โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ดัชนี มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ปกติคือป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อและโรคบางชนิด ทำให้ลิมโฟซัยต์ทำหน้าที่ผิดปกติไป ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติอาจแบ่งตัวได้เร็วกว่าเซลล์ปกติหรืออาจมีอายุยืนกว่าปกติ ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติเหล่านี้อาจอยู่เป็นก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไขกระดูก ในเลือด หรือในอวัยวะอื่นได้.

19 ความสัมพันธ์: ภูมิคุ้มกันบกพร่องมะเร็งตับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินมะเร็งโลหิตวิทยายิ่งพันธ์ มนะสิการรอเฌ วาดีมราโมนส์ลักษณ์ อภิชาติตับโตประทุมพร วัชรเสถียรโรคฮิสทิโอไซต์เซลล์ลางเกอร์ฮานส์โจอี ราโมนไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ไข้เรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์เอชไอวีเคมีบำบัดเนื้องอกICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency หรือ immune deficiency) ในทางการแพทย์ถือว่า เป็นภาวะที่ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อลดลงหรือขาดไป ซึ่งส่วนมากพบเป็นแบบทุติยภูมิ หรือเกิดขึ้นภายหลัง (acquired หรือ secondary) แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะนี้มาตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ (primary immunodeficiency) ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดการต่อต้านอวัยวะปลูกถ่ายเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันมากเกินจนต่อต้านร่างกายตนเอง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสติดเชื้อจากการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection) เพิ่มนอกเหนือไปจากการติดเชื้อทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทุกคน.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและภูมิคุ้มกันบกพร่อง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งตับ

มะเร็งตับ คือมะเร็งที่อยู่ในตับ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งตับ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin's lymphoma) หรือ โรคฮอดจ์กิน (Hodgkin's disease) เป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดหนึ่งที่ได้รับการอธิบายโดย Thomas Hodgkin ในปี พ.ศ. 2375 มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มีลักษณะทางคลินิคคือจะแพร่กระจายจากต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปยังต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปเรื่อยๆ และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายในที่สุด ทางพยาธิวิทยาจะพบว่าโรคนี้มี Reed-Sternberg cell อยู่ โรค Hodking'sมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี้เป็นโรคมะเร็งชนิดแรกที่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายรังสี ต่อมาก็เป็นมะเร็งชนิดแรกที่ได้รับการรักษาด้วย combination chemotherapy อีกด้วย อัตราการรักษาอยู่ที่ประมาณ 93% ทำให้โรคนี้เป็นโรคมะเร็งที่มีโอกาสรักษาหายได้มากที่สุดชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งโลหิตวิทยา

มะเร็งโลหิตวิทยาหรือมะเร็งเม็ดเลือดเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับเซลล์ในเลือด ไขกระดูก หรือต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเหล่านี้เกี่ยวข้องกันผ่านระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นมะเร็งที่เกิดกับเซลล์ในอวัยวะหนึ่งๆ มักส่งผลถึงอวัยวะอื่นพร้อมๆ กันด้วย เช่นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มักแพร่กระจายไปยังไขกระดูก และทำให้มีเซลล์มะเร็งในเลือดด้วย เป็นต้น การสับเปลี่ยนของโครโมโซมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของมะเร็งโลหิตวิทยา ต่างจากมะเร็งอื่นๆ ที่พบสาเหตุนี้ไม่บ่อย ทำให้มะเร็งโลหิตวิทยาหลายชนิดมีแนวทางการดูแลรักษาที่แตกต่างออกไปจากมะเร็งอื่นๆ หมวดหมู่:มะเร็งระบบโลหิตวิทยา.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งโลหิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ยิ่งพันธ์ มนะสิการ

นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและยิ่งพันธ์ มนะสิการ · ดูเพิ่มเติม »

รอเฌ วาดีม

รอเฌ วาดีม (Roger Vadim) เป็นผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้าง นักเขียนบทภาพยนตร์ และนักแสดงชาวฝรั่งเศส เชื้อสายเบลารุส เป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Et Dieu… créa la femme (And God Created Woman) ภาพยนตร์ที่สร้างชื่อให้กับบรีฌิต บาร์โด ในปี 1956 Le vice et la vertu (Vice and Virtue) ภาพยนตร์เรื่องแรกของกาทรีน เดอเนิฟว์ ในปี..

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและรอเฌ วาดีม · ดูเพิ่มเติม »

ราโมนส์

อะราโมนส์ (The Ramones) เป็นวงพังก์ร็อก ก่อตั้งขึ้นในฟอเรสต์ฮิลล์ นครนิวยอร์ก ราโมนส์มักได้รับคำกล่าวอ้างว่าเป็นวงพังก์วงแรก จากการออกสตูดิโออัลบั้ม ในชื่อเดียวกับวง ราโมนส์ ในปี..

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและราโมนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณ์ อภิชาติ

ลักษณ์ อภิชาติ (9 ตุลาคม พ.ศ. 2498-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547) อดีตนักแสดงผู้ล่วงลับ มีชื่อจริงว่า ลักษณ์ กุลศิริวุฒิชัย เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม..

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและลักษณ์ อภิชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ตับโต

ตับโต (hepatomegaly) เป็นความผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่ตับมีขนาดโตกว่าปกติ เป็นอาการแสดงที่มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น โรคติดเชื้อ เนื้องอกของตับ หรือโรคเมตาบอลิกต่างๆ เป็นต้น บางครั้งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยปัญหาว่าพบก้อนในท้อง อาจพบดีซ่านร่วมด้วยในบางสาเหต.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและตับโต · ดูเพิ่มเติม »

ประทุมพร วัชรเสถียร

รองศาสตราจารย์ ประทุมพร วัชรเสถียร (สกุลเดิม: เหล่าวานิช; 27 กันยายน พ.ศ. 2486 — 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553) ชื่อเล่น ตุ้ง เป็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองและนโยบายต่างประเทศแถบยุโรป, นักเขียน, นักจัดรายการวิทยุ และพิธีกรรายการโทรทัศน์ ตลอดจนเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร..ประทุมพร เป็นรัฐศาสตรบัณฑิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 14 จากนั้น ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐ ได้ป็นมหาบัณฑิตด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนด้านครอบครัว ประทุมพรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ และได้สมรสกับธีระ วัชรเสถียร สามีนับถือนิกายโรมันคาทอลิก มีบุตรชายด้วยกันคือพลธร วัชรเสถียร ร..ประทุมพร เป็นที่รู้จักมากในบทบาทนักเขียน และสื่อมวลชน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ร่วมลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร ด้วย ถึงแก่กรรมเมื่อเวลา 04.10 น. ของวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและประทุมพร วัชรเสถียร · ดูเพิ่มเติม »

โรคฮิสทิโอไซต์เซลล์ลางเกอร์ฮานส์

โรคฮิสทิโอไซต์เซลล์ลางเกอร์ฮานส์ (Langerhans cell histiocytosis, LCH) เป็นโรคหายากอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีเซลล์ลางเกอร์ฮานส์เจริญมากผิดปกติอยู่โคลนหนึ่ง เซลล์นี้ปกติจะอยู่ในไขกระดูก เมื่อเป็นโรคแล้วจะสามารถออกมาเจริญภายนอกและแทรกเข้าไปเจริญอยู่ในผิวหนังหรือต่อมน้ำเหลืองได้ โรคนี้แสดงอาการได้หลายแบบ ตั้งแต่เป็นก้อนรอยโรคที่กระดูกเพียงตำแหน่งเดียว หรือแสดงอาการออกหลายๆ ระบบก็ได้ โรคนี้อยู่ในกลุ่มของโรคที่เรียกว่าฮิสติโอไซโตซิส หรือโรคฮิสติโอไซต์ ซึ่งมีการเจริญผิดปกติของฮิสติโอไซต์ (ชื่อเดิมของเซลล์เดนไดรต์ที่ถูกกระตุ้นแล้ว และแมโครฟาจ) โรคนี้มีความสัมพันธ์กับโรคเม็ดเลือดขาวเจริญผิดปกติโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น หมวดหมู่:ความผิดปกติทางผิวหนังที่สัมพันธ์กับโมโนไซต์และแมโครฟาจ หมวดหมู่:ฮีสติโอไซโตซิส หมวดหมู่:โรคหายาก.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและโรคฮิสทิโอไซต์เซลล์ลางเกอร์ฮานส์ · ดูเพิ่มเติม »

โจอี ราโมน

ฟฟรี โรส ไฮแมน (Jeffrey Ross Hyman) (เกิด 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 - 15 เมษายน ค.ศ. 2001) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "โจอี ราโมน" (Joey Ramone) เป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงและนักร้องชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักจากการเป็นนักร้องนำวงพังก์ร็อก เดอะราโมนส์ ซึ่งเขายังถือเป็นผู้รวมก่อตั้งวงนี้อีกด้วย ด้วยภาพลักษณ?ต่าง ๆ ทั้ง เสียงร้องแบบเทเนอร์ และการแสดงออกบนเวทีต่าง ๆ ทำให้เขากลายเป็นไอคอนของวัฒนธรรมยุคใหม่ เขาเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อวันที่ 15 เมษายน..

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและโจอี ราโมน · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์

วรัสเอ็ปสไตน์-บาร์หรืออีบีวี (Epstein-Barr virus, EBV) หรือ ไวรัสเฮอร์ปีสในมนุษย์ 4 หรือเอชเอชวี-4 (human herpesvirus 4, HHV-4) เป็นไวรัสเฮอร์ปีสในมนุษย์ชนิดหนึ่งจากทั้งหมดแปดชนิด ในแฟมิลีของไวรัสเฮอร์ปีส และเป็นไวรัสที่พบบ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในมนุษย์อีกด้วย อีบีวีทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่สำคัญและเป็นที่รู้จัก เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส นอกจากนั้นยังทำให้เกิดมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดเบอร์กิตต์ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งคอหอยส่วนจมูก และภาวะบางอย่างที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี เช่น ลิวโคเพลเกียชนิดมีขน หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาทกลาง นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางการแพทย์ที่สนับสนุนว่าอีบีวีเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิต้านตนเองบางชนิด เช่น ผิวหนังกับกล้ามเนื้อหลายมัดอักเสบ ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง ข้ออักเสบรูมาตอยด์ กลุ่มอาการเชอเกร็น และโรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส เชื่อกันว่ามีผู้ป่วยมะเร็งที่มีสาเหตุจากการติดเชืออีบีวีอยู่ประมาณ 200,000 คนทั่วโลก.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

เรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์

รื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์ (Madoff investment Scandal) เกิดเป็นคดีกลฉ้อฉลหุ้นและหลักทรัพย์ใหญ่ที่ค้นพบเมื่อปลายปี 2551 ในเดือนธันวาคมปีนั้น เบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ อดีตประธานแนสแด็กและผู้ก่อตั้งบริษัทวอลล์สตรีต บริษัท หลักทรัพย์ลงทุนเบอร์นาร์ด แอล.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและเรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เคมีบำบัด

มีบำบัด (chemotherapy) หรือ คีโม (chemo) เป็นวิธีรักษามะเร็งประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ยาต้านมะเร็งชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดมาประกอบกับเป็นสูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐาน เคมีบำบัดอาจให้โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษามะเร็งให้หาย หรือให้เพื่อยืดชีวิตและบรรเทาอาการก็ได้ (เรียกว่า เคมีบำบัดแบบประคับประคอง) ในปัจจุบันคำว่าเคมีบำบัดถูกใช้เมื่อหมายถึงการรักษาด้วยยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ด้วยวิธียับยั้งการแบ่งเซลล์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่นับรวมยาที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกอื่น เช่น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนโมเลกุลหรือยีน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผ่านฮอร์โมน (เช่น เอสโตรเจน สำหรับมะเร็งเต้านม หรือ แอนโดรเจน สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก) ก็จะถูกเรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการส่งสัญญาณผ่านตัวรับ เช่น ผ่านตัวรับไทโรซีนไคเนส ก็จะถูกเรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาแบบเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรือรักษาแบบมุ่งเป้า ก็ตาม ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย กล่าวคือเมื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายแล้วยาจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถส่งไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งได้ทุกที่ที่มีเลือดไปถึง หรือก็คือทั่วร่างกายนั่นเอง การรักษาแบบทั่วร่างนี้บางครั้งนิยมใช้ร่วมกับการรักษาแบบเฉพาะที่ เช่น การรักษาด้วยรังสี การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยความร้อน เป็นต้น ยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิมเป็นยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ หมายถึงไปรบกวนหรือยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์ (ไมโทซิส) แต่เซลล์มะเร็งซึ่งมีหลายชนิดนั้นก็ตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าเคมีบำบัดเป็นยาที่ทำลายหรือทำร้ายเซลล์ ซึ่งอาจทำให้เซลล์ตายลงผ่านกระบวนการอะพอพโทซิส ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่เซลล์ปกติที่มีการแบ่งเซลล์บ่อยครั้งนั้นถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง เซลล์เหล่านี้ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และเซลล์รากผม เป็นต้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบบ่อยของเคมีบำบัด ได้แก่ การกดไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย และทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำตามมา เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ และผมร่วง เนื่องจากผลต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันนี้เอง ทำให้บางครั้งยาเคมีบำบัดเหล่านี้มีที่ใช้ในโรคอื่นที่เกิดจากการที่เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปหรือทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลูปัสอิริทีมาโทซัสทั่วร่าง มัลติเพิลสเคลอโรซิส โรคหลอดเลือดอักเสบต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและเคมีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lymphoma

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »