โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มลพิษทางน้ำ

ดัชนี มลพิษทางน้ำ

องเสียที่ปล่อยจากโรรงาน ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ มลพิษทางน้ำ (water pollution) เป็นปัญหาทางน้ำมีสาเหตุสำคัญมาจากการน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นน้ำเสียจากขั้นตอนและกระบวนการผลิต การล้าง ขบวนการ หล่อเย็น เป็นต้น แม้ว่าจะมีกฎหมายบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องบำบัดน้ำทิ้งเหล่านี้ก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็ แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้อย่างทั่วถึง ทำการบ้านอะไรเอาจากเว็บนี้หมด เว็บนี้เชื่อใจไม่ได้การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนเขตเมืองเช่น กรุงเทพมหานคร ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นทุกครัวเรือนปล่อยน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง มิได้ผ่านขบวนการกำจัดใดๆ นอกจากนี้ ยังมีการทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงสู่แม่น้ำลำคลองอันเป็นการเพิ่มความสกปรกให้กับแหล่งน้ำต่างๆ อีกด้วย รวมทั้งการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ในกระบวนการเพาะปลูกมักมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกัน กำจัดศัตรูพืชและสัตว์ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้อย่างขาดความระมัดระวัง ทำให้สารเคมีแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการฉีดพ่นสาร การชะล้างโดยฝน การล้างภาชนะที่บรรจุหรืออุปกรณ์การฉีดพ่นในแหล่งน้ำ.

7 ความสัมพันธ์: การสํารวจทางชีวภาพฝุ่นละอองทรัพยากรน้ำปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬปลาเทพาปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอินเดียปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

การสํารวจทางชีวภาพ

การสํารวจทางชีวภาพ (Biosurvey) เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อประเมินสภาพของทรัพยากรทางนิเวศวิทยา เช่น แหล่งน้ำ.

ใหม่!!: มลพิษทางน้ำและการสํารวจทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ฝุ่นละออง

นีตรวจมลพิษทางอากาศ ที่เมือง เอมเด็น ประเทศเยอรมนี ฝุ่นละออง หรือ ละอองธุลี คือ ของแข็งขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศหรือน้ำ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์โดยนับเป็นมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำประเภทหนึ่ง ฝุ่นละอองมีที่มาหลากหลายทั้งจากธรรมชาติ อาทิเช่น ภูเขาไฟ พายุทราย ไฟป่า ไอเกลือ หรือการกระทำของมนุษย์เช่น ไอของเสียจากรถยนต์ โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึง การเผาหญ้า และการเผาป่า ในประเทศกำลังพัฒนาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลายเช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคปอด รวมไปถึงมะเร็งปอด ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยพวกตัวกรองแบบต่างๆ เช่น หน้ากาก การกำจัดฝุ่นละอองนั้น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่จะตกอยู่บนพื้นตามแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) จะลอยอยู่ในอากาศได้หลายสัปดาห์ และจะถูกกำจัดโดยฝนหรือหยาดน้ำฟ้าประเภทอื่น.

ใหม่!!: มลพิษทางน้ำและฝุ่นละออง · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากรน้ำ

ทรัพยากรน้ำ หมายถึง แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้นจะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็งและน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า "สิทธิการใช้น้ำ" (Water rights).

ใหม่!!: มลพิษทางน้ำและทรัพยากรน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ

ลาฮอยา เมืองแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (red tide) คือชื่อสามัญของปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (algal bloom) หรือ การรวมตัวขนาดใหญ่ของจุลชีพในทะเล เกิดขึ้นจากไดโนแฟลกเจลเลตไม่กี่ชนิด ที่มีการสะพรั่งสีแดงหรือน้ำตาล ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ คือ เหตุการณ์ซึ่งสาหร่ายที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อย น้ำเค็ม หรือ น้ำจืด มีการสะสมอย่างรวดเร็วในห้วงน้ำ ส่งผลให้เกิดสีบนผิวน้ำ ปกติแล้วจะพบได้ตามชายหาด ในทุก ๆ ปีปรากฏการณ์นี้ยังฆ่าแมนนาทีจำนวนมาก สาหร่ายเหล่านี้ ซึ่งมีอีกชื่อนึงว่าแพลงก์ตอนพืช ซึ่งเป็นโพรทิสต์เซลล์เดียว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพืช และสามารถก่อให้เกิดรอยแต้มขุ่นที่สามารถสังเกตได้ใกล้ผิวน้ำ ในขณะเดียวกันนั้น แพลงก์ตอนพืชบางชนิด เช่น ไดโนแฟลกเจลเลต ยังมีรงควัตถุสังเคราะห์แสง ซึ่งมีสีที่หลากหลายตั้งแต่สีเขียว ไปจนถึงสีเขียวและสีแดง เมื่อสาหร่ายมีจำนวนหนาแน่น จะส่งผลให้น้ำเปลี่ยนสีหรือขุ่นมัว โดยปกติแล้วจะเป็นสีแดงหรือสีเขียว โดยบางทีอาจจะเป็นสีม่วงหรือสีชมพูก็ได้ สาหร่ายสะพรั่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของน้ำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมีความหนาแน่นสูงเพียงพอเท่านั้น และไม่จำเป็นจะต้องเป็นสีแดงเสมอไป ในบางครั้ง ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬอาจเกี่ยวข้องกับผลผลิตของชีวพิษ การขาดแคลนของออกซิเจนละลาย หรือผลกระทบเชิงลบอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้โดยปกติแล้วจะเรียกว่า สาหร่ายสะพรั่งที่มีความอันตราย ผลกระทบที่เห็นได้ชัดที่สุดจากปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับอัตราการตายของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ อย่างที่อาศัยอยู่ในทะเลรวมไปถึงแนวชายหาด เช่น ปลา นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น.

ใหม่!!: มลพิษทางน้ำและปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทพา

ปลาเทพา หรือที่ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาเลิม (Chao Phraya giant catfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitwongsei อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาชนิดนี้ตั้งโดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ อธิบดีกรมประมงคนแรก เพื่อเป็นเกียรติแด่ ม.ร.ว.สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ในฐานะที่เป็นผู้ผลักดันและบุกเบิกให้มีหน่วยงานทางด้านการศึกษาและจัดการสัตว์น้ำในประเทศ ซึ่งก็คือกรมประมงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มลพิษทางน้ำและปลาเทพา · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอินเดีย

กดาวเทียม ที่ได้รับการถ่ายในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งแสดงให้เห็นหมอกควันหนาและควันตามลุ่มน้ำแม่น้ำคงคาในภาคเหนือของอินเดีย โดยเชื่อว่าแหล่งที่มาของละอองลอยเหล่านี้จะเป็นควันจากการเผาชีวมวลในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และมลพิษทางอากาศจากเมืองใหญ่ในภาคเหนือของอินเดีย นอกจากนี้ ฝุ่นจากทะเลทรายในปากีสถานและตะวันออกกลางยังอาจนำไปสู่การผสมผสานของกลุ่มละอองลอยดังกล่าว ขยะที่เพิ่มมลพิษทางน้ำในประเทศอินเดีย, ภาพปี ค.ศ. 2005 มีปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอินเดียหลายด้าน ทั้งมลพิษทางอากาศ, มลพิษทางน้ำ, ขยะ และมลพิษของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ต่างเป็นปัญหาที่ท้าทายทั้งหมดของประเทศอินเดีย สถานการณ์เลวร้ายเหล่านี้เคยเกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: มลพิษทางน้ำและปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน, มีนาคม พ.ศ. 2553 รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2535-2539) การปกป้องสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการจัดลำดับความสำคัญต้น ๆ ของรัฐบาลไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่เจ็ดพยายามที่จะบรรลุผลอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, งานวิศวกรรม, อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมพื้นฐาน การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่น่าทึ่ง ได้นำมาซึ่งความท้าทายด้านเศรษฐกิจที่ดินอยู่ช่วงหนึ่ง โดยประเทศไทยในปัจจุบันได้เผชิญกับปัญหาด้านมลพิษทางอากาศและน้ำ, การลดลงของประชากรสัตว์ป่า, การทำลายป่า, การกัดกร่อน, การขาดแคลนน้ำ และปัญหาของเสียอันตราย ตามข้อมูลบ่งชี้ในปี..

ใหม่!!: มลพิษทางน้ำและปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มลภาวะทางน้ำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »