โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาดเล็ก

ดัชนี มหาดเล็ก

มหาดเล็ก หมายถึง ข้าราชการในพระราชสำนัก โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้ว่า “......

38 ความสัมพันธ์: ชิต สิงหเสนีบุศย์ ปัทมศรินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา)พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์)พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)พระสุนทรโวหาร (ภู่)พระธาดาอำนวยเดชพระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)ภักดิพร สุจริตกุลราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย)วัดโชติทายการามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)หลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี)อาญาสี่อำมาตย์จหมื่นศรีสรรักษ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำเนียบรัฐบาลไทยขุนศรีวิชัยขุนนางกรุงศรีอยุธยาคิม ชอ-ซ็อนประยูร ภมรมนตรีนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)นิราศนครวัดโขนเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)

ชิต สิงหเสนี

ต สิงหเสนี เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม..

ใหม่!!: มหาดเล็กและชิต สิงหเสนี · ดูเพิ่มเติม »

บุศย์ ปัทมศริน

มจำเลยผู้ถูกประหารชีวิตในกรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2489 (จากซ้าย) นายชิต สิงหเสนี '''นายบุศย์ ปัทมศริน''' และนายเฉลียว ปทุมรส บุศย์ ปัทมศริน เป็นอดีตมหาดเล็กห้องบรรทมในรัชกาลที่ 8 ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2489 ต่อมาได้ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวและได้รับการตัดสินโทษประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2498 นายบุศย์ ปัทมศริน เป็นบุตรของขุนวิสูตรเสนีย์กับนางปุก ปัทมศริน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2443 จบการศึกษาระดับมัธยมศีกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เข้ารับราชการครั้งแรกในกรมปลัดบัญชี ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จนิวัติพระนครใน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนเป็นมหาดเล็กตั้งเครื่อง และมหาดเล็กห้องบรรทมตามลำดับ เมื่อเกิดเหตุการณ์การสวรรคตของรัชกาลที่ 8 นายบุศย์ได้ขึ้นให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนพฤตติการณ์ในการที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต หรือ "ศาลกลางเมือง" ในฐานะพยานสำคัญ เนื่องจากนายบุศย์เป็น 1 ใน 2 คนที่อยู่ใกล้ชิดกับห้องพระบรรทมของรัชกาลที่ 8 มากที่สุด แต่ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2490 นายบุศย์พร้อมด้วยบุคคลอื่นอีก 4 คน ได้ถูกจับกุมด้วยข้อหามีส่วนร่วมในการวางแผนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ซึ่งต่อมาอัยการได้สั่งฟ้องนายบุศย์พร้อมกับผู้ต้องหาอีก 2 คน คือ นายเฉลียว ปทุมรส และนายชิต สิงหเสนี ในการพิจารณาคดีชั้นศาล ศาลอาญาได้พิพากษาให้ปล่อยตัวนายบุศย์ แต่ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาให้ประหารชีวิตนายบุศย์พร้อมกับนายชิต ที่สุดแล้วเมื่อมีการพิจารณาในชั้นศาลฎีกา ได้มีการพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยในคดีนี้ทั้ง 3 คนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2497ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม.

ใหม่!!: มหาดเล็กและบุศย์ ปัทมศริน · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: มหาดเล็กและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)

ระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) (8 เมษายน พ.ศ. 2400 – 10 เมษายน พ.ศ. 2456) เป็นข้าราชการชาวไทย ระหว่างเป็นเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต และเป็นผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ ระนอง คอซิมบี๊ ณ ระนอง เกิดที่จังหวัดระนองเมื่อวันพุธ เดือนห้า ปีมะเส็ง ตรงกับเดือนเมษายน..

ใหม่!!: มหาดเล็กและพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

ระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365-16 ตุลาคม พ.ศ. 2434) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง.

ใหม่!!: มหาดเล็กและพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา)

ระยาจุฬาราชมนตรี นามเดิม สัน เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) มีชื่อทางศาสนาว่า มิซซา อาลีระชา เกิดเมื่อ พ.ศ. 2411 เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นปลัดกรมท่าขวามีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชาเศรษฐี เมื่อ พ.ศ. 2432 แล้วเลื่อนเป็นพระราชเศรษฐี ตามลำดับ ต่อมาย้ายไปรับราชการกระทรวงยุติธรรมฝ่ายการเงินแล้วเลื่อนขึ้นเป็นจ่าศาลต่างประเทศ จนวันที่ 12 มกราคม..

ใหม่!!: มหาดเล็กและพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) · ดูเพิ่มเติม »

พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์)

มหาเสวกตรี พระพระยานรรัตนราชมานิต (ฉายาเมื่อบวชเป็นพระภิกษุ: ธมฺมวิตกฺโก ภิกฺขุ) เป็นอดีตมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ จำพรรษา ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร ตราบจนมรณ.

ใหม่!!: มหาดเล็กและพระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

ลเอก พระยาเทพหัสดิน (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2494) หัวหน้าคณะทูตทหารไทยที่เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 นักโทษประหาร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์ และราชทินนามเต็มว่า พลเอก พระยาเทพหัสดิน สยามพิชิตินทร์สวามิภักดิ์ อุดมศักดิ์เสนีย์พิริยะพาหะ เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ของพันเอก หลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา พี่ชายต่างมารดาของ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)) ซึ่งเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ เกิดเมื่อวันขึ้น 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 ณ บ้านสำเพ็ง หน้าวัดจักรวรรดิราชาวาส จังหวัดพระนคร พระยาเทพหัสดิน มีศักดิ์เป็นหลานอาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แต่มีอายุไล่เลี่ยกัน.

ใหม่!!: มหาดเล็กและพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) · ดูเพิ่มเติม »

พระสุนทรโวหาร (ภู่)

ระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง ปี..

ใหม่!!: มหาดเล็กและพระสุนทรโวหาร (ภู่) · ดูเพิ่มเติม »

พระธาดาอำนวยเดช

ท้าวพรหมมา พระธาดาอำนวยเดช (พรหม) ผู้สร้างเมืองและเป็นเจ้าเมืองคนแรก ชาวเมืองจตุรพัตรพิมานนิยมเรียกขานท่านด้วยความยกย่องนับถือว่า "ท้าวพรหมมา" เป็นบุตรของพระรัตนวงษา(ท้าวคำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ลำดับที่ ๑๒ กับ ญาแม่โซ่นแป้ เกิดเมื่อปีระกา เดือน ๙..๒๓๙๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ในขณะบิดาดำรงตำแหน่งเป็นอุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีพระราชบัญญัตินามสกุลแก่พระสกนิกร ส่วนบรรดาเจ้าเมืองได้นามสกุลพระราชทาน พระธาดาอำนวยเดชจึงไดัรับพระราชทานนามสกุลว่า สุวรรณธาดา ซึ่งคำว่า สุวรรรณ ที่แปลว่าทอง ท้าวพรหมเป็นเชื้อสายมาจากสุวรรณภูมิ ส่วนคำว่า ธาดา ได้รับจารึกในใบพระราชทานนามสกุล เมื่อวันที่ ๕ เมษายน..๒๔๖๒ ขณที่มีอายุ ๖๗ ปี พระธาดาอำนวยเดช (พรหม สุวรรณธาดา) ถึงแก่กรรมเมื่อปี..

ใหม่!!: มหาดเล็กและพระธาดาอำนวยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)

ระปรีชากลการ มีชื่อตัวว่า สำอาง อมาตยกุล (15 สิงหาคม พ.ศ. 2384 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422) ขุนนางชาวไทย สมรสกับสตรีลูกครึ่งอังกฤษ คือ แฟนนี่ น็อกซ์ ท่านถูกกล่าวหาว่า "ฆ่าคนตายและทารุณกรรม แก่คนไทยที่เมืองกบินทร์บุรี" โทมัส ยอร์ช น็อกซ์ ผู้เป็นพ่อตา ซึ่งเป็นกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย จึงได้ข่มขู่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และสมุหพระกลาโหม ว่าจะนำเรือรบอังกฤษมาข่มขู่ให้ปล่อยลูกเขยของตน แต่กลับไม่สำเร็จ และปิดท้ายด้วยการประหารพระปรีชากลการ เรื่องราวของพระปรีชากลการถูกแต่งเป็นนิยายเรื่อง Fanny & Regent of Siam ("แฟนนี่และผู้สำเร็จราชการแห่งสยาม") ซึ่งรจนาโดยอาร.

ใหม่!!: มหาดเล็กและพระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ภักดิพร สุจริตกุล

ักดิพร สุจริตกุล (ชื่อเล่น: ปุ๊ย; เกิด: 20 สิงหาคม พ.ศ. 2497) เป็นภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสของชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของไทย เป็นบุตรสาวคนโตของกัลย์ทัศน์ สุจริตกุล อดีตมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับดรรชี สุจริตกุล เธอเป็นหลานย่าของสุมิตรา สุจริตกุล (สกุลเดิม: สิงหลกะ) นางข้าหลวงในรัชกาลที่ 6 โดยสุมิตราเป็นธิดาของ มหาเสวกตรี พระยาราชมนตรี (สง่า สิงหลกะ) กับคุณหญิงบุญปั๋น ราชมนตรี (สกุลเดิม: พิทักษ์เทวี; บางแห่งว่าเธอมีสถานะเป็น "เจ้า") โดยพ่อและย่านำเข้าเฝ้าถวายตัวตั้งแต่เด็ก ๆ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระราชทานตำแหน่งให้เป็นคุณข้าหลวงในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพร้อมกับศึกษาในโรงเรียนจิตรลดาชั้นเดียวกับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจนสำเร็จการศึกษา จึงทูลลามาศึกษาวิชาเปียโน เมื่อศึกษาจบจึงเป็นครูสอนเปียโนที่โรงเรียนสยามกลการ ภักดิพรพบกับชวน หลีกภัย ครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: มหาดเล็กและภักดิพร สุจริตกุล · ดูเพิ่มเติม »

ราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย)

ราชการส่วนกลาง หมายถึง ราชการที่ดำเนินการและบริหารโดยหน่วยราชการในส่วนกลางของฝ่ายบริหาร เพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หมายความว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้.

ใหม่!!: มหาดเล็กและราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

วัดโชติทายการาม

วัดโชติทายการาม เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ที่ 1 ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก.

ใหม่!!: มหาดเล็กและวัดโชติทายการาม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

มเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 8 แห่งอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สวรรคต..

ใหม่!!: มหาดเล็กและสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

มเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 14 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: มหาดเล็กและสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล.

ใหม่!!: มหาดเล็กและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

ใหม่!!: มหาดเล็กและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี)

ณะราษฎรสายทหารบก ที่สนามหญ้าหน้าวังปารุสกวันในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (หลวงทัศนัยนิยมศึก - ทัศนัย มิตรภักดี คือ คนที่ 2 จากซ้ายแถวกลาง) พันตรี หลวงทัศนัยนิยมศึก มีชื่อตัวว่า ทัศนัย มิตรภักดี (22 กันยายน พ.ศ. 2443–10 พฤษภาคม พ.ศ. 2476) อดีตนายทหารม้าชาวไทย และผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎรชุดแรก (7 คนแรก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และทำการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475.

ใหม่!!: มหาดเล็กและหลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี) · ดูเพิ่มเติม »

อาญาสี่

อาญาสี่ คือระบบการปกครองของราชอาณาจักรล้านช้างในสมัยโบราณ ที่พัฒนาขึ้นมาหลังการสถาปนาราชอาณาจักรล้านช้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าฟ้างุ้ม และเป็นระบบการปกครองดั้งเดิมที่ถูกจารึกอยู่ใน คัมภีร์พระธรรมศาสตร์หลวง หรือคัมภีร์กฎหมายโบราณของลาวในสมัยสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งเวียงจันทน์ ตลอดจนกฎหมายท้าวพระยาโบราณของลาวและอีสานอีกหลายฉบับ ในวรรณกรรมโบราณเรียกระบบอาญาสี่ว่า เจ้าขันคำทั้งสี่ เมืองส่วนใหญ่ในราชอาณาจักรล้านช้างไม่ว่าจะเป็นนครหลวง เมืองเอกราช เมืองประเทศราชหรือเมืองสะทุดสะลาด เมืองหัวเศิก เมืองนครขอบด่าน เมืองกัลปนาหรือเมืองศาสนานคร ตลอดจนหัวบ้านหัวเมืองใหญ่น้อยและเมืองห้อยเมืองแขวนทั้งหลาย เช่น เมืองชั้นเอก เมืองชั้นโท เมืองชั้นตรี และเมืองชั้นจัตวา ต่างนิยมใช้ระบบการปกครองแบบอาญาสี่ทั้งสิ้น หลังจากประกาศสถาปนาพระราชอาณาจักรลาวได้มีการยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตให้อยู่เหนืออาญาทั้ง ๓ ตำแหน่ง แล้วเพิ่มอาญาตำแหน่งอื่นเข้าไปอีก ๒ ตำแหน่ง รวมเป็น ๕ ตำแหน่งเรียกว่า เจ้าย่ำขม่อมทั้งห้า หรือ เจ้ายั้งกระหม่อมทั้งห้า ระบบอาญาสี่แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภทที่เป็นการปกครองของลาวโดยตรง ประกอบด้วย ๔ ตำแหน่ง คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร และประเภทที่สองเป็นการปกครองของลาวที่ได้รับอิทธิพลจากเขมร แบ่งออกเป็น ๔ ตำแหน่งเช่นกัน ได้แก่ เจ้าเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และกรมการเมืองหรือกรรมการเมือง แต่ในความเข้าใจโดยทั่วไปแล้วอาญาสี่มักหมายถึงถึงระบบการปกครองประเภทแรกมากกว่าประเภทที่สอง ส่วนเจ้านายในราชวงศ์ที่มีตำแหน่งต่ำกว่าอาญาสี่นั้นกษัตริย์หรือเจ้าเมืองมักโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีสำคัญอีก ๒ ประเภท ได้แก่ เสนาบดีจตุสดมภ์ และเสนาบดีอัตถสดม.

ใหม่!!: มหาดเล็กและอาญาสี่ · ดูเพิ่มเติม »

อำมาตย์

อำมาตย์ คือ ข้าราชการ ข้าเฝ้า ขุนนาง (มาจากคำว่า อมาตย์) ที่ปรึกษา ชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับพระราชาเคยใช้เป็นยศพลเรือน จัดเป็น ๓ ชั้น คือ รองอำมาตย์ อำมาตย์ มหาอำมาตย์ ชั้นหนึ่งมี ๓ คือ เอก โท ตรี แต่ชั้นมหาอำมาตย์มีสูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง คือ มหาอำมาตยนายก เป็นชั้นพิเศษ ยศดังนี้เลิกใช้ เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง..

ใหม่!!: มหาดเล็กและอำมาตย์ · ดูเพิ่มเติม »

จหมื่นศรีสรรักษ์

หมื่นศรีสรรักษ์ หรือ จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ เป็นตำแหน่งขุนนางหรือมหาดเล็ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มหาดเล็กและจหมื่นศรีสรรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: มหาดเล็กและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ทำเนียบรัฐบาลไทย

ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี, สถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญระดับผู้นำต่างประเทศ ซึ่งมาเยือนประเทศไทย และยังใช้เป็นสถานที่จัดรัฐพิธี เช่น งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เป็นต้น ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 2 ไร่ 3 งาน 44 ตารางว.

ใหม่!!: มหาดเล็กและทำเนียบรัฐบาลไทย · ดูเพิ่มเติม »

ขุนศรีวิชัย

นศรีวิชัยเป็นชื่อบรรดาศักดิ์ของตัวละครตัวหนึ่งในเสภาขุนช้างขุนแผน โดยเป็นบิดาของขุนช้าง นอกจากจะเป็นคนรุ่นเดียวกับขุนไกรพลพ่ายบิดาของขุนแผนแล้วยังถึงแก่กรรมในโอกาสไล่เลี่ยกันอีกด้ว.

ใหม่!!: มหาดเล็กและขุนศรีวิชัย · ดูเพิ่มเติม »

ขุนนางกรุงศรีอยุธยา

นนางไทย คือข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ราชทินนามและศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป โดยขุนนางเป็นผู้ที่กำเนิดจากสามัญชน อาจจะมาจากครอบครัวชั้นสูงหรือชั้นต่ำในสังคมก็ได้ ฉะนั้นขุนนางเกิดจากการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์ สามัญชนที่มีโอกาสถวายตัวรับราชการกับกษัตริย์และได้รับศักดินา 400 ขึ้นไป หรืออาจมีข้อยกเว้นหากมีศักดินาต่ำกว่า 400 แต่รับราชการในกรมมหาดเล็กก็จัดเป็นขุนนาง ทั้งนี้ขุนนางในกรมมหาดเล็กจะได้รับการเลือกสรรโดยตรงจากพระมหากษัตริย์ สามัญชนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางอาจเกิดขึ้นได้ 2 ระยะ คือระยะแรกเมื่อเป็นเด็ก บิดาซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่นำเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก อาจจะถวายตัวกับเจ้านายพระองค์อื่นสักระยะ เมื่อมีคุณสมบัติครบที่จะเป็นขุนนางได้ ขุนนางผู้ใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติ หากเห็นว่าเหมาะสมจะส่งไปประจำตามกรมกองต่างๆ ซึ่งมักเป็นกรมกองที่บิดามารดาหรือญาติพี่น้องรับราชการประจำอยู่แล้ว ในพระราชกำหนดเก่าที่ตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นขุนนางว่าจะต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ คือ ชาติวุฒิ (เป็นตระกูลขุนนางสืบทอดกันมา), วัยวุฒิ (อายุ 31 ปีขึ้นไป), คุณวุฒิ (มีภูมิรู้ที่ดี) และ ปัญญาวุฒิ (มีความฉลาดรอบรู้โดยทั่ว) นอกจากนี้ยังต้องมีฉันทาธิบดี (ถวายสิ่งที่ต้องประสงค์) วิริยาธิบดี (มีความเพียรในราชการ) จิตตาธิบดี (กล้าหาญในสงคราม) และวิมังสาธิบดี (ฉลาดการไตร่ตรองคดีความและอุบายในราชการต่างๆ) ทั้งนี้ กฎเกณฑ์เหล่านี้มิได้กำหนดเป็นการตายตัว.

ใหม่!!: มหาดเล็กและขุนนางกรุงศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

คิม ชอ-ซ็อน

ม ชอ-ซ็อน (김처선, ? - พ.ศ. 2048) เป็นมหาดเล็กคนสำคัญในประวัติศาสตร์เกาหลีสมัยราชวงศ์โชซอน.

ใหม่!!: มหาดเล็กและคิม ชอ-ซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

ประยูร ภมรมนตรี

รองอำมาตย์เอก นายพลโท ประยูร ภมรมนตรี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายพลเรือน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเหลนของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลที่๓ เป็นบุตรของ พันตรี พระชำนาญคุรุวิทย์ (แย้ม ภมรมนตรี) ทูตทหารประจำจักรวรรดิเยอรมัน กับมารดาที่เป็นชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นครูสอนภาษาเยอรมันให้กับนักเรียนในจักรวรรดิเยอรมันขณะนั้น2475: สองฝั่งประชาธิปไตย, สารคดี: ทีวีไทย พฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ชื่อ แพทย์หญิงแอนเนลี ไฟร์ พลโท ประยูร ภมรมนตรี เป็นผู้เสนอจัดตั้งโรงแรมขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความเจริญของกรุงเทพมหานคร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อปี..

ใหม่!!: มหาดเล็กและประยูร ภมรมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)

ันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) อดีตประธานวุฒิสภา, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง.

ใหม่!!: มหาดเล็กและนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) · ดูเพิ่มเติม »

นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)

นายนรินทรธิเบศร์ เดิมชื่อ อิน ได้รับราชการเป็น มหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร มีบรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร์ จึงมักเรียกกันว่า นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) คือใส่ชื่อเดิมเข้าไปด้วย นายนรินทรธิเบศร์เป็นผู้แต่งนิราศคำโคลง ที่เรียกกันว่านิราศนรินทร์ตามชื่อผู้แต่ง ทว่าประวัติของนายนรินทรธิเบศร์ไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก ทราบแต่ว่ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 2 เท่านั้น ในชั้นหลังเราได้ทราบประวัติของท่านจากหนังสือนิราศนรินทร์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ โดยทรงเล่าเพิ่มเติมว่า “...นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ไม่ใคร่จะได้แต่งหนังสือไว้มากนัก และแต่งไว้บ้างก็ล้วนแต่เป็นโคลง ที่ปรากฏว่าเป็นกลอนนั้นน้อยเต็มที โคลงยอพระเกียรติตอนท้ายหนังสือปฐมมาลา ก็เป็นฝีปากของนายนรินทร์ (อิน) จึงสันนิษฐานว่านายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ชอบโคลงมากกว่าคำประพันธ์อื่นๆ” ผลงานการประพันธ์ของนายนรินทรธิเบศร์นั้นไม่ปรากฏแพร่หลาย แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ว่า “..ส่วนที่แต่งไว้ในที่อื่นๆ นั้น ไม่มีที่ใดจะเปรียบกับโคลงนิราศนี้ได้” แต่ทรงมิได้ระบุว่านายนรินทร์ได้แต่งเรื่องอื่นใดไว้นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีเพลงยาวอีกเรื่องหนึ่งที่กล่าวว่าเป็นของนายนรินทรธิเบศร์ นั่นคือเพลงยาวของนายนรินทร์ มีเนื้อความดังนี้ หมวดหมู่:นักเขียนชาวไทย หมวดหมู่:มหาดเล็ก หมวดหมู่:กวีชาวไทย.

ใหม่!!: มหาดเล็กและนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) · ดูเพิ่มเติม »

นิราศนครวัด

นิราศนครวัด เป็นนิราศร้อยแก้วเพียงเรื่องเดียวในบรรดาวรรณคดีของไทยทั้งหมด เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นักปราชญ์คนสำคัญของเมืองไทย นับเป็นหนังสือเล่าเรื่องเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดีเล่มแรกๆ ของไท.

ใหม่!!: มหาดเล็กและนิราศนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157 โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงคำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: มหาดเล็กและโขน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)

อมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) (14 เมษายน พ.ศ. 2399 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464) ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2457 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 เป็นพระโอรสในหม่อมเจ้านิล ฉัตรกุล (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉัตร กรมหมื่นสุรินทรรักษ์) กับหม่อมราชวงศ์ สุ่น ปาลกะวงศ์ (นัดดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปาน กรมหมื่นนราเทเวศร์).

ใหม่!!: มหาดเล็กและเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)

ลเอก พลเรือเอก มหาเสวกเอก จางวางเอก นายพลเสือป่า เจ้าพระยารามราฆพ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2433 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510) อดีตองคมนตรี อดีตสมุหราชองครักษ์ อดีตสมุหพระราชมนเทียร อดีตประธานกรรมการพระราชสำนัก อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ และ อดีตนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัม.

ใหม่!!: มหาดเล็กและเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)

้าพระยาสุรินทราชา นามเดิมจันทร์ ประชาชนชาวนครศรีธรรมราชขนานนามว่า อุปราชจันทร์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล จันทโรจวงศ์ เป็นข้าหลวงสำเร็จราชการหัวเมือง ฝั่งตะวันตก ระหว่าง..

ใหม่!!: มหาดเล็กและเจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)

มหาเสวกโท เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 -27 สิงหาคม พ.ศ. 2465) เป็นเจ้าเมืองพระตะบองต่อจากบิดา และเป็นสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลบูรพา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นตระกูล "อภัยวงศ์" ท่านเป็นพระอัยกา (ปู่) ในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และเป็น พระมาตามไหยกา (ทวด) ในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี.

ใหม่!!: มหาดเล็กและเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)

้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2356 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2413) ขุนนางชั้นผู้ใหญ่สมัยรัตนโกสินทร์ ผู้ช่วยปลัดกรมท่า ปลัดกรมพระตำรวจ ผู้สำเร็จราชการในกิจการต่างประเทศ นักเขียนพระราชพงศาวดาร ผู้แต่งและผู้ตีพิมพ์หนังสือรวมทั้งหนังสือแสดงกิจจานุกิจ หนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และศาสนาที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น.

ใหม่!!: มหาดเล็กและเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)

ระอาชญาเจ้าขุนรามราชรามางกูร (ลาว: ພຣະອາດຊະຢາເຈົ້າຂຸນຣາມມະຣາຊຣາມາງກູຣ, ราว พ.ศ. ๒๓๐๐-๒๔๐๐) ทรงเป็นเจ้าเมืองพนม (เมืองธาตุพนม) อันเป็นเมืองกัลปนาหรือเมืองพุทธศาสนานครพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ เมื่อครั้งธาตุพนมยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม และทรงเป็นเจ้าขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) ผู้รักษากองข้าอุปัฏฐากพระบรมมหาธาตุเจ้าเจดีย์พระนม (พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) พระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ระหว่างราวปี..

ใหม่!!: มหาดเล็กและเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาดเล็กหุ้มแพรเวรฤทธิ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »