โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะภูมิไวเกิน

ดัชนี ภาวะภูมิไวเกิน

วะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) หมายถึงอาการอันไม่พึงปรารถนาซึ่งก่อให้เกิดขึ้นโดยระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคภูมิแพ้ หรือ ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง โดยอาการเหล่านี้อาจสร้างความไม่สบายตัว, การป่วยไข้ หรือในบางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้ อาการเหล่านี้มักจะต้องถูกกระตุ้นไปยังระบบภูมิคุ้มกันก่อนเสมอ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามการจัดเรียงของ พี.เอ.จี.

12 ความสัมพันธ์: พาโรโมมัยซินการอักเสบภูมิแพ้ยาปฏิชีวนะอะมิกาซินอีเซทิไมบ์นีโอมัยซินไทกีไซคลีนไข้รูมาติกเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เจนตามัยซินเคลเมนส์ ฟอน เปอร์เกต์

พาโรโมมัยซิน

รโมมัยซิน (Paromomycin) เป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ หลายชนิด เช่นโรคบิดมีตัว, โรคไกอาร์ดิเอสิส (giardiasis), โรคติดเชื้อลิชมาเนีย, และ โรคติดเชื้อพยาธฺตัวตืด (Tapeworm infection) โดยพาโรโมมัยซินจัดเป็นยาทางเลือกแรกสำหรับการรักษาโรคบิดมีตัว หรือโรคไกอาร์ดิเอสิสในหญิงตั้งครรภ์ และเป็นยาทางเลือกรองในข้อบ่งใช้อื่นที่เหลือตามที่กล่าวข้างต้น โดยพาโรมัยซินสามารถตั้งตำรับให้อยู่ได้ทั้งรูปแบบยาสำหรับรับประทาน, ยาใช้ภายนอก, หรือยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยเมื่อได้รับยาพาโรโมมัยซินโดยการรับประทาน ได้แก่เบื่ออาหาร,คลื่นไส้,อาเจียน,ปวดท้อง,และท้องเสีย เมื่อใช้ยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการคัน,แดง,และตุ่มพองได้ ส่วนการได้รับยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อาจทำให้มีไข้,ตับทำงานผิดปกติ,หรือหูหนวกได้ การใช้ยานี้ในค่อนข้างปลอดภัยในหญิงที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร ทั้งนี้ พาโรมัยซินจัดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย พาโรโมมัยซินเป็นสารที่คัดแยกได้จากเชื้อแบคทีเรียStreptomyces krestomuceticusถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในทศวรรษที่1950 และได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาใน..

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและพาโรโมมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิแพ้

ูมิแพ้ (allergy) คือความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินของระบบภูมิคุ้มกัน อาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตอบสนองต่อสสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งสารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนั้นเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ โดยอาการตอบสนองต่อสารเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติแต่กำเนิด, สามารถคาดเดาได้ และไม่เรื้อรัง ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินและถูกเรียกในเชิงวิชาการว่า ประเภทที่หนึ่ง (type I) หรือ ประเภทเฉียบพลัน (immediate) อาการภูมิแพ้เหล่านี้เฉพาะเจาะจงเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากเกินไป คือ แมสต์เซลล์ และเบโซฟิล โดยแอนติบอดีที่ชื่อว่า อิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) การกระตุ้นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบซึ่งมีระดับตั้งแต่ทำให้ระคายเคืองไปจนถึงการเสียชีวิต ภูมิแพ้ระดับเบา เช่น เยื่อจมูกอักเสบ พบได้ทั่วไปในหมู่ประชากรของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง, การคัน, น้ำมูกไหล, กลาก, ลมพิษ และหอบหืด ซึ่งภูมิแพ้นี้เองที่ในบางสถานการณ์อาจจะเป็นต้นเหตุสำคัญในอาการหอบหืด ในคนไข้บางราย อาการแพ้รุนแรงต่อสภาวะแวดล้อม, สารก่อภูมิแพ้ทางโภชนาการ หรือยาบางชนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการตอบสนองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิส นอกจากนี้อาการแพ้อาหารหรืออาการตอบสนองต่อพิษของการกัดต่อยจากแมลง เช่น ต่อและผึ้ง ก็มักเกี่ยวข้องกับอาการรุนแรงเหล่านี้ การทดสอบหลากหลายวิธีเพื่อวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ เช่น การนำสารก่อภูมิแพ้ที่น่าจะเป็นไปได้ทาลงบนผิวหนังเพื่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาการบวม หรือการทดสอบเลือด ต่างก็สามารถช่วยให้ค้นพบสารก่อภูมิแพ้แบบเจาะจงที่เป็นอิมมูโนโกลบูลินอีได้ การรักษาภูมิแพ้ เช่น การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือการรับประทานยาต้านฮิสทามีน ก็สามารถป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้แบบเจาะจงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นการรับสารสเตอรอยด์ซึ่งจะช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน และยาบรรเทาอาการคัดจมูกก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ลงได้ ส่วนมากแล้วยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้รับประทาน ยกเว้นอะดรีนาลินที่จำเป็นต้องรับผ่านทางการฉีดยา นอกจากนี้แล้วยังมีอีกวิธีคือการบำบัดด้วยสารก่อนภูมิแพ้ ซึ่งจะฉีดสารก่อนภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่ออาการแพ้นั้นได้เอง.

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและภูมิแพ้ · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกาซิน

อะมิกาซิน (Amikacin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ การติดเชื้อในข้อ, การติดเชื้อในช่องท้อง, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อต่อยาหลายขนานอีกด้วย ยานี้มีทั้งในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อและ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ อะมิกาซินออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย โดยจะเข้าจับกับหน่วยย่อยที่ 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตได้ ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นตายไปในที่สุด ทั้งนี้ อะมิกาซินมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ คือ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน, การทรงตัวผิดปกติ, และเกิดปัญหาเกี่ยวกับไตได้ ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบอุบัติการณ์การเกิดค่อนข้างน้อย ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจตามมาได้ นอกจากนี้ การใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กที่คลอดออกมามีภาวะหูหนวกแบบถาวรได้ อะมิกาซินเป็นยาที่พัฒนาขึ้นมาจากกานามัยซิน ได้รับการจดสิทธิบัตรเมื่อ..

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและอะมิกาซิน · ดูเพิ่มเติม »

อีเซทิไมบ์

อีเซทิไมบ์ (Ezetimibe อ่านว่า) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือด ออกฤทธิ์โดยการลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็ก โดยยาดังกล่าวเป็นยาชนิดแรกของยากลุ่มยับยั้งการดูดซึมคอเลสเทอรอล (cholesterol-absorption inhibitor) ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและอีเซทิไมบ์ · ดูเพิ่มเติม »

นีโอมัยซิน

นีโอมัยซิน (Neomycin) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีจำหน่ายในท้องตลาดในหลายรูปแบบเภสัชภัณฑ์ เช่น ครีม, ขี้ผึ้ง, และยาหยอดยา นีโอมัยซินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและนีโอมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

ไทกีไซคลีน

ทกีไซคลีน (Tigecycline) เป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบทีเรีย จัดอยู่ในกลุ่มไกลซิลไซคลีน ในปัจจุบันยานี้มีเพียงรูปแบบที่ใช้สำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น ทั้งนี้ ไทกีไซคลีนถูกคิดค้นพัฒนาขึ้นมาเนื่องมาจากการมีอุบัติการณ์การดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่มีอัตราค่อนข้างสูงในปัจจุบัน เช่น Staphylococcus aureus, Acinetobacter baumannii, และ Escherichia coli เป็นต้น เนื่องด้วยยานี้เป็นหนึ่งในยากลุ่มเตตราไซคลีน การดัดแปลงโครงสร้างของยาจึงสามารถเพิ่มขอบข่ายการออกฤทธิ์ของยาให้ครอบคลุมได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน (multi-drug resistance bacteria) ด้วย ปัจจุบันไทกีไซคลินอยู่ภายใต้การดำเนินการทางการตลอดของไฟเซอร์ ภายใต้ชื่อการค้า Tygacil ยานี้ได้ถูกยื่นให้องค์การอาการและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาพิจารณารับรองการใช้ในมนุษย์อย่างเร่งด่วน (fast-track approve) เนื่องจากปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่มีมากขึ้น และได้รับการรับรองจากองค์กรดังกล่าวในวันที่ 17 มิถุนายน..

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและไทกีไซคลีน · ดูเพิ่มเติม »

ไข้รูมาติก

้รูมาติก (Rheumatic fever) เป็นโรคอักเสบซึ่งเกิดหลังการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส กลุ่ม เอ (Group A streptococcal) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือไข้ดำแดง เชื่อกันว่าเป็นผลจากแอนติบอดีทำปฏิกิริยาข้ามไปมีผลต่อเนื้อเยื่อหัวใจ ข้อต่อ ผิวหนัง และสมอง Kumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; & Mitchell, Richard N. (2007).

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและไข้รูมาติก · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

ื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อจมูก ซึ่งเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาไวเกินกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ผู้ป่วยอาจมีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก จาม ตาแดง คันตา น้ำตาไหล และตาบวม น้ำมูกของผู้ป่วยมักเป็นน้ำมูกใส อาการมักเริ่มกำเริบภายในไม่กี่นาทีหลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ อาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการนอน การทำงาน และการเรียนได้ ผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรมักมีอาการในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี ผู้ป่วยโรคนี้หลายรายจะมีโรคอื่นๆ ในกลุ่มภูมิแพ้ร่วมด้วย ได้แก่ โรคหืด เยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ และผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักถูกกระตุ้นให้มีอาการเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์เลี้ยง ฝุ่น หรือเชื้อรา การเกิดภูมิแพ้เหล่านี้เป็นผลจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกันทำให้เกิดโรค ปัจจัยบางอย่างช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ เช่น การใช้ชีวิตวัยเด็กในฟาร์ม การมีพี่น้องหลายคน เป็นต้น กลไกของการเกิดโรคที่สำคัญอยู่ที่สารภูมิคุ้มกันชนิดไอจีอี ซึ่งสามารถจับกับสารก่อภูมิแพ้และกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสารการอักเสบหลายๆ อย่างออกมาภายในร่างกาย เช่นมีการปล่อยฮิสตามีนออกมาจากเม็ดเลือดขาวชนิดแมสท์เซลล์ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติผู้ป่วย ร่วมกับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือตรวจเลือดหาไอจีอีที่จำเพาะต่อการก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ การทดสอบเหล่านี้บางครั้งอาจให้ผลบวกลวง (ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าเป็นโรค แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นโรค) ได้ อาการของเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะคล้ายคลึงกับโรคหวัด แต่ต่างกันตรงนี้ภูมิแพ้จะเป็นนานกว่าคือเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ และมักจะไม่มีไข้ การได้มีโอกาสสัมผัสสัตว์ในวัยเด็กอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยโรคนี้ในตอนโตได้ ยาที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคได้มีหลายอย่าง เช่น สเตอรอยด์ ยาต้านฮิสตามีน เช่น ไดเฟนไฮดรามีน โครโมลินโซเดียม และยาต้านลิวโคไทรอีน เช่น มอนทีลูคาสท์ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาแล้วลดอาการได้ไม่ดีนัก หรือใช้แล้วมีผลข้างเคียง การทำภูมิคุ้มกันบำบัดต่อสารก่อภูมิแพ้เป็นวิธีหนึ่งที่อาจได้ผล ทำโดยค่อยๆ ให้สารก่อภูมิแพ้ในขนาดน้อยแก่ผู้ป่วย แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นไปตามแนวทางที่กำหนด อาจให้ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือเป็นเม็ดอมใต้ลิ้นก็ได้ ผลการรักษามักคงอยู่ได้ 3-5 ปี และอาจมีประโยชน์อื่นคงอยู่นานกว่านั้น เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่สุด ในประเทศตะวันตกพบว่าปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยถึง 10-30% ในประชากร ส่วนในไทยพบ 23-30% พบบ่อยที่สุดในคนอายุ 20-40 ปี โรคนี้ถูกบรรยายไว้อย่างถูกต้องเป็นครั้งแรกเมื่อคริสตศตวรรษที่ 10 โดยแพทย์และปราชญ์ชาวเปอร์เซียชื่อมุฮัมหมัด อัล-รอสี ต่อม..

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ · ดูเพิ่มเติม »

เจนตามัยซิน

นตามัยซิย (Gentamicin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันมีจำหน่ายในตลาดยาภายใต้ชอื่การค้า Garamycin และอื่นๆ ยานี้ถูกนำมาใช้วนการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของกระดูก (osteomyelitis), เยื่อบุหัวใจอักเสบ, ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammatory disease;PID), เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ รวมไปถึงโรคติดเชื้ออื่นๆอีกมากมาย แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาหนองใน หรือการติดเชื้อคลามัยเดีย โดยสามารถบริหารยาได้หลายช่องทาง ได้แก่ การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, การฉีดเข้าหล้ามเนื้อ หรือยาใช้ภายนอกในรูปแบบยาทา ยาทาสำหรับใช้ภายนอกนั้นมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อของแผลไฟไหม้ หรืออาจมีในรูปแบบยาหยอดยาสำหรับการติดเชื้อในดวงตา ในประเทศพัฒนาแล้ว ยานี้มักถูกนำมาใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในช่วง 2 วันแรกระหว่างรอผลการตรวจเพาะเชื้อสาเหตุและตรวจความไวของเชื้อนั้นๆต่อยาปฏิชีวนะต่างๆ จากนั้นจะมีการปรับเปลี่ยนการรักษาตามผลการตรวจดังกล่าว นอกจากนี้ การใช้ยานี้อาจจำเป็นต้องติดตามระดับยาในกระแสเลือดโดยการตรวจเลือดด้วย เพื่อเฝ้าติดตามการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงจากยานี้ เจนตามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ จึงมีกลไกการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกันนี้ โดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ส่งผลให้เซลล์ของแบคทีเรียนั้นๆขาดโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ และตายไปในที่สุด จึงอาจกล่าวได้ว่า เจนตามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการฆ่าแบคทีเรีย (bactericidal antibiotic) ซึ่งแตกต่างจากยาปฏิชีวนะกลุ่มอื่นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนเช่นกัน แต่มีคุณสมบัติเพียงแค่ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (bacteriostatic antibiotic) เช่นเดียวกันกับยาชนิดอื่นๆ การใช้เจนตามัยซินในการรักษา อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้หลายประการ โดยเฉพาะการเกิดพิษต่อหู และการเกิดพิษต่อไต ซึ่งถือเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงของเจนตามัยซินและยาปฏิชีวนะอื่นในกลุ่มนี้ โดยการเกิดพิษต่อหูจากยานี้จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้ทั้งระบบการได้ยินและระบบการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งอาจพัฒนาเป็นความผิดปกติแบบถาวรได้ นอกจากนี้ การใช้เจนตามัยซินในระหว่างตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในกลุ่มประชากรดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม ยานี้ไม่ถูกขับออกทางน้ำนม ทำให้สามารถใช้ยานี้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงที่กำลังให้นมบุตร เจนตามัยซินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและเจนตามัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

เคลเมนส์ ฟอน เปอร์เกต์

ลเมนส์ ปีเตอร์ ฟอน เปอร์เกต์ (Clemens Peter von Pirquet; 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1874 – 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929) เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรีย เกิดใกล้กรุงเวียนนา มีน้องชายชื่อกิวโด ฟอน เปอร์เกต์ ซึ่งต่อมาเป็นนักฟิสิกส์ เรียนวิชาเทววิทยาที่มหาวิทยาลัยอินส์บรุคและวิชาปรัชญาที่มหาวิทยาลัยเลอเฟิน ก่อนจะเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยกราซและฝึกงานที่คลินิกเด็กในเวียนนา ในปี..

ใหม่!!: ภาวะภูมิไวเกินและเคลเมนส์ ฟอน เปอร์เกต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hypersensitivity

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »