เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภูมิศาสตร์มนุษย์

ดัชนี ภูมิศาสตร์มนุษย์

350px คาร์ล ริทเทอร์ นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน - ถือกันว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกภูมิศาสตร์สมัยใหม่ คู่กับ อเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮุมโบลด์ท ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์มนุษย์คือการศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น มันเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภูมิศาสตร์มนุษย์นั้นโดยทั่วไปแตกต่างอยากมากจากภูมิศาสตร์กายภาพ โดยมันเน้นมากกว่าในการศึกษาแบบแผนที่จับต้องไม่ได้หรือเป็นนามธรรมรอบ ๆ กิจกรรมของมนุษย์ และเปิดรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่า ภูมิศาสตร์มนุษย์รวมเอาแง่มุมทางมนุษย์ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของสังคมศาสตร์เอาไว้ ในขณะที่จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์มนุษย์จะไม่ใช่ภูมิทัศน์เชิงกายภาพของโลก แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะคุยเรื่องภูมิศาสตร์มนุษย์ โดยไม่พูดถึงภูมิทัศน์ทางกายภาพที่กิจกรรมของมนุษย์ดำเนินอยู่ในนั้น และโดยไม่พูดถึงภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างมนุษย์และโลก ภูมิศาสตร์มนุษย์นั้นมีความหลากหลายทั้งในวิธีวิทยาและทฤษฎี ซึ่งรวมถึงวิธีในแบบสตรีนิยม มาร์กซิสม์ หลังโครงสร้างนิยม ฯลฯ และใช้ทั้งระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (เช่น ชาติพันธุ์วรรณาและการสัมภาษณ์) และเชิงปริมาณ (เช่น การสำรวจทางสถิติ, การวิเคราะห์ทางสถิติ, และการสร้างตัวแบบ) สาขาหลักของภูมิศาสตร์มนุษย์ ได้แก่ วัฒนธรรม, การพัฒนา, เศรษฐกิจ, สุขภาพ, ประวัติศาสตร์, การเมือง, ประชากร, การท่องเที่ยว, และเมือง.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: ภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์กายภาพภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมรายการสาขาวิชาทวีปเอเชียนักภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์

แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.

ดู ภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์กายภาพ

ีผสมจริงของพื้นผิวและชั้นบรรยากาศโลกจากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด นาซา. ภูมิศาสตร์กายภาพ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์ และเป็นสาขาย่อยของสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ อุทกภาค ชีวมณฑล และธรณีภาค ตรงข้ามกับภูมิศาสตร์มนุษย์ที่เน้นทางวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างมากกว.

ดู ภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์กายภาพ

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม (environmental geography), ภูมิศาสตร์มนุษย์และสิ่งแวดล้อม (human–environment geography) หรือ ภูมิศาสตร์บูรณาการ (integrated geography, integrative geography) เป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ว่าด้วยการอธิบายถึงข้อเท็จจริงและการตีความลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างปัจเจกบุคคลหรือสังคมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาต.

ดู ภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ.

ดู ภูมิศาสตร์มนุษย์และรายการสาขาวิชา

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.

ดู ภูมิศาสตร์มนุษย์และทวีปเอเชีย

นักภูมิศาสตร์

นักภูมิศาสตร์โดยโยฮันเนิส เฟอร์เมร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1668-69 ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี นักภูมิศาสตร์ เป็นผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาปรากฏการณ์ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นบนโลก แม้ว่านักภูมิศาสตร์จะเป็นที่รู้จักในฐานะของผู้สร้างแผนที่มาตั้งแต่อดีต แต่ความจริงแล้วแผนที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาขาการทำแผนที่ และการทำแผนที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสาขาภูมิศาสตร์เช่นกัน นักภูมิศาสตร์ไม่ได้ศึกษาเพียงแต่รายละเอียดของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมมนุษย์เท่านั้น แต่รวมถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งว่ามีผลกระทบต่อกันและกันอย่างไรบ้าง หากแบ่งแยกตามสาขาวิชาของภูมิศาสตร์ นักภูมิศาสตร์กายภาพจะศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติขณะที่นักภูมิศาสตร์มนุษย์จะศึกษาถึงสังคมมนุษย์ ปัจจุบันนักภูมิศาสตร์สมัยใหม่ได้มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การรับรู้จากระยะไกล เป็นต้น มาใช้ในการทำงานทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน.

ดู ภูมิศาสตร์มนุษย์และนักภูมิศาสตร์