เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภูมิสถาปัตยกรรม

ดัชนี ภูมิสถาปัตยกรรม

วนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ ตัวอย่างงานภูมิสถาปัตยกรรมประเภทสวนสาธารณะส่วนที่เป็นสวนแบบ "รูปนัย" ภูมิสถาปัตยกรรม (landscape architecture) อ่านออกเสียงว่า "พู-มิ-สะ-ถา-ปัด-ตะ-ยะ-กัม" เป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการออกแบบวางแผน การอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคาร รวมทั้งพื้นที่บางส่วนภายในหรือบนดาดฟ้าอาคารเพื่อความผาสุก สวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน.

สารบัญ

  1. 44 ความสัมพันธ์: พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าพืชกรรมสวนการออกแบบสวนสาธารณะการทำไม้ตัดเรือนยอดการทำเหมืองแร่การป่าไม้ในเมืองภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภูมิศิลป์ภูมิสถาปนิกภูมิทัศน์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมภูมิทัศน์ประหยัดพลังงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549มหาวิทยาลัยเพอร์ดูรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทยรายการสาขาวิชารายนามบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุกขกรรมลานเซลอต บราวน์วรรณพร พรประภาสภาสถาปนิกไทยสวนสวนกระท่อมสัปปายะสภาสถานสำนักงานราชบัณฑิตยสภาสิรินทรา วัณโณสิ่งก่อสร้างตกแต่งสถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์สถาปัตยกรรมตะวันตกหลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในในประเทศไทยอันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาจามรี อาระยานิมิตสกุลดีไซน์อินเทลลิเจนซ์คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้งานภูมิทัศน์นวณัฐ โอศิริใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมโจเซฟ แพกซ์ตันเดชา บุญค้ำ

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

ระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เป็นอนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เคยถูกใช้พิมพ์บนธนบัตรไทยแบบที่ 14 สกุลเงินบาท ชนิดราคา 100 บาท ผลิตออกใช้วันที่ 20 ตุลาคม..

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

พืชกรรมสวน

วนไม้ดอกในฝรั่งเศส พืชกรรมสวน หรือ วิชาพืชสวน (Horticulture) คือวิชาที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งการเพาะปลูกพืชผล นักพืชสวน หรือพืชกรสวน (hell) ทำงานและปฏิบัติงานค้นคว้าวิจัยในงานในสาขาการขยายพันธุ์พืช การเพาะปลูก การผลิตกรรมทางเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช งานวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ชีวเคมีพืช และสรีรวิทยาพืช ขอบเขตของงานเกี่ยวข้องกับไม้ผล เบอรี่ (berries) นัท (nuts) ผัก ไม้ดอก ไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและหญ้าสนาม พืชกรทำการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผล คุณค่าทางอาหารของพืชผลและการต้านทานต่อโรค แมลงและสภาพเครียดทางสิ่งแวดล้อม.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและพืชกรรมสวน

การออกแบบสวนสาธารณะ

ตัวอย่างการจัดพื้นที่และเส้นทางในสวนสาธารณะ การออกแบบและการวางแผนสวนสาธารณะ มีความจำเป็นเนื่องจากการก่อสร้างสวนสาธารณะต้องใช้เงินงบประมาณสูง การไม่ให้ความสำคัญด้านการออกแบบและวางผังเท่าที่ควร ความล้มเหลวในการใช้งานของสวนสาธารณะจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งและเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดบ่อยครั้งทั่วโลก ดังนั้น การออกแบบและวางแผนจึงมีความสำคัญและต้องมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับปรัชญาและมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งอาจสรุปได้เป็นหมวดๆ โดยย่อได้ดังนี้.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและการออกแบบสวนสาธารณะ

การทำไม้ตัดเรือนยอด

ม้ตัดเรือนยอดที Kilmaurs, East Ayrshire. ไม้ตัดเรือนยอดใหม่ระหว่างเมือง Sluis และเมือง Aardenburg ใน Zeeland. ไม้ตัดเรือนยอดระหว่างเมืองn Sluis และ Aardenburg ในเวลา 2 ปีต่อมา การทำไม้ตัดเรือนยอด หรือ โพลลาร์ดดิง (อังกฤษ: pollarding) คือระบบการตัดแต่งต้นไม้โดยการตัดเรือนยอดต้นไม้ออกทุกๆ ปีเพื่อให้ต้นไม้มีความสูงคงที่ (ตัดเฉพาะกิ่งก้านย่อยออกเท่านั้น) การตัดแต่งโดยวิธีนี้เป็นการกระตุ้นให้ต้นไม้ออกกิ่งก้านไปทางข้าง ปกติจะทำที่ความสูง 2-3 เมตรจากระดับโคนต้น จากนั้นจะปล่อยให้กิ่งแตกออกมาใหม่ ซึ่งเมื่อตัดแต่งในลักษณะนี้แล้วจะต้องตัดแต่ง ณ บริเวณเดิมทุกปีเหมือนการตัดผมของคน บริเวณปลายกิ่งที่ถูกตัดทุกปีนั้นจะขยายตัวเป็นปุ่มโตขึ้นเป็นที่แตกกิ่งใหม่ที่มีจำนวนมากขึ้น การตัดแต่งกิ่งที่เดิมซ้ำทุกปีจึงเหมือนการตัดผมของคนหรือตัดเขาหรืองาของสัตว์ ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “polled” ซึ่งเป็นคำที่ใช้กับการตัดเขาแกะหรือกวางตัวผู้ที่เลี้ยงในฟาร์มต่างประเทศ ต้นไม้ที่ถูกตัดแต่งโดยวิธีนี้เรียกว่า "การตัดเรือนยอด" หรือ “โพลลาร์ด” (Pollard) แต่ต้นไม้ที่ถูกบั่นยอดแบบเดียวกันแต่ปล่อยให้แตกใหม่ไม่ตัดซ้ำทุกปี เรียกว่า “ไม้ตอฟืน” (coppice) มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า maiden tree หรือ “ไม้สาวโสด” การตัดเรือนยอดต้นไม้ หรือการทำโพลลาร์ดต้นไม้อายุมากหรืออายุน้อยแต่อ่อนแอมักทำให้ต้นไม้นั้นยืนต้นตาย (ไม่ตายทันทีแต่จะค่อยๆ ตายใน 1-2 หรือ 3 ปี โดยเฉพาะการตัดที่ไม่ยอมให้มีใบต่ำกว่าจุดตัดเหลือทิ้งไว้เป็นพี่เลี้ยงหรือตัวผลิตอาหาร (ซึ่งจะตัดออกเมื่อพุ่มใบเรือนยอดใหม่สมบูรณ์แล้ว) การตัดต้นไม้ผิดชนิดก็อาจทำให้ต้นไม้ตายได้เช่นกัน มีบ่อยครั้งมากที่มีการตัดเรือนยอดเพื่อคุมความสูงของต้นไม้ที่สูงหรือต้นไม้มีอายุที่ผิดวิธี ซึ่งทำให้เกิดผลเสียร้ายแรง การจัดการกับต้นไม้สูงด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชารุกขกรรมสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายหรืออันตรายดังกล่าวนี้ได้ ไม้ตัดเรือนยอด (pollard trees) มีอายุยืนกว่าไม้สาวโสด หรือไม้ตอฟืนเพราะไม้ตัดเรือนยอดทำการตัดแต่งกันตั้งแต่เมื่อต้นไม้นั้นยังมีอายุน้อยและเมื่อตัดแต่งแล้วก็ยังมีน้ำหนักน้อย ต้นเตี้ย จึงไม่ถูกลมแรงตีพุ่มใบเสียหายมากเท่า โดยทั่วไปไม้ตัดเรือนยอดที่แก่แล้วมักมีลำต้นกลวงจึงไม่สามารถตรวจหาอายุได้แม่นยำมีอายุยืนที่แน่นอนได้กี่ปี ไม้ตัดเรือนยอดจะโตช้ากว่าไม้ตอฟืนและมีวงปีที่แคบกว่าเพราะโตช้.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและการทำไม้ตัดเรือนยอด

การทำเหมืองแร่

หมืองทองแดงเอลชิโน ตัวอย่างเหมืองเปิดในสหรัฐอเมริกา การทำเหมืองแร่ คือการสกัดเอาแร่ที่มีค่า หรือ วัสดุทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากใต้ผืนแผ่นดิน ปกติขุดที่ตัวแหล่งแร่หรือสายแร่ที่อยู่ใต้ดิน วัสดุทั่วไปที่สกัดได้ แร่โลหะ ได้แก่ บอกไซต์ (สำหรับหลอมเป็นอะลูมิเนียม) ทองแดง เหล็ก ทองคำ ตะกั่ว แมงกานีส แมกนิเซียม นิเกิล ฟอสเฟต แพลทินัม เงิน ดีบุก ไททาเนียม ยูเรเนียม สังกะสี แร่อโลหะ เช่น เกลือหิน ถ่านหินและ แร่รัตนชาติ เช่น เพชร พลอย วัสดุมีค่าอื่นๆ ที่มีการทำเหมืองเช่นกันได้แก่ ดินเหนียว ดินขาว ทราย กรวด หินแกรนิต หินปูนและหินอ่อน วัสดุอื่นใดที่ไม่สามารถผลิตจากพืชจะมากจากการทำเหมือง การทำเหมืองในความหมายที่กว้าง รวมถึงการขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่น้ำบาดาล อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย เพราะหากเราไม่มีการนำทรัพยากรในประเทศมาใช้ประโยชน์ จะต้องมีการนำเข้าแร่จากต่างประเทศซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดดุลด้านการค้า และการนำเข้าแร่โดยทั่วไปจะแร่ที่นำเข้าจะมีราคาที่สูงกว่าแร่ที่ผลิตได้ในประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเมื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์นั่นหมายถึงราคาสินค้าย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย หากมีการทำเหมืองแร่ในประเทศ เพื่อผลิตแร่ที่สำคัญมาใช้ประโยชน์จะเป็นการทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรม และหากมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องในการนำทรัพยากรแร่มาใช้ในการผลิตอย่างครบวงจร ก็จะเป็นการสร้างงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มมหาศาลกว่าการนำแร่ดิบขายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนให้เกิดขึ้น การทำเหมืองแร่ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองแร่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ๆ มีการทำเหมืองแร่ แต่การทำเหมืองแร่ไม่ได้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม หากผู้ทำเหมืองปฏิบัติตามหลักวิชาการ ซึ่งการทำหมืองแร่ตามหลักวิชาการ จะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์แร่ ทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ และการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเหมืองแร่ทุกประเภทและทุกขนาดต้องมีการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ นอกจากนี้ เหมืองแร่จะเกิดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการยอมรับของสังคม หรือชุมชนที่มีเหมืองแร่อยู่บริเวณใกล้เคียง เหมืองแร่ในอดีตมักก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุนทรียภาพ ซึ่งพบเห็นได้ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดจิตสำนึก ขาดความรู้ ขาดกฎหมายควบคุม และเหมืองในอดีตอยู่ห่างไกลเมืองมาก แต่ปัจจุบันเรามีกฎหมายควบคุม มีหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งกำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องดูแลป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง และทำการฟื้นฟูสภาพ (Reclamation) ซึ่งปกติมีงานภูมิสถาปัตยกรรมเป็นส่วนสำคัญ หากจะเป็นปัญหาปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องจิตสำนึก การลักลอบทำเหมืองผิดกฎหมาย การสอดส่องดูแลของเจ้าหน้าที่ๆอาจไม่ทั่วถึง การบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น ตัวอย่างที่ดีของการทำเหมืองแร่ในประเทศไทยได้แก่เหมืองแม่เมาะ ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยทั่วไปเราจำแนกการทำเหมืองแร่ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและการทำเหมืองแร่

การป่าไม้ในเมือง

การป่าไม้ในเมือง (urban forestry) หมายถึงการดูแลและจัดการต้นไม้ใหญ่ (trees) ทั้งหลายที่ขึ้นอยู่ในเขตเมืองเพื่อเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในเมืองให้ดีขึ้น การป่าไม้ในเมืองเป็นสิ่งสนุบสนุนบทบาทของต้นไม้ในฐานะเป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง นักการป่าไม้ในเมืองทำหน้าที่ปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ใหการสนับสนุนการอนุรักษ์ต้นไม้และป่า ส่งเสริมให้มีการวิจัยและแสดงให้สาธารณชนเล็งเป็นคุณประโยชน์ของต้นไม้ที่มีอยู่มากมายแก่มนุษย์ การป่าไม้ในเมืองปฏิบัติโดยรุกขกร (arborist) ของเทศบาลหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและโดยรุกขกรภาคเอกชน รวมทั้งรุกขกรสาธารณูปโภค (utility arborists) นอกจากนี้ยังมีผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรุกขกรรมหรือการป่าไม้ในเมืองอีกหลายฝ่ายได้แก่ ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม นักผังเมือง ที่ปรึกษา นักการศึกษา นักวิจัยและนักรณรงค์ในชุมชน.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและการป่าไม้ในเมือง

ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม

ณะและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมในประเทศไท.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม

ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานฉลองครบรอบ 40 ปี ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศาลาพระเกี้ยว ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Department of Landscape Architecture Faculty of Architecture Chulalongkorn University) เป็นหนึ่งในหกภาควิชาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมได้ริเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภูมิศิลป์

รเบิร์ต สมิธสันที่โรเซลพอยน์ทในยูทาห์http://www.robertsmithson.com/earthworks/spiral_jetty.htm "Spiral Jetty" ลุนด์, สวีเดน, 473 X 354 มิลลิเมตร ลารา, ออสเตรเลียโดยแอนดรูว์ โรเจอร์ สัตว์ตำนานมีปีกกว้างถึง 100 เมตร และใช้หินในการสร้างทั้งหมด 1500 ตัน ภูมิศิลป์ (Land art หรือ Earthworks หรือ Earth art) บางตำราเรียกว่าธรณีศิลป์คือขบวนการศิลปะที่เริ่มขึ้นในสหรัฐอเมริการาวปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิทัศน์และงานศิลปะเป็นความสัมพันธ์ที่ผสานกันอย่างแยกไม่ออก ประติมากรรมมิได้วางอยู่ท่ามกลางภูมิทัศน์ แต่ภูมิทัศน์เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดศิลปะ งานธรณีศิลป์มักจะเป็นศิลปะนอกสถานที่ที่ตั้งอยู่ไกลจากบ้านจากเมือง และปล่อยทิ้งไว้ให้ถูกกัดกร่อนลงไปตามธรรมชาติ งานชิ้นแรกๆ สร้างขึ้นในทะเลทรายในเนวาดา, นิวเม็กซิโก, ยูทาห์ และแอริโซนาที่เป็นงานชั่วคราวที่สร้างท่ามกลางธรรมชาติ ที่เหลืออยู่แต่เพียงจากการบันทึกไว้ในวิดีโอ หรือ ภาพถ่ายเท่านั้น.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและภูมิศิลป์

ภูมิสถาปนิก

ูมิสถาปนิก ถือว่าเป็นนักวิชาชีพผู้ประกอบวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาชีพควบคุมลักษณะเดียวกันกับแพทย์และนักกฎหมายเนื่องจากบุคคลเหล่านี้ จะต้องได้รับการศึกษาเป็นการพิเศษเฉพาะ และจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด ชาวสหรัฐฯ ผู้ได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งภูมิสถาปัตยกรรมสมัยใหม่" เป็นผู้ขนานนามผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า Landscape architect เป็นครั้งแรก ในต่างประเทศ การเข้าสู่สายวิชาชีพจะต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนขั้นสูง ผ่านการฝึกหัดงานและผ่านการสอบรับใบอนุญาต เพื่อป้องกันความเสียหายจากสถาปนิกที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่มีจรรยาบรรณ ผู้ปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมจะรวมตัวกันตั้งสมาคมวิชาชีพขึ้นเพื่อร่วมกันจรรโลงสาขาวิชาชีพแห่งตนให้เข้มแข็ง ในสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า สมาคมภูมิสถาปนิกอเมริกัน (American Society of Landscape Architects - ASLA) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปนิก

ภูมิทัศน์

ูมิทัศน์ โดยทั่วไปคำว่า "ภูมิทัศน์" หมายถึง ภาพรวมของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่มนุษย์ รับรู้ทางสายตาในระยะห่าง อาจเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่ประกอบด้วยรูปทรงของแผ่นดิน น้ำ ต้นไม้ สัตว์และสรรพสิ่งมนุษย์สร้างในสภาพอากาศหนึ่งและช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่าภูมิทัศน์ธรรมชาติ หรือภาพรวมของเมืองหรือส่วนของเมือง เรียกว่าภูมิทัศน์เมืองนอกจากนี้ยังมีการใช้คำ “ภูมิทัศน์” กับพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะเด่นชัด เช่น ภูมิทัศน์ทะเล ภูมิทัศน์ภูเขา ภูมิทัศน์ทะเลทราย หรือ ภูมิทัศน์พระจันทร์ ซึ่งหมายถึงภาพรวมของพื้นที่บนผิวดวงจันทร์ที่มนุษย์อวกาศไปเยือน ภูมิทัศน์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Landscape มีผู้บัญญัติคำนี้ใช้แทนการทับศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อ..

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม

มรดกโลก หุบเขาเดรสเดน อเลเบ เยอรมนีที่ยูเนสโกถือว่าเป็น "ตัวอย่างที่ดีเด่นของการใช้ที่ดินทีเป็นตัวอย่างการพัฒนาเมืองของยุโรปกลาง" เป็นเมืองที่มีประชากรมากถึงครึ่งล้านคน ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural landscape) คือพื้นที่ที่ได้รับการนิยามไว้โดยกรรมาธิการมรดกโลกว่าเป็นพื้นที่เด่นทางภูมิศาสตร์ หรือทรัพย์สินที่ “...เป็นตัวแทนของธรรมชาติและผลงานของมนุษย์” ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ แนวคิดนี้เกิดจากการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาขึ้นในแวดวงของมรดกโลกนานาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระหว่างประเทศที่จะไกล่เกลี่ยปรองดอง “...คติ “ทวินิยมแห่งธรรมชาติและวัฒนธรรม” ที่โด่งดังแพร่หลายมากในโลกตะวันตก กรรมาธิการมรดกโลกได้บ่งชี้และรับรองประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรมไว้ 3 ประเภท ได้แก่ (1) ภูมิทัศน์ที่เกิดจากการจงใจของมนุษย์ (2) ภูมิทัศน์ทั้งหมดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งด้วยความจงใจทำ และไม่ได้จงใจทำ และ (3) ภูมิทัศน์ที่มีร่องรอยการปรุงแต่งโดยมนุย์น้อยที่ (แต่มีคุณค่าสูง) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่คัดจาก “แนวทางปฏิบัติของกรรมาธิการ” มีดังนี้: (1) “ภูมิทัศน์ที่ได้รับการออกแบบและสรรค์สร้างอย่างจงในโดยมนุษย์” (2) “ภูมิทัศน์ที่มีวิวัฒนาการมาในเชิงอินทรีย์” (organically evolved) ซึ่งอาจเป็น “ภูมิทัศน์แผ่นดินร้าง” (หรือซากดึกดำบรรพ์) หรือ “ภูมิทัศน์ต่อเนื่อง” (continuing landscape) (3) “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเชิงเชื่อมโยง” (associative cultural landscape) ที่อาจมีคุณค่าทาง “ศาสนา ศิลปะหรือที่เชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ”.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม

ภูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน

ูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน (อังกฤษ: Energy-efficient landscaping) เป็นงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งที่มีความมุ่งหมายเพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุและการก่อสร้างงานภูมิทัศน์และพลังงานที่ใช้ในระหว่างการใช้งานและการดูแลรักษา เทคนิคในการออกแบบรวมถึง.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน

มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549

ตราสัญลักษณ์งาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 (International Horticulture Exposition for His Majesty the King; Royal Flora Ratchapruek 2006) หรือเรียกย่อๆว่า ราชพฤกษ์ 2549 เป็นงานมหกรรมจัดแสดงด้านพืชสวนกลางแจ้ง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มหกรรมพืชสวนโลกจัดขึ้นโดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,404 ล้านบาท จัดขึ้นในนามของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร และสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสมาพันธ์ดอกไม้โลก (WFC) และสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (ISHS) และการรับรองมาตรฐานมหกรรมระดับโลก ระดับ A1 (มาตรฐานมหกรรมขั้นสูงสุด) การจัดงานจาก สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) และสำนักงานมหกรรมโลก (BIE)จดหมายข่าวมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนมกราคม พ.ศ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549

มหาวิทยาลัยเพอร์ดู

แครนเนิร์ต มหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลโดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมือง เวสต์ลาเฟียตต์ ในรัฐอินดีแอนา ซึ่งอยู่เหนือแม่น้ำวอแบช เพอร์ดูมีชื่อเสียงในด้าน วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ บริหารธุรกิจ ภูมิสถาปัตยกรรม และการจัดการโรงแรม ในปี 2551 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ถูกจัดอันดับที่ 10 ของประเทศ โดยวิศวกรรมอวกาศอยู่อันดับ 5 ขณะที่ด้านวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมเครื่องกล อยู่ที่อันดับ 7 ของประเทศ และในคณะวิทยาศาสตร์ เคมีวิเคราะห์คงอยู่ที่อันดับ 2 ในขณะที่ด้านสถิติศาสตร์ขึ้นมาเป็นอันดับ 10 และด้านระบบคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ได้ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 16, 18, 19, และ 19 ของประเทศตามลำดับ นักศึกษาในเพอร์ดูมีประมาณ 38,000 คน (ปี พ.ศ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและมหาวิทยาลัยเพอร์ดู

รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาในกลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ และการผังเมือง.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและรายการสาขาวิชา

รายนามบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ได้ผลิตบัณฑิตในสาขาต่าง ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก โดยคณาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน จากมหาวิทยาลัยนั้น มีบุคคลสำคัญในด้านต่าง ๆ ของประเทศ ในทุกสาขาอาชีพ ทั้งในด้านวิชาการ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ข้าราชการ วงการกีฬา วงการสื่อสารมวลชน นักแสดง นักร้อง เป็นต้น ซึ่งมีรายพระนามและรายนาม ดังนี้ 150px.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและรายนามบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รุกขกรรม

Hoyt Arboretum เมืองปอร์ทแลนด์ รัฐออริกอน รุกขกร กำลังใช้เลื่อยยนต์ โค่นต้นยูคาลิปตัสในสวนสาธารณะเมืองคาลลิสตา วิคทอเรีย รุกขกรรม คือวิชาชีพว่าด้วยการปลูกและจัดการเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ (trees) ในงานภูมิทัศน์ ซึ่งรวมถึงการศึกษาการเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อการปฏิบัติเชิงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมและการประยุกต์เทคนิคเชิงวัฒนธรรมอันได้แก่การคัดเลือก การปลูก การดูแล การทำศัลยกรรมและการตัดโค่น จุดเน้นของงานรุกขกรรมได้แก่ต้นไม้ที่ให้ความประเทืองใจ (amenity trees) ซึ่งต้นไม้เหล่านี้จะได้รับการดูแลเพื่องานภูมิทัศน์สำหรับมนุษย์เป็นหลัก ปกติต้นไม้ประเทืองใจต่างๆ ดังกล่าวจะอยู่ตามอุทยาน สวน สวนสาธารณะ หรือในบริเวณชุมชน งานรุกขกรรมเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของต้นไม้ การควบคุมโรคและแมลง การจัดการเกี่ยวกับอันตรายและการพิจารณาในด้านสุนทรียภาพ ต้นไม้เอื้อประโยชน์ให้มนุษย์ทั้งทางด้านมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาตินอกเหนือไปจากการให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากใช้เนื้อไม้ ด้วยเหตุนี้ วิชารุกขกรรมจึงต้องมีความแตกต่างจากวิชาการป่าไม้ซึ่งเน้นการผลิตเนื้อไม้เชิงพาณิชย์และผลผลิตจากป่าหรือการทำป่าปลูก.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและรุกขกรรม

ลานเซลอต บราวน์

ลานเซลอต บราวน์ "ผู้สามารถ" ลานเซลอต บราวน์ (Lancelot Brown; พ.ศ. 2259 — 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2326) รู้จักโดยทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งว่า บราวน์ผู้สามารถ (Capability Brown) นักจัดสวนและภูมิทัศน์ชาวอังกฤษผู้ได้รับการกล่าวขวัญถึงว่าเป็น “ศิลปินที่สมราคาคนสุดท้ายแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 18” และนับเป็นนักจัดสวนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ได้ออกแบบสวนสาธารณะมากกว่า 170 แห่งและมีหลายแห่งที่ยังคงยั่งยืนอยู่ถึงปัจจุบัน.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและลานเซลอต บราวน์

วรรณพร พรประภา

วรรณพร พรประภา หรือนามสกุลเดิม ล่ำซำ เป็นภูมิสถาปนิกและสถาปนิกเจ้าของสำนักงานออกแบบ โดยดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท PLA (บริษัท พี แลนด์สเคป จำกัด) บุตรโพธิพงษ์ ล่ำซำ และน้องสาวนวลพรรณ ล่ำซำ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและวรรณพร พรประภา

สภาสถาปนิกไทย

ตราสัญลักษณ์สภาสถาปนิก ในประเทศไทย, สภาสถาปนิก (Architect Council of Thailand หรือชื่อเดิม Council Of Architects) คือองค์กรควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาปนิก..

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสภาสถาปนิกไทย

สวน

วนญี่ปุ่น สวน หมายถึง บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก โดยมากมักเป็นภายนอกอาคาร สำหรับเพื่อการแสดง เพาะปลูก และเพื่อให้ความเพลิดเพลิน สวนอาจเป็นทั้งสวนธรรมชาติหรือทำจากวัสตุที่มนุษย์สร้างขึ้น สวนโดยทั่วไปเช่นสวนตามบ้านพักอาศัย ส่วนสวนที่จำลองบรรยากาศธรรมชาติในสวนสัตว์ เรียกว่า สวนสัตว์ป่า (zoological garden) สวนตามธรรมเนียมของตะวันออก อย่างเช่น สวนเซ็น มักใช้พืชอย่างเช่น parsley ส่วนสวนแบบ Xeriscape จะใช้พื้นท้องถิ่นที่ไม่ต้องการน้ำหรือสิ่งที่สิ้นเปลือง แต่ยังคงได้รับประโยชน์จากสภาพแวดล้อมสวน สวนอาจจะมีการเสริมสร้างด้วยโครงสร้าง อย่างเช่น สิ่งก่อสร้างตกแต่ง หรือ ฟอลลีย์ รวมถึงส่วนประกอบเกี่ยวกับน้ำ อย่างเช่น น้ำพุ บ่อน้ำ (อาจมีปลาหรือไม่มีก็ได้) น้ำตกหรือลำธาร รูปปั้น ซุ้มไม้ โครงไม้ระแนง และอื่น ๆ สวนบางสวนมีจุดประสงค์เพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ ขณะที่ในบางสวนการให้ผลผลิต พืชสวนครัว สวนที่ผลิตพืชผลในฟาร์ม จะมีขนาดเล็กกว่าฟาร์ม และมักมีจุดประสงค์เพื่อความเพลิดเพลิน งานอดิเรกมากกว่าผลิตเพื่อขาย สวนดอกไม้จะรวมไม้ดอกที่มีความแตกต่างทางด้าน สีสัน ความสูง พื้นผิว และกลิ่นหอม เพื่อให้น่าสนใจและความสุข การจัดสวนเป็นกิจกรรมสำหรับการปลูกพืชและบำรุงรักษาสวน สามารถทำโดยมือสมัครเล่นและนักจัดสวนมืออาชีพ ภูมิสถาปัตยกรรมเกี่ยวข้องกับวิชาชีพในการออกแบบพิเศษสำหรับสาธารณะและลูกค้.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสวน

สวนกระท่อม

หลังคาจาก: สวนกระท่อมในบริททานี่ย์ สวนกระท่อม เป็นสวนที่มีลักษณะเฉพาะ แต่ไม่มีรูปแบบการจัดสวนที่ตายตัว, เป็นสวนแบบโบราณ, มีการปลูกต้นไม้หลายชนิดไว้ด้วยกันรวมไปถึงชนิดที่สามารถทานได้, มีของประดับสวนมากมายหลายแบบ สวนกระท่อมนี้ ดั้งเดิมพบในอังกฤษ เป็นสวนที่มีเสน่ห์ตรึงใจมากกว่าให้ความรู้สึกโอ่อ่ามีระเบียบ ย้อนกลับไปหลายศตวรรษ สวนมักจะเน้นจัดแบบเรียบง่าย แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มพื้นที่ ในช่วง 1870 มีการปรับปรุงรูปแบบของสวน อังกฤษได้จัดให้สวนดูมีแบบแผนมากขึ้น และคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของสวนแนวอังกฤษซึ่งเป็นสวนที่จัดแบบเรียบๆไม่มีรูปแบบที่แน่นอน มีการปลูกพืชล้มลุกให้ดูเต็มพื้นที่ สวยสบายตา สวนกระท่อมแบบโบราณสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มพื้นที่มากกว่าสวนกระท่อมที่พบเห็นกันในปัจจุบัน — เนื่องจากมีการปลูกผักและสมุนไพรสำคัญๆไว้หลายชนิด, มีผลไม้บ้างเล็กน้อย, อาจมีรังผึ้งหรือแม้แต่ปศุสัตว์ด้วย ส่วนดอกไม้จะใช้เพื่อตกแต่งบริเวณที่ดูโล่งๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดอกไม้ก็กลายมาเป็นส่วนสำคัญที่จัดให้ดูเด่นกว่าส่วนอื่นๆในสวน สวนกระท่อมในสมัยก่อนมักเป็นสวนแบบมีรั้วล้อม, อาจเป็นรั้วพุ่มกุหลาบก็ได้ ดอกไม้ในสวนจะเน้นดอกไม้ประดับโบราณเช่นกัน, อย่างเช่น ดอกพริมโรส และ ไวโอเล็ต, อาจมีดอกไม้ทั่วๆไป อย่างเช่น ดาวเรือง และ สมุนไพรต่างๆ นอกจากนั้น จะปลูกกุหลาบแบบโบราณที่จะออกดอกเพียงปีละครั้งแต่กลิ่นหอมอวลไปทั้งสวนด้วย อาจปลูกดอกไม้แบบเรียบๆอย่างเดซี่ และดอกไม้สมุนไพรทั่วไป ในภายหลัง แม้แต่ในสวนใหญ่ๆยังมีการแยกพื้นที่บางส่วนไว้ เพื่อจัด "สวนกระท่อม" ไว้ด้วย ในปัจจุบัน สวนกระท่อมมีมากมายหลายแบบตามแต่ละพื้นที่ และความแตกต่างในความชอบของรูปแบบสวนอังกฤษและชนิดต้นไม้ของแต่ละบุคคล เช่น การตกแต่งด้วยหญ้าหรือใช้พืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งไม่เคยมีในสวนกระท่อมหรือสวนตามชนบทจริงๆ กุหลาบโบราณ, ทรงสวยงาม กลิ่มหอมแรง, ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องมีประดับสวนแบบกระท่อมนี้ไว้ — ปลูกรวมกับพันธุ์สมัยใหม่ที่สามารถทนต่อโรคได้ดีกว่า ทั้งสวนแบบสมัยก่อนและในปัจจุบัน มีการประดับด้วยไม้เลื้อยอายุหลายปีที่โตแผ่งกิ่งก้านอย่างอิสร.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสวนกระท่อม

สัปปายะสภาสถาน

ัปปายะสภาสถาน เป็นโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ของประเทศไทยและแห่งที่ 3 ของประเทศไทยแทนที่อาคารเดิมบริเวณข้างสวนสัตว์ดุสิต โครงการก่อสร้างตั้งอยู่ติดริ่มฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนนทหาร (เกียกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต โครงการได้ริเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสัปปายะสภาสถาน

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สิรินทรา วัณโณ

รินทรา วัณโณ (1 กุมภาพันธ์ 2521 -) เป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาระดับประถมและมัธยมจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 2 สาขาทั้งสถาปัตยกรรม และภูมิสถาปัตยกรรม โดยอาจารย์ได้จบปริญญาตรีและโทสาขาสถาปัตยกรรม จาก Savannah College of Art and Design-SCAD สหรัฐอเมริกา 2544 และจบปริญญาโทในสาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา 2547 การที่อาจารย์เป็นบุตรสาวของอุปนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย อาจารย์สุรัตน์ วัณโณทำให้อาจารย์สนใจเรื่องต้นไม้มาแต่เล็ก.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสิรินทรา วัณโณ

สิ่งก่อสร้างตกแต่ง

“หอบรอดเวย์” (Broadway Tower) ที่วูสเตอร์, อังกฤษ “ปราสาทโมว์ ค็อพ” (Mow Cop Castle) ที่แฮริสซีเฮด, สตาฟฟอร์ดเชอร์, อังกฤษ สร้างเลียนแบบซากป้อมจากยุคกลาง สิ่งก่อสร้างตกแต่ง หรือ ฟอลลีย์ (ภาษาอังกฤษ: Folly หรือ Eye-catcher) คือสิ่งก่อสร้างที่สร้างเฉพาะสำหรับการตกแต่งที่มิใช่สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้สอยตามปกติ สิ่งก่อสร้างตกแต่งเริ่มมาจากการสร้างเพื่อเพิ่มความเด่นในการตกแต่งอุทยานหรือสวนแบบภูมิทัศน์ และมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อความสนุก.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างตกแต่ง

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมบาโรก

สถาปัตยกรรมศาสตร์

ปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเทคนิควิทยาการทั้งทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อาศัย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้น สนองตอบในเชิงจิตวิทยา ซึ่งผู้ออกแบบต้องเข้าใจความต้องการในการใช้พื้นที่นั้น ๆ อย่างลึกซึ้งอันมีผลกับการออกแบบที่ดี และไม่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปวิทยาการ ในการออกแบบอาคารและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับมหัพภาค ถึงจุลภาค เช่น การวางผังชุมชน การออกแบบชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ถือเป็นศาสตร์ที่มีศาสตร์อื่นมาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จนยากที่จะสรุปลงไปได้ว่ามี ศาสตร์สาขาใดมาเกี่ยวข้องบ้าง.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์

สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์

ปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ คือสถาปัตยกรรมในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลปัจจุบัน) เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลจากจากตะวันตก วิชาชีพสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 6 เริ่มเป็นที่รู้จัก และถือได้ว่าการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมแผนใหม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี..

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์

สถาปัตยกรรมตะวันตก

ปัตยกรรมตะวันตก (Western Architecture) สถาปัตยกรรมโรโคโค มหาวิหารโนเตรอดาม - ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมกอ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมตะวันตก

หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในในประเทศไทย

วิชาการออกแบบตกแต่งภายในและสถาปัตยกรรมภายใน ในประเทศไท.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและหลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในในประเทศไทย

อันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

อันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดโดยนิตยสารต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อเป็นตัวแสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยในขณะนั้น และรวมถึงเป็นข้อมูลสำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อช่วยในการตัดสินใจ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกันอย่างจริงจัง และ อันดับมหาวิทยาลัยที่จัดนั้น ก็ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนต่อของนักศึกษา อัตราการสมัคร (admission rate) อัตราการเข้าเรียนจริง ๆ ของผู้ที่ได้รับการตอบรับแล้ว (yield rate) และการวางแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยต่างๆ สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของสหรัฐอเมริกา คือ การจัดอันดับโดยนิตยสาร ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต (US News and World Report) ซึ่งได้เริ่มการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี (College) ในปี 2526 เป็นต้นมา โดยในชั้นแรก เป็นแค่คอลัมน์หนึ่งของนิตยสารเท่านั้น และ การจัดอันดับมหาวิทยาลัย ไม่ได้รับความสนใจมากนักต่อนักการศึกษา และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่ต่อมาด้วยความนิยมที่มีมากขึ้น ทำให้ นิตยสาร USNews ได้รับความนิยมจากนักเรียนในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย แม้จะมีข้อผิดพลาด และได้รับการวิจารณ์จากนักการศึกษาอยู่เสมอ ๆ ในยุคแรก ๆ ภายหลังนิตยสารได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในด้านสถิติมาเป็นบรรณาธิการในด้านการจัดอันดับโดยเฉพาะ ต่อมาได้มีนิตยสารอื่น ๆ ทำการจัดทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐ ฯ ออกมามากขึ้น เช่น สำหรับคณะบริหารธุรกิจ มีนิตยสาร เช่น นิตยสารบิซิเนสวีก(BusinessWeek), นิตยสารฟอรบส์ (Forbes) ซึ่งได้รับความนิยม ในสาขาปรัชญา ก็มี Gourmet Report แต่อย่างไรก็ได้ การจัดลำดับของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นั้น มีความแตกต่างกันตามแต่อคติและการให้น้ำหนักของปัจจัยที่ใช้วัดคะแนน ตัวอย่างของความแตกต่าง อาทิ ในปี..

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและอันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

จามรี อาระยานิมิตสกุล

รองศาสตราจารย์ จามรี อาระยานิมิตสกุล (1 มีนาคม 2498 —) อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตรองคณบดี ฝ่ายบริการวิชาการของคณะ กรรมการสภาสถาปนิก ชุดที่ 4 (2553-2556) ในสาขาภูมิสถาปัตยกรรม มีผลงานการออกแบบวางผัง และคู่มือการพัฒนาภูมิทัศน์ให้แก่หน่วยงานราชการ เช่น อุทยานแห่งชาติ ภูมิทัศน์ทางหลวง/ทางหลวงชนบท และเมืองเพื่อการท่องเที่ยวต่าง ๆ ในอดีตเคยเป็นนายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย มีผลงานจัดการประชุมนานาชาติทางภูมิสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก อาจารย์จามรีจบปริญญาโท สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริก.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและจามรี อาระยานิมิตสกุล

ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์

ีไซน์อินเทลลิเจนซ์ ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ (DesignIntelligence) เป็นนิตยสารในสหรัฐอเมริกาในด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สำนักงานอยู่ที่เมืองนอร์ครอสส์ ในรัฐจอร์เจีย ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์เป็นที่รู้จักใน การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมถึงในสาขาย่อยด้าน มัณฑณศิลป์ และ ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและดีไซน์อินเทลลิเจนซ์

คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็น 1 ใน 4 คณะที่จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกของมหาวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน..

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี..

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประวัติการก่อตั้ง วันสถาปนาคณะ 3 พฤศจิกายน 2548 ได้ยกฐานะจากภาควิชาภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เปิดสอนนักศึกษาในหลักสูตร 2ปีต่อเนื่อง (รับนักศึกษาจากสายอาชีวศึกษาเช่น เกษตร เทคนิค เทคนิคสถาปัตย์ ฯ) ตั้งแต่ 2527 เป็นต้นมา จนกระทั่งในปี 2538 ได้เปิดสอน สาขาภูมิสถาปัตยกรรม 5ปี โดยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งได้มีคณาจารย์ 3 ท่านที่เป็นผู้บุกเบิกสร้างหลักสูตรขึ้นมา ได้แก่ อาจารย์สมพร ยกตรี (แม่โจ้รุ่น20) อาจารย์โสภณ มงคลวัจน์ (พืชสวน แม่โจ้รุ่น36) และ ร.ศิริชัย หงษ์วิทยากร (Master in Landscape architecture, University of Michigan) http://www.landscape.mju.ac.th.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

งานภูมิทัศน์

ในเชิงของการพัฒนาโครงการ "งานภูมิทัศน์" หมายถึงพื้นที่ภายนอกอาคารที่มีการปรับแต่งพื้นที่ให้มีประโยชน์ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพ มีความร่มรื่นสวยงามและมีเอกลักษณ์ รวมทั้งการมีองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น ระบบการให้แสงสว่าง ระบบให้น้ำต้นไม้ ระบบระบายน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบอำนวยความสะดวก เช่น ม้านั่ง ถังขยะ ป้าย ตลอดจนสิ่งประเทืองใจ เช่น น้ำพุ น้ำตก หรือประติมากรรม งานภูมิทัศน์มีทั้งขนาดเล็กที่ไม่ซับซ้อนที่เรียกว่าสวนประดับ หรือ สวนหย่อม ไปจนถึงงานซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ เช่น สวนสาธารณะขนาดใหญ่ในเมือง งานภูมิทัศน์โรงแรมพักผ่อนหรูขนาดใหญ่ งานผังบริเวณโครงการขนาดใหญ่ งานลานเมืองและสถานที่สำคัญอื่นๆ ในเชิงการออกแบบและก่อสร้าง “งานภูมิทัศน์” หมายถึงชุดงานที่แยกออกจากงานอาคารและงานภายในเพื่อความสะดวกในการประมูลและก่อสร้างเนื่องจากผู้รับเหมาก่อสร้างภูมิทัศน์มีความชำนาญและมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างจากผู้รับเหมางานอาคารและงานภายใน ปกติงานภูมิทัศน์จะแยกแบบออกเป็นสองชุดแต่สัมพันธ์กัน ได้แก่งาน ภูมิทัศน์ดาดแข็ง (Hardscape) ได้แก่ส่วนของงานที่เป็นองค์ประกอบแข็ง เช่น ผิวพื้น โครงสร้างและงานระบบต่างๆ และ "ภูมิทัศน์ดาดอ่อน" ได้แก่ส่วนของงานที่เป็นงานดิน งานปลูก.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและงานภูมิทัศน์

นวณัฐ โอศิริ

รองศาสตราจารย์ ดร.นวณัฐ โอศิริ (21 เมษายน 2512 —) อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและนวณัฐ โอศิริ

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ระดับวุฒิสถาปนิก แนวความคิดในการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมแต่ละสาขา ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือเดิม (ก่อน พ.ร.บ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

โจเซฟ แพกซ์ตัน

ซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน เซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน (Sir Joseph Paxton; 3 สิงหาคม พ.ศ. 2346 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2408) นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิกชาวอังกฤษ เกิดใกล้เมืองวอเบิร์น เบดฟอร์ดไชร์ สหราชอาณาจักร เป็นบุตรของชาวน.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและโจเซฟ แพกซ์ตัน

เดชา บุญค้ำ

ตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2482 -) ราชบัณฑิต ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม สำนักศิลปกรรมศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภูมิสถาปัตยกรรม) ประจำปี 2549 ภูมิสถาปนิกคนสำคัญของเมืองไทย ผู้บุกเบิกด้านการศึกษาและวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทย ได้ออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมที่สำคัญหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์เขตต่างๆ, สวนหลวง ร.๙, อุทยานเบญจสิริ, สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ และอื่นๆ รวมทั้งงานภูมิทัศน์วัดโสธรวรารามวรวิหาร ผังแม่บทภูมิทัศน์เดิมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (พ.ศ.

ดู ภูมิสถาปัตยกรรมและเดชา บุญค้ำ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Landscape architectureภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์