สารบัญ
7 ความสัมพันธ์: พฤติกรรมผู้บริโภคมานุษยวิทยาวัฒนธรรมมานุษยวิทยาสื่อวัฒนธรรมอาชญาวิทยาฮิว ลอรีเจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์
พฤติกรรมผู้บริโภค
ติกรรมผู้บริโภค คือการศึกษาปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์การ และกระบวนการที่พวกเขาเหล่านั้นใช้เลือกสรร รักษา และกำจัด สิ่งที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ ประสบการณ์ หรือแนวคิด เพื่อสนองความต้องการและผลกระทบที่กระบวนการเหล่านี้มีต่อผู้บริโภคและสังคม พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นการผสมผสานจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์ เพื่อพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการตัดสินใจของผู้ซื้อ ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคล พฤติกรรมผู้บริโภคศึกษาลักษณะเฉพาะของผู้บริโภคปัจเจกชน อาทิ ลักษณะทางประชากรศาสตร์และตัวแปรเชิงพฤติกรรม เพื่อพยายามทำความเข้าใจความต้องการของประชาชน พฤติกรรมผู้บริโภคโดยทั่วไปก็ยังพยายามประเมินสิ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคโดยกลุ่มบุคคลเช่นครอบครัว มิตรสหาย กลุ่มอ้างอิง และสังคมแวดล้อมด้วย การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคมีรากฐานมาจากพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ซึ่งแสดงบทบาทที่แตกต่างกันสามบทบาทได้แก่ ผู้ใช้ ผู้จ่าย และผู้ซื้อ ผลการวิจัยได้แสดงว่าพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นยากที่จะพยากรณ์ แม้กระทั่งโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นเอง การตลาดความสัมพันธ์คือสิ่งหนึ่งที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลสำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพราะมันมีจุดสนใจที่โดดเด่นในการรื้อฟื้นความหมายที่แท้จริงของการตลาด ด้วยการยอมรับความสำคัญของลูกค้าหรือผู้ซื้อ การรักษาผู้บริโภค การจัดการความสัมพันธ์ต่อผู้บริโภค การปรับตามปัจเจกบุคคล การปรับตามผู้บริโภค และการตลาดหนึ่งต่อหนึ่ง ก็เป็นสิ่งที่ได้ให้ความสำคัญมากขึ้น การทำหน้าที่เชิงสังคมสามารถจัดประเภทเป็นทางเลือกของสังคมและการทำหน้าที่สวัสดิการ พฤติกรรมผู้บริโภคมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคจะทำให้สามารถสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคและความสามารถในการค้นหาทางแก้ไข พฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสังคมได้ถูกต้องและสอดคล้องกับความสามารถในการตอบสนองของธุรกิจมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญจะช่วยในการพัฒนาตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคที่ฉลาด นอกจากจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อสินค้าบริการแล้ว จะต้องรอบรู้เท่าทันกลวิธี เทคนิค และกลฉ้อฉลต่าง ๆ ที่ใช้ในการขายสินค้าและบริการ รวมถึงสามารถปกป้องสิทธิที่ตนเองพึงได้รับด้วย การเรียนรู้การเป็น ผู้บริโภคที่ฉลาด จะทำให้ทราบและสามารถลำดับความสำคัญของทางเลือกต่าง ๆ ในการใช้เงิน ตลอดจนรู้จักหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อและใช้สินค้าและบริการ.
ดู มานุษยวิทยาสังคมและพฤติกรรมผู้บริโภค
มานุษยวิทยาวัฒนธรรม
มานุษยวิทยาวัฒนธรรม นับเป็นหนึ่งในสี่สาขาของมานุษยวิทยาซึ่งพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกา พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริม "วัฒนธรรม" ให้มีความหมายเชิงมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาความมากหลายในหมู่มนุษย์และการตรวจสอบหาเศรษฐกิจของโลกและกระบวนการทางการเมืองที่มีต่อวัฒนธรรมที่เป็นจริง แนวคิดเชิงมานุษยวิทยาของ "วัฒนธรรม" ในบางส่วน สะท้อนให้เห็นถึงปฏิกิริยาที่มีต่อสัมพันธสารหรือวาทกรรมที่ขึ้นอยู่กับสิ่งตรงกันข้ามระหว่าง "วัฒนธรรม" และ "ธรรมชาติ" ตามที่มนุษย์ได้อยู่อาศัยใน "สภาวะธรรมชาติ" นักมานุษยวิทยาได้โต้เถียงว่าวัฒนธรรมคือ "ธรรมชาติของมนุษย์" และผู้คนทั้งหลายมีความสามารถที่จะจำแนกประสบการณ์ ถอดรหัสการจำแนกในเชิงสัญลักษณ์ และสอนความเป็นนามธรรมนั้นให้แก่ผู้อื่น โดยที่มนุษย์ได้วัฒนธรรมมาด้วยการเรียนรู้ (ในกระบวนการของการทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมและการสัมพันธ์กันในสังคม) ผู้คนอยู่อาศัยในที่แตกต่างกัน แตกต่างด้วยสิ่งล้อมรอบ จึงอาจทำให้มีการพัฒนาวัฒนธรรมออกมาต่างกัน นักมานุษยวิทยายังได้ชี้ประเด็นว่าด้วยด้วยวัฒนธรรมนั่นเองที่ทำให้ผู้คนสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้สืบมาทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้คนที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันจึงมักมีวัฒนธรรมที่ต่างกันด้วย ทฤษฎีทางมานุษยวิทยาส่วนมากมีต้นตอมาจากความซาบซึ้งและความสนใจในความตึงเครียดระหว่างความเป็นท้องถิ่นและความเป็นระดับโลก เส้นขนานของมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเกิดขึ้นในสหรัฐฯ กล่าวคือ วิชามานุษยวิทยาสังคม ซึ่งใช้ "ความเป็นสังคม" เป็นแนวคิดกลางและที่เน้นจุดรวมไปที่การศึกษาสถานภาพทางสังคมและบทบาท กลุ่ม สถาบันและความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้วพัฒนามาเป็นสาขาวิชาการในสหราชอาณาจักร ความหมายของขอบข่ายของ "มานุษยวิทยาสังคม-วัฒนธรรม" ทำให้เกิดความแตกต่างในประเพณีของทั้งมานุษยวิทยาวัฒนธรรมและมานุษยวิทยาสังคม.
ดู มานุษยวิทยาสังคมและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม
มานุษยวิทยาสื่อ
มานุษยวิทยาสื่อ หรือ มานุษยวิทยาสื่อมวลชน เป็นสาขาวิชาในมานุษยวิทยาสังคมหรือมานุษยวิทยาวัฒนธรรมที่เน้นใช้วิธีการทางชาติพันธุ์นิพนธ์ในการศึกษาผู้ผลิต ผู้ชม และแง่มุมทางสังคมวัฒนธรรมอื่นๆ ของสื่อมวลชน.
ดู มานุษยวิทยาสังคมและมานุษยวิทยาสื่อ
วัฒนธรรม
วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.
ดู มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม
อาชญาวิทยา
อาชญาวิทยา (อังกฤษ: criminology) เป็นสาขาวิชาที่มุ่งศึกษาถึงการอธิบายสาเหตุของการกระทำความผิดของอาชญากร (ผู้กระทำผิด) ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลักๆ คือ การกระทำความผิดที่เกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ, การกระทำความผิดที่เกิดจากปัจจัยทางจิต และการกระทำความผิดที่เกิดจากปัจจัยทางสังคม อาชญาวิทยาเป็นสาขาสหวิทยาการของพฤติกรรมศาสตร์ที่ดึงเอางานวิจัยจากสังคมวิทยา จิตวิทยา จิตเวชศาสตร์ มานุษยวิทยาสังคม และนิติศาสตร.
ดู มานุษยวิทยาสังคมและอาชญาวิทยา
ฮิว ลอรี
มส์ ฮิว แคลัม ลอรี, โอบีอี (James Hugh Calum Laurie; เกิด 11 มิถุนายน ค.ศ. 1959) เป็นนักเขียน นักพากย์ นักแสดงตลก นักแสดง และนักดนตรีชาวอังกฤษ มีชื่อเสียงจากแสดงบทตลกคู่หูกับสตีเฟน ฟราย ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึง 1990 ในชื่อการแสดงว่า "ฟรายกับลอรี" จากนั้นได้แสดงและพากย์เสียงในภาพยนตร์ครอบครัวหลายเรื่อง เช่น บทตัวประกอบใน 101 ดัลเมเชียน (1996) ของดิสนีย์ และรับบทพ่อใน สจวต ลิตเติล ของโคลัมเบียพิกเจอส์ทั้งสามภาค ในปี 1999, 2002 และ 2006 ลอรีเป็นชาวอังกฤษเชื้อสายสกอต บิดาเป็นนายแพทย์ และนักกีฬาพายเรือโอลิมปิก ส่วนตัวเขาจบจากโรงเรียนอีตัน และปริญญาด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ หลังจากเริ่มต้นชีวิตการแสดงจากบทบาทนักแสดงตลก ฮิว ลอรี เริ่มมีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา จากบทนำในซีรีส์ของฟ็อกซ์บรอดแคสติง เรื่อง เฮาส์ เอ็ม.ดี.
ดู มานุษยวิทยาสังคมและฮิว ลอรี
เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์
ซอร์ เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์ (James George Frazer; 1 มกราคม ค.ศ. 1854 – 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) เป็นนักมานุษยวิทยาสังคมชาวสกอตแลนด์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวิชามานุษยวิทยา และริเริ่มการศึกษาปรัมปราวิทยาและศาสนาเปรียบเที.
ดู มานุษยวิทยาสังคมและเจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ นักมานุษยวิทยาสังคม