โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มวลโมเลกุล

ดัชนี มวลโมเลกุล

มวลโมเลกุล (อังกฤษ: Molecular Mass) คือ มวลของสารนั้น ๆ 1 โมล โดยมวลโมเลกุลหาได้จากการเอามวลอะตอมของธาตุทั้งหมดในสูตรโมเลกุลนั้นมารวมกัน คำนี้ต่างจากน้ำหนักสูตร (Formula weight) ในกรณีที่สูตรของสารนั้นไม่ใช่สูตรโมเลกุล เช่น สารประกอบไอออนิก สารที่มีโครงสร้างผลึกร่างตาข่าย สารที่มีพันธะโลหะ หรือ พอลิเมอร์ ที่จะใช้สูตรอย่างง่ายแทนสูตรโมเลกุล และในกรณีที่ โมเลกุล อยู่ในรูป High polymer หรือมีการต่อพันธะเป็นพอลิเมอร์มาก จะมีการแสดงมวลโมเลกุลในรูปค่าเฉลี่ย เนื่องจากแต่ละโมเลกุลมี น้ำหนักไม่เท่ากัน หมวดหมู่:เคมี.

42 ความสัมพันธ์: พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีนพทาเลทการบดยางการจัดการทาลัสซีเมียการขาดวิตามินบี12การควบคุมทางวิทยาศาสตร์ยางยางสังเคราะห์ยางไซไคลซ์ยาปฏิชีวนะลิเทียมสารภูมิต้านทานหน่วยฐานเอสไออะลูมิเนียมออกไซด์อัตราเร็วเหนือเสียงอินซูลินฮิโระชิ ทะมะกิผับเคมจุดภาพชัดเสื่อมทรีโอนีนความหนาแน่นซัลเฟตป่องรู้กลิ่นน้ำ (โมเลกุล)น้ำหนักอะตอมแบเรียมซัลเฟตแอมโมเนียมคลอไรด์แอมโมเนียมซัลเฟตแอมโมเนียมซีเรียม(IV) ไนเตรตแอมโมเนียมไบคาร์บอเนตแนฟทาลีนโพรพาโนลอลโลก (ดาวเคราะห์)โซเดียมคาร์บอเนตไฮโดรเจนคลอไรด์เฟอร์ริตินเอนเซลาดัสเคมีอินทรีย์เครื่องมือวัดเตโตรโดท็อกซินMMSudan III

พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน

อลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน (Polytetrafluoroethylene; PTFE) หรือ เทฟลอน (Teflon; ชื่อทางการค้าของดูปองท์) เป็นฟลูออโรพอลิเมอร์สังเคราะห์ เป็นสารประกอบคาร์บอนและฟลูออรีนที่มีมวลโมเลกุลสูง มีคุณสมบัติเป็นของแข็งชนิดไฮโดรโฟบิก ทนอุณหภูมิที่สูงและต่ำได้ดี และเป็นหนึ่งในสารที่มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานน้อยที่สุด ในปี..

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและพอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน · ดูเพิ่มเติม »

พทาเลท

ทาเลท (pronounced,, หรือ พทาเลท เอสเทอร์, เป็นเอสเทอร์ของกรดพทาเลท ส่วนมากใช้ในกระบวนการผลิตพลาสติกส์เพื่อเิพิ่มคุณสมบัติด้านความยืดยุ่น โปรงใส ทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนาน พทาเลทถูกใช้เพื่อให้พีวีซีมีความยืดหยุ่น พทาเลทกำลังถูกเลิกใช้ในหลายประเทศ เช่น อเมริกา แคนนดา และสหาภาพยุโรป เนื่องจากการส่งผลต่อ.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและพทาเลท · ดูเพิ่มเติม »

การบดยาง

ง.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและการบดยาง · ดูเพิ่มเติม »

การจัดการทาลัสซีเมีย

* สำหรับทาลัสซีเมียอย่างอ่อน คนไข้ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ไม่จำเป็นต้องรักษาหรือดูแลหลังจากได้วินิจฉัยแล้ว แต่คนไข้ทาลัสซีเมียแบบบีตาควรทราบว่า สภาพของตนสามารถวินิจฉัยผิดว่าเป็นภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กซึ่งสามัญได้ และควรปฏิเสธการรักษาแบบลองยาเสริมเหล็ก (iron supplement) แม้ว่าการขาดธาตุเหล็กอาจเกิดขึ้นได้เมื่อตั้งครรภ์หรือมีเลือดออกเรื้อรัง เมื่อมีครอบครัว ควรปรึกษาแพทย์เรื่องโรคทางพันธุกรรมทุกอย่าง โดยเฉพาะถ้าลูกเสี่ยงมีโรคแบบรุนแรงที่ป้องกันได้.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและการจัดการทาลัสซีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

การขาดวิตามินบี12

การขาดวิตามินบี12 หรือ ภาวะขาดวิตามินบี12 (Vitamin B12 deficiency, hypocobalaminemia) หมายถึงการมีระดับวิตามินบี12 ในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการหลายอย่างรวมทั้งปัญหาทางความคิด ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น ความซึมเศร้า ความหงุดหงิด โรคจิต (psychosis) --> ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) รีเฟล็กซ์เปลี่ยน กล้ามเนื้อทำงานไม่ดี ลิ้นอักเสบ (glossitis) ได้รสชาติลดลง (hypogeusia) เม็ดเลือดแดงน้อย (เลือดจาง) การทำงานของหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) และความเป็นหมัน ในเด็กเล็ก ๆ อาการอาจรวมการไม่โต พัฒนาการที่ล่าช้า และความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว (movement disorder) ถ้าไม่รักษา ความเปลี่ยนแปลงอาจจะกลายเป็นปัญหาถาวร เหตุสามัญรวมทั้งการดูดซึมวิตามินได้ไม่ดีจากกระเพาะหรือลำไส้ การทานอาหารที่มีวิตามินไม่พอ และความต้องการที่เพิ่มขึ้น --> การดูดซึมได้ไม่ดีอาจมีเหตุจากโรคโลหิตจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) การผ่าตัดเอากระเพาะออก ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง พยาธิในลำไส้ ยาบางชนิด และความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ --> ส่วนการทานอาหารที่มีวิตามินไม่พออาจเกิดกับผู้ที่ทานอาหารเจแบบวีแกน หรือได้สารอาหารไม่เพียงพอ --> ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดในคนไข้เอชไอวี/เอดส์ และในบุคคลที่สลายเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยปกติจะอาศัยระดับวิตามินบี12 ในเลือดที่ต่ำกว่า 120-180 picomol/L (หรือ 170-250 pg/mL) ในผู้ใหญ่ --> การมีระดับกรด methylmalonic ที่สูงขึ้น คือ เกิน 0.4 micromol/L อาจจะเป็นตัวบ่งความขาดวิตามินได้ด้วย --> การมีภาวะโลหิตจางแบบ megaloblastic anemia (ที่เม็ดเลือดใหญ่เกินปกติเพราะแบ่งตัวไม่ได้) เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่จำเป็น สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐแนะนำให้หญิงทานเจที่มีครรภ์ทานวิตามินเสริมเพื่อป้องกันการขาด เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว สามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยให้วิตามินเสริมไม่ทางปากก็ทางการฉีด ไม่ต้องกังวลว่าจะมีวิตามินบี12 เกินในบุคคลที่มีสุขภาพดี คนไข้บางรายอาจจะดีขึ้นเองถ้ารักษาโรคที่เป็นเหตุ ในบางกรณีอาจจะต้องทานวิตามินชั่วชีวิตเพราะโรคที่เป็นเหตุไม่สามารถรักษาได้ การขาดวิตามินบี12 เป็นเรื่องสามัญ ประมาณว่า 6% ของคนที่อายุต่ำกว่า 60 และ 20% ของคนที่อายุมากกว่า 60 จะมีปัญหานี้ --> โดยอัตราอาจสูงถึง 80% ในบางเขตของทวีปแอฟริกาและเอเชี.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและการขาดวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

การควบคุมทางวิทยาศาสตร์

แบ่งพืชเหมือนกันเป็นสองกลุ่มแล้วให้ปุ๋ยกับกลุ่มเดียว ถ้าเกิดความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้ปุ๋ย และ "กลุ่มควบคุม" ที่ไม่ได้ ความแตกต่างอาจจะเกิดจากปุ๋ย การควบคุมทางวิทยาศาสตร์ (scientific control) หรือ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์ เป็นการทดลอง หรือการสังเกตการณ์อันหนึ่ง ที่ทำเพื่อใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองว่า การกระทำหรือความต่างอย่างอื่นที่มีในกลุ่มทดลองแต่ไม่มีในกลุ่มควบคุม มีผลต่างต่อกลุ่มทดลองอย่างไร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นกลุ่มที่ทำเพื่อลดผลต่างของตัวแปรอื่น ๆ ยกเว้นตัวแปรอิสระเดียวที่เป็นประเด็นการศึกษา เป็นวิธีการที่เพิ่มความน่าเชื่อถือของผลต่างที่พบ (ที่ควรจะเกิดจากความต่างของตัวแปรอิสระอย่างเดียว) บ่อยครั้งโดยเปรียบเทียบค่าวัดจากกลุ่มควบคุมและค่าวัดในกลุ่มอื่น ๆ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างกลุ่มควบคุม (บางครั้งเรียกว่า กลุ่มควบคุมของการทดลอง) ที่ใช้ตรวจสอบผลของปุ๋ย โดยให้ปุ๋ยกับพืชเพียงครึ่งเดียวในแปลง พืชที่ไม่ได้รับปุ๋ยก็คือกลุ่มควบคุม เพราะว่าเป็นกลุ่มแสดงระดับการเติบโตพื้นฐาน ที่จะใช้เปรียบเทียบกับพืชที่ใส่ปุ๋ย ถ้าไม่มีกลุ่มควบคุม การทดลองจะไม่สามารถกำหนดได้ว่า พืชที่ใส่ปุ๋ย โตได้ "ดีกว่า" พืชที่ไม่ใส่หรือไม่ ในการทดลองสมบูรณ์แบบ ตัวแปรทั้งหมดจะมีการควบคุม (คือโดยเปรียบเทียบค่าวัดต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุม) และดังนั้น ถ้าตัวแปรอื่น ๆ ควบคุมได้อย่างที่คาดหวัง ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การทดลองนั้นดำเนินไปอย่างที่ตั้งใจ และผลที่พบในการทดลอง มาจากความต่างของตัวแปรอิสระที่เป็นประเด็นศึกษา ซึ่งก็คือ เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ทำงานอ้างได้ว่า "สถานการณ์ 2 อย่างเหมือนกันทุกอย่าง จนกระทั่งปัจจัย ก เกิดขึ้น และเนื่องจากปัจจัย ก เป็นความแตกต่างอย่างเดียวที่มีในสองสถานการณ์ ผลที่พบจึงเกิดจากปัจจัย ก".

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและการควบคุมทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาง

การเก็บน้ำยาง ยาง คือวัสดุพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอน ยางเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ยางที่มีต้นกำเนิดจากธรรมชาติจะมาจากของเหลวของพืชบางชนิด ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว คล้ายน้ำนม มีสมบัติเป็นคอลลอยด์ อนุภาคเล็ก มีตัวกลางเป็นน้ำ ยางในสภาพของเหลวเรียกว่าน้ำยาง ยางที่เกิดจากพืชนี้เรียกว่ายางธรรมชาติ ในขณะเดียวกันมนุษย์สามารถสร้างยางสังเคราะห์ได้จากปิโตรเลียม.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและยาง · ดูเพิ่มเติม »

ยางสังเคราะห์

งสังเคราะห์ได้มีการผลิตมานานแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้มีการผลิตยางสังเคราะห์ขึ้นในอดีต เนื่องจากการขาดแคลนยางธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และปัญหาในการขนส่งจากแหล่งผลิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาการผลิตยางสังเคราะห์เพื่อให้ได้ยางที่มีคุณสมบัติตามต้องการในการใช้งานที่สภาวะต่าง ๆ เช่น ที่สภาวะทนต่อน้ำมัน ทนความร้อน ทนความเย็น เป็นต้น การใช้งานยางสังเคราะห์จะแบ่งตามการใช้งานออกเป็น 2 ประเภทคือพงษ์ธร แซ่อุย, ยาง: ชนิด สมบัติ และการใช้งาน, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค), 2547บุญธรรม นิธิอุทัย, ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์และคุณสมบัติ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2530, หน้า 1, 3.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและยางสังเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ยางไซไคลซ์

งไซไคลซ์ (Cyclised Rubber) เป็นยางที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นวง ซึ่งสามารถเตรียมได้จากทั้งน้ำยางสดและยางแห้ง ในกรณีของการใช้น้ำยางทำได้โดยการนำน้ำยางมาปรับสภาพให้มีความเสถียรต่อกรดโดยการใส่สารประเภทพอลิเอทธิลีนออกไซด์ ที่ช่วยเพิ่มความเสถียรต่อประจุบวก แล้วจึงเติมกรดอ่อนลงไป หลังจากนั้นเติมกรดเข้มข้นลงไปอย่างรวดเร็วเพื่อปรับสภาพโครงสร้างของยางแล้วให้ความร้อนเพื่อทำให้ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์ สุดท้ายจึงแยกยางออกมาโดยการเทลงในน้ำเดือด จะได้ยางที่มีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาลอ่อน ส่วนในกรณีที่ใช้ยางแห้งมาเตรียมยางไซไคลซ์ สามารถทำได้โดยการนำยางธรรมชาติมาบดด้วยเครื่องบดยางสองลูกกลิ้ง ผสมสารตัวเติมและสารอินทรีย์อื่น ๆ ที่ให้ประจุบวก 10 phr แล้วนำยางที่ผสมเสร็จมาทำให้ร้อนที่อุณหภูมิ 125-145°C เป็นเวลา 1-4 ชั่วโมง ได้ยางไซไคลซ์ที่มีลักษณะแข็ง หรือ อาจใส่สารจำพวกเกลือแฮไลด์แอมโฟเตอริก (SnCl2) เติมลงไปที่อุณหภูมิห้อง จะได้สารประกอบที่ไม่มีสี ทำให้เป็นผงโดยการเติมน้ำหรือแอลกอฮอลล์ ด้วยการเตรียมยางทั้งสองวิธีนี้ทำให้ได้ยางที่มีการปรับโครงสร้างโมเลกุล โดยโมเลกุลของยางธรรมชาติเกิดการเชื่อมโยงกันเอง ซึ่งทำให้สัดส่วนพันธะที่ไม่อิ่มตัวในโครงสร้างของยางลดลง ทำให้สมบัติยางเปลี่ยนไปและยางมีความแข็งแรงขึ้น ซึ่งการใช้งานโดยทั่วไปของยางไซไคลซ์ส่วนใหญ่จะนำไปผสมกับยางอื่น เนื่องจากมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ มีความแข็งแรงมากกว่ายางธรรมชาติ เมื่อผสมกับยางชนิดอื่นทำให้ยางมีความแข็งแรง การใช้งานด้านอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมยางพื้นรองเท้.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและยางไซไคลซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ลิเทียม

ลิเทียม (Lithium) เป็นธาตุมีสัญลักษณ์ Li และเลขอะตอม 3 ในตารางธาตุ ตั้งอยู่ในกลุ่ม 1 ในกลุ่มโลหะอัลคาไล ลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะที่อ่อนนุ่ม และมีสีขาวเงิน ซึ่งถูกออกซิไดส์เร็วในอากาศและน้ำ ลิเทียมเป็นธาตุของแข็ง ที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อน ในถ่านไฟฉายและเป็นส่วนผสมในยาบางชนิดที่เรียกว่า "mood stabilizer".

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและลิเทียม · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและสารภูมิต้านทาน · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยฐานเอสไอ

การขึ้นต่อการของนิยามในหน่วยฐานเอสไอทั้งเจ็ด หน่วยฐานเอสไอ เป็นหน่วยที่ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดไว้เป็นพื้นฐาน โดยหน่วย เอสไออื่นๆที่เรียกว่าหน่วยอนุพันธ์เอสไอ จะเกิดจากการนำหน่วยฐานเอสไอมาประกอบกันทั้งหมด หน่วยฐานเอสไอมีทั้งหมด 7 หน่วยได้แก.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและหน่วยฐานเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียมออกไซด์

อะลูมิเนียมออกไซด์ (อังกฤษ: aluminum oxide) เป็นสารประกอบเคมีของอะลูมิเนียมและ ออกซิเจนมีสูตรเคมีดังนี้Al2O3ในทางเซรามิก วัสดุศาสตร์และเหมืองเรียกว่าอะลูมิน่า (alumina) อะลูมิเนียมออกไซด์ เป็นส่วนประกอบหลักของแร่บอกไซต์ (bauxite) หรือแร่ อะลูมิเนียม ในอุตสาหกรรมบอกไซต์ถูกทำให้บริสุทธ์เป็นอะลูมิเนียมออกไซด์ โดย กระบวนการไบเออร์ (Bayer process) และเปลี่ยนเป็นโลหะอะลูมิเนียมโดย กระบวนการฮอลล์-ฮีรูลต์ (Hall-Heroult process) บอกไซต์ที่ไม่บริสุทธ์จะประกอบด้วย AlO + FeO + SiO.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและอะลูมิเนียมออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราเร็วเหนือเสียง

อัตราเร็วเหนือเสียง เป็นการจำกัดความของความเร็วซึ่งมีค่ามากกว่าอัตราเร็วเสียง (1 มัค) ในอากาศแห้งที่อุณหภูมิ 20 °C ค่าเริ่มเปลี่ยนที่ต้องการสำหรับวัตถุที่เดินทางที่อัตราเร็วเสียงอยู่ที่ประมาณ 343 เมตร/วินาที (หรือ 1,236 กิโลเมตร/ชั่วโมง) อัตราเร็วที่สูงกว่า 5 เท่าของอัตราเร็วเสียงมักเรียกว่า ไฮเปอร์โซนิก อัตราเร็วของอากาศบางบริเวณโดยรอบวัตถุ (อย่างเช่นปลายของใบพัดเฮลิคอปเตอร์) ที่ถึงอัตราเร็วเสียงจะถูกเรียกว่า ทรานโซนิก (อยู่ที่อัตราเร็วระหว่าง 0.8-1.2 มัค) เสียงเคลื่อนที่ด้วยการสั่น (คลื่นความดัน) ในตัวกลางยืดหยุ่น ในตัวกลางสถานะแก๊ส เสียงจะเดินทางตามยาวที่ความเร็วระดับต่างกัน ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับมวลโมเลกุลและอุณหภูมิของแก๊ส (โดยที่ความดันมีผลเล็กน้อย) เนื่องจากอุณหภูมิและส่วนประกอบของอากาศมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนตามระดับความสูง เลขมัคสำหรับอากาศยานจึงสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้โดยที่อัตราเร็วอากาศไม่เปลี่ยนแปลง ในน้ำที่อุณหภูมิห้อง พิจารณาได้ว่าอัตราเร็วเหนือเสียงคืออัตราเร็วที่มีค่าสูงกว่า 1,440 เมตร/วินาที ในของแข็ง คลื่นเสียงสามารถเดินทางตามยาวหรือทแยง และมีอัตราเร็วสูงกว่าการเคลื่อนที่ในน้ำเสียอีก.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและอัตราเร็วเหนือเสียง · ดูเพิ่มเติม »

อินซูลิน

ผลึกของอินซูลิน อินซูลิน (อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "ไอส์เล็ตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบางชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุมพลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและอินซูลิน · ดูเพิ่มเติม »

ฮิโระชิ ทะมะกิ

รชิ ทามากิ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1980 เป็นนักแสดง นักร้อง นายแบบชาวญี่ปุ่น เริ่มเข้าวงการจากการชักชวนของแมวมอง จนได้เริ่มมีผลงานการแสดง และเริ่มเป็นที่รู้จักจากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง Water Boys ปี 2001 หลังจากนั้นมีผลงานการแสดง ถ่ายแบบนิตยสาร และออกผลงานเพลง จนโด่งดังจากละครเรื่อง Nodame Cantabile หรือในชื่อภาษาไทยว่า วุ่นรัก นักดนตรี กับบทบาทของนักเปียโนและวาทยากรผู้มีพรสวรร.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและฮิโระชิ ทะมะกิ · ดูเพิ่มเติม »

ผับเคม

ัญลักษณ์ PubChem PubChem เป็นฐานข้อมูลของโมเลกุลเคมี ระบบนี้ถูกดูแลรักษาโดยศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for Biotechnology Information-NCBI) ซึ่งเป็นของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health-NIH) ของประเทศสหรัฐอเมริกา PubChem ให้บริการฟรีโดยผ่านเว็บยูสเวอร์อินเตอร์เฟซ (web user interface) PubChem จะมีข้อมูลส่วนใหญ่ของโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำกว่า 500 สมาคมเคมีอเมริกัน (American Chemical Society) พยายามขอร้องให้รัฐสภาอเมริกันจำกัดการปฏิบัติงานของ PubChem เพราะไปก้าวก่ายงานบริการบทคัดย่อทางเคมี (Chemical Abstracts Service) ของสมาคม.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและผับเคม · ดูเพิ่มเติม »

จุดภาพชัดเสื่อม

ัดเสื่อม (macular degeneration) หรือ จุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (age-related macular degeneration ตัวย่อ AMD, ARMD) เป็นโรคที่ทำให้มองไม่ชัดหรือมองไม่เห็นที่กลางลานสายตา เริ่มแรกสุดบ่อยครั้งจะไม่มีอาการอะไร ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป บางคนจะมองเห็นแย่ลงเรื่อย ๆ ที่ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แม้จะไม่ทำให้ตาบอดโดยสิ้นเชิง การมองไม่เห็นในส่วนกลางก็จะทำให้กิจกรรมในชีวิตต่าง ๆ ทำได้ยากรวมทั้งจำหน้าคน ขับรถ อ่านหนังสือเป็นต้น การเห็นภาพหลอนอาจเกิดขึ้นโดยไม่ใช่เป็นส่วนของโรคจิต จุดภาพชัดเสื่อมปกติจะเกิดกับคนสูงอายุ ปัจจัยทางพันธุกรรมและการสูบบุหรี่ก็มีผลด้วย เป็นอาการเนื่องกับความเสียหายต่อจุดภาพชัด (macula) ที่จอตา การวินิจฉัยทำได้ด้วยการตรวจตา ความรุนแรงของอาการจะแบ่งออกเป็นระยะต้น ระยะกลาง และระยะปลาย ระยะปลายยังแบ่งออกเป็นแบบแห้ง (dry) และแบบเปียก (wet) โดยคนไข้ 90% จะเป็นแบบแห้ง การป้องกันรวมทั้งการออกกำลังกาย ทานอาหารให้ถูกสุขภาพ และไม่สูบบุหรี่ วิตามินต่อต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุดูเหมือนจะไม่ช่วยป้องกัน ไม่มีวิธีแก้หรือรักษาการเห็นที่สูญไปแล้ว ในรูปแบบเปียก การฉีดยาแบบ anti-VEGF (Anti-vascular endothelial growth factor) เข้าที่ตา หรือการรักษาอื่น ๆ ที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งการยิงเลเซอร์ (laser coagulation) หรือ photodynamic therapy อาจช่วยให้ตาเสื่อมช้าลง อาหารเสริมรวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุสำหรับคนไข้ที่มีโรคอาจช่วยชะลอความเสื่อมด้วย ในปี 2015 โรคนี้มีผลต่อคนไข้ 6.2 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2013 มันเป็นเหตุให้ตาบอดเป็นอันดับสี่หลังต้อกระจก การเกิดก่อนกำหนด และต้อหิน มันเกิดบ่อยที่สุดในผู้มีอายุเกิน 50 ปีในสหรัฐอเมริกา และเป็นเหตุเสียการเห็นซึ่งสามัญที่สุดในคนกลุ่มอายุนี้ คนประมาณ 0.4% ระหว่างอายุ 50-60 ปีมีโรคนี้ เทียบกับ 0.7% ของคนอายุ 60-70 ปี, 2.3% ของคนอายุ 70-80 ปี, และ 12% ของคนอายุเกิน 80 ปี.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและจุดภาพชัดเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ทรีโอนีน

ทรีโอนีน (Threonine, Thr, T) คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ จึงจะต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ HO2CCH(NH2)CH(OH)CH3.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและทรีโอนีน · ดูเพิ่มเติม »

ความหนาแน่น

วามหนาแน่น (อังกฤษ: density, สัญลักษณ์: ρ อักษรกรีก โร) เป็นการวัดมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ยิ่งวัตถุมีความหนาแน่นมากขึ้น มวลต่อหน่วยปริมาตรก็ยิ่งมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง (เช่น เหล็ก) จะมีปริมาตรน้อยกว่าวัตถุความหนาแน่นต่ำ (เช่น น้ำ) ที่มีมวลเท่ากัน หน่วยเอสไอของความหนาแน่นคือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3) ความหนาแน่นเฉลี่ย (average density) หาได้จากผลหารระหว่างมวลรวมกับปริมาตรรวม ดังสมการ โดยที.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและความหนาแน่น · ดูเพิ่มเติม »

ซัลเฟต

รงสร้างและพันธะของซัลเฟตไอออน โครงสร้าง Space-filling ของซัลเฟตไอออน ซัลเฟต (Sulfate) คือเกลือของกรดซัลฟิวริก.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและซัลเฟต · ดูเพิ่มเติม »

ป่องรู้กลิ่น

granule cell #granule cell --> ป่องรู้กลิ่น หรือ ป่องรับกลิ่น (olfactory bulb, bulbus olfactorius, ตัวย่อ OB) เป็นโครงสร้างทางประสาทแบบเป็นชั้น ๆ ที่สมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยในมนุษย์จะอยู่ที่ด้านหน้าส่วนล่าง) ซึ่งมีบทบาทในการได้กลิ่น ป่องรับกลิ่นรับข้อมูลขาเข้ามาจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุโพรงจมูกเป็นบางส่วน แล้วส่งข้อมูลขาออกผ่านลำเส้นใยประสาท lateral olfactory tract ไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่น แม้การแปลผลกลิ่นอย่างแม่นยำของป่องรู้กลิ่นจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรอง/ฟิลเตอร์ ที่อาจมีบทบาทต่าง ๆ รวมทั้ง แยกแยะกลิ่น, เพิ่มความไวการตรวจจับกลิ่น, กรองกลิ่นพื้นหลังเพื่อเพิ่มสัญญาณกลิ่นที่เลือก, และอำนวยให้สมองระดับสูงควบคุมระดับสัญญาณจากป่องรับกลิ่นตามสภาวะทางสรีรภาพของสัตว.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและป่องรู้กลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ (โมเลกุล)

น้ำมี สูตรเคมี H2O, หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure: อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและน้ำ (โมเลกุล) · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนักอะตอม

น้ำหนักอะตอม (atomic weight) เป็นค่ามวลเฉลี่ยของไอโซโทปทุกตัวของธาตุเคมีนั้นๆ ที่พบในสิ่งแวดล้อมเฉพาะ มวลอะตอมของ ไอโซโทป เป็มมวลสัมพัทธ์ของไอโซโทป ที่วัดค่าโดย คาร์บอน-12.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและน้ำหนักอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

แบเรียมซัลเฟต

'''แบเรียมซัลเฟต'''ชนิดแกลนูล การถ่ายภาพทางการแพทย์โดยแสงเอกซ์ '''แบไรต์'''ในรูปผลึก แบเรียมซัลเฟต (Barium sulfate หรือ barium sulphate) เป็นสารประกอบไอออนิกใช้ในทางการแพทย์ เป็นสารทึบแสงหรือเรดิโอคอนทราสต์ (radiocontrast) สำหรับแสงเอกซ์ (X-ray) เพื่อการถ่ายภาพทางการแพทย์ สำหรับการวินิจฉัยโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคในช่องท้องและทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract) ซึ่งจะรู้จักกันในชื่อที่คุ้นเคยว่าอาหารแบเรียม (Barium meal) และนำเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยโดยการรับประทานหรือสวนทางทวารหนัก (enema) แบเรียมซัลเฟตจะอยู่ในรูปซัสเพนชัน (suspension) ของผงละเอียดที่กระจายตัวในสารละลายน้ำ ถึงแม้ว่าแบเรียมจะเป็นโลหะหนักที่สารประกอบของมันเมื่อละลายน้ำถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเป็นพิษสูง แต่เนื่องจากแบเรียมซัลเฟตละลายน้ำได้น้อยมากคนไข้จึงไม่ได้รับอันตรายจากพิษของมัน.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและแบเรียมซัลเฟต · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนียมคลอไรด์

ณสมบัติ ทั่วไป Sample of ammonium chlorideแอมโมเนียมคลอไรด์ กายภาพ เคมีความร้อน (Thermochemistry) ความปลอดภัย (Safety) SI units were used where possible.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและแอมโมเนียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนียมซัลเฟต

ณสมบัติ ทั่วไป แอมโมเนียมซัลเฟตแอมโมเนียมซัลเฟต กายภาพ เคมีความร้อน (Thermochemistry) ความปลอดภัย (Safety) SI units were used where possible.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและแอมโมเนียมซัลเฟต · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนียมซีเรียม(IV) ไนเตรต

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและแอมโมเนียมซีเรียม(IV) ไนเตรต · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต

แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต หรือเรียกว่า ไบคาร์บอเนตออฟแอมโมเนีย, แอมโมเนียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต, ฮาร์ตสฮอร์น (hartshorn), or ผงเบกิ่งแอมโมเนีย เป็น เกลือไบคาร์บอเนต ของ แอมโมเนีย แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต สามารถทำให้เกิดได้โดยการผ่าน คาร์บอนไดออกไซด์ เข้าไปในสารละลายแอมโมเนีย จะได้ผงสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย สารละลายของแอมโมเนียม ไบคาร์บอเนตเมื่อสัมผัสกับอากาศหรือโดนความร้อนจะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ออกมามันทำตัวเป็นด่างในปฏิกิริยา สารละลายทั้งหมดของคาร์บอเนตเมื่อถูกต้มจะสะลายตัวเกิดเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ และ แอมโมเนียดังสมการข้างล่างนี้.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

แนฟทาลีน

แนฟทาลีน, หรือnaphthalinหรือ bicyclodeca-1,3,5,7,9-pentene หรือ antimite แต่เป็นสารคนละชนิดกับแนปทา (naphtha),เป็นสารที่เป็นผลึก มีกลิ่น สีขาว เป็นไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของแข็ง สูตรโมเลกุลเป็นC10H8 โครงสร้างประกอบด้วยวงเบนซีนสองวงเชื่อต่อกัน เป็นส่วนประกอบของลูกเหม็น ระเหิดได้ที่อุณหภูมิห้อง เกิดเป็นไอที่ติดไฟ ตรวจพบความเข้มข้นต่ำสุดในอากาศเป็น 0.08 ppt.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและแนฟทาลีน · ดูเพิ่มเติม »

โพรพาโนลอล

Propranolol (อังกฤษ:Propranolol) (Inderal&reg) เป็นบีต้า-บล็อกเกอร์ คือมันจะยับยั้งฤทธิ์ อีพิเนพฟริน (epinephrine) บนทั้ง β1- และ β 2-อะดรีโนรีเซพเตอร์) ยาตัวนี้ใช้รักษาได้หลายโรคเช่น.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและโพรพาโนลอล · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคาร์บอเนต

ซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช หรืออีกชื่อคือ โซดาซักผ้า สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี ในประเทศอื่น ๆ การผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ (Solvay process) ซึ่งค้นพบโดย เออร์เนส โซลเวย์ นักอุตสาหกรรมเคมีชาวเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) โดยเปลี่ยน โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) เป็น โซเดียมคาร์บอเนต โดยใช้ แอมโมเนีย และ แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และสารที่เหลือจากกระบวนการมีเพียง แคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งไม่เป็นพิษแม้ว่าอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ และ แอมโมเนียนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทำให้กระบวนการโซลเวย์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ากรรมวิธีแบบเดิมมาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตอย่างแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษ 1900 โซเดียมคาร์บอเนต 90% ที่ผลิต ใช้วิธีการนี้ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน เดิมนั้นการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกระบวนเคมีที่เรียกว่า กระบวนการเลอบลังก์ (Leblanc process) ซึ่งค้นพบโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ นิโคลาส เลอบลังก์ ในปี พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โดยใช้ โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดซัลฟูริก (กรดกำมะถัน) แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และถ่าน แต่กรดไฮโดรคลอริค (กรดเกลือ) ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และแคลเซียมซัลไฟด์ ที่เหลือจากกระบวนการทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากโซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทำให้มีการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยกรรมวิธีนี้ และเป็นกรรมวิธีหลักมาจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2423 - 2433 (ช่วง ค.ศ. 1880 - 1890) หลังการค้นพบกระบวนการโซลเวย์ กว่า 20 ปี โรงงานผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้กระบวนการ เลอบรังค์แห่งสุดท้ายปิดลงในช่วงปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920).

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและโซเดียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนคลอไรด์

Submit to get this template or go to:Template:Chembox.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและไฮโดรเจนคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์ริติน

ฟอร์ริติน (Ferritin) เป็นโปรตีนในเซลล์ทั่วไปที่สะสมธาตุเหล็กและปล่อยมันอย่างเป็นระบบ โปรตีนนี้มีในสิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมด รวมทั้งสาหร่าย แบคทีเรีย พืชชั้นสูง และสัตว์ ในมนุษย์ มันมีหน้าที่เป็นสารบัฟเฟอร์เพื่อไม่ให้ขาดเหล็กหรือมีเหล็กเกิน และพบในเนื้อเยื่อโดยมากในรูปแบบของโปรตีนในไซโตซอล (ในไซโทพลาซึมของเซลล์) แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่อยู่ในเลือดโดยทำหน้าที่เป็นตัวขนส่งธาตุเหล็ก ระดับเฟอร์ริตินในเลือดยังเป็นตัวชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ของปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย และดังนั้น จึงสามารถตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency anemia) เฟอร์ริตินเป็นคอมเพล็กซ์โปรตีนรูปทรงกลมที่มีหน่วยย่อย 24 หน่วยและเป็น "โปรตีนเก็บธาตุเหล็กในเซลล์" หลักทั้งในโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยเก็บเหล็กในรูปแบบที่ละลายน้ำได้และไม่มีพิษ ส่วนเฟอร์ริตินที่ไม่รวมเข้ากับธาตุเหล็กก็จะเรียกว่า apoferritin.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและเฟอร์ริติน · ดูเพิ่มเติม »

เอนเซลาดัส

อนเซลาดัส (Enceladus) หรือ Saturn II เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันนาม วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อ..

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและเอนเซลาดัส · ดูเพิ่มเติม »

เคมีอินทรีย์

มีอินทรีย์ (Organic chemistry) เป็นสาขาย่อยในวิชาเคมี ที่ว่าด้วยการศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ องค์ประกอบ ปฏิกิริยา และการเตรียม (ด้วยการสังเคราะห์หรือด้วยวิธีการอื่น) สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นหลัก ไฮโดรคาร์บอนและอนุพันธ์ของพวกมันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ สารประกอบเหล่านี้อาจมีธาตุอื่นอีกจำนวนหนึ่งด้วยก็ได้ เช่น ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน แฮโลเจน เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส ซิลิกอนและซัลเฟอร์ สารประกอบอินทรีย์เป็นพื้นฐานกระบวนการของสิ่งมีชีวิตบนโลกแทบทั้งสิ้น (โดยมีข้อยกเว้นเล็กน้อยมาก) สารประกอบเหล่านี้มีโครงสร้างหลากหลายมาก ลักษณะการนำไปใช้ของสารประกอบอินทรีย์ก็มีมากมาย โดยเป็นได้ทั้งพื้นฐานของ หรือเป็นองค์ประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ยา สารที่ได้จากน้ำมันปิโตรเคมี อาหาร วัตถุระเบิด และสี.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องมือวัด

กัปตันนีโมและศาสตราจารย์ Aronnax กำลังใคร่ครวญเครื่องมือวัดต่าง ๆ ในภาพยนตร์ ''ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์'' เครื่องมือวัดความรักและเครื่องทดสอบความแข็งแรงที่สถานีรถไฟเมืองฟรามิงแฮม, รัฐแมสซาชูเซต เครื่องมือวัด (Measuring Instrument) เป็นอุปกรณ์สำหรับการวัด ปริมาณทางกายภาพ ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ, การประกันคุณภาพ และ วิศวกรรม, การวัด เป็นกิจกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งปริมาณทางกายภาพของวัตถุและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง และทำการเปรียบเทียบปริมาณทางกายภาพเหล่านั้น มาตรฐานของวัตถุและเหตุการณ์ได้ถูกก่อตั้งขึ้นและถูกใช้เป็น หน่วยการวัด และกระบวนการของการวัดจะได้ผลออกมาเป็นตัวเลขหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กำลังทำการวัดอยู่นั้นและหน่วยอ้างอิงของการวัด เครื่องมือวัดและวิธีการทดสอบอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นตัวกำหนดการใช้เครื่องมือเป็นวิธีการที่จะบอกความสัมพันธ์ของตัวเลขเหล่านี้ เครื่องมือวัดทั้งหมดขึ้นอยู่กับปริมาณที่แปรได้ของความผิดพลาดของเครื่องมือวัดและความไม่แน่นอนในการวัด นักวิทยาศาสตร์, วิศวกรและคนอื่น ๆ ใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการดำเนินการวัดของพวกเขา เครื่องมือเหล่านี้อาจจะเป็นตั้งแต่วัตถุง่าย ๆ เช่นไม้บรรทัดและนาฬิกาจับเวลาจนถึงกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเครื่องเร่งอนุภาค เครื่องมือวัดเสมือนจริงถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการพัฒนาเครื่องมือวัดที่ทันสมัย ราล์ฟ Müller (1940) กล่าวว่า "นั่นประวัติศาสตร์ของว​​ิทยาศาสตร์ทางกายภาพเป็นส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ของเครื่องมือและการใช้งานที่ชาญฉลาดของพวกมันเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ความเป็นสากลและทฤษฎีที่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวได้ลุกขึ้นยืนหรือตกลงไปบนพื้นฐานของการวัดที่แม่นยำ และในหลายกรณีเครื่องมือใหม่จะต้องมีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ มีหลักฐานเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่าจิตใจของคนทันสมัย​​จะเหนือกว่าพวกคนหัวโบราณ เครื่องมือของคนทันสมัยดีกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้" เดวิส Baird ได้แย้งว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจะเกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้ของ ฟลอริส โคเฮน เกี่ยวกับ "ปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ครั้งที่สี่" หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการพัฒนาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ไม่เพียงแต่เฉพาะในทางเคมีเท่านั้น แต่ทั่วทุกสาขาวิทยาศาสตร์ ในสาขาวิชาเคมี หัวข้อแนะนำของเครื่องมือใหม่ในทศวรรษที่ 1940 คือ "ไม่มีอะไรน้อยกว่าการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ในการพัฒนานี้วิธีการเปียกและแห้งแบบคลาสสิกของเคมีอินทรีย์ด้านโครงสร้างได้ถูกตัดทิ้งไปและพื้นที่ใหม่ของการวิจัยได้ถูกเปิดขึ้น ความสามารถในการที่จะทำให้เกิดการวัดที่มีความแม่นยำ, ตรวจสอบได้และทำซ้ำใหม่ได้ของโลกธรรมชาติ ในระดับที่สังเกตไม่ได้ก่อนหน้านี้ โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ สิ่งเหล่านี้จะ "ทำให้เกิดเนื้อหาที่แตกต่างกันของโลก" การปฏิวัติเครื่องมือนี้ได้เปลี่ยนแปลงพื้นฐานในความสามารถของมนุษย์ด้านการเฝ้าระวังและตอบสนอง อย่างที่ได้แสดงในตัวอย่างของการตรวจสอบดีดีที(สารฆ่าแมลง) และการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์คลื่นความถี่รังสียูวี (Ultraviolet–visible spectroscopy) และแก๊ส chromatography (กระบวนการวิเคราะห์หรือแยกสาร โดยอาศัยความแตกต่างจากการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของสารต่าง ๆ ที่ผสมรวมกันอยู่ โดยให้สารผ่านหรือไหลซึมไปในตัวกลางที่เหมาะสมด้วยแรงโน้มถ่วงหรือความดัน) ในการตรวจสอบมลพิษทางน้ำ การควบคุมกระบวนการเป็นหนึ่งในสาขาหลักของการประยุกต์ใช้เครื่องมือ (applied instrumentation) เครื่องมือมักจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมในโรงกลั่นน้ำมัน, โรงงานอุตสาหกรรม, และยานพาหนะ เครื่องมือที่เชื่อมต่อกับระบบควบคุมอาจจะส่งสัญญาณที่ใช้ในการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ และให้การสนับสนุนการควบคุมระยะไกลหรือการทำงานแบบอัตโนมัติ การทำงานดังล่าวมักจะถูกเรียกว่าชิ้นส่วนควบคุมสุดท้ายเมื่อมีการควบคุมจากระยะไกลหรือโดยระบบควบคุม ในช่วงต้นปี 1954 Wildhack ได้กล่าวถึงศักยภาพทั้งในด้านการผลิตและการทำลายล้างโดยธรรมชาติในการควบคุมกระบวนการ (process control).

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและเครื่องมือวัด · ดูเพิ่มเติม »

เตโตรโดท็อกซิน

ตโตรโดท็อกซิน (tetrodotoxin, ตัวย่อ: TTX) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เตโตรด็อก (tetrodox) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น Anhydrotetrodotoxin, 4-epitetrodoxin, Tetraodonic acid เป็นชื่อเรียกพิษที่อยู่ในตัวปลาปักเป้า เตโตรโดท็อกซินมีสูตรเคมีว่า C11 H17 N3 O8 มีน้ำหนักโมเลกุล 319.268 โดยสกัดครั้งแรกได้จากนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ ดร.โยชิซุมิ ทะฮะระ ในปี ค.ศ. 1909 เตโตรโดท็อกซิน เป็นสารพิษชนิดที่ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท โดยจะเข้าไปจับกับ fast sodium channel ของผนังหุ้มเซลล์ประสาทก่อให้เกิดการ action potential ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทได้ ซึ่งส่งผลต่อเซลล์ประสาททั่วร่างกายยกเว้นเซลล์ประสาทที่หัวใจ เมื่อพิษดังกล่าวส่งผลทำลายประสาทจะทำให้เซลล์ประสาทของกล้ามเนื้อไม่สามารถส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวทำงานได้ กล้ามเนื้อจึงเป็นอัมพาต และเมื่อกล้ามเนื้อเป็นอัมพาตก็ส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจเป็นอัมพาตตามด้วย ทำให้ผู้ได้รับพิษหายใจไม่ออกและเสียชีวิตจากการหายใจไม่ออก อาการกว่าพิษจะกำเริบใช้เวลาประมาณ 20 นาทีถึง 3 ชั่วโมง ในบางกรณีอาจแสดงอาการเพียงแค่ 4 นาที เท่านั้นจากการรับประทานปลาปักเป้าเข้าไป โดยจะมีอาการชาที่ปากและลิ้น มีอาการชาและชักกระตุกบริเวณใบหน้าและแขนขา ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการท้องเสีย กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต ชัก หมดสติ การเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตต่ำ และเสียชีวิตได้ ส่วนอาการที่รุนแรงที่สุดคือ เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในเวลา 4-6 ชั่วโมง แต่ก็มีรายงานการเสียชีวิตเร็วที่สุดหลังจากได้รับพิษไปเพียง 20 นาทีเท่านั้น แท้จริงแล้วการสร้างพิษในปลาปักเป้ามิได้เกิดจากเซลล์ของตัวปลาเอง นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ปลาปักเป้าไปเกินแพลงก์ตอนบางชนิดในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตที่มีพิษ หรือกินหอยหรือหนอนที่กินแพลงก์ตอนดังกล่าวเข้าไป ทำให้เกิดสารพิษสะสม หรืออาจเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของปลา เตโตรโดท็อกซิน มีความรุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า และทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงไม่สามารถทำลายพิษได้ด้วยการใช้ความร้อนปกติในการปรุงอาหาร และไม่มียาแก้พิษใด ๆ ต่อต้านได้ ซึ่งเตโตรโดท็อกซินนั้นอยู่ในอวัยวะทุกส่วนของปลาปักเป้า โดยที่มีปริมาณการสะสมของพิษไม่เท่ากัน ส่วนที่สะสมพิษมาก ได้แก่ รังไข่, อัณฑะ, ตับ, ผิวหนัง และลำไส้ พบน้อยในกล้ามเนื้อ แต่แม้การรับประทานเนื้อปลาไปเพียงแค่ 1 มิลลิกรัม ก็ทำให้เสียชีวิตได้ ยิ่งโดยเฉพาะผู้มีอาการแพ้อย่างรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 50 หากได้รับพิษเข้าไป การที่ปลาปักเป้ามีพิษที่ร้ายแรงเช่นนี้ในร่างกายก็เพื่อป้องตัวกันจากการถูกกินจากสัตว์อื่นนั่นเอง ซึ่งพิษของปลาปักเป้านั้นไม่ได้แปรเปลี่ยนไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมหรือฤดูกาลเช่นเดียวกับแมงดาทะเล นอกจากนี้แล้ว ในตัวปลาปักเป้าเองยังมีพิษอีกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายเตโตรโดท็อกซิน นั่นคือ ซาซิท็อกซิน (Saxitoxin, STX) ซึ่งมักพบในปลาปักเป้าที่อยู่ในน้ำจืด ซึ่งการปรุงปลาปักเป้าเพื่อการรับประทาน นิยมกันมากในแบบอาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะการทำเป็นซาซิมิหรือปลาดิบ ในประเทศญี่ปุ่น พ่อครัวที่จะแล่เนื้อปลาและปรุง ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากทางการเสียก่อน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้ที่ได้รับพิษจากปลาปักเป้าร้อยละ 50 เกิดจากการกินตับของปลา ร้อยละ 43 เกิดจากการกินไข่ และร้อยละ 7 เกิดจากการกินหนัง โดยปลาปักเป้าชนิดที่มีสารพิษในตัวน้อยที่สุดหรือแทบไม่มีเลย คือ Takifugu oblongus ที่พบในน่านน้ำของแถบอินโด-แปซิฟิก แต่กระนั้นก็ยังสามารถทำให้ผู้ที่รับประทานเข้าไปเสียชีวิตอยู่ดี.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและเตโตรโดท็อกซิน · ดูเพิ่มเติม »

MM

MM, Mm, mM, mm ฯลฯ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและMM · ดูเพิ่มเติม »

Sudan III

Submit to get this template or go to:Template:Chembox.

ใหม่!!: มวลโมเลกุลและSudan III · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MWMolecular massMolecular weightน้ำหนักโมเลกุล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »