เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มัจฉานุ

ดัชนี มัจฉานุ

มัจฉานุ เป็นลูกของหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา เนื่องจากเป็นลูกของหนุมาน จึงมีร่างกายเป็นลิง แต่มีหางเป็นปลาเช่นเดียวกับนางสุพรรณมัจฉา แต่เมื่อนางสุพรรณมัจฉาได้คลอดมัจฉานุด้วยการสำรอกออกมาแล้ว เกรงว่าทศกัณฐ์จะรู้ว่าเป็นลูกตน จึงได้นำมัจฉานุไปทิ้งไว้ที่หาดริมทะเล หลังจากนั้น ไมยราพณ์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบาดาล ได้เดินทางมาพบและเก็บไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งภายหลัง หนุมานที่ได้ติดตามไมยราพณ์ ซึ่งลักพาตัวพระรามมาไว้ที่เมืองบาดาล จึงได้พบกับมัจฉานุ ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าด่านสระบัวอยู่ ทั้งสองจึงได้ต่อสู้กัน แต่ต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถเอาชนะกันได้เสียที จึงได้ถามมัจฉานุว่าเป็นลูกใครพ่อแม่ชื่ออะไร เมื่อได้ยินคำตอบของมัจฉานุ หนุมานก็ดีใจมากเมื่อได้พบลูกของตน เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2 และศึกกรุงมลิวัน จึงได้รับแต่งตั้งเป็น พญาหนุราช ครองกรุงมลิวันแทนท้าวจักรวรรดิ และได้นางรัตนามาลี ธิดาท้าวจักรวรรดิเป็นมเหสี หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์ หมวดหมู่:ตัวละครที่เป็นลิง.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: รามเกียรติ์หนุมานทศกัณฐ์นางสุพรรณมัจฉาโขนไมยราพ

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ดู มัจฉานุและรามเกียรติ์

หนุมาน

1.

ดู มัจฉานุและหนุมาน

ทศกัณฐ์

ระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ทศกัณฐ์ทรงศร ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท ทศกัณฐ์ (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละคร ราวณะ ในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณ.

ดู มัจฉานุและทศกัณฐ์

นางสุพรรณมัจฉา

นางสุพรรณมัจฉา (ความหมาย: "ปลาทอง") เป็นตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ อันเป็นธิดาของทศกัณฑ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน ทหารเอกของพระราม อันเป็นตัวเอกของวรรณคดีเรื่องดังกล่าว นางปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อครั้งที่พระรามให้หนุมานถมมหาสมุทรข้ามไปยังกรุงลงกา ทศกัณฑ์จึงให้นางสุพรรณมัจฉาและบริวารที่เป็นปลาลอบขนหินถมทะเลดังกล่าวไปทิ้ง หนุมานสงสัยจึงดำลงไปใต้ท้องทะเลจึงพบนางสุพรรณมัจฉา ภายหลังทั้งสองได้ร่วมรักกันและมีบุตรคือ มัจฉานุ ที่ตัวเป็นลิงมีหางเป็นปลา เช่นเดียวกับนางสีดา ที่มีบิดาเป็นยักษ์ แต่ก็มีรูปโฉมที่สวยงาม แม้นางสุพรรณมัจฉาจะเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่กล่าวขานถึงรูปลักษณ์ที่งดงามที่ปรากฏตามจิตรกรรมฝาผนัง จนเป็นหนึ่งในนางในวรรณคดีที่มีชื่อเสียงนางหนึ่ง ทั้งนี้นางสุพรรณมัจฉาปรากฏอยู่ในรามายณะของภูมิภาคอุษาคเนย์บางประเทศเท่านั้น.

ดู มัจฉานุและนางสุพรรณมัจฉา

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท.

ดู มัจฉานุและโขน

ไมยราพ

มยราพ เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พญายักษ์เจ้าแห่งเมืองบาดาล กายสีม่วงอ่อน มงกุฏยอดกระหนก ปากขบ นัยน์ตาจระเข้ มีเวทมนตร์สะกดทัพ และเครื่องสรรพยาเป่ากล้องล่องหนเป็นอาวุธ ในต้นฉบับภาษาสันสกฤตชื่อว่า อหิรภัณ อหิรภณะ ไมยราพเป็นยักษ์ที่มีนิสัยดุร้ายเป็นอย่างมาก.

ดู มัจฉานุและไมยราพ