โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มินอร์กา

ดัชนี มินอร์กา

มินอร์กา (Minorca), มานอร์กา (Menorca) หรือ เมนอร์กา (Menorca) เป็นเกาะในประเทศสเปน เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 2 ของหมู่เกาะแบลีแอริก ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชื่อในภาษาละตินคือ Insula Minor (หรือต่อมาคือ Minorica "เกาะน้อย") เพราะเล็กกว่าเกาะข้างคือคือ เกาะมายอร์กา มินอร์กามีประชากรราว 94,383 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2010) ตั้งอยู่ระหว่าง 39°47' to 40°00' เหนือ และ 3°52' to 4°24' ตะวันตก มีจุดสูงสุดเรียกเอลโตโรหรือมอนเตโตโร มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 358 เมตร เมืองหลักของเกาะชื่อ มาออน มีภูมิประเทศเป็นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ ชายฝั่งมีลักษณะเว้าแหว่ง มีอ่าวจำนวนมาก ภูมิประเทศทางด้านเหนือเป็นเนินเขาและแห้งแล้ง ด้านใต้เป็นที่ราบสูงดินอุดมสมบูรณ์ มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลิตเนยแข็ง รองเท้าหนัง เลี้ยงปศุสัตว์ ผลิตผลสำคัญ เช่น ธัญพืช มันฝรั่ง อัลมอนด์ แตง ทับทิม หมวดหมู่:เกาะในประเทศสเปน หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของอังกฤษ หมวดหมู่:หมู่เกาะแบลีแอริก.

9 ความสัมพันธ์: มาจอร์การาชอาณาจักรบริเตนใหญ่รายชื่ออดีตอาณานิคมของยุโรปสงครามปฏิวัติอเมริกาจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระประวัติศาสตร์อังกฤษไอแลนด์เกมส์เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือเส้นเมริเดียนที่ 4 องศาตะวันออก

มาจอร์กา

มาจอร์กา (Majorca), มัลยอร์กา (Mallorca) หรือ มายอร์กา (Mallorca) เป็นเกาะในประเทศสเปน ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแบลีแอริก เป็นเกาะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเกาะที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของสเปน (รองจากเกาะเตเนรีเฟในหมู่เกาะคะแนรี) เมืองหลวงของเกาะคือเมือง ปัลมา ที่ยังเป็นเมืองหลักของแคว้นปกครองตนเองแห่งหมู่เกาะแบลีแอริก เช่นเดียวกับเกาะอื่นในหมู่เกาะแบลีแอริกอย่างอีบีซา ฟอร์เมนเตรา และมินอร์กา ที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในวันหยุดที่ได้รับความนิยมมาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากเยอรมนี สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ ชื่อของเกาะมาจากภาษาละติน insula maior,"เกาะใหญ่กว่า" ที่ต่อมาคือ Maiorica, "(เกาะ) ที่ใหญ่กว่า" ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบกับเกาะมินอร์กา เกาะนี้เป็นเกาะที่มีชายฝั่งเว้าแหว่งและลาดลึก โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ด้านตะวันออกและด้านใต้พื้นที่เป็นที่ราบลูกคลื่น และมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก มีการผลิตบรั่นดี หมวดหมู่:เกาะในประเทศสเปน หมวดหมู่:หมู่เกาะแบลีแอริก.

ใหม่!!: มินอร์กาและมาจอร์กา · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (Kingdom of Great Britain) หรือ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) เป็นรัฐในยุโรปตะวันตก ดำรงอยู่ในช่วงค.ศ. 1707 จนถึง ค.ศ. 1801 เกิดจากการรวมกันของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ก่อนหน้านี้ราชอาณาจักรทั้งสองได้มีพระประมุขพระองค์เดียวกัน ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของอังกฤษในค.ศ. 1631 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เข้าแทนที่ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปีค.ศ. 1801 หลังจากราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าร่วมในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: มินอร์กาและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่ออดีตอาณานิคมของยุโรป

ต่อไปนี้คือรายชื่ออดีตอาณานิคมของยุโรป.

ใหม่!!: มินอร์กาและรายชื่ออดีตอาณานิคมของยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติอเมริกา

งครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War; ค.ศ. 1775–1783) หรือเรียก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา (American War of Independence) หรือสงครามปฏิวัติในสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือซึ่งหลังสงครามเปิดฉากประกาศอิสรภาพเป็นสหรัฐอเมริกา สงครามนี้มีจุดกำเนิดจากการต่อต้านภาษีบางชนิดและพระราชบัญญัติซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากอ้างว่าไม่ชอบธรรมและมิชอบด้วยกฎหมาย การประท้วงของแพทริอัต (Patriot) ลุกลามเป็นการคว่ำบาตร และในวันที่ 16 ธันวาคม 1773 พวกเขาทำลายการส่งสินค้าชาในท่าบอสตัน รัฐบาลบริเตนตอบโต้โดยปิดท่าบอสตัน แล้วผ่านมาตรการโดยมุ่งลงโทษอาณานิคมที่เป็นกบฏ แพทริอัตสนองโดยซัฟฟอล์กรีซอฟส์ (Suffolk Resolves) คือ การสถาปนารัฐบาลเงาซึ่งกำจัดการควบคุมมณฑลจากคราวน์นอกบอสตัน สิบสองอาณานิคมตั้งสภาภาคพื้นทวีปเพื่อประสานงานการต่อต้าน และสถาปนาคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ซึ่งยึดอำนาจชะงัด ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้งจอร์จ วอชิงตันให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับการทัพบอสตัน ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1774 สภาลงมติสนับสนุนเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม เซอร์วิลเลียม ฮาว (William Howe) เริ่มการตีโต้ตอบซึ่งมุ่งยึดนครนิวยอร์กคืน ฮาวชนะวอชิงตันด้วยอุบาย ทำให้ความมั่นใจของฝ่ายอเมริกาแตะจุดต่ำสุด วอชิงตันสามารถยึดกองทัพเฮชชัน (Hessian) ได้ที่เทรนตัน และขับบริเตนออกจากนิวเจอร์ซีย์ ฟื้นความมั่นใจของฝ่ายอเมริกา ในปี 1777 บริเตนส่งกองทัพใหม่โดยมีจอห์น เบอร์กอยน์ (John Burgoyne) เป็นผู้บังคับบัญชาให้ยกลงใต้จากแคนาดาและแยกอาณานิคมนิวอิงแลนด์ ทว่า ฮาวไม่สนับสนุนเบอร์กอยน์ แต่นำกองทัพของเขาในอีกการทัพหนึ่งต่อกรุงฟิลาเดลเฟีย เมืองหลวงฝ่ายปฏิวัติ เบอร์กอยน์หมดกำลังบำรุง ถูกล้อมและยอมจำนนในเดือนตุลาคม 1777 ความปราชัยของบริเตนที่ซาราโทกา (Saratoga) มีผลใหญ่หลวง ฝรั่งเศสและสเปนได้จัดหาอาวุธ เครื่องกระสุนและกำลังบำรุงอื่นให้ชาวอาณานิคมอย่างลับ ๆ ตั้งแต่เดือนเมษายน 1776 บัดนี้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเป็นทางการในปี 1778 โดยลงนามพันธมิตรทางทหารซึ่งรับรองเอกราชของสหรัฐ บริเตนตัดสินใจยอมเสียอาณานิคมทางเหนือ และกู้อดีตอาณานิคมทางใต้ กำลังบริเตนโดยมีชาลส์ คอร์นวอลลิส (Charles Cornwallis) เป็นผู้บังคับบัญชายึดจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนา ยึดกองทัพอเมริกาได้ที่ชาลส์ตัน เซาท์แคโรไลนา ยุทธศาสตร์นี้อาศัยการก่อการกำเริบของลอยัลลิสต์ (Loyalist) ติดอาวุธจำนวนมาก แต่มีผู้มาเข้าร่วมน้อยเกินไป ในปี 1779 สเปนเข้าร่วมสงครามเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาตระกูล (Pacte de Famille) โดยเจตนายึดยิบรอลตาร์และอาณานิคมบริติชในแคริบเบียน บริเตนประกาศสงครามต่อสาธารณรัฐดัตช์ในปี 1780 ในปี 1781 หลังปราชัยอย่างเด็ดขาดสองครั้งที่คิงส์เมาน์เทนและคาวเพนส์ คอร์นวอลลิสถอยไปเวอร์จิเนียโดยตั้งใจอพยพ ชัยทางเรืออย่างเด็ดขาดของฝรั่งเศสในเดือนกันยายนตัดทางหนีของบริเตน กองทัพร่วมฝรั่งเศส-อเมริกาโดยมีเคาต์รอช็องโบ (Count Rochambeau) และวอชิงตันเป็นผู้นำล้อมกองทัพบริติชที่ยอร์กทาวน์ เมื่อเห็นว่าไม่มีการช่วยเหลือและสถานการณ์ป้องกันไม่อยู่ คอร์นวอลลิสยอมจำนนในเดือนตุลาคม และทหารถูกจับเป็นเชลยประมาณ 8,000 คน วิกในบริเตนคัดค้านฝ่ายข้างมากทอรีนิยมสงครามในรัฐสภาอย่างยาวนาน ทว่า ความปราชัยที่ยอร์กทาวน์ทำให้วิกเป็นฝ่ายเหนือกว่า ต้นปี 1782 พวกเขาลงมติยุติปฏิบัติการบุกทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่สงครามกับฝรั่งเศสและสเปนยังดำเนินต่อ โดยบริเตนชนะทั้งสองประเทศระหว่างการล้อมใหญ่ยิบรอลตาร์ นอกเหนือจากนี้ พวกเขาชนะฝรั่งเศสทางเรือหลายครั้งทโดยที่เด็ดขาดที่สุด คือ ยุทธนาวีที่ซานต์ (Battle of the Saintes) ในแคริบเบียนปีเดียวกัน วันที่ 3 กันยายน 1783 คู่สงครามลงนามสนธิสัญญากรุงปารีสซึ่งยุติสงคราม บริเตนตกลงรับรองเอกราชของสหรัฐเหนือดินแดนโดยมีขอบเขตคร่าว ๆ อยู่ที่แคนาดาทางเหนือ ฟลอริดาทางใต้และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก แม้การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของฝรั่งเศสมีผลชี้ขาดต่อสาเหตุของเอกราชอเมริกา แต่ได้ดินแดนเพียงเล็กน้อย และมีปัญหาหนี้สินมหาศาล สเปนได้อาณานิคมฟลอริดาของบริเตนและเกาะมินอร์กา แต่ไม่สามารถชิงยิบรอลตาร์คืนซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ฝ่ายดัตช์มีแต่เสีย โดยถูกบังคับให้ยกดินแดนบางส่วนให้บริต.

ใหม่!!: มินอร์กาและสงครามปฏิวัติอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ

อห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ (John Churchill, 1st Duke of Marlborough) เป็นแม่ทัพและรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้รับราชการในพระเจ้าแผ่นดิน 5 พระองค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 18 เขาเป็นแม่ทัพคนสำคัญในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ซึ่งทำให้อังกฤษได้เข้าครอบครองช่องแคบยิบรอลตาร์และเกาะมินอร์กา จอห์น เชอร์ชิลเริ่มขีวิตการทำงานด้วยการเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของราชวงศ์สจวตในราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ความเก่งกล้าสามารถในสนามรบทำให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากเจ้าชายเจมส์ ดยุกแห่งยอร์ค เมื่อเจ้าชายเจมส์ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1685 เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เชอร์ชิลได้มีบทบาทสำคัญในการพ่ายแพ้ของการกบฏที่นำโดยเจมส์ สกอตต์ ดยุกแห่งมอนม็อธที่ 1 แต่สามปีต่อมาจอห์น เชอร์ชิลได้ละทิ้งพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ผู้เปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกไปเข้าข้างพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ผู้เป็นโปรแตสแตนท์ ในพระราชพิธีราชาภิเษกจอห์น เชอร์ชิลได้รับแต่งตั้งให้เป็น “เอิร์ลแห่งมาร์ลบะระ” และได้รับราชการมีผลงานดีเด่นในราชอาณาจักรไอร์แลนด์ และฟลานเดอร์สระหว่างสงครามเก้าปี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างลอร์ดแห่งมาร์ลบะระและภรรยาซาราห์ กับพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ตลอดรัชสมัยของทั้งสองพระองค์ไม่ค่อยดีนัก หลังจากที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนสมรู้ร่วมคิดกับอดีตพระเจ้าแผ่นดิน ลอร์ดมาร์ลบะระก็ถูกปลดจากตำแหน่งทุกตำแหน่งทั้งการทหารและพลเรือนและถูกจำคุกที่หอคอยลอนดอนอยู่ชั่วระยะหนึ่ง หลังจากพระราชินีนาถแมรีที่ 2 สวรรคตและอังกฤษเผชิญกับสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรป ลอร์ดมาร์ลบะระจึงได้กลับมาเป็นคนโปรดอีกครั้งหนึ่ง ลอร์ดมาร์ลบะระมีอิทธิพลในราชสำนักมากที่สุดในรัชการของพระราชินีนาถแอนน์ผู้เป็นสหายสนิทของซาราห์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็น “ผู้บัญชาการทหารสูงสุด” (Captain-General) ของกองทัพอังกฤษ แต่ต่อมาได้รับเลื่อนขึ้นเป็นดยุก ดยุกแห่งมาร์ลบะระมีชื่อเสียงจากการต่อสู้ในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนในยุทธการเบล็นไฮม์ (Battle of Blenheim) ยุทธการรามิลีส์ (Battle of Ramillies) และ ยุทธการอูเดนาร์ด (Battle of Oudenarde) แต่เมื่อซาราห์ไม่ได้กลายเป็นสหายสนิทของพระราชินีนาถแอนน์และพรรคทอรี จึงต้องมีการสงบศึกกับฝรั่งเศสซึ่งทำให้ดยุกแห่งมาร์ลบะระหมดอำนาจลง ดยุกแห่งมาร์ลบะระถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกงจึงถูกปลดจากตำแหน่งทุกตำแหน่งทั้งการทหารและพลเรือนอีกครั้งหนี่ง แต่ก็มารุ่งเรืองขึ้นอีกเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 1 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1714 แต่สุขภาพของดยุกได้เริ่มเสื่อมโทรมลง หลังจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองเกิดขึ้นสองสามครั้ง ในที่สุดก็เสียชีวิตที่บ้านวินด์เซอร์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1722.

ใหม่!!: มินอร์กาและจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อังกฤษ

อังกฤษ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสำริด เช่น สโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี..

ใหม่!!: มินอร์กาและประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ไอแลนด์เกมส์

กีฬาไอแลนด์เกมส์ (Island Games) เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระหว่างดินแดนที่เป็นเกาะ ซึ่งตามปกติจะมีการจัดแข่งขันทุกสองปี โดยคณะกรรมการไอแลนด์เกมส์ระหว่างประเทศ (International Island Games Committee หรือ IIA).

ใหม่!!: มินอร์กาและไอแลนด์เกมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือ

้นขนานที่ 40 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 40 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง 1 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 9 ชั่วโมง 20 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: มินอร์กาและเส้นขนานที่ 40 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 4 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 4 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้น ลองจิจูด ที่ลากจาก ขั้วโลกเหนือ ผ่าน มหาสมุทรอาร์กติก,  มหาสมุทรแอตแลนติก, ทวีปยุโรป, ทวีปแอฟริกา,  มหาสมุทรใต้, และ ทวีปแอนตาร์กติกา เข้าสู่ ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 4 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 176 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: มินอร์กาและเส้นเมริเดียนที่ 4 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MenorcaMinorcaเมนอร์กา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »