกรรมหรือทางจิตบำบัดใหม่ ๆ เพื่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคดิสโซสิเอทิฟ โรคกลัวประเภทต่าง ๆ และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder).

ใหม่!!: ยางไม้และการปรับภาวะให้เกิดความกลัว · ดูเพิ่มเติม »

มดยอบ

มดยอบ พืชที่ให้มดยอบ (''Commiphora myrrha'') มดยอบ เป็นยางไม้ที่ได้จากพืชในสกุล Commiphora ส่วนใหญ่จะเป็นชนิด Commiphora myrrha ซึ่งเป็นพืชมีหนาม สูงประมาณ 4 เมตร ขึ้นตามพื้นที่ที่มีหินปูน เป็นพืชท้องถิ่นในแถบคาบสมุทรอาหรับและแอฟริกา เมื่อลำต้นของพืชชนิดนี้มีรอยแตกหรือถูกกรีด พืชจะสร้างยางไม้ซึ่งเมื่อแห้งจะมีลักษณะแข็ง มีสีเหลืองไปจนถึงน้ำตาล มนุษย์รู้จักใช้มดยอบเป็นยาและเครื่องหอมมานานนับพันปีแล้ว ดังที่มีตัวอย่างในการนมัสการของโหราจารย์ เมื่อโหราจารย์ทั้งสามเดินทางมาสักการะพระเยซู และมอบของสามสิ่งคือ ทองคำ, กำยาน และมดยอ.

ใหม่!!: ยางไม้และมดยอบ · ดูเพิ่มเติม »

ยาทาเล็บ

ทาเล็บที่บรรจุใส่ขวดยี่ห้อหนึ่ง ยาทาเล็บ (Nail polish; Nail varnish) คือเครื่องสำอางประเภทหนึ่งที่ใช้ตกแต่งเล็บของมนุษย์ ให้มีความสวยงาม.

ใหม่!!: ยางไม้และยาทาเล็บ · ดูเพิ่มเติม »

รถถัง

รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.

ใหม่!!: ยางไม้และรถถัง · ดูเพิ่มเติม »

ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)

ลาว (ລາວ) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ตระกูลภาษาไท-กะได เป็นชนชาติใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศลาว มีประชากรประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเป็นจำนวนร้อยละ 53.2 ส่วนที่อื่น ๆ อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวลาวบางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ชาวลาวส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน ชาวลาวส่วนมากจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และบางส่วนยังนับถือควบคู่ไปกับลัทธิภูตผีวิญญาณต่าง ๆ แม้ชาวลาวจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนชาติต่าง ๆ แต่ก็ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: ยางไม้และลาว (กลุ่มชาติพันธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

ลีเมอร์หนู

ลีเมอร์หนู (Mouse lemur) เป็นไพรเมตขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในกลุ่มลีเมอร์ จัดอยู่ในสกุล Microcebus จัดเป็นลีเมอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด และถือเป็นไพรเมตที่มีขนาดเล็กที่สุดจำพวกหนึ่ง ลีเมอร์หนู มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากลีเมอร์ทั่วไป โดยจะเหมือนลิงลมหรือกาเลโกมากกว่า จากการศึกษาทางพันธุกรรม โดยศึกษาจากดีเอ็นเอพบว่า ลีเมอร์หนูเป็นลีเมอร์ที่มีความเก่าแก่ที่สุด โดยเชื่อว่าเป็นลีเมอร์ชนิดแรกที่เดินทางผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกามายังเกาะมาดากัสการ์เมื่อแรกกำเนิดเกาะเมื่อกว่า 80-60 ล้านปีก่อน โดยอาศัยเกาะมากับวัสดุหรือท่อนไม้ลอยน้ำมา ในรูปแบบของการจำศีล เพราะระยะทางห่างไกล เชื่อว่ามีลีเมอร์มาถึงเกาะมาดากัสการ์ครั้งแรกเพียง 12 ตัว และมีปริมาณตัวเมียเพียง 2 ตัวเท่านั้น ก่อนที่จะวิวัฒนาการให้มีความหลากหลายในเวลาต่อมา ซึ่งลีเมอร์หนูแทบจะไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างไปเลยจากเมื่อ 80 ล้านปีก่อน โดยมีขนาดลำตัวรวมทั้งส่วนหางยาวน้อยกว่า 27 เซนติเมตร (11 นิ้ว) ซึ่งสามารถเอามาวางไว้บนฝ่ามือมนุษย์ได้ มีใบหูและดวงตากลมโตขนาดใหญ่เหมือนกาเลโก เป็นลีเมอร์เพียงไม่กี่ชนิดที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารขนาดเล็ก ๆ เช่น แมลง, แมง รวมถึงส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอกไม้, ผลไม้ และรวมถึงน้ำต้อย และยางไม้ของต้นไม้ใหญ่ด้วย นับได้ว่าลีเมอร์หนูเป็นสัตว์อีกจำพวกหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการผสมเกสรของพืช นอกจากนี้แล้ว ลีเมอร์หนูยังถือได้ว่าเป็นไพรเมตเพียงจำพวกเดียวที่มีการจำศีล โดยจะจำศีลตรงกับช่วงฤดูร้อนของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตก ซึ่งตรงกับช่วงกลางปีของทุกปี ก่อนจะถึงฤดูการจำศีล คือ ตอนปลายของฤดูฝน ลีเมอร์หนูจะเร่งกินอาหารเพื่อสะสมพลังงานไว้ในร่างกาย ตามขาและหาง ก่อนที่จะจำศีลในโพรงไม้นานถึง 3-4 เดือน ด้วยการอยู่นิ่ง ๆ เคลื่อนไหวน้อยที่สุดเพื่อสงวนพลังงาน ระดับแมตาบอลิสซึมลดต่ำ อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำ ซึ่งเรียกว่า ทอร์พอร์ ก่อนที่จะตื่นขึ้นมาอีกครั้งในช่วงปลายปี ซึ่งตรงกับปลายเดือนพฤศจิกายน และจะเร่งเพิ่มน้ำหนักเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสีย ก่อนที่ในเดือนธันวาคม ลีเมอร์หนูจะผสมพันธุ์และออกลูก ด้วยการส่งเสียงร้องในรูปแบบคลื่นเสียงความถี่สูงที่หูมนุษย์ไม่ได้ยิน แบบเดียวกับค้างคาว ในการเรียกหาคู่ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีเสียงที่แตกต่างกันออกไป ลีเมอร์หนูตัวเมียจะให้กำเนิดลูกในช่วงนี้ ลูกลีเมอร์หนูจะพึ่งพาแม่เป็นระยะเวลานาน 8 สัปดาห์ ก่อนที่จะเติบโตพอที่จะแยกตัวออกไป เดิมลีเมอร์ถูกจัดให้มีเพียงแค่ชนิดเดียวหรือ 2 ชนิด เพราะมีรูปลักษณ์แทบไม่ต่างกันในแต่ละชนิด เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ที่ทัศนวิสัยไม่อาจมองอะไรได้ชัด จึงไม่มีความจำเป็นในเรื่องความแตกต่างของรูปร่างภายนอก แต่ปัจจุบันจากการศึกษาในระดับดีเอ็นเอพบว่ามีมากถึง 19 ชนิด หรืออาจมากกว่า Madagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: ยางไม้และลีเมอร์หนู · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์มังคุด

Clusiaceae หรือ Guttiferae Juss.

ใหม่!!: ยางไม้และวงศ์มังคุด · ดูเพิ่มเติม »

หวาย

ก้าอี้หวาย การทำเฟอร์นิเจอร์จากหวายในอินโดนีเซีย หวาย (Rattan palm) เป็นพืชที่อยู่ในเผ่าหวาย (Calameae) พบทั่วไปในเขตร้อนของทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสตราเลเชีย ทั่วโลกมีหวายเกือบ 600 ชนิด เฉพาะในประเทศไทย มีหวายเกือบ 60 ชนิด เช่น หวายโคก หวายดง หวายน้ำผึ้ง เป็นต้น ลักษณะโดยทั่วไปของหวายเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยหรือไม้รอเลื้อยตระกูลปาล์ม ลำเถาชอบพันเกาะต้นไม้ใหญ่ มีกาบหุ้มต้น และมีหนามแหลม มีความเหนียว ใบเป็นรูปขนนกเล็กๆ ใบย่อยนั้นเรียวยาว มีสีเขียวสด ก้านใบหนึ่งๆ มีใบย่อยราว 60 - 80 คู่ ออกดอกเป็นช่อ สีขาวปนเหลือง ผลค่อนข้างกลม เปลือกเป็นเกล็ด ลูกอ่อนเปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ผลแก่เปลือกสีเหลือง เปลือกล่อน เนื้อแข็ง รสเปรี้ยวฝ.

ใหม่!!: ยางไม้และหวาย · ดูเพิ่มเติม »

หวายขี้เป็ด

หวายขี้เป็ด เป็นหวายกอขนาดปานกลาง เกล็ดบนเปลือกผลมีเรซินสีแดง ชาวซีไมในคาบสมุทรมลายู สกัดเรซินจากผลไปใช้เป็นสมุนไพร ในซาราวะก์นำผลไปรับประทาน พบในบอร์เนียว สุมาตรา คาบสมุทรมลายู และตอนใต้ของไท.

ใหม่!!: ยางไม้และหวายขี้เป็ด · ดูเพิ่มเติม »

อำพัน

อำพันตกแต่งเป็นเหรียญประดับรูปไข่ขนาด 2x1.3 นิ้ว อำพัน เป็นซากดึกดำบรรพ์ของยางไม้ เป็นสิ่งมีค่าด้วยสีสันและความสวยงามของมัน อำพันที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับและอัญมณี แม้ว่าอำพันจะไม่จัดเป็นแร่แต่ก็ถูกจัดให้เป็นพลอย โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจผิดกันว่าอำพันเกิดจากน้ำเลี้ยงของต้นไม้ แต่แท้ที่จริงแล้ว น้ำเลี้ยงเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในระบบท่อลำเลียงของพืช ขณะที่ยางไม้เป็นอินทรียวัตถุเนื้ออสัณฐานกึ่งแข็งที่ถูกขับออกมาผ่านเซลล์เอพิทีเลียมของพืช เพราะว่าอำพันเคยเป็นยางไม้ที่เหนียวนิ่มเราจึงพบว่าอาจมีแมลงหรือแม้แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอยู่ในเนื้อของมันได้ ยางไม้ที่มีสภาพเป็นกึ่งซากดึกดำบรรพ์รู้จักกันในนามของโคปอล สีของอำพันมีได้หลากหลายสีสัน ปรกติแล้วจะมีสีน้ำตาล เหลือง หรือส้ม เนื้อของอำพันเองอาจมีสีได้ตั้งแต่ขาวไปจนถึงเป็นสีเหลืองมะนาวอ่อนๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลจนถึงเกือบสีดำ สีที่พบน้อยได้แก่สีแดงที่บางทีก็เรียกว่าอำพันเชอรี่ อำพันสีเขียวและสีฟ้าหายากที่มีการขุดค้นหากันมาก อำพันที่มีค่าสูงมากๆจะมีเนื้อโปร่งใส ในทางตรงกันข้ามอำพันที่พบกันมากทั่วไปจะมีสีขุ่นหรือมีเนื้อทึบแสง อำพันเนื้อทึบแสงมักมีฟองอากาศเล็กๆเป็นจำนวนมากที่รู้จักกันในนามของอำพันบาสตาร์ดหมายถึงอำพันปลอม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็เป็นอำพันของแท้ๆนั่นเอง.

ใหม่!!: ยางไม้และอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

อีพอกซี

อีพอกซี (epoxy) หรือ โพลีอีพอกไซด์ (polyepoxide) เป็นพลาสติกแบบพอลิเมอร์เธอร์โมเซตติงที่ขึ้นรูปจากปฏิกิริยาระหว่างอีพอกไซด์เรซินกับพอลีอมีน อีพอกซี มีการใช้งานที่กว้างขวาง รวมถึง การใช้เป็นวัสดุพลาสติกเสริมแรงด้วยไฟเบอร์ และใช้เป็นวัสดุประสาน.

ใหม่!!: ยางไม้และอีพอกซี · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการสายลับ โกบัสเตอร์ส

วนการจารชน โกบัสเตอร์ส หรือ โทคุเมย์ เซนไท โกบัสเตอร์ส เป็นซีรีส์แนวขบวนการนักสู้ลำดับที่ 36 เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. ในช่วงซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ มีตอนพิเศษอีก 7 ตอน โดย รูปแบบโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 5 ตอน ได่แก่ ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ vs.

ใหม่!!: ยางไม้และขบวนการสายลับ โกบัสเตอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่าง

้วงกว่าง หรือ กว่าง หรือ แมงกว่าง หรือ แมงกวาง หรือ แมงคาม เป็นแมลงในวงศ์ย่อย Dynastinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Scarabaeidae ในอันดับแมลงปีกแข็ง (Coleoptera).

ใหม่!!: ยางไม้และด้วงกว่าง · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่างญี่ปุ่น

้วงกว่างญี่ปุ่น (Japanese rhinoceros beetle, Japanese horned beetle, Korean horned beetle, カブトムシ, โรมะจิ: Kabutomushi) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allomyrina dichotoma อยู่ในวงศ์ด้วงกว่าง (Dynastinae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Allomyrina นับเป็นด้วงกว่างอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งสามารถใช้ขวิดต่อสู้กันได้ ด้วงกว่างญี่ปุ่นมีจุดเด่น คือ เขาล่างมีความใหญ่กว่าเขาด้านบน โดยที่ปลายเขาจะมีแขนงแตกออกเป็น 2 แฉกด้วย มีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณในทวีปเอเชีย เช่น อนุทวีปอินเดีย และจะพบมากที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, จีนแผ่นดินใหญ่, เกาหลี, ภาคเหนือของเวียดนาม เป็นต้น ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือของประเทศ อาทิ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย, อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นต้น (มีทั้งหมด 7 ชนิดย่อย แตกต่างกันที่ลักษณะของเขา–ดูในตาราง) ตัวผู้มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด โดยตัวผู้มีขนาด 38.5-79.5 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวเมียมีขนาด 42.2-54.0 มิลลิเมตร และไม่มีเขา หากินในเวลากลางคืนโดยกินยางไม้จากเปลือกของต้นไม้ใหญ่ในป่า ชอบเล่นไฟ แต่การต่อสู้กันของด้วงกว่างญี่ปุ่นจะแตกต่างไปจากด้วงกว่างชนิดอื่น ๆ คือ จะใช้เขาล่างในการงัดกันมากกว่าจะใช้หนีบกัน ผสมพันธุ์และวางไข่ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ คือ มีมูลสัตว์และซากไม้ผุผสมอยู่ ใช้เวลาฟักเป็นตัวหนอนราว 1 เดือน จากระยะตัวหนอนใช้เวลา 6-8 เดือนจึงจะเข้าสู่ช่วงดักแด้ซึ่งจะมีช่วงอายุราว 19-28 วัน จึงจะเป็นตัวเต็มวัยออกมาจากดิน ซึ่งตัวเต็มวัยมีอายุราว 2-3 เดือนเท่านั้น รวมช่วงชีวิตแล้วทั้งหมดประมาณ 1 ปี นับได้ว่าใกล้เคียงกับด้วงกว่างโซ้ง (Xylotrupes gideon) ซึ่งเป็นด้วงกว่างชนิดที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทย โดยเมื่อตัวเต็มวัยจะปริตัวออกจากเปลือกดักแด้ ช่องดักแด้ในดินมักจะอยู่ในแนวตั้งเพื่อมิให้ไปกดทับปีกที่จะกางออก ซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงกว่าปีกจะแข็งและสีของลำตัวจะเข้มเหมือนตัวเต็มวัยที่โตเต็มที่ ในช่วงฤดูร้อนของประเทศญี่ปุ่น (ราวกลางเดือนมิถุนายน-กันยายน) จะตรงกับด้วงกว่างญี่ปุ่นเป็นตัวเต็มวัยพอดี บางท้องที่ เช่น ทาซากิ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 130 กิโลเมตร จากกรุงโตเกียว ถึงกับมีเทศกาลของด้วงกว่างชนิดนี้ โดยราคาซื้อขายมีตั้งแต่ 500-28,000 เยน (190-10,000 บาท) ด้วงกว่างญี่ปุ่นเป็นแมลงปีกแข็งที่เป็นนิยมอย่างมากในวัฒนธรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่นหลายประการ อาทิ อะนิเมะเรื่อง มูชิคิง ตำนานผู้พิทักษ์ป่า (Mushiking: Battle of the Beetles, 甲虫王者ムシキング) เป็นต้น และถูกอ้างอิงถึงในอีกหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งในภาษาญี่ปุ่น ด้วงกว่างญี่ปุ่นจะถูกเรียกว่า "คาบูโตะมูชิ" ซึ่งคำว่า "คาบูโตะ" (甲虫) หมายถึง หมวกเกราะอันเป็นส่วนหนึ่งของชุดเกราะญี่ปุ่นแบบโบราณ.

ใหม่!!: ยางไม้และด้วงกว่างญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

แมสติก

งแมสติก ต้นพิสตาชีโอป่า (''Pistacia lentiscus'') แมสติก (mastic) หรือ มาตะกี่ เป็นยางไม้ที่ได้จากต้นพิสตาชีโอป่า ซึ่งเป็นไม้พุ่มถึงยืนต้นขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนกคู่รูปไข่ เรียงสลับกัน ดอกออกตรงซอกใบ เป็นช่อสีแดง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างต้นกัน ผลรูปไข่กลับ มีเนื้อ ข้างในมีเมล็ดเดียว เมื่อสุกสีแดงปนส้ม พบมากในแถบบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อลำต้นของพืชชนิดนี้แตกออกจะมียางไหลออกมา เมื่อแห้งจะมีสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว โปร่งใสมันวาว และเปร.

ใหม่!!: ยางไม้และแมสติก · ดูเพิ่มเติม »

แมงคีมยีราฟ

แมงคีมยีราฟ หรือ ด้วงคีมยีราฟ หรือ ด้วงคีมหยักสองต่อ (Giraffe stag beetle) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prosopocoilus giraffa จัดอยู่ในวงศ์แมงคีม (Lucanidae) แมงคีมยีราฟจัดเป็นแมงคีมชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีจุดเด่น คือ เขี้ยวหรือขากรรไกรล่างที่ใช้เป็นอาวุธของตัวผู้ที่เรียวยาวและแลดูแข็งแรงมาก โดยอาจยาวได้ถึง 2.5-4.0 เซนติเมตร ในขณะที่ลำตัวมีความยาวทั้งหมดประมาณ 10.5 เซนติเมตรในตัวผู้ และ 7.5 เซนติเมตรในตัวเมีย ลำตัวเป็นสีน้ำตาลดำเป็นเงามัน บริเวณตรงกลางส่วนอกของขาคู่กลาง และขาคู่หลังมีหนามข้างละ 1 อัน แต่ที่ขาคู่หลังจะมีขนาดเล็กกว่า ที่ฐานของขากรรไกรล่างมีปุ่มขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ข้างละ 1 อัน และมีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ ส่วนหัวบริเวณขอบตรงกลางด้านบนจะมีปุ่มยื่นตรงไปด้านหน้า 1 คู่ ในขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามาก โดยที่ขากรรไกรในตัวผู้จะมีลักษณะแตกต่างออกไปตามช่วงวัยและขนาดลำตัว ซึ่งยิ่งเจริญเติบโตมากและมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าใด คีมหรือขากรรไกรนั้นก็จะยาวใหญ่และมีส่วนโค้งและมีปุ่มเหมือนเขี้ยวมากขึ้นด้วย แมงคีมยีราฟพบกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งของหลายประเทศในทวีปเอเชียจนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในป่าทางภาคเหนือและภาคตะวันออก (มีทั้งหมด 9 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) เป็นแมลงที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินยางไม้ตามเปลือกไม้ของต้นไม้ใหญ่ในป่า ตัวผู้มีพฤติกรรมใช้ขากรรไกรที่ยาวใหญ่นั้นต่อสู้เพื่อป้องกันตัว และสู้กับตัวผู้ตัวอื่น ๆ เพื่อแย่งตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ หรือแม้แต่สู้กับด้วงในวงศ์ Dynastinae ที่ใช้เขาเพื่อการต่อสู้ได้ด้วยเช่นกัน ในระยะที่เป็นตัวหนอน อายุการเป็นตัวหนอนของแมงคีมยีราฟจะแตกต่างออกไปตามเพศ ตัวผู้จะมีอายุราว 9 เดือน ขณะที่ตัวเมียมีอายุสั้นกว่าคือ 4-7 เดือน และตัวหนอนสามารถส่งเสียงขู่ผู้รุกรานได้ด้วย ด้วยการยกขาคู่หลังตั้งขึ้นให้ด้านข้างซึ่งเป็นแผ่นแข็งเสียดสีกับขาคู่กลางไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดการสั่นจนมีเสียงพอรับรู้ได้ สำหรับสถานะในประเทศไทย เป็นแมลงที่หาได้ยากใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยงและสตัฟฟ์เพื่อการสะสม และการทำลายป่าที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้แมงคีมยีราฟถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และเคยมีภาพปรากฏลงในสลากกินแบ่งรัฐบาลและแสตมป์ด้วยแต่ขณะนี้ได้มีความพยายามจากภาคเอกชนในการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงแล้ว ซึ่งแมงคีมยีราฟจะวางไข่ไว้ในไม้ผุเท่านั้น โดยจะไม่วางไข่ไว้ในดินเหมือนด้วงในวงศ์ Dynastinae เพราะตัวหนอนกินอาหารต่างกัน โดยจะกินไม้ผุและเห็ดราที่ติดมากับไม้นั้นด้ว.

ใหม่!!: ยางไม้และแมงคีมยีราฟ · ดูเพิ่มเติม »

ไพนีน

นีน (pinene) เป็นสารประกอบประเภทมอโนเทอร์พีนสองวงแหวน มีสูตรเคมีคือ C10H16 ไพนีนมีสองไอโซเมอร์ในธรรมชาติคือ แอลฟา-ไพนีนและบีตา-ไพนีน สารสองชนิดนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในยางไม้และน้ำมันสน.

ใหม่!!: ยางไม้และไพนีน · ดูเพิ่มเติม »

เกาลัดไทย

กาลัดไทย เป็นพืชท้องถิ่นในจีนตอนใต้ บริเวณกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ไต้หวัน จากนั้นจึงมีการแพร่กระจายไปยังอินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น รวมทั้งไทย ผลเป็นผลแห้ง แตกเปลือกแข็ง เปลือกสีแดง หุ้มเมล็ดสีดำข้างใน เนื้อในเมล็ดสีเหลือง ต้มสุกแล้วเป็นสีเหลืองสด ผลเมื่อนำไปต้มหรือคั่วก่อนจะรับประทานได้ ไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี เนื้อไม้มีเรซินมาก นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้.

ใหม่!!: ยางไม้และเกาลัดไทย · ดูเพิ่มเติม »

เมลามีน

มลามีน Melamine เป็นเบสอินทรีย์ มีสูตรทางเคมีว่า C3H6N6, และชื่อทาง IUPAC ว่า 1,3,5-triazine-2,4,6-triamine เมลามีนเป็นสารที่ละลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย เมลามีนเป็นไทรเมอร์ (หรือสารประกอบที่เกิดจากโมเลกุล 3 ตัวที่เหมือนกันแตกเป็นสามขา) ของไซยานาไมด์ (cyanamide) เช่นเดียวกันกับไซยานาไมด์ เมลามีนประกอบด้วยไนโตรเจน 66% (โดยมวล) เป็นสารที่มีคุณสมบัติหน่วงไฟเมื่ออยูในรูปของเรซินด้วยการปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาเมื่อลุกใหม้หรือถูกเผา มีการนำเอา Dicyandiamide (หรือ cyanoguanidine), ที่เป็นไดเมอร์ (สองส่วน - dimer) ของไซยานาไมด์มาใช้เป็นสารหน่วงไฟเช่นกัน เมลามีนเป็นสารในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite) ของ “ไซโลมาซีน (cyromazine) ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง เป็นสารที่เกิดขึ้นในตัวของสัตว์เลือดอุ่นที่ย่อยไซโลมาซีน มีรายงานด้วยเช่นกันว่าไซโลมาซีนเปลี่ยนเป็นเมลามีนในพื.

ใหม่!!: ยางไม้และเมลามีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Resinเรซิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »