เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มุขโค้งด้านสกัด

ดัชนี มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

สารบัญ

  1. 50 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์บริเวณร้องเพลงสวดบริเวณคริสต์ศาสนพิธีบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตชาเปลบริเวณมุขโค้งพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลพระคัมภีร์คนยากกางเขนรูธเวลล์กางเขนประดับอัญมณีกงก์มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)มหาวิหารมอนซามหาวิหารวอมส์มหาวิหารวาเวลมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์มหาวิหารนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัวมุขข้างโบสถ์วัดขนแกะศิลปะการอแล็งเฌียงสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมนอร์มันห้องเก็บศพใต้โบสถ์อาบิลาอาสนวิหารบลัวอาสนวิหารกาวายงอาสนวิหารกาออร์อาสนวิหารกูต็องส์อาสนวิหารลารอแชลอาสนวิหารลียงอาสนวิหารล็องกร์อาสนวิหารอาแฌ็งอาสนวิหารอ็องกูแลมอาสนวิหารซีมีเยอาสนวิหารนัวยงอาสนวิหารนิสอาสนวิหารแม็สอาสนวิหารแปร์ปีญ็องอาสนวิหารโบแวอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแลอาสนวิหารเซอแนซอาสนวิหารเนอแวร์ผังอาสนวิหารจรมุขคาทีดราซันซักกาเรีย เวนิสซานตามารีอาเดลเลกราซีเอ (มิลาน)ปีเอโตร กาวัลลีนีแรยอน็องโบสถ์น้อยสโกรเวญญีเทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและบริเวณกลางโบสถ์

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและบริเวณร้องเพลงสวด

บริเวณคริสต์ศาสนพิธี

ริเวณทางขวาของแขนกางเขน (สีเทา) คือบริเวณพิธี บริเวณคริสต์ศาสนพิธี (Chancel) คือบริเวณรอบแท่นบูชาเอกในบริเวณมุขตะวันออกของคริสต์ศาสนสถานซึ่งอาจจะเป็นปลายสุดของมุขโค้งด้านสกัด หลังจากการการประชุมสภาสงฆ์แห่งแลตเตอรันครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและบริเวณคริสต์ศาสนพิธี

บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต

นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ทางขวาของพระเยซู โดยมีคำจารึกว่า: "S. MINIATUS REX ERMINIE" บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต (Basilica di San Miniato al Monte) เป็นบาซิลิกาที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ทางตอนกลางของประเทศอิตาลี ตัวบาซิลิกาตั้งอยู่บนเนินที่สูงที่สุดของเมืองฟลอเรนซ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในทัสเคนี บาซิลิกาตั้งอยู่ติดกับสำนักสงฆ์ลัทธิโอลิเวทันส์ที่จะมองเห็นเมื่อขึ้นบันไดไปยังบาซิลิกา นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ หรือมินาส (Մինաս, Miniato) เดิมเป็นเจ้าชายชาวอาร์มีเนียผู้รับราชการเป็นทหารในกองทัพโรมันภายใต้จักรพรรดิเดซิอัส มินิอัสถูกประณามว่าเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาหลังจากที่ไปเป็นนักพรต และถูกนำตัวมาปรากฏต่อหน้าจักรพรรดิ ผู้กำลังตั้งค่ายอยู่หน้าประตูเมืองฟลอเรนซ์ พระจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้โยนมินิอัสให้สัตว์ป่ากินในสนามกีฬา แต่เมื่อปล่อยเสือดำเข้าไป เสือดำก็ไม่ยอมทำร้ายมินิอัส มินิอัสจึงถูกตัดหัวต่อหน้าพระจักรพรรดิ กล่าวกันว่ามินิอัสไม่ได้เสียชีวิตทันทีแต่ก้มลงยกหัวของตนขึ้นมา แล้วประคองหัวข้ามแม่น้ำอาร์โน จากนั้นก็เดินขึ้นเนินมอนส์ฟิโอเรนตินัสไปยังที่อาศัย ต่อมาก็ได้มีการสร้างสักการะสถานตรงจุดนี้ และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็มีชาเปลขึ้นแล้ว การก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต

ชาเปลบริเวณมุขโค้ง

ปลบริเวณมุขโค้ง (Absidiole, Apse chapel) เป็นชาเปลขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่บริเวณมุขโค้งด้านสกัด หรือจรมุข โดยปกติมักจะพบมากกว่าหนึ่งแห่ง โดยจำนวนของชาเปลนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของมุขโค้ง (ถ้าเป็นแบบโค้ง) และแถบกำแพง (ในกรณีเป็นเหลี่ยม).

ดู มุขโค้งด้านสกัดและชาเปลบริเวณมุขโค้ง

พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล

ระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (Château de Saint-Germain-en-Laye) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลในจังหวัดอีฟว์ลีนในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ในประเทศฝรั่งเศส ราว 19 กิโลเมตรทางตะวันตกของปารีส ในปัจจุบันพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาต.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและพระคัมภีร์คนยาก

กางเขนรูธเวลล์

กางเขนรูธเวลล์ (Ruthwell Cross) เป็นกางเขนหินของสมัยแองโกล-แซ็กซอนที่อาจจะสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อรูธเวลล์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรียของแองโกล-แซ็กซอน แต่ในปัจจุบันรูธเวลล์เป็นส่วนหนึ่งของสกอตแลนด์ กางเขนแองโกล-แซ็กซอนมีลักษณะคล้ายคลึงกับมหากางเขนในสมัยเดียวกันของไอร์แลนด์ และกางเขนทั้งสองแบบเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะเก.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและกางเขนรูธเวลล์

กางเขนประดับอัญมณี

กางเขนประดับอัญมณี (Crux gemmata) คือกางเขนที่ส่วนใหญ่สร้างในสมัยคริสเตียนยุคแรกมาจนถึงต้นยุคกลางที่เป็นกางเขนอย่างน้อยก็ด้านหน้าส่วนใหญ่จะตกแต่งด้วยอัญมณีเป็นหลัก แทนที่จะเป็นภาพวาดบนตัวกางเขน ด้านหลังมักจะเป็นลายสลักของพระเยซูตรึงกางเขนหรือรูปจากหัวข้ออื่น ตัวอย่างของงานกางเขนโลหะก็ได้แก่กางเขนจัสตินที่ 2 (คริสต์ศตวรรษที่ 6, พิพิธภัณฑ์วาติกัน), กางเขนโลแธร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 10, มหาวิหารอาเคิน), กางเขนเทวดาแห่งคาบสมุทรไอบีเรีย, กางเขนชัย และกางเขนค็อง (ราวคริสต์ทศวรรษ 1120, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแห่งไอร์แลนด์).

ดู มุขโค้งด้านสกัดและกางเขนประดับอัญมณี

กงก์

กงก์ (Conques; Concas) เป็นอำเภอของเมืองรอแดซ จังหวัดอาแวรงในแคว้นมีดี-ปีเรเน เมืองกงก์ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ใต้ของประเทศฝรั่ง.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและกงก์

มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)

มหาวิหาร (basilica) คำว่า “basilica” มาจากภาษากรีก “Stoa Basileios” ที่เดิมใช้ในการบรรยายสิ่งก่อสร้างสาธารณะในโรมโบราณ (เช่นในกรีซที่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการศาล) ที่มักจะตั้งอยู่ในจัตุรัส (Roman forum) ของเมืองโรมัน ในเมืองกรีกมหาวิหารสาธารณะเริ่มสร้างกันราวสองร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช นอกจากนั้น “มหาวิหาร” ก็ยังมีความหมายทางศาสนา ซากมหาวิหารตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ก็มีการพบมหาวิหารนีโอไพธากอเรียนที่ปอร์ตามัจโจเร (Porta Maggiore) ในปี..

ดู มุขโค้งด้านสกัดและมหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)

มหาวิหารมอนซา

อาสนวิหารนักบุญยอห์นแบปติสต์ (Duomo di San Giovanni Battista) หรือ มหาวิหารมอนซา (Duomo di Monza) เป็นคริสต์ศาสนสถานโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองมอนซาไม่ไกลจากมิลานในประเทศอิตาลี.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและมหาวิหารมอนซา

มหาวิหารวอมส์

อาสนวิหารนักบุญเปโตร วอมส์ (Dom St.; Worms Cathedral) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหารที่ตั้งอยู่ที่เมืองวอมส์ในประเทศเยอรมนี อาสนวิหารวอมส์เป็นอาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ที่สร้างระหว่างปี..

ดู มุขโค้งด้านสกัดและมหาวิหารวอมส์

มหาวิหารวาเวล

มหาวิหารวาเวล (Wawel Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า อัครอาสนมหามหาวิหารหลวงนักบุญสตานิสลาฟและนักบุญวาสลาฟบนเนินเขาวาเวล (Bazylika archikatedralna św.) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำอัครมุขมณฑลกรากุฟ ตั้งอยู่บนเนินเขาวาเวลที่เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ เป็นอาสนวิหารที่มีประวัติเก่าแก่ยืดยามมาร่วมหนึ่งพันปี และมักจะเป็นสถานที่พระมหากษัตริย์โปแลนด์ทำพิธีราชาภิเษก สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่เป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นอาสนวิหารที่สามที่สร้างขึ้นบนตำแหน่งเดียวกันนี้ อาสนวิหารแรกสร้างขึ้นและถูกทำลายในคริสต์ศตวรรษที่ 11 มหาวิหารที่สองที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถูกทำลายในเพลิงไหม้ในปี..

ดู มุขโค้งด้านสกัดและมหาวิหารวาเวล

มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

ซิลิกาซานโลเร็นโซ หรือ บาซิลิกาเซนต์ลอว์เรนซ์แห่งฟลอเรนซ์ (Basilica of San Lorenzo, Florence, Basilica di San Lorenzo) เป็นวัดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นมหาวิหารที่ตั้งอยู่กลางเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยา บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดเก่าในใจกลางเมืองฟลอเรนซ์และเป็นวัดที่ใช้ในการบรรจุศพบุคคลสำคัญๆ หลายคนของตระกูลเมดิชิตั้งแต่โคสิโม เดอ เมดิชิผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

มหาวิหารนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัว

ซิลิกาซานอันโตนิโอแห่งปาดัว (Basilica of Saint Anthony of Padua, Basilica di Sant'Antonio da Padova) เป็นคริสต์ศาสนสถาน นิกายโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นบาซิลิกา ที่ตั้งอยู่ที่เมืองปาดัวในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยา แม้ว่าจะเป็นคริสต์ศาสนสถานที่มีผู้มาเยี่ยมชมและแสวงบุญมากที่สุดแต่มิได้เป็นมหาวิหาร มหาวิหารของปาดัวเป็นอีกสิ่งก่อสร้างหนึ่ง บาซิลิกาซานอันโตนิโอรู้จักกันในท้องถิ่นว่า “il Santo”.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและมหาวิหารนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัว

มุขข้างโบสถ์

มุขข้างโบสถ์ หรือ แขนกางเขน (transept) คือเป็นบริเวณทางขวางที่ตัดกับทางเดินกลางของสิ่งก่อสร้างที่มีผังทรงกางเขนในคริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอธิค มุขข้างโบสถ์แยกทางเดินกลางจากบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่รวมทั้งมุขตะวันออก บริเวณร้องเพลงสวด ชาเปลดาวกระจาย และบริเวณสงฆ์ มุขข้างโบสถ์ตัดกับทางเดินกลางตรงจุดตัด ที่อาจจะเป็นที่ตั้งของหอสูงเช่นที่มหาวิหารซอลส์บรีหรือโดม.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและมุขข้างโบสถ์

วัดขนแกะ

วัดโฮลีทรินิตีที่ลองเมลฟอร์ดในซัฟโฟล์คเป็นตัวอย่างที่ดีของ “วัดขนแกะ” วัดขนแกะ (Wool church) คือวัดในอังกฤษที่สร้างจากทุนทรัพย์ที่ได้มาจากกิจการการค้าขายขนแกะอันรุ่งเรืองในยุคกลาง พ่อค้าที่ร่ำรวยจากกิจการที่ว่าก็แสดงออกโดยการสร้างคริสต์ศาสนสถานที่หรูหราที่แสดงถึงความมั่งคั่งที่ได้รับ วัดขนแกะส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณค็อทสวอลด์ และ อีสต์แองเกลีย วัดโฮลีทรินิตีที่ลองเมลฟอร์ดในซัฟโฟล์คถือกันว่าเป็นตัวอย่างของ “วัดขนแกะ” ที่สร้างอย่างงดงามที่สุดวัดหนึ่งในอังกฤษ ที่ส่วนใหญ่สร้างระหว่างปี..

ดู มุขโค้งด้านสกัดและวัดขนแกะ

ศิลปะการอแล็งเฌียง

ลวิส ศิลปะการอแล็งเฌียง (art carolingien) เป็นศิลปะที่มาจากจักรวรรดิแฟรงก์ในช่วงเวลาราว 120 ปี ราวระหว่าง ค.ศ. 780 จนถึง ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและศิลปะการอแล็งเฌียง

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

สถาปัตยกรรมนอร์มัน

องทางเดินกลางของมหาวิหารเดอแรมที่ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมสองข้างแม้ว่าจะมีการใช้โค้งแหลมบนเพดานเหนือช่องทางเดินกลางที่เป็นการนำทางของสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมนอร์มัน (Norman architecture) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่วิวัฒนาการโดยนอร์มันในดินแดนต่างๆ ที่ได้เข้าปกครองหรือมีอิทธิพลในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยเฉพาะในการบรรยายถึงสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอังกฤษ นอร์มันเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างปราสาท, ป้อมปราการที่รวมทั้งหอกลางแบบนอร์มัน, สำนักสงฆ์, แอบบี, คริสต์ศาสนสถาน และมหาวิหารเป็นจำนวนมากในอังกฤษ ในลักษณะการใช้โค้งกลม (โดยเฉพาะรอบหน้าต่างและประตู) และมีลักษณะหนาหนักเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่กล่าวนี้เริ่มขึ้นในนอร์ม็องดีและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเป็นที่ที่มีการวิวัฒนาการมากที่สุดและยังคงมีสิ่งก่อสร้างจากยุคนั้นที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันตระกูลโอตวิลล์ (Hauteville family) ซึ่งเป็นตระกูลนอร์มันที่ปกครองซิซิลีก็สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อีกลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์และซาราเซ็นที่ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เช่นกันหรือบางครั้งก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ซิซิลี”.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและสถาปัตยกรรมนอร์มัน

ห้องเก็บศพใต้โบสถ์

ห้องเก็บศพใต้โบสถ์ หรือ ห้องลับใต้ดิน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า crypt เป็นคำมาจากภาษาละตินว่า crypta และภาษากรีกว่า κρύπτη หรือ kryptē ซึ่งมีความหมายว่า "ซ่อนอยู่" หรือ "ส่วนตัว" หมายถึงห้องใต้ดินที่ทำจากหินที่ใช้สำหรับบรรจุหีบศพ โลงหิน หรือเรลิก โดยปกติตามโบสถ์คริสต์หรือมหาวิหารมักจะมีห้องเก็บศพฝังอยู่ข้างใต้มุขโค้ง (apse) และต่อมาภายหลังมักสร้างอยู่ข้างใต้ของบริเวณกลางโบสถ์ (nave) หรือข้างใต้บริเวณแขนกางเขน (transept) และยังพบบางโบสถ์ที่สร้างแบบยกพื้นสูงเพื่อให้ห้องเก็บศพอยู่เหนือพื้นดิน เช่น โบสถ์นักบุญไมเคิล เมืองฮิลเดสไฮม์ ประเทศเยอรมนี.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและห้องเก็บศพใต้โบสถ์

อาบิลา

อาบิลา (Ávila) เป็นเมืองแห่งหนึ่งของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอาดาคา (Adaja) ในแคว้นปกครองตนเองกัสตียาอีเลออน อาบิลาเป็นเมืองหลักของจังหวัดที่มีชื่อเดียวกันและเป็นเมืองหลักจังหวัดที่ตั้งอยู่สูงที่สุดของประเทศ กล่าวคือ ตั้งอยู่ที่ 1,131 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ด้วยเหตุนี้ในเขตเมืองจึงมีหิมะตกค่อนข้างบ่อยในฤดูหนาว ตัวเมืองมีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาบิลา

อาสนวิหารบลัว

อาสนวิหารบลัว (Cathédrale de Blois) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งบลัว (Cathédrale Saint-Louis de Blois) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบลัว ตั้งอยู่ในเขตเมืองบลัว จังหวัดลัวเรแชร์ ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญหลุยส์ อาสนวิหารแรนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารบลัว

อาสนวิหารกาวายง

อาสนวิหารกาวายง (Cathédrale de Cavaillon) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระและนักบุญเวร็องแห่งกาวายง (Cathédrale Notre-Dame-et-Saint-Véran de Cavaillon) เป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชและอดีตอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลกาวายงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 จนกระทั่งถูกยุบรวมเข้ากับอัครมุขมณฑลอาวีญงตั้งแต่ ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารกาวายง

อาสนวิหารกาออร์

อาสนวิหารกาออร์ (Cathédrale de Cahors) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งกาออร์ (Cathédrale Saint-Étienne de Cahors) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลกาออร์ ตั้งอยู่ที่เมืองกาออร์ จังหวัดล็อต แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับสถาปัตยกรรมกอทิกได้อย่างดียิ่ง อาสนวิหารแห่งนี้ยังเป็นสถานที่บรรจุเรลิกสำคัญของพระเยซู ซึ่งเรียกว่า "Sainte Coiffe" ซึ่งเป็นหมวกผ้าคลุมศีรษะเพื่อใช้แต่งพระศพพระเยซูเมื่อตอนสิ้นพระชนม์ ซึ่งเรลิกชิ้นนี้ถูกนำกลับมาจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ โดยเฌโร เดอ การ์ดายัก อาสนวิหารแห่งกาออร์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารกาออร์

อาสนวิหารกูต็องส์

อาสนวิหารกูต็องส์ (Cathédrale de Coutances) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งกูต็องส์ (Cathédrale Notre-Dame de Coutances) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายก ประจำมุขมณฑลกูต็องส์และอาวร็องช์ ตั้งอยู่ในเมืองกูต็องส์ จังหวัดม็องช์ ในแคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระแม่มารี อาสนวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 90 เมตร ซึ่งเป็นจุดสนใจที่สำคัญของตัวเมืองกูต็องส์ อีกทั้งยังสามารถมองเห็นได้จากทะเลอีกด้วย ตามตำนานกล่าวว่าสามารถมองเห็นได้จากเกาะเจอร์ซีย์ ที่อยู่ห่างไปถึง 40 กิโลเมตร เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของอาคารที่อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใหม่กว่าตามแบบกอทิก จะพบว่าด้านข้างของบริเวณกลางโบสถ์และหอสูงซึ่งขนาบทั้งสองข้างของหน้าบันหลักนั้นยังเป็นโครงสร้างแบบโรมาเนสก์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งยังเห็นได้ชัดเจนจากบริเวณชั้นบนของวิหารในเวลาเยี่ยมชม นอกจากนี้ยังประกอบด้วยยอดสูงถึงสองยอดบริเวณหน้าบันด้านหน้าวิหาร และหอรับแสง (tour-lanterne) ตรงกลางระหว่างหอสูงทั้งสอง และยังถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญของสถาปัตยกรรมกอทิกนอร์มัน (gothique normand) ซึ่งโดดเด่นด้วยเส้นสายที่ตรงและสูงชะลูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวดิ่ง อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารกูต็องส์

อาสนวิหารลารอแชล

อาสนวิหารลารอแชล (Cathédrale de La Rochelle) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งลารอแชล (Cathédrale Saint-Louise de La Rochelle) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลลารอแชลและแซ็งต์ ตั้งอยู่ที่ในเขตเมืองลารอแชล จังหวัดชาร็องต์-มารีตีม ในแคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญหลุยส์ (อดีตพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส) สืบเนื่องจากการผนวกระหว่างมุขมณฑลลารอแชล (ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารลารอแชล

อาสนวิหารลียง

อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญสเทเฟนแห่งลียง (La Primatiale Saint-Jean-Baptiste-et-Saint-Étienne) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์น (Cathédrale Saint-Jean) และ อาสนวิหารลียง (Cathédrale de Lyon) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกที่อยู่ในระดับสูงกว่าอาสนวิหารทั่วไปหรือที่เรียกว่า primatial cathedral เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลลียง โดยตามตำแหน่งแล้ว อัครมุขนายกแห่งลียงยังรั้งตำแหน่งผู้นำแห่งชาวกอลทั้งปวง (Primat des Gaules) อีกด้วย อาสนวิหารตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของเมืองลียง จังหวัดโรน แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่สองอัครทูตสำคัญ คือนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญสเทเฟน โดยแต่แรกอาสนวิหารนี้ตั้งใจสร้างเพื่ออุทิศให้แก่นักบุญสเทเฟน และให้เกียรติแก่ผู้ให้ศีลล้างบาปแก่พระองค์ด้วย นั่นคือนักบุญยอห์น จึงเป็นที่มาของชื่อทั้งสองของอาสนวิหารแห่งนี้ อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารลียง

อาสนวิหารล็องกร์

อาสนวิหารล็องกร์ (Cathédrale de Langres) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญแมมมิสแห่งล็องกร์ (Cathédrale Saint-Mammès de Langres) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกอันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลล็องกร์ ตั้งอยู่ที่เมืองล็องกร์ในจังหวัดโอต-มาร์น แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญแมมมิสแห่งไกซาเรอา มรณสักขีในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 3 ลักษณะเด่นของอาสนวิหารแห่งนี้อยู่ที่ความผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบบูร์กอญกับสถาปัตยกรรมกอทิก อาทิ เพดานแบบโค้งสัน หน้าบันหลักทิศตะวันตกซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารล็องกร์

อาสนวิหารอาแฌ็ง

อาสนวิหารอาแฌ็ง (Cathédrale d'Agen) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญกาแพรแห่งอาแฌ็ง (Cathédrale Saint-Caprais d'Agen) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลอาแฌ็ง ตั้งอยู่ที่เมืองอาแฌ็ง จังหวัดลอเตการอน แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญกาแพรแห่งอาแฌ็ง อาสนวิหารอาแฌ็งได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารอาแฌ็ง

อาสนวิหารอ็องกูแลม

อาสนวิหารอ็องกูแลม (Cathédrale d'Angoulême) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งอ็องกูแลม (Cathédrale Saint-Pierre d'Angoulême) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก ประจำมุขมณฑลอ็องกูแลม ตั้งอยู่ที่เมืองอ็องกูแลม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ อาสนวิหารอ็องกูแลมซึ่งเป็นอาสนวิหารตัวอย่างโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ได้รับการสถาปนาเป็นอาสนวิหารในปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารอ็องกูแลม

อาสนวิหารซีมีเย

อาสนวิหารซีมีเย (Cathédrale de Cimiez) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งซีมีเย (Cathédrale Sainte-Marie de Cimiez) เป็นอดีตอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกประจำอดีตมุขมณฑลซีมีเย มุขมณฑลในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 เป็นต้นมาจนกระทั่งถูกยุบรวมเข้ากับมุขมณฑลนิสเมื่อปี..

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารซีมีเย

อาสนวิหารนัวยง

อาสนวิหารนัวยง (Cathédrale de Noyon) หรือชื่อทางการว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งนัวยง (Cathédrale Notre-Dame de Noyon) ในอดีตเป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกของอดีตมุขมณฑลนัวยง ตั้งอยู่ที่เมืองนัวยงในจังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารนัวยงเดิมเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งนัวยง ต่อมาถูกยุบรวมกับมุขมณฑลโบแวตามความตกลง ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารนัวยง

อาสนวิหารนิส

อาสนวิหารนิส (Cathédrale de Nice) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเรปาราตาแห่งนิส (Cathédrale Sainte-Réparate de Nice) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำมุขนายกแห่งนิส ตั้งอยู่ที่ในเขตเมืองเก่าของนิส (Vieux Nice) จังหวัดอาลป์-มารีตีม ในแคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์และนักบุญเรปาราตา ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารนิส

อาสนวิหารแม็ส

อาสนวิหารแม็ส (Cathédrale de Metz) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งแม็ส (Cathédrale Saint Étienne de Metz) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแม็ส ตั้งอยู่ที่เมืองแม็ส จังหวัดมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสำคัญคือนักบุญสเทเฟน ห้องเก็บสมบัติของอาสนวิหารได้สะสมของมีค่ามานานนับพันปี โดยเป็นของสะสมของมุขมณฑลแม็สที่รวมถึงผ้าคลุมแท่นบูชาและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ อาสนวิหารแม็สถือเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่มีโถงทางเดินโบสถ์ที่สูงที่สุดแห่งหนี่งของโลก และยังมีชื่อเล่นว่า "โคมไฟแห่งพระผู้เป็นเจ้า" (La Lanterne du Bon Dieu) อันเนื่องมาจากมีโครงสร้างหน้าต่างที่เป็นงานกระจกสีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกJolin J.L.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารแม็ส

อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง

อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง (Cathédrale de Perpignan) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาแห่งแปร์ปีญ็อง (Cathédrale Saint-Jean-Baptiste de Perpignan; Catedral de Sant Joan Baptista de Perpinyà) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งอาสนะของมุขนายกประจำมุขมณฑลแปร์ปีญ็อง-แอลน์ ตั้งอยู่ในเขตเมืองแปร์ปีญ็อง จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้นักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหารจากการย้ายอาสนะของมุขนายกจากมุขมณฑลแอลน์ (เดิมอาสนะตั้งอยู่ที่อาสนวิหารแอลน์) มารวมอยู่ที่มุขมณฑลแปร์ปีญ็องเมื่อปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารแปร์ปีญ็อง

อาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโบแว (Cathédrale de Beauvais) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว (Cathédrale Saint-Pierre de Beauvais) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร) อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แบบสถาปัตยกรรมกอทิกแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จสูงสุดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรม โดยตัวอาคารมีเพียงแขนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 16) และบริเวณร้องเพลงสวด พร้อมทั้งมุขโค้งและชาเปลจำนวน 7 หลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทางจรมุข นอกจากนี้ยังพบโบสถ์เล็กแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกว่า "บาเซิฟวร์" (Basse Œuvre) ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดีตั้งอยู่บริเวณที่จะเป็นที่ตั้งของบริเวณกลางโบสถ์อีกด้วย อาสนวิหารโบแวได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale du Puy-en-Velay) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารแห่งเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Annonciation du Puy-en-Velay) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลเลอปุย-อ็อง-เวอแล ตั้งอยู่ที่เมืองเลอปุย-อ็อง-เวอแล จังหวัดโอต-ลัวร์ แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสาร และยังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบาซิลิกาเมื่อปีค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล

อาสนวิหารเซอแนซ

อาสนวิหารเซอแนซ (Cathédrale de Senez) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งเซอแนซ (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Senez) ในปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริช นิกายโรมันคาทอลิก ในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลเซอแนซซึ่งต่อมาได้ถูกยุบลงเป็นส่วนหนึ่งของมุขมณฑลดีญตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารเซอแนซ

อาสนวิหารเนอแวร์

อาสนวิหารเนอแวร์ (Cathédrale de Nevers) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารนักบุญไซริกัสและนักบุญจูลิตตาแห่งเนอแวร์ (Cathédrale Saint-Cyr-et-Sainte-Julitte de Nevers) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองเนอแวร์ในแคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเตในประเทศฝรั่งเศส และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งเนอแวร์ อาสนวิหารเนอแวร์อุทิศแด่นักบุญไซริกัสและจูลิตตา อาสนวิหารนี้สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 16 ประกอบด้วยมุขสองมุขทั้งด้านหน้าและหลังของตัววัด มุขหนึ่งและแขนกางเขนทางด้านตะวันตกยังคงเป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ ขณะที่อีกมุขหนึ่งทางตะวันออกและทางเดินกลางเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกของคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ทางตะวันออกไม่มีแขนกางเขน ซุ้มทางด้านใต้สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หอขนาดมหึมาที่ตกแต่งอย่างแพรวพราวสร้างเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารเนอแวร์

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและผังอาสนวิหาร

จรมุข

รมุข (Ambulatory) “Ambulatory” มาจากภาษาลาตินกลาง “Ambulatorium” ที่แปลว่าสถานที่สำหรับการเดิน จากคำว่า “ambulare” ที่แปลว่าเดิน คือบริเวณภายในสิ่งก่อสร้างที่คลุมด้วยหลังคาในระเบียงคด หรือบางครั้งก็หมายถึงทางเดินของขบวนนักแสวงบุญรอบมุขตะวันออกของคริสต์ศาสนสถานที่เป็นมหาวิหารหรือวัดขนาดใหญ่ที่อยู่หลังแท่นบูชาเอก บางครั้งรอบทางเดินครึ่งวงกลมก็อาจจมีมุขโค้งด้านสกัดก็อาจจะมีชาเปลย่อยที่กระจายออกไปจากมุข ซึ่งทำให้ผู้เดินรอบแท่นบูชาเดินได้โดยไม่ต้องรบกวนนักบวชหรือผู้เข้าร่วมพิธีที่ทำพิธีอยู่ในชาเปลย่อย จรมุขมักจะปรากฏในคริสต์ศาสนสถานขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่มีองควัตถุของนักบุญ เพื่อใช้เป็นที่สำหรับนักแสวงบุญจำนวนมากสามารถเดินเวียนมาสักการะวัตถุที่ต้องการได้.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและจรมุข

คาทีดรา

ทีดราที่มหาวิหารโวลเทอร์ราในอิตาลี คาทีดราของพระสันตะปาปาในมุขโค้งด้านสกัดของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันซึ่งเป็นมหาวิหารของกรุงโรม คาทีดรา (cathedra) หรือ อาสนะบิชอป (bishop's throne) เป็นเก้าอี้ของบิชอป เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจในการเทศนาของบิชอปในคริสตจักรคาทอลิก คริสจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และกลุ่มอังกลิคัน คริสต์ศาสนสถานซึ่งเป็นที่ตั้งของอาสนะบิชอปจึงเรียกว่า อาสนวิหาร (cathedral) คำว่า "cathedra" ปรากฏในวรรณกรรมคริสเตียนยุคแรกในวลี "cathedrae apostolorum" ซึ่งบ่งบอกถึงอำนาจที่รับมาโดยตรงจากอัครทูต.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและคาทีดรา

ซันซักกาเรีย เวนิส

ซันซักกาเรีย เวนิส (San Zaccaria) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองเวนิสในประเทศอิตาลี เป็นโบสถ์ที่อุทิศแก่นักบุญเศคาริยาห์ผู้เป็นบิดาของนักบุญยอห์นผู้ให้รับบัพติสมาและเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังศพของนักบุญเศคาริยาห์องด้วย สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบผสมระหว่างกอธิค และ ฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สร้างระหว่าง ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและซันซักกาเรีย เวนิส

ซานตามารีอาเดลเลกราซีเอ (มิลาน)

ซานตามารีอาเดลเลกราซีเอ (Santa Maria delle Grazie, "พระแม่มารีแห่งพระหรรษทาน") เป็นโบสถ์และคอนแวนต์ของคณะดอมินิกัน ตั้งอยู่ที่เมืองมิลานในประเทศอิตาลี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี..

ดู มุขโค้งด้านสกัดและซานตามารีอาเดลเลกราซีเอ (มิลาน)

ปีเอโตร กาวัลลีนี

ปียโตร คาวาลลินิ (Pietro Cavallini) (ราว ค.ศ. 1250 - ราว ค.ศ. 1330) เป็นจิตรกรศิลปะกอธิคของยุคกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมและออกแบบงานโมเสก ประวัติชีวิตของคาวาลลินิไม่เป็นที่ทราบกันเท่าใดนัก แต่ที่ทราบคือทำงานอยู่ที่กรุงโรม งานชิ้นแรกที่สำคัญของคาวาลลินิคืองานโมเสกชุดสำหรับมหาวิหารเซนต์พอลนอกกำแพงในกรุงโรมที่เป็นเรื่องราวจาก with stories from the พันธสัญญาเดิม และ พันธสัญญาใหม่ที่สร้างระหว่าง..

ดู มุขโค้งด้านสกัดและปีเอโตร กาวัลลีนี

แรยอน็อง

มหาวิหารโคโลญ (ค.ศ. 1248-ค.ศ. 1322) ที่ถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแรยอน็องที่งดงามที่สุดของยุคกลางหน้าต่างกุหลาบแบบแรยอน็องของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แรยอน็อง (Rayonnant) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและแรยอน็อง

โบสถ์น้อยสโกรเวญญี

ปลสโครเวนยี หรือ ชาเปลอารีนา (Cappella degli Scrovegni, Scrovegni Chapel หรือ Arena Chapel) เป็นชาเปลของนิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองปาดัวในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ กอธิค ฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก ชาเปลสโครเวนยีมีจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยจอตโต ดี บอนโดเนที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ.

ดู มุขโค้งด้านสกัดและโบสถ์น้อยสโกรเวญญี

เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

ทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา (Temple of Antoninus and Faustina) เป็นเทวสถาน (Roman temple) โรมันโบราณที่ตั้งอยู่ในกรุงโรมภายในบริเวณที่เรียกว่าฟอรุมโรมัน (Roman Forum) บนถนนซาครา (Via Sacra) ตรงกันข้ามกับเรเจีย (Regia) เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินาสร้างในปี..

ดู มุขโค้งด้านสกัดและเทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Apseมุขตะวันออก