เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาษาสกอต

ดัชนี ภาษาสกอต

ษาสกอต เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก ที่ใช้พูดกันในแถบพื้นที่ราบของสกอตแลนด์ และในพื้นที่อัลสเตอร์ (ซึ่งเรียกสำเนียงท้องถิ่นว่าอัลสเตอร์สกอต ชาวสกอตมักเรียกภาษานี้ว่า สกอตที่ราบต่ำ เพื่อไม่ให้สับสนกับภาษาแกลิกสกอต และภาษาเคลต์ซึ่งถูกจำกัดพื้นที่การใช้ตามประวัติศาสตร์ในแถบพื้นที่ราบสูงของสกอตแลนด์ ภาษาสกอตถูกพัฒนาขึ้นในสมัยเดียวกับภาษาอังกฤษสมัยกลาง นับแต่ต้นศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสกอตแลนด์ได้มีวิวัฒนาการ จนกลายเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ที่พูดกันในอังกฤษ หากแต่ยังขาดชื่อเรียก แต่หลังจาก ปี ค.ศ.

สารบัญ

  1. 17 ความสัมพันธ์: ชาวบริติชพจนานุกรมโลกอสกลุ่มชนเจอร์แมนิกกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกก็อดเซฟเดอะควีนยุครัฐในอารักขาราชวงศ์สจวตราชอาณาจักรสกอตแลนด์รายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์วิกิพีเดียภาษาสกอตสหราชอาณาจักรอเล็กซานเดอร์ (ชื่อ)ตราแผ่นดินของสกอตแลนด์ประวัติของคิลต์ประเทศสกอตแลนด์เอลเลนส์ดริทเทอร์เกซังเอดินบะระ

ชาวบริติช

วบริติช เป็นชนชาติหรือคนพื้นเมืองของสหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร และคราวน์ดีเพนเดนซี ตลอดจนผู้สืบเชื้อสายจากชนชาตินี้ กฎหมายสัญชาติสหราชอาณาจักรสมัยใหม่ถือว่าหมายถึงผู้ถือความเป็นพลเมืองและสัญชาติสหราชอาณาจักร แต่ในบริบททางประวัติศาสตร์จะหมายถึงชาวบริตัน ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของเกาะบริเตนใหญ.

ดู ภาษาสกอตและชาวบริติช

พจนานุกรมโลกอส

ลกอส เป็นพจนานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ ให้บริการในหลายภาษา ให้บริการโดย บริษัทโลกอส กรุ๊ป หนึ่งในบริษัทที่ให้บริการแปลภาษาของยุโรป เริ่มเปิดให้บริการในปี..

ดู ภาษาสกอตและพจนานุกรมโลกอส

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ดู ภาษาสกอตและกลุ่มชนเจอร์แมนิก

กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก

้นแบ่งระหว่างกลุ่มเจอร์แมนิกตะวันตกและกลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน.

ดู ภาษาสกอตและกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก

ก็อดเซฟเดอะควีน

ลงก็อดเซฟเดอะควีน หรือ ก็อดเซฟเดอะคิง เป็นเพลงปลุกใจ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีของสหราชอาณาจักร เพลงนี้ใช้เป็นหนึ่งในสองเพลงชาติของนิวซีแลนด์ เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ในเครือจักรภพ ทั้งยังใช้เป็นเพลงคำนับสำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์อังกฤษด้วย หากประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ จะใช้ชื่อเพลงว่า ก็อดเซฟเดอะคิง แต่ถ้าพระราชินีทรงเป็นประมุขก็จะใช้ชื่อเพลงว่า ก็อดเซฟเดอะควีน ในภาษาไทยไม่นิยมแปลชื่อเพลงนี้ออกมาโดยตรง แต่มักเรียกทับศัพท์ว่า ก็อดเซฟเดอะคิง หรือ ก็อดเซฟเดอะควีน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ ตามลักษณะของเพลง.

ดู ภาษาสกอตและก็อดเซฟเดอะควีน

ยุครัฐในอารักขา

รัฐในอารักขา (Protectorate) เป็นช่วงสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์เครือจักรภพอังกฤษซึ่งดินแดนอังกฤษและเวลส์, ไอร์แลนด์, และสกอตแลนด์ มีสถานะเป็นสาธารณรัฐ และมีผู้ปกครองเรียกว่า "เจ้าผู้อารักขา" (Lord Protector) เริ่มขึ้นใน..

ดู ภาษาสกอตและยุครัฐในอารักขา

ราชวงศ์สจวต

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์สจวต ราชวงศ์สจวต อังกฤษ: House of Stuart หรือ Stewart) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ซึ่งภายหลังได้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษ และได้ปกครองราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ได้ทรงรับเอาการสะกดชื่อพระราชวงศ์ว่า Stuart มาจากภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่ในฝรั่งเศสยืนยันว่าในภาษาสกอต Stewart นั้นออกเสียงได้ถูกต้องแล้ว ชื่อราชวงศ์มาจากพระอิสสริยยศโบราณของสกอตแลนด์ สจวตสูงแห่งสกอตแลนด์ (High Steward of Scotland) ราชวงศ์สจวตปกครองราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นเวลานาน 336 ปี ระหว่างปี พ.ศ.

ดู ภาษาสกอตและราชวงศ์สจวต

ราชอาณาจักรสกอตแลนด์

ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ (Rìoghachd na h-Alba; Kinrick o Scotland; Kingdom of Scotland) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรประหว่างปี..

ดู ภาษาสกอตและราชอาณาจักรสกอตแลนด์

รายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์

ระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ตามธรรมเนียม พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอตพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1 (ซีเนียด แม็คอัลปิน) ผู้ทรงสถาปนารัฐเอกราชขึ้นในปี..

ดู ภาษาสกอตและรายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์

วิกิพีเดียภาษาสกอต

ลโก้ของวิกิพีเดียภาษาสกอต วิกิพีเดียภาษาสกอตเป็นวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาสกอต และปัจจุบันมีบทความประมาณ 17,208 บทความ 2 เมษายน พ.ศ.

ดู ภาษาสกอตและวิกิพีเดียภาษาสกอต

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ดู ภาษาสกอตและสหราชอาณาจักร

อเล็กซานเดอร์ (ชื่อ)

อเล็กซานเดอร์ (Alexander) เป็นชื่อต้นของผู้ชาย มีที่มาจากคำในภาษาละติน "Alexander" ซึ่งเป็นการถอดคำมาจากภาษากรีกจากคำว่า "Αλέξανδρος".

ดู ภาษาสกอตและอเล็กซานเดอร์ (ชื่อ)

ตราแผ่นดินของสกอตแลนด์

ตราแผ่นดินของสกอตแลนด์ มีกำเนิดในศตวรรษที่15 คือ รูปสิงโตโบราณแห่งสกอต มีลำตัวสีแดง ล้อมรอบด้วยลวดลายกรอบแบบสกอตขอบสีแดง บนพื้นโล่สีเหลือง ส่วนธงประจำราชวงศ์ของสกอตแลนด์ เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นเหลือง มีตราสิงโตโบราณแห่งสกอต มีลำตัวสีแดง อยู่ตรงกลางที่ผืนธง ล้อมรอบด้วยลวดลายกรอบแบบสกอตขอบสีแดง.

ดู ภาษาสกอตและตราแผ่นดินของสกอตแลนด์

ประวัติของคิลต์

ประมุขของตระกูลที่ราบสูงลอร์ดมังโก เมอร์เรย์ราว ค.ศ. 1680 ประวัติของคิลต์ (History of the kilt) เริ่มขึ้นอย่างน้อยก็ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แม้ว่าคิลต์จะเป็นเครื่องแต่งกายตามประเพณีของสกอตที่ราบสูง (Scottish highlands) แต่ความเป็นโรแมนติคชาตินิยม (Romantic nationalism) ของธรรมเนียมนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ นอกจากนั้นการแต่งตัวด้วยคิลต์มิได้กระทำกันแต่โดยสกอตที่ราบสูงแต่ยังโดยชาวสกอตที่ราบลุ่ม (Scottish Lowlands) และโดยชาวสกอตพลัดถิ่น (Scottish Diaspora) เพื่อเป็นเครื่องหมายในการแสดงความเป็นสกอต มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้คนในประเทศอื่นที่มีเชื้อสายเคลต์ที่รวมทั้งไอริช คอร์นิช เวลช์ และแมงซ์ ก็มาใช้คิลต์ลายสกอตกันเมื่อไม่นานมานี้แต่ก็ไม่มากนัก คิลต์ในระยะแรกเป็น “คิลต์ใหญ่” (great kilt) ที่มีความยาวเต็มตัวที่ท่อนบนใช้พันรอบไหล่หรือดึงมาคลุมตัวหรือคลุมหัวได้ ส่วน “คิลต์สั้น” (small kilt) หรือ “คิลต์เดินทาง” (walking kilt) (คล้ายกับคิลต์สมัยใหม่) มิได้เริ่มใช้กันจนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นตอนล่างคิลต์ใหญ่ คำว่า “คิลต์” มาจากภาษาสกอตที่แปลว่าผ้าที่เหน็บรอบตัว ที่แผลงมาจากภาษานอร์สโบราณ “kjalta” ที่เข้ามากับผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานชาวนอร์สผู้แต่งตัวด้วยทาร์ทันจีบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน.

ดู ภาษาสกอตและประวัติของคิลต์

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ดู ภาษาสกอตและประเทศสกอตแลนด์

เอลเลนส์ดริทเทอร์เกซัง

อลเลน ดักลาส "The Lady of the Lake" กับลันซล็อต จากผลงานของอัลเฟรด เทนนีสัน บารอนเทนนีสันที่ 1 เอลเลนส์ดริทเทอร์เกซัง (Ellens dritter Gesang) หรือ เอลเลนส์เทิร์ดซอง (Ellen's third song, D839, Op.) เป็นงานประพันธ์ชิ้นหนึ่งที่เป็นที่นิยมของฟรันซ์ ชูแบร์ท แต่งขึ้นในปี ค.ศ.

ดู ภาษาสกอตและเอลเลนส์ดริทเทอร์เกซัง

เอดินบะระ

อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ดู ภาษาสกอตและเอดินบะระ