โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาเอฟชาร์ป

ดัชนี ภาษาเอฟชาร์ป

ษาเอฟชาร์ป (F#) เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ strongly typed บนดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและ Mono ที่สนับสนุนโมเดลการเขียนโปรแกรมหลายแบบรวมทั้ง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ และการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง F# เป็นภาษาดอตเน็ต สามารถเรียกใช้เอพีไอของดอตเน็ต และถูกเรียกจากภาษาดอตเน็ตอื่นๆ นอกจากนั้น F# ยังสามารถถูกใช้กับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เขียนโปรแกรมสำหรับหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ หรือ GPU และใช้เขียนโปรแกรมสำหรับแมคโอเอสเท็น ไอโอเอส และ แอนดรอยด์ โดยใช้ Programming tool สร้างโดยบริษัท Xamarin.

4 ความสัมพันธ์: กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันภาษาดอตเน็ตF

กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม

กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม (Programming paradigm) เป็นวิธีการพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมมี 4 กระบวนทัศน์หลัก ได้แก่ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง (imperative programming) การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (functional programming) และการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (logic programming) นอกจากกระบวนทัศน์หลักทั้ง 4 แล้ว ยังมีอีกกระบวนทัศน์หนึ่งซึ่งขยายความสามารถของโมดูลโปรแกรม โดยใช้วิธีการตัดแทรกโค้ด กระบวนทัศน์นี้คือ การโปรแกรมเชิงหน่วยย่อย (aspect-oriented programming).

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมที่รูปแบบการสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งปฏิบัติต่อการคำนวณว่าเป็นการประเมินผลฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสถานะและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศซึ่งหมายความหรือการประกาศแทนข้อความสั่ง ในโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ค่าผลลัพธ์ของฟังก์ชันขึ้นอยู่กับที่นำเข้าสู่ฟังก์ชันเท่านั้น ดังนั้นการเรียกฟังก์ชัน f สองครั้งด้วยค่าอาร์กิวเมนต์ x เดียวกันจะให้ค่าผลลัพธ์ f(x) เท่ากันทุกครั้ง การกำจัดผลข้างเคียง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสถานะที่ไม่ขึ้นกับสิ่งที่นำเข้าฟังก์ชัน สามารถทำให้ง่ายขึ้นที่จะทำความเข้าใจและพยากรณ์พฤฒิกรรมของโปรแกรมซึ่งเป็นหนึ่งในแรงจูงใจของการพัฒนาของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันมีรากฐานมาจากแคลคูลัสแลมบ์ดาซึ่งเป็นระบบรูปนัยที่พัฒนาในคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อค้นEntscheidungsproblem นิยามของฟังก์ชัน การประยุกต์ฟังก์ชัน และการเรียกซ้ำ ภาษาการใส่รายละเอียดเพิ่มจากแคลคูลัสแลมบ์ดา กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศที่เป็นที่รู้จักอื่น ๆ การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ มีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์เชิงตรรกะ ในกลับโปรแกรมเชิงคำสั่งเปลี่ยนสถานะด้วยคำสั่งในภาษาต้นทาง ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือการกำหนดค่า การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งไม่มีฟังก์ชันในความหมายแบบคณิตศาสตร์แต่มีในความหมายแบบซับรูทีน ซึ่งมีผลข้างเคียงที่อาจะเปลี่ยนค่าของสถานะของโปรแกรมได้ ฟังก์ชันที่ไม่คืนค่าจึงสมเหตุสมผลเพราะขาดความโปร่งใสในการอ้างอิง ได้แก่นิพจน์เดียวกันทางภาษาสามารถให้ผลลัพธ์ที่มีค่าต่างกันได้ในเวลาที่ต่างกันขึ้นกับสถานะของโปรแกรมที่กำลังกระทำการ ภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันบริสุทธิ เช่น ภาษาโฮปถูกในความสำคัญในวงการวิชาการมากกว่าในการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามภาษาโปรแกรมที่มีชื่อเสียงซึ่งสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน เช่น ภาษาคอมมอนลิสป์ ภาษา Scheme ภาษา Clojure ภาษา Wolfram (หรือ ภาษา Mathematica) ภาษา Racket ภาษาเออร์แลง ภาษา OCaml ภาษา Haskell และภาษาเอฟชาร์ป ใช้ในโปรแกรมประยุกต์เชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์โดยองค์กรอย่างกว้างขวาง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันยังได้รับการรองรับในภาษาเขียนโปรแกรมเฉพาะทางบางภาษา เช่น ภาษาอาร์ (สถิติ) ภาษาเจ ภาษาเค และภาษาคิวจาก Kx Systems (การวิเคราะห์ทางการคลัง) XQuery/XSLT (เอกซ์เอ็มแอล) และภาษาโอปอล ภาษาเชิงประกาศเฉพาะทางที่ใช้งานอย่างกว้างขวางเช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง และ Lex/Yacc ใช้บางส่วนประกอบของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะใน eschewing วัตถุที่เปลี่ยนแปลงได้.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดอตเน็ต

ษาดอตเน็ต เป็นประเภทภาษาโปรแกรม โดยโปรแกรมที่พัฒนาจะทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก ซึ่งไม่ว่าภาษาดอตเน็ตไหนที่ใช้ ตัวแปลโปรแกรมจะทำการแปลมาเป็นภาษากลาง (MSIL) และเมื่อโปรแกรมถูกเรียกใช้ CLR ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดอตเน็ตเฟรมเวิร์กจะทำการแปลเป็นโค้ดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ในการแปลครั้งแรกเช่นกันหากต้องการ ปัจจุบันนี้มีภาษาดอตเน็ตมีมากกว่า 40 ภาษา โดยไมโครซอฟท์ได้พัฒนาและรองรับภาษาดอตเน็ตหลักๆคือ C# VB.NET และ C++/CLI ซึ่งที่เหลือนั้นพัฒนาโดยผู้อื่น.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและภาษาดอตเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

F

F (ตัวใหญ่:F ตัวเล็ก:f) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 6.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและF · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »