โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาอังกฤษสมัยกลาง

ดัชนี ภาษาอังกฤษสมัยกลาง

ษาอังกฤษสมัยกลาง (Middle English) เป็นชื่อที่นักภาษาศาสตร์ใช้เรียกภาษาอังกฤษในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งใช้พูดสื่อสารตั้งแต่สมัยชาวนอร์มันพิชิตอังกฤษ ใน..

6 ความสัมพันธ์: บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันภาษาสกอตภาษาอังกฤษเก่าทวีปแอนตาร์กติกาตำนานแคนเตอร์บรีโลก (ดาวเคราะห์)

บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน

ันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon Chronicle) เป็นชุดหนังสือรายปีที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษเก่า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวแองโกล-แซกซัน เขียนขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาจจะที่เวสเซ็กซ์ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช หลังจากนั้นต้นฉบับก็ถูกส่งไปตามอารามต่างๆ ทั่วอังกฤษ แต่ละอารามต่างก็แก้ไขเพิ่มเติมต่อมาเรื่อย ๆ ในกรณีหนึ่งบันทึกถูกเพิ่มเติมมาจนถึงปี ค.ศ. 1154 ในปัจจุบันบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันมีเหลืออยู่ 9 ฉบับทั้งสมบูรณ์และเหลือแต่บางส่วน คุณค่าของแต่ละฉบับก็ต่างกันใน 9 ฉบับนี้ไม่มีฉบับใดที่เป็นฉบับดั้งเดิมแท้ ๆ ฉบับที่เก่าที่สุดสันนิษฐานกันว่าเริ่มเขียนราวปลายรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และฉบับล่าสุดเป็นฉบับที่เขียนที่มหาวิหารปีเตอร์บะระหลังจากไฟใหม้อารามในปี ค.ศ. 1116 เนึ้อหาของบันทึกเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประจำปี เหตุการณ์ปีแรกที่สุดที่บันทึกคือปี 60 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงปีที่เขียน ต่อจากนั้นเนื้อหาก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของการเขียน บันทึกต่าง ๆ เหล่านี้เรียกรวมกันว่า “บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน” เนื้อหาของบันทึกไม่เป็นกลางนักในบางบันทึกเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเอกสารจากสมัยกลางอื่น ๆ จะพบว่าผู้เขียนละเว้นเหตุการณ์บางเหตุการณ์ หรือเขียงจากมุมมองของผู้เขียน หรือบางฉบับก็จะแตกต่างจากฉบับอื่นเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกันหรือข้อมูลที่บันทึกขัดแย้งกันเอง แต่เมื่อพิจารณาโดยทั่วไปแล้วพงศาวดารเป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยโรมันหมดอำนาจในอังกฤษไปจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน ข้อมูลที่บันทึกในพงศาวดารไม่พบในเอกสารอื่นใด นอกจากนั้นบันทึกยังเป็นเอกสารชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะฉบับที่เขียนที่ปีเตอร์บะระซึ่งเป็นตัวอย่างแรกที่สุดของภาษาอังกฤษสมัยกลาง เจ็ดในเก้าฉบับปัจจุบันเก็บรักษาไว้หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (British Library) อึกสองฉบับอยู่ที่หอสมุดบอดเลียนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและวิทยาลัยคอร์พัสคริสติของมหาวิทยาลัยเคมบร.

ใหม่!!: ภาษาอังกฤษสมัยกลางและบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสกอต

ษาสกอต เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก ที่ใช้พูดกันในแถบพื้นที่ราบของสกอตแลนด์ และในพื้นที่อัลสเตอร์ (ซึ่งเรียกสำเนียงท้องถิ่นว่าอัลสเตอร์สกอต ชาวสกอตมักเรียกภาษานี้ว่า สกอตที่ราบต่ำ เพื่อไม่ให้สับสนกับภาษาแกลิกสกอต และภาษาเคลต์ซึ่งถูกจำกัดพื้นที่การใช้ตามประวัติศาสตร์ในแถบพื้นที่ราบสูงของสกอตแลนด์ ภาษาสกอตถูกพัฒนาขึ้นในสมัยเดียวกับภาษาอังกฤษสมัยกลาง นับแต่ต้นศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสกอตแลนด์ได้มีวิวัฒนาการ จนกลายเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ที่พูดกันในอังกฤษ หากแต่ยังขาดชื่อเรียก แต่หลังจาก ปี ค.ศ. 1495 เป็นต้นมา คำว่า สกอตติช (Scottis) ถูกใช้มากขึ้นเพื่ออ้างถึงภาษาพูดในถิ่นที่ลุ่ม ในขณะที่คำว่า Erse ซึ่งแปลว่า ไอริช ถูกใช้เป็นชื่อเรียกภาษาแกลิค ฯ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนปลายศตวรรษที่ 15 วิลเลียม ดันบาร์ กวีชาวสกอต ใช้คำว่า Erse เพื่ออ้างถึงภาษาแกลิคและในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 กาวิน ดักลาส เริ่มใช้คำว่า Scottis เพื่ออ้างอิงถึงภาษาถิ่นที่ราบลุ่ม ปัจจุบันภาษาแกลิกของสกอตแลนด์มักถูกเรียกว่า ภาษาแกลิก-สกอต หรือ ภาษาแกลิกสกอตแลน.

ใหม่!!: ภาษาอังกฤษสมัยกลางและภาษาสกอต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: ภาษาอังกฤษสมัยกลางและภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: ภาษาอังกฤษสมัยกลางและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแคนเตอร์บรี

ตำนานแคนเตอร์บรี (The Canterbury Tales) เป็นวรรณกรรมที่เขียนโดยเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องย่อยที่รวบรวมกันเป็นหนังสือ (สองเล่มเป็นร้อยแก้ว อีกยี่สิบสองเล่มเป็นร้อยกรอง) ที่เป็นตำนานที่เล่าโดยนักแสวงบุญแต่ละคนจากซัทเธิร์ค (Southwark) ในลอนดอนที่เดินทางกันไปแสวงบุญที่ชาเปลของนักบุญทอมัส เบ็คเค็ทที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี “ตำนานแคนเตอร์บรี” เขียนเป็นภาษาอังกฤษสมัยกลาง เรื่องราวต่างถือกันว่าเป็นหนึ่งในมหาวรรณกรรม (magnum opus) ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก “ตำนานสิบราตรี” (The Decameron) ที่เขียนโดยกวีชาวอิตาลีจิโอวานนิ โบคคาชโช ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่กล่าวกันว่าชอเซอร์ได้อ่านเมื่อเดินทางไปท่องเที่ยวในอิตาลีก่อนหน้านั้น แต่ผู้ที่เล่าเรื่องในตำนานของชอเซอร์เป็น “มนุษย์เดินดิน” แทนที่จะเป็นเรื่องของชนชั้นขุนนางเช่นใน “ตำนานสิบราตรี” ของ.

ใหม่!!: ภาษาอังกฤษสมัยกลางและตำนานแคนเตอร์บรี · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: ภาษาอังกฤษสมัยกลางและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »