โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาภารตะ

ดัชนี มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

84 ความสัมพันธ์: ชวาหะร์ลาล เนห์รูพระพฤหัสบดีพระพายพระพิรุณพระพิฆเนศพระกฤษณะพระยายุทธิษเฐียรพระลักษมณ์พระรามพระวิษณุพระศิวะ (ละครโทรทัศน์)พระศุกร์พระอัศวินพระจันทร์พระนลคําหลวงพระนางกุนตีพระนางมาทรีพระนางสัตยวดีพระนางเทราปตีพระแม่ภูมีพระแม่คงคาพระโคตมพุทธเจ้ากรรณะกฤษณาสอนน้องคำฉันท์กฤปาจารย์กัลมาษบาทการเดินทางข้ามเวลาภาษาพรัชภาษามาลายาลัมภาษามณีปุระพิษณุปุระภควัทคีตามหากาพย์มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531)มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)มหาภารตะ (แก้ความกำกวม)ยุธิษฐิระรัฐหรยาณาราชวงศ์ปาณฑพราชวงศ์เการพราชา รวิ วรรมาฤๅษีวยาสฤๅษีนารทมุนีลายวงกตวรรณคดีกัมพูชาวรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วิเทหะศกุนิศัมภลาสัญชัยสารถีสงครามทุ่งกุรุเกษตรหัสตินาปุระ...หิฑิมพะอรชุนอรชุน (แก้ความกำกวม)อักเษาหิณีอัศวัตถามาอัคระอังคะอัปสรอาทิบรรพอาณาจักรในอินเดียโบราณอุทยานประวัติศาสตร์พิมายจักรพรรดิศิวาจีจิตรกรรมสีน้ำจินตนิมิตธฤษฏัทยุมนะทุรโยธน์ทุหศาสันครุฑฆโฎตกัจปรศุรามประวัติศาสตร์รัฐชัมมูและกัษมีระประวัติศาสตร์รัฐอัสสัมประวัติศาสตร์รัฐอานธรประเทศประวัติศาสตร์อินเดียประวัติศาสนาพุทธนาคนางหิฑิมพีนางอุตตรา (มหาภารตะ)นางโมหิณีแบล็กบักแฟนพันธุ์แท้ 2014เพอร์โซนา 4เจ้าหญิงอัมพาเขาไกรลาส ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

ชวาหะร์ลาล เนห์รู

วาหะร์ลาล เนห์รู (जवाहरलाल नेहरू ชวาหรลาล เนหรู; Jawaharlal Nehru; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 – 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1964) รัฐบุรุษของอินเดีย และนายกรัฐมนตรีคนแรก หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 17 ปี ตั้งแต..

ใหม่!!: มหาภารตะและชวาหะร์ลาล เนห์รู · ดูเพิ่มเติม »

พระพฤหัสบดี

ระพฤหัสบดี (เทวนาครี: बृहस्पति พฤหสฺปดี) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเหลืองส้ม แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีสีวรกายส้มแดง ทรงมฤค (กวาง) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย (เทวาคุรุ) จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดีเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลดังเช่นนิสัยแห่งพระฤษี นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพฤหัสบดี หรือมีพระพฤหัสบดีสถิตร่วมกับลัคนา มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ เมตตาปรานีต่อผู้อื่น ในมหาภารตะ พระพฤหัสบดีเป็นบุตรของพระอินทร์ เป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ เนื่องจากถูกพระจันทร์แยงชิงชายา คือ นางตาราไปครองเป็นชายาของตัวเอง แต่ท้ายสุดพระพฤหัสบดีก็ได้นางตารากลับไป ในโหราศาสตร์ไทย พระพฤหัสบดีถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๕ (เลขห้าไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีก็คือ ปางสมาธิ เมื่อเทียบกับความเชื่อของชาวกรีกและโรมันแล้ว พระพฤหัสบดี คือ ซุส หรือ จูปิเตอร.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

พระพาย

ระพาย (เทวนาครี: वायु; "วายุ") เป็นเทพเจ้าแห่งลมและพายุ รวมถึงท้องฟ้า ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพแห่งธรรมชาติ เช่นเดียวกับพระพิรุณ (ฝน), พระอัคนี (ไฟ), พระแม่คงคา (น้ำ), พระแม่ธรณี (พื้นดิน) พระพายเป็นบุตรของพระกัศยปเทพบิดร และนางทิติ มีหน้าที่ให้ลมแก่สามโลก ในวรรณคดีมหาภารตะ พระพายเป็น บิดาของภีมะ และในวรรณคดีรามเกียรติ์พระพายเป็นบิดาของ หนุมานและยังเป็นปู่ของมัจฉานุกับอสูรผัด ตามคำภีร์วิษณุปุราณะว่า พระพายเป็นกษัตริย์แห่งคนธรรพ์ สำหรับรูปร่างลักษณะของพระพาย มีแตกต่าง หลากหลายออกไป ในคัมภีร์ไตรเทพระบุว่า พระพาย มีกายสีขาวลักษณะงดงามยิ่งนัก ทรงสัตว์พาหนะจำพวกแอนทิโลปหรือกวาง บางปกรณัมก็ว่าทรงเสือสีน้ำเงิน นอกจากนี้แล้ว พระพายยังถือเป็นเทพประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) โดยคำว่า "พายัพ" เป็นภาษาสันสกฤต อ่านว่า "วายวฺย" เมื่อถอดความแล้วจะหมายถึง "ทิศของวายุ".

ใหม่!!: มหาภารตะและพระพาย · ดูเพิ่มเติม »

พระพิรุณ

ระพิรุณ หรือ พระวิรุณ หรือ พระวรุณ (वरुण) เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นโลกบาลทิศประจิม (ทิศตะวันตก) มีผิวสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศและอาโภค ทรงจระเข้เป็นพาหนะ (หรือนาค หรือมกร) ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของพระสุริยะ เป็นลูกนางอทิติ เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม พระพิรุณยอมรู้ว่าผู้ใดทำอะไร ย่อมรู้ว่าผู้ใดกะพริบตากี่ครั้ง ใครทำบาป เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์ ในพระเวทเรียก "เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป" ภายหลังได้ฉายาว่า "สินธุปติ" แปลว่า "เจ้าน้ำทั่วไป" ในมหาภารตะ พระพิรุณเป็นบุตรพระฤๅษีกรรทม พรหมบุตร พระพิรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระพิรุณ · ดูเพิ่มเติม »

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

ใหม่!!: มหาภารตะและพระพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

พระกฤษณะ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระกฤษณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระยายุทธิษเฐียร

ระยายุทธิษฐิระ หรือ พระยายุทธิษเฐียร ทรงเป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัยในปี พ.ศ. 2011 จนกระทั่งอาณาจักรล้านนาเสียดินแดนอาณาจักรสุโขทัยแก่อาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ. 2017 นอกจากนี้ พระเจ้าติโลกราชยังทรงแต่งตั้งให้พระยายุทธิษฐิระ เป็นเจ้าเมืองพะเยาและดูแลหัวเมืองล้านนาตะวันออกตอนล่าง จนถูกปลดในปี พ.ศ. 2022.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระยายุทธิษเฐียร · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมณ์พระราม

นักแสดงสวมหัวโขนฝ่ายอสูรพงศ์จากเรื่องพระลักษมณ์พระราม พระลักษมณ์พระราม (ພະລັກພະລາມ, อักขรวิธีเดิม: ພຣະລັກພຣະຣາມ), พระรามชาดก (ພຣະຣາມຊາດົກ) หรือ รามเกียรติ์ (ລາມມະກຽນ, อักขรวิธีเดิม: ຣາມມະກຽນ) เป็นมหากาพย์ลาวที่ดัดแปลงมาจาก รามายณะ ของวาลมีกิ มีความใกล้เคียงกับ ฮิกายัตเซอรีรามา (Hikayat Seri Rama.) อันเป็นรามายณะฉบับมลายู มหากาพย์นี้เคยสูญหายไปพร้อมกับศาสนาฮินดู แต่ภายหลังได้กลับมาอีกครั้งในรูปแบบชาดกของพระพุทธศาสนา ซึ่งเคยแพร่หลายและเป็นที่นิยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระลักษมณ์พระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ (ละครโทรทัศน์)

ระศิวะ (Om Namah Shivay) เป็นละครโทรทัศน์อินเดีย ออกอากาศทางช่อง Zee TV ในอินเดีย ต่อมาสหมงคลฟิล์มได้ซื้อลิขสิทธิ์ แล้วก็นำมาออกอากาศทางช่อง Happy Home TV และ มงคลแชนแนล ในประเทศไทย โดยมีทีมพากย์พันธมิตรให้เสียงพากย์ภาษาไทย นำแสดงโดย ซามาร์ เจ ซิงห์ ยาโชดัน รานา กายาตรี ชัสตรี ซันเจ ชามาร์ อมิต พาโชรี รีน่า กาปูร์ สุนิล นาการ์ ฯลฯ.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระศิวะ (ละครโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

พระศุกร์

ระศุกร์ (เทวนาครี: शुक्र ศุกฺร) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระศุกร์ถูกสร้างขึ้นมาจากคาวี (วัว) ๒๑ ตัว (บางตำรากล่าวว่าสร้างจากเทพยาธร-ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีฟ้าอ่อน แล้วเสกได้เป็นพระศุกร์ มีสีวรกายฟ้า ทรงคาวีเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๒ (ส ห ฬ อ) พระศุกร์จัดเป็นครูของพวกยักษ์ ซึ่งตรงข้ามกับพระพฤหัสบดีที่เป็นครูของเทพ พระศุกร์ เป็นบุตรของพระฤๅษีภฤคุ กับ นางชยาติ และเป็นสาวกเอกของพระศิวะ วิมานอยู่ทางศิวโลก ด้านทิศเหนือ พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๖ (เลขหกไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคาวี ๒๑ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือปางรำพึง ในมหาภารตะ พระศุกร์เป็นศัตรูกับท้าวยยาติ ลูกเขยของพระศุกร์ คือท้าวยยาตินั้น เห็นพระศุกร์ เป็นเพียงแค่ฤๅษีคนหนึ่ง จึงได้พูดจาสบประมาท ดูถูกพระศุกร์ และแล้ว ฤๅษีนารทมุนี ได้นำความไปฟ้องพระศุกร์ พระศุกร์โกรธมากจึงสาปท้าวยยาติให้กลายเป็นคนหลังค่อม และลูกหลานต้องฆ่ากันตายและต้องมีตระกูลหนึ่งต้องสูญพันธุ์ไม่มีผู้สืบสกุล จนทำให้เกิด มหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ๑๘ วัน ก็คือปาณฑพ และ เการพ และตระกูลที่สูญพันธุ์ไร้ผู้สืบสกุลก็คือสกุลเการพ ในเวลาต่อมา เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระศุกร์เทียบได้กับอะโฟร์ไดตีของเทพปกรณัมกรีก และวีนัสของเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัศวิน

ระอัศวิน (Ashvins, สันสกฤต: अश्विन) เป็นเทพเจ้าตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู พระอัศวินเป็นเทพเจ้าฝาแฝดที่มีศีรษะเป็นม้า และมีร่างกายเป็นมนุษย์ องค์หนึ่งมีพระนามว่า นาสัตยอัศวิน (ความกรุณา) อีกองค์หนึ่งมีพระนามว่า ทัศรอัศวิน (ความรู้แจ้ง) เทียบได้กับเทพเจ้าตามเทพปกรณัมกรีก เช่น โฟบอส และ ดีมอส, ฮิปนอส และ ทานาทอส, แคสเตอร์ และ พอลลักซ์ เป็นต้น พระอัศวินเป็นพระโอรสของพระอาทิตย์ กับนางสัญญา นางสัญญาต้องการจะหนีพระอาทิตย์ไปบวชอยู่ในป่า จึงแปลงร่างเป็นม้าเพศเมีย แต่พระอาทิตย์ก็ยังแปลงร่างเป็นม้าเพศผู้ไปอยู่ด้วยจนเกิดเป็นพระอัศวินขึ้นมา พระอัศวิน เป็นเทพที่ประทานนำทรัพย์ต่าง ๆ มาให้มนุษย์ และยังปกป้องมนุษย์จากภัยอันตรายต่าง ๆ จนถึงโรคภัยไข้เจ็บ เพราะพระอัศวินยังมีหน้าที่เป็นแพทย์สวรรค์ด้วย พระอัศวิน ยังเป็นเทพแห่งแสงสว่าง ทั้งคู่จะขับรถม้านำหน้าราชรถของพระอาทิตย์มาก่อนเวลารุ่งสาง พระอัศวินได้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในคัมภีร์ฤคเวท ซึ่งในคัมภีร์นั้นมีการกล่าวถึงพระนามของพระอัศวินถึง 400 ครั้ง ในมหากาพย์รามายณะ ทวิวิท และ แมนทะ ทหารวานร ของพระรามเป็นบุตรของพระอัศวินทั้งคู่ ในมหากาพย์มหาภารตะ นางมาทรี ชายาของท้าวปาณฑุได้ขอโอรสจากเทพเจ้าทั้งหลาย โดยที่พระนางมีลูกกับพระอัศวินสองคน คือ นกุล (เกิดจากพระนาสัตยอัศวิน) และ สหเทพ (เกิดจากพระทัศรอัศวิน).

ใหม่!!: มหาภารตะและพระอัศวิน · ดูเพิ่มเติม »

พระจันทร์

ระจันทร์ (เทวนาครี: चंद्र จํทฺร หรือ चन्द्र จนฺทฺร หมายถึง "ส่องแสงสว่าง") เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งอันมีที่มาจากเทพปกรณัมฮินดูในอินเดีย ในคติไทย พระจันทร์ถูกสร้างขึ้นมาจากเทวธิดา (นางฟ้า) ๑๕ องค์ บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล แล้วเสกได้เป็นพระจันทร์ มีสีวรกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก และแสดงถึงอักษรวรรค กะ (ก ข ค ฅ ฆ ง) พระจันทร์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางนุ่มนวลอ่อนโยน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันจันทร์ หรือมีพระจันทร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร (แต่อาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก) ตามนิทานชาติเวร พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี ในโหราศาสตร์ไทย พระจันทร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๒ (เลขสองไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากนางฟ้า ๑๕ องค์ จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ก็คือ ปางห้ามสมุทร เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระจันทร์เทียบได้กับอาร์เทมีสในเทพปกรณัมกรีก และไดอานาในเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนลคําหลวง

ระนลคําหลวง เป็นพระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระนลเป็นนิทานแทรกอยู่ในมหาภารตะ ซึ่งรจนาโดยฤาษีกฤษณไทวปายน หรือ ฤาษีวยาส มีชื่อเรื่องว่า "นโลปาขยานัม" ซึ่งเซอร์โมเนียร์ โมเนียร์ วิลเลียมส์ แปลความจากต้นฉบับโศลกภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ฉบับภาษาอังกฤษของเซอร์โมเนียร์ โมเนียร์ วิลเลียมส์นี้ พระราชนิพนธ์เป็นวรรณกรรมคำหลวง ประกอบด้วยคำประพันธ์หลายชนิด ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่องพระนลคำหลวงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กันยายน..

ใหม่!!: มหาภารตะและพระนลคําหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พระนางกุนตี

พระนางกุนตี มีชื่อเดิมว่า "ปฤถา" เป็นธิดาในท้าวศูระเสน กษัตริย์แห่งกรุงมถุรา มีพี่ชายนามว่า "วาสุเทพ" ซึ่งเป็นบิดาของ"พระกฤษณะ" ดังนั้นพระกฤษณะจึงมีศักดิ์เป็นหลานชายของพระนางนั่นเอง กาลต่อมาท้าวกุนติโภช ซึ่งเป็นพระญาติสนิทกับท้าวศูระเสนได้ขอพระนางไปเลี้ยงเป็นพระธิดาบุญธรรม เนื่องจากไม่มีโอรสธิดา ท้าวศูระเสนจึงมอบให้ด้วยความยินดี เมื่อมาอยู่กับท้าวกุนติโภชจึงได้นามใหม่ว่า "กุนตี" อยู่มาวันหนึ่งมหาฤๅษีทุรวาสได้เดินทางมายังเมืองของท้าวกุนติโภช ซึ่งท้าวกุนติโภชได้มอบหมายให้พระธิดากุนตีคอยปรนนิบัติรับใช้จนมหาฤๅษีพอใจ จึงให้พรเป็นมนต์สำหรับเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะมหาฤๅษีทุรวาสทราบด้วยญาณว่า ในอนาคตพระธิดากุนตีต้องเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะไม่อาจมีบุตรกับสวามีของนางได้นั่นเอง แต่ด้วยความคึกคะนองของนางที่อยากทดสอบมนต์ของมหาฤๅษีว่าจะศักดิ์สิทธิ์เพียงใด จึงลองเชิญพระสุริยเทพดู พระสุริยะเทพก็ปรากฏกายต่อหน้านาง แต่ด้วยความที่นางไร้เดียงสาจึงไม่ต้องการมีบุตร แต่ด้วยมนต์นั้นพระสุริยะเทพไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ จึงประทานบุตรให้แก่นางโดยที่นางไม่เสียพรหมจรรย์ เมื่อนางคลอดลูกแล้ว ด้วยความอายกลัวคนอื่นจะครหาว่ามีบุตรก่อนจะแต่งงาน นางจึงนำบุตรน้อยใส่กล่องแล้วลอยไปในแม่น้ำคงคา ซึ่งต่อมาบุตรคนนี้ก็คือ "กรรณะ" พี่ชายคนโตของเหล่าปาณฑพ แต่อยู่ฝ่ายเการพและมีบทบาทอย่างมากในสงครามมหาภารตะนั่นเอง ต่อมาท้าวกุนติโภชได้จัดพิธีสยุมพรให้แก่พระธิดากุนตีกับท้าวปาณฑุแห่งกรุงหัสตินาปุระ และต่อมาไม่นานท้าวปาณฑุก็มีชายาอีกองค์หนึ่ง นามว่า "พระนางมาทรี" ในตอนแรกพระนางกุนตียังไม่ยอมรับในพระนางมาทรีเท่าไหร่ แต่เมื่อได้สนทนากันเห็นว่านางเป็นคนดีจึงยอมรับและรักนางเหมือนน้องสาวคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งท้าวปาณฑุได้ออกไปล่าสัตว์ เห็นกวางสองตัวกำลังเสพสังวาสกัน จึงแผลงศรไปโดนกวางทั้งสองตัวเข้า ซึ่งกวางทั้งสองเป็นพราหมณ์และพราหมณีแปลงร่างมา ก่อนทั้งสองจะสิ้นใจได้สาปว่า หากท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์ที่จะอภิรมย์สมสู่กับชายาตนเมื่อใด จงสิ้นชีวิตเมื่อนั้น ท้าวปาณฑุเกรงในคำสาปนี้จึงสละราชสมบัติให้ท้าวธฤตราษฎร์ขึ้นครองแทน แล้วไปบำเพ็ญศีลในป่า ซึ่งพระนางกุนตีและพระนางมาทรีได้ติดตามไปด้วย และในวันหนึ่งท้าวปาณฑุปรารถนาจะมีโอรส พระนางกุนตีจึงบอกเรื่องมนต์เชิญเทพเจ้ามาประทานบุตร ท้าวปาณฑุจึงขอให้พระนางกุนตีเชิญ "พระธรรมราช" (พระยม) "พระวายุ" และ"พระอินทร์" มาประทานบุตรให้ ซึ่งก็ได้บุตรชายคือ "ยุธิษฐิระ""ภีมะหรือภีมเสน" และ"อรชุน" ตามลำดับ ฝ่ายพระนางมาทรีปรารถนาจะมีโอรสบ้างจึงอ้อนวอนให้พระนางกุนตีสอนมนต์ให้แก่นาง พระนางกุนตีก็ไม่ขัดข้อง พระนางมาทรีจึงเชิญ "พระอัศวิน" โอรสฝาแฝดของพระสุริยะเทพมาประทานโอรสให้ ก็ได้โอรสแฝดนามว่า "นกุล" กับ "สหเทพ" รวมกันเป็นพี่น้อง "ปาณฑพ" นั่นเอง วันหนึ่งท้าวปาณฑุกับพระนางมาทรีไปหาฟืนและอาหารในป่า ท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์รักเข้าจึงจะสมสู่กับพระนางมาทรี แต่ในขณะกำลังซบบนพระถันของพระนางมาทรี ท้าวปาณฑุก็สิ้นใจตายในทันทีตามคำสาป พระนางมาทรีทำใจไม่ได้จึงตามท้าวปาณฑุไปในกองไฟเผาศพ แต่ก่อนไปพระนางได้ฝากฝังนกุลกับสหเทพให้กับพระนางกุนตีคอยดูแลด้วย ซึ่งต่อมาพระนางกุนตีกับโอรสทั้ง 5 ได้กลับไปยังกรุงหัสตินาปุระอีกครั้ง มีอยู่คราวหนึ่งพระนางกุนตีกับพี่น้องปาณฑพได้รับคำเชิญให้ไปประทับยังเมืองวาราณาวัต ซึ่งทุรโยธน์กับลุงนามศกุนิ ได้วางแผนให้ ปุโรจัน ไปสร้างพระราชวังที่ประทับให้กับพี่น้องปาณฑพซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อเพลิงอย่างดี เมื่อเหล่าปาณฑพกับพระนางกุนตีนอนหลับ ปุโรจันก็วางเพลิง แต่โชคดีที่มหามนตรีวิฑูรทราบเรื่องก่อน จึงเตรียมทางหนีไว้ให้ ทั้งพระนางกุนตีและพี่น้องปาณฑพจึงรอดจากการวางเพลิงไปได้ ส่วนปุโรจันนั้นตายในกองเพลิงนั้นเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระนางกุนตี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมาทรี

มาทรี เป็นน้องขนิษฐาของราชาศัลยะ แห่งแคว้นมัทระ และเป็นชายาคนรองของท้าวปาณฑุ โดยมเหสีเอก คือ พระนางกุนตี นั่นเอง เมื่อคราวที่ปาณฑุเสด็จประพาสป่าและยิงกวางสองผัวเมียซึ่งเป็นพราหมณ์แปลงกายมาร่วมประเวณีกัน ก่อนตายพรามหณ์กวางก็ได้สาปแช่งท้าวปาณฑุ ว่าหากเกิดพิศวาสอย่างร่วมประเวณีก็จงตายทันที ปาณฑุสลดใจจึงขอสละราชสมบัติขอลาบวช ซึ่งมเหสีทั้งสองขอตามไปด้วย ระหว่างอยู่ในป่า กุนตีได้ร่ายมนตร์ที่ได้รับจากฤๅษีทุรวาส เชิญเทพเจ้ามาประทานโอรสถึง 3 พระองค์ และสอนมนตร์ดังกล่าวให้มาทรี ซึ่งนางได้เชิญพระอัศวินฝาแฝดมาประทานโอรสแฝดแก่นาง คือ นกุล และ สหเทพ จากนั้นไม่นานปาณฑุเกิดอารมณ์พิศวาสอยากร่วมรักกับมาทรี เป็นเหตุให้ปาณฑุสิ้นใจตายตามคำสาป มาทรีคิดว่าอาจเป็นตราบาปจึงเข้ากองไฟตายตามสวามีในพิธีเผาศพด้วย หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระนางมาทรี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางสัตยวดี

ท้าวศานตนุและนางสัตยวดี, ผลงานภาพวาดของ ราชา รวิ วรรมา พระนางสัตยวดี เป็นตัวละครในมหาภารตะ เป็นลูกของกษัตริย์พระองค์หนึ่งกับนางอัปสรซึ่งถูกสาปให้เป็นปลากับ วันหนึ่งชาวประมงได้จับนางปลาออกมาผ่าท้อง เนื่องจากท้องโตผิดปกติ เมื่อผ่าออกมาดูปรากฏว่าเป็นเด็กผู้หญิง ซึ่งก็คือ พระนางสัตยวดี คนนี้นี่เอง ชาวประมงจึงเลี้ยงไว้ด้วยความสงสาร ในวัยเด็ก สัตยวดี มีกลิ่นตัวเป็นกลิ่นคาวปลาแรงมาก เพราะอาศัยอยู่ในท้องปลาเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีชายใดหมายปอง แต่เมื่อฤๅษีตนหนึ่งผ่านมาชื่อว่า ฤๅษีปราศร ก็ถูกใจนางสัตยวดีมากเพราะเป็นคนสวยและจริง ๆ แล้วเป็นคนวรรณะกษัตริย์ ก็ให้พรโดยให้กลิ่นตัวของนางหายไป และกลายเป็นกลิ่นหอมของดอกไม้มาแทน จากนั้นฤๅษีปราศรกับนางสัตยวดีก็มีความสัมพันธ์กันและมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ ฤๅษีวยาส ซึ่งเป็นคนสำคัญในเรื่องมหาภารตะ เพราะเป็นปู่โดยตรงของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ และจะออกมาคลี่คลายปัญหาเป็นพัก ๆ ให้กับฝ่ายต่าง ๆ เมื่อนางสัตยวดีโตขึ้น พระราชาศานตนุก็มาเจอกับนางเข้าและถูกใจมาก แต่พ่อของนางขอไว้ว่าลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ ท้าวศานตนุไม่ตกลงในทันทีเพราะเห็นแก่ภีษมะ ลูกของพระองค์กับพระแม่คงคา แต่ผู้ให้สัญญานี้คือ ภีษมะ นั่นเอง พระนางสัตยวดีเมื่อแต่งงานกับพระราชาศานตนุก็มีพระโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ ซึ่งถือเป็นน้อยชายต่างมารดาของท้าวภีษมะ ๒ คน กล่าวได้ว่าท้าวศานตนุมีผู้สืบเชื้อสายโดยตรง ๑๐ พระองค์ แต่ ๗ คนแรก พระแม่คงคาได้นำไปทิ้งลงสู่แม่น้ำ ท้าวภีษมะก็สาบานต่อฟ้าดินอย่างเคร่งครัดไว้ว่าจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใด จิตรางคทะก็ถูกคนธรรพ์ชื่อเหมือนกันท้ารบและถูกฆ่าตายในวัยเยาว์ ส่วนวิจิตรวีรยะแม้จะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงอัมพิกาและเจ้าหญิงอัมพาลิกาแล้ว แต่ก็ยังไม่มีพระโอรสสืบต่อพระราชบัลลังก์แม้แต่คนเดียว พระนางสัตยวดีเกรงว่าตนจะเป็นคนบาปที่ทำให้ราชวงศ์กุรุต้องสิ้นสุด จึงให้ฤๅษีวยาส ลูกนอกสมรสมาทำพิธีนิโยค (รับภรรยาของญาติที่เป็นหม้ายมาเป็นภรรยาเพื่อสืบเชื้อสายของวงศ์ตระกูลต่อไป) ทำให้ลูกของฤๅษีวยาสกับเจ้าหญิงอัมพิกาชื่อ ธฤตราษฎร์ (ตาบอดตั้งแต่เกิด แต่มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นพระบิดาของฝ่ายเการพ), เจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาสชื่อ ปาณฑุ (มีสีผิวซีด สุขภาพไม่แข็งแรง แต่เป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่และเป็นพระบิดาของปาณฑพทั้งห้าด้วย), นางกำนัลกับฤๅษีวยาสชื่อ วิทูร (ครบถ้วนสมบูรณ์ดี เป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรม) หลังจากที่พระราชาปาณฑุสิ้นพระชนม์ ฤๅษีวยาสก็แนะนำให้พระนางสัตยวดีไปบำเพ็ญเพียรช่วงสุดท้ายของชีวิตในป่า จะได้ไม่ต้องมารับรู้เรื่องที่หลาน ๆ เหลน ๆ จะมาฆ่าฟันกัน พระนางสัตยวดีเห็นดีด้วยจึงทำตามคำแนะนำของฤๅษีวยาส และออกป่าไปพร้อมกับพระนางอัมพิกาและพระนางอัมพาลิกาและในเรื่องก็ไม่ได้พูดถึงอีก หมวดหมู่:นางในวรรณคดี หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระนางสัตยวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเทราปตี

ระนางเทราปที (द्रौपदी) (อ่านว่า ทะเรา-ปะ-ที พยางค์หน้าออกเสียง/อะ/ กึ่งมาตรา) เป็นบุตรของท้าวทรุปัทและเป็นน้องสาวของธฤษฏัทยุมนะ มีต้นกำเนิดมาจากกองไฟยัญญะ ที่ฤๅษีได้ทำพิธีขึ้นมา เนื่องจากท้าวทรุปัทมีความแค้นโทรณาจารย์ที่ได้ให้ลูกศิษย์คือ อรชุน มาแก้แค้นและแพ้สงครามแก่อรชุน จึงแค้นใจตนเองว่าเหตุใดจึงไม่มีบุตรที่เก่งกาจดังเช่นอรชุน จึงให้ฤๅษีกระทำพิธีขอบุตรชายที่รบและเก่งในการทำสงครามและบุตรสาวที่รูปงามเพื่อที่จะมาเป็นภรรยาของอรชุนในภายภาคหน้า ต่อมาท้าวทรุปัทได้ให้ทำพิธีสยุมพรแก่พระนางเทราปที ปรากฏว่าอรชุนได้รับเลือกเป็นสามี แต่ต่อมาอรชุนได้ยกพระนางเทราปทีแก่เหล่าพี่น้องได้แก่ 1.ยุธิษฐิระ 2.ภีมะ 3.นกุล 4.สหเทพ ให้มาเป็นสามีร่วมกัน เนื่องจากพระนางกุนตีผู้เป็นพระมารดาของปาณฑพได้กล่าวให้แบ่งกันอย่างเท่าเทียมกันด้วยความไม่ได้ตั้งใจ และพวกปาณฑพเองต่างได้ถือคำพูดของมารดาเป็นวาจาสิทธิ์ นอกจากนั้นพระนางเทราปทียังเป็นชนวนเหตุของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรอีกด้วย เพราะพระนางเทราปทีได้ถูกทุหศาสันลากมากระทำอนาจารที่กลางสถา ทำให้ฝ่ายปาณฑพแค้นมากจึงประกาศสงครามขึ้น นางเทราปทีได้ให้กำเนิดพระโอรสแก่พี่น้องปาณฑพทั้งห้า ดังนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระนางเทราปตี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่ภูมี

ระแม่ภูมี (भूमि; Bhūmi) หรือ พระแม่ภู เป็นพระเทวีแห่งโลก ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดู ในฐานะชายาองค์ที่สองของพระวิษณุ ซึ่งเป็นธิดาองค์ที่3ของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา แล้วยังเป็นพี่น้องกับพระแม่คงคาและพระแม่อุมาเทวีอีกด้วย โดยคล้ายกับความเชื่อเรื่องพระแม่ธรณีในศาสนาพุท.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระแม่ภูมี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่คงคา

ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระแม่คงคา · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

กรรณะ

กรรณะ (कर्ण) หรือ ราเธยะ (राधेय) เป็นตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตามเนื้อเรื่องแล้ว กรรณะเป็นบุตรของพระอาทิตย์และพระนางกุนตี ซึ่งพระนางกุนตีไม่ตั้งใจที่จะเรียกมนต์วิเศษให้พระอาทิตย์มาสมสู่กับตน แต่เมื่อนางเรียกมาแล้วก็ได้ลูกเป็นกรรณะคนนี้ แต่หลังจากนั้นจึงกลายเป็นสาวพรหมจรรย์ตามมนต์วิเศษ กรรณะ แปลว่า ผู้เกิดมาพร้อมเกราะและต่างหู กรรณะยังมีชื่ออื่นๆอีก ดังนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะและกรรณะ · ดูเพิ่มเติม »

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ เป็นวรรณกรรมประเภทคำฉันท์ ส่วนใหญ่เป็นกาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์ สันนิษฐานว่าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์แต่งกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ระหว่างที่พระยาราชสุภาวดีไปรับราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช พราะยาราชสุภาวดีแต่งก่อนในตอนต้นแล้วอาราธนาพระภิกษุอินท์แต่งต่อตอนท้าย กฤษณาสอนน้องคำฉันท์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสอนกุลสตรีในสมัยนั้น มีเค้าโครงเรื่องมาจากมหาภารตะของอินเดีย เป็นเรื่องที่แต่งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ต้นฉบับคงจะสูญหายไป พระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอินท์จึงแต่งขึ้นใหม่ ดังกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า แม่คิงต๋.

ใหม่!!: มหาภารตะและกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

กฤปาจารย์

กฤปะ (สันสกฤต: कृप อังกฤษ: Kripa) เป็นตัวละครฝ่ายชายใน มหากาพย์มหาภารตะ เป็นอาจารย์ของพวกปาณฑพและพวกเการพ เป็นพี่ชายของนางกฤปิ ซึ่งเป็นภรรยาของ โทรณาจารย์ ซึ่งตัวเขานั้นเป็นอาจารย์สอนวิชากับเหล่าพวกปาณฑพและเการพในช่วงแรกๆ ก่อนที่โทรณาจารย์จะเข้ามาช่วยสอนในภายหลัง ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร กฤปาจารย์เป็น 1 ในแม่ทัพคนสำคัญของเหล่าเการพ และยังเป็น 1 ใน 3 ของเหล่าเการพที่รอดชีวิตจากสงครามครั้งนี้ (อีก 2 คนคือ อัศวัตถามา และ กฤตวรมัน) หลังจากสงคราม กฤปาจารย์กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำราชสำนักหัสตินาปุระ(กุลคุรุ)ตามเดิม หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและกฤปาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

กัลมาษบาท

ในเทพปกรณัมฮินดู กัลมาษบาท (कल्माषपाद กลฺมาษปาท), เสาทาส (सौदास), มิตรสหะ (मित्रसह), หรือ อมิตรสหะ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์อิกษวากุ ซึ่งถูกฤษีวสิษฐะสาปให้กลายเป็นรากษส พระเจ้ากัลมาษบาทเป็นต้นวงศ์ของพระรามซึ่งถือกันว่าเป็นอวตารของเทพวิษณุและเป็นวีรบุรุษในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณะ เอกสารหลายฉบับพรรณนาว่า พระเจ้ากัลมาษบาททรงถูกสาปให้สิ้นพระชนม์ถ้าร่วมประเวณีกับพระมเหสี พระองค์จึงขอให้ฤษีวสิษฐะประทานบุตรให้ด้วยวิธีนิโยคอันเป็นวิธีตามประเพณีโบราณที่ชายสามารถขอให้ภริยามีสัมพันธ์กับชายอื่นเพื่อให้เกิดบุตรได้ พระเจ้ากัลมาษบาทยังปรากฏในร้อยกรองเรื่องสำคัญอย่าง ปุราณะ, มหาภารตะ, และ รามายณะMani, p. 377.

ใหม่!!: มหาภารตะและกัลมาษบาท · ดูเพิ่มเติม »

การเดินทางข้ามเวลา

การเดินทางข้ามเวลา (time travel) เป็นแนวคิดเรื่องการเคลื่อนที่ (ที่มักจะทำให้เกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์) ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในห้วงเวลา หรือ ระหว่างห้วงเวลาหนึ่งไปยังอีกห้วงเวลาหนึ่ง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเคลื่อนที่ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในพื้นที่ หรือ ปริภูมิ (space) ในลักษณะย้อนสู่อดีตหรือมุ่งสู่อนาคต โดยไม่จำต้องประเชิญห้วงเวลาที่คั่นระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดหมายปลายทาง ซึ่งอาจอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า "จักรกลข้ามเวลา" (time machine) Brave New Words: The Oxford Dictionary of Science Fiction by Jeff Prucher (2007),.

ใหม่!!: มหาภารตะและการเดินทางข้ามเวลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพรัช

ษาพรัช (ब्रज भाषा; Braj Bhasa) หรือพรัช ภาษา หรือภาษาไทหาอาตี เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันใกล้เคียงกับภาษาฮินดี โดยมากมักถือเป็นสำเนียงของภาษาฮินดี และมีวรรณคดีภาษาฮินดีเขียนด้วยภาษานี้เป็นจำนวนมากก่อนจะเปลี่ยนไปใช้บบภาษาขาริโพลีลลเป็นสำเนียงมาตรฐานหลังจากได้รับเอกราช มีผู้พูดมากกว่า 42,000 คน ในบริเวณ พรัช ภูมีที่เคยเป็นรัฐในสมัยมหาภารตะ หลักฐานจากศาสนาฮินดูโบราณเช่น ภควัตคีตา อาณาจักรของกษัตริย์กัมส์อยู่ในบริเวณพรัช (รู้จักในชื่อวิรัชหรือวิราฏ) ซึ่งเป็นดินแดนที่พระกฤษณะเกิดและใช้ชีวิตวัยเด็กที่นั่น บริเวณดังกล่าวนี้อยู่ในบริเวณอังคระ-มถุรา ซึ่งขยายออกไปได้ไกลถึงเดลฮี ในอินเดียสมัยใหม่ ดินแดนนี้อยู่ทงตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอุตตรประเทศ ตะวันออกสุดของรัฐราชสถาน และทางใต้สุดของรัฐหรยณะ ปัจจุบัน พรัช ภูมีเป็นที่รู้จักในนามเขตวัฒนธรรมมากว่ารัฐในอดีต ภาษาพรัชเป็นภาษาพื้นเมืองของบริเวณนี้และมีกวีที่มีชื่อเสียงมากมาย ใกล้เคียงกับภาษาอวธีที่ใช้พูดในบริเวณใกล้เคียงคือเขตอวัธมาก.

ใหม่!!: มหาภารตะและภาษาพรัช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลายาลัม

ษามาลายาลัมเป็นภาษาราชการของรัฐเกราลาทางภาคใต้ของอินเดีย มีผู้พูดประมาณ 36 ล้านคน และมีผู้พูดในเกาะลักษทวีปด้วย จัดอยู่ในภาษาตระกูลดราวิเดียน ใกล้เคียงกับภาษาทมิฬ เขียนด้วยอักษรมาลายาลัม ภาษามาลายาลัมจัดอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนใต้ คาดว่ามีกำเนิดร่วมกับภาษาทมิฬเมื่อราว..

ใหม่!!: มหาภารตะและภาษามาลายาลัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามณีปุระพิษณุปุระ

ษามณีปุระพิษณุปุระ (ইমার ঠার/বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী) เป็นภาษาในกลุ่มอินโด-อารยัน พูดในบางส่วนของแคว้นอัสสัม, ตรีปุระ, มณีปุระในประเทศอินเดีย และบางส่วนของบังกลาเทศ และพม่าต่างจากภาษามณีปุระหรือภาษาไมไตที่เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม.

ใหม่!!: มหาภารตะและภาษามณีปุระพิษณุปุระ · ดูเพิ่มเติม »

ภควัทคีตา

หนังสือภควัทคีตาฉบับภาษาสันสกฤต คัดลอกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระกฤษณะสำแดงร่างเป็นพระนารายณ์ ขณะสอนอนุศาสน์ภควัทคีตาแก่อรชุน ภควัทคีตา (สันสกฤต: भगवद्गीता, อ่านว่า "พะ-คะ-วัด-คี-ตา") เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพหรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา) แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า" นำเรื่องราวส่วนหนึ่งมาจากมหากาพย์มหาภารตะ ประกอบด้วยบทกวี 700 บท.

ใหม่!!: มหาภารตะและภควัทคีตา · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์

มหากาพย์ (Epic poetry) คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์โดยมากในเอเชีย จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือศาสนาของชาตินั้น.

ใหม่!!: มหาภารตะและมหากาพย์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531)

มหาภารตะ (เทวนาครี:महाभारत (टीवी धारावाहिक) อังกฤษ: Mahabharat) เป็นละครอินเดียที่เคยมาฉายที่ ช่อง 3 เมื่อปี..

ใหม่!!: มหาภารตะและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531) · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)

มหาภารตะ (Mahabharat) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามมหาภารตะ ระหว่างราชวงศ์เการพ กับราชวงศ์ปาณฑพ ละครเรื่องสร้างขึ้นโดยรีเมคจากละครเรื่อง มหาภารตะ ที่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2531 นำแสดงโดย ซอรับห์ ราจ เจน, ชาเฮียร์ ชีคห์, พูจา ชาร์มา, อฮัม ชาร์มา ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5เป็นตอนแรกในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558.

ใหม่!!: มหาภารตะและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ (แก้ความกำกวม)

* มหาภารตะ เป็นวรรณกรรมภาษาสันสกฤตเรื่องยิ่งใหญ่ของอินเดียเรื่องที่สอง นอกจากนี้ มหาภารตะ ยังสามารถหมายถึง.

ใหม่!!: มหาภารตะและมหาภารตะ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ยุธิษฐิระ

ยุธิษฐิระ (สันสกฤต:युधिष्ठिर) เป็นพี่ชายคนโตของตระกูลปาณฑพ โดยถือว่าเป็นพระโอรสของท้าวปาณฑุ กับ พระนางกุนตี แต่จริง ๆ แล้วเป็นพระโอรสของพระนางกุนตีและพระธรรมเทพ (พระยม) มีลักษณะโดดเด่นคือเป็นผู้มีความยุติธรรม ตั้งอยู่บนหลักธรรมเคร่งครัดตลอดมา พี่น้องปาณฑพจึงยึดเอาการตัดสินใจของพี่คนโตคนนี้เป็นหลัก ยุธิษฐิระ แปลว่า ผู้มีความมั่นคงในการสงคราม และยังมีชื่ออื่นๆอีก เช่น ภารตะวงศี อชาตศัตรู ธรรมนันทัน ธรรมราช ยุธิษฐิระมีพระมเหสีคือพระนางเทราปตี (ซึ่งเป็นพระมเหสีของปาณฑพทั้งห้า) มีพระโอรสด้วยกัน 1 พระองค์คือ ประติวินธยะ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์อิจฉาพวกปานฑพมาก จึงขอให้ท้าวธฤตราษฎร์แบ่งกรุงหัสตินาปุระออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือกรุงหัสตินาปุระที่รุ่งเรืองให้กับทุรโยธน์ครอบครองและดินแดนขาณฑวปรัสถ์ที่แห้งแล้ง ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงหัสตินาปุระ ให้พวกปาณฑพครอบครอง ยุธิษฐิระซึ่งเป็นพี่คนโตและมีหลักธรรมประจำใจว่าจะไม่ปฏิเสธคำของผู้ใหญ่จึงรับดินแดนส่วนนี้ไว้ พระกฤษณะ (นารายณ์อวตาร) ทราบจึงมาช่วยพวกปาณฑพพลิกฟื้นดินแดนส่วนนี้ขึ้นมาใหม่ โดยให้พระวิษณุกรรม (พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชฉลูกรรม) ซึ่งเป็นสถาปนิกของพระอินทร์มาช่วยสร้างพระราชวังใหญ่โตให้กับพวกปาณฑพ โดยยุธิษฐิระเป็นกษัตริย์และตั้งชื่อว่ากรุงอินทรปรัสถ์ จากนั้นเมื่อมีผู้ทราบว่าพวกปาณฑพมาเป็นกษัตริย์ที่เมืองนี้ ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อินทรปรัสถ์บ้าง ทำให้กรุงอินทรปรัสถ์รุ่งเรืองขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากที่ไม่มีอะไรเลย มีอยู่วันหนึ่งพระกฤษณะและอรชุนได้ช่วยยักษ์ที่ชื่อมายาสูร (เป็นผู้ช่วยพระวิษณุกรรมด้วย) ไม่ให้พระอัคนีที่กำลังเผาป่าขาณฑวะกินเป็นอาหาร เผายักษ์ตนนี้ด้วย ยักษ์มายาจึงสำนึกในบุญคุณของอรชุนและพระกฤษณะมากจึงดำเนินการสร้างสภาอันยิ่งใหญ่ตระการตาให้กับพวกปาณฑพ โดยตั้งชื่อว่า มายาสภา หลังจากสร้างมายาสภาได้ไม่นาน เทพฤๅษีนารัทมุนี ก็แนะนำให้ยุธิษฐิระทำพิธีราชสูยะ (เป็นพิธีที่ประกาศความยิ่งใหญ่ของกรุงอินทรปรัสถ์ โดยส่งสาส์นออกไปให้พระราชาแคว้นต่าง ๆ ยอมรับ หากไม่ยอมรับก็ทำสงครามกัน) อรชุนไปทางทิศเหนือ ภีมะไปทางทิศตะวันออก นกุลเลือกทิศตะวันตก ส่วนสหเทพเลือกทิศใต้ โดยทำได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยเหตุนี้ทำให้พวกทุรโยธน์อิจฉาขึ้นมาอีก จึงสร้างสภาขึ้นมาบ้างและเชิญพวกปาณฑพมาเล่นสกากัน จุดมุ่งหมายคือ จะเล่นสกาพนันเอาบ้านเอาเมืองกัน ยุธิษฐิระเมื่อเห็นว่าท้าวธฤตราษฎร์เป็นผู้กล่าวชักชวน จึงไม่ปฏิเสธ โดยทุรโยธน์ให้ศกุนิผู้เป็นลุงและชำนาญในการเล่นสกามาก เป็นผู้เล่นแทนและชนะทุกครั้ง ผลคือพวกปาณฑพแพ้และไม่เหลืออะไรสักอย่าง ยุธิษฐิระจึงเริ่มจากการพนันน้องชาย นกุล สหเทพ อรชุน และภีมะตามลำดับ จากนั้นจึงเอาตัวเองเป็นพนันและเล่นสกาต่อไปโดยใช้พระนางเทราปตีพนัน แต่ก็แพ้จนหมด ทุรโยธน์สั่งให้ทุหศาสันนำตัวพระนางเทราปตีมายังสภาและย่ำยีเกียรติของนางโดยบอกให้นางมานั่งตัก ภีมะทนไม่ไหวจึงลั่นคำสาบานออกมาว่าจะใช้คทาของภีมะเองทุบหน้าขาของทุรโยธน์ให้แหลก จากนั้นกรรณะหรือราธียะก็ให้ทุหศาสันดึงผ้าส่าหรีของพระนางเทราปตีออกมา แต่พระนางได้ขอให้พระกฤษณะช่วยไว้ พระกฤษณะจึงประทานผ้าส่าหรีให้นางไม่มีวันหมดสิ้นจนในที่สุดทุหศาสันก็หมดแรง ภีมะลั่นคำสาบานออกมาอีกเป็นรอบที่สองคือ จะฉีกอกทุหศาสันเพื่อดื่มเลือดให้หายแค้น นอกจากนี้ภีมะยังบอกอีกว่า ตนจะเป็นคนฆ่าทุรโยธน์ ทุหศาสันและ อรชุนจะฆ่ากรรณะ สหเทพจะฆ่าศกุนิ ส่วนนกุลก็สาบานว่าจะฆ่าลูกของศกุนิ เช่น อูลูกะ เรื่องราวเลยเถิดออกมามากจนในที่สุดท้าวธฤตราษฎร์ก็ขอให้พระนางเทราปตีให้อภัยและแลกกับให้นางขออะไรก็ได้ นางจึงขอให้คืนทุกอย่างกลับสู่สภาพเดิม ท้าวธฤตราษฎร์จึงตกลงตามที่ว่า แต่ทุรโยธน์ไม่จบแค่นั้น ยังให้ท้าวธฤตราษฎร์ชักชวนให้พวกปาณฑพมาเล่นสกาอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้แพ้ต้องออกป่าเป็นเวลา 13 ปี และในปีที่ 13 ห้ามให้ใครจำได้ ถ้าใครจำได้ต้องเดินป่าอีก 13 ปี ยุธิษฐิระทราบชะตากรรมดี แต่ก็ยอมเล่นสกา ระหว่างที่เดินป่าฤๅษีวยาสก็สอนมนต์เพื่อขออาวุธวิเศษจากพระศิวะแก่ยุธิษฐิระเพื่อถ่ายทอดให้กับอรชุนต่อไปด้วย อรชุนจึงได้อาวุธวิเศษกลับมาพร้อมทั้งได้รับการสอนการร่ายรำ นาฏศิลป์ต่าง ๆ จากท้าวจิตรเสนและรับการสอนการใช้อาวุธจากอินทรเทพผู้เป็นพระบิดาอีกด้วย ระหว่างนั้น นางอัปสรอุรวศีก็พอใจอรชุนมาก แต่อรชุนเห็นว่านางเป็นแม่เท่านั้น นางโกรธมากจึงสาปให้อรชุนเป็นกะเทยตลอดไป แต่พระอินทร์ก็เกลี้ยกล่อมให้นางลดคำสาปเหลือ 1 ปี ให้เป็นในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องเดินป่า จะได้เป็นประโยชน์ในการอำพรางตัว ในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องไม่ให้ใครจำได้นั้น ยุธิษฐิระได้ขอพรจากพระธรรมเทพผู้เป็นบิดาว่าในปีที่ 13 นี้ขอให้ไม่มีใครจำได้ เนื่องจากพระธรรมเทพมาพิสูจน์ความตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมของยุธิษฐิระ โดยการทำให้น้องชายทั้งสี่คนตายไปและแปลงกายเป็นยักษ์ ผู้เฝ้าธารน้ำที่พี่น้องปาณฑพสี่คนลงไปดื่ม แล้วถามว่ายุธิษฐิระจะเลือกใครให้ฟื้นขึ้นมา จึงเลือกนกุล เพราะตนเป็นบุตรพระมารดากุนตี ส่วนบุตรของพระมารดามาทรีหรือมัทรีได้ตายไปหมดแล้ว จึงเลือกนกุลให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง พระธรรมเทพพอใจมากจึงคืนชีวิตให้กับทุกคนและปรากฏร่างเป็นพระธรรมเทพดังเดิม จากนั้นปาณฑพตกลงว่าจะแฝงตัวไปทำงานในวังของท้าววิราฎ แคว้นมัตสยะ โดยยุธิษฐิระได้ใช้ชื่อว่า กังกะ เข้ามาทำงานเป็นมหามนตรีและสอนสกาแก่ท้าววิราฏ, ภีมะใช้ชื่อว่าวัลลภ เข้ามาทำงานเป็นพ่อครัวหลวง, อรชุน ใช้ชื่อว่าพฤหันนลา(ในขณะนั้นเป็นกะเทย) เข้ามาทำงานสอนนาฏศิลป์แก่เจ้าหญิงอุตตรา พระธิดาของท้าววิราฏ,นกุล ใช้ชื่อว่า ครันถิกะ เข้ามาทำงานดูแลม้า, สหเทพ ใช้ชื่อว่า ตันติบาล เข้ามาทำงานดูแลปศุสัตว์ ส่วนพระนางเทราปตีใช้ชื่อว่า ไศรันทรี เข้ามาทำงานดูแลความงามให้กับพระนางสุเทศนา พระมเหสีของท้าววิราฎ เมื่อสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรเกิดขึ้น ยุธิษฐิระก็ได้เข้าร่วมการรบด้วย แต่ไม่ได้ตายในสงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุด ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิกรุงหัสตินาปุระ แต่หลังจากนั้นปาณฑพเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตเพราะเห็นผลของสงคราม จึงยกบัลลังก์ให้ปรีกษิต หลานชายของอรชุน และพี่น้องปาณฑพกับนางเทราปตีก็ออกเดินป่า พร้อมกับสุนัขอีก 1 ตัว สุดท้ายพี่น้องปาณฑพทั้งสี่และนางเทราปตีก็สิ้นชีวิตลงและขึ้นสวรรค์บนยอดเขาหิมาลัย จากนั้นสุนัขที่ติดตามมาด้วยก็กลับกลายเป็นพระธรรมเทพ และพายุธิษฐิระขึ้นไปบนสวรรค์ (แต่ตอนนั้นยุธิษฐิระยังไม่ตาย และมีผู้กล่าวว่ายุธิษฐิระเป็นคนคนเดียวในโลกที่สามารถขึ้นไปยังยอดเขาหิมาลัยได้ทั้งเป็น) แต่กลับพบว่าทุรโยธน์นั่งครองบัลลังก์อยู่ แต่ปาณฑพและนางเทราปตีต้องตกนรกเพราะฆ่าพี่น้องของตน ยุธิษฐิระจึงตัดสินใจตกนรกด้วย จากนั้นพระธรรมเทพจึงบอกว่าทั้งหมดเป็นภาพลวงตา จริง ๆ แล้วเการพต้องตกนรก แต่ปาณฑพอยู่บนสวรรค์ ทั้งหมดที่ทำมาคือการทดสอบจิตใจของยุธิษฐิระ ยุธิษฐิระ พี่น้องปาณฑพและนางเทราปตีก็ได้อยู่บนสวรรค์ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและยุธิษฐิระ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐหรยาณา

รัฐหรยาณา คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ตอนเหนือของประเทศ เป็นดินแดนที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของทุ่งกุรุเกษตรในมหาภารตะ ห หมวดหมู่:รัฐหรยาณา หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2509.

ใหม่!!: มหาภารตะและรัฐหรยาณา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ปาณฑพ

กซ้าย ภีมะ, อรชุน, ยุธิษฐิระ, ฝาแฝดนกุลและสหเทพ และพระนางเทราปตี ในเรื่องมหาภารตะ ปาณฑพ(ปาน-ดบ) เป็นกลุ่มพี่น้อง 5 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวปาณฑุ ประสูติจากพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ที่ร่ายเวทมนตร์อัญเชิญเทพมาประทานโอร.

ใหม่!!: มหาภารตะและราชวงศ์ปาณฑพ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เการพ

ทุรโยธน์ ผู้นำแห่งเการพ ในเรื่องมหาภารตะ เการพ เป็นกลุ่มพี่น้อง 101 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์ ประสูติจากพระนางคานธารีธิดาของแห่งนครคันธาร.

ใหม่!!: มหาภารตะและราชวงศ์เการพ · ดูเพิ่มเติม »

ราชา รวิ วรรมา

ราชา รวิ วรรมา เป็นจิตกรและศิลปินผู้มีชื่อเสียงของอินเดีย เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของศิลปะอินเดียสำหรับเหตุผลทางด้านสุนทรียศาสตร์และกว้างขึ้นหลายประการ ประการแรกผลงานของราชา รวิ วรรมา ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในการผสมผสานของเทคนิคยุโรปกับความรู้สึกของอินเดียอย่างหมดจด ในขณะที่ยังคงรักษาประเพณีและสุนทรียภาพของศิลปะอินเดียไว้ ประการที่สองเขาเป็นคนน่าจดจำสำหรับการพิมพ์ภาพราคาไม่แพงจากภาพวาดของเขาที่มีต่อสาธารณชนซึ่งช่วยเพิ่มการเข้าถึงและอิทธิพลของเขาในฐานะจิตรกรและบุคคลสาธารณะ ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของราชา รวิ วรรมาส่วนมากมักเป็นภาพเทพเจ้าฮินดูและเรื่องราวจากวรรณคดีสันสฤตเรื่องต่าง ๆ เช่น มหาภารตะ รามายณะ ฯลฯ เป็นต้น.

ใหม่!!: มหาภารตะและราชา รวิ วรรมา · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษีวยาส

ฤๅษีวยาส (เทวนาครี:व्यास) เป็นโอรสของนางสัตยวดี กับฤๅษีปราศร และคลอดตรงบริเวณ เกาะกลางแม่น้ำยมุนามีชื่อเต็มว่า กฤษณไทวปายน แปลว่าผู้มีผิวคล้ำเกิดบนเกาะ ต่อมาเปลี่ยนเป็น วยาสแล้วออกบวชตามบิดาอยู่ในป่าหิมาลัย ต่อมานางสัตยวดีผู้เป็นมารดาได้ให้ไปทำนิโยคกับมเหสีม่าย ของวิจิตรวีรยะ น้องชายต่างบิดา จึงต้องหลับนอนกับมเหสีม่ายทั้งสองและนางกำนัลอีก1คน จนมีโอรสคือ ท้าวธฤตราษฎร์ ท้าวปาณฑุ และท้าววิทูร ต่อมาโอรสของท้าวธฤตราษฎร์และท้าวปาณฑุ แย่งบัลลังก์กันและล้มตายจำนวนนับล้าน ท่านฤๅษีเกิดความรันทด จึงต้องการบอกเล่าเรื่องราวของลูกหลานที่ฆ่าฟันกันเอง จึงเชิญ พระคเณศร์ มาเขียน เป็นที่มาของมหาภารตะ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ หมวดหมู่:ฤๅษี หมวดหมู่:ศาสดา.

ใหม่!!: มหาภารตะและฤๅษีวยาส · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษีนารทมุนี

ฤๅษีนารทมุนี (नारद หรือ नारद मुनी) เป็นบุตรของพระพรหม เป็นสาวกคนแรกของพระนารายณ์ และเป็นผู้ที่นำเรื่องราวบนโลกมนุษย์มารายงานแด่พระศิวะ ฤๅษีนารทมุนีเป็นทูตเอกของสวรรค์ และมีบทบาทในมหาภารตะและรามเกียรติ์เป็นอย่างมาก ในเรื่องรามเกียรติ์ ฤษีเป็นผู้แนะนำให้หนุมานใช้น้ำในบ่อน้อยของตนเอง ก็คือ น้ำลายในปากของหนุมานดับไฟ เมื่อตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา ในมหาภารตะ ฤๅษีนารทมุนีมีหน้าที่คอยส่งสำคัญให้แก่พระกฤษณะ พระพลราม ยุธิษฐิระ และอรชุน คือ ในมหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ฤๅษีนารทมุนีได้ส่งข่าวบอกแก่พระพลรามว่า "ภีมะกำลังดวลตะบองกับทุรโยธน์" และเมื่อตอนที่พระอนิรุทธิ์หายตัวไป ฤๅษีนารทมุนีก็แจ้งแก่พระกฤษณะว่า "พระอนิรุทธิ์ถูกท้าวกรุงภาณจับตัวไปขังในคุก" และเมื่อตอนที่ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี พระนางกุนตี ท้าววิทูร เสียชีวิตในป่า ฤๅษีนารทมุนีก็เป็นผู้แจ้งข่าวให้กับยุธิษฐิระว่า "ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี พระนางกุนตี ท้าววิทูร เสียชีวิตแล้ว และฤๅษีนารทมุนีเป็นผู้บอกถึงจุดอ่อนของทุรโยธน์ให่แก่อรชุน" นอกจากนี้ฤๅษีนารทมุนีก็ยังเป็นผู้เล่าเรื่องของพระรามให้แก่ฤๅษีวาลมีกิจนเกิดเป็นคัมภีร์รามายณะ ในภาพยนตร์ของบอลลีวู้ด โดยเฉพาะหนังเกี่ยวกับเทพเจ้า บทพูดของฤๅษีนารทมุนีที่ทุกคนจำได้ คือ คำว่า "นาร้ายณ์ นารายณ์" หมวดหมู่:ฤๅษี หมวดหมู่:เทพเจ้าฮินดู หมวดหมู่:มหาภารตะ หมวดหมู่:ศาสดา.

ใหม่!!: มหาภารตะและฤๅษีนารทมุนี · ดูเพิ่มเติม »

ลายวงกต

“วงกตคลาสสิก” เจ็ดชั้น เขาวงกตครีตทำด้วย 2500 TeaLights การเผาไหม้ในศูนย์คริสเตียนสมาธิและจิตวิญญาณของสังฆมณฑลบูร์กที่โบสถ์ Holy Cross ใน แฟรงก์เฟิร์ต-Bornheim ลายวงกตยุคสำริดแอตแลนติก ลายวงกตในภาพวาดในถ้ำในอิตาลี วงกตบนพื้นที่มหาวิหารอาเมียงส์ในฝรั่งเศส คนอสซอส ลายวงกต หรือ ลาบรินธ์ (Labyrinth) ในตำนานเทพเจ้ากรีก “Labyrinth” (λαβύρινθος, labyrinthos) คือโครงสร้างอันซับซ้อนที่ออกแบบและสร้างโดยเดดาลัสสำหรับกษัตริย์ไมนอสแห่งครีตที่คนอสซอส โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นกับดักมิโนทอร์ที่เป็นสิ่งที่มีร่างเป็นมนุษย์หัวเป็นวัว ผู้ในที่สุดก็ถูกสังหารโดยวีรบุรุษชาวเอเธนส์เธเซียส (Theseus) เดดาลัสสร้างวงกตอย่างวกวนจนเมื่อสร้างเสร็จตนเองก็แทบจะหาทางออกมาไม่ได้ อารีอัดเน (Ariadne) ให้ความช่วยเหลือเธเซียสให้หาทางออกจากได้โดยการมอบม้วนด้ายให้ม้วนหนึ่งให้วางตามเส้นทางเพื่อที่จะเดินตามรอยด้ายกลับออกมาจากวงกตได้ ในภาษาพูดของภาษาอังกฤษ “Labyrinth” มีความหมายพ้องกับคำว่า “Maze” (วงกตปริศนา) แต่นักวิชาการร่วมสมัยให้ความแตกต่างว่า “วงกตปริศนา” หมายถึงลวดลายวกวนที่ซับซ้อนที่มีทางเข้าทางออกได้หลายทาง แต่ “ลายวงกต” จะมีทางเข้าทางออกทางเดียว และทางจะไม่แตกออกไปเป็นทางย่อยเช่นที่เกิดขึ้นในวงกตปริศนาที่นำ ที่จะนำเข้าไปยังศูนย์กลาง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าลายวงกตจะเป็นเส้นทางที่ไม่กำกวมที่นำเข้าไปยังศูนย์กลางของวงกตและนำออกมา และไม่มีวัตถุประสงค์ที่ทำให้ยากต่อการเดินตามเส้นทางเข้าไปและออกมา แม้ว่าเหรียญครีตยุคแรกบางเหรียญจะเป็นลายวกวนซ้อน (multicursal patterns) แต่ลายวกวนเดี่ยวเจ็ดชั้นแบบคลาสสิกก็กลายมาเป็นลวดลายที่ใช้บนเหรียญส่วนใหญ่มาตั้งแต่ราว 430 ปีก่อนคริสต์ศักราช และใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกว่าเป็นวงกต – แม้ว่าในการบรรยายจะกล่าวว่ามิโนทอร์ติดกับอยู่ในวงกตปริศนาก็ตาม แม้เมื่อลายวงกตพัฒนาซับซ้อนขึ้น แต่ลายวงกตตั้งแต่สมัยโรมันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่ก็เป็นลายวกวนทางเดียว (unicursal) “วงกตปริศนา” เพิ่งเริ่มมาเป็นที่นิยมกันเมื่อใช้ในการออกแบบสวนวงกตที่นิยมกันในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา ลายวงกตอาจจะปรากฏเป็นลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา, ตะกร้า, ลายสักบนร่างกาย, ลายบนผนังหรือกำแพงของคริสต์ศาสนสถาน โรมันใช้ลายวงกตในการตกแต่งบนผนัง, พื้นด้วยโมเสก ลายวงกตที่สร้างบนพื้นบางครั้งก็จะมีขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการเดินตามเส้นเข้าออกได้สำหรับการเดินกรรมฐาน.

ใหม่!!: มหาภารตะและลายวงกต · ดูเพิ่มเติม »

วรรณคดีกัมพูชา

วรรณคดีของกัมพูชามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและแบ่งเป็นสองระนาบเช่นเดียวกับวรรณคดีในประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือแบ่งเป็นวรรณคดีลายลักษณ์ ส่วนใหญ่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในชนชั้นสูงและพระสงฆ์ กับวรรณกรรมมุขปาฐะ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นบ้าน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย เช่น รามายณะและมหาภารต.

ใหม่!!: มหาภารตะและวรรณคดีกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นวรรณกรรมที่มีความสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเป็นเรื่องราวที่เกิดจากวรรณคดีภาษาสันสกฤต อันได้แก่ รามายณะ, มหาภารตะ และคัมภีร์ปุราณะ ควบคู่กันกับนิทานพื้นเมืองของแต่ละชาติ โดยมากมักเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และคติต่างๆของผู้คนในแต่ละภูมิภาค รวมถึง อาจมีการสอดแทรกความเชื่อทางศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม.

ใหม่!!: มหาภารตะและวรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

วิเทหะ

วิเทหะ (विदेह) หรือ มิถิลา (मिथिला) เป็นราชอาณาจักรโบราณในประเทศอินเดียสมัยพระเวท ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชนก มีดินแดนซึ่งปัจจุบันได้แก่ภาคมิถิลากินอาณาบริเวณทางเหนือและตะวันออกของรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย กับตะวันออกของที่ราบตะราอี ประเทศเนปาล.

ใหม่!!: มหาภารตะและวิเทหะ · ดูเพิ่มเติม »

ศกุนิ

ศกุนิ (สันสกฤต:शकुनि) พระราชาแห่งแคว้นคันธาระ เป็นโอรสของท้าวสุพลกับนางวสุมดี แห่งแคว้นคันธาระ มีอีกหลายชื่อเช่น เสาพละ,คันธารนเรศ,คันธารราช,สุพลราช มีมเหสีชื่อ นางอารศี มีบุตรชื่อ อุลูกะ และ วฤกาสุระ มีน้องสาว ชื่อ พระนางคานธารี เมื่อคราวที่ ท้าวธฤตราษฎร์ อภิเษกกับพระนางคานธารี ศกุนิจึงย้ายมาอยู่ที่หัสตินาปุระ ศกุนิไม่พอใจที่น้องสาวต้องแต่งงานกับท้าวธฤตราษฎร์ พระราชาตาบอด เขาจึงทำทุกวิถีทางที่จะทำลายราชวงศ์แห่งหัสตินาปุระ ศกุนิชอบเล่นสกา และมักโกงการเล่นสกา ว่ากันว่า ศกุนิได้นำอัฐิของท้าวสุพลมาทำเป็นลูกเต๋าสกา จึงสามารถควบคุมลูกเต๋าสกาได้ ศกุนิ คือ ปีศาจทวาบร ในเรื่อง พระนลและทมยันตี กลับชาติมาเกิด ศกุนิ ยังเป็นตัวแทนแห่งทวาปรยุคอีกด้วย ศกุนิได้วางแผนร้ายต่างๆในการทำลายเหล่าปาณฑพ เพื่อจะให้ทุรโยธน์ ผู้เป็นหลานได้ขึ้นเป็นใหญ่ เช่น ได้ยุยงให้ทุรโยธน์ในวัยเด็กวางยาพิษให้ภีมะกิน การจ้างปุโรจันให้สร้างพระราชวังที่ทำจากขี้ผึ้ง ชื่อ ลักษาคฤหะ ในวรรณาพรต และลอบวางเพลิง การขอร้องให้พญาตักษกนาคราชขโมยวัวในพิธีราชสูยะของยุธิษฐิระ การโกงการเล่นสกาและการเปลื้องพัสตราภรณ์ของพระนางเทราปทีในราชสภากรุงหัสตินาปุระ ศกุนิเล่นสกาโกงฝ่ายปาณฑพ ทำให้พี่น้องปาณฑพและพระนางเทราปที ต้องถูกเนรเทศเป็นเวลา 13 ปี ก่อนเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตร ศกุนิได้วางแผนหลอกท้าวศัลยะ พระมาตุลาของฝ่ายปาณฑพให้มาอยู่ฝ่ายเการพ เมื่อเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตรเป็นระยะเวลา 18 วัน ในวันที่ 13 ศกุนิได้วางแผนที่จะสังหารอภิมันยุ โดยให้โทรณาจารย์ สร้างจักรพยุหะและยังได้ร่วมสังหารอภิมันยุอีกด้วย คืนวันที่ 16 ศกุนิขอให้พญาตักษกนาคราช มาสถิตเป็นศรนาคศาสตร์ให้กรรณะ คืนวันที่ 17 ศกุนิขอร้องให้พระนางคานธารี แก้ผ้าผูกตาของนางออก เพื่อจะทำให้ทุรโยธน์มีร่างกายแข็งแกร่งดังวัชระ ศกุนิถูกสหเทพใช้ขวานฟันคอตายในวันที่ 18 ของสงคราม หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและศกุนิ · ดูเพิ่มเติม »

ศัมภลา

Crossman, Sylvie and Jean-Pierre Barou, eds.

ใหม่!!: มหาภารตะและศัมภลา · ดูเพิ่มเติม »

สัญชัยสารถี

สัญชัยสารถี เป็นตัวละครที่ปรากฏในมหาภารตะ เป็นสารถีคนสนิทของท้าวธฤตราษฎร์ ที่ไว้วางใจได้ ไม่มีบทบาทอะไรในการดำเนินเรื่องมาก แต่ตอนสุดท้าย ระหว่างการรบในสงครามทุ่งกุรุเกษตร สัญชัยสารถีก็ได้พรจากฤๅษีวยาสผู้เป็นปู่ของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพว่าให้มองเห็นทุกซอกทุกมุมของการรบนั้น และนำมาเล่าให้ท้าวธฤตราษฎร์ฟังถึงความเลวร้ายที่เกิดขึ้น เพราะท้าวธฤตราษฎร์ไม่ยอมห้ามทุรโยธน์ไว้ตั้งแต่แรก ทำให้สงครามบนทุ่งกุรุเกษตรได้บังเกิดขึ้น หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและสัญชัยสารถี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามทุ่งกุรุเกษตร

ีษมะนอนบนเตียงธนู สงครามทุ่งกุรุเกษตร เป็นเหตุการณ์ในมหาภารตะ ทุ่งกุรุเกษตร เป็นที่ราบที่อยู่ใกล้ ๆ กับกรุงหัสตินาปุระ ที่ทั้งสองตระกูลคือปาณฑพและเการพใช้เป็นสมรภูมิรบ มีทหาร เจ้าชายและกษัตริย์จากแคว้นเมืองต่าง ๆ ล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่สมรภูมิรบแห่งนี้ ฝ่ายปาณฑพมีกำลังพลและหน่วยรบรวมกันทั้งหมด 7 อักเษาหิณี (ประมาณ 2 ล้านคน) และฝ่ายเการพ 11 อักเษาหิณี (ประมาณ 3 ล้านคน) ในสงครามหนนี้ มีผู้คนล้มตายไปราว ๆ 5 ล้านคน ที่รอดจากสงครามมาได้ก็มีเพียงฝ่ายปาณฑ.

ใหม่!!: มหาภารตะและสงครามทุ่งกุรุเกษตร · ดูเพิ่มเติม »

หัสตินาปุระ

วาดท้าวยุธิษฐิระเสด็จกลับกรุงหัสตินาปุระหลังสงครามทุ่งกุรุเกษตร กรุงหัสตินาปุระ (เทวนาครี: हस्‍तिनापुर) เป็นเมืองหนึ่งในเรื่องมหาภารตะ ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในอดีตมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ อันประกอบไปด้ว.

ใหม่!!: มหาภารตะและหัสตินาปุระ · ดูเพิ่มเติม »

หิฑิมพะ

หิฑิมพะ (สันสกฤต: हिडिम्ब อังกฤษ: Hidimba) เป็นตัวละครฝ่ายชายจาก มหากาพย์มหาภารตะ เป็นพี่ชายของ นางหิฑิมพี ซึ่งปรากฎตัวในตอนที่ พวกปาณฑพ เข้ามาพักผ่อนหลังจากหลบหนีจากการที่ถูกตามล่าโดย พวกเการพ (ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากการโดนวางเพลิงที่เมืองวาราณาวัต แต่พวกปาณฑพสามารถรอดตายมาได้) ซึ่งพวกเขาได้เข้ามาพักในเขตป่าของหิฑิมพะ ซึ่งหิฑิมพะจะกินเนื้อมนุษย์ที่หลงเข้ามาในป่าของตน จึงให้นางหิฑิมพี เข้าไปหลอกล่อพวกปาณฑพให้มาหาตน แต่กลับกลายเป็นว่า นางได้หลงรักภีมะเข้าให้ จึงเป็นเหตุให้ตนต้องมาถึงที่เอง จึงทำให้เกิดการต่อสู้กันระหว่างตนกับภีมะ สุดท้าย หิฑิมพะถูกฆ่าตายโดยภีมะ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและหิฑิมพะ · ดูเพิ่มเติม »

อรชุน

อรชุน (เทวนาครี: अर्जुन, อังกฤษ: Arjuna) เป็นหนึ่งในตัวละครเอกในมหากาพย์มหาภารตะ ชื่อนี้หมายถึง สว่าง ส่องแสง ขาว หรือ เงิน อรชุนเป็นนักยิงธนูที่มีฝีมือสูงส่ง ไม่มีใครเทียบได้ เป็นพี่น้องคนที่สามในบรรดาปาณฑพทั้งห้า เป็นลูกของนางกุนตี ภรรยาคนแรกของปาณฑุ และเป็นคนเดียวในพี่น้องปาณฑพที่ได้รับพรและอาวุธวิเศษจากเทพเจ้ามากที่สุดด้ว.

ใหม่!!: มหาภารตะและอรชุน · ดูเพิ่มเติม »

อรชุน (แก้ความกำกวม)

อรชุน เป็นชื่อตัวละครจากมหาภารตะ ถูกนำมาใช้ตั้งชื่อต่างๆ คือ.

ใหม่!!: มหาภารตะและอรชุน (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

อักเษาหิณี

อักเษาหิณี (บางที่ใช้ อักโขภิณี หรือ อักโขเภณี) เป็นหน่วยนับจำนวนกองทัพของอินเดียโบราณ อักเษาหิณี (अक्षौहिणी - Akshauhini) มักถูกใช้วัดขนาดของกองทัพในวรรณกรรมอินเดียโบราณ (อย่างเช่นเรื่อง มหาภารตะ) บางตำราถือว่า 1 อักเษาหิณี ประกอบด้วยกองรบช้าง 21,870 เชือก, รถรบ 21,870 คัน กองรบม้า 65,610 ตัว, ทหารราบ 109,350 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะและอักเษาหิณี · ดูเพิ่มเติม »

อัศวัตถามา

อัศวัตถามา (สันสกฤต: अश्वत्थामा) มีอีกชื่อคือ เทราณี เป็นบุตรชายของโทรณาจารย์ ครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักนครหัสตินาปุระ และเป็นหลานของฤๅษีภรัทวาชะ อัศวัตถามาเป็นมหารถี (นักรบ) ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ในฝั่งเการพที่ต่อสู้กับฝั่งปาณฑพ อัศวัตถามาถือว่าเป็นอวตารหนึ่งใน ๑๙ อวตารของพระศิวะ หนึ่งในพระตรีมูรติทั้ง ๓ พระองค์ อัศวถามาได้ร่วมทำสงครามกุรุเกษตรโดยอยู่ฝั่งเการพเพราะอัศวัตถามาเป็นสหายของทุรโยธน์ พี่ชายคนโตของพี่น้องเการพ ด้วยเหตุนี้อัศวัตถามาจึงเข้าร่วมกับฝั่งเการพในสงครามทุ่งกุรุเกษตร อัศวัตถามาถือว่าเป็นนักรบไม่กี่คนของฝั่งเการพที่ไม่ตายในสงครามทุ่งกุรุเกษตร และในตอนท้ายของมหากาพย์มหาภารตะ อัศวัตถามาได้แอบเข้าไปสังหารธฤษฏัทยุมนะ ศิขัณฑี อุปปาณฑพ และเหล่าทหารของฝั่งปาณฑพ นอกจากนี้ยังใช้ศรพรหมเศียรพยายามฆ่าบุตรในครรภ์ของนางอุตตรา ชายาของอภิมันยุ พระกฤษณะจึงใช้จักรสุทรรศนะตัดอัญมณีบนหน้าผากของอัศวัตถามาออกพร้อมกับสาปให้อัศวัตถามามีหน้าตาหน้าเกลียดมีเลือดไหลออกจากร่างและไม่มีวันตายจนกว่าจะถึงการสิ้นสุดของโลกพร้อมกับต้องเร่ร่อนไม่มีใครจำได้ตลอดชั่วกัลปาวสาน หมวดหมู่: ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารต.

ใหม่!!: มหาภารตะและอัศวัตถามา · ดูเพิ่มเติม »

อัคระ

อัคระ (आगरा Āgrā, آگرہ, Agra) อดีตเมืองหลวงของอินเดียในสมัยที่ยังเรียกว่า "ฮินดูสถาน" (Hindustan) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมนา (Yomuna) ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ในรัฐอุตตรประเทศ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลัคเนา (Lucknow) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐอุตตรประเทศไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง และ ทางทิศใต้ของกรุงนิวเดลี เมืองอัคระมีประชากรทั้งหมด 1,686,976 คน (ปีค.ศ. 2010) ถือเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในรัฐอุตตรประเทศ และอันดับที่ 19 ในประเทศอินเดี.

ใหม่!!: มหาภารตะและอัคระ · ดูเพิ่มเติม »

อังคะ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพอาณาจักรอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นอังคะ (अंग) เป็นหนึ่งในอาณาจักรในอินเดียโบราณ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย ในปัจจุบันคือระหว่างรัฐพิหารและรัฐเบงกอลตะวันตกและบางส่วนของประเทศบังกลาเทศ ในมหากาพย์มหาภารตะ แคว้นอังคะเป็นอาณาจักรที่ทุรโยธน์มอบให้กรรณะเพื่อแลกกับมิตรภาพและความจงรักภัคดีต่อฝ่ายเการ.

ใหม่!!: มหาภารตะและอังคะ · ดูเพิ่มเติม »

อัปสร

ระบำนางอัปสรในปัจจุบัน ในรูปแบบเดียวกันกับภาพสลักปราสาทขอมโบราณ อัปสร (अप्सराः อปฺสราะ, พหูพจน์ अप्सरसः อปฺสรสะ; อจฺฉรา) ถือเป็นนางฟ้าจำพวกหนึ่ง แต่ไม่ใช่เทวี บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อเอาน้ำอมฤตขึ้นมา ดังความปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะ ของอินเดีย คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์ ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในเทพปกรณัมของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ ตามเทพปกรณัมฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมิวส์ของเทพปกรณัมกรีก นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป.

ใหม่!!: มหาภารตะและอัปสร · ดูเพิ่มเติม »

อาทิบรรพ

อาทิบรรพ คือ เรื่องราวบทแรกของมหาภารตะ จากทั้งหมด 25 ตอน โดยเรื่องราวของมหาภารตะเริ่มต้นจากการเปิดตำนานเล่าเรื่องโดยเริ่มต้นจากการลำดับวงศ์กษ้ตริย์แห่งราชวงศ์กุรุ ตำนานเริ่มจากพระราชาชื่อ ท้าวศานตนุแห่งราชวงศ์กุรุเป็นสำคัญ แต่เมื่อเล่าไปก็จะย้อนถึงจำนานกษัตริย์ในราชวงศ์กุรุถอยหลังขึ้นไปโดยละเอียด และพิสดารมากขึ้นตามการเสริมแต่งในเวลาต่อม.

ใหม่!!: มหาภารตะและอาทิบรรพ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรในอินเดียโบราณ

อาณาจักรในอินเดียโบราณ หรือ มหาชนบททั้งสิบหก เป็นอาณาจักรในอินเดียโบราณ 16 อาณาจักร.

ใหม่!!: มหาภารตะและอาณาจักรในอินเดียโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยปราสาทหินในสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้.เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ.

ใหม่!!: มหาภารตะและอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิศิวาจี

ฉัตรปตี ศิวาจีราเช โภสเล (छत्रपती शिवाजीराजे भोसले; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1630 – 3 เมษายน ค.ศ. 1680) เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่ง จักรวรรดิมราฐา ครองราชย์ตั้งแต่ 6 มิถุนายน..

ใหม่!!: มหาภารตะและจักรพรรดิศิวาจี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำ

ตรกรวาดภาพสีน้ำโดยใช้พู่กัน จิตรกรรมสีน้ำ (ภาษาอังกฤษ: Watercolor painting หรือ Watercolour painting; ภาษาฝรั่งเศส: Aquarelle) เป็นวิธีการเขียนภาพวิธีหนึ่งที่ใช้สีน้ำเป็นอุปกรณ์การเขียนหรือมีผลเหมือนภาพที่เขียนด้วยสีน้ำที่เขียนด้วยสีที่ทำด้วย สารสี (pigments) ที่ละลายในของเหลวในภาชนะ สิ่งที่ใช้เขียนส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษ แต่ก็อาจจะเป็นวัสดุอื่นเช่นกระดาษพาไพรัส, กระดาษที่ทำจากเปลือกไม้, พลาสติก, กระดาษหนังสัตว์ (Vellum) หรือ หนังสัตว์, ผ้า, ไม้ และผ้าใบ ในเอเชียตะวันออกจิตรกรรมสีน้ำเขียนด้วยหมึกที่เรียกว่าจิตรกรรมแปรง (Brush painting) หรือ จิตรกรรมม้วน (scroll painting) จิตรกรรมสีน้ำเป็นวิธีการเขียนจิตรกรรมที่นิยมกันมากที่สุดในจิตรกรรมจีน, จิตรกรรมเกาหลี หรือจิตรกรรมญี่ปุ่น ที่มักจะเป็นสีเดียวที่เป็นสีดำหรือน้ำตาล.

ใหม่!!: มหาภารตะและจิตรกรรมสีน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

จินตนิมิต

นตนิมิต (fantasy) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่มีเค้าโครงหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์และเรื่องเหนือจริง มักมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในยุคกลางของยุโรป หรือมีลักษณะที่แสดงถึงยุคเดียวกันนั้น เช่นสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง เครื่องแต่งกาย หรือเทคโนโลยี โลกแห่งจินตนิมิตมักยอมรับสภาวะเหนือจริงและเวทมนตร์ต่างๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติ ความแตกต่างระหว่างจินตนิมิต กับนิยายวิทยาศาสตร์หรือนิยายสยองขวัญ คือลักษณะของเทคโนโลยีและวิธีการนำเสนอเกี่ยวกับความตาย งานจินตนิมิตประกอบด้วยผลงานประพันธ์ของนักเขียน ศิลปิน นักดนตรี หรือนักสร้างภาพยนตร์มากมาย นับแต่อดีตกาลประหนึ่งปกรณัมหรือตำนานลี้ลับ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันที่เผยแพร่แก่ผู้คนจำนวนมาก.

ใหม่!!: มหาภารตะและจินตนิมิต · ดูเพิ่มเติม »

ธฤษฏัทยุมนะ

ธฤษฏัทยุมนะ (धृष्टद्युम्न, dhṛṣṭadyumna) คือตัวละครหนึ่งในมหากาพย์มหาภารตะ เป็นบุตรของท้าวทรุปัท ที่เกิดจากการประกอบพิธียัญญะบูชาตามพิธีพราหมณ์ หลังจากที่ท้าวทรุปัทพ่ายแพ้ต่ออรชุน และถูกจับตัวไปเป็นเชลย มอบให้กับ โทรณาจารย์ แต่ภายหลัง โทรณาจารย์ปล่อยตัวโดยขอดินแดนแคว้นปัญจาละ ครึ่งหนึ่ง ท้าวทรุปัทรู้สึกเจ็บแค้นและเสียใจที่ไม่มีบุตรชายสืบเชื้อสาย ในการประกอบพิธีในครั้งนั้น ทำให้ท้าวทรุปัท ได้บุตร สองคน คือ ธฤษฏัทยุมนะ และ พระนางเทราปตี (ภายหลังได้กลายเป็นมเหสีของพี่น้องปาณฑพ ทั้ง 5 คน) ในสงครามมหายุทธ ณ ทุ่งกุรุเกษตร ธฤษฏัทยุมนะได้รับหน้าที่เป็นประธานเสนาบดี(แม่ทัพ)ฝ่ายปาณฑพ นำกำลังพลทั้งสิ้น 7 อักเษาหิณี (เป็นหน่วยนับจำนวนของอินเดียโบราณ) ภายหลังธฤษฏัทยุมนะได้ขอเข้ามาเป็นศิษย์ในสำนักของโทรณาจารย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาและยุทธวิทยาการรบ แต่ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร ธฤษฏัทยุมนะกลับเป็นคนที่สังหารโทรณาจารย์ ในการรบวันที่ 15 จากการรบทั้งสิ้น 18 วันโดยการใช้ดาบตัดศีรษะ การที่ศิษย์ต้องมาสังหารอาจารย์นั้นก็เพราะเป็นการล้างแค้นแทนท้าวทรุปัทผู้เป็นบิดาซึ่งถูกสังหารโดยโทรณาจารย์ ที่เป็นอาจารย์ของตนเอง นั่นนับเป็นอีกสิ่งเลวร้ายอีกหนึ่งอย่างในหลายๆ สิ่งในสงครามครั้งนั้น และในวันสุดท้ายของศึก ธฤษฏัทยุมนะ ก็ถูกสังหารโดยอัศวัตถามา บุตรชายของโทรณาจารย์โดยการใช้ดาบตัดศีรษะเพื่อล้างแค้นให้บิดาเช่นกัน หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและธฤษฏัทยุมนะ · ดูเพิ่มเติม »

ทุรโยธน์

ทุรโยธน์ หัวหน้าตัวละครฝ่ายเการพในมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ เป็นลูกของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารี ในขณะที่พระนางคานธารีทรงตั้งครรภ์อยู่ 2 ปีนั้น พระนางคานธารีก็เลยได้รับสั่งให้นางข้าหลวงเอาฆ้อนเหล็กทุบไปที่ท้องพร้อมกับบอกว่านี่เป็นวิธีช่วยให้ประสูติการ นางข้าหลวงจึงตีไปที่ครรภ์ของพระนางคานธารี ครั้งแรกยังไม่ออก จึงตีไปอีกสองครั้ง จนในที่สุดพระนางคานธารีก็คลอดออกมาเป็นก้อนเนื้อใหญ่และเย็นเฉียบ เมื่อพระนางคานธารีทราบดังนั้น พระนางคานธารีจึงรับสั่งให้เอาก้อนเนื้อนั้นไปทิ้งสระ ครั้นเมื่อนางข้าหลวงจะเอาก้อนเนื้อไปทิ้งสระก็ได้มีฤๅษีเข้ามาขวางแล้วบอกว่า ให้เอาก้อนเนื้อนั้นเอามาแล่เป็นชิ้น ๆ 100 ชิ้น เอาชิ้นแต่ละชิ้นไปใส่หม้อดินแล้วเอาน้ำบริสุทธิ์พรมลงไป ก้อนเนื้อทั้งร้อยชิ้นก็จะกลายเป็นกุมาร ลูกคนแรกที่คลอดนั้นพอเกิดมา หมาหอนทั้งเมืองแร้งการ้องลั่นพระนคร กุมารองค์โตนี้ ชื่อ ทุรโยธน์ แปลว่า ผู้ซึ่งยากที่ใครจะเอาชนะได้ ท้าวธฤตราษฎร์ได้ยินเสียงนกกาแร้งหมาร้องลั่นระงมทั้งเมืองก็ตกใจวิ่งไปถามท้าวภีษมะผู้เป็นลุงว่า เกิดอะไรขึ้น ท้าวภีษมะก็บอกว่านี่เป็นเหตุอุบาทว์ของลูกชายเจ้าซึ่งเกิดมาพร้อมกับความจัญไร นำมาซึ่งเสนียดแก่หัสตินปุระ ภีษมะจึงบอกให้ท้าวธฤตราษฎร์เอาลูกไปฆ่าทิ้งเสียทั้งหมด แต่ท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีไม่ยอมจึงฝืนเลี้ยงโอรสทั้ง 100 คนเรื่อยมา พร้อมกับพระธิดาอีก 1 คนซึ่งพี่น้องทั้ง 101 คนนั้นก็คือ พี่น้องตระกูลเการพ ทุรโยธน์ได้พรให้เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ในการใช้วาจา เกลี้ยกล่อมคนได้ง่าย แต่ก็เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยากับปาณฑพอย่างแรงกล้า จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา แต่ตอนสุดท้ายทุรโยธน์ก็ต้องถูกภีมะใช้กระบองฟาดต้นขาตาย ไปพร้อมกับพี่น้องตระกูลเการพทั้งหมด ยกเว้นแต่นางทุหศาลา(พระธิดาองค์เดียวของท้าวธฤตราษฎร์).

ใหม่!!: มหาภารตะและทุรโยธน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทุหศาสัน

ทุหศาสัน เป็นโอรสองค์ที่สองของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีแห่งกรุงหัสตินาปุระ และเป็นน้องชายของทุรโยธน์ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์เชิญยุธิษฐิระมาเล่นสกา การแข่งขันดำเนินไปอย่างยาวนาน ยุธิษฐิระเริ่มแพ้พนันสกาไปเรื่อย ๆ ทรัพย์สินและบ้านเมืองที่ใช้เดิมพันถูกทุรโยธน์ยึดไว้ทั้งหมด ยุธิษฐิระหน้ามืดตามัวเดิมพันตัวเองและน้อง ๆ ทั้งสี่ (คือ ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทพ) แต่ก็แพ้ตกเป็นทาสของทุรโยธน์ ในที่สุดก็นำพระนางเทราปตี พระชายามาเดิมพัน ก็แพ้พนันอีก ทุรโยธน์จึงให้ทุหศาสันลากตัวพระนางเทราปทีมาประจานที่กลางสภาเพื่อให้ทุกคนรับรู้ ทุหศาสันจิกผมนางและลากนางมาที่สภา ทุรโยธน์ออกคำสั่งให้ทุหศาสันเปลื้องผ้านางออก นางจึงขอให้พระกฤษณะ (ซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่ 8) ช่วยนาง พระองค์จึงเนรมิตผ้าสาหรี่ให้มีความยาวไม่มีที่สิ้นสุด ทุหศาสันดึงผ้านางอยู่นานก็ไม่มีทีท่าที่จะหมดไปจากกายนาง จนกระทั่งทุหศาสันหมดแรงไปเอง จากการกระทำอันชั่วช้าในครั้งนี้ ภีมะประกาศกร้าวที่จะฉีกอกทุหศาสันเอาเลือดจากอกมาดื่มกิน และเอาเลือดมาล้างผมพระนางเทราปทีเป็นการลบล้างมลทิน ต่อมาเมื่อเกิดศึกมหาภารตะที่ทุ่งราบกุรุเกษตร ระหว่างฝ่ายเการพของทุรโยธน์กับฝ่ายปาณฑพของยุธิษฐิระ ในวันที่ 16 ของสงครามทุ่งราบกุรุเกษตรนี้ ภีมะมีโอกาสได้สู้กับทุหศาสัน ภีมะฟาดกระะบองใส่ทุหศาสันจนล้มฟุบ แล้วตามไปกระชากแขนทั้งสองข้างจนขาดออกมาอย่างโหดเหี้ยม จากนั้นก็ฉีกอกทุหศาสันล้วงเอาเลือดออกมาดื่ม ตามคำสาบานที่เขาประกาศไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและทุหศาสัน · ดูเพิ่มเติม »

ครุฑ

รุฑยุดนาคปูนปั้นปิดทอง ประดับรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครุฑ (गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ" ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ ครุฑพอจะแบ่งได้ 5 ประเภทคือ.

ใหม่!!: มหาภารตะและครุฑ · ดูเพิ่มเติม »

ฆโฎตกัจ

ฆโฏตกัจ (Ghatotkacha) เป็นตัวละครในเรื่องมหาภารตะ เป็นโอรสของภีมะ กับนางรากษสหิฑิมพี ซึ่งตำนานกล่าวไว้ว่าแรกเกิดของฆโฏตกัจนั้นได้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ทันที เนื่องจากในหลายปีก่อนนั้นได้มีฤๅษีรากษสบำเพ็ญตบะอยู่หลายล้านปี พระศิวะเห็นใจจึงลงมาให้พร ซึ่งก็ได้ขอพรจากพระศิวะมากมาย และหนึ่งในพรนั้นก็คือขอให้ลูกรากษสที่เกิดมาทุกตนได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ทันทีหลังที่ได้กำเนิดมา ต่อมา หลังจากที่ฝ่ายปาณฑพได้ประกาศศึกต่อฝ่ายเการพที่ทุ่งกุรุเกษตรแล้ว ฆโฏต์กัจได้มาเป็นแม่ทัพสำคัญของกองกำลังอักเษาหิณีที่ 3 และในสงครามนั้น เขาได้สังหารยักษ์อลัมพุษะ และ อลายุธ ซึ่งเป็นแม่ทัพของกองทัพอักเษาหิณีที่ 8 ตายไปด้วย สุดท้าย ฆโฏตกัจก็ตายด้วยน้ำมือของกรรณะ ซึ่งในศึกวันที่ 14 เขาได้ต่อสู้กับกรรณะในขณะที่อาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว แต่เขายังไม่ยอมสงบศึกกับกรรณะด้วยความแค้นที่ทำกับอภิมันยุ(ลูกชายของอรชุน)และการกระทำนั้นผิดกฎสงครามที่กำหนดไว้ ทำให้กรรณะที่มีความโกรธที่ไม่สามารถทำร้ายฆโฏตกัจได้ จึงนำหอกวาสวีศักติซึ่งใช้ได้ครั้งเดียวแล้วกลับไปหาเจ้าของเดิมออกมาขว้างใส่ฆโฏตกัจ ทำให้ฆโฏตกัจตาย เนื่องจากที่เขาตั้งใจให้เป็นแผนหลอกเอาหอกวาสวีศักติฆ่าตนเอง เพื่อไม่ให้อรชุนไม่ต้องตายในศึกแห่งนี้ด้วยหอกวาสวีศักติตามแผนของพระกฤษณะซึ่งเขาก็ยินดีร่วมแผนนี้ด้วยนั่นเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและฆโฎตกัจ · ดูเพิ่มเติม »

ปรศุราม

ปรศุราม หรือ ปรศุรามาวตาร เป็นอวตารปางที่ ๖ ของพระวิษณุ โดยทรงอวตารเป็นพราหมณ์นามว่า "ปรศุราม" (มีอีกชื่อว่า ภควาจารย์)เพื่อลงมาปราบกษัตริย์ผู้ชั่วช้านามว่า "อรชุน" ซึ่งมี ๑,๐๐๐ มือ ซึ่งปรศุรามาวตารถือว่าเป็นปางแรกของพระวิษณุในช่วงทวาปรยุค ซึ่งเป็นยุคที่ ๓ จากทั้งหมด ๔ ยุคตามความเชื่อของศาสนาฮินดูอันได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค ทวาปรยุค กลียุค โดยพราหมณ์ปรศุรามมีอาวุธคือขวานวิเศษซึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้แก่ปรศุราม ซึ่งต่อมาปรศุรามได้ใช้ขวานนี้สังหารกษัตริย์อรชุน(กรรตวีรยะ)นั่นเอง หลังจากการสังหารกษัตริยอรชุน หรือ กรรตวีรยะ แล้วนั้น.โอรสของกษัตริย์อรชุนเมื่อรู้เข้า ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เดินทาไปแก้แค้นให้พระบิดาด้วยการสังหารฤๅษีชมทัคนี ผู้เป็นบิดาของปรศุราม จนถึงแก่ความตาย เมื่อปรศุรามมาเห็นร่างของบิดาที่ไร้ลมหายใจเพราะถูกสังหาร พร้อมกับสภาพของบ้านของตนที่ถูกทำลาย จึงเกิดความรู้สึกโกรธแค้น และได้สัญญาเอาไว้ว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์ทั้งโลกา พร้อมกับนำขวานคู่ใจเดินทางไปสังหารโอรสของกษัตริย์อรชุนพร้อมทั้งเหล่าเชื้อพระวงศ์ทั้งหลายที่เป็นผู้ชาย จะยกเว้นราชินีและเชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้หญิงไว้ ซึ่งปรศุรามได้ทำอย่างนี้ถึง 21 ครั้ง ก่อนที่จะวางขวานและบำเพ็ญเพียรเพื่อไถ่บาป ปรศุรามเป็นหนึ่งผู้มีอายุยืนทั้ง 7 ในวรรณคดีอินเดีย ซึ่งมีบทบาทในรามายณะและมหาภารตะ ซึ่งเขาจะมีชีวิตจนถึงการอวตารร่างที่ 10 ของพระนารายณ์คือ กัลกยาวตาร (พระกัลกี/อัศวินขี่ม้าขาว) ซึ่งเขาจะเป็นผุ้ส่งมอบอาวุธพระกัลกี ใน มหาภารตะ ปรศุรามเป็นอาจารย์ของ ภีษมะ,โทรณาจารย์ และ กรรณะ หมวดหมู่:ศาสนาฮินดู หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: มหาภารตะและปรศุราม · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์รัฐชัมมูและกัษมีระ

ประวัติศาสตร์รัฐชัมมูและกัษมีระ มีความเป็นมายาวนาน รัฐชัมมูและกัษมีระเคยเป็นดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ต่อมาได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เคยอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิดุรรานีในอัฟกานิสถาน จักรวรรดิโมกุล ในอินเดีย และเคยอยู่ภายใต้การปกครองของชาวสิกข์ ภายหลังขับไล่ชาวสิกข์ออกไปได้ ในยุคที่อังกฤษเข้ามา กษัตริย์ของชัมมูและกัษมีระช่วยอังกฤษรบกับชาวสิกข์และได้เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ เมื่ออังกฤษให้เอกราชแก่อินเดียและมีการแบ่งเป็นอินเดียและปากีสถาน รัฐชัมมูและกัษมีระกลายเป็นกรณีพิพาทของทั้งสองประเทศจวบจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: มหาภารตะและประวัติศาสตร์รัฐชัมมูและกัษมีระ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์รัฐอัสสัม

หรียญของอาหมออกโดยสุเร็มพา ราเชสวาร์ สิงห์ แห่งราชวงศ์อาหม (พ.ศ. 2294 - 2302) ดินแดนที่เป็นรัฐอัสสัม ประเทศอินเดียในปัจจุบันนี้ ในมหาภารตะกล่าวว่าเป็นดินแดนของแคว้นกามรูป ซึ่งปกครองบริเวณลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ภูฏานและเบงกอลตะวันออก ในบันทึกของพระถังซำจั๋ง กล่าวถึงกษัตริย์ที่ปกครองดินแดนนี้ว่านับถือศาสนาฮินดู มีศิลาและแผ่นจารึกแสดงให้เห็นว่ามีราชวงศ์ต่างๆปกครองดินแดนในบริเวณนี้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-17 ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ไทอาหมซึ่งเป็นชาวไทใหญ่เผ่าหนึ่ง ได้เข้ามารุกรานอัสสัมใน..

ใหม่!!: มหาภารตะและประวัติศาสตร์รัฐอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์รัฐอานธรประเทศ

รัฐอานธรประเทศเป็นรัฐในอินเดีย ตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: มหาภารตะและประวัติศาสตร์รัฐอานธรประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อินเดีย

ประวัติศาสตร์อินเดีย อารยธรรมอินเดีย อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1.

ใหม่!!: มหาภารตะและประวัติศาสตร์อินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสนาพุทธ

นาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: มหาภารตะและประวัติศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

นาค

นาคสะดุ้ง ประติมากรรมตามบันไดทางขึ้นโบสถ์ของวัดไทย ตามความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นาค (नाग Nāga) เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่ ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษะ (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม.

ใหม่!!: มหาภารตะและนาค · ดูเพิ่มเติม »

นางหิฑิมพี

นางหิฑิมพี (Hidimbi) ตัวละครฝ่ายหญิงจาก มหากาพย์มหาภารตะ เป็นมเหสีอีกองค์หนึ่งของ ภีมะ พี่น้องคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้อง 5 คนจากฝ่าย ปาณฑพ โดยนางเป็นพวกรากษสหรือยักษ์ประเภทหนึ่งซึ่งนางได้ให้กำเนิดบุตรชายให้กับภีมะ 1 คนคือ ฆโฎตกัจ โดยใน สงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร นางหิฑิมพีได้ส่งฆโฎตกัจบุตรชายไปร่วมรบกับภีมะผู้เป็นบิดาในกองทัพฝ่ายปาณฑพด้วย ในระหว่างที่พี่น้องฝ่ายปาณฑพทั้งห้าพร้อมกับพระนางกุนตีและพระนางเทราปตีถูกเนรเทศไปอยู่ในป่าเป็นเวลา 14 ปีภีมะได้ต่อสู้กับ หิฑิมพะ และฆ่าหิฑิมพะตายพร้อมกันนั้นภีมะก็ต้องการฆ่านางหิฑิมพีให้ตายตามไปด้วยแต่พระนางกุนตีได้ร้องขอชีวิตเอาไว้และ ยุธิษฐิระ พี่ชายคนโตได้อนุญาตให้จัดงานแต่งงานระหว่างภีมะกับนางหิฑิมพี หมวดหมู่:นางในวรรณคดี หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและนางหิฑิมพี · ดูเพิ่มเติม »

นางอุตตรา (มหาภารตะ)

นางอุตตรา ขณะเจ้าชายอภิมันยุ พระสวามี เสด็จไปออกศึก นางอุตตรา เป็นตัวละครในมหาภารตะ เป็นพระธิดาของท้าววิราฏแห่งมัสตยะ และเป็นชายาของเจ้าชายอภิมันยุ มีโอรสด้วยกันคือ เจ้าชายปริกษิต หมวดหมู่: ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและนางอุตตรา (มหาภารตะ) · ดูเพิ่มเติม »

นางโมหิณี

นางโมหิณี (मोहिनी) เป็นอวตารที่เป็นสตรีปางเดียวของพระวิษณุ นางโมหิณีได้รับการกล่าวถึงในระบบความเชื่อของฮินดูในมหากาพย์มหาภารตะซึ่งไปแย่งเอาน้ำอัมฤทธิ์กลับคืนจากพวกอสุราเพื่อคืนแก่เทพเทวา นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานอื่นอีก อาทิเช่น การแต่งงานกับพระศิวะและมีบุตรเป็นศัตรา (IAST Śāstā) รวมถึงการทำลายนนทกและกำเนิดหนุมานในเรื่องรามเกียรต.

ใหม่!!: มหาภารตะและนางโมหิณี · ดูเพิ่มเติม »

แบล็กบัก

thumb thumb แบล็กบัก หรือ แอนทิโลปอินเดีย (Blackbuck, Indian antelope) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคู่จำพวกแอนทิโลปชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Antilope จึงจัดเป็นแอนทิโลปแท้ แบล็กบัก มีลักษณะคล้ายกับแอนทิโลปหรือกาเซลล์ที่พบในทวีปแอฟริกา แต่แบล็กบักเป็นสัตว์ที่พบได้ในทวีปเอเชีย แบล็กบักตัวผู้มีเขาคู่หนึ่งที่ยาว 35–75 เซนติเมตร เขามีความสวยงามตรงที่บิดเป็นเกลียวและปลายแหลม ดูน่าเกรงขาม ด้วยความยาวของเขานั้นแม้จะนอนหรือซ่อนอยู่ในพงหญ้าบางครั้งก็ยังเห็นโผล่มาชัดเจน มีความสูงประมาณ 74–84 เซนติเมตร ตัวผู้มีน้ำหนักระหว่าง 20–57 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักเฉลี่ย 27 กิโลกรัม เป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วมาก สามารถวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ชอบกินหญ้าโดยเฉพาะหญ้าสั้นเป็นอาหาร แต่บางครั้งก็อาจกินใบไม้ได้ด้วย มักอาศัยในป่าละเมาะที่ใกล้กับแหล่งน้ำ เพราะต้องใช้น้ำในการดื่มกิน ตัวผู้จะป้องกันอาณาเขตของฝูงตัวเองและแย่งชิงตัวเมีย คือ การใช้เขาทั้งสองข้างนั้นขวิดสู้กัน ซึ่งพฤติกรรมนี้พบได้ตลอดทั้งปี ด้วยความสวยงามของเขา จึงทำให้ถูกล่าเพื่อเอาเขา รวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัยถูกคุกคามด้วยจากการรุกรานเพื่อต้องการพื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ ทำให้แบล็กบักที่เคยมีอยู่ทั่วไปในอินเดียสมัยก่อน และพบได้จนถึงอิสราเอลในตะวันออกกลาง ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ในป่าอนุรักษ์หรืออุทยานแห่งชาติของอินเดีย เช่น อุทยานแห่งชาติเวลาวาดาร์ ในรัฐคุชราต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นทุ่งสะวันนากว้างโล่งเหมือนทวีปแอฟริกา เป็นต้น และได้สูญพันธุ์ไปแล้วที่บังกลาเทศ แบล็กบักตัวผู้ในภาพย้อนแสง เห็นเขาคู่อย่างชัดเจน แบล็กบัก ได้ถูกจัดให้มี 2 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: มหาภารตะและแบล็กบัก · ดูเพิ่มเติม »

แฟนพันธุ์แท้ 2014

แฟนพันธุ์แท้ 2014 เป็นรายการโทรทัศน์ไทย ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศ ทุกวันศุกร์ เวลา 22:20–23:50 นาฬิกา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2557 มีกฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ เป็นพิธีกร รายการ แฟนพันธุ์แท้ 2014 ยังคงรูปแบบการแข่งขันส่วนใหญ่จากในปี 2013 แต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในรอบ 3 วินาที โดยจะสลับผู้เริ่มตอบคำถามในแต่ละรอบ สำหรับแฟนพันธุ์แท้ประจำสัปดาห์ปี 2014 มีทั้งหมด 28 เรื่อง เป็นเรื่องใหม่ 22 เรื่อง เรื่องเก่านำมาจัดใหม่ 6 เรื่อง มีสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ที่ตอบคำถามสุดท้ายถูก 19 เรื่อง ตอบผิด 9 เรื่อง มีผู้เข้าแข่งขันสุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี ทั้งหมด 19 คน และมีกิจกรรมพิเศษให้สำหรับสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ที่ตอบคำถามรอบสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ผิด มีสิทธิ์เข้ากลับมาแข่งขันในการแข่งขัน สุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2014 ได้อีกครั้ง โดยการเปิดโหวตผ่านทางเฟสบุ๊คของทางรายการ ผู้ที่มีผลโหวตมากที่สุดจะมีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันซึ่งในปีนี้มีผู้ที่ได้คะแนนโหวตมากที่สุดใกล้เคียงกัน 2 คน จึงมีผู้เข้าแข่งขันในปีนี้ทั้งหมด 21 คน ในการค้นหาชิงชัยสุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2014 เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2557 และสิ้นสุดในวันที่ 26 ธันวาคม 2557 โดยสุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2014 ได้แก่ วันชนะ ศรีจำปา สุดยอดแฟนพันธุ์แท้นักเตะระดับโลก ซึ่งแฟนพันธุ์แท้ปีนี้ได้แข่งขันและเสร็จภายในปีเดียว จากเดิมที่เสร็จตอนต้นปีต่อม.

ใหม่!!: มหาภารตะและแฟนพันธุ์แท้ 2014 · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์โซนา 4

ปกของเพอร์โซนา 4 เพอร์โซนา 4 เป็นเกมเล่นตามบทบาทสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 เพอร์โซนา 4 เป็นภาคหนึ่งในชุด เพอร์โซนา ซึ่งเป็นชุดย่อยของเมกามิเทนเซย์ พัฒนาโดยบริษัทแอตลัส ออกวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ก่อนจะจำหน่ายในอเมริกาเหนือ ในเดือน ธันวาคม ปีเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า Shin Megami Tensei: Persona 4 (ชินเมกามิเทนเซย์ เพอร์โซนา4) และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552ในภาคพื้นยุโรป ภาคภาษาอังกฤษซึ่งจำหน่ายในอเมริกาเหนือยังแถมอาร์ตบุคและซาวแทร็คซีดีของเกมพร้อมกับเกมเช่นเดียวกับเพอร์โซนา 3 และเพอร์โซนา 4 ก็ได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างมากมายเช่นเดียวกัน ตัวละครในเกมนั้นได้รับการออกแบบโดยชิเงโนริ โซเอะจิมะ ยกเว้นเพอร์โซนาที่เป็นปิศาจจากเมกามิเทนเซย์ภาคก่อนๆซึ่งออกแบบโดยคาซึมะ คาเนโกะ ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้เปิดตัวเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของภาคอะนิเมะ และออกฉายในญี่ปุ่นครั้งแรกในวันที่ 6ตุลาคม..

ใหม่!!: มหาภารตะและเพอร์โซนา 4 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอัมพา

เจ้าหญิงอัมพา ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เป็น เจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี เป็นพี่สาวของ อัมพิกาและอัมพาลิกา เมื่อถึงพิธีสยุมพรให้เจ้าหญิงทั้งสามเลือกคู่ กับเจ้าชายเมืองต่างๆ ภีษมะ ต้องการให้เจ้าหญิงทั้งสาม เป็นมเหสีของ วิจิตรวีรยะ น้องชายต่างมารดา แต่เนื่องจากว่าเจ้าหญิงอัมพามีใจให้กับราชาศาลวะ แต่ภีษมะกระทำรากษสวิวาห์ ศาลวะจึงคิดว่าอัมพาเป็นสมบัติของภีษมะ แม้อัมพาจะอธิบายอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้ายราชาศาลวะก็ไม่ต้องการอัมพา ทำให้อัมพาไปหาภีษมะอีกครั้ง แต่ภีษมะไม่รับรับนางเป็นชายา อัมพาจึงสรรหาผู้ที่จะสังหารภีษมะแต่ไม่มีใครอาสา อัมพาจึงบำเพ็ญตบะแด่พระขันธกุมาร พระขันธกุมารจึงมอบพวงมาลัย (คนที่สวมพวงมาลัยจะสังหารภีษมะได้) แต่ไม่มีราชาคนใดอาสาสังหารภีษมะ จนถึงแคว้นปัญจาละของท้าวทรุปัท นางจึงแขวนพวงมาลัยไว้หน้าเมือง แล้วจึงขอพรพระศิวะ ให้ตนเกิดใหม่เป็นผู้นำความตายสู่ภีษมะ และเผาตนเองในกองไฟ แล้วไปเกิดใหม่เป็น ศิขัณฑิณ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ en:Amba (Mahabharata).

ใหม่!!: มหาภารตะและเจ้าหญิงอัมพา · ดูเพิ่มเติม »

เขาไกรลาส

กรลาส แผนที่แสดงที่ตั้ง เขาไกรลาส (कैलास ไกลาส; ทิเบต: གངས་རིན་པོ་ཆེ; 冈仁波齐峰; พินอิน: Gāngrénbōqí fēng) เป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ มีความสูง 22,020 ฟุต จัดว่าเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย เป็นยอดเขาที่มีอายุกำเนิดมาจนถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี ในศาสนาฮินดูเชื่อว่าเขาไกรลาสเป็นที่ประทับของพระศิวะ ในศาสนาพุทธมีคัมภีร์สารัตถปกาสินีระบุว่าเขาไกรลาสเป็นเขาที่ประเสริฐสุดในบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์ และยังปรากฏในศาสนาเชนและศาสนาบอนด้วย ตามความเชื่อของศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ เขาไกรลาสเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และเชื่อว่า คือแห่งเดียวกันกับเขาพระสุเมรุ เชิงเขาไกรลาส เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสายของภูมิภาคแห่งนี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญ คือ "ทะเลสาบมานสโรวระ" หรือ "ทะเลสาบมานัสสะ" อยู่ทางเหนือของเขาไกรลาส ที่เชื่อกันว่า คือ "สระอโนดาต" ในป่าหิมพานต์ เชื่อกันว่าเป็นสถาน ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี ทะเลสาบมานัส ได้ถูกอ้างอิงถึงในรามายณะและมหาภารตะ ที่ระบุว่า "ทะเลสาบมานัสอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้แต่ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกายหรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ" เขาไกรลาส ปกติจะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งสีขาวโพลน จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ภูเขาสีเงิน" ("ไกรลาส" หรือ "ไกลาส" เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "สีเงินยวง") ทุกปีจะมีผู้จารึกแสวงบุญตามศาสนาต่าง ๆ เดินทางมาที่นี่ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาและได้อยู่ใกล้พระศิวะ โดยทำการประทักษิณให้ครบ 39 รอบ เป็นการเคารพบูชาอันสูง.

ใหม่!!: มหาภารตะและเขาไกรลาส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหากาพย์มหาภารตะสหเทพนกุล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »